วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อโศกะ สนทนาต่อ
คุณอายะครับ ตอนเรียนหนังสือเคยทำแบบฝึกหัดวิชาต่างๆ ไหมครับ
ที่ยกมาให้คุณลองทำดูก็เป็นแบบฝึกหัดเช่นกันครับ ทำแบบฝึกหัดได้ดีแล้วเวลาเจอโจทย์ของจริงก็จะแก้ไขได้ง่ายขึ้นนะครับ

ในกระบวนการศึกษานั้นเราต้องเริ่มที่หลักทฤษฏีก่อนแล้วจึงลงมือทำแบบฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ คงไม่มีใครไม่่ทำความเข้าใจการคูณเลขก่อนจะไปคูณเลขจริง อันนี้เป็นลอจิกที่ท่านกับผมเห็นไม่ตรงกัน
ในทำนองเดียวกันในการปฏิบัติธรรมเราก็ต้องอิงปริญัติไว้บางเผื่อไปเจอผู้แนะนำที่สอนผิดวิธี ไม่อย่างนั้นเราต้องหลับหูหลับตาเชื่ออย่างเดียว และถ้าเราสงในข้อธรรมบางอย่างที่อาจจะขัดแย้งกับการปฏิบัติผู้แนะนำก็ควรจะอธิบายชี้แจงให้เกิดความกระจ่าง

อ้างคำพูด:
สมถะกรรมฐานทั้ง 40 กอง ล้วนเป็นแบบฝึกหัดจิตใจทั้งสิ้น เพราะคน กำหนดกรรมฐานทั้งหมดขึ้นมา
เมื่อทำกรรมฐานได้ดี จิตตั้งมั่นควรแก่งานแล้ว พอไปเจอของจริง เช่นโดนด่า หรือโดนสบประมาท ลองดี ปฏิฆะ ความขุ่นมัว เกิดขึ้นในจิต ทีนี้หละลงสนามรบจริงแล้ว
จะทำอย่างไรกำหราบปฏิฆะ หรือโทสะ จะทำอย่างไร ขุดถอนปฏิฆะนี้ โดยสมถะวิธี ทำอย่างไร
โดยวิปัสสนาวิธี จะทำอย่างไร


โดยส่วนตัวนั้น ผมทำภาวนาแบบพองหนอยุบหนอเป็นหลัก แต่ผมก็มิได้ดูแคลนสมถะแม้แต่น้อยบางครั้งก็ต้องใช้สมถะช่วย เนื่องจากว่าในมรรคแปดนั้นจะต้องมีสัมมาสมาธิที่เป็นผลของสมถะเป็นองค์ประกอบอยู่เสมอ หากผู้ใดสมาธิดีแล้วหันมาเจริญปัญญาผู้นั้นก็จะมีความก้าวหน้าได้อย่างรวมเร็วอันนี้ท่านว่าจริงไหม หากผู้ใดเจริญสติอย่างเดียวไม่เอาสมาธิมันก็จะเป็นมรรค 7 มันก็จะไม่สำเร็จท่านว่าจริงหรือไม่ แต่โดยแท้จริงในทางปฏิบัติเมื่อสติเกิดสมาธิก็จะเกิดตามมาเป็นะธรรมดา ซึ่งบางทีอาจจะน้อยไปหรือมากไปแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องอาศัยสมาธิอยู่ดี โดยแท้จริงแล้วการที่จะทำให้สมาธิเกิดขึ้นเป็นระดับฌาณแล้วค่อยมาเจริญปัญญานั้นทำได้ยาก การเจริญสตินำสมาธิจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย

การจะไปรับรู้อารมณ์ที่ถูกกระทบนั้นจำเป็นต้องใช้สติเป็นหลักและมีสมาธิหนุนเนืองเสมอ ท่านเคยสังเกตสภาวะจิตช่วงที่ทำสมถะ เปรียบเทียบกับการเจริญสติบ้างหรือไม่ว่าแตกต่างกันอย่างไร และเคยทำสมถะให้จิตค่อนข้างราบเรียบก่อนแล้วเจริญวิปัสนาต่อทันทีหรือไม่ อันนี้ผมขอเสนอแบบฝึกหัดบ้าง :b16:
ไม่ว่าจะทำแบบสตินำสมาธิ หรือสมาธินำสติ ก็มุ่งสู่สติปัฐฐานสี่ทั้งนั้น ซึ่งจะเป็นทางแห่งการละสังโยชย์ ดังที่ท่านกล่าวมา



อ้างคำพูด:
ทั้งหมดนี้ก็ต้องเอาหลักทฤษฎีที่จดจำมาทั้งหมดมาเลือกเฟ้น ใช้ให้ถูกกับงานและอาการ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะนั้น :b8: ขอให้เรืองปัญญายิ่งๆขึ้นไป อัตตา มานะ ผอมลงๆ จนตายขาดหมดสิ้นนะครับ สาธุ Onion_L :b12: :b27:


ถ้ามันเป็นหลักทฤษฏีจริงก็น่าจะตอบคำถามผมได้ อย่างเช่นแนะนำให้กลั้นลมหายใจ นะมันทฤษฏีตรงไหน ถ้าท่านมีความปราถนาดีที่จะเผยแพร่ธรรม ท่านก็ควรจะมีความปราถนาดีที่จะสารธยาย ตอบคำถามธรรมที่ท่านเผยแพร่ด้วยนะครับ ส่วนตัวผมไม่ได้มีเจตนาไม่ดีส่วนตัวกับท่านเพียงแต่ผมเห็นว่าบางสิ่งบางอย่างมันไม่น่าจะถูกก็เลยถามไปนะครับ ตามที่ท่านกล่าวมาบางข้อความท่านอาจเป็นอริยะบุคคล แต่เป็นไปได้หรือไม่ว่าแม้อริยะบุคคลบางทีก็อาจแสดงธรรมผิดได้นะครับ

เจริญธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




ee265.jpg
ee265.jpg [ 19.46 KiB | เปิดดู 6380 ครั้ง ]
tongue
อ้างคำพูด:
โดยส่วนตัวนั้น ผมทำภาวนาแบบพองหนอยุบหนอเป็นหลัก แต่ผมก็มิได้ดูแคลนสมถะแม้แต่น้อย

อ้างอิงคุณอายะ

อโศกะตอบ
คำพูดของคุณอายะตอนท้ายนี้ค่อนข้างนิ่มและเป้นธรรมชาติมากขึ้น ไม่อ้างตำรามากมาย อย่างนี้จะคุยกันได้สนุกและนานครับ

คุณอายะทราบหรือเปล่าว่า คำว่า พองหนอ ยุบหนอ นั้นเป็นคำบริกรรม ตราบใดที่ยังใช้คำบริกรรม ตราบนั้นก็ยังเป็นเรื่องของสมถะภาวนา หรือการฝึกสติ สมาธิ
วางบริกรรม พองหนอ ยุบหนอได้เมื่อไร เมื่อนั้น สติ สมาธิโดยธรรมชาติ และปัญญาโดยธรรมชาติก็จึงจะเกิดขึ้นให้ได้รู้เห็น
ครูบาอาจารย์ หนอ สมัยแรกๆ ท่านสอนว่าให้ใช้หนอกำกับอิริยาบถ กาย ใจ ไป จนจิตคลายดื้อ หยุดดิ้นรน ควรแก่งานดีแล้ว ก็จึงทิ้งหนอ เมื่อทิ้งหนอได้ หรือทิ้งบริกรรมได้ดีแล้ว วิปัสสนาภาวนาที่แท้จริงจึงจะเกิดขึ้น เป็นลักษณะ
เอาปรมัตถ์ หาปรมัตถ์ ก็จะเห็นปรมัตถ์ ได้ปรมัตถ์ เป็นปรมัตถ์ เป็นลักษณะ ปล่อยราวบันไดแล้ว

ตอนที่ใช้หนอกำกับนั้นเป็นการเอาบัญญัติ หาบัญญัติ ก็จะเห็นบัญญัติ ได้บัญญัติ เป็นบัญญัติ เป็นลักษระยังยึดราวบันไดเดิน

กลับมาเรื่องที่ให้ลองกลั้นลมหายใจแล้ว ใช้สติ ปัญญา สังเกต กาย ใจ นั้นเป็นแบบฝึกหัด การเจริญ สติ เจริญปัญญา ควบคู่กันไป โดยจะมีผลของการกระทำ คือผลของการกลั้นลมหายใจ แสดงออกมาให้รู้ เห็น ในกายใจ ทันทีด้วย เป็นความจริง แต่เกิดมาจากการกำหนด บัญญัติ สั่ง นำ เพื่อเป็นการฝึกหัดและทดสอบความจริงที่เสมือนจริง
คุณอายะไม่ยอมตนลองดูนี่ครับ จึงยังต้องสงสัยอยู่ร่ำไป ลองทำดูซิครับ มีประโยชน์แน่นอน

การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 สายหนอนี่ก็ดีนะครับ ผมก็เริ่มต้นมาจากหนอนี่แหละครับ แต่ตอนนี้ ทิ้งหนอแล้ว
มาเจริญมรรค 8 หรือวิปัสสนาภาวนาเต็มตัว ไม่ใช้บริกรรมแล้วครับ เพราะฉนั้นไม่ต้องสงสัยว่าผมเป็นอย่างไร


ให้สงสัยตัวเองว่า ไอ้ที่ข้าพเจ้ากำลังยึดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดไม่มีอะไรเท่านี้ มันดีจริงหรือเปล่า แล้วไอ้ที่ชอบอ้างตำรา อ้างคัมภีร์ มีในคัมภีร์จึงจะถูก จึงจะเชื่อเนี้ยะ ลองไปค้นในคัมภีร์ดูซิว่า คำสอนที่ให้ใช้คำบริกรรมว่า หนอ ๆ นี่ มีหลักฐานอยู่ในพระสูตรใด ช่วยกรุณายกมาแสดงให้ดูเป็นขวัญตาด้วยครับ อย่าบอกว่าก็สติปัฏฐานสูตรไงครับ ไม่มีนะในสติปัฏฐานสูตร หรือมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ระบุว่าให้ใช้คำว่าหนอตามท้ายทุกอารมณ์ความรู้สึก แต่เรื่องนี้ก็ยกมาพูดกับเฉพาะคุณอายะ ให้เกิดฉุกคิดขึ้นมาเท่านนั้น มิได้มีเจตนา ติติง การปฏิบัติสายหนอดอกนะครับ กราบขออภัยด้วยหากกระทบใจศิษย์ หนอ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านอโศกะ

อ้างคำพูด:
หนอ นั้นเป็นคำบริกรรม ตราบใดที่ยังใช้คำบริกรรม ตราบนั้นก็ยังเป็นเรื่องของสมถะภาวนา หรือการฝึกสติ สมาธิ

ที่ผมกล่าวไปนั้นเป็นรูปแบบครับ แต่ผมไม่ได้บอกว่าผมยังบริกรรมอยู่หรือไม่ การบริกรรมตามรูปแบบนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การกำหนดเป็นไปโดยง่าย และแนบแน่นแต่หากผู้ใดอินทรีย์แก่กล้าพอแล้วและสามารถเจริญสติโดยไม่ใช้คำบริกรรมและได้ประสิทธิภาพดีการทิ้งคำบริกรรมนั้นก็ไม่มีปัญหาอะไร
กรุณาอย่าเข้าใจว่าการทิ้งบริกรรมนั้นจะเป็นวิปัสสนาเสมอไปนะครับ การทำสมถะหากสมาธิถึงระดับหนึ่งมันก็จะทิ้งคำบริกรรมไปเองนะครับ

อ้างคำพูด:
เอาปรมัตถ์ หาปรมัตถ์ ก็จะเห็นปรมัตถ์ ได้ปรมัตถ์ เป็นปรมัตถ์ เป็นลักษณะ ปล่อยราวบันไดแล้ว
ตอนที่ใช้หนอกำกับนั้นเป็นการเอาบัญญัติ หาบัญญัติ ก็จะเห็นบัญญัติ ได้บัญญัติ เป็นบัญญัติ เป็นลักษระยังยึดราวบันไดเดิน


หนอนั้นเป็นบัญญัติที่ช่วยให้เห็นปรมัตถ์ แม้กระทั่งยังมีการบริกรรมหนออยู่จิตก็สามารถเห็นปรมัตถ์ได้นะครับ

อ้างคำพูด:
ลองไปค้นในคัมภีร์ดูซิว่า คำสอนที่ให้ใช้คำบริกรรมว่า หนอ ๆ นี่ มีหลักฐานอยู่ในพระสูตรใด ช่วยกรุณายกมาแสดงให้ดูเป็นขวัญตาด้วยครับ


เป็นคำบัญญัติที่ไม่ได้กำหนดไว้ในพระสูตร เป็นคำที่ครูบาอาจารย์ท่านกำหนดมา สองพยางค์ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเพื่อให้การเจริญสติเป็นไปได้ง่ายสอดคล้องกับอาการที่ปรากฎครับ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า rising-falling คือ ing = หนอ ครับ หรือถ้าเป็นสมถะบางคนก็ใช้ พุท โธ บางคน นะมะพะธะ บางคน สัมมาอรหัง คือจะสรุปว่ามันเป็นคำบัญญัติครับ แต่ที่ตรงตามพระสูตรนั้นเป็นรูปแบบต่างหากครับ คือ ยืีนก็รู้ว่ายืน (ยืนหนอ) ไม่ต้องไปปรุงแต่งอะไรเพิ่มอีกคืออยู่กำปัจจุบันให้สติต่อเนื่องดุจสายน้ำ้ จิตจะเคลื่อนย้ายไปตามฐานทั้ง 4 ตลอดแบบต่อเนื่อง มิได้ไปแช่อยู่ฐานใดฐานหนึ่ง

อ้างคำพูด:
เพราะฉนั้นไม่ต้องสงสัยว่าผมเป็นอย่างไร

ผมไม่สงสัยในตัวท่านหรอกครับหากแต่สงสัยในธรรมที่ท่านแสดงครับ อย่างไรก็ช่วยชี้แจงรูปแบบเต็มในธรรมะรูปแบบที่ท่านปฏิบัติดังที่ว่า
อ้างคำพูด:
มาเจริญมรรค 8 หรือวิปัสสนาภาวนาเต็มตัว


ทำอย่างไรครับ อย่าลืมโยงสมาธิมาเอี่ยวด้วยให้ได้นะครับ มิฉะนั้นผมจะถือว่าเป็นมรรค 7 ทันที :b16:

เจริญธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 12 พ.ย. 2009, 13:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




WH_0048.JPG
WH_0048.JPG [ 99.59 KiB | เปิดดู 6368 ครั้ง ]
tongue
ตอบคุณอายะ วิธีเจริญมรรค 8 ครับ

หลังจากที่สมเด็จพระบรมศาสดาได้ทรงใช้พระชนม์ชีพของพระองค์ ทดสอบอยู่กับกามสุขาลิกานุโยโค จนพระชนมายุถึง 29 พรรษา

ทดสอบอยู่กับอัตตกิลมมัตถานุโยค คือการเจริญสมถะภาวนา ตามแบบของพราหมณ์ ฮินดู ฤาษี ชีไพร อยู่อีกเกือบ 6 ปี

ที่ สุดพระองค์ก็ได้พบทางสายกลางคือการเจริญปัญญา โดยมี สติ สมาธิ เป็นกองหนุน ค้นคว้าเข้าไปใน รูป - นาม กาย - ใจ จนพบสัจจธรรมความจริง คือสามัญลักษณะทั้ง 3 อริยสัจ 4 จนทรงละมิจฉาทิฐิ อวิชชาได้หมดสิ้น ได้ถึงอรหัตผล พ้นทุกข์และความเวียนว่ายตายเกิด เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทางสายกลางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้นั่นคือ มรรค มีองค์ 8 อันแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ ปํญญามรรค 2 ศีลมรรค 3 สมาธิมรรค 3

ชื่อย่อของการเจริญมรรค 8 นั้นคือ วิปัสสนาภาวนา

พิจารณา จากความเป็นมาของมรรค 8 นั้น จึงเห็นได้ว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น มีความพร้อม เบ็ดเสร็จ สมบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว เพราะมีทั้ง ปัญญา ศีล ความเพียร สติ สมาธิ ร่วมกันทำงาน เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน สนับสนุนกัน ถ่วงดุลย์กัน อยู่ในตัวพร้อมมูลแล้ว

ใคร ผู้ใดก็ตาม ตีความแตก จับประเด็นของวิปัสสนาภาวนาได้ถูกต้องแล้ว จะเจริญวิปัสสนาภาวนา อันเป็นวิชาที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และมีอยู่เฉพาะในพุทธศาสนา เป็นเอกลักษณะของพระพุทธศานา ไม่มีอยู่ในศาสนาอื่นๆ เจริญเพียงวิปัสสนาภาวนาให้ถูกต้องเพียงอย่างเดียวก็จะสามารถนำพาตนให้เข้า ถึง มรรค ผล นิพพาน ได้ ไม่ื่เนิ่นช้าอย่างแน่นอน

ที่พระ พุทธองค์จะต้องทรงแสดงเรื่องสมถะภาวนาอยู่หลายที่หลายแห่งในพระสูตรก็เพราะ ลูกศิษย์ของพระองค์สมัยนั้นล้วนแล้วแต่ฤาษี ชี ไพร อเจลกะ นักสมถะทั้งหลายทั้งสิ้น พระองค์จึงต้องทรงเชื่อมโยงความรู้ของท่านเหล่านั้น เข้ามาต่อยอด คือสมาธิดีแล้ว ก็นำมาต่อยอดเจริญปัญญาต่อไป ก็จึงพากันบรรลุนิพพานได้อย่ามากมาย

แต่ในปฐมเทศนา ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้เป็นอันดับแรกก่อนเพื่อนเลยว่า
ดูก่อนปัญจวัคคีย์ สิ่งสุดโต่ง 2 อย่างที่เธอไม่พึงกระทำ คือ กามสุขัลลิกานุโยโค กับ อัตตกิลมถานุโยโค
เธอพึงเดินตามมัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรค มีองค์ 8

สิ่ง สำคัญที่สุดคือการมาตีความของคำว่า กามสุขัลลิกานุโยโค อัตตกิลมถานุโยโคและมัชฌิมาปฏิปทา ถ้าตีความหมายได้ถูกต้องการปฏิบัติธรรมให้ถึงมรรค ผล นิพพาน จะไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากเลย

แต่ถ้าตีความหมายผิด การปฏิบัติธรรมให้ถึงมรรค ผล นิพพาน จะกลายเป็นเรื่องที่ยาก ลำบาก ใช้เวลานานแสนนาน

จะ ตีความ กามสุขัลลิกานุโยโค อัตตกิลมถานุโยโคและมัชฌิมาปฏิปทา อย่างไร จึงจะเข้าถึงความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม และสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ

ไว้มาติดตามดูกันต่อไปนะครับ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
...คิดถึงเจ้าของกระทู้ " rjasaen " หายไปไหนน๊า... :b12:
...ปฏิบัติธรรมแบบไหนอยู่น๊า...ที่ตั้งคำถามไว้ปฏิบัติไปถึงไหนแล้วเอ่ย... :b6:
...เข้ามาเล่าให้สมาชิกรู้บ้างสิน่าเจ้ะคะ...เพราะตอนนี้สมาชิกตอบกระทู้กันคึกคักใหญ่เลย... :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อโศกะ"คุณอายะ วิธีเจริญมรรค 8 ครับ.......

ครับ คือผมถามที่ท่านอโศกะทำนะครับทำอย่างไร พอจะอธิยายเป็นคำพูดได้ไหม ปฏิบัติอย่างไร เดินอย่างไร นั่งอย่างไร ประมาณนี้ครับ (อย่าลืมสมาธินะครับ :b1: เดี๋ยวกลายเป็นมรรคเจ็ด) หรือวิธีปฏิบัติที่สอนศิษย์ของท่านก็ได้ สอนเดิน สอนนั่งอย่างไรครับ


เจริญธรรมคับ


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 16 พ.ย. 2009, 19:31, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




ee287.jpg
ee287.jpg [ 19.72 KiB | เปิดดู 6338 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
คุณอายะ
ครับ คือผมถามที่ท่านอโศกะทำนะครับทำอย่างไร พอจะอธิยายเป็นคำพูดได้ไหม ปฏิบัติอย่างไร เดินอย่างไร นั่งอย่างไร ประมาณนี้ครับ (อย่าลืมสมาธินะครับ :b1: เดี๋ยวกลายเป็นมรรคเจ็ด) หรือวิธีปฏิบัติที่สอนศิษย์ของท่านก็ได้ สอนเดิน สอนนั่งอย่างไรครับ


คุณอายะครับผมตอบไว้ที่กระทู้วิปัสสนาครับ ยกมาที่นี่อีกทีก็ได้ครับ เติมเรื่องการเดินจงกรมให้ด้วย

ตอบคุณอายะ
คุณอายะลองอ่านข้อความที่ยกมานี้ด้วยความพินิจพิเคราะห์ แล้วจับประเด็นออกมาให้ได้นะครับ ถ้ายังไม่เห็นทาง ก็คุยกันต่อไปได้อีก

อีกเรื่องที่ต้องขอให้คุณอายะกลับไปสังเกตใหม่ว่า ในคำพูดเรื่องญาณ 16 ผมมิได้ระบุว่า ผู้ปฏิบัติธรรมได้ 7 - 8 วันจะผ่านญาณ 16 และบรรลุธรรมแต่ได้กล่าวว่า
ผู้ปฏิบัติธรรมได้ 7 - 8 วัน จะเข้าถึง อนัตตวิปัสสนา ส่วนการจะบรรลุธรรมคือมรรคเกิดนั้น ต้องขึ้นแล้วอยู่กับ กำลังสติ วิริยะ ปัญญา ตบะ ขันติ สมาธิ สัจจ หรืออธิษฐานของแต่ละคน ที่จะต่อยอดขึ้นไปจากสังขารุเปกขาญาณ

เท่าที่สังเกตจากประสบการณ์จริง ใครก็ตามที่จิตเข้าถึงและยอมรับ อนัตตา เขาผู้นั้นประดุจได้กุญแจไขประตู หรือสะพานสำหรับทอดข้ามเข้าสู่พระนิพพาน รอโอกาสที่อนุโลมญาณ โคตรภู และมรรคญาณจะเกิดขึ้นมาตอนที่มรรคสมังคี
ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ ผู้ปฏิบัติท่านใด ถ้ามาถึงวันแรกแล้วลองให้ทำความนิ่งของจิตจนถึงระดับรู้หัวใจเต้นและชีพจร ขัดได้ภายในเวลาไม่เกิน 2 - 3 นาที เขาเหล่านั้น จะสามารถแยกรูปแยกนามได้ตั้งแต่วันแรกๆ เลยทีเดียว หลังจากนั้นพอเข้าวันที่ 3 - 4 บางคนก็แยก รูป - นามเวทนา - นามปัญญา นามอุปาทานว่าเป็นอัตตา กู ได้ชัด

ปัญญา เห็น กู สู้ กู อยู่ไม่ถอย ไม่ยอมแพ้ หลังจากนั้น อีก วัน สองวัน กูก็หลบ (ถึงอนัตตา) บางคน กู ตาย (สักกายทิฐิ ดับขาด)
แต่นานๆ จะปรากฏสักคนหนึ่ง

สถิติ ที่เคยจดจำมา ถ้าเจริญมรรค 8 เป็น หรือ ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาได้ถูกต้อง ผู้ที่ถึง กู หลบ จะมีประมาณ 15 - 20 % ส่วนผุ้ที่ กู ตาย จะมีประมาณ 1 - 2 %
:b8:

วิธีเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
หา ที่อันสงัด ปูลาดอาสนะ ขัดสมาธินั่ง ตั้งกายให้ตรง หลังตรง คอตรง หัวตั้งตรง มนสิการ ตั้งใจ โยนิโส ตั้ง สติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ สมาธิ ต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย ที่สุดจะได้ รู้ ได้เห็น กระบวนการทำงานของกายและจิต ว่า
:b1:
เมื่อ มีผัสสะ การกระทบของทวารทั้ง ๖ กับสิ่งที่มากระทบ จะเกิดเวทนา ความรู้สึก ตัณหาความอยากขึ้นมาทุกครั้งไป เป็นอารมณ์ธรรม ๑ สัมผัส ๑ อารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นอดีต แล้วก็เกิดผัสสะและอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ให้ได้ ดู ได้เห็น ได้รู้ ได้สังเกต พิจารณา สืบต่อหนุนเนื่อง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปไม่หยุดยั้ง ตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลานอนหลับในตอนค่ำจิตเข้าภวังค์หมดความรับรู้สัมผัส พอตื่นเช้าขึ้นมา มีสติ สัมปชัญญะรู้ตัว มีการรับรู้สัมผัสของทวารทั้ง ๖ ขึ้นมาอีก กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของจิตก็จะดำเนินการต่อไปเหมือนเช่นเคย
:b20:
ถ้า รู้ทันปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความสังเกต พิจารณามีกำลัง คม ละเอียด เฉียบแหลม ก็จะได้เห็นถึงความจริงอันสำคัญว่า วันทั้งวันจะมีแต่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของอารมณ์ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมา และบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ตลอดเวลา นี่คือปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิต
:b8:
แต่ สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ เป็นงานของวิปัสสนาภาวนาคือผู้ปฏิบัติทุกคนจะได้พบเห็นว่ามีสิ่งแปลกปลอม เกิดขึ้นมายุ่งกับทุกการกระทบสัมผัสทุกครั้งไป คือมีอุปาทานความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุดขึ้นมารับรู้เวทนา ตอบโต้กับเวทนา จนเกิดเป็นตัณหา ความอยากทั้ง ๓ อย่าง คือ กามตัณหา ความยินดีพอใจในสัมผัสทั้ง ๖

ภวตัณหา ความอยากได้ อยากเป็น อยากมี อยากเอา เมื่อพบกับอารมณ์ที่ชอบใจ เกิดเป็นโลภะ วิภวตัณหา ความยินร้าย ไม่ชอบใจเกิดขึ้นเมื่อพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ เกิดเป็นโทสะ ความขุ่นมัวและโกรธ หรือเกิดความไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ เกิดความวางเฉย เป็น อุเบกขา แล้วก็จะเกิดความปรุงแต่งไปด้วยอำนาจแห่งความยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ เป็นมโนกรรม เป็นวจีกรรม เป็นกายกรรมไปตามลำดับ เมื่อกรรมครบองค์ ๓ ก็จะเกิดผล เป็นวิบากให้ผู้กระทำกรรมต้องได้รับผล เสวยผล เป็นบาป เป็นบุญ สุข ทุกข์ ไปตามกำลังแห่งกรรมที่ตนกระทำ หมุนเวียน สืบต่อกันไปทั้งวัน
:b27:
เมื่อ ผู้ปฏิบัติมีญาณ คือปัญญา รู้ เห็นสิ่งแปลกปลอมคือ อุปาทานความเห็นผิดว่า เป็นอัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุด ขึ้นมาในจิตอย่างนี้จนชัดเจนดีแล้ว ก็จงทำตามหัวใจการภาวนาดังที่สรุปไว้ที่ปกหลังของหนังสือเล่มนี้ ไม่ช้าไม่นานก็จะได้พบเห็นว่า สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้องว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู จะเกิดขึ้นมาแทนที่ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู มากขึ้น ๆ ความเห็นผิดเป็นอัตตา ตัวกู ของกูจะผอมลง เบาบาง จางลง ลดลง ๆ ไปเรื่อยๆ จนหมดสิ้นไป ดับหาย ตายขาดไปจากจิตใจในที่สุด แล้วผลอันยิ่งใหญ่ คือนิพพานธาตุก็จะเกิดปรากฏขึ้นมาในจิตในใจของผู้ปฏิบัติให้รู้แจ้งด้วยตน เอง

*********งานและหน้าที่ของชาวพุทธ
ละความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู
*********พอกพูนความเห็นถูกต้อง ว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู
ทุกวัน เวลา นาฑี วินาฑี ที่ระลึกได้
และมีโอกาส

**********หัวใจวิปัสสนาภาวนา
ใจปัญญาอย่ายอมใจเป็นกู นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา
ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ มิยอมถอย ถ้าสู้ได้
ทนได้ ไม่ตะบอย กู จะถอยหรือตายดับ ไปจากใจ
:b8: :b27: smiley
***************การเดินจงกรม
การเดินจงกรมคือการเดิน ไป - กลับ บนทางเดินที่เป็นเส้นตรง ระยะทางประมาณ ๑๒ - ๓๐ ก้าวหรือไกลกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ที่จะเดิน เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ ฝึกสติให้ทันปัจจุบันอารมณ์ ฝึกปัญญาให้สังเกตเห็นความ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของสภาวธรรมต่างๆ ฝึกปัญญาให้เห็นถึงความเป็นกลางและสมดุลย์ มีวิธีเดินอยู่ ๓ อย่าง

๑. เดินเปลี่ยนอิริยาบถ ให้เลือดลมถ่ายเทสม่ำเสมอทั่วร่าง คือเดินธรรมดาไปกลับ ๆ มีสติรู้และปัญญาสังเกตอยู่แต่เพียงความรู้สึกที่ฝ่าเท้ายกพ้นพื้นและสัมผัสกับพื้น

๒. เดินให้มีสติรู้ทัน มีปัญญาสังเกตการเกิดขึ้น และ ดับไปของธาตุดิน คือความรู้สึก หนัก ความรู้สึกเบา ที่เกิดขึ้นที่ฝ่าเท้า ให้ทำทีละอย่าง ไปจน สติ ปัญญามีกำลังดีพอและมีความชำนาญแล้ว จึงค่อยสังเกตรู้ทันการเกิดขึ้น ดับไปของหนักและเบา

การเดินจงกรม ควรถอดรองเท้า ถุงเท้า เพื่อให้อุ้งเท้า ฝ่าเท้าได้สัมผัสพื้นจริงๆ จะได้สังเกตรู้ความสัมผัสของเท้าได้ชัดเจน แม่นยำ ทันปัจจุบันอารมณ์

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเดินจงกรม คือ จะเป็นการฝึกทั้งสติ สัมปะชัญญะ และปัญญา ตัวสังเกต พิจารณา ให้มีความคมกล้า ละเอียด แม่นยำ ฉับไว รู้ทันการเกิดขึ้น
ตั้งอยู่ ดับไปของปัจจุบันอารมณ์ ทำให้จิตคือปัญญา รู้จักกึ่งกลาง ของธาตุคู่ คือ หนัก กับ เบา อันจะเอาไปประยุกต์ใช้ให้รู้จักสังเกตจนเห็นกึ่งกลางของสิ่งที่เป็นคู่ทั้งหมด เช่น ร้อน กับ เย็น สุข กับทุกข์ เจ็บ กับ สบาย วุ่นวาย กับ สงบ มืด กับ สว่าง อัตตา กับ อนัตตา ฯลฯ ประโยชน์นอกนั้นก็ทำให้หายง่วง อินทรีย์สม่ำเสมอ เลือด ลมถ่ายเทสะดวกทั่วร่าง เวลากลับไปนั่งภาวนาจะนั่งได้ทนนานขึ้น ประโยชน์อื่นพระพุทธเจ้าเคยทรงสอนไว้ต้องไปหาอ่านดูในพระไตรปิฎก

:b27: :b12: :b16: smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:28
โพสต์: 307

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสนา ก็คือการกำหนดรุ้ทุกลมหายใจ ทุกอิริยาบถ ทุกอารมณ์ที่มากระทบ

ส่วนการนั่งสมาธินั้น ทำให้จิตสงบได้ก็จริง
อาจนั่งได้เป็นวันเลยก็ได้ อาจทำให้เกิดความสุข (จนไม่อยากทำอะไร)
แต่เราอาจไม่ได้อะไรอย่างแท้จริง อาจจะติดอยู่แต่อารมณ์ที่สงบนั้น


อนุโมทนาครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านอโศกะ
ขอโทษด้วยนะครับที่หายไปนานเข้าเรื่องสนทนากันเลยนะครับ

อ้างคำพูด:
อีกเรื่องที่ต้องขอให้คุณอายะกลับไปสังเกตใหม่ว่า ในคำพูดเรื่องญาณ 16 ผมมิได้ระบุว่า ผู้ปฏิบัติธรรมได้ 7 - 8 วันจะผ่านญาณ 16 และบรรลุธรรมแต่ได้กล่าวว่า

ขอโทษทีที่ตีความผิด(หรือเปล่า)นะครับ แต่สรุปว่ามันไม่มีกฏเกณฑ์อย่างนี้เป็นอันใช้ได้คับ

อ้างคำพูด:
ผู้ปฏิบัติธรรมได้ 7 - 8 วัน จะเข้าถึง อนัตตวิปัสสนา ส่วนการจะบรรลุธรรมคือมรรคเกิดนั้น ต้องขึ้นแล้วอยู่กับ กำลังสติ วิริยะ ปัญญา ตบะ ขันติ สมาธิ สัจจ หรืออธิษฐานของแต่ละคน ที่จะต่อยอดขึ้นไปจากสังขารุเปกขาญาณ
เอาเฉพาะญาณนี้ก็ได้ 7-8 วันได้ญาณนี้ผมก็ถือว่าแจ่มมากๆแล้ว ถ้าเป็นการไม่รบกวนท่านช่วยเล่าพอที่จะเล่าได้ไหมว่าผู้ที่ถึงญาณนี้นั้นมีอาการทางกายและทางจิตอย่างไรบ้าง หรือว่าท่านรู้วาระจิตของผู้ปฏิบัติโดยอัตโนมัติ

อ้างคำพูด:
เท่าที่สังเกตจากประสบการณ์จริง ใครก็ตามที่จิตเข้าถึงและยอมรับ อนัตตา เขาผู้นั้นประดุจได้กุญแจไขประตู หรือสะพานสำหรับทอดข้ามเข้าสู่พระนิพพาน
อันนี้ท่านดูอย่างไรคับ ที่จิตเข้าถึงอนัตตา
ถ้าเป็นพวกที่จิตเข้าถึงทุกข์ขัง หรืออนิจจัง จะขึ้นสะพานได้ไหมคับ


อ้างคำพูด:
ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ ผู้ปฏิบัติท่านใด ถ้ามาถึงวันแรกแล้วลองให้ทำความนิ่งของจิตจนถึงระดับรู้หัวใจเต้นและชีพจร ขัดได้ภายในเวลาไม่เกิน 2 - 3 นาที
คนพวกนี้จัดอยู่ในพวกสมาธิดีหรือเปล่าคับ แล้วอะไรเป็นเหตุให้คนพวกนี้จิตนิ่งเร็วกว่าคนอื่น

อ้างคำพูด:
เขาเหล่านั้น จะสามารถแยกรูปแยกนามได้ตั้งแต่วันแรกๆ เลยทีเดียว หลังจากนั้นพอเข้าวันที่ 3 - 4 บางคนก็แยก รูป - นามเวทนา - นามปัญญา นามอุปาทานว่าเป็นอัตตา กู ได้ชัด
วันแรกได้รูปนามปริเฉท ต่อมาอีก 3- 4 วันก็ได้รูปนามปริเฉท อีกอย่างนั้นหรือคับ อ้าวเหลืออีก 4 วันก็จะครบ 8 วัน แล้วจะไปถึงสังขารรุเบกขาได้หรือคับ เหลืออีกตั้ง 9 ญาณ หรือถ้าให้เฉลี่ยก็อีกประมาณญาณละ 4x24/9 = 10.67 ชม ถ้าได้อย่างนี้จริงผมจะรีบลางานไปเลยละครับ ตอนนี้เปลี่ยนใจไม่ลาออกจากงานแล้ว :b16:


อ้างคำพูด:
ปัญญา เห็น กู สู้ กู อยู่ไม่ถอย ไม่ยอมแพ้ หลังจากนั้น อีก วัน สองวัน กูก็หลบ (ถึงอนัตตา) บางคน กู ตาย (สักกายทิฐิ ดับขาด) แต่นานๆ จะปรากฏสักคนหนึ่ง
อันนี้ตัดสังโยชน์ได้ข้อนึงเลยนะครับ แล้ว สีลัพพตปรามาส กับ วิจิกิจฉา ยังอยู่หรือเปล่าคับหรือตัดไปได้อันเดียว

อ้างคำพูด:
สถิติ ที่เคยจดจำมา ถ้าเจริญมรรค 8 เป็น หรือ ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาได้ถูกต้อง ผู้ที่ถึง กู หลบ จะมีประมาณ 15 - 20 % ส่วนผุ้ที่ กู ตาย จะมีประมาณ 1 - 2 %
อยากรู้จังที่ถูกต้องเขาทำกันยังไงคับ แล้วกูหลบ, กูตาย นี่มันญาณไหนกันนี่แล้วเขาดูกันอย่างไง


อ้างคำพูด:
วิธีเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
หา ที่อันสงัด ปูลาดอาสนะ ขัดสมาธินั่ง ตั้งกายให้ตรง หลังตรง คอตรง หัวตั้งตรง มนสิการ ตั้งใจ โยนิโส ตั้ง สติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ สมาธิ ต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย ที่สุดจะได้ รู้ ได้เห็น กระบวนการทำงานของกายและจิต ว่า เมื่อ มีผัสสะ การกระทบของทวารทั้ง ๖ กับสิ่งที่มากระทบ จะเกิดเวทนา ความรู้สึก ตัณหาความอยากขึ้นมาทุกครั้งไป เป็นอารมณ์ธรรม ๑ สัมผัส ๑ อารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นอดีต แล้วก็เกิดผัสสะและอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ให้ได้ ดู ได้เห็น ได้รู้ ได้สังเกต พิจารณา สืบต่อหนุนเนื่อง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปไม่หยุดยั้ง ตลอดเวลา


ถ้าผมตีความไม่ผิดก็ดูสิ่งที่มากระทบกับทวารทั้ง 6 ใช่ไหมคับ เอแล้วมันเป็นมรรคแปดอย่างไงคับ ช่วยอธิบายเอาให้องค์ธรรมทั้ง 8 มาบรรจบกับการดูผัสสะนี้ด้วยนะครับเอาให้แจ่มเลยนะครับ





อ้างคำพูด:
แต่ สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ เป็นงานของวิปัสสนาภาวนาคือผู้ปฏิบัติทุกคนจะได้พบเห็นว่ามีสิ่งแปลกปลอม เกิดขึ้นมายุ่งกับทุกการกระทบสัมผัสทุกครั้งไป คือมีอุปาทานความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุดขึ้นมารับรู้เวทนา ตอบโต้กับเวทนา จนเกิดเป็นตัณหา ความอยากทั้ง ๓ อย่าง คือ กามตัณหา ความยินดีพอใจในสัมผัสทั้ง ๖

แล้วถ้าผมไปนั่งในห้องแอร์อากาศสบาย เงียบๆ นั่งหลับตา ไม่ได้อมลูกอม ห้องก็ไม่เหม็นไม่หอม ไม่มีอะไรมากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันก็เลยไม่มีอะไรมากระทบแล้วผมจะดูผัสสะอย่างไงดีครับ


อ้างคำพูด:
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเดินจงกรม คือ จะเป็นการฝึกทั้งสติ สัมปะชัญญะ และปัญญา ตัวสังเกต พิจารณา ให้มีความคมกล้า ละเอียด แม่นยำ ฉับไว รู้ทันการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของปัจจุบันอารมณ์
อันนี้ไม่จำเป็นต้องเดิน นั่งก็น่าจะทำได้นะครับ

อ้างคำพูด:
ทำให้จิตคือปัญญา รู้จักกึ่งกลาง ของธาตุคู่ คือ หนัก กับ เบา อันจะเอาไปประยุกต์ใช้ให้รู้จักสังเกตจนเห็นกึ่งกลางของสิ่งที่เป็นคู่ทั้งหมด เช่น ร้อน กับ เย็น สุข กับทุกข์ เจ็บ กับ สบาย วุ่นวาย กับ สงบ มืด กับ สว่าง
แล้วเกี่ยวกันอย่างไรกับ
อ้างคำพูด:
อัตตา กับ อนัตตา ฯลฯ ประโยชน์นอกนั้นก็ทำให้หายง่วง อินทรีย์สม่ำเสมอ


อ้างคำพูด:
เลือด ลมถ่ายเทสะดวกทั่วร่าง เวลากลับไปนั่งภาวนาจะนั่งได้ทนนานขึ้น ประโยชน์อื่นพระพุทธเจ้าเคยทรงสอนไว้ต้องไปหาอ่านดูในพระไตรปิฎก

ก็เพราะในพระไตรปิฏกไม่ได้บอกอย่างนี้ครับปัญหาก็เลยเกิดนะครับ เช่น นั่งได้นานเพราะเลือดลมถ่ายเทสะดวก แล้วทำไมต้องนั่งได้นานเมื่อไม่ต้องการสมาธิ แล้วต้องเดินก่อนหรือนั่งก่อน แล้วเพราะอะไร
ช่วยกรุณาตอบทุกคำถามด้วยคับ ถ้าตอบได้แจ่มผมจะไปฝึกกับท่าน อีกทั้งจะชวนคนรู้จักทั้งหมดไปด้วย หาไม่ได้อีกแล้วในประเทศไทยที่รับรอบผลว่า 8 วันได้สังขารุเบกขาญาณ


เจริญธรรมครับ


หมายเหตุมีข่าวมาฝากท่านอโศกะ

ประกาศสวนพุทธธรรม ป่าละอู
เรื่อง ความเกี่ยวข้องกับ สวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

เนื่อง จากปัจจุบันได้มีพระภิกษุ แม่ชี และญาติโยม ได้ให้ความเมตตาเดินทางหรือติดต่อไปยังสวนพุทธธรรม ป่าละอูบ่อยครั้ง ด้วยความเข้าใจที่ว่า สวนพุทธธรรม ป่าละอู และสวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มีความเกี่ยวข้องกันในฐานะเป็นวัดสาขา หรือมีความใกล้ชิดกันในลักษณะวัดพี่วัดน้อง โดยมีคำสอน , หลักปฏิบัติ และปฏิปทาในลักษณะเดียวกัน ความเข้าใจดังกล่าว เป็นเหตุให้พระภิกษุและญาติโยมในสวนพุทธธรรม ป่าละอู มีความจำเป็นต้องชี้แจงความจริงให้ญาติโยม ทราบครั้งละท่าน หรือครั้งละหมู่คณะ เป็นจำนวนบ่อยครั้ง ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

สวน พุทธธรรมฯจึงใคร่ขอชี้แจงข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวมา ณ ที่นี้ว่า หลวงพ่อมนตรี อาภัสสะโร (สวนพุทธธรรม ป่าละอู) และหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช (สวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ. ชลบุรี) มีความรู้จักหรือคุ้ยเคยกันในฐานะผู้ปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันในฐานะเป็นศิษย์พี่ศิษย์น้องแต่อย่างใด และทางสวนพุทธธรรม ป่าละอู ไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ทางส่วนตัว , คำสอน, ปฏิปทา หรือหลักปฏิบัติใดๆ กับ สวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ไม่ว่าในด้านใดทั้งสิ้น หากแต่ถือเป็นสำนักสงฆ์ภายใต้พระพุทธศาสนาเดียวกันเท่านั้น

จึงเรียนมาเพื่อความเข้าใจโดยทั่วกัน

สำนักปฏิบัติธรรม สวนพุทธธรรม ป่าละอู

11 พฤศจิกายน 2552


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 25 พ.ย. 2009, 22:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา พระอานนท์ได้กล่าวถึงพระภิกษุที่บรรลุอรหันต์ในสำนักของท่านมีอยู่ 4 แนวทาง (ในตำราท่านใช้คำว่ามรรค 4) โดยมีรายละเอียดในพระสูตรดังนี้

[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง

มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

* * *

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

* * *

[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑ ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ

* * *

[๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมีอย่างไร ฯ

[๕๔๒] เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร) อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ
น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_1485.jpg
100_1485.jpg [ 1.93 KiB | เปิดดู 6294 ครั้ง ]
100_1479.jpg
100_1479.jpg [ 1.73 KiB | เปิดดู 6294 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณอายะ อนุโมทนาสาธุกับการสนทนาธรรมอันเป็นประโยชน์ เมตตา สงบ เปี่ยมด้วยมิตรไมตรีแห่งกัลยาณมิตร กัลยาณธรรม

ผมคงต้องขอยกทั้งข้ออ้างอิงและคำถามของคุณอายะมาทั้งหมดแล้วตอบเป็นข้อๆ เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น


สวัสดีครับท่านอโศกะ
ขอโทษด้วยนะครับที่หายไปนานเข้าเรื่องสนทนากันเลยนะครับ

อ้างอิงคำพูด:
อีก เรื่องที่ต้องขอให้คุณอายะกลับไปสังเกตใหม่ว่า ในคำพูดเรื่องญาณ 16 ผมมิได้ระบุว่า ผู้ปฏิบัติธรรมได้ 7 - 8 วันจะผ่านญาณ 16 และบรรลุธรรมแต่ได้กล่าวว่า

ขอโทษทีที่ตีความผิด(หรือเปล่า)นะครับ แต่สรุปว่ามันไม่มีกฏเกณฑ์อย่างนี้เป็นอันใช้ได้คับ


อโศกะตอบ
การจะผ่านญาณ 16 หรือผ่านญาณแต่ละญาณในญาณ 16 ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและเหตุ ปัจจัย ของผู้ปฏิบัติแต่ละคน ส่วนที่ผมยกขึ้นมาเล่าให้ฟังนั้นเป็นสิ่งที่ผมได้มาจากการสังเกตการณ์ประมาณ 60 - 70 รุ่นของกลุ่มผู้เข้ารับหารอบรม แล้วสรุปมาให้ฟัง

อ้างอิงคำพูด:
ผู้ ปฏิบัติธรรมได้ 7 - 8 วัน จะเข้าถึง อนัตตวิปัสสนา ส่วนการจะบรรลุธรรมคือมรรคเกิดนั้น ต้องขึ้นแล้วอยู่กับ กำลังสติ วิริยะ ปัญญา ตบะ ขันติ สมาธิ สัจจ หรืออธิษฐานของแต่ละคน ที่จะต่อยอดขึ้นไปจากสังขารุเปกขาญาณ

เอาเฉพาะญาณนี้ก็ได้ 7-8 วันได้ญาณนี้ผมก็ถือว่าแจ่มมากๆแล้ว ถ้าเป็นการไม่รบกวนท่านช่วยเล่าพอที่จะเล่าได้ไหมว่าผู้ที่ถึงญาณนี้นั้นมี อาการทางกายและทางจิตอย่างไรบ้าง หรือว่าท่านรู้วาระจิตของผู้ปฏิบัติโดยอัตโนมัติ


อโศกะ ตอบ
*****ที่สังขารุเปกขาญาณ ซึ่งผมกล่าวว่าเป็นจุดเริ่มตนของอนัตตวิปัสสนาเพราะ ความนึก คิด ปรุงแต่ง จะสงบรำงับไปชั่วคราว มีแต่จิตผู้รู้บริสุทธิ์ ชัดเจนอยู่ดวงเดียว ครูบาอาจารย์ท่านสรุปเป็นคำพูดไว้ว่า "นิ่งอยู่ เย็นอยู่ เฉยอยู่ รู้อยู่" เหมือนพักงานชั่วคราว ผู้ที่พักอยู่ในญาณนี้เหมือนเข้าไปลับ สติปัญญา กับหินลับมีดพิเศษ เมื่อถอนออกมาแล้วจะรู้สึกถึงความคม เฉียบแหลมของ สติ ปัญญา ความตั้งมั่นของสมาธิ มีกำลังมากขึ้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ตัว มรรคทั้ง 8 ข้อ ใกล้จะเต็ม สมบูรณ์ สมังคี รวมเป็นหนึ่งเดียว เพื่อทำงานสำคัญ ที่เราเรียกว่า อนุโลมญาณ และโคตรภูญาณ และมรรคญาณ ช่วงตอนนี้ อัตตทิฐิไม่มายุ่งด้วยแล้ว ทุกอย่างเป็นปรมัตถ อนัตตา ทำงานไปโดยอัตโนมัติ ตามกำลังแห่ง เหตุ ปัจจัยที่พร้อมมูล อุปมาเหมือนการสูบน้ำใส่ถังพักน้ำที่มีตัวตัดอัตตโนมัติซึ่งเมื่อน้ำเต็มถังพอดี สวิตซ์อัตตโนมัติก็จะตัดไฟ จึงเรียกว่าช่วงระยะแห่งอนัตตวิปัสสนา

******การเข้าถึงสังขารุเปกขาญาณของผู้ปฏิบัติ มิใช่ว่าเข้าถึงแล้วครั้งแรก แล้วส่งผลต่อ ถึงมรรคถึงผลเลย ก็หาไม่ ผุ้ปฏิบัติต้องมาสะสมกำลังณ จุดนี้ หลายครั้ง มาก น้อย แล้วแต่ฐาน กำลังญาณและวิริยะของแต่ละบุคคล บางคนก็เร็ว บางคนก็นาน ที่นานส่วนใหญ่มักจะไปติดค้างอยู่ที่ วิปัสสนูกิเลส บางคนติดอยู่เป็นปีๆ บางคนก็ไม่ก้าวต่อไปอีก เพราะไปติดสุขในสมาธิ เหมือนฤาษีติดฌาณ เนื่องจากว่า ที่สังขารุเปกขาญาณ นั้น คล้ายกับฌาณ 4 แต่มีฐานที่มาต่างกัน
******เพิ่มเป็นข้อสังเกตนิดหนึ่งว่า สังขารุเปกขาญาณนั้น เป็นความนิ่งสนิทที่เกิดจาก การปล่อยวางมาจนอัตตทิฐิหลบไปหมด หยุดปรุงแต่ง แต่ฌาณ 4 นั้น เป็นการมัดจิตไว้กับกรรมฐานจนจิตเป็นหนึ่งเดียวหยุดปรุงแต่งแล้วเข้าฌาณ


อ้างอิงคำพูด:
เท่า ที่สังเกตจากประสบการณ์จริง ใครก็ตามที่จิตเข้าถึงและยอมรับ อนัตตา เขาผู้นั้นประดุจได้กุญแจไขประตู หรือสะพานสำหรับทอดข้ามเข้าสู่พระนิพพาน

อันนี้ท่านดูอย่างไรคับ ที่จิตเข้าถึงอนัตตา
ถ้าเป็นพวกที่จิตเข้าถึงทุกข์ขัง หรืออนิจจัง จะขึ้นสะพานได้ไหมคับ

อโศกะตอบ
สังขารุเปกขาญาณยังไงครับ จิตหยุดปรุงแต่ง ก็เข้าถึงอนัตตา แต่มรรคยังไม่ทันเกิด ผู้มาถึงตรงนี้ ผมเรียกว่า "ผู้ที่ กู หลบ หรือผุ้มีดวงตาเห็นธรรม" เพราะจิตเข้าถึง รู้จักและยอมรับ อนัตตา เขาพบทางออกพ้น จากเหตุทุกข์ คืออัตตทิฐิ หรือสักกายะทิฐิ

******ผู้ที่เห็นหรือเข้าถึง อนิจจังชัด หรือ ทุกขังชัด จนนิพพิทาญาณ มีกำลังมากๆ เบื่อหน่ายธาตุขันธ์ อัตตา ตัวตนนี้อย่างรุนแรง ก็สามารถละวางอัตตา สักกายทิฐิ เข้าถึง มรรค ผล นิพพานได้เช่นกัน เพราะประตูทางเข้าพระนิพพานนั้น มีอยู่ 3 ประตูอยู่แล้ว คือ ประตู อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา
******ครูบาอาจารย์ได้แนะนำว่า การออกทางประตูอนัตตา ง่ายที่สุด เพราะอนัตตา เป็นศัตรู คู่ปรับของ อัตตา โดยตรง


อ้างอิงคำพูด:
ที่ น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ ผู้ปฏิบัติท่านใด ถ้ามาถึงวันแรกแล้วลองให้ทำความนิ่งของจิตจนถึงระดับรู้หัวใจเต้นและชีพจร ขัดได้ภายในเวลาไม่เกิน 2 - 3 นาที

คนพวกนี้จัดอยู่ในพวกสมาธิดีหรือเปล่าคับ แล้วอะไรเป็นเหตุให้คนพวกนี้จิตนิ่งเร็วกว่าคนอื่น


อโศกะตอบ
ใช่ครับ คนมีสมาธิดี เหตุที่สมาธิดีเพราะจิตสะอาด มีศีล 5 อันดีรักษาไว้แล้ว มีอินทรีย์อันสำรวมมาดี


อ้างอิงคำพูด:
เขา เหล่านั้น จะสามารถแยกรูปแยกนามได้ตั้งแต่วันแรกๆ เลยทีเดียว หลังจากนั้นพอเข้าวันที่ 3 - 4

บางคนก็แยก รูป - นามเวทนา - นามปัญญา นามอุปาทานว่าเป็นอัตตา กู ได้ชัด

วันแรกได้รูปนามปริเฉท ต่อมาอีก 3- 4 วันก็ได้รูปนามปริเฉท อีกอย่างนั้นหรือคับ อ้าวเหลืออีก 4 วันก็จะครบ 8 วัน แล้วจะไปถึงสังขารรุเบกขาได้หรือคับ เหลืออีกตั้ง 9 ญาณ หรือถ้าให้เฉลี่ยก็อีกประมาณญาณละ 4x24/9 = 10.67 ชม ถ้าได้อย่างนี้จริงผมจะรีบลางานไปเลยละครับ ตอนนี้เปลี่ยนใจไม่ลาออกจากงานแล้ว :b16:

อโศกะตอบ
คุณอาายะใจร้อนจัง ด่วนสรุปเกินไป ความตอนนี้ เป็นรายละเอียดที่ซ้อนเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง ไม่ใช่อันเดียวกัน ดูซ้ำอีกทีนะครับ

บางคนก็แยก รูป - นามเวทนา - นามปัญญา นามอุปาทานว่าเป็นอัตตา กู ได้ชัด

จะเห็นว่าปัญญามีความคมละเอียดมากกว่าตอน นาม - รูป ปริเฉทญาณ เพราะตอนนี้เพียง เห็นผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ แยกออกจากกัน

แต่ที่กล่าวต่อนั้น สติ ปัญญา จะแยกนามออกได้อีกเป็น 2 - 3 นาม คือ นามปัญญา ที่ไปไปสังเกต ดู
นามเวทนา จิตรู้สึก ยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ นาม อัตตา คือ ตัวอุปาทาน ว่าเป็น กู เป็น เรา เป็นตัว เป็นตน ต้องถึงตรงนี้ แล้วปัญญา ก็จะรู้จัก กู และสู้ กู จนกว่าจะแพ้ชนะกัน (สัมมาทิฐิแทนที่มิจฉาทิฐิ)

อ้างอิงคำพูด:
ปัญญา เห็น กู สู้ กู อยู่ไม่ถอย ไม่ยอมแพ้ หลังจากนั้น อีก วัน สองวัน กูก็หลบ (ถึงอนัตตา) บางคน กู ตาย (สักกายทิฐิ ดับขาด) แต่นานๆ จะปรากฏสักคนหนึ่ง

อันนี้ตัดสังโยชน์ได้ข้อนึงเลยนะครับ แล้ว สีลัพพตปรามาส กับ วิจิกิจฉา ยังอยู่หรือเปล่าคับหรือตัดไปได้อันเดียว


อโศกะตอบ
คุณอายะไม่เข้าใจคำว่าอัตตโนมัติหรือครับ
กิเลส 2 ตัว นี้ เขาเป็นเหตุปัจจัย อิงอาศัยกันอยู่ คือ สักกายทิฐิ กับ วิจิกิจฉา ถ้าตัวใดตัวหนึ่งตาย อีกตัวหนึ่งจะตายตามทันทีโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องได้คิดมากนะครับ ส่วนศีลัพัตตปรามาสนั้น ไม่ใช่กิเลส เป็นผลพลอยได้ จากการที่ วิจิกิจฉาดับไปครับ เรื่องนี้สนุกต้องยกมาคุยกันเป็นอีกตอนหนึ่งจึงจะดีครับ

อุปมาให้ฟังนิดหนึ่งว่า สักกายะทิฐิเหมือนพ่อของกิเลส ตัณหา ทั้งปวง ส่วนวิจิกิจฉา เป็นแม่ แต่งงานกันแล้ว ออกลูกมาเป็นอุปกิเลส อีก 8 ตัว พ่อแม่ลูก ผสมพันธ์กันมั่ว ออกหลานมา 1,500 ออกเหลนมาอีก 108 ตัว คนฉลาด จะสู้ที่ พ่อ หรือ แม่ ตัวใดตัวหนึ่งตัวเดียว เพราะง่ายกว่า สู้ที่ ลูก หลาน หรือเหลน ซึ่งเยอะเหลือเกินจะโดนรุมกินโต๊ะตายเสียก่อน เรื่องนี้ก็สนุก ไว้คุยกันต่อคราวหลังนะครับ

อ้างอิงคำพูด:
สถิติ ที่เคยจดจำมา ถ้าเจริญมรรค 8 เป็น หรือ ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาได้ถูกต้อง ผู้ที่ถึง กู หลบ จะมีประมาณ 15 - 20 % ส่วนผุ้ที่ กู ตาย จะมีประมาณ 1 - 2 %

อยากรู้จังที่ถูกต้องเขาทำกันยังไงคับ แล้วกูหลบ, กูตาย นี่มันญาณไหนกันนี่แล้วเขาดูกันอย่างไง

อยากรู้ก็คุยกันต่อไปนานๆซิครับ

กูหลบ ก็สังขารุเปกขาญาณไงครับ

กูตาย ก็โสดาปัตติมรรคไงครับ

อ้างอิงคำพูด:
วิธีเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
หา ที่อันสงัด ปูลาดอาสนะ ขัดสมาธินั่ง ตั้งกายให้ตรง หลังตรง คอตรง หัวตั้งตรง มนสิการ ตั้งใจ โยนิโส ตั้ง สติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ สมาธิ ต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย ที่สุดจะได้ รู้ ได้เห็น กระบวนการทำงานของกายและจิต ว่า เมื่อ มีผัสสะ การกระทบของทวารทั้ง ๖ กับสิ่งที่มากระทบ จะเกิดเวทนา ความรู้สึก ตัณหาความอยากขึ้นมาทุกครั้งไป เป็นอารมณ์ธรรม ๑ สัมผัส ๑ อารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นอดีต แล้วก็เกิดผัสสะและอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ให้ได้ ดู ได้เห็น ได้รู้ ได้สังเกต พิจารณา สืบต่อหนุนเนื่อง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปไม่หยุดยั้ง ตลอดเวลา


ถ้าผมตี ความไม่ผิดก็ดูสิ่งที่มากระทบกับทวารทั้ง 6 ใช่ไหมคับ เอแล้วมันเป็นมรรคแปดอย่างไงคับ ช่วยอธิบายเอาให้องค์ธรรมทั้ง 8 มาบรรจบกับการดูผัสสะนี้ด้วยนะครับเอาให้แจ่มเลยนะครับ

อโศกะตอบ

ดูสิ่งที่มากระทบ เป็นการไปพยาายามแก้ที่ปัจจัย ไม่ตรงประเด็นดีครับ และจะเป็นเหตุให้ไปเจริญสติอย่างเดียว หลงทางเข้าไปติดสมาธิและฌาณได้ง่าย

ต้องสังเกตดูที่เวทนา ที่เป็นปัจจุบันอารมณ์เวทนาครับ จึงจะเป็นการแก้ที่เหตุและตรงตามทางของมรรค 8 ข้อสัมมาสติ ตรงอย่างไร ลองสังเกตดูให้ดีซิครับ ประเด็นสำคัญของสติปัฏฐาน 4 นั้นพระพุทธบิดาได้ย้ำไว้ว่า "วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง" แปลความหมายว่า ละเสียให้ได้ ซึ่งความยินดี (สุข หรือ โทมนัสสะ หรืออภิชฌา) และความยินร้าย (ทุกข์ โทมนัส โทมนัสสัง)

******จะละได้อย่างไรละ ก็ต้องละมิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด ว่าเป็นอัตตา ตัวกู นั่นแหละเป็นสำคัญ เพราะมรรค 1 ทำลายอะไร สักกายทิฐิ ใช่ไหมครับ ไม่ใช่ทำลายตัณหา อย่างที่พยายามจะเข้าใจกันตามตัวหนังสือ สักกายทิฐิดับ ตัณหาซึ่งเป็นผลจากการมีสักกายทิฐิจึงดับตาม นี่เป็นการต่อสู้ตรงประเด็นเปรี๊ยะเลยครับ ถ้ายึดบัญญัติ ยึดตำรามาก จะไม่สามารถเห็นถึงความนัยตรงนี้ได้เลยครับ

วันนี้ไม่จบ เสียแล้ว ค่อยอ่านตอนต่อไปนะครับ
สาธุ อนุโมทนา ที่มีวิริยะ อุตส่าอ่านและถาม ปิดประตูให้ทันในชาตินี้นะครับ หรือปิดไปเรียบร้อยแล้ว



หมายเหตุมีข่าวมาฝากท่านอโศกะ

ประกาศสวนพุทธธรรม ป่าละอู
เรื่อง ความเกี่ยวข้องกับ สวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

เนื่อง จากปัจจุบันได้มีพระภิกษุ แม่ชี และญาติโยม ได้ให้ความเมตตาเดินทางหรือติดต่อไปยังสวนพุทธธรรม ป่าละอูบ่อยครั้ง ด้วยความเข้าใจที่ว่า สวนพุทธธรรม ป่าละอู และสวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มีความเกี่ยวข้องกันในฐานะเป็นวัดสาขา หรือมีความใกล้ชิดกันในลักษณะวัดพี่วัดน้อง โดยมีคำสอน , หลักปฏิบัติ และปฏิปทาในลักษณะเดียวกัน ความเข้าใจดังกล่าว เป็นเหตุให้พระภิกษุและญาติโยมในสวนพุทธธรรม ป่าละอู มีความจำเป็นต้องชี้แจงความจริงให้ญาติโยม ทราบครั้งละท่าน หรือครั้งละหมู่คณะ เป็นจำนวนบ่อยครั้ง ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

สวน พุทธธรรมฯจึงใคร่ขอชี้แจงข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวมา ณ ที่นี้ว่า หลวงพ่อมนตรี อาภัสสะโร (สวนพุทธธรรม ป่าละอู) และหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช (สวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ. ชลบุรี) มีความรู้จักหรือคุ้ยเคยกันในฐานะผู้ปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันในฐานะเป็นศิษย์พี่ศิษย์น้องแต่อย่างใด และทางสวนพุทธธรรม ป่าละอู ไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ทางส่วนตัว , คำสอน, ปฏิปทา หรือหลักปฏิบัติใดๆ กับ สวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ไม่ว่าในด้านใดทั้งสิ้น หากแต่ถือเป็นสำนักสงฆ์ภายใต้พระพุทธศาสนาเดียวกันเท่านั้น

จึงเรียนมาเพื่อความเข้าใจโดยทั่วกัน

สำนักปฏิบัติธรรม สวนพุทธธรรม ป่าละอู

11 พฤศจิกายน 2552

ผมศรัทธาและเคารพพระอาจารย์ปราโมทย์อย่างสูงยิ่งครับ ท่านเป็นอาจารย์แห่งยุคสมัย จะมารื้อขนสัตว์โลกเข้าสู่พระนิพพานได้อีกเยอะเลยครัย สาธุ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3460_resize.JPG
100_3460_resize.JPG [ 51.46 KiB | เปิดดู 6291 ครั้ง ]
tongue
สวัสดีครับคุณอายะ ได้โอกาสแล้ว สนทนากันต่อ เรื่องที่ยังค้างนะครับ

อ้างอิงคำพูด:
แต่ สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ เป็นงานของวิปัสสนาภาวนาคือผู้ปฏิบัติทุกคนจะได้พบเห็นว่ามีสิ่งแปลกปลอม เกิดขึ้นมายุ่งกับทุกการกระทบสัมผัสทุกครั้งไป คือมีอุปาทานความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุดขึ้นมารับรู้เวทนา ตอบโต้กับเวทนา จนเกิดเป็นตัณหา ความอยากทั้ง ๓ อย่าง คือ กามตัณหา ความยินดีพอใจในสัมผัสทั้ง ๖

แล้วถ้าผมไปนั่ง ในห้องแอร์อากาศสบาย เงียบๆ นั่งหลับตา ไม่ได้อมลูกอม ห้องก็ไม่เหม็นไม่หอม ไม่มีอะไรมากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันก็เลยไม่มีอะไรมากระทบแล้วผมจะดูผัสสะอย่างไงดีครับ

อโศกะ ตอบ
ดูและสังเกตเวทนาครับ อย่าดูผัสสะ ให้รู้ทันผัสสะ แต่สังเกตเวทนา

โดยความคิดนึกเอา การไปนั่งในห้องแอร์สบายทุกอย่างอย่างที่คุณอายะว่า แต่ในความเป็นจริงอาจไม่สบายอย่างที่คิดก็ได้ สิ่งสำคัญที่คุณอายะไม่กล่าวไว้ด้วย คือการสัมผัสที่ทวารใจ ซึ่งค่อนข้างจะควบคุมยาก และทำให้ทุกข์ได้ง่ายและไวกว่าทวารอื่น เียงแค่อุธัจจะ ความฟุ้งซ่านของจิต ไปกับอดีตหรืออนาคตอารมณ์ ก็อาจทำให้คุณอายะ ต้องดิ้นรนออกจากห้องแอร์อันเย็นสบายนั้น
******อีกอย่างหนึ่งห้องแอร์ก็ห้องแอร์เถอะ คุณอายะลองนั่งนิ่งๆ อยู่ให้ได้นานๆ เกิน 1 - 2 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เดี๋ยวทุกขัง ความทนไม่ได้ ในรูปแบบต่างๆ ก็จะโผล่ขึ้นมาให้คุณอายะ ได้เกิดเวทนา ที่เป็นทุกขเวทนา
******อีกทางหนึ่ง ความเย็นสบายไม่มีอะไรรบกวนนั้น คุณอายะ อาจเกิดกามตัณหา พอใจในความสบายนั้น แล้ว วิภวตัณหา คือไม่อยากให้ความสุขสบายที่กำลังได้รับนี้เปลี่ยนไป ก็จะเกิดขึ้นตามมาอีกข้างหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น
******เมื่อมีเวทนา จะเป็นสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ลองสังเกตให้ดี จะมีผู้มาตอบโต้กับเวทนา ความรู้สึกเหล่านั้น ถ้าทุกข์ ไม่ชอบใจ ถามตัวเองว่า ใครทุกข์ ถ้าสุข ชอบใจ ถามตัวเองว่า ใครสุข ใครชอบใจ เราก็จะได้เจอกับอุปาทานความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุดขึ้นมารับรู้เวทนา ตอบโต้กับเวทนา



อ้างอิงคำพูด:
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเดินจงกรม คือ จะเป็นการฝึกทั้งสติ สัมปะชัญญะ และปัญญา ตัวสังเกต พิจารณา ให้มีความคมกล้า ละเอียด แม่นยำ ฉับไว รู้ทันการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของปัจจุบันอารมณ์

อันนี้ไม่จำเป็นต้องเดิน นั่งก็น่าจะทำได้นะครับ

อโศกะตอบ
นั่งก็ทำได้ อิริยาบททั้ง 4 เอามาฝึกเจริญสติ เจริญปัญญาได้ทั้งหมด แต่อิริยาบทเดินนี้เราจะถูกบังคับโดยธรรมชาติ ของการเดิน ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องใส่ใจ ตั้งใจ ดู สังเกต พิจารณามากกว่าการนั่งหรืออิริยาบทอื่นๆ


อ้างอิงคำพูด:
ทำ ให้จิตคือปัญญา รู้จักกึ่งกลาง ของธาตุคู่ คือ หนัก กับ เบา อันจะเอาไปประยุกต์ใช้ให้รู้จักสังเกตจนเห็นกึ่งกลางของสิ่งที่เป็นคู่ทั้ง หมด เช่น ร้อน กับ เย็น สุข กับทุกข์ เจ็บ กับ สบาย วุ่นวาย กับ สงบ มืด กับ สว่าง

แล้วเกี่ยวกันอย่างไรกับ

อ้างอิงคำพูด:
อัตตา กับ อนัตตา ฯลฯ ประโยชน์นอกนั้นก็ทำให้หายง่วง อินทรีย์สม่ำเสมอ

อโศกะ ตอบ
คุณอายะ ลองพิจารณาดูดีๆนะครับ นึกภาพตัวหนังสือ อัตตา อยู่ข้างซ้ายมือ อนัตตาอยู่ทางขวามือ เราจะเห็นและประมาณได้ว่า กื่งกลางของตัวหนังสือ ทั้ง สองอยู่ตรงไหน
*****เดิมๆของจิตปุถุชน จะติดอยู่ข้างอัตตา เอาอัตตา ตัวกูเป็นศูนย์กลาง ต่อมาได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า รู้จัก อนัตตาโดยทฤษฎี หากเพียรค้นหาอนัตตา หรือพิสูจน์อนัตตา เขาจะได้พบและเข้าถึง อนัตตา เมื่อเห็นอีกข้างหนึ่งของธาตุคู่ เขาจะรู้ว่า กาง อยู่ประมาณใหน มันสำคัญอย่างไร

*****มันสำคัญตรงที่ว่า ตอนที่มรรค จะเกิดนั้น จิตจะไม่ยึดทั้งฝ่ายอัตตา และอนัตตา แต่จะมาอยู่ตรงกลาง ซึ่งไม่มีอะไร จิตจึงจะหลุดพ้นได้

*****ลองนึกถึงธาตุคู่อีกคู่หนึ่ง คือ กุศล กับ อกุศล หรือ ดี กับ ชั่ว ครูบาอาจารย์ท่านเคยบอกไว้ว่า ผู้ที่จิตจะหลุดพ้นได้ จะต้องละทั้ง ดี ทั้ง ชั่ว เริ่มต้น ก็ ละชั่ว มาทำดี เมื่อทำดีถึงที่แล้ว ก็ชำระใจให้หมดจดจากการยึดดี ไม่มีอะไรให้ยึดได้แล้ว ก็ถึงธรรม

*****อุปมา มือซ้ายเหมือนข้างอัตตา มือขวาเป็นข้างอนัตตา มือสองข้างนี้มีงานคือจะต้องจับลูกโป่งสวรรค์ไว้ สับเปลี่ยนกันไปมา แต่ถ้าจะให้ลูกโป่งสวรรค์นั้นหลุดลอยขึ้นฟ้าจะต้องทำอย่างไร คุณอายะคงนึกภาพออกนะครับ

*****คำตอบเรื่องนี้อาจเข้าใจยากน่อย เหมือนเรื่องเด็กเล่น แต่ลองพิจารณา ใคร่ครวญดูนะครับ จะเข้าใจความนัย



อ้างอิงคำพูด:
เลือด ลมถ่ายเทสะดวกทั่วร่าง เวลากลับไปนั่งภาวนาจะนั่งได้ทนนานขึ้น ประโยชน์อื่นพระพุทธเจ้าเคยทรงสอนไว้ต้องไปหาอ่านดูในพระไตรปิฎก

ก็ เพราะในพระไตรปิฏกไม่ได้บอกอย่างนี้ครับปัญหาก็เลยเกิดนะครับ เช่น นั่งได้นานเพราะเลือดลมถ่ายเทสะดวก


อโศกะ ตอบ
คุณอายะครับประโยชน์ของการเดินจงกรมมีล่าวไว้ในพระสูตร ผมจำไม่ได้ ค้นตำราก็ไม่เก่งต้องขออภัย แต่ที่เอามาพูดบอกเพิ่มเติมนี้ เป็นการสังเกตเอาจากการลงมือเดินจงกรมดูด้วยตัวเองจริงๆ และ สังเกต พิจารณา เอาตามหลักธรรมชาติของของสรีระ อย่างที่คนทั่วไปรู้กันว่า ถ้านั่งนานเลือดจะขึ้นหัวมาก เพราะจะเหลือแต่การทำงานของสมอง ถ้าจิตหยุดคิดนึกยังไม่ได้้ เมื่อลุกขึ้นยืนหรือเดิน เลือด ลมจะถ่ายเทลงข้างล่าง ทำให้เกิดสมดุลย์ของเลือดและลมในร่างกาย


แล้วทำไมต้องนั่งได้นานเมื่อไม่ต้องการสมาธิ

อโศกะตอบ

สมาธิต้องใช้อยู่แล้ว คุณอายะลืมเรื่องสัมมาสมาธิซึ่งเป็นมรรคข้อที่ 8 หรือเปล่า สัมมาสมาธินั้นหมายถึงความตั้งมั่นอยู่ในงานเจริญ สติ ปัญญา ค้นหาเหตุทุกข์(สมุทัย)จนกว่าจะพบ และถอนเหตุทุกข์นั้นเสียได้
กระบวนการค้นหาเหตุทุกข์และพิสูจน์อริยสัจ 4 นั้น เราเรียกว่าวิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญมรรค 8
****การเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น ท่านั่งเป็นท่าที่มั่นคง สงบ นิ่ง ตื่นตัวทำงานคือเพียรค้นคว้าเข้าไปในรูป - นาม กาย - ใจ ได้ดีีที่สุด ถัดไปตามลำดับคือ ยืน เดินและนอน ผู้บรรลุธรรมในท่านั่งจะมีเปอร์เซนต์มากที่สุด
****การศึกษาค้นคว้าเข้าไปในกายและจิต ต้องใช้เวลาพอสมควร อย่างน้อยรอบละ 1 - 2 ชั่วโมง จึงจะสามารถสังเกต พิจารณา เรียนรู้กระบวนการทำงานของกายและจิตได้ครบวงจร จนเข้าใจและเห็นธรรมตามความเป็นจริง


แล้วต้องเดินก่อนหรือนั่งก่อน แล้วเพราะอะไร

อโศกะตอบ

จะเดินหรือนั่งก่อน ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพและความสามารถของผู้ปฏิบัติแต่ละคน เพราะประเด็นสำคัญของงานวิปัสสนาภาวนา คือ จะอยู่ในอิริยาบถใดก็ได้ที่ตนถนัด แล้วสามารถ สังเกต พิจารณา ศึกษา ค้นคว้าเข้าไปในรูป - นาม กาย ใจ ได้ดีที่สุด ละเอียดละออที่สุด นานที่สุดเท่าที่แต่ละคนจะทำได้


ช่วยกรุณาตอบทุกคำถามด้วยคับ ถ้าตอบได้แจ่มผมจะไปฝึกกับท่าน อีกทั้งจะชวนคนรู้จักทั้งหมดไปด้วย

หาไม่ได้อีกแล้วในประเทศไทยที่รับรอบผลว่า 8 วันได้สังขารุเบกขาญาณ

อโศกะตอบ

*****คำพูด หรือข้อเขียนบรรทัดสุดท้ายนี้ คุณอายะสรุปเอาเองหรือเปล่า เพราะผมมิได้รับรองว่าปฏิบัติอย่างนี้แล้ว 8 วัน ได้สังขารุเปกขาญาณ บางคนทำได้ บางคนทำไม่ได้ บางคนเร็วกว่า 8 วัน ก็มี แล้วแต่ฐานเดิมของแต่ละคนที่ได้สร้างสะสมมา(ที่เรียกว่าบารมี) และกรรมใหม่ ที่ทำต่อไป ว่าถูกวิธี ตรงทาง ขยันหมั่นเพียรดีหรือไม่ เป็นไปตามหลักแห่งมรรค 8 โดยสมบูรณ์ไหม



เจริญธรรมครับ

เช่นกันครับ ขอให้คุณอายะเจริญในธรรม ไปจนปิดประตูอบายได้ทัน หรือยกชั้นแห่งมรรคของตนสูงขึ้นไป ๆ ได้อีก ในปัจจุบันชาตินี้เทอญ
:b8: :b27: :b1: :b16: smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2009, 01:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


<object width="425" height="344"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/d8GGnlJjwGg&color1=0xb1b1b1&color2=0xcfcfcf&hl=en_US&feature=player_embedded&fs=1"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowScriptAccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/d8GGnlJjwGg&color1=0xb1b1b1&color2=0xcfcfcf&hl=en_US&feature=player_embedded&fs=1" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="425" height="344"></embed></object>


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2009, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


rjasaen เขียน:
การทำวิปัสสนากรรมฐาน กับการนั่งสมาธิเฉยๆๆ ต่างกันอย่างไรคะ?

แล้วจริงไหมคะที่บางคน นั่งสมาธิแล้วเห็นภาพต่างๆ ที่น่ากลัว พอได้ทราบอย่างนี้
ทำให้ไม่กล้าค่ะ...กลัวเห็นภาพต่างๆ เหล่านั้นค่ะ

ช่วยให้คำตอบด้วยนะคะ...

เพิ่งจะเริ่มต้นค่ะ...อยากนั่งสมาธิเพื่อให้มีสติ มีจิตใจที่แข็งแรง
เอาไว้ใช้ในการทำงาน และการเรียนค่ะ

ขอบคุณค่ะ :b1:


คุณถามไม่ค่อยจะถูกต้องนัก อาจจะเป็นเพราะคุณได้รับการขัดเกลามาอย่างนั้น จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิด จึงได้ตั้งคำถามอย่างนั้น
วิปัสสนากรรมฐาน กับ การปฏิบัติสมาธิ ไม่มีข้อแตกต่างจากกัน เพียงแต่ การจะปฏิบัติ วิปัสสนาได้ ต้องมีพื้นฐานของสมาธิที่ดี
หากจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายได้ง่ายขึ้น ก็คือ คุณจะวิปัสสนาได้ คุณต้องมีสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ อาจเป็นอันตรายต่อตัวคุณได้
ทั้งสองอย่าง ไม่มีข้อแตกต่าง แต่วิปัสสนา จะเพิ่มการคิดพิจารณาเข้าไป ในสมาธิที่คุณมีอยู่ นั่นก็หมายความว่า คุณมีสมาธิ ด้วยการเอาใจจดจ่อ หรือการเอาใจฝักใฝ่ในข้อธรรมะใดใด เพื่อทำให้เกิด ความรู้ ความเข้าใจ

สมาธิ หมายถึง สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน มีความวางเฉยเพียงอารมณ์เดียวในจิตใจ คุณก็ลองคิดพิจารณาดูซิขอรับว่า การเห็นภาพต่างๆนั้น เป็นการปฏิบัติสมาธิหรือไม่
คำแนะนำ ....ที่ข้าพเจ้าให้คุณคิดพิจารณา ก็เพราะถ้าคุณเรียนแบบ และเลียนแบบ โดยไม่ได้คิดพิจารณาให้รู้ได้ด้วยตัวเอง ตามหลักความจริง คุณก็ไม่รู้อยู่นั่นแหละ

สมาธิ ไม่ได้ทำให้จิตใจแข็งแรง แต่สมาธิ จะทำให้คุณมี สติ สัมปชํญญะที่ดีขึ้น ถ้าคุณอยากให้จิตใจแข็งแรง คุณต้องมีความรู้ หรือหลักธรรมะต่างๆ อีกทั้งยังต้องมีความเข้าใจในหลักธรรมเหล่านั้นด้วย จึงจะทำให้จิตใจเข้มแข็ง ฯลฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2009, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
(1)object width="425" height="344"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/d8GGnlJjwGg&color1=0xb1b1b1&color2=0xcfcfcf&hl=en_US&feature=player_embedded&fs=1"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowScriptAccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/d8GGnlJjwGg&color1=0xb1b1b1&color2=0xcfcfcf&hl=en_US&feature=player_embedded&fs=1" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="425" height="344"></embed></object>

ิเป็นอะไรประมาณนี้====>http://www.youtube.com/v/d8GGnlJjwGg&color1 :b14: :b14: :b14: :b14: :b14: :b14: :b14: :b14: :b10:


อ้างคำพูด:
(2)
-วิปัสสนากรรมฐาน กับ การปฏิบัติสมาธิ ไม่มีข้อแตกต่างจากกัน เพียงแต่ การจะปฏิบัติ วิปัสสนาได้ ต้องมีพื้นฐานของสมาธิที่ดี

-ทั้งสองอย่าง ไม่มีข้อแตกต่าง แต่วิปัสสนา จะเพิ่มการคิดพิจารณาเข้าไป
cool
พื้นฐานที่ดีเกิดได้จากกรรมฐาน40 กอง หรือสมถะ หรือจิตเป็นสมาธิเข้าสู่เอกัคคตารมณ์

ิการคิดพิจารณาที่เพิ่มเข้ามา ได้แก่ เอาสติตามดูกายเคลื่อนไหว ในอริยาบถ4 เป็นสติปัฏฐาน
แต่ถ้าเอาไปพิจารณาดู ผม ขน เล็บ หนัง ฟัน จนถึงอวัยวะภายในเป็นต้น จะเป็นหมวดกายคตาสติ
เจริญเข้ามากๆแล้วจะเกิดปัญญา

ซึ่งการเจริญสติปัฏฐานแบบ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ +นั่งกำหนดพองหนอ ยุบหนอ มีผล = เจริญอสุภะ +เจริญกายคตาสติ32 จะพิจารณาแบบไหน ก้ส่งผลต่อการพัฒนาวิปัสสนาเป็นอย่างมาก :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร