วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_0402_resize.JPG
100_0402_resize.JPG [ 96.64 KiB | เปิดดู 7663 ครั้ง ]
tongue นมัสการครับพระอาจารย์แสนปราชญ์
อ้างอิง พระอาจารย์แสนปราชญ์
เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา อุบาสก อโศกะ

อนุโมทนาคำตอบของอุบาสกอโศกะ เป็นประโยชน์มาก แต่อยากให้อธิบายขยายความต่อ ดังนี้
) ที่อ้างอิงองค์ธรรมของสติมีในพระไตรปิฎกไหม อยู่เล่มไหน
๒) จากคำตอบ องค์ธรรม คุณสมบัติ หรือหน้าที่ของสติ คือ


รู้ทัน (ปัจจุบันอารมณ์)

ระลึกได้ (ถ้าอารมณ์นั้นเคยเกิดและบันทึกไว้ในสัญญา)

ไม่ลืม (เก็บอารมณ์นั้นไว้ในสัญญา)

แล้วส่งงานต่อให้ปัญญา สัมมาทิฐิ ดู เห็น รู้ ปัญญา สัมมาสังกัปปะ สังเกต พิจารณา

เพราะมีปัญญา สังเกต พิจารณา อยู่ จึงส่งให้สติรู้ทัน การเกิดขึ้น และดับไป ของอารมณ์ เป็นปัจจุบันอยู่ต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา

ถามว่า สติ ทำหน้าที่ส่งต่อให้ปัญญาเสมอไปหรือไม่ หรือไม่ได้ส่งให้ปัญญาก็มี

ตอบ สติ ทำหน้าที่ส่งงานต่อให้ปัญญาเสมอไป เพราะกระบวนการทำงานของผัสสะแต่ละครั้งจะจบลงที่ รู้ อารมณ์นั้นแล้ว ดับไป

ส่วนสันตติของอารมณ์นั้นต้องแล้วแต่ว่ามีมิจฉาทิฐิ คืออุปาทาน ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู ขึ้นมาตอบโต้อารมณ์เกิดยินดียินร้ายและตัณหาขึ้นมาหรือไม่ ถ้ามีตัณหา มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ก็จะเกิดจนครบองค์ 3 แล้ว วิบากคือการรับผลของการกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้นมา เป็นวงเวียน วงวัฏฏจักรสืบต่อกันไปทั้งวัน

******แต่ถ้าตัณหาไม่เกิด ปัญญา รู้แล้ว สภาวะนั้น อารมณ์นั้นก็จะดับไป เป็นปกติธรรม คือ เกิด - ดับ ๆ ๆ

ส่วนคำถามที่ว่า ที่อ้างอิงองค์ธรรมของสติมีในพระไตรปิฎกไหม อยู่เล่มไหน

ตอบ ธรรมที่ยกมากล่าวมีในสภาวะ สังเกต พบเห็นจากสภาวะจริงๆ แล้วอาศัยธัมมวิจัย + วิมังสาธิบดี วิเคราะห์แยกแยะออกมา เมื่อเทียบธรรมตามตำราแล้วไม่ออกนอกกรอบทางเดินของมรรค 8 จึงยกมาแสดงครับ ท่านต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง อย่าพึ่งเชื่อผม

ลองสละเวลานั่งลงสังเกต พิจารณาเข้าไปใน กาย และ จิต สักระยะหนึ่ง สักเกตที่ผัสสะที่กระทบทวารใดก็ได้เอาที่เป็นปัจจุบันอารมณ์ เอาสติ ปัญญา ตามดู ตามเห็น ตามรู้เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดเป็นวิปัสสนาภาวนาขึ้นมา คือความสังเกต(ไม่ใช้ความคิด) พิจารณม(ใช้ความคิด หาเหตุ หาผล) หรือปัญญาสัมมาสังกัปปะ ต้องมีให้มากเป็นพิเศษ จึงจะเข้าใจการทำงานร่วมกันของ สติ และปัญญา ครับ

สาธุ ๆ ๆ smiley :b8:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2009, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา อุบาสก อโศกะ

อนุโมทนาคำตอบของทุกท่านที่ช่วยตอบกระทู้นี้
อาตมาได้อ่านคำตอบของอุบาสก อโศกะ รู้สึก ปราโมทย์ ปีติ ต่อคำตอบ ประเมินเอาว่าอุบาสกคงมีภูมิรู้ ภูมิธรรม ในระดับ เข้าใจ และเข้าถึง ได้อย่างดี คำตอบงามเป็นที่น่าพอใจ การสนทนาเกิดประโยชน์
ไม่มีโทษ อาตมาจึงอยากถามต่อ ดังนี้
๑. ปัญญาสังกัปปะ ความหมายสังเขปและพิสดาร กินความอย่างไร?
๒. อยากให้ช่วยอธิบาย โดยธรรมวิจัย หรือสภาวะของอุบาสก ก็ได้ (อาตมาเคยถามมาในเว็ปนี้ครั้งหนึ่ง
ยังรอคำตอบอยู่)
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
๓) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
๔) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2009, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอาจารย์แสนปราชญ์ เขียน:
ขอความรู้เรื่อง "สัมมาสติ"กับ "สติ" แตกต่างกันอย่างไร และต่อด้วย "สัมมาสมาธิ"กับ "สมาธิ" แตกต่างกันอย่างไร

เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


ข้าพเจ้าจะตอบแบบที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายๆ เป็นภาษาไทย และตอบตามหลักความจริงของสิ่งมีชีวิต ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ ดังต่อไปนี้.-

"สัมมาสติ" กับ "สติ" ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ย่อมต้องมีสติ อันเป็น สัมมาสติอยู่เป็นนิจอยู่แล้ว ถ้าบุคคลใดไม่มีสัมมาสติ ก็แสดงว่า เขาเป็นคนวิกลจริต
ท่านทั้งหลายที่อ่านหรือศึกษาในพระไตรปิฎกมา อาจสงสัยว่า ในพระไตรปิฎกเขียนไว้อีกแบบหนึ่ง ซึ่งก็มีหลายท่านได้ตอบไปแล้วนั้น ความจริงแล้วเขาเหล่านั้น เป็นเพียงพวกนกแก้วนกขุนทอง (ขออภัยขอรับ เป็นเพียงเปรียบเทียบ ไม่มีเจตนาจะลบหลู่ท่านทั้งหลาย) คือ อ่านแล้วไม่ได้คิดพิจารณาถึงต้นตอ หรือถึงฐานที่เกิด และไม่รู้จักการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ไม่รู้ว่าในชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้น เป็นอย่างไร ได้แต่มองหรือเข้าใจว่าในพระไตรปิฎกอธิบายหรือสอนอย่างนั้น ซึ่ง ความจริงแล้ว หากพิจารณาให้ดี ก็จะพบคำตอบและเข้าใจในหลักที่พระไตรปิฎกกล่าวไว้


"สัมมาสมาธิ" กับ สมาธิ ก็ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน และให้อ่านคำตอบด้านบนประกอบ

อนึ่ง ถ้าหากท่านทั้งหลายยังสงสัย โดยเฉพาะพระสงฆ์ทั้งหลาย ให้ไปอ่าน หลักสูตรทางพุทธศาสนาเรื่อง "จิต ,เจตสิก,รูป,นิพพาน,ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก" ในหมวด "สนทนาธรรมทั่วไป" เพราะข้าพเจ้าเคยได้เห็นกับตาได้ยินกับหูทางทีวี พบว่า "พระสงฆ์ ไม่ได้มีความรู้ ในเรื่อง ของอริยมรรค มีองค์ ๘ " อย่างแท้จริง อธิบายไม่ได้ คืออธิบายแล้วไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ ไม่สามารถทำให้ผู้ฟัง เห็นดี เห็นตาม เพราะพิสูจน์ไม่ได้ ตามหลักความจริง ตามธรรมชาติ


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 07 พ.ย. 2009, 21:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2009, 08:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:

ข้าพเจ้าจะตอบแบบที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายๆ เป็นภาษาไทย และตอบตามหลักความจริงของสิ่งมีชีวิต ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ ดังต่อไปนี้.-

"สัมมาสติ" กับ "สติ" ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ย่อมต้องมีสติ อันเป็น สัมมาสติอยู่เป็นนิจอยู่แล้ว ถ้าบุคคลใดไม่มีสัมมาสติ ก็แสดงว่า เขาเป็นคนวิกลจริต
ท่านทั้งหลายที่อ่านหรือศึกษาในพระไตรปิฎกมา อาจสงสัยว่า ในพระไตรปิฎกเขียนไว้อีกแบบหนึ่ง ซึ่งก็มีหลายท่านได้ตอบไปแล้วนั้น ความจริงแล้วเขาเหล่านั้น เป็นเพียงพวกนกแก้วนกขุนทอง


"สัมมาสมาธิ" กับ สมาธิ ก็ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน และให้อ่านคำตอบด้านบนประกอบ

อนึ่ง ถ้าหากท่านทั้งหลายยังสงสัย โดยเฉพาะพระสงฆ์ทั้งหลาย ให้ไปอ่าน หลักสูตรทางพุทธศาสนาเรื่อง "จิต ,เจตสิก,รูป,นิพพาน,ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก" ในหมวด "สนทนาธรรมทั่วไป"
......


กรรมดี..กับ..กรรมชั่ว..ก็ล้วนมีฐานเกิดมาจากที่เดียวกัน..คือ..คน..ลึกลงไปก็คือ..จิต

หากจะมากล่าวว่า..ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน แล้ว..ผลขอการทำดี..กับ..ทำชั่ว..ใยแตกต่างกัน

ในชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้น ก็พบเป็นปกติ..ว่า..ผลของ..การทำดี..กับ..ทำชั่ว..ต่างกัน

เพราะรู้ผลที่ได้..แตกต่างกัน..จึงมาค้นคว้า..

อ้างคำพูด:
"สัมมาสติ" กับ "สติ" ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน

เพราะไม่รู้..จึงคิดอย่างนี้


อ้างคำพูด:
เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ย่อมต้องมีสติ อันเป็น สัมมาสติอยู่เป็นนิจอยู่แล้ว

เพราะ..แยกแยะไม่ออก..จึงคิดอย่างนี้

แค่นี้ยังแยกไม่ออก...ยังกล้า..ชวนให้ไปอ่าน..ข้อความของคนที่ไม่รู้เรื่องแบบนี้อีกหรือ..

อ้างคำพูด:
ถ้าบุคคลใดไม่มีสัมมาสติ ก็แสดงว่า เขาเป็นคนวิกลจริต

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2009, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b21:

แนบไฟล์:
20081218104159_post-15-1091844953.jpg
20081218104159_post-15-1091844953.jpg [ 45.99 KiB | เปิดดู 7639 ครั้ง ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2009, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
อ้างคำพูด:
ขอความรู้เรื่อง "สัมมาสติ"กับ "สติ" แตกต่างกันอย่างไร และต่อด้วย "สัมมาสมาธิ"กับ "สมาธิ" แตกต่างกันอย่างไร

เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


...กราบนมัสการพระคุณเจ้า...เจ้าค่ะ :b8:

...ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น...ไม่ได้กางตำราตอบเจ้าค่ะ...

..."สัมมาสติ"กับ "สติ" แตกต่างกันอย่างไร...
.....1.เขียนต่างกัน
.....2.ความหมายสัมมาสติยาวกว่าสติ
.....3.ในการพูดหรือเขียนสัมมาสติเป็น1ในอริยมรรคมีองค์8ใช้ทาง+ในพระพุทธศาสนา....
.......ส่วนสติเป็นคำกลางที่ใช้เขียนหรือพูดได้ทั้งทางบวกและลบเช่นสติดี, สติแตก...
.....4.ความเหมือนกันในการใช้องค์ประกอบอันมีรูปกับนามคือกายกับจิตรับรู้ผ่านอายตนะ6...
.....5.ความต่างสติถ้าทำแบบรู้ตัวก็เรียกว่ามีสติ...ทำแบบไม่รู้ตัวก็เรียกว่าขาดสติ,สติขาด,ไม่มีสติ...
.......สัมมาสติเป็นธรรมะ(สิ่งดีงาม)ทั้งก่อนทำ,ขณะทำและหลังทำเป็นสิ่งที่ให้ผลดีไม่จำกัด...
.....6.สัมมาสติย่อมต้องมีองค์ประกอบของการรู้ตัวทั่วพร้อมทุกขณะจิตคือมีสติ-สัมปชัญญะ...


..."สัมมาสมาธิ"กับ "สมาธิ" แตกต่างกันอย่างไร...
.....1.เขียนต่างกัน
.....2.ความหมายสัมมาสมาธิยาวกว่าสมาธิ
.....3.ในการพูดหรือเขียนสัมมาสมาธิเป็น1ในอริยมรรคมีองค์8ใช้ทาง+ในพระพุทธศาสนา....
.......ส่วนสมาธิเป็นคำกลางที่ใช้เขียนหรือพูด...อาจปฏิบัตหรือยังไม่ได้ปฏิบัติ...ยังไม่เห็นผล...
.....4.ความเหมือนในการใช้องค์ประกอบน่าจะมีรูปกับนามคือกายกับจิตผ่านอายตนะ6...
.....5.ความต่างสมาธิใช้ในการผสมผสานคำเช่น...นั่งสมาธิ...ขาดสมาธิ...สื่อแบบกลางหรือ+และ-
.......แต่สัมมาสมาธิเป็นธรรมะ(สิ่งดีงาม)ทั้งก่อนทำ,ขณะทำและหลังทำเป็นสิ่งที่ดีให้ผลไม่จำกัด...
.....6.สัมมาสมาธิยังหมายถึงความตั้งมั่นของจิตอยู่ในจิตในที่ตั้งแห่งกายสังขารไม่ส่งออกภายนอก

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b16: :b16: :b16: :b16: :b16: :b16: :b16: :b16: :b16:

...วิธีการใช้สติกับสมาธิใช้เขียน...พูด...ทำได้...ผลไม่แน่นอนได้ทั้งผลแบบกลาง...ดี...และไม่ดี...
...ส่วนสัมมาสติกับสัมมาสมาธิใช้เขียน...พูด...ทำได้...ผลที่ได้แน่นอนได้ผลถูกต้องและดีงาม...
...ทั้งสัมมาสติและสัมมาสมาธิทางพระพุทธศาสนามีในการปริยัติ...ปฏิบัติ...และปฏิเวธ...
...การนำไปใช้ให้เห็นผลถูกต้องให้ใช้ทั้ง2อย่างควบคู่กัน...ร่วมกับอีก6องค์อริยมรรคที่เหลือ...
...ทั้งนี้จะมีทั้ง2อย่างนี้ได้...ต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังและหมั่นพิจารณาเนืองๆเห็นด้วยใจ...


:b1: :b1: :b1:
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2009, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
Buddha เขียน:

ข้าพเจ้าจะตอบแบบที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายๆ เป็นภาษาไทย และตอบตามหลักความจริงของสิ่งมีชีวิต ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ ดังต่อไปนี้.-

"สัมมาสติ" กับ "สติ" ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ย่อมต้องมีสติ อันเป็น สัมมาสติอยู่เป็นนิจอยู่แล้ว ถ้าบุคคลใดไม่มีสัมมาสติ ก็แสดงว่า เขาเป็นคนวิกลจริต
ท่านทั้งหลายที่อ่านหรือศึกษาในพระไตรปิฎกมา อาจสงสัยว่า ในพระไตรปิฎกเขียนไว้อีกแบบหนึ่ง ซึ่งก็มีหลายท่านได้ตอบไปแล้วนั้น ความจริงแล้วเขาเหล่านั้น เป็นเพียงพวกนกแก้วนกขุนทอง


"สัมมาสมาธิ" กับ สมาธิ ก็ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน และให้อ่านคำตอบด้านบนประกอบ

อนึ่ง ถ้าหากท่านทั้งหลายยังสงสัย โดยเฉพาะพระสงฆ์ทั้งหลาย ให้ไปอ่าน หลักสูตรทางพุทธศาสนาเรื่อง "จิต ,เจตสิก,รูป,นิพพาน,ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก" ในหมวด "สนทนาธรรมทั่วไป"
......


กรรมดี..กับ..กรรมชั่ว..ก็ล้วนมีฐานเกิดมาจากที่เดียวกัน..คือ..คน..ลึกลงไปก็คือ..จิต

หากจะมากล่าวว่า..ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน แล้ว..ผลขอการทำดี..กับ..ทำชั่ว..ใยแตกต่างกัน

ในชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้น ก็พบเป็นปกติ..ว่า..ผลของ..การทำดี..กับ..ทำชั่ว..ต่างกัน

เพราะรู้ผลที่ได้..แตกต่างกัน..จึงมาค้นคว้า..

อ้างคำพูด:
"สัมมาสติ" กับ "สติ" ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน

เพราะไม่รู้..จึงคิดอย่างนี้


อ้างคำพูด:
เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ย่อมต้องมีสติ อันเป็น สัมมาสติอยู่เป็นนิจอยู่แล้ว

เพราะ..แยกแยะไม่ออก..จึงคิดอย่างนี้

แค่นี้ยังแยกไม่ออก...ยังกล้า..ชวนให้ไปอ่าน..ข้อความของคนที่ไม่รู้เรื่องแบบนี้อีกหรือ..

อ้างคำพูด:
ถ้าบุคคลใดไม่มีสัมมาสติ ก็แสดงว่า เขาเป็นคนวิกลจริต

:b12: :b12: :b12:


ต้องขออภัย ต่อท่านเจ้าของกระทู้ สิ่งที่ข้าพเจ้าได้สอนไป ผู้ใช้ชื่อว่า "กบฯ" นำมาอ้างอิงแล้ว พล่ามเพ้อเจ้อ ไปตามความไม่รู้ของมัน ท่านเจ้าของกระทู้
อย่าได้ถือสา มันผู้ใช้ชื่อเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเลยขอรับเลยขอรับ นึกว่า มันเป็นสัตว์โลกผู้น่าสงสารตัวหนึ่ง ที่มีสมองอันน้อยนิด เท่านั้นขอรับ


ข้าพเจ้าสอนให้แล้ว ก็จงไปพิจารณาให้ดี สิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนสอนไปนั้น เป็นหลักความจริง ตามธรรมชาติ อยู่แล้ว เจ้าผู้ใช้ชื่อว่ากบฯนั่นมันไม่อ่านให้ดี มันก็เป็นเพียงประเภทชอบบิดเบือนหลักธรรมคำสอน ชอบนำเอาเพียงข้อความใดข้อความหนึ่งขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการทำลายพุทธศาสนา กล่าวง่ายๆ ว่า มันเป็นประเภท โง่แล้วอวดฉลาด หรือประเภท ควายอยู่ในกะลานั่นแหละขอรับ

[b]ข้าพเจ้าขอถวายคำแนะนำต่อท่านเจ้าของกระทู้สักเล็กน้อย ความจริง สิ่งที่ข้าพเจ้าสอนไปนั้น มีอยู่ในพระไตรปิฎกอยู่แล้ว หากท่านเจ้าของกระทู้ได้อ่านหรือศึกษาในพระไตรปิฎกด้วย ก็ให้ไปอ่านที่ พระอภิธรรมปิฎก ตั้งแต่เล่มแรก แล้วทำความเข้าใจดี แล้วท่านก็จะเข้าใจตามที่ข้าพเจ้าสอน หรือตอบให้ ถ้ายังไม่เข้าใจที่ข้าพเจ้าได้สอนไป ก็๋ให้ตั้งกระทู้ถามได้อีก ข้าพเจ้าจะอธิบายให้ฟัง แต่ถ้าได้อ่าน ได้คิดพิจารณาแล้ว เกิดความเข้าใจแล้ว ก็ไม่ต้องถามอีกขอรับ[/b]


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 09 พ.ย. 2009, 19:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2009, 21:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
ท่านเจ้าของกระทู้
อย่าได้ถือสา มันผู้ใช้ชื่อเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเลยขอรับเลยขอรับ นึกว่า มันเป็นสัตว์โลกผู้น่าสงสารตัวหนึ่ง ที่มีสมองอันน้อยนิด เท่านั้นขอรับ

:b12: :b12: :b12:
ดีใจ..แม้ชื่อเป็นสัตว์ที่มีสมองน้อยนิด..ยังคิดได้...ไม่เสียชาติเกิด.. :b12: :b12:

แต่..ที่ใช้ชื่อ..เสียใหญ่โต..แต่ข้างใน..บ๋อแบ๋..อิ..อิ...นี้สิ..น่าสงสาร..น่าสงสาร :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
Buddha เขียน:

ข้าพเจ้าจะตอบแบบที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายๆ เป็นภาษาไทย และตอบตามหลักความจริงของสิ่งมีชีวิต ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ ดังต่อไปนี้.-

"สัมมาสติ" กับ "สติ" ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ย่อมต้องมีสติ อันเป็น สัมมาสติอยู่เป็นนิจอยู่แล้ว ถ้าบุคคลใดไม่มีสัมมาสติ ก็แสดงว่า เขาเป็นคนวิกลจริต
ท่านทั้งหลายที่อ่านหรือศึกษาในพระไตรปิฎกมา อาจสงสัยว่า ในพระไตรปิฎกเขียนไว้อีกแบบหนึ่ง ซึ่งก็มีหลายท่านได้ตอบไปแล้วนั้น ความจริงแล้วเขาเหล่านั้น เป็นเพียงพวกนกแก้วนกขุนทอง


"สัมมาสมาธิ" กับ สมาธิ ก็ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน และให้อ่านคำตอบด้านบนประกอบ

อนึ่ง ถ้าหากท่านทั้งหลายยังสงสัย โดยเฉพาะพระสงฆ์ทั้งหลาย ให้ไปอ่าน หลักสูตรทางพุทธศาสนาเรื่อง "จิต ,เจตสิก,รูป,นิพพาน,ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก" ในหมวด "สนทนาธรรมทั่วไป"
......


กรรมดี..กับ..กรรมชั่ว..ก็ล้วนมีฐานเกิดมาจากที่เดียวกัน..คือ..คน..ลึกลงไปก็คือ..จิต

หากจะมากล่าวว่า..ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน แล้ว..ผลขอการทำดี..กับ..ทำชั่ว..ใยแตกต่างกัน

ในชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้น ก็พบเป็นปกติ..ว่า..ผลของ..การทำดี..กับ..ทำชั่ว..ต่างกัน

เพราะรู้ผลที่ได้..แตกต่างกัน..จึงมาค้นคว้า..

อ้างคำพูด:
"สัมมาสติ" กับ "สติ" ไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะเกิดจากฐานเดียวกัน

เพราะไม่รู้..จึงคิดอย่างนี้


อ้างคำพูด:
เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ย่อมต้องมีสติ อันเป็น สัมมาสติอยู่เป็นนิจอยู่แล้ว

เพราะ..แยกแยะไม่ออก..จึงคิดอย่างนี้

แค่นี้ยังแยกไม่ออก...ยังกล้า..ชวนให้ไปอ่าน..ข้อความของคนที่ไม่รู้เรื่องแบบนี้อีกหรือ..

อ้างคำพูด:
ถ้าบุคคลใดไม่มีสัมมาสติ ก็แสดงว่า เขาเป็นคนวิกลจริต

:b12: :b12: :b12:


ต้องขออภัย ต่อท่านเจ้าของกระทู้ สิ่งที่ข้าพเจ้าได้สอนไป ผู้ใช้ชื่อว่า "กบฯ" นำมาอ้างอิงแล้ว พล่ามเพ้อเจ้อ ไปตามความไม่รู้ของมัน ท่านเจ้าของกระทู้
อย่าได้ถือสา มันผู้ใช้ชื่อเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเลยขอรับเลยขอรับ นึกว่า มันเป็นสัตว์โลกผู้น่าสงสารตัวหนึ่ง ที่มีสมองอันน้อยนิด เท่านั้นขอรับ


ข้าพเจ้าสอนให้แล้ว ก็จงไปพิจารณาให้ดี สิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนสอนไปนั้น เป็นหลักความจริง ตามธรรมชาติ อยู่แล้ว เจ้าผู้ใช้ชื่อว่ากบฯนั่นมันไม่อ่านให้ดี มันก็เป็นเพียงประเภทชอบบิดเบือนหลักธรรมคำสอน ชอบนำเอาเพียงข้อความใดข้อความหนึ่งขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการทำลายพุทธศาสนา กล่าวง่ายๆ ว่า มันเป็นประเภท โง่แล้วอวดฉลาด หรือประเภท ควายอยู่ในกะลานั่นแหละขอรับ

[b]ข้าพเจ้าขอถวายคำแนะนำต่อท่านเจ้าของกระทู้สักเล็กน้อย ความจริง สิ่งที่ข้าพเจ้าสอนไปนั้น มีอยู่ในพระไตรปิฎกอยู่แล้ว หากท่านเจ้าของกระทู้ได้อ่านหรือศึกษาในพระไตรปิฎกด้วย ก็ให้ไปอ่านที่ พระอภิธรรมปิฎก ตั้งแต่เล่มแรก ไม่ต้องถึงจบทุกเล่มขอัรับ สัก สองเล่ม แล้วทำความเข้าใจให้ดี แล้วท่านก็จะเข้าใจตามที่ข้าพเจ้าสอน หรือตอบให้ ถ้ายังไม่เข้าใจที่ข้าพเจ้าได้สอนไป ก็๋ให้ตั้งกระทู้ถามได้อีก ข้าพเจ้าจะอธิบายให้ฟัง แต่ถ้าได้อ่าน ได้คิดพิจารณาแล้ว เกิดความเข้าใจแล้ว ก็ไม่ต้องถามอีกขอรับ[/b]


ถ้าท่านเจ้าของกระทู้ได้อ่านแล้ว ก็จบขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




181145_0062.JPG
181145_0062.JPG [ 15.15 KiB | เปิดดู 7562 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา อุบาสก อโศกะ

อนุโมทนาคำตอบของทุกท่านที่ช่วยตอบกระทู้นี้
อาตมา ได้อ่านคำตอบของอุบาสก อโศกะ รู้สึก ปราโมทย์ ปีติ ต่อคำตอบ ประเมินเอาว่าอุบาสกคงมีภูมิรู้ ภูมิธรรม ในระดับ เข้าใจ และเข้าถึง ได้อย่างดี คำตอบงามเป็นที่น่าพอใจ การสนทนาเกิดประโยชน์
ไม่มีโทษ อาตมาจึงอยากถามต่อ ดังนี้
๑. ปัญญาสังกัปปะ ความหมายสังเขปและพิสดาร กินความอย่างไร?
๒. อยากให้ช่วยอธิบาย โดยธรรมวิจัย หรือสภาวะของอุบาสก ก็ได้ (อาตมาเคยถามมาในเว็ปนี้ครั้งหนึ่ง
ยังรอคำตอบอยู่)
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
๓) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
๔) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
อ้างอิงพระอาจารย์แสนปราชญ์

tongue กราบนมัสการพระอาจารย์แสนปราชญ์ที่เคารพยิ่ง

ผมอ่านผ่านมาเห็นกัลยาณมิตรหลายท่านมาช่วยกันสร้างสืสรรค์ ให้กับกระทู้ของพระอาจารย์ ใส่พริกใส่เกลือเข้ามาอีกหน่อย ทำให้รสดูเข้มข้นขึ้นนะครับ

ก่อนจะตอบเรื่องสัมมาสังกัปปะ กระผมอยากจะกราบเรียนทำความเข้าใจเรื่อง สัมมาทั้ง 8 ข้อสักนิดหนึ่งครับว่า
พระปัญญาธิคุณขององค์สมเด็จพระบรมศาสดานั้น ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง สุขุมคัมภีรภาพมาก ยากที่ปัญญาหยาบๆของปุถุชนจะเข้าถึงความหมายอันแท้จริงได้
พุทธพจน์ที่พระองค์ทรงตรัสไว้เป็นสัจจะและอมตะวาจาว่า
"สัมมา วิหาเรยุง อสุญโญโลโก อรหันเตหิ"
อันมีความหมายว่า "ตราบใดที่ยังมีผู้ประพฤติปฏิบัติตาม สัมมา อันหมายถึง สัมมาทั้ง 8 ข้อ ในมรรค มีองค์ 8 ตราบนั้นโลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์"

ดังนั้น สัมมาทิฐิ กับ ทิฐิ ธรรมดา และสัมมาอีก 7 ข้อ จึงมีค่าและความหมายต่างกันมาก

เพื่อจะให้สั้นและเข้าใจง่ายขึ้น ให้ทุกท่านพิจารณาดูที่วัตถุประสงค์ของการเจริญมรรค 8 วัตถุประสงค์ของการเจริญมรรค 8 ซึ่งรวมเรียกเป็นชื่อย่อว่า "การเจริญวิปัสสนาภาวนา" นั้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อจะให้ รู้จักทุกข์ ค้นหาจนพบสมุทัย คือเหตุเกิดทุกข์ จนสามารถถอนสมุทัยได้จนหมดสิ้น ส่วนนิโรธนั้นเป็นเรื่องของผล ที่จะเกิดขึ้นเองตามมาภายหลัง มรรค 8 พิสูจน์ อริยสัจ 4 จนจบ ก็หมดงาน

ทืฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ จะเป็นสัมมาก็ต่อเมื่อชี้ตรงไปที่การพิสูจน์ทุกข์ ค้นหาและกำจัดเหตุทุกข์ จนหมด สิ้นเชิง จนนิโรธ นิพพานชัดเจน สมบูรณ์เป็น อนุปาทิเสสะนิพพาน

ถ้าเอา ทืฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ไปทำงานเพื่อเหตุอื่นก็จะถิอว่าเป็น "มิจฉา" ทั้งสิ้น

ดังนั้น มรรค ทั้ง 8 ตัว จึงจะทำงานร่วมกัน ถ่วงดุลย์กันไปตลอดเวลา เมื่อสมังคีกันดีแล้ว จะรวมเป็นเอโกธัมโม ครั้งที่ 1 จะรวมเป็น "โสดาปัตติมรรค" ตัดทำลาย สักกายะทิฐิ และ วิจิกิจฉาให้ดับขาด เจริญมรรค 8 ต่อไปอีก โดยไม่ละความเพียร ก็จะรวมตัวเป็นหนึ่ง อีก 3 ครั้ง เกิดเป็นมรรคที่เหลืออีก 3 มรรค ทำงานจนเสร็จสิ้น คือ อรหัตมรรค เข้าถึงอรหัตผล เป็นเสร็จกิจที่พึงทำ
:b8: smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




181145_0053.JPG
181145_0053.JPG [ 19.43 KiB | เปิดดู 7560 ครั้ง ]
tongue
อ้างคำพูด:
อาตมาจึงอยากถามต่อ ดังนี้
๑. ปัญญาสังกัปปะ ความหมายสังเขปและพิสดาร กินความอย่างไร?
๒. อยากให้ช่วยอธิบาย โดยธรรมวิจัย หรือสภาวะของอุบาสก ก็ได้ (อาตมาเคยถามมาในเว็ปนี้ครั้งหนึ่ง
ยังรอคำตอบอยู่)
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
๓) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
๔) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
อ้างอิงพระอาจารย์แสนปราชญ์


อโศกะ ตอบ

ว่าด้วยเรื่องปัญญาสัมมาสังกัปปะ
สัมมาสังกัปปะ เป็นปัญญามรรคข้อที่ 2 จะทำงานร่วมกันเป็นคู่กับ สัมมาทิฐิ ปัญญามรรคตัวที่ 1 เสมอ
สัมมาสังกัปปะ เวลาทำงาน จะทำหน้าที่ สังเกต (ไม่ใช้ความคิด) พิจารณา (ใช้ความคิด) เพราะมีสังกัปปะจึงเป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฐิ และเพราะมีสังกัปปะ จึงเป็นเหตุให้ สติ รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ อยู่ตลอดเวลา ดังได้แสดงการทำงานร่วมกันของ สติ สมาธิ ปัญญา ในตอนต้นๆแล้ว


การทำงานร่วมกันของปัญญามรรคทั้งคู่ คือ สัมมาทิฐิ (ปัญญาที่ไปทำหน้าที่ ดู เห็น รู้)
สัมมาสังกัปปะ (คือปัญญาที่ไปสังเกต พิจารณา) ต้องมีสติ และ ความตั้งใจ (มนสิการ) เป็นทั้งเหตุ และปัจจัยประกอบ หนุนกันไป มีศีล 5 เป็นฐาน มีความเพียร(สัมมาวายามะ)เป็นตัวเดินมรรค ทำให้เกิดสัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีว มีสมาธิมรรคเป็น ความตั้งมั่นอยู่กับงานการเจริญวิปัสสนาภาวนาคอยหนุนอยู่

ถ้าจะให้เห็นภาพชัด ให้อุปมา หัวแม่มือเป็นสัมมาทิฐิ นิ้วชี้เป็นสัมมาสังกัปปะดุจตา 2 ข้าง สติเป็นแขน มนสิการเป็นการยกแขนและนิ้วมือทั้ง 2 นิ้วกางชูขึ้นมา ทำหน้าที่ เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา ที่ปัจจุบันอารมณ์ ไม่ช้าไม่นาน ก็จะได้รู้ เห็น ความจริงของการทำงานของกายและจิต ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อยังเป็นจิตปุถุชนอยู่นั้น อุปาทาน ความเห็นผิด ว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู เขาจะโผล่ ผุด ขึ้นมาตอบโต้เป้นอารมณ์ ทุกการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6 อารมณ์ที่สำคัญ คือ "ตัณหา" ความทะยานอยาก ทั้ง 3 ซึ่งจะก่อให้เกิด กุศล อกุศล และอพยากตาธรรม อยู่สืบต่อเป็นสันตติไปอยู่ตลอดเวลา

ผู้มีปัญญา มีความสังเกตพิจารณาดี ก็จะคอยต่อสู้กับอัตตา ความเห็นผิด มิให้เกิดขึ้นมาสั่งบงการจิตได้ ไม่ช้า อัตตา จะผอมลง ๆ และตายดับ ขาดจากจิตใจในที่สุด ดังนี้

ถ้าจะกล่าวโดยสรุป ปัญญาสัมมาสังกัปปะ ความสังเกต พิจารณา ค้นหาเหตุหาผลนี่แหละคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ เกิดวิปัสสนาปัญญา ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาส่วนใหญ่มักจะขาด พร่อง คือ ตัวปัญญาสัมมาสังกัปปะนี้เอง การเจริญวิปัสสนาภาวนาจะประสบความสำเร็จ ต้องพัฒนาตัวปัญญาสัมมาสังกัปปะนี้ให้มีมากๆที่สุด จนได้สัดส่วนพอดี กับ ปัญญาสัมมาทิฐิ สติ สมาธิ วิริยะ

พระอาจารย์ครับ ผมพิมพ์เพลินไปหน่อย อาจตอบไม่หมดไม่ตรงดีเรื่องสัมมาสังกัปปะ เดี๋ยวค่อยตั้งท่ามาตอบอีกสำนวนหนึ่งนะครับ สาธุ ๆ ๆ :b8: :b8: smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา อุบาสก อโศกะ

อนุโมทนาคำตอบของอุบาสก
เป็นลาภทางธรรมของอาตมาที่ได้รับวิสัชชนาจากอุบาสก ได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยได้ฟัง โวหารสมเป็นบัณฑิต
ผู้ที่แตกฉานเรื่องภาษา อธิบายเรื่องย่อให้พิสดารได้ สรุปข้อความพิสดารให้เข้าใจได้
ตราบใดปริยัติในพระพุทธศาสนารุ่งเรือง "พุทธบัณฑิต" ย่อมมีอยู่ บัณฑิตทั้งหลายจะอนุโมทนาให้สมญาว่า
ผู้มี "นิรุตฺติปฏิสัมภิทา" ผู้มีโวหารในอรรถ ในธรรม ในปฏิภาณ อาตมารอวิสัชชนากระทู้ที่เหลือ
แต่ก็ยังมีปุจฉาสอดแทรกบ้างเล็กน้อย คือ
สัมมาสังกัปปะ คามหลักสูตรนักธรรม ใช้คำว่า ดำริชอบ ส่วนท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ท่านใช้ว่า ความคิดเชิงสร้างสรรค์ อันนี้อยากให้วิเคราะห์เทียบเคียงกับ คำว่า สังเกต พิจารณา ให้หน่อย
(อันที่จริง คำว่า สังเกต พิจารณา ตรงและชัดอยู่แล้ว) อีกอย่างหนึ่งถ้าเปรียบในปฐมฌาณแล้ว
ตัวสัมมาสังกัปปะน่าจะสงเคราะห์ลงในตัวไหนใน ๕ ตัวนี้ หรือเป็นคนละเรื่องกัน


เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2009, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




ee194.jpg
ee194.jpg [ 17.03 KiB | เปิดดู 7543 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
แต่ก็ยังมีปุจฉาสอดแทรกบ้างเล็กน้อย คือ
สัมมาสังกัปปะ คามหลักสูตรนักธรรม ใช้คำว่า ดำริชอบ ส่วนท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ท่านใช้ว่า ความคิดเชิงสร้างสรรค์ อันนี้อยากให้วิเคราะห์เทียบเคียงกับ คำว่า สังเกต พิจารณา ให้หน่อย
(อันที่จริง คำว่า สังเกต พิจารณา ตรงและชัดอยู่แล้ว) อีกอย่างหนึ่งถ้าเปรียบในปฐมฌาณแล้ว
ตัวสัมมาสังกัปปะน่าจะสงเคราะห์ลงในตัวไหนใน ๕ ตัวนี้ หรือเป็นคนละเรื่องกัน
อ้างอิงพระอาจารย์แสนปราชญ์

อโศกะ ตอบ

กราบนมัสการพระอาจารย์แสนปราชญ์ ที่เคารพยิ่ง

สัมมาสังกัปปะ ที่แปลว่าดำริชอบนั้น เป็นการแปลอย่างสละสลวย ถ้าเป็นภาษาชาวบ้านก็ต้องแปลว่า คิดถูกต้อง

ในความหมายของดำริชอบนั้น ท่านกล่าวว่า
1.ดำริออกจากกาม แปลความหมายเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ คิดที่จะออกจากความยินดี (อภิชฌา) ในสัมผัสทั้ง 6
2.ดำริออกจากความพยาบาท แปลความหมายเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ คิดที่จะออกจากความ ยินร้าย
(โทมนัสสัง)
3.ดำริที่จะอยู่อย่างไม่เบียดเบียน (ทั้งตนเองและผู้อื่น) คือคิดที่จะอยู่ด้วยอุเบกขา หรือสังขารุเปกขาญาน


พิจารณาให้ดี ดำริ หรือคิด ทั้ง 3 นี้ ก็จะต้องเจริญสติปัฏฐาน 4 อยู่ตลอดเวลานั่นเอง เพราะวัตถุประสงค์ของสติปัฏฐานทั้ง 4 ล้วนมารวมลงที่ "วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง" เมื่อวิเนยยะ ทั้ง 2 อย่างนี้ได้ ก็จะได้ความอยู่ด้วยอุเบกขา เป็นผล

จะวิเนยยะ หรือเอาออกเสียให้ได้ ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก (โลก ในที่นี้หมายถึง สัมผัสของทวารทั้ง 6 นั่นเอง) จะต้องทำอย่างไร ตรงนี้แหละที่เป็นที่มา ที่เกิดของ สัมมาสังกัปปะ ซึ่งจะเกิดคำถามกับตัวเองเสมอว่า อะไร ทำไม เพราะอะไร หรือเป็นการค้นหาคำตอบ หาเหตุ หาผล เมื่อตาปัญญาได้พบ เห็น สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ในฌาณ 4 สังกัปปะ นี้ คล้ายกับ ตัว วิตก วิจารณ์ นั่นเอง แต่วัตถุประสงค์ต่างกัน จึงใช้ศัพท์ต่างกัน
โปรดพิจารณาจากคำอธิบายต่อไปนี้

วิตก = ยกอารมณ์ขึ้นมาดู วิจารณ์ = พิจรณาอารมณ์ วัตถุประสงค์ ให้รู้จักอารมณ์

ธัมมวิจัย = แยกแยะ แจกแจง วิเคราะห็ สังเคราะห์ อารมณ์ เพื่อให้รู้จัก เหตุ ผล ที่มา ที่ไป

วิมังสาธิบดี = ใคร่ครวญ พิจารณา หาเหตุ หาผล เพื่อให้รู้ว่าทำไมจึงเสื่อมถอย ทำไมจึงหยุดอยู่ ทำ อย่างไรจึงจะก้าวหน้า

สัมมาสังกัปปะ = สังเกต พิจารณา เพื่อค้นหาสมุทัย หรือเหตุทุกข์ หรือเหตุแห่งความเวียนว่าย ตาย เกิด โดยเฉพาะ :b8:
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2009, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




ee310.jpg
ee310.jpg [ 20.09 KiB | เปิดดู 7542 ครั้ง ]
tongue กราบนมัสการพระอาจารย์ที่เคารพยิ่ง
อ้างคำพูด:
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
๓) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
๔) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
อ้างอิงพระอาจารย์แสนปราชญ์


ขอโอกาสที่จะแสดง นัยยะ ของ "ภาวนา" อีกแง่มุมหนึ่งดังนี้ครับ

ภาวนา ตามศัพท์ แปลว่า ทำให้เกิดมีขึ้น เจริญขึ้น

แต่คำว่าภาวนา เมื่อนำมาตามท้ายคำต่างๆ ก็จะมีความหมายแยกย่อยละเอียดออกไปตามคำที่เอาภาวนาไปตาม ดังเช่น
:b1:
"วิปัสสนาภาวนา" มาจากคำว่า วิ + ปัสสนา + ภาวนา

วิ = วิเศษ = วิเศษลักษณะ= ลักษณะเฉพาะ= ปรมัตถธรรม = สัจจะธรรม = อนัตตาธรรม

ปัสสนา = ทัศนา = ดู เห็น รู้ = สัมมาทิฐิ

ภาวนา = เจริญ = เจริญการ สังเกต พิจารณา หาให้พบเหตุทุกข์(สมุทัย) = สัมมาสังกัปปะ
:b8:
"สมถะภาวนา" มาจากคำว่า สมถะ + ภาวนา

สมถะ = ทำให้สงบ นิ่ง (จากนิวรณ์ 5 )

ภาวนา = เจริญ = เจริญการดู การเพ่ง การวิตก วิจารณ์ องค์กรรมฐาน
:b27: :b16: :b8: smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออภัย ต่อท่านเจ้าของกระทู้ และขออภัยต่อผู้ใช้ชื่อว่า อโศกะ ขอรับ

ท่านผู้ใช้ชื่อว่า อโศกะ ขอรับ ท่านนับว่ามีน้ำใจดีขอรับ ที่อุตส่าห์ สอนพระ ไม่รู้ว่าท่านเป็นพระสงฆ์ด้วยหรือเปล่า การอธิบายของท่านแม้จะเป็นสิ่งที่ดี แต่ท่านต้องทำความเข้าใจไว้ว่า ถ้าท่านไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ไม่รู้ลึกซึ้ง รู้เพียงในตำราแล้วเอามาอธิบายโดยใช้ความเข้าใจส่วนตัวของคุณ อันมีประสบการณ์เพียงเล็กน้อย แทนที่ผู้อ่านจะเกิดความเข้าใจ หรือเกิดความรู้ที่ถูกต้อง กับกลายเป็นว่า คุณได้อธิบายบิดเบือนหลักความจริง ในทางพุทธศาสนาไปแล้ว
คุณต้องทำความเข้าใจไว้ว่า หลักอริยะมรรค อันมีองค์ 8 นั้น ย่อมเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพียงแต่เขาแยกอธิบายไว้เป็นข้อๆ คุณไปเอาอะไรที่ไหนมาอธิบาย โดยที่คุณไม่ใช้หลักอริยะมรรคมาอธิบาย

สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ดำริชอบ คือ ๑.เนกขัมมสังกัปปะ ดำริจะออกจากกามหรือปลอดจากโลภะ ๒.อัพยาปาทสังกัปปะ ดำริในอันไม่พยาบาท ๓.อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริในอันไม่เบียดเบียน (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)

บุคคลหากต้องการหลุดพ้นหรือต้องการขจัด กำจัด หรือละ หรือสำรอก กิเลส และอาสวะแห่งกิเลส ต้องมีความคิดดังกล่าวข้างต้น
การที่บุคคลจะมีความคิดดังกล่าวข้างต้นได้ ก็ต้องประกอบไปด้วย อริยะมรรคอีก ๗ ข้อ ผสมรวมกัน เพราะตามหลักพระไตรปิฎกแลัว เขาจะอธิบายเป็นอย่างๆ เป็นพวกๆ ไม่ผสมบนเปกัน คือ ไม่สอนให้เกิดความสับสน แต่ทุกเรื่องทุกอย่าง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ยกตัวอย่างเช่น
เมื่อมี ดำริชอบ ,ก็ย่อมต้องเกิด "ความเห็นชอบ" ,เมื่อมีความเห็นชอบ ก็ต้องมี "วาจาชอบ" และมี "ประพฤติชอบ" ซึ่งย่อมเกี่ยวข้องสัมพันธ์ก่อให้เกิด "การงานชอบ" และ"อาชีพชอบ" ซึ่งล้วนต้อง ประกอบด้วย "ควมเพียรชอบ" อันเกิดจาก การมี"จิตตั้งมั่นชอบ"หรือ ตั้งจิตมั่นชอบ"เมื่อปฏิบัติครบทุกข้อ ก็ย่อมสามารถประสบผลตามที่ได้ ดำริชอบ ไว้

แต่ในทางที่ลึกกว่า มรรคอันมีองค์ ๘ นี้ยังมีอีก ในที่นี้ไม่อธิบายขอรับ และไม่ใช่อย่างที่คุณผู้ใช้ชื่อว่าโศกะ อธิบายไปดอกขอรับ
เพราะ สัมมาสังกับปะ กับ ปฐมฌาน มันคนละเรื่องกัน อันหนึ่งมันเครื่องช่วย อันหนึ่งมันเป็นหลักปฏิบัติสมาธิ จะอธิบายอย่างไร ก็ไม่ถูกทั้งนั้น
เพราะคำว่า สัมมาสังกัปปะ นั้น เจาะจงใน 3 อย่าง และ 3อย่างที่เจาะจงนั้น ก็สามารถำให้บรรลุได้ โดยตัวของอริยะมรรคมีองค์ 8 อยู่แล้ว

ดังนั้น จึงขอเตือน ผู้ใช้ชื่อว่า "อโศกะ" หากไม่รู้แจ้ง ไม่รู้จริง ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็อย่าได้อธิบาย เพราะมันจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด บิดเบือน หลักธรรมคำสอน แล้วสอนใครไม่สอน ดันไปสอนพระนิสิต ปริญญาอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน เห็นจะทำวิจัยเรื่องเด็กๆ อยู่


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 16 พ.ย. 2009, 20:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร