วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 387 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุคร๊าบบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 23:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 23:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ หวัดดีนะจ้าๆ
walaiporn เขียน:
เมื่อคืนได้ฟังหลวงตาเทศน์เรื่อง กิเลส
ตอนแรกคิดว่าเรื่องกิเลสนี่คงจะไม่มีการกล่าวถึงในสมัยพุทธกาล
จริงๆแล้วมี แต่ไม่เคยฟัง เป็นเรื่องของพระโปฐิละ หรือพระใบลานเปล่า
เรื่องที่หลวงตาเล่านี่ นำมาจากการฟังหลวงปู่มั่นใช้ในการสอนพระสงฆ์ที่ดื้อ


ก็เพิ่งรู้อีกว่า คำกล่าวที่ว่า เมื่อจิตเห็นจิต ให้ทำลายจิต มาจากเรื่องนี้นี่เอง

จิตในที่นี้คือ ตัวเหี้-ย ที่เขานำมาเปรียบเทียบกับจิตที่ชอบปรุงแต่งทั้งดีและชั่ว
ว่าถ้าเจอจิตตัวนี้ ให้ทำลายเสีย ดั่งในนิทานเรื่องนี้


http://www.dhammahome.com/front/webboar ... p?id=05885

เพราะมีตัวตน จึงไปยึดมั่นกับทั้งความดีและความชั่ว

กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
ผู้ที่กำลังออนไลน์
กำลังดูบอร์ดนี้: noohmairu, Yahoo [Bot], กบนอกกะลา และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


โอ๊ะ..โอ่..

คุณ noohmairu กรุณา..เว้นกระทู้นี้..ใว้สัก อันนะท่าน..ให้ของเขาสงบร่มรื่นแบบนี้..ดีที่สุดแล้ว
:b9: :b9: :b9:

เพราะมีตัวตน จึงไปยึดมั่นกับทั้ง noohmairu และ varinne

varinne เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
ผู้ที่กำลังออนไลน์
กำลังดูบอร์ดนี้: noohmairu, Yahoo [Bot], กบนอกกะลา และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


โอ๊ะ..โอ่..

คุณ noohmairu กรุณา..เว้นกระทู้นี้..ใว้สัก อันนะท่าน..ให้ของเขาสงบร่มรื่นแบบนี้..ดีที่สุดแล้ว
:b9: :b9: :b9:


คะคุณกบ ก็ภาวนาอยู่ ขอที่สงบๆตรงนี้ให้ร่มเย็นต่อไปเถอะ รูปภาพ

เพราะมีตัวตน จึงไปยึดมั่นกับทั้งร่มเย็นและไม่ร่มเย็น

กบนอกกะลา เขียน:
ดูใจ..ตัวเอง

หาก..เป็นอกุศล..ก็ระงับหยับหยั้ง..การนั้น

หาก..เป็นกุศล..จึงกระทำการนั้นต่อ

แต่ประสิทธิภาพ..ยังได้ไม่ 100 นะครับ

เพราะมีตัวตน จึงไปยึดมั่นกับทั้งกุศลและอกุศล


อนุโมทนาสาธุจ้า :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 17:04
โพสต์: 47

แนวปฏิบัติ: สวดมนต์
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
อายุ: 20

 ข้อมูลส่วนตัว


จากคำถามในข้อนี้ที่ว่า พุทธศาสนาสอนเรื่อง ไตรลักษณ์ คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าเกิดมีคำถามว่า จะไม่ไปขัดแย้งกับข้อความดังต่อไปนี้หรือ

พระพุทธเจ้า “ดูก่อนอานนท์ หากวิญญาณของกุมารหรือกุมารี ผู้เติบโตเป็นหนุ่มสาว จักขาดสูญ (ดับ) ไปเสีย นามรูปจักถึงความเจริญเติบโตใหญ่ อย่างนี้ได้หรือ”

พระอานนท์ “มิได้เลย พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้า “ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนี้แล (เราจึงกล่าวว่า) สิ่งที่เป็นเหตุ เป็นต้นเค้า เป็นแดนเกิด เป็นปัจจัยแห่งนามรูปก็คือวิญญาณ” (ที.ม.10/60/74.)

นักศึกษาจะอธิบายปัญหานี้อย่างไร เนื่องจากดูเหมือนว่าวิญญาณ เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ จงอธิบาย


ในขั้นต้น ก่อนที่จะไปถึงคำตอบ ขออธิบายพุทธธรรมที่ว่า ไตรลักษณ์ และ ปฏิจจสมุปบาทก่อน เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจถึงปัญหาในข้อนี้โดยละเอียด ความเป็นไปต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นไปตามธรรมชาติ อาศัยความสัมพันธ์และความเป็นปัจจัยเนื่องอาศัยกันของสิ่งทั้งหลายเอง ไม่มีตัวการอย่างอื่นที่นอกเหนือออกไปในฐานะผู้สร้างหรือผู้บันดาล จึงเรียกเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เป็นกฏธรรมชาติ ธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงในรูปของกฏธรรมชาตินั้น มีอยู่สองหมวดใหญ่คือ ไตรลักษณ์ และปฏิจจสมุปบาท ความจริงธรรมทั้งสองหมวดนี้ถือได้ว่าเห็นกฏเดียวกัน แต่แสดงในคนละแง่หรือคนละแนว โดยไตรลักษณ์ มุ่งแสดงลักษณะของสิ่งทั้งหลายซึ่งปรากฏให้เห็นว่าเป็นอย่างนั้น เมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นไปโดยอาการที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกันตามหลักปฏิจจสมุปบาท ส่วนหลักของปฏิจสมุปบาทนั้น มุ่งแสดงถึงอาการที่สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกันเป็นกระแส จนมองเห็นลักษณะได้ว่าเป็นไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ แปลว่าลักษณะที่ทั่วไป หรือเสมอเหมือนกันแก่สิ่งทั้งปวง ซึ่งได้ความหมายเท่ากัน ซึ่งความหมายของไตรลักษณ์ (The Three Characteristics of Existence) โดยย่อ ได้ดังนี้

๑. อนิจจา (Impermanence) ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป

๒. ทุกขตา (Stress and Conflict) ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไปจะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน

๓. อนัตตตา (Soullessness หรือ Non-Self) ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง

เมื่อนำขันธ์ต่างๆ มาพิจารณาแต่ละอย่างๆ(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ก็จะเห็นว่า ขันธ์ทุกขันธ์ไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ เป็นสภาพบีบคั้นกดดันแก่ผู้เข้าไปยึด เมื่อเป็นทุกข์ ก็ไม่ใช่ตัวตน ที่ว่าไม่ใช่ตัวตน ก็เพราะแต่ละอย่าง ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยไม่มีตัวตนของมันเอง อย่างหนึ่ง เพราะไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นของของสัตว์บุคคลนั้นแท้จริง

ภาวะที่ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เกิดแล้วสลายไป เรียกว่า อนิจจตา ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยเกิดสลาย มีความกดดันขัดแย้งแฝงอยู่ ไม่สมบูรณ์ในตัว เรียกว่า ทุกขตา ภาวะที่ไร้ตัวตนที่แท้จริงของมันเอง เรียกว่า อนัตตตา ปฏิจจสมุปบาทแสดงให้เห็นถึงภาวะทั้ง ๓ นี้ในสิ่งทั้งหลาย และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นปัจจัยแก่กันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จนปรากฏรูปออกมาเป็นต่างๆ ในธรรมชาติ ภาวะและความเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ มีแก่สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นรูปธรรม ทั้งที่เป็นนามธรรม
จากคำถามข้างต้น ลำดับต่อมาเราจะมาวิเคราะห์ถึงคำว่า วิญญาณ ในพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้า ที่ตรัสแก่พระอานนท์ ในข้อความข้างต้น ดังต่อไปนี้

วิญญาณ ในความหมายแรก ของข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูก่อนอานนท์ หาก วิญญาณ ของกุมารหรือกุมารี ผู้เติบโตเป็นหนุ่มสาว จักขาดสูญ (ดับ) ไปเสีย นามรูปจักถึงความเจริญเติบโตใหญ่ อย่างนี้ได้หรือ”

วิญญาณ ในความหมายที่สอง ของข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนี้แล (เราจึงกล่าวว่า) สิ่งที่เป็นเหตุ เป็นต้นเค้า เป็นแดนเกิด เป็นปัจจัยแห่งนามรูปก็คือ วิญญาณ”

วิญญาณในความหมายแรกของพระพุทธเจ้านั้น หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณ คือวิญญาณดวงแรกที่ถือปฏิสนธิ ซึ่งอยู่ในขณะปฏิสนธิบ้าง ขณะอยู่ในท้องมารดาบ้าง ในขณะออกจากท้องมารดาบ้าง หรือในขณะที่มีอายุได้ ๑๐ ปีเป็นต้นบ้าง นี่คือความหมายของคำว่า วิญญาณ ในฐานะที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิ
วิญญาณในความหมายที่สองของพระพุทธเจ้านั้น หมายถึง วิญญาณ ที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือ วิญญาณเป็นเหตุให้เกิดนามรูป และนามรูปก็ทำให้เกิดวิญญาณ และนามรูปนั้นยังทำให้เกิดผัสสะ ซึ่งผัสสะ นั้น ได้แก่ความถูกต้องอารมณ์ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นามนั้น ได้แก่สิ่งที่มีชื่อ ไม่มีรูปร่างปรากฏ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯ เวทนานั้น ได้แก่ความรู้สึกว่าเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หรือเฉยๆ สัญญานั้นได้แก่ความจำสิ่งต่างๆ สังขารนั้น ได้แก่ความนึกคิดในสิ่งต่างๆ วิญญาณนั้น ได้แก่ความรู้สึกในสิ่งต่างๆ รูปนั้น ได้แก่สิ่งที่มาประชุมกันขึ้นด้วยธาตุ๔

จากคำถามมีว่า จะอธิบายอย่างไร เมื่อดูว่าวิญญาณนั้นเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ ภาวะที่เที่ยงแท้นั้น หมายถึง ถ้าสิ่งทั้งหลายมีตัวตนแท้จริง ก็ต้องมีความคงที่ ถ้าสิ่งทั้งหลายคงที่แม้แต่ขณะเดียว ก็เป็นเหตุปัจจัยกันไม่ได้ เมื่อเป็นเหตุปัจจัยแก่กันไม่ได้ ก็ประกอบกันขึ้นเป็นกระแสไม่ได้ เมื่อไม่มีกระแสแห่งปัจจัย ความเป็นไปในธรรมชาติก็มีไม่ได้ และถ้ามีตัวตนที่แท้จริงอย่างใดในท่ามกลางกระแส ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยอย่างแท้จริงก็เป็นไปไม่ได้ และถ้ามีตัวตนที่แท้จริงอย่างใดในท่ามกลางกระแส ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยอย่างแท้จริงก็เป็นไปไม่ได้ วิญญาณจึงไม่เป็นสิ่งเที่ยงแท้

จากข้อความข้างต้นเมื่อวิญญาณไม่เที่ยงแท้ จะเห็นได้ว่า วิญญาณเป็นเหตุให้เกิดนามรูป นามรูปก็เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณ และนามรูปนั้นยังก่อให้เกิดผัสสะอีก ได้ใจความว่า ที่จะมีชื่อเรียกว่าอย่างนั้นก็ดี อย่างโน้นก็ดี ที่จะมีคำยกย่องกันอย่างโน้นก็ดีอย่างนี้ก็ดี ที่จะมีคำแต่งตั้งอย่างโน้นก็ดีอย่างนี้ก็ดี ที่จะรู้ด้วยปัญญาก็ดี ที่จะมีการวนเวียนอยู่ในโลกก็ดี ด้วยวิญญาณเป็นต้นเหตุ คือ เมื่อมีวิญญาณแล้วก็มีนามรูป เมื่อมีนามรูปแล้ว ก็มีสาฬายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อมีสาฬายตนะแล้ว ก็มีผัสสะ เมื่อมีผัสสะแล้วก็มีเวทนา และตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นลำดับไป ดังจะเห็นว่า กระแสแห่งเหตุปัจจัยที่ทำให้สิ่งทั้งหลายปรากฏโดยเป็นไปตามกฏธรรมชาติ ดำเนินไปได้ ก็เพราะสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เกิดแล้วสลายไป ไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน และสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน ย่อมไม่ขัดกันกับหลักของไตรลักษณ์ คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา





โดย จารุธมฺโม
ขอบคุณ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=412107

.....................................................
เกิดดับ...
[จิ เจ รุ นิ]


จงทำใจให้นิ่ง....แล้วจะได้พบความสงบ เมื่อสงบ ความสุขย่อมจะตามมา....


ราตรีนาน สำหรับคนนอนไม่หลับ
ระยะทางโยชน์หนึ่งไกล สำหรับผู้ล้าแล้ว
สังสารวัฎยาวนาน สำหรับคนพาล
ผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม


คนพาลได้ความรู้มา
เพื่อการทำลายถ่ายเดียว
ความรู้นั้น ทำลายคุณความดีเขาสิ้น
ทำให้มันสมองของเขาตกต่ำไป


คนโง่ รุ้ตัวว่าโง่
ยังมีทางเป็นบัณฑิตได้บ้าง
แต่โง่แล้ว อวดฉลาด
นั่นแหละเรียกว่าคนโง่แท้

........What Goes Around... Comes Around........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เมื่อคืนได้ฟังหลวงตาเทศน์เรื่อง กิเลส
ตอนแรกคิดว่าเรื่องกิเลสนี่คงจะไม่มีการกล่าวถึงในสมัยพุทธกาล
จริงๆแล้วมี แต่ไม่เคยฟัง เป็นเรื่องของพระโปฐิละ หรือพระใบลานเปล่า
เรื่องที่หลวงตาเล่านี่ นำมาจากการฟังหลวงปู่มั่นใช้ในการสอนพระสงฆ์ที่ดื้อ

ก็เพิ่งรู้อีกว่า คำกล่าวที่ว่า เมื่อจิตเห็นจิต ให้ทำลายจิต มาจากเรื่องนี้นี่เอง

จิตในที่นี้คือ ตัวเหี้-ย ที่เขานำมาเปรียบเทียบกับจิตที่ชอบปรุงแต่งทั้งดีและชั่ว
ว่าถ้าเจอจิตตัวนี้ ให้ทำลายเสีย ดั่งในนิทานเรื่องนี้


http://www.dhammahome.com/front/webboar ... p?id=05885

เหอๆๆ

ตัวเหี้ยของพระโปฎิละ ไม่ใช่จิตแบบนั้น หรอกหนูน้อยเอ๋ยย

จิตแบบที่อธิบายนั้น มันแค่ไข่ของเหี้ย

ยังไม่ได้เรียกว่า อาการของเหี้ย ซะด้วยซ้ำ

และก็ยังไม่ถึงหนังของเหี้ย

ไม่ถึงตัวเปล่าแก่นของเหี้ยซะด้วยซ้ำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 23:38
โพสต์: 193

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


noohmairu เขียน:
อิอิ หวัดดีนะจ้าๆ
walaiporn เขียน:
เมื่อคืนได้ฟังหลวงตาเทศน์เรื่อง กิเลส
ตอนแรกคิดว่าเรื่องกิเลสนี่คงจะไม่มีการกล่าวถึงในสมัยพุทธกาล
จริงๆแล้วมี แต่ไม่เคยฟัง เป็นเรื่องของพระโปฐิละ หรือพระใบลานเปล่า
เรื่องที่หลวงตาเล่านี่ นำมาจากการฟังหลวงปู่มั่นใช้ในการสอนพระสงฆ์ที่ดื้อ


ก็เพิ่งรู้อีกว่า คำกล่าวที่ว่า เมื่อจิตเห็นจิต ให้ทำลายจิต มาจากเรื่องนี้นี่เอง

จิตในที่นี้คือ ตัวเหี้-ย ที่เขานำมาเปรียบเทียบกับจิตที่ชอบปรุงแต่งทั้งดีและชั่ว
ว่าถ้าเจอจิตตัวนี้ ให้ทำลายเสีย ดั่งในนิทานเรื่องนี้


http://www.dhammahome.com/front/webboar ... p?id=05885

เพราะมีตัวตน จึงไปยึดมั่นกับทั้งความดีและความชั่ว

กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
ผู้ที่กำลังออนไลน์
กำลังดูบอร์ดนี้: noohmairu, Yahoo [Bot], กบนอกกะลา และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


โอ๊ะ..โอ่..

คุณ noohmairu กรุณา..เว้นกระทู้นี้..ใว้สัก อันนะท่าน..ให้ของเขาสงบร่มรื่นแบบนี้..ดีที่สุดแล้ว
:b9: :b9: :b9:

เพราะมีตัวตน จึงไปยึดมั่นกับทั้ง noohmairu และ varinne

varinne เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
ผู้ที่กำลังออนไลน์
กำลังดูบอร์ดนี้: noohmairu, Yahoo [Bot], กบนอกกะลา และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


โอ๊ะ..โอ่..

คุณ noohmairu กรุณา..เว้นกระทู้นี้..ใว้สัก อันนะท่าน..ให้ของเขาสงบร่มรื่นแบบนี้..ดีที่สุดแล้ว
:b9: :b9: :b9:


คะคุณกบ ก็ภาวนาอยู่ ขอที่สงบๆตรงนี้ให้ร่มเย็นต่อไปเถอะ รูปภาพ

เพราะมีตัวตน จึงไปยึดมั่นกับทั้งร่มเย็นและไม่ร่มเย็น

กบนอกกะลา เขียน:
ดูใจ..ตัวเอง

หาก..เป็นอกุศล..ก็ระงับหยับหยั้ง..การนั้น

หาก..เป็นกุศล..จึงกระทำการนั้นต่อ

แต่ประสิทธิภาพ..ยังได้ไม่ 100 นะครับ

เพราะมีตัวตน จึงไปยึดมั่นกับทั้งกุศลและอกุศล


อนุโมทนาสาธุจ้า :b8:


เพราะมีตัวตน noohmairu จึงมาตอบกระทู้เรา

อนุโมทนาสาธุจ้า :b28: :b28: :b28:

(แบร่~)

.....................................................
หากไม่สนใจหลักธรรมปลีกย่อย แล้วจะบรรลุหลักธรรมใหญ่ได้ยังไง -- กวนอู

"ทรัพยกรมนุษย์หากตายไป บริษัทฯ สามารถหามาแทนได้ แต่ทรัพยากรครอบครัวนั้น ครอบครัวไม่สามารถหามาแทนได้"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 17:04
โพสต์: 47

แนวปฏิบัติ: สวดมนต์
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
อายุ: 20

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต เจตสิก รูป นิพพาน


ปรมัตถธรรม จะมีอยู่ 4 อย่างคือ

1) จิตปรมัตถ์

2) เจตสิกปรมัตถ์

3) รูปปรมัตถ์

4) นิพพานปรมัตถ์

จิต เจตสิก รูป นิพพาน

จิต คือ ธรรมชาติที่มีลักษณะรู้อารมณ์ คือมีการไปรับรู้อารมณ์อยู่เสมอส่วน

เจตสิก เป็นธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด คือ ประกอบกับจิต

จิตกับเจตสิกจะเกิดร่วมกัน อุปมาจิตเหมือนน้ำใส ๆ เจตสิกเหมือนสีต่าง ๆ เมื่อเราเอาสีเขียวไปใส่ในแก้วน้ำ แล้วก็คนๆ แล้วน้ำก็กลายเป็นน้ำเขียว หรือเอาสีเหลืองไปใส่ น้ำก็เป็นสีเหลือง มันจะรวมตัวกันอยู่อย่างนั้น แต่มันก็คนละอย่าง น้ำกับสีมันคนละอย่างกัน หรือจะเปรียบเจตสิกเหมือน เครื่องแกง คนที่ทำครัวก็เอาน้ำใส่หม้อลงไป แล้วเอาเครื่องแกง ที่ผสมไว้ด้วยพริก หอม กระเทียม กะปิ อะไรต่างๆ ที่ตำไว้ เอาไปคนลงในน้ำแกง น้ำนั้นก็กลายเป็นน้ำแกงปนกันไป เครื่องปรุงในจิตเจตสิกอุปมาได้อย่างนั้น แต่นี่มันเป็นนามธรรม จิตกับเจตสิกเป็นนามธรรมเกิดร่วมกันอยู่ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน มีที่อาศัยอย่างเดียวกัน จิตจะเป็นไปต่างๆ ขึ้นกับอำนาจของเจตสิก เจตสิกมันเป็นเครื่องปรุง เหมือนอย่างน้ำ จะให้เป็นน้ำแกง แกงอะไร มันก็ต้องใส่เครื่องปรุงแต่ละอย่างลงไป จิตก็เหมือนกัน ถ้าเจตสิกชนิดไหนลงไปรวมกับจิต จิตก็จะมีสภาพ ไปตามเจตสิกอย่างนั้น เจตสิกมันมีจำนวนมาก ไปปรุงแต่งในจิตจำนวนมากด้วยกัน จิตเกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ ก็จะมีเจตสิกหลาย ๆ ชนิดเข้าไปรวมตัวอยู่ด้วย คงจะไม่ได้พูดรายละเอียดลงไปว่า จิตนั้นมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ในจำนวนจิต 89 หรือ 121 ดวง คือเราไม่มีเวลาไปศึกษาพออย่างนั้น แต่เราจะพูดเอาเฉพาะที่มาทำความเข้าใจที่จะนำมาปฏิบัติ เจตสิกมี 52 ชนิด เราก็จะไม่พูดรายละเอียดลงไป จะพูดเฉพาะเรื่องที่จะมาปฏิบัติ

รูป คือ ธรรมชาติที่มีลักษณะเสื่อมสิ้นสลายไป เสื่อมสิ้นสลายไป คือมันเกิดขึ้นแล้วมันก็แตกสลายไป ก็คือเป็นการปฏิเสธของการรับรู้อารมณ์ คือรูปมันไม่สามารถจะรับรู้ได้ ไม่เหมือนจิตเจตสิก จิตเจตสิกนี้นี่มันรู้อารมณ์ได้ มันไปจับไปรับรู้อารมณ์ได้ แต่รูปมันรับรู้อารมณ์ไม่ได้ มันก็มีหน้าที่ เกิดมาแล้วก็สลายตัวเท่านั้น แต่ไม่ใช่ว่าจิตเจตสิก จะไม่สลายตัว มันก็เกิดขึ้น ดับไปเหมือนกัน แต่ว่ามันรับรู้ อารมณ์ได้ แต่รูปมันรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ก็เลยใช้เฉพาะคำว่าเสื่อมสิ้นสลายไป ซึ่งมี 28 รูปด้วยกัน ในคนหนึ่งก็จะมี 27 รูป แต่ว่ามันต่างกันอยู่ระหว่างผู้หญิง ผู้ชาย คือ ภาวรูป ในระหว่างอิตถีภาวรูป รูปของความเป็นผู้หญิง กับปุริสภาวรูป รูปของความเป็นชาย ซึ่งมีอยู่ในเซลทั่วร่างกาย ผู้ชายก็มีเฉพาะปุริสภาวรูป ผู้หญิงก็มีเฉพาะอิตถีภาวรูป แต่รวมผู้หญิงผู้ชายแล้วก็เป็น 28 รูป อันนี้ก็พอ เราก็จะไม่ศึกษาให้ละเอียด

นิพพาน คือ ธรรมชาติที่มีลักษณะ สงบจากรูป นาม ขันธ์ 5 พ้นจากกิเลส คือ นิพพานมันเป็นธรรมชาติที่พ้นจากการปรุงแต่งจากเหตุปัจจัยทั้ง 4 คือ เหตุปัจจัยที่จะไปปรุงแต่ง ปัจจัยมี 4 คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร ที่จะไปปรุงแต่งให้มันเกิดขึ้นให้มันดับไปไม่มี เพราะฉะนั้น นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีความเกิดดับ ไม่เหมือน จิต เจตสิก รูป ซึ่งมันถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย 4 เพราะฉะนั้น เมื่อเหตุปัจจัยมันดับ จิต เจตสิก รูป เหล่านั้นก็ดับ เมื่อเหตุปัจจัยส่งผล มันก็เกิดขึ้น แต่นิพพานนี้เป็น อสังขตธรรม คือ เป็นธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยทั้ง 4 จึงไม่มีความเกิดดับ นิพพานก็เป็นธรรมชาติที่ไม่ใช่รูป ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก แต่ว่านิพพานก็มีอยู่ โดยความเป็นธรรมารมณ์ คือเป็นอารมณ์ที่มาปรากฎทางใจ ในร่างกายในชีวิตของเราก็มีจิต เจตสิก รูป ขาดนิพพานไป นอกจากเราปฏิบัติวิปัสสนา ให้ถึงจุดหนึ่งก็จะถึง จะไปรับสัมผัสนิพพานได้ ในปรมัตถธรรม 3 ประการ คือ จิต เจตสิก รูป (นิพพานก็ยกไว้ก่อน) ในจิต เจตสิก รูป นี้ เมื่อย่อลงแล้วก็คือรูปและนาม หรือถ้าย่อกว้างนิดก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราได้ฟังศึกษาอบรมมา ขันธ์ 5 ถ้าย่อลงมานั้น ก็คือรูปกับนาม รูปให้คำจำกัดความไว้ว่า คือธรรมชาติที่เสื่อมสลาย ไม่สามารถจะรับรู้อารมณ์ได้ ส่วนนามให้คำจำกัดความไว้ว่า สามารถรับรู้อารมณ์ได้

ธรรมชาติใดที่มันสามารถรับรู้อารมณ์ได้เราจัดว่าเป็นนาม ส่วนธรรมชาติใดที่มันเกิดขึ้นมารับอารมณ์ไม่ได้ มีแต่สลายตัว เราจัดเป็นรูป การเจริญวิปัสสนา ต้องกำหนด ดูรูปนาม ต้องทิ้ง ต้องปล่อยจากบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องศึกษาให้เข้าใจ ระหว่าง บัญญัติกับปรมัตถ์ ถ้าเราไม่รู้จักบัญญัติ ไม่รู้จักปรมัตถ์ เราก็เลือกการกำหนดไม่ถูก จิตของเราก็จะไปอยู่กับบัญญัติ ตามความเคยชิน ความเคยชินของจิต ก็จะไปอยู่กับสมมุติบัญญัติอยู่อย่างนั้น มันก็ไม่มีทางที่จะรู้ตามความเป็นจริงได้ คือไม่เกิดวิปัสสนาขึ้น วิปัสสนานั้นเป็นชื่อของปัญญา ปัญญาที่รู้ตามความเป็นจริง ขอใช้คำจำกัดความ ของคำว่า วิปัสสนาไว้ว่า รู้ของจริงตามความเป็นจริง เรียกว่าวิปัสสนา

รู้ของจริงตามความเป็นจริงนั้นเป็นอย่างไร ของจริงก็คือ ปรมัตถ์ ซึ่งแบ่งออกมาเป็น รูปกับนาม ตามความเป็นจริงคืออะไร ก็คือ รูปนามมันมีลักษณะอย่างไร ความเป็นจริงของมันมีลักษณะอย่างไร ลักษณะความเป็นจริงของมันก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจัง ก็คือความเปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ในที่นี้ ไม่ใช่หมายถึง ความเจ็บป่วยร่างกายไม่สบายกายเท่านั้น ทุกขังในที่นี้หมายถึง สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สิ่งใดที่ปรากฏมาแล้ว ทนอยู่ในคุณสมบัติเดิมไม่ได้ อย่างนั้นเราเรียกว่าเป็นทุกข์ อาการของความเป็นทุกข์ คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ส่วนอนัตตา ก็คือ ลักษณะที่บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่สามารถจะบังคับบัญชาได้ สิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้ คือไม่มีตัวตน คำว่าไม่มีตัวตน ไม่ได้หมายความว่ามันไม่มีอะไร ที่เราฟังกันว่าชีวิตนี้ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่ใช่ว่ามันว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย ไม่ใช่ มันมีอยู่ แต่มีอยู่ในลักษณ์ที่บังคับไม่ได้ มีอยู่ในลักษณะที่มันเกิดตามเหตุตามปัจจัย เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย เราจะไปบังคับอะไรมันไม่ได้ แต่มันมีอยู่จริง สิ่งที่เราจะต้องเข้าไปรู้เป็นปรมัตถธรรม ฉะนั้น เมื่อเราปฏิบัติไปเห็นรูป เห็นนาม ก็เท่ากับเห็นของจริง และถ้าเราเห็นลักษณะของรูปของนาม ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เรียกว่ารู้ตามความเป็นจริง นั่นคือ เรียกว่า วิปัสสนาญาณ เกิดขึ้น

เมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นมันก็จะเป็นไปตามลำดับขั้น ตั้งแต่ญาณที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เรื่อยไป จนกว่าจะขึ้นโคตรภูญาณ ซึ่งเป็นญาณที่ 13 มัคคญาณ ญาณที่ 14 ผลญาณ ญาณที่ 15 ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่ 16 คือ เป็นโลกิยญาณ 13 ญาณ แล้วก็เป็นโลกุตตระ 2 ญาณ คือ มรรคญาณ แล้วก็กลับ ไปเป็นโลกิยญาณที่ 16 ถ้าคนผ่านญาณที่ 16 นี้ได้ก็เปลี่ยนโคตรจากปุถุชนเป็นอริยบุคคลชั้นที่ 1 ก็คือ โสดาบันบุคคล ถ้าผ่านญาณ 16 รอบที่ 2 ก็เป็นสกทาคามีบุคคล ผ่านญาณ 16 รอบที่ 3 ก็เป็นอนาคามีบุคคล ผ่านญาณ 16 รอบที่ 4 ก็เป็นอรหันตบุคคล หมดกิเลส โดยสิ้นเชิง เรื่องญาณที่เป็นไปในบั้นปลายเราไม่ต้องคำนึงถึง มันจะสอดคล้องกันไปเอง แต่ว่าเราปฏิบัติเริ่มต้นให้ถูกต้องด้วยการว่า ทำอย่างไร ให้ไปเห็นรูปนาม ตามความเป็นจริง ตัวที่จะเข้าไปรู้เห็นก็คือตัวปัญญา ที่เรียกว่าตัววิปัสสนา ปัญญาที่จะเกิดขึ้นมามันก็ต้อง มีสติ สติเป็นตัวระลึกรู้ การระลึกรู้ ถ้าหากระลึกรู้บัญญัติก็ได้ ระลึกชื่อ รู้เรื่องราวต่างๆ ภาษา ความหมาย ก็ระลึกได้ แต่มันจะไม่สามารถรู้ตามความจริง เพราะไปรู้ของปลอม บัญญัตินี้เป็นของปลอม บัญญัติเป็นของจริงเหมือนกันแต่เป็น ของจริงโดยสมมุติ ที่ชาวโลกกำหนดกันไว้ โดยเนื้อแท้แล้วไม่ใช่ของจริง ไปรู้ของปลอม มันก็รู้ตามความของปลอม กลายไปรู้เป็นคน เป็นสัตว์ เพราะฉะนั้นสติจะต้องระลึกรู้ ที่ของจริง จึงจะรู้ตามความเป็นจริงของกฎธรรมชาติ

ฉะนั้นการปฏิบัตินั้น จะต้องพยายามเจริญสติระลึกรู้ให้ตรงปรมัตถ์ คือตรงรูปตรงนาม ละคลายสมมุติบัญญัติ ออกไป คือกำหนดให้ตรงปรมัตถ์ และการจะรู้แจ้งตามความเป็นจริงนั้น เราไม่ต้องไปบังคับ หรือไม่ต้องไปหาเหตุผล เอาอดีต อนาคต อุปมากับแจกันนี่ ตัวแจกันอุปมา เป็นรูปนาม แต่ลวดลายของมันเหมือนกับเป็นไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าเราอยากจะเห็นรู้ว่าแจกันนี้ลวดลายมันเป็นอย่างไร เราก็ต้องดูที่แจกัน ถ้าเราไปดูที่อย่างอื่น มันก็ไม่เห็นลวดลายบนแจกัน เมื่อเราเพ่งดู เราก็เห็นลวดลายของมัน อันนี้ลวดลายของมันก็คือลักษณะ ดังนั้นเมื่อเรากำหนด ให้ตรงรูปนามแล้ว ไม่ต้องกลัวว่ามันจะไม่รู้ ไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันจะเห็นเอง เมื่อเพ่งดูที่แจกัน มันต้องเห็นลักษณะ เห็นลวดลายของมัน ฉะนั้นในการปฏิบัติวิปัสสนา ปัญญาวิปัสสนาไม่ใช่ปัญญาแบบที่เราเรียนทางโลก เราเรียนทางโลกเราจะต้องคิดมาก เอาเหตุผลในอดีต ในอนาคต อะไรต่างๆ เอามารวม มาประมวล มาคิด เราก็จะเกิดความเข้าใจ

แต่ในการปฏิบัติวิปัสสนากลับตรงกันข้าม มันกลายเป็นว่าเราจะต้องปล่อยวางอดีต เรื่องทั้งหมดที่ผ่านมาแล้ว เราต้องวางมันได้ เรื่องอนาคตทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นเราจะต้องปล่อยมันได้ คือไม่คำนึงถึง จะต้องรู้อยู่ที่ปัจจุบัน ดังนั้น เราได้หลักการแล้วว่า วิปัสสนานั้นจะต้องกำหนด ให้ได้ปัจจุบัน กำหนดให้ตรงปรมัตถ์ คือรูปนาม และ กำหนดรูปนามให้เป็นปัจจุบัน อดีตไม่เอา อนาคตไม่เอาเอาแต่ปัจจุบัน ปัจจุบันนี้เอาแค่ไหน รูปนามมีความเกิดดับ รวดเร็วมาก มีความเกิดดับถี่มาก มันมีความเกิดขึ้นแล้ว ก็ดับทันที เพียงแวบเดียวเท่านั้น ไวมาก ไวกว่าวินาที ต้องเอาวินาทีมาซอยมากๆ มันมีความเกิดดับไว แต่อาศัยที่มันดับแล้ว ก็เกิดอันใหม่ขึ้นมา มันดับแล้ว อันใหม่เกิดขึ้นมา มันมีความเกิด ต่อๆ กัน แต่อันใหม่ อันที่เกิดมาอันที่สอง ก็ไม่ใช่อันที่ 1 อันที่ 3 ก็ไม่ใช่อันที่ 2 อันที่ 4 ก็ไม่ใช่อันที่ 3 เกิดแล้วมันดับไปเลย อันที่ 1 ก็ดับไป อันที่ 2 ก็ดับไป อันที่ 3 ก็ดับ ไป อันนี้สมมุติพูดให้ฟังเป็น 1,2,3 แต่มันไหลไปอย่างนี้ มัน เกิดดับตลอด

ชีวิตที่เราเวียนว่ายตายเกิด มันไปอย่างนี้ มันเกิดขึ้นมาแล้วดับไป ดับไป แต่ว่ามันมีพลังมีอานุภาพที่ส่งต่อ อันที่ 1 ดับไปมันก็มีกำลัง ส่งต่อให้อันที่ 2 มีพลัง ขึ้นมา แต่มันก็ คนละดวงกัน คนละประเภท คนละชนิดกัน ฉะนั้นเราได้ข้อมูลว่า รูปนามมันเกิดดับไว เกิดดับ เกิดดับ ถี่มาก เรียกว่า สันตติ คือ ความสืบต่ออัน รวดเร็ว ทำให้สัตว์ทั้ง หลาย มีความเห็นผิดขึ้นว่า สิ่งเหล่านี้มันเป็นของเที่ยง ไม่เห็นมันขาดตอน เมื่อเราไม่เห็นขาดตอน ก็เห็นเป็นพืดไปหมด เหมือนเรามองรถไฟที่วิ่งไวไว เรามองเป็นขบวนเดียวรวด แต่อันที่จริง แล้วถ้ามันจอดเราจะเห็นเป็นตู้ๆ ๆ อันนี้ก็เหมือนกัน รูปนามมันมีความเกิดดับไว ความไวของมันทำให้เห็นเป็นของเที่ยง เป็นอัน เดียวกัน ไม่เห็นเกิดดับ

แต่เมื่อเราเจริญสติ ฝึก สติจนมีความช่ำชอง มีความคมกล้า สตินี้มันก็จะสามารถไปจับความไวของรูปนามนั้นได้ พอไปจับได้ มันก็จะเห็นขาดตอน พอเห็นขาดตอน คือเห็นความเกิดดับ มันก็จะเกิดความรู้สึกไม่เที่ยงขึ้นมาใช่มั้ย มันเป็นหลักธรรมชาติ ถ้าเห็นความเกิดดับเมื่อไหร่ มันก็จะเกิดความรู้สึกไม่เที่ยง ต้องเห็นความดับไป เกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไปไวที่สุด ก็จะมีการกระชากความรู้สึกในใจ เป็นปัญญาที่ว่า ภาวนาปัญญา เกิดขึ้นในใจว่า อ๋อไม่เที่ยง ซึ่งปัญญาชนิดนี้ไม่ได้เกิดจากความคิด เอาอดีตมาคิด เอาอนาคตมาคิด แต่มันเกิดความแจ้งขึ้นมา มันรู้แจ้ง ไม่ต้องคิดอะไรเลย

เป็นหลักการอย่างหนึ่งว่า การปฏิบัติอย่าหลงไปคิด ที่เราเรียนศึกษาวิชาการต่างๆ แม้แต่ปริยัติที่เราเรียนมา เวลานำมาปฏิบัติจริงๆ มันก็เป็นแต่เอามาสรุป แล้วก็ทำเฉพาะเรื่องที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น จะมัวไปคิดหลักการ เช่น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีอะไรบ้าง เวทนามีอะไรบ้าง มันไม่ใช่นึกอย่างนั้น สิ่งที่เป็นปัจจุบันกำลังเกิดขึ้นจะไม่รู้เลย ฉะนั้นเราเรียนเพื่อประกอบความเข้าใจ เวลามาปฏิบัติ ก็เจริญสติ กำหนดรูปนาม ที่กำลังปรากฏจริงๆ เราก็ได้ความแล้วว่า ต้องเจริญสติ สติคือระลึกได้ ระลึกที่ไหน ระลึกที่รูปนาม รูปนามที่ไหน รูปนามที่เป็นปัจจุบัน บัญญัติไม่เอา เอาแต่ปรมัตถ์ คือ รูปนาม

http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... _02_02.htm

.....................................................
เกิดดับ...
[จิ เจ รุ นิ]


จงทำใจให้นิ่ง....แล้วจะได้พบความสงบ เมื่อสงบ ความสุขย่อมจะตามมา....


ราตรีนาน สำหรับคนนอนไม่หลับ
ระยะทางโยชน์หนึ่งไกล สำหรับผู้ล้าแล้ว
สังสารวัฎยาวนาน สำหรับคนพาล
ผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม


คนพาลได้ความรู้มา
เพื่อการทำลายถ่ายเดียว
ความรู้นั้น ทำลายคุณความดีเขาสิ้น
ทำให้มันสมองของเขาตกต่ำไป


คนโง่ รุ้ตัวว่าโง่
ยังมีทางเป็นบัณฑิตได้บ้าง
แต่โง่แล้ว อวดฉลาด
นั่นแหละเรียกว่าคนโง่แท้

........What Goes Around... Comes Around........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 23:38
โพสต์: 193

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันที่ 30 เมษายน 2553
เดิน 10 นั่ง 2

เมื่อคืนกับวันนี้ตอนเช้า ร้องไห้หนักไปหน่อย ก็เลยไม่เหลือน้ำตาเลย
ความเศร้าหายไปหมด คงเพราะมีสติ หรือว่าคิดอะไรไม่ออกแล้วก็ตาม
รุ้แต่ว่าร้องไห้ต่อไม่ได้แล้ว
วันนี้โทรคุยกะแฟนนานไปหน่อย แนวๆว่าปรับความเข้าใจกันแหละ
ไม่ได้เสียใจเพราะแฟนไม่รักนะ แต่ว่าเสียใจเรื่องอื่น...

เข้าเรื่อง
วันนี้เดิน ส่วนใหญ่ฟุ้ง พอใจมันคิดจะพิจารณา ก็ฟุ้งไปเสียนานเลย พอกลับมาที่เท้าก็มึนๆ งงๆ ก็เลยพยายามคิดไปต่อ
มันก็ให้ผมที่เหมือนเดิม คือฟุ้ง ที่พยายามพิจารณาก็คือมองเห็นข้อเสียของตัวเองแล้วพยายามแก้ไข แต่คิดก็คิดไม่ออก
พอจะดูเท้า ก็รู้สึกยังจับได้ไม่ชัดเจนนัก
รู้สึกได้ว่า ตัวสติ นั้นสำคัญ

และเราก็กำลังเรียนรู้ต่อไป

จบการบันทึกเพียงเท่านี้

-----------------------------------------------------------------
วันพรุ่งนี้ จะไปค้างคืนที่วัดตาลเอนคะ

ไม่อยู่สักวันหนึ่ง กระทู้นี้คงไม่เป็นไรหรอกเนอะ ^^

โมทนาธรรมและผู้ใฝ่บุญทุกท่านทั่วหน้าเลยคะ :b48:

.....................................................
หากไม่สนใจหลักธรรมปลีกย่อย แล้วจะบรรลุหลักธรรมใหญ่ได้ยังไง -- กวนอู

"ทรัพยกรมนุษย์หากตายไป บริษัทฯ สามารถหามาแทนได้ แต่ทรัพยากรครอบครัวนั้น ครอบครัวไม่สามารถหามาแทนได้"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 00:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


สู้..ไม่สู้..
สู้..สู้..

:b17: :b17: :b17:

:b4: :b4: :b4:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 01 พ.ค. 2010, 00:27, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


varinne เขียน:
เพราะมีตัวตน noohmairu จึงมาตอบกระทู้เรา

อนุโมทนาสาธุจ้า :b28: :b28: :b28:

(แบร่~)


อิอิ ของลอกเลียนแบบ ธรรมของปลอมย่อมมีรูโหว่ บะเร่อๆ ละจ้าๆ

เพราะมีตัวตน จึงไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นกระทู้ของตนๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


varinne เขียน:
วันพรุ่งนี้ จะไปค้างคืนที่วัดตาลเอนคะ

ไม่อยู่สักวันหนึ่ง กระทู้นี้คงไม่เป็นไรหรอกเนอะ ^^

โมทนาธรรมและผู้ใฝ่บุญทุกท่านทั่วหน้าเลยคะ :b48:


อิอิ กระทู้ของกูๆๆๆๆๆๆๆ

ห่วงอาลัยในกระทู้ถึงปานนี้ ตายแล้วเอาไปด้วยให้ได้ นะจ้าๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พลบค่ำ เขียน:
จิต เจตสิก รูป นิพพาน


ปรมัตถธรรม จะมีอยู่ 4 อย่างคือ

1) จิตปรมัตถ์

2) เจตสิกปรมัตถ์

3) รูปปรมัตถ์

4) นิพพานปรมัตถ์

.....................


สัจจธรรม มี หนึ่งเดียว


อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


noohmairu เขียน:
พลบค่ำ เขียน:
จิต เจตสิก รูป นิพพาน


ปรมัตถธรรม จะมีอยู่ 4 อย่างคือ

1) จิตปรมัตถ์

2) เจตสิกปรมัตถ์

3) รูปปรมัตถ์

4) นิพพานปรมัตถ์


สัจจธรรม มี หนึ่งเดียว

อนุโมทนาสาธุจ้า


หนึ่งเดียวนั้นคืออะไรหรือนู๋ระเริง...

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
noohmairu เขียน:
พลบค่ำ เขียน:
จิต เจตสิก รูป นิพพาน


ปรมัตถธรรม จะมีอยู่ 4 อย่างคือ

1) จิตปรมัตถ์

2) เจตสิกปรมัตถ์

3) รูปปรมัตถ์

4) นิพพานปรมัตถ์


สัจจธรรม มี หนึ่งเดียว

อนุโมทนาสาธุจ้า


หนึ่งเดียวนั้นคืออะไรหรือนู๋ระเริง...


อิอิ

หนึ่งเดียว

นั้น

คือ
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
สิ่งที่
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
อินทรีย์
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.

.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
สังหอน
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ไม่รู้

ละจ้าๆ

:b16:

อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


noohmairu เขียน:

สัจจธรรม มี หนึ่งเดียว

อนุโมทนาสาธุจ้า

หนึ่งเดียวนั้นคืออะไรหรือนู๋ระเริง...

อิอิ
หนึ่งเดียว
นั้น
คือ
สิ่งที่
อินทรีย์
สังหอน
ไม่รู้
ละจ้าๆ
อนุโมทนาสาธุจ้า



:b28: อ้าวหรอ นึกว่า นี่ =>

http://www.free-webboard.com/travel.php ... ha&qid=130

:b42: :b41: :b48:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 387 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร