วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 13:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 06:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
ไม่น่าจะสอบตกภาษาไทยเลยนะ แค่ตัวหนังสือง่ายๆกลับอ่านแล้วตีความแบบผิดๆ
ยังจะมาหนอมาแหนอีก กลับไปอ่านให้ดีๆ ว่าเขียนแบบที่คุณนำมาพูดหรือ?

ไม่น่าจะสอบตกภาษาไทยเลยนะ แค่ตัวหนังสือง่ายๆกลับอ่านแล้วตีความแบบผิดๆ :b1:
ยังจะมาหนอมาแหนอีก กลับไปอ่านให้ดีๆ ว่าเขียนแบบที่คุณนำมาพูดหรือ?



การภาวนา ไม่ว่าจะเป็น ยุบหนอ พองหนอ ซ้ายหนอ ขวาหนอ

หรือ ยุบแหน พองแหน ซ้ายแหน ขวาแหน

ล้วนเป็นบัญญัติ เป็นการภาวนาเพ่งทำสมาธิ ให้เกิดความสงบ สูงสุดได้แค่ ฌาน

หากไม่ยกขึ้นสู่ สภาวะ รูป นาม อันเป็น ปรมัตถ์ ก็ไม่เข้าสู่ วิปัสสนา อันเป็นทางสายเอก

อรรถกถา ( อานาปานสมาธิ )
viewtopic.php?f=2&t=21049
ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.



คุณวลัยพรเคยถามผมว่า ทำไม จะต้องยกย่อง รูป นาม นัก มันสำคัญมาก ๆ ขนาดไหนหรือ ?

นั่นแสดงถึง การที่ยังไม่รู้จักวิธีปฏิบัติวิปัสสนา แต่ตนเองเพ่งบัญญัติอยู่แท้ ๆ เกิดทิฏฐิว่า เป็นวิปัสสนา

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180
วิปัสสนาคืออะไร

ทีนี้เราก็มาเพียรในการเข้าทำวิปัสสนา คำว่าวิปัสสนาคืออะไร วิปัสสนาเป็นชื่อของปัญญา มีปัญญาชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า วิปัสสนา ปัญญามีชื่อเรียกมากทีเดียว มีชื่อต่างๆ กัน แต่ว่าปัญญาที่ชื่อวิปัสสนา ปัญญานี้รู้อะไร ? ปัญญาวิปัสสนารู้ว่า นามรูปนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสาร เป็นอนัตตาไม่มีตัวตน รู้อย่างนี้แหละเรียกว่า วิปัสสนา

ท่านจะต้องเข้าใจหลักความรู้ของวิปัสสนาเสียก่อน ถ้าปัญญาวิปัสสนาเกิดแล้วก็แปลว่าต้องรู้ว่า รูปนาม ไม่เที่ยง หรือรูปนาม เป็นทุกข์ หรือรูปนาม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสารอะไร อย่างนี้อันใดอันหนึ่งก็ได้ ที่รู้อย่างนี้นี่แหละเรียกว่าวิปัสสนา


ต้องมีนามรูปรองรับ

แต่ต้องมีนามรูปนะ ต้องนามรูปไม่เที่ยง ไม่อย่างนั้นก็ไม่รู้ว่าอะไรไม่เที่ยง เราจะเข้าไปทำวิปัสสนาเพื่อจะรู้ว่านามรูปนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน นี่แหละหลักที่จะเข้ามาทำวิปัสสนาเพื่อจะรู้อย่างนี้ แล้วเราจะดูอะไรเล่า ถึงจะเห็นนามรูปไม่เที่ยง เราก็ต้องดูนามรูป เราจึงจะเห็นนามรูปไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นผู้ทำวิปัสสนานี้ จะต้องมีนามรูปรับรองความรู้อยู่เรื่อย

ถ้าคราวไหนไม่มีนาม ไม่มีรูปรับรองแล้ว ก็แปลว่า รู้แล้วก็รู้นิ่งไป ถึงแม้นิ่งไปไม่ฟุ้งก็ตาม แต่ว่าใช้ไม่ได้ ความรู้สึกอันนั้นใช้ไม่ได้ จะต้องมี นาม มี รูป อยู่เสมอ เหมือนกับคนไปเรียนหนังสือ เด็กไปเรียนหนังสือเข้าโรงเรียนใหม่ๆ ต้องมี ก. ไก่ ข. ไข่ ต้องมีตัวหนังสืออยู่เรื่อย ต้องอ่านหนังสือ ต้องมีตัวหนังสือรับรองอยู่เรื่อย ไม่งั้นก็อ่านหนังสือไม่ออก ไปโรงเรียนแต่ไม่ดูหนังสือ เป็นอ่านหนังสือไม่ออก


อ้างคำพูด:
ไม่น่าจะสอบตกภาษาไทยเลยนะ แค่ตัวหนังสือง่ายๆกลับอ่านแล้วตีความแบบผิดๆ :b1:
ยังจะมาหนอมาแหนอีก กลับไปอ่านให้ดีๆ ว่าเขียนแบบที่คุณนำมาพูดหรือ?


คุณวลัยพร เปรียบไปแล้ว ตอนนี้ผมเพียง รู้จัก รูป นาม ทางปริยัติ ยังอ่านลวดลายไตรลักษณ์ไม่ออก แล้วกำลังฝึกหัด เพื่อให้รู้จัก รูป นาม ที่เกิดจากการภาวนา

แต่คุณวลัยพร อาจจะยังไม่รู้จัก ก. ข. (รูป นาม) แต่เข้าใจว่า ตนเองอ่านหนังสือออกแล้วก็ได้

การภาวนา พุทโธ , ยุบหนอ พองหนอ ,ยุบแหน พองแหน, สัมมา อรหัง, โอมหัง วันโท นะโมพุทธายะ ฯลฯ ล้วนเป็นบัญญัติ เป็นการเพ่งเพื่อให้เกิดสมาธิ เป็น อานาปานสมาธิอย่างหนึ่ง (ภาวนากำกับลมหายใจ)

คุณวลัยพรครับ มีสำนักไหนหนอ ที่สอนการยก องค์ฌานขึ้นสู่ วิปัสสนา แบบพระไตรปิฏก อรรถกถา บ้าง ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 01:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

นี่แหละตัวอย่างของคนที่รู้ไม่จริง
ส่วนคนที่อ่านน่ะรู้แค่ไหนก็ตีความได้แค่นั้น
ที่มาเชื่อๆกัน เพราะเคยสร้างเหตุร่วมกันมา

คำว่า " สติปัฏฐาน 4 " จะถูกทำลายลงเพราะมิจฉาทิฏฐิเช่นนี้แหละ
เพราะอีกหน่อยจะติดปากเรียกแต่ว่า ทำวิปัสสนากรรมฐาน
ทั้งๆที่เห็นๆอยู่ชัดๆว่ากำลังเจริญสติกัน


จะขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ หรือจะเดินไม่ต้องใช้คำภาวนา
ก็ล้วนแต่เป็นการเจริญสติในอริยาบทเดิน ใครบอกว่า เดินแล้วไม่บริกรรม นี่เถียงตายเลยนะ

การเอาจิตรู้ลงไปทุกย่างก้าวที่เดิน ก็ยังอยู่ในรูปของการบริกรรมอยู่ เพื่อให้เกิดสติ สัมปชัญญะ

ถ้าตราบใดที่สติ สัมปชัญญะยังไม่มากพอที่จะรู้ลงไปในอริยาบทนั้นได้เองล่ะก็
ยังต้องมีการบริกรรมร่วมอยู่ดีแหละค่ะ




ตรงที่ยกนำมากล่าวอ้างตรงนี้ เขาเรียกว่า " อารมณ์ "
อารมณ์ของสมถะ คือ
…กิเลเส สเมตีติ สมโถ
แปลว่า ธรรมชาติใด ย่อมยังกิเลสทั้งหลายให้สงบ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า สมถะ

อารมณ์ของวิปัสสนา คือ
…ขันธาทิสังขตธัมเม อนิจจาทิวิวิธากาเรน ปัสสตีติ วิปัสสานา
แปลว่า ปัญญาใดย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น โดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น
ปัญญานั้นจึงชื่อว่า วิปัสสนา





นำมาเน้นให้เห็นชัดๆ อ่านให้ดีๆนะคะว่า เน้น " หนอ " หรือเปล่า



chalermsak เขียน:
คุณวลัยพรครับ มีสำนักไหนหนอ ที่สอนการยก องค์ฌานขึ้นสู่ วิปัสสนา แบบพระไตรปิฏก อรรถกถา บ้าง ช่วยแนะนำด้วยนะครับ




สนใจจริงๆหรือเปล่า หากสนใจจริงๆ ทำฌานให้ได้ก่อน ถ้าทำได้จริงค่อยมาคุยกันค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
chalermsak เขียน:

viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป.


คุณวลัยพรครับ มีสำนักไหนหนอ ที่สอนการยก องค์ฌานขึ้นสู่ วิปัสสนา แบบพระไตรปิฏก อรรถกถา บ้าง ช่วยแนะนำด้วยนะครับ




อ้างคำพูด:
วลัยพรเขียน
สนใจจริงๆหรือเปล่า หากสนใจจริงๆ ทำฌานให้ได้ก่อน ถ้าทำได้จริงค่อยมาคุยกันค่ะ


สนใจครับ เมื่อก่อนเคยฝึกทำสมาธิ อยากได้ฌานเหมือนกันครับ แต่ขาดแคลน ครูบาอาจารย์, สถานที่สัปปายะ


จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ

ฌาน คืออะไร
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/053.htm


นิวรณ์ของฌาน
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/054.htm


การเผานิวรณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/055.htm


ปิติ
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/056.htm

องค์ฌาน ๕ เผานิวรณ์ ๕
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/057.htm


ประเภทแห่งฌาน ๕
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/058.htm


๑. ปฐมฌาน
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/059.htm


๒. ทุติยฌาน
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/060.htm


๓. ตติยฌาน
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/061.htm

๔. จตุตถฌาน
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/062.htm


๕. ปัญจมฌาน
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/063.htm


กัมมัฏฐานที่เหมาะแก่จริต
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/035.htm


ภาวนา และ นิมิต
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/036.htm


ปลิโพธ
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/037.htm


สัปปายะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/038.htm


กัลยาณมิตร
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/039.htm

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/063.htm
อย่าว่าแต่จะได้ถึงซึ่งอภิญญาเลย แม้การเจริญสมถกัมมัฏฐาน จนกว่าจะได้ฌานนั้น ก็มิใช่ว่าจะกระทำได้โดยง่ายดายนัก ต้องมีใจรักอย่างที่เรียกว่า มีฉันทะมีความพอใจเป็นอย่างมาก มีความพากเพียรเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยเอาใจจิตใจจ่ออย่างจริงจัง ทั้งต้องประกอบด้วยปัญญารู้ว่าฌานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นบาทที่ก้าวขึ้นไปสู่ความหลุดพ้น แล้วจึงตั้งหน้าเจริญภาวนาตามวิธีการจนเกิดฌานจิต ฌานจิตที่เกิดจากการปฏิบัติเช่นที่ได้กล่าวแล้วทั้งหมดนี้ มีชื่อเรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยการประพฤติปฏิบัติ ได้ฌานด้วยการเจริญสมถภาวนา

--------------------------------------------------
อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.p ... i=273&p=2#อานาปานบรรพ

เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้งด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก
-----------------------------------------------------------------------


อ้างคำพูด:
วลัยพรเขียน
สนใจจริงๆหรือเปล่า หากสนใจจริงๆ ทำฌานให้ได้ก่อน ถ้าทำได้จริงค่อยมาคุยกันค่ะ


แล้วคุณวลัยพร ทำรูปฌานได้ฌานขั้นไหนแล้วครับ ?

หรือ เลยไปถึง อรูปฌานแล้ว ?

สงสัยผมคงจะไม่ได้คุยกับคุณแล้วครับ ถ้าตั้งเงื่อนไขให้ผมทำสมาธิให้ได้ฌานก่อน

ทำเหมือนบางสำนักเลยนะครับ บอกไป ปฏิบัติไปก่อน ไม่ต้องมาถามมาก ทำสมาธิไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็รู้เอง

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cool


งั้นเอาไว้รออ่านในกระทู้นี้ละกันนะคะ
viewtopic.php?f=7&t=28295

รับรองว่า คุณจะได้อ่าน ทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ และโดยสภาวะ
แต่ต้องใจเย็นนะคะ เพราะพิมพ์เอง ไม่ได้ตัดแปะ :b1:
อ้อ ... ไม่ต้องนำอะไรไปแปะที่กระทู้นั้นนะคะ จะทำให้กระทู้ยืดยาวไปเปล่าๆ
ในกูเกิ้ลมีเยอะค่ะ ไม่ขอใช้บริการ คงไม่ว่ากันนะคะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 24 ก.พ. 2010, 21:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2010, 23:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 09:27
โพสต์: 44


 ข้อมูลส่วนตัว www


อยากรู้อยู่พอดี ขอบคุณมาก ๆ ครับ สำหรับคำตอบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การภาวนา ไม่ว่าจะเป็น ยุบหนอ พองหนอ ซ้ายหนอ ขวาหนอ

หรือ ยุบแหน พองแหน ซ้ายแหน ขวาแหน
cool

"หนอๆ แหนๆ" คำเดียว นี่แหละเอา วิปัสสนาได้ เอาสมถะก้ได้
คำบริกรรมในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็น ยุบหนอ พองหนอ พุทโธ นะมะพะทะ
นะโมพุทธายะ หรือสัมมาอะระหัง ล้วนแต่เป้นคำบริกรรมไว้ประคองอารมณ์ของ
จิตให้ทรงได้อยู่อารมณ์เดียวนานๆจนเป้น เอกัคคตา และสิ่งที่ตามมาคือความ
ชำนาญในการเข้าออก ของสมาธิได้ นี่แหละคือสมถะของจิต สมถะในอารมณ์
กองการกรรมฐาน คนที่ทำบ่อยๆขั้นต่ำจะได้อุปจาระสมาธิซึ่งเท่านี้ก้เหลือกินเหลือ
ใช้แล้ว จิตสงบดีแล้ว(จะฝึกวิปัสสนาจิตต้องสงบก่อน ถ้าจิตยังไม่นิ่งฝึกต่อไปก้จะกระทอนกระแท่น)
แล้วขั้นต่อไปหากเอาจิตตามดู ยืน เดิน นั่ง นอน หรือภาวนาพุทโธ
ในอริยาบถหลักทั้ง4 ที่คนส่วนใหญ่ชอบพูดว่าเอาบัญญัติอาการเหล่านี้เป้นอารมณ์จะเหนความ
จริงในสภาพของอารมณ์และเวทนาไม่เที่ยงในจิตขณะที่เราภาวนาในอริยาบถเคลื่อนไหวหรือหยุดเคลือ่นไหว จะเริ่มเหนกฏไตรลักษณ์ที่เป้นภาพสะท้อนจากการที่จิตรู้เหนในอารมณ์รุปนามเกิดความเปลี่ยนแปลงจากบัญญัติกลายเป้นความจริงตามธรรมชาติของจิต วิปัสสนาได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว

คำบริกรรมคำเดียวเอามาใช้ถูกที่ ถูกเวลา ถูกอารมณ์ ได้วิปัสสนาอย่างแน่นอนและยังทำสมถะได้ดีอีก
ด้วย(จิตมั่นตั่งมั่นและเยือกเย้นเป้นทุนอยู่ก่อนแล้วเพราะคำบริกรรมที่ช่วยประคองจิตให้อยู่กับที่ และยังช่วยยกระดับจิตให้สูงขึ้นนั่นเอง) อย่ามองข้ามคำภาวนา หนอ แหนๆ เด็ดขาด คำๆนี้ทำได้ตั้งแต่ระดับอนุบาล ยัน สำเร้จดอกเตอรเลยเชียว :b20: :b40:
:b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2010, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การทำวิปัสสนากรรมฐาน กับการนั่งสมาธิเฉยๆๆ ต่างกันอย่างไรคะ?


ไม่ต่างค่ะ นั่งสมาธิเป็นการทำได้ทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน


อ้างคำพูด:
แล้ว จริงไหมคะที่บางคน นั่งสมาธิแล้วเห็นภาพต่างๆ ที่น่ากลัว พอได้ทราบอย่างนี้
ทำ ให้ไม่กล้าค่ะ...กลัวเห็นภาพต่างๆ เหล่านั้นค่ะ


ไม่เห็นภาพน่ากลัวเด็ดขาดค่ะ เริ่มได้สกิทาคามีก็จะเห็นเป็นแบบเงาๆสามมิติค่ะ เราจะรู้เองตอนนั้นว่ามันเกี่ยวกับอะไรเพราะปัญญาบอก แต่เมื่อเข้าถึงฌานระดับอนาคามีได้ก็จะเห็นภาพอดีตชาติค่ะ เหมือนดูหนังค่ะแต่ไม่ต่อเนื่องแต่มันจะซ้ำๆฉากเดิม และเป็นฉากที่เราไม่ชอบซะด้วย ที่เห็นเพราะให้รู้เหตุของปัจจุบันชาติค่ะ ถ้าฌานสูงขึ้นไปอีกก็จะไม่เห็นอะไรแล้ว

อย่ากังวลค่ะ ถือศีลทำสมาธิเถอะค่ะ สมาธิไม่เคยทำร้ายผู้ปฏิบัติ มีบ้างที่ผู้ปฏิบัติเหมือนเพี้ยนในสายตาคนอื่น แต่นั่นเป็นเพราะจิตใต้สำนึกสำแดงกำลังระลึกสิ่งที่เค้าจำมาค่ะ ที่ชัวร์คือปัญญาธรรมมาเมื่อไหร่เรื่องเรียนของน้องก็สบาย ปัญญามาถูกที่ถูกเวลาถูกสาระเสมอ สะสมบุญไว้เยอะๆค่ะ ถือศีลทำสมาธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2010, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ค่อยได้เข้ากลุ่มสนทนานี้เลยมาให้ความเห็นสายโด่งเลย ข้ออนุญาตให้ความเห็นตามที่ปฏิบัติจริงนะคะ

อ้างคำพูด:
การทำวิปัสสนากรรมฐาน กับการนั่งสมาธิเฉยๆๆ ต่างกันอย่างไรคะ?


ไม่ต่างกันค่ะสมาธิมีสองอย่างคือสมถะและวิปัสสนา

อ้างคำพูด:
แล้ว จริงไหมคะที่บางคน นั่งสมาธิแล้วเห็นภาพต่างๆ ที่น่ากลัว พอได้ทราบอย่างนี้
ทำ ให้ไม่กล้าค่ะ...กลัวเห็นภาพต่างๆ เหล่านั้นค่ะ


จริงค่ะที่บางคนเห็นภาพน่ากลัวแต่นั่นเป็นเพราะจิตปรุงแต่งขึ้นเอง การเห็นนิมิตของผู้ที่จิตเข้าสู่สมาธิแล้วจะเป็นไปตามลำดับ ลำดับแรกคือเห็นวงสีขาวพื้นสีดำจากนั้นก็เห็นเป็นเงาสามมิติ เงาสามมิติมันจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกรรมของเราค่ะปัญญาเป็นตัวบอก จากนั้นก็จะเข้าสู่การเห็นภาพกรรมในอดีตของตัวเองเห็นแบบดูหนังเลย จากนั้นก็โดนมารกวนค่ะคือเวลาเราหลับตาแต่ตาในจะเปิดวางสมาธิลำบาก ส่วนรูปแบบอื่นจุฬาภินันท์ไม่รู้แต่ไม่น่าจะต่างกันถ้าเข้าถึงปัญญา

อ้างคำพูด:
เพิ่งจะเริ่มต้นค่ะ...อยากนั่งสมาธิเพื่อให้มีสติ มีจิตใจที่แข็งแรง เอาไว้ใช้ในการทำงาน และการเรียนค่ะ


เริ่มจากสมถะก่อนเลยค่ะปัญญาจะได้มาก็ต่อเมื่อถึงเวลาที่กรรมกำหนด ปัญญาตัวที่ได้นี่แหละที่จะทำให้เรียนเก่งเป็นมหัศจรรย์ของปัญญาค่ะ มหัศจรรย์ของปัญญาจะเป็นการรู้นะคะรู้เองเลยโดยไม่ต้องคิด การทำสมาธิเป็นการทำให้จิตเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อมีสมาธิสติจะเกิดเองโดยอัตโนมัติค่ะ

วิปัสสนายังไม่แนะให้ทำค่ะ เพราะวิปัสสนาจะทำได้ก็ต่อเมื่อจิตเป็นสมาธิจนได้ปัญญาแล้ว ปัญญาตัวที่เรียกว่าสุตตมยปัญญาน่ะค่ะเป็นปัญญาลึกซึ้ง ลึกซึ้งถึงขนาดรู้อดีตและอนาคตของตัวเองได้น่ะค่ะ เพราะกว่าปัญญาตัวนั้นจะเกิดจิตต้องเป็นสมาธิแล้วจริงๆ เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิที่แท้แล้วจะเข้าใจหลักสัจธรรมได้เอง วิปัสสนาเป็นการรู้ทันความคิดในขณะที่จิตเป็นกลางไม่รับอารมณ์อื่นๆ ความคิดจะหลั่งไหลมาเองจากจิตที่จำสารพันอะไรไว้มากมาย เราก็พิจารณาความคิดที่ผุดขึ้นมาด้วยเหตุและผลตามหลักสัจธรรม ความยากอยู่ที่หลักสัจธรรมที่ต้องอาศับสมาธิเป็นตัวช่วยพัฒนาค่ะ สรุปว่าสมถะพุทโธหรือยุบหนอพองหนอเอาไว้ก็พอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
chulapinan
วิปัสสนายังไม่แนะให้ทำค่ะ เพราะวิปัสสนาจะทำได้ก็ต่อเมื่อจิตเป็นสมาธิจนได้ปัญญาแล้ว ปัญญาตัวที่เรียกว่าสุตตมยปัญญาน่ะค่ะเป็นปัญญาลึกซึ้ง ลึกซึ้งถึงขนาดรู้อดีตและอนาคตของตัวเองได้น่ะค่ะ เพราะกว่าปัญญาตัวนั้นจะเกิดจิตต้องเป็นสมาธิแล้วจริงๆ เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิที่แท้แล้วจะเข้าใจหลักสัจธรรมได้เอง วิปัสสนาเป็นการรู้ทันความคิดในขณะที่จิตเป็นกลางไม่รับอารมณ์อื่นๆ ความคิดจะหลั่งไหลมาเองจากจิตที่จำสารพันอะไรไว้มากมาย เราก็พิจารณาความคิดที่ผุดขึ้นมาด้วยเหตุและผลตามหลักสัจธรรม ความยากอยู่ที่หลักสัจธรรมที่ต้องอาศับสมาธิเป็นตัวช่วยพัฒนาค่ะ สรุปว่าสมถะพุทโธหรือยุบหนอพองหนอเอาไว้ก็พอ




สมมุติบัญญัติ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น พุทโธ , ยุบหนอ พองหนอ, สัมมาอรหัง ฯลฯ

ยังไม่พอครับ ต้องอาศัย ปริยัติ, คันถธุระ อันเปรียบเหมือนแผนที่

ว่าจะเลือกแบบ สมถะยานิกะ หรือ วิปัสสนาล้วน

หลงทางมาเยอะแล้วครับ ยิ่งนั่งสมาธิได้นิมิตแปลกๆ บางคนก็เข้าใจว่า นิมิต หรือ ฌาน คือ พนะนิพพาน


เลิกเชื่อที่สอนตามกันมาว่า สมาธิมาก ๆ แล้วปัญญาจะเกิดเอง

คุณ chulapinan ครับ มีสำนักไหนหนอ ที่สอนการยก องค์ฌานขึ้นสู่ วิปัสสนา แบบพระไตรปิฏก อรรถกถา บ้าง ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็น บาทของ วิปัสสนา
viewtopic.php?f=2&t=21049


ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2010, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การสนทนาธรรม เพื่อ แลกเปลี่ยนแนวทางการดับทุกข์

อุปทานเป็นปัจจัยของการเกิดทุกข

อุปทานคือการเข้าใจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

เช่นการหลงคิดว่าตนเก่งกว่าผู้อื่น รู้ธรรมมากกว่าผู้อื่น

ซึ่งจะเรียกให้ถูกต้อง ต้องพูดว่า จำตำราได้มาก

จะเข้าใจหรือไม่เป็นอีกเรื่อง

อุปทานนี้ที่เป็นปัจจัยของตัญหา

เกิดเป็นภพขึ้น

จึงเกิดโศรกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส ขึ้น

อุปทานก่อให้เกิดความคิดผันพิสดารเป็นมิจฉทิฐิ

เห็นว่าความเห็นตนเองถูกต้องทั้งหมด คนอืนผิดหมด

เป็นความใจแคบ เหมือนน้ำเต็มแก้ว

ขาดสุตะ

ไม่ใช่ทางสู่นิพาน

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรม

แสวงหาความรู้ที่เรียกว่าปรโตโฆษะคือกัลยาณมิตร

และนำมาโยนิโสมนสิการ

ซึ่งคือการวิปปัสนา

ให้เกิดปัญญา

การอวดตนมิให้ก่อเกิดปํญญาแต่ประการใด

ไม่ใช่การปฏิบัติธรรม

ไม่เป็นประโยชน์

โวหารก็ไม่ใช่แก่นสาร

หากเราไม่สามารถพ้นจากจุดเหล่านี้ได้

ก็อย่าพึงหวังมรรคผลใดๆไลย

มรรคที่ว่าคือ

อริยะมรรคที่มีองค์แปด

เริ่มต้นที่สัมมาทิฐิ

ไม่ใจแคบหลงตัวเองเสียก่อน

จึงจะมีดำริที่ดีที่ถูก ตามอริยะมรรคทางเอกที่จะสู่นิพพาน

และต้องมีสัมมาวาจาด้วย

ไม่ใช่สนทนาด้วยถ้อยคำกระเหนะกระแหน่

คือต้องมีศีลเป็นบาทฐานก้าวสู่สมาธิ ปัญญา

อย่าขาดสติหลงเข้าไปสู่

อุธัจจะกุกุจจะ

คือปรากฎออกมาให้เห็นในทางวาจาในรูปของพฤติการ

การว่าเสียดสี ว่ากล่าวยกตนข่มท่าน

อย่างนั้นมิใช่สัมมากัมมันตะ

มิใช่ทางแห่งการพ้นทุกข

เอาง่ายๆแค่นี้

หนทางนิพพานอยู่บนเส้นทางนี้

อยู่ที่ใครจะเดินไปตามทางนี้หรือไม่

ทางตรงที่พระพุทธเจ้าทรงชี้นำทางไห้

ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2010, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
การสนทนาธรรม เพื่อ แลกเปลี่ยนแนวทางการดับทุกข์

......ทางตรงที่พระพุทธเจ้าทรงชี้นำทางไห้

ครับ


ท่าน mes cool

จำที่สัญญากะเอกอนไว้ได้ป่าวววววววว :b20:

อิ อิ ย้อเย่นค่ะ มีเรื่องเล่าการเดินทางมั๊ยคะ


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 02 พ.ค. 2010, 19:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2010, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



เจริญสมถะก่อนแล้วต่อด้วยวิปัสสนา
เจริญวิปัสสนาไปเลย แล้วสมถะก็ตามมาที่หลัง
เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

สมาธินำหน้าปัญญา...ปัญญานำหน้าสมาธิ..หรือสมาธิกับปัญญาไปพร้อมๆ กัน
แล้วแต่ความถนัด จริต แต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน..

ขอจงเจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณศรีสมบัติ เขียน
เจริญสมถะก่อนแล้วต่อด้วยวิปัสสนา
เจริญวิปัสสนาไปเลย แล้วสมถะก็ตามมาที่หลัง
เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

สมาธินำหน้าปัญญา...ปัญญานำหน้าสมาธิ..หรือสมาธิกับปัญญาไปพร้อมๆ กัน
แล้วแต่ความถนัด จริต แต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน..


:b8: สาธุครับ

รายละเอียดของแนวทางการปฏิบัติ สมถะ - วิปัสสนา ศึกษาได้ที่

สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็น บาทของ วิปัสสนา
viewtopic.php?f=2&t=21049

และนี้คือ แนวทาวทางการปฏิบัติ ของผู้เจริญสมถะกรรมฐาน หรือ สมาธิจนได้ฌาน

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.




ข้อสังเกตส่วนตัวนะครับ สำนักปฏิบัติ สมาธิ หายากมากครับ ที่จะให้ศึกษา แนวทางการเจริญวิปัสสนาเมื่อได้องค์ฌาน

ส่วนใหญ่ก็สอนตามกันมาว่า ทำสมาธิไปเรื่อย แล้วปัญญาจะเกิดเอง หรือ เข้าใจว่า สมถะ-วิปัสสนาคือสิ่งเดียวกัน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน

อริยะมรรคที่มีองค์แปด

เริ่มต้นที่สัมมาทิฐิ

ไม่ใจแคบหลงตัวเองเสียก่อน

จึงจะมีดำริที่ดีที่ถูก ตามอริยะมรรคทางเอกที่จะสู่นิพพาน

และต้องมีสัมมาวาจาด้วย


หนทางนิพพานอยู่บนเส้นทางนี้

อยู่ที่ใครจะเดินไปตามทางนี้หรือไม่

ทางตรงที่พระพุทธเจ้าทรงชี้นำทางไห้

ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้



คุณ mes ครับ มีพระพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า

ทางมีอยู่ แต่ผู้เดินไม่มี

ดังเช่น สติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา อันเป็นหนทางสายเอกเพื่อพระนิพพาน แต่ก็หาผู้ที่จะเดินทางอย่างถูกต้องก็น้อยลงเต็มทีเรื่อย ๆ

ข้อคิด จาก ภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฏก ผู้เป็นธรรมกถึก ได้บรรยายในบทสุดท้ายของการศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ไว้ว่า

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/125.htm

นักศึกษาพระอภิธรรมผู้มีปัญญาทั้งหลาย คงได้พิจารณาเห็นแล้วว่า สังขารนี้ไม่ยั่งยืน จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะพากเพียรให้ถึงซึ่งธรรมอันไม่จุติ ตัดขาดจากความเยื่อใยในสิ่งที่ผูกมัดอยู่เสียได้จนหมดสิ้นแล้ว ก็ไม่ต้องสืบต่อภพใหม่ชาติใหม่อีก จักเสวยแต่วิมุตติสุข อันประเสริฐสุดกว่าสุขทั้งปวง

มิฉะนั้นก็จะเป็นเหมือนอย่างที่ปรากฏใน สัทธัมมัปปกาสินี ว่ามีเหมือนไม่มี ๔ ประการ คือ

ทุกฺขเมว น โกจิ ทุกฺขิโต ทุกข์มีจริง แต่คนเป็นทุกข์ไม่มี

การโก น กิริยา ว วิชฺชติ ผู้ทำไม่มี แต่การกระทำมีอยู่แท้

อตฺถิ นิพฺพุติ น นิพฺพุโต ปุมา ความดับมีอยู่ แต่ผู้ดับไม่มี

มคฺโค อตฺถิ คม โก น วิชฺชติ ทางมีอยู่ แต่ผู้เดินไม่มี

ดังนั้น จงเบื่อหน่ายในกามให้สมตามนัยที่ ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปท แสดงไว้ว่า อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา อิทิ วิญฺญาย ปณฺฑิโต อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รติ โส นาธิคจฺฉติ ฯ

กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ยินดีในกาม แม้เป็นของทิพย์

-------------------------------------------------
viewtopic.php?f=2&t=21062

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

[๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่เกิดบนบกมีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เกิด
ในน้ำมากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กลับมา
เกิดในกำเนิดอื่นจากมนุษย์มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่เกิดในมัชฌิมชนบทมีเป็นส่วน
น้อย สัตว์ที่เกิดในปัจจันตชนบท ในพวกชาวมิลักขะที่โง่เขลา มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่มีปัญญา ไม่โง่เง่า ไม่เงอะงะ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และ
คำเป็นทุพภาษิตได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เขลา โง่เง่า เงอะงะ ไม่สามารถที่
จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และคำเป็นทุพภาษิตได้มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ประกอบ
ด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ตกอยู่ในอวิชชา หลงใหล
มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้เห็นพระตถาคต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้เห็น
พระตถาคตมากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้
ไม่ได้ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่า
โดยแท้ สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์
ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่สลดใจ
เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียร
โดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
mes
หนทางนิพพานอยู่บนเส้นทางนี้

อยู่ที่ใครจะเดินไปตามทางนี้หรือไม่

ทางตรงที่พระพุทธเจ้าทรงชี้นำทางไห้

ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


นิพพานที่นี้ เดี๋ยวนี้ โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/nippan_now93.html

พระพุทธเจ้า เอออวย,สวมรอย เรื่อง ภพภูมิต่าง ๆ (หลักกรรมการเวียนว่าย ตายเกิด) กับศาสนาพราหมณ์ โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html

คุณ mes ครับ ต่างจากทิฏฐิ ของท่านพุทธทาส ที่สอนให้ไปนิพพานง่าย ๆ ที่นี้เดี๋ยวนี้ โดยไม่ปูพื้นฐานของ สัมมาทิฏฐิก่อน

โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่อง หลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด (โลกียสัมมาทิฏฐิ)

ไฉนเลย ผู้ที่ไม่เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร จะลงมือเดินทางอย่างถูกต้องและจริงจังได้

ดังคุณสมบัติ ของผู้ที่จะ บรรลุมรรคผลได้ ต้องมีดังนี้

ต้องการนิพพานต้องรู้ถูก โดยพระครูศรีโชติญาณ
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/SW/ni.doc

พูดถึง ความบริสุทธิ์ ตามนัยของคัมภีร์วิสุทธิมรรคฉบับ มจร. หน้า ๒
พระพุทธโฆษาจารย์ท่านได้ให้คำอธิบายไว้ว่า
หมายถึง พระนิพพานที่ไม่มีมลทินทุกอย่าง เป็นธรรมที่บริสุทธิ์ ...
...ส่วนผู้ที่จะเข้าถึงความบริสุทธิ์ดังกล่าวนั้นไม่มีวิถีทางใดที่จะเข้าล่วงถึงได้
นอกเสียจากการปฏิบัติวิปัสสนา
… เพราะการที่จะปฏิบัติวิปัสสนาได้นั้นไม่ใช่คนทุกคน หรือคนทั่วไปจะทำให้เกิดขึ้นได้…
เพราะฉะนั้นในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นต้น ท่านจึงได้ แสดงถึง
คนที่มีสิทธิ์ที่จะบำเพ็ญวิปัสสนาปัญญาให้เกิดขึ้นได้
จะต้องมีคุณสมบัติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก้ปัญหาแก่เทพยดาไว้ในสังยุตบาลีฉบับมจร.
เล่ม ๑๕ หน้า ๒๓ เป็นต้นว่า…
สีเล ปติฐาย นโร สปญฺโญ
จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ
โส อิมํ วิชฏเยชฏํ

ความว่า นรชาติชายหญิง ผู้มีปัญญาแต่กำเนิด
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสมีปัญญาบริหารจิต
เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด ตั้งมั่นในศีล
อบรมสมาธิและวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น นรชนชาติชายหญิงนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถสางรกชัฏที่เป็นเสมือนข่ายคือ ตัณหาออกได้


--------------------------------------------------------

คุณ mes ครับ พระพุทธโฆษาจารย์ ท่านได้ยกพระพุทธพจน์ขึ้นกล่าวอ้าง บทนี้ในบทแรกของการ รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค

แต่ท่านพุทธทาสกลับกล่าวหาท่านว่าเป็น เป็นพราหมณ์ที่แฝงตัวเข้ามาทำลายพระพุทธศาสนา พร้อมกับ ดัดแปลงพระไตรปิฏก อรรถกถา

อ้างคำพูด:
การอวดตนมิให้ก่อเกิดปํญญาแต่ประการใด

ไม่ใช่การปฏิบัติธรรม

ไม่เป็นประโยชน์


คุณ mes ครับ หากผมอวดตนว่า เข้าใจพระสัทธรรมดีแล้ว เข้าใจความหมายที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จนคิดมาแก้ไขพระไตรปิฏก อรรถกถา หรือ มาอธิบายแบบผิด ๆ เป็นการ ปฏิรูปพระสัทธรรม ช่วยแนะนำผมด้วยนะครับ

แต่ไม่ควรใช้ อารมณ์ส่วนตัวมา post ด่าผมอย่างเช่นที่ผ่านมา

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร