วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2010, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 13:51
โพสต์: 25

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ แปลว่า พระนิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง”

คำว่า “ความว่าง” หรือ “มรรค” คือสิ่งใด

ผู้เขียนอยากให้ผู้ที่ได้อ่านคำ ๆ นี้ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำกล่าวนี้

:b4: โดยขอให้ท่านได้บูรณาการความรู้สึกที่แท้จริงของตัวท่านออกมา หรือ พูดจากใจของท่าน

:b4: ไม่ว่าท่านจะเข้าใจ มาก หรือ น้อย ก็ตาม

เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้อ่านท่านอื่น

:b26: และหากท่านใดยังตีโจทย์ไม่แตก

:b8: ขอเชิญท่านผู้รู้ในบอร์ดนี้ ช่วยกันตอบด้วยนะค่ะ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2010, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 13:51
โพสต์: 25

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ความคิดเห็นจากสมองอันน้อยนิด....ของผู้เขียน

:b4: ว่าง...จากความคิดที่จะหาผลประโยชน์ใส่ตัวทุกด้าน

:b4: ว่าง...จากการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

:b4: ว่าง...จากความห่วงความหวงแหนไม่ว่าจะเป็น สามี ภรรยา ลูก และทรัพย์สมบัติ

:b4: สุดท้าย ว่าง....จากความยึดมั่นในตัวเอง “ตัวกู ของกู” คำ ๆ นี้ ใช่จะเอาออกจากตัวทุกคนได้ง่าย ๆ

:b19: ความว่าง.... ไม่ใช่การปล่อยปละละเลย เพิกเฉย ไม่สนใจ

:b14: ความว่าง.... คือ จิตสำนึกรู้จักบทบาท หน้าที่ของตนเองทุกอย่างไม่ว่าด้านครอบครัว,ด้านการงาน,ด้านการเงิน แต่ไม่มีคำว่า “ตัวกู ของกู” อยู่

:b12: ความว่าง...... คือ กระทำทุกอย่างด้วยสติ แต่...ไม่มี...กิเลสปะปน(สะอาดปราศจากกิเลส)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2010, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ แปลว่า พระนิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง”

ปรมัง
ปะระมัง
อตตะมัง

ทำให้นิพพาน เป็นไปตามบัญญัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2010, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแนะนำให้ตรวจสอบที่มาของพระบาลีนี้ก่อนนะครับ

เคยไปยินแต่ นิพานัง ปรมัง สุขัง

ไม่เคยได้ยิน "สุญญัง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2010, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 13:51
โพสต์: 25

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณท่าน ชาติสยามค่ะ
tongue เป็นคำกล่าวพุทธสุภาษิตพระพุทธองค์
จากหนังสือเฉลิมพระเกียรติ แก่นพุทธศาสน์
:b4: ของท่านพุทธทาสภิกขุ จากธรรมทานมูลนิธิ จ.สุราษฎร์ธานี ค่ะ

และขอเชิญท่านชาติสยาม ได้อรรถาธิบายคำพุทธสุภาษิตนี้ด้วยนะค่ะ
เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้อ่าน เจ้าค่ะ :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย napatzx1 เมื่อ 25 เม.ย. 2010, 14:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมหาประโยค ""นิพพานัง ปรมัง สุญญัง"" ในพระไตรปิฏก
ยังไม่พบเลยก็เลยคิดว่า ผมขอไม่ตีความดีกว่า


แต่ผมอยากจะลองชวนดูการแปลประโยคในทำนองเดียวกัน

คือ "นิพพานัง ปรมัง สุขัง"
มีคนแปลว่า "นิพพาน เป็นสุข อย่างยิ่ง"
ซึ้งแปลได้ครบถ้วนไม่ขาดไม่เกิน

แต่แปลแล้ว ไม่ตรงกับสัจจะธรรม
เพราะ "สุข" เป็นอารมณ์
ถ้านิิพานแล้วจะมีอารมณ์อยู่ ก็ดูจะแปลกๆ
เป็นนิพพานที่ยังไม่พ้นขันธ์ เป็นความสุขจากขันธ์
นิพพานแล้วจะมามัวมีความสุขจากขันธ์อยู่ มันก็ขัดกันอย่างมาก
แสดงว่า ประโยคนี้มีความหมายกว้างกว่าที่แปล
คำว่า "สุขัง" ในประโยคนี้ จึงไม่ใช่สุขเวทนา
แล้วสุขที่ไม่ใช่สุขเวทนา มันคือสุขแบบไหนกัน
ซึ่งเราก้ยังงงๆกันอยู่ว่าจะมีความสุขโดยปราศจากขันธ์ได้ยังไง

แต่จะแปลต่างไปจากนี้ ก็ทำไม่ได้
จึงเป็นปัญหาว่า ภาษามนุษย์นี้ เพียงพอจะอธิบายเฉพาะสิ่งที่มนุษย์รู้จักเท่านั้น
นิพพาน เป้นสิ่งที่ภาษาที่เรามี ไม่เพียงพอจะอธิบายได้
การขบคิดใครครวญในประโยคนี้ จึงเป็นเรื่องเปลืองแรง ประโยชน์น้ิอย

ควรขบคิดในธรรมที่สมควรแก่ตน จะดีที่สุดครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 00:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 23:38
โพสต์: 193

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



"นิพพาน"

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

นิพพาน-คำว่า นิพพาน นี้ เขาแปลว่า ดับ ท่านจัดให้เป็นหลายประเภทด้วยกัน คือ

1.ดับกิเลส-มีเบญจขันธ์เหลือบ้าง เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ยังไม่ตาย แต่จิตเป็นนิพพาน

2.ดับกิเลส-โดยไม่มีเบญจขันธ์เหลือบ้าง เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ตายแล้วจิตเป็นสุข อยู่แดนทิพย์อมตะนิพพาน

แต่ว่าในวันนี้จะขอพูดถึง นิพพานมาตรฐาน ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้

องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า......

"นิพพานัง ปรมัง สุขัง"-แปลเป็นใจความว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่ทว่าเรื่องพระนิพพานนี้ มีความเข้าใจเฝือของบรรดาท่านพุทธบริษัทอยู่มาก ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้จุดหนึ่งว่า

"นิพพานัง ปรมัง สุญญัง"-ซึ่งแปลเป็นใจความว่า นิพพานเป็นธรรมว่างจากความทุกข์ ว่างจากกิเลส โลภ โกรธ หลง ว่างจากขันธ์ 5 ว่างจากดิน น้ำ ลม ไฟ ว่างอย่างยิ่ง


คำว่า "สุญ" ในที่นี้ ส่วนที่แปลศัพท์โดยมากมักจะทับศัพท์ ใช้คำว่า"สูญ"

แต่คำว่า"สุญ" นั้น เขาแปลว่า"ว่าง" ก็หมายความว่า "บุคคลใดที่จะเข้าถึงนิพพานได้ ต้องว่างด้วยเหตุ 3 ประการ คือ

1.ว่างจากโลภะ-คือ ไม่มีความโลภในจิตใจ

2.ว่างจากโทสะ-คือ ไม่มีความหงุดหงิด โกรธง่ายในใจ

3.ว่างจากโมหะ-คือ ไม่มีความหลงในโลกทั้งสามในจิตใจ

เพราะว่าโลภะก็ดี โทสะก็ดี โมหะก็ดี ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นรากเหง้าของความชั่ว ที่เรียกว่า รากเหง้าของกิเลส กิเลส ก็คือความชั่ว ความมัวหมองของจิต ที่เรียกว่า จิตคิดชั่ว กิเลสทั้งหมดที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตตรัสแล้ว โดยชื่อแล้วนับปริมาณไม่ได้

แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ตรัสว่า กิเลสทั้งหมดถ้ากล่าวโดยย่อแล้ว ก็เหลือ 3 ประการ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง

ฉะนั้น สมเด็จพระพุทธองค์จึงตรัสว่า ถ้าจิตของบุคคลใดว่างจากกิเลสทั้ง 3 ประการ คือ

โลภะ-ความโลภไม่มีในจิต

โทสะ-ความโกรธไม่มีในจิต

โมหะ-ความหลงไม่มีในจิต

อย่างนี้ สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสว่า เป็นผู้มีความว่างจากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน คือคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง"......

ที่มา http://www.buddhapoem.com/index.php?lay ... &No=464354

.....................................................
หากไม่สนใจหลักธรรมปลีกย่อย แล้วจะบรรลุหลักธรรมใหญ่ได้ยังไง -- กวนอู

"ทรัพยกรมนุษย์หากตายไป บริษัทฯ สามารถหามาแทนได้ แต่ทรัพยากรครอบครัวนั้น ครอบครัวไม่สามารถหามาแทนได้"


แก้ไขล่าสุดโดย varinne เมื่อ 26 เม.ย. 2010, 00:31, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 02:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


napatzx1 เขียน:
“นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ แปลว่า พระนิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง”

คำว่า “ความว่าง” หรือ “มรรค” คือสิ่งใด

ผู้เขียนอยากให้ผู้ที่ได้อ่านคำ ๆ นี้ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำกล่าวนี้

:b4: โดยขอให้ท่านได้บูรณาการความรู้สึกที่แท้จริงของตัวท่านออกมา หรือ พูดจากใจของท่าน

:b4: ไม่ว่าท่านจะเข้าใจ มาก หรือ น้อย ก็ตาม

เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้อ่านท่านอื่น

:b26: และหากท่านใดยังตีโจทย์ไม่แตก

:b8: ขอเชิญท่านผู้รู้ในบอร์ดนี้ ช่วยกันตอบด้วยนะค่ะ
:b8:


1. คุณต้องทำความเข้าใจไว้ว่า
มรรค กับ ความว่าง เป็นคนละอย่างกัน
ความว่าง เป็น ผล ที่เกิดจาก มรรค

2. คุณต้องทำความเข้าใจไว้ว่า
ความสุข มีหลากหลาย ลักษณะ เช่น การไม่คิดอะไรเลย การที่ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความโลภ ความหลง ในใจ เป็นความสุข ลักษณะหนึ่ง
แต่ การมีความ โกรธ ความโลภ ความหลง ก็เป็น ความสุข ลักษณะหนึ่งเช่นกัน ขึ้นอยู่กับความพอใจของบุคคลนั้นๆ ถึงแม้ว่า ในทางหลักการพุทธศาสนา หรือ ศาสนาใดใด จะถือว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ความสุข
3. นิพพาน เป็นชื่อ หรือเป็นลักษณะของการประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรม ชั้นสูงสุด ตามหลักการพุทธศาสนา หลุดพ้นจากธรรมชาติของโลก หลุดพ้นหรืออยู่เหนือแรงดึงดูดของโลก หรือสามารถป้องกัน มิให้สภาพร่างกายและจิตใจเป็นไปตามธรรมชาติของโลก กล่าวคือ พฤติกรรม การกระทำ หรือสิ่งของใดใด ตามธรรมชาติ หรือถูกสร้างจากธรรมชาติ ของโลกมนุษย์ ไม่สามารถก่อให้เกิด สภาพสภาวะจิตใจ ใดใด ต่อผู้บรรลุถึง หรือสำเร็จนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ความว่าง" หรือ"มรรค"คือสิ่งใด
ตามความเข้าใจ ภูมิปัญญาของกระผม...
"ความว่าง" ก็อีกอย่าง "มรรค" ก็อีกอย่าง คนละอันเดียวกัน(เอ๊ะ..งง..) :b13: สญญํ หรือ สุญโญ สุญญตา สุญญ ความหมายใกล้เคียงกัน เป็น ศูน หรือว่าง ว่างเปล่า
ภาษาชาวบ้านๆ ของ ว่าง หรือของที่ไร้สาระ ทั่วๆไป ดูเหมือนเป็นคำพื้นๆ ธรรมดาๆ ที่คนส่วนมากให้ความสนใจน้อยมาก และมองข้ามไปทั้งๆที่ คำๆนี้ เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
ภาษาธรรมะ ความว่าง ว่างจากการปรุงแต่ง..ไหลเวียน เป็นลักษณะเฉพาะของ อสังขตธรรม หรือ นิพพาน สรุปว่า"ว่าง" หมายความได้ สอง อย่าง คือ
ว่างจากสาระหรือเป็นมายา สังขตธรรมทั้งปวง
ว่างจากการปรุงแต่งไหลเวียน อสังขตธรรม นิพพาน
ทั้งหมดเป็นความหมายอย่างที่ป็นภาษาชาวบ้านใช้ และอย่างที่เป็นภาษาธรรมะอันลึกซึ้ง
ส่วน"มรรค" นั้นเป็นผลที่ได้จากการปฏิบัติ "ความว่าง"เป็น มรรคผล จากการปฏิบัติเช่นกัน เพราะผู้จะเข้าถึง"ความว่าง"อย่างภาษาธรรมแล้ว จะต้องปฏิบัติถูกต้องตามแนวทางพระพุทธศาสนาที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้เท่านั้น
ขอจงเจริญในธรรม :b8: :b1: :b12: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่างจากสมมติบัญญัติ :b55: :b53:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 00:31
โพสต์: 1

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความว่างคือการมีอิสระจากสิ่งทั้งปวง
ไม่ได้ว่างเปล่าไม่รู้อะไรนะเเต่หมายถึงรู้ทุกอย่าง
จนไม่ต้องการความรู้เเบบภายนอกเเต่รู้เเบบภายใน
รู้เเบบสมบูณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 00:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราว่าง เขียน:
ความว่างคือการมีอิสระจากสิ่งทั้งปวง
ไม่ได้ว่างเปล่าไม่รู้อะไรนะเเต่หมายถึงรู้ทุกอย่าง
จนไม่ต้องการความรู้เเบบภายนอกเเต่รู้เเบบภายใน
รู้เเบบสมบูณ


และ...ถ้าอยากจะ...ไม่รู้แล้ว...ล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ของเท็จ ก็มิได้มีอยู่จริง
ของจริงก็มิได้มีอยู่จริง
นอกจากของจริงคือความว่าง
ของจริงนอกนั้นเป็นเพียงจริงอย่างสมมุติ
หรือจริงอย่างบัญญัติ
หรือจริงเพียงเท่าที่จะใช้เป็นอุบายสำหรับกำจัดของเท็จ
หรือบำบัดความทุกข์ไปชั่วขณะหนึ่งๆเท่านั้น
ของจริงแท้ที่มีอยู่ตลอดกาลคือ ความว่าง
ซึ่งไม่มีตัวตนที่ควรจะถูกเรียกว่า ของเท็จ หรือ ของจริง แต่ประการใดเลย...


พระพุทธทาสภิกขุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


เอานิพพานมาพูดอีกแล้ว


นิพพาน มันเหนือ สมมุติ

คำพูดมันเป็นสมมุติ

มันจะไปแสดงว่านิพพาน เป็นอะไร

มันก็ได้แค่กรอบสมมุติ ที่เคยเรียนรู้มา เท่านั้นเอง


นิพพาน คือ ธรรมธาตุ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


varinne เขียน:

"นิพพาน"

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

นิพพาน-คำว่า นิพพาน นี้ เขาแปลว่า ดับ ท่านจัดให้เป็นหลายประเภทด้วยกัน คือ

1.ดับกิเลส-มีเบญจขันธ์เหลือบ้าง เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ยังไม่ตาย แต่จิตเป็นนิพพาน

2.ดับกิเลส-โดยไม่มีเบญจขันธ์เหลือบ้าง เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ตายแล้วจิตเป็นสุข อยู่แดนทิพย์อมตะนิพพาน

แต่ว่าในวันนี้จะขอพูดถึง นิพพานมาตรฐาน ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้

องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า......

"นิพพานัง ปรมัง สุขัง"-แปลเป็นใจความว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่ทว่าเรื่องพระนิพพานนี้ มีความเข้าใจเฝือของบรรดาท่านพุทธบริษัทอยู่มาก ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้จุดหนึ่งว่า

"นิพพานัง ปรมัง สุญญัง"-ซึ่งแปลเป็นใจความว่า นิพพานเป็นธรรมว่างจากความทุกข์ ว่างจากกิเลส โลภ โกรธ หลง ว่างจากขันธ์ 5 ว่างจากดิน น้ำ ลม ไฟ ว่างอย่างยิ่ง


คำว่า "สุญ" ในที่นี้ ส่วนที่แปลศัพท์โดยมากมักจะทับศัพท์ ใช้คำว่า"สูญ"

แต่คำว่า"สุญ" นั้น เขาแปลว่า"ว่าง" ก็หมายความว่า "บุคคลใดที่จะเข้าถึงนิพพานได้ ต้องว่างด้วยเหตุ 3 ประการ คือ

1.ว่างจากโลภะ-คือ ไม่มีความโลภในจิตใจ

2.ว่างจากโทสะ-คือ ไม่มีความหงุดหงิด โกรธง่ายในใจ

3.ว่างจากโมหะ-คือ ไม่มีความหลงในโลกทั้งสามในจิตใจ

เพราะว่าโลภะก็ดี โทสะก็ดี โมหะก็ดี ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นรากเหง้าของความชั่ว ที่เรียกว่า รากเหง้าของกิเลส กิเลส ก็คือความชั่ว ความมัวหมองของจิต ที่เรียกว่า จิตคิดชั่ว กิเลสทั้งหมดที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตตรัสแล้ว โดยชื่อแล้วนับปริมาณไม่ได้

แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ตรัสว่า กิเลสทั้งหมดถ้ากล่าวโดยย่อแล้ว ก็เหลือ 3 ประการ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง

ฉะนั้น สมเด็จพระพุทธองค์จึงตรัสว่า ถ้าจิตของบุคคลใดว่างจากกิเลสทั้ง 3 ประการ คือ

โลภะ-ความโลภไม่มีในจิต

โทสะ-ความโกรธไม่มีในจิต

โมหะ-ความหลงไม่มีในจิต

อย่างนี้ สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสว่า เป็นผู้มีความว่างจากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน คือคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง"......

ที่มา http://www.buddhapoem.com/index.php?lay ... &No=464354


อนุโมทนาคร๊าบ

ว่างชั่วคราว เข้าไปนิพพาน แป๊ปนึง แล้วกลับมาอยู่กับกิเลสต่อได้หรือเปล่าคร๊าบ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร