วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
enlighted
เหอๆๆ

นั่งสมาธิ ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขนาดพระสารีบุตร ยักษ์ย่องมาตีหัวได้

วิปัสสนากรรมฐาน ขาดสติ ไหลไปกับการวิปัสสนา จากสังขารและวิญญาน
พระอนุรุธ สาธยายธรรมจากวิปัสสนา อันขาดองค์แห่งวิปัสสนา ปรุงไปกับสังขาร และวิญญาน



03-พระสารีบุตรเถระ
เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา

พระเถระถูกนันทกยักษ์ทุบ
http://www.84000.org/one/1/03.html


11-พระอนุรุทธเถระ
เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
http://www.84000.org/one/1/11.html


คุณ enlighted แสดงทิฏฐิอะไรออกมา ระวังขี้กลากขึ้นหัวน่ะ เหอ ๆๆๆ

วิปัสสนากรรมฐาน เป็นการเจริญสติปัฏฐาน ตั้งมั่นกัปรมัตถ์อารมณ์ หยุดการปรุ่งแต่ง (สังขาร หรือ กรรม) เป็นกุศล ที่เหนือกว่ากุศลใด เป็นการหยุดสังขาร (กรรม) จึงได้ชื่อว่า วิวัฏคามนีกุศล


------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
enlighted
สัมมาวิปัสสนากรรมฐาน เปรียบดังมายาเกรด a
สัมมาสมาธิ เปรียบดังมายา เกรด a

มิจฉาวิปัสสนากรรมฐาน เปรียบดังมายา เกรด f
มิจฉาสมาธิ เปรียบดังมายา เกรด f
อิอิ


พจนานุกรมพุทธศาสตร์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มิจฉาสมาธิ
มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจ แน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น
(ข้อ ๘ ในมิจฉัตตะ ๑๐)



คุณ enlighted นึกจะพูดอะไรก็พูด ใช้ความรู้สึกส่วนตัว มากล่าวตู่พระสัทธรรม พระสงฆ์

เตือนอีกครั้ง ว่า นรกจะกินหัวนะครับ อิอิ


สมาธินั้น มีทั้งที่เป็น มิจฉา และ สัมมาสมาธิ

ส่วน วิปัสสนา เป็นญาณที่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของ รูป นาม ซึ่งต้องอาศัยฐาน ของ สมาธิที่เป็น ขณะ ๆ ๆ ( ขณิกสมาธิ) เป็นอย่างน้อย ( วิปัสสนายานิก) หรือ สำหรับ ผู้ที่ทำสมาธิจนได้ฌาน มาแล้ว ก็ต้องต่อยอดขึ้นสู่ การเจริญวิปัสสนา ( สมถยานิก)

ศัพท์ คำว่า มิจฉาวิปัสสนา จึงไม่เคยอ่านเจอ

แต่การปฏิบัติ ที่เข้าใจเรื่อง วิปัสสนา ผิด ๆ เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิในวิปัสสนากรรมฐาน เช่น สมาธิกับวิปัสสนาคือสิ่งเดียวกัน , ความสุขจากนั่งสมาธิ จนได้ฌาน คือ วิปัสสนาญาณ

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... x-page.htm

ถาม – ตอบ เรื่อง “ ศีลวิสุทธิ “ โดย อ.แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-03.htm

1. สัมมาทิฏฐิในกรรมบถ ก็ต้องละมิจฉาทิฏฐิในกรรมบถ สัมมาทิฏฐิ อันนี้เรียกว่า กัมมัสสกตาปัญญา คือ ปัญญาที่เชื่อ หรือรู้เหตุผลของกรรมว่า ผลของกรรมมีอยู่กรรมดีย่อมให้ผลเป็นสุข กรรมชั่วย่อมให้ผลเป็นทุกข์ เขาเข้าใจดี เขารู้และเขาเชื่อด้วยความเชื่อของท่านผู้นี้ถูก เมื่อความเชื่อถูก หรือความเห็นถูกอย่างนี้เกิดขึ้นในจิตใจแล้ว ความเห็นทีว่ากรรม และผลของกรรมไม่มี ตายแล้วสูญไป หรือ ไม่มีใครเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ความเห็นผิดอย่างนี้ก็ตกไป

2. สัมมาทิฏฐิในสมาธิ ผู้ที่เห็นว่า สมาธินี้มีอานิสงส์มาก ทำให้จิตสงบจากอกุศลต่างๆ สามารถจะมีความสุขในปัจจุบันได้ และเกิดชาติหน้าก็ยังมีความสุขใน “ สุคติ “ อีก จะได้ภพที่ดี ๆ ภพที่เป็นสุข ไม่มีความทุกข์ เพราะฉะนั้นเขามีความเห็นอย่างนี้ ก็เป็นความเห็นถูกเพราะว่าสมาธินี้มีผลอย่างนั้นจริงๆ

3. สัมมาทิฏฐิในฌาน ถ้าไม่เชื่อว่าฌานนี้ให้ผลเป็นสุข ไม่เชื่อว่าสามารถจะให้ไปเกิดเป็นพรหมในพรหมโลกได้ ถ้าเข้าใจอย่านี้ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าคนที่เข้าใจอานิสงส์ถูกต้องแล้วก็เป็นสัมมาทิฏฐิในเรื่องฌาน “ มิจฉาทิฏฐิ “ ในอานิสงส์ ของฌานก็หมดไป แต่ว่า สัมมาทิฏฐิ 2 อย่างนี้ ภายนอก พระพุทธศาสนาก็มีได้ การทำบุญทำทานก็ดี สมาธิก็ดี ฌานก็มีสรุปแล้ว สัมมาทิฏฐิ 2 อย่างนี้ มีได้ทั้งนอก และในพระพุทธศาสนา

4. สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา คือเข้าใจถูกว่า อะไรเป็นวิปัสสนา อะไรไม่ใช่วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนานี้ มีแต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา เรียกว่า “ ศาสนาสัมมาทิฏฐิ “ บางคนยังไม่เข้าใจสนวิปัสสนา การทำก็ยังไม่เกิดวิปัสสนาที่แท้จริง แต่เข้าใจว่าเกิดแล้ว นี่ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิในวิปัสสนา ถ้าผู้ที่เข้าใจหรือเข้าถึงวิปัสสนา โดยถูกต้องแล้ว ความเห็นถูกอันเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็สามารถละมิจฉาทิฏฐิในความเข้าใจผิดจากวิปัสสนานั้นได้ และละตลอดไปจนกระทั่งถึง มรรค ผล นิพพาน ปัจจเวก ทั้ง 4 นี้ มีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น มรรค ผล เป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร ตนได้เข้าไปเห็นถูกต้องแล้วอันนี้ก็ละมิจฉาทิฏฐิที่เข้าใจผิด

5. สัมมาทิฏฐิในนิพพาน บางท่านคิดว่า พระนิพพานคงจะเที่ยง คงจะไม่ตาย เรานี้จะเข้าไปเสวยสุขในพระนิพพาน อันเป็นเมืองแก้วที่มีความสุขสบาย ถ้าเราไปอยู่ในนิพพาน คงจะเป็นสุขไม่มีความทุกข์เลย ถ้าเป็นอย่างนี้ก็จัดเป็น “มิจฉาทิฏฐิในนิพพาน“ เพราะนิพพานนั้นไม่มีสุขเวทนาให้ปรากฏเลย พระนิพพานนั้นดับเสียซึ่งขันธ์ 5

-----------------------------------

จิตตวิสุทธิ ( สมาธิวิสุทธิ , สัมมาสมาธิ ) โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-02.htm

--------------------------------
ชีวิตจะยุติการเกิดได้อย่างไร โดย อภิธรรมมูลนิธิ

http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

มีพุทธวจนะกล่าวไว้ว่า

ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้ง และขับไล่วิปลาสธรรมให้ออกไปได้ ธรรมชาตินั้นเรียกว่า วิปัสสนา

ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ โดยประการต่างๆ มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมชาตินั้นเรียกว่า วิปัสสนา

ฉะนั้น การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง

สรุปได้ว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ หรือการปฏิบัติวิปัสสนา เท่านั้น จึงจะสามารถทำลายวิปลาสธรรมทั้ง ๔ ได้ และเมื่อใดที่วิปลาสธรรมถูกทำลายลง เมื่อนั้นผู้ปฏิบัติย่อมเข้าถึงสภาวธรรมแห่งไตรลักษณ์ หากบุคคลใดได้ประจักษ์แจ้งในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ที่กำลังดำเนินอยู่ในเส้นทางของการพ้นทุกข์โดยตรง


----------------------------------------------------------

มีตัวอย่างของความเห็นผิด ที่คุณกรัชกายแสดง เกี่ยวกับ วิปัสสนูกิเลส

ทั้งที่ อาการผิดปกติดังกล่าว เกิดจาก เริ่มมีสมาธิ แล้วจิตปรุงแต่งไปเอง เท่านั้นครับ

เป็นอาการที่เกิด วิปัสสนึก คิดปรุงแต่งว่า ตนเอง ได้เจริญวิปัสสนาญาณ ขั้นโน้น ขั้นนี้แล้ว

ซึ่งไม่มีโอกาส ได้เกิด วิปัสสนูกิเลส เลยครับ

เพราะ ยังไม่ได้ เจริญ วิปัสสนา เลยครับ ( ทำเพีงสมาธิ ขั้นต้น )

อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน
viewtopic.php?f=2&t=18776&st=0&sk=t&sd=a&start=45
สังเกตดูอาการของปีติภาคปฏิบัติแต่ละอย่างๆ ซึ่งเกิดขณะปฏิบัติกรรมฐาน

ธัมมุทธัจจ์ 10 อย่าง (วิปัสสนูกิเลส)

3.3 น้ำลายสอในปาก คลื่นไส้ อาเจียน

3.4 มีอาการคล้ายๆ ละลอกคลื่นซัด

-------------------------------------------------

พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ สมถะ-วิปัสสนา

วิปัสสนูปกิเลส

วิปัสสนูปกิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา และเป็นสหชาตธรรมของวิปัสสนาด้วย เพราะผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนเกิดญาณแก่กล้าถึงตรุณอุทยัพพยญาณแล้ว เป็นที่แน่นอนที่ต้องเกิดวิปัสสนูปกิเลส อันเป็น อมัคค ไม่ใช่ทางที่ให้ถึงความบริสุทธิหมดจด วิปัสสนูปกิเลสนั้นมี ๑๐ อย่าง ดังมีคาถาที่ ๒๔ แสดงว่า
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/085.htm


------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
mes
ในเวปธรรมจักรแห่งนี้ผมเชื่อว่ามีอริยะบุคคลอยู่หลายท่าน

แต่ละท่านปิดบังตนเองสุดขีด


คุณ mes หมายถึงคุณกรัชกาย ด้วยหรือไม่ครับ

แต่ผมว่าคุณกรัชกาย อธิบายการปฏิบัติแบบผิด ๆ ปฏิรูปพระสัทธรรม คงจะไม่ใช่อริยะบุคคล



อิอิ

เขียนมาซะยาวเปื้อย

ศัพท์ คำว่า มิจฉาวิปัสสนา จึงไม่เคยอ่านเจอ
คุณ enlighted นึกจะพูดอะไรก็พูด ใช้ความรู้สึกส่วนตัว มากล่าวตู่พระสัทธรรม พระสงฆ์

เตือนอีกครั้ง ว่า นรกจะกินหัวนะครับ อิอิ


เหอๆๆ
เจอแต่ที่อ่านน่ะเหรอ
เจอนรกแต่ที่อ่านมาน่ะเหรอ

อ๊ะจ๊าก

อภิธรรมมูลนิธิ ยังอาศัยแนวคิด มาอธิบายจิต
เอาแนวคิด มาสอนเรื่องจิต
ก็ตกม้าตาย ทั้งมูลนิธิ แหละคร๊าบบ

มิจฉาวิปัสสนา ไม่ใช่ว่า นึกจะวิปัสสนา แล้วก็พิจารณาส่งเดช
โดยขาดองค์แห่งวิปัสนาญาณ
การพิจารณาส่งเดช แบบนั้น เรียกว่า มิจฉาวิปัสสนา

การนึกคิดวิปัสสนา ต้องครบองค์แห่งวิปัสสนา จึงเรียกว่า สัมมาวิปัสสนา


แต่สัมมาวิปัสสนาญาณ เป็นกริยาที่ออกมาเอง โดยไม่ต้องอาศัย ความตั้งใจที่จะคิด
เป็น วิปัสนากริยาที่ไม่ต้องอาศัยการคิด การพิจารณา

อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว



การเจริญวิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน
http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องเรียนรู้ คือ

๑. อารมณ์ของการปฏิบัติ จะต้องเป็นปรมัตถ์อารมณ์ ซึ่งต่างกับการปฏิบัติสมาธิ อารมณ์ปรมัตถ์นี้จะเป็นเสมือนพาหนะนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่วิปัสสนาปัญญาได้ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจใน เรื่องของ วิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ และอริยสัจ ๔ ซึ่งเมื่อสงเคราะห์ลงแล้ว ก็คือ รูป - นาม นั่นเอง ผู้ปฏิบัติจึงต้องกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์ ฉะนั้นก่อนปฏิบัติจะต้องศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ขณะที่มีการกระทบอารมณ์ตามทวารต่างๆจะต้องกำหนดอย่างไรจึงจะแก้ไข ความโง่ และความเห็นผิดได้

-----------------------------------------------
สมถะ - วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร
viewtopic.php?f=2&t=21049

๘. การทำสมถะเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาธินั้น จะทำไปหยุดไปเป็นชั่วโมงหรือ ๒ ชั่วโมงก็อาจทำได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้ติดกัน และส่วนใหญ่จะทำได้ใน อิริยาบถนั่ง เท่านั้น ส่วนวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ทุกๆ อิริยาบถ โดยไม่จำกัดและเวลาทำก็หยุดไม่ได้ จำเป็นจะต้องทำติดต่อกันไปเว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น

๙. สมถะ ใช้อารมณ์เป็นบัญญัติ เช่น บัญญัติกสิณ หรืออสุภะเป็นต้น ส่วนวิปัสสนานั้น ต้องใช้สภาวะคือ นามรูป มาเป็นอารมณ์จึงจะใช้ได้

๑๐. อานิสงส์ของสมถะและวิปัสสนา ที่จะพึงได้จากการปฏิบัติก็แตกต่างกันทั้งในส่วนปัจจุบัน และอนาคต คืออานิสงส์ของสมถะในชาติปัจจุบันนั้น ทำให้ได้อภิญญา เหาะเหินเดินอากาศหรือดำไปในดินดุจดำน้ำเป็นต้นก็ได้ อานิสงส์ของสมถะในอนาคตชาติคือชาติหน้านั้น ถ้าฌานไม่เสื่อม ก็ช่วยให้ได้ไปเกิดเสวยสุขอยู่ในพรหมโลกตามอำนาจของฌานนั้นๆ


อ้างคำพูด:
enlighted

มิจฉาวิปัสสนา ไม่ใช่ว่า นึกจะวิปัสสนา แล้วก็พิจารณาส่งเดช
โดยขาดองค์แห่งวิปัสนาญาณ
การพิจารณาส่งเดช แบบนั้น เรียกว่า มิจฉาวิปัสสนา

การนึกคิดวิปัสสนา ต้องครบองค์แห่งวิปัสสนา จึงเรียกว่า สัมมาวิปัสสนา


แต่สัมมาวิปัสสนาญาณ เป็นกริยาที่ออกมาเอง โดยไม่ต้องอาศัย ความตั้งใจที่จะคิด
เป็น วิปัสนากริยาที่ไม่ต้องอาศัยการคิด การพิจารณา


คุณ enlighted วิปัสสนา อาศัยการ พิจารณาสภาพธรรม ที่เป็นปรมัตถ์ (รูป นาม) โดยอาศัยโยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ
http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry494583

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เชิญคุณเฉลิมศักดิ์ที่


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=31618&p=200425

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:

การเจริญวิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน
http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องเรียนรู้ คือ

๑. อารมณ์ของการปฏิบัติ จะต้องเป็นปรมัตถ์อารมณ์ ซึ่งต่างกับการปฏิบัติสมาธิ อารมณ์ปรมัตถ์นี้จะเป็นเสมือนพาหนะนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่วิปัสสนาปัญญาได้ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจใน เรื่องของ วิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ และอริยสัจ ๔ ซึ่งเมื่อสงเคราะห์ลงแล้ว ก็คือ รูป - นาม นั่นเอง ผู้ปฏิบัติจึงต้องกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์ ฉะนั้นก่อนปฏิบัติจะต้องศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ขณะที่มีการกระทบอารมณ์ตามทวารต่างๆจะต้องกำหนดอย่างไรจึงจะแก้ไข ความโง่ และความเห็นผิดได้

-----------------------------------------------
สมถะ - วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร
viewtopic.php?f=2&t=21049

๘. การทำสมถะเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาธินั้น จะทำไปหยุดไปเป็นชั่วโมงหรือ ๒ ชั่วโมงก็อาจทำได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้ติดกัน และส่วนใหญ่จะทำได้ใน อิริยาบถนั่ง เท่านั้น ส่วนวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ทุกๆ อิริยาบถ โดยไม่จำกัดและเวลาทำก็หยุดไม่ได้ จำเป็นจะต้องทำติดต่อกันไปเว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น

๙. สมถะ ใช้อารมณ์เป็นบัญญัติ เช่น บัญญัติกสิณ หรืออสุภะเป็นต้น ส่วนวิปัสสนานั้น ต้องใช้สภาวะคือ นามรูป มาเป็นอารมณ์จึงจะใช้ได้

๑๐. อานิสงส์ของสมถะและวิปัสสนา ที่จะพึงได้จากการปฏิบัติก็แตกต่างกันทั้งในส่วนปัจจุบัน และอนาคต คืออานิสงส์ของสมถะในชาติปัจจุบันนั้น ทำให้ได้อภิญญา เหาะเหินเดินอากาศหรือดำไปในดินดุจดำน้ำเป็นต้นก็ได้ อานิสงส์ของสมถะในอนาคตชาติคือชาติหน้านั้น ถ้าฌานไม่เสื่อม ก็ช่วยให้ได้ไปเกิดเสวยสุขอยู่ในพรหมโลกตามอำนาจของฌานนั้นๆ


อ้างคำพูด:
enlighted

มิจฉาวิปัสสนา ไม่ใช่ว่า นึกจะวิปัสสนา แล้วก็พิจารณาส่งเดช
โดยขาดองค์แห่งวิปัสนาญาณ
การพิจารณาส่งเดช แบบนั้น เรียกว่า มิจฉาวิปัสสนา

การนึกคิดวิปัสสนา ต้องครบองค์แห่งวิปัสสนา จึงเรียกว่า สัมมาวิปัสสนา


แต่สัมมาวิปัสสนาญาณ เป็นกริยาที่ออกมาเอง โดยไม่ต้องอาศัย ความตั้งใจที่จะคิด
เป็น วิปัสนากริยาที่ไม่ต้องอาศัยการคิด การพิจารณา


คุณ enlighted วิปัสสนา อาศัยการ พิจารณาสภาพธรรม ที่เป็นปรมัตถ์ (รูป นาม) โดยอาศัยโยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ
http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry494583


อิอิ

ก็ต้องถามคุณที่เขียนกระทู้ในลิ้งนั้น ว่าความแยบคายของคุณ นั้น แยบคายได้แค่ ระดับไหนน๊ออ
แยบคายอย่างปกติจริงหรือ
แยบคายสุดแล้วจริงหรือ

โยนิโสมนสิการ ที่แยบคายจริง จะไม่มีการพิจารณา เกิดขึ้น แม้แต่ประโยคเดียว น๊าคร๊าบบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


29201.การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=29201



คำว่า " ปชานาติ " เป็นคำกิริยา ที่แปลว่า " รู้ชัด " เป็นการแปลไปก่อนเพื่อป้ปงกันคำพูดเยิ่นเย้อ หรือฟังไม่รื่นหูเท่านั้น ความจริงท่านให้ความหมายของศัพท์ไว้ดังนี้ " ปกาเรหิ ชานาติ ปชานาติ " แปลว่า " รู้โดยประการทั้งหลาย ชื่อว่า ปชานาติ " หมายความว่าในสิ่งที่ควรรู้นั้น มีประการอะไร ๆ ที่ควรรู้สักกี่ประการก็ตาม ก็ย่อมรู้สิ่งนั้น โดยประการทั้งหมดนั้น

ในเวลาที่เดินอยู่ ประการที่ควรรู้ในอิริยาบถเดิน มี ๓ ประการคือ

๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้


ประการแรก โก คจฺฉติ -- ใครเดิน, มีอรรถาธิบายว่า อาการเดิน ท่าทางที่เดิน เป็นเพียงอาการของรูปธรรมเท่านั้น รูปนั่นแหละเดิน หามีสัตว์ บุคคล หญิง ชาย ในอาการเดินนั้นไม่ การพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ เป็นไปเพื่อการถอนทิฏฐิ คือความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลผู้เดิน

ประการที่ ๒ กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร มีอรรถาธิบายว่า การเดิน คือ อาการที่เดิน ท่าทางที่เดิน ไม่ใช่ของสัตว์ ไม่ใช่ของบุคคล ไม่ใช่ของหญิง ไม่ใช่ของชาย ตลอดจนไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของพระกรรมฐาน เพราะว่าอย่าว่าแต่สัตว์ บุคคล หญิง ชายเลย แม้แต่ผู้ปฏิบัติหรือพระโยคีหรือพระกรรมฐานตามที่ใช้เป็นชื่อของผู้ปฏิบัตินั้น ก็หามีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ไม่ เป็นเพียงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่การเข้าใจความ หรือใช้สื่อความหมายในเวลาที่พูดเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การเดินนี้จะเป็นของใครที่ไหนได้ ก็เป็นของรูปนั่นแหละ เพราะเป็นอาการของรูป ประการที่ ๒ นี้ หากมองเพียงผิวเผินแล้ว จะไม่เห็นความแตกต่างกับประการแรก เพราะว่าความรู้ว่า รูปเดิน ไม่ใช่คนสัตว์เดิน กับความรู้ว่าการเดินเป็นของรูป น่าจะเป็นความรู้อันเดียวกัน แต่ทว่าความจริงยังมีข้อที่แตกต่างกันอยู่ กล่าวคือ ความรู้ในประการแรกนั้น เป็นเพียงปฏิเสธความมีอยู่แห่งสัตว์บุคคลผู้เดิน อันไม่มีอยู่จริง สิ่งที่มีอยู่จริง ที่สร้างความเข้าใจผิดว่ามีผู้เดินในเวลานั้น ก็คือรูปเดินเท่านั้น ความรู้อย่างนี้กล่าวได้ว่า เป็นความรู้ที่ถ่ายถอนทิฏฐิคือความเห็นผิดตรง ๆ ส่วนความรู้ในประการที่ ๒ เป็นการปฏิเสธแม้ความเป็นบุคคลพิเศษ คือ เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน อันพิเศษกว่าคนธรรมดา ก็ความรู้สึกว่า ตนเป็นคนพิเศษกว่าคนอื่น คือเป็นผู้ปฏิบัติเป็นต้นนี้ เป็นความเห็นผิด ที่ท่านเรียกว่า มานวินิพันธาทิฏฐิ แปลว่า ทิฏฐิเกี่ยวกับมานะ กล่าวคือ นอกจากจะเห็นผิดด้วยทิฏฐิว่า เป็นสัตว์เป็นบุคคลดังกล่าวแล้ว ยังสำคัญว่าสัตว์บุคคลนั้นเป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน ด้วยมานะความถือตัว ความนับถือตัว เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งด้วย และเมื่อสำคัญว่ามีผู้ปฏิบัติ มีผู้กรรมฐานอันเป็นบุคคลพิเศษอย่างนี้แล้ว ก็ย่อมยังความประพฤติเป็นไปของตน ให้เป็นของพิเศษ อันเป็นของเฉพาะตน ซึ่งเป็นคนพิเศษเท่านั้น ไม่ทั่วไปแก่ผู้คนตามปกติอื่น ๆ นั่นก็คือ แต่งท่าทางการเดินของตนให้แปลกไปจากท่าทางการเดินของผู้ไม่ปฏิบัติ กล่าวคือ ค่อยๆ ยก ค่อยๆ ย่าง ค่อยๆ ก้าว จะยกเท้าก้าวอย่างช้า ๆ เป็นจังหวะ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเมื่อทำอิริยาบถให้ผิดปกติไปอย่างนี้ ก็ย่อมเล็งเห็นอิริยาบถที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษนี้ ว่าเป็นสาระ เป็นของดี เป็นของมีประโยชน์ อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้ โอกาสที่จะทำปัญญาให้เกิดขึ้นมาเห็นความจริงในรูปอิริยาบถว่า รูปเดินเป็นต้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันเป็นการเห็นว่า ไม่เป็นสาระนั่นเอง ย่อมมีได้ยาก เหตุเพราะเข้าไปตั้งความเป็นสาระไว้เสียก่อนแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติโดยประการที่ป้องกันมานะด้วย คือต้องมีการสำเหนียกอยู่เสมอว่า การเดินเป็นของรูปเท่านั้น ไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของผู้กรรมฐาน นี้เป็นข้อที่แปลกไปจากประการแรก แห่งประการที่ ๒

ประการที่ ๓ กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, คือ การเดิน อาการเดิน ท่าทางที่เรียกว่าเดิน เกิดขึ้นได้เพราะเหตุไร ก็พึงตอบได้ว่าการเดิน อาการเดิน ท่าทางที่เรียกว่าการเดิน เกิดขึ้นได้เพราะเหตุ เพราะปัจจัย ไม่ใช่ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ก็เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเดินนั้น ได้แก่ วาโยธาตุ คือธาตุลมอันเกิดจากจิตที่ประสงค์จะเดิน กล่าวคือ เมื่อจิตคือความคิดว่าจะเดินเกิดขึ้น จิตนั้นย่อมยังวาโยธาตุให้ตั้งขึ้นบริเวณอวัยวะที่จะเคลื่อนไหว โดยเฉพาะขาทั้งสอง วาโยธาตุนั้นย่อมผลักดันให้อวัยวะเคลื่อนไหวไปตามความประสงค์ของจิต อาการก้าวไปจึงเกิดขึ้น เรียกว่า เกิดการเดิน เพราะฉะนั้น วาโยธาตุที่เกิดจากจิตที่มีความประสงค์จะเดิน พร้อมทั้งจิตนั้นนั่นแหละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการเดิน เพราะเหตุนี้แหละ จึงเกิดการเดิน


-----------------------------------------------------
การปฏิบัติวิปัสสนา
http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องเรียนรู้ คือ


๑. อารมณ์ของการปฏิบัติ จะต้องเป็นปรมัตถ์อารมณ์ ซึ่งต่างกับการปฏิบัติสมาธิ อารมณ์ปรมัตถ์นี้จะเป็นเสมือนพาหนะนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่วิปัสสนาปัญญาได้ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจใน เรื่องของ วิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ และอริยสัจ ๔ ซึ่งเมื่อสงเคราะห์ลงแล้ว ก็คือ รูป - นาม นั่นเอง ผู้ปฏิบัติจึงต้องกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์ ฉะนั้นก่อนปฏิบัติจะต้องศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ขณะที่มีการกระทบอารมณ์ตามทวารต่างๆจะต้องกำหนดอย่างไรจึงจะแก้ไข ความโง่ และความเห็นผิดได้

๒. ปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจในปัจจุบัน โดยเฉพาะความแตกต่างกันของปัจจุบันธรรม และปัจจุบันอารมณ์

- ปัจจุบันธรรม คือ รูป นาม ที่เกิดเป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยไป

- ปัจจุบันอารมณ์ คือ รูป นามที่ปรากฏเฉพาะหน้า

ปัจจุบันที่มีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติ คือ ปัจจุบันอารมณ์ เพราะ อภิชฌา-โทมนัส จะเกิดขึ้นได้ หรือไม่ได้ อยู่ที่ว่าผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดได้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงหรือไม่ หากกำหนดได้ทันว่ามีรูปอะไร นามอะไร เกิดขึ้นในอารมณ์ปัจจุบัน ขณะนั้นอภิชฌา และโทมนัสย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เท่ากับว่าในขณะนั้นสมุทัย อันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ย่อมถูกละไป (เป็นการทำลายตัณหา) ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ตรงที่ว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องคอยสังเกตให้ได้ทันในปัจจุบันอารมณ์

------------------------------------------------


อ้างคำพูด:
enlighted
อิอิ

ก็ต้องถามคุณที่เขียนกระทู้ในลิ้งนั้น ว่าความแยบคายของคุณ นั้น แยบคายได้แค่ ระดับไหนน๊ออ
แยบคายอย่างปกติจริงหรือ
แยบคายสุดแล้วจริงหรือ

โยนิโสมนสิการ ที่แยบคายจริง จะไม่มีการพิจารณา เกิดขึ้น แม้แต่ประโยคเดียว น๊าคร๊าบบ



คุณ enlighted ครับ จากตัวอย่างการพิจารณา, การกำหนด (รูป นาม), การโยนิโสมนสิการ ขณะเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา ต้องรู้ชัด ตามที่ พระไตรปิฏก อรรถกถา (เถรวาท) ได้อธิบายไว้ด้านบนครับ

ไม่การไป เพ่งอยู่กับ การก้าวเท้า และท่องภาวนาไปด้วย เช่น เดินหนอ ๆ ๆ ๆ , ซ้ายย่าง ขวาย่างหนอ, เดินหนอ ๒ - ๖ จังหวะ(ตามวิธีหนอ ๆ ของคุณกรัชกาย) , ไม่มีตัวเราเดินหนอ , ไม่มีตัวกู ของกู(ตามหลักการของอาจารย์คุณ mes) ฯลฯ

การขาดการพิจารณาโดยแยบคายเหล่านี้ เป็น บัญญัติธรรม ครับ เกิดได้เพียงสมาธิสงบในเบื้องต้น แต่ไม่ใช่ วิปัสสนา โอกาสที่จะเกิดปัญญาเห็นรูป นาม เป็นไตรลักษณ์ จึงไม่มี (เพราะไม่ยก รูป นาม เป็นอารมณ์)

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เชิญคุณเฉลิมศักดิ์ที่


viewtopic.php?f=1&t=31618&p=200425


มาคุยที่กระทู้นี้ดีกว่า

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 14 พ.ค. 2010, 07:08, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
29201.การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=29201



คำว่า " ปชานาติ " เป็นคำกิริยา ที่แปลว่า " รู้ชัด " เป็นการแปลไปก่อนเพื่อป้ปงกันคำพูดเยิ่นเย้อ หรือฟังไม่รื่นหูเท่านั้น ความจริงท่านให้ความหมายของศัพท์ไว้ดังนี้ " ปกาเรหิ ชานาติ ปชานาติ " แปลว่า " รู้โดยประการทั้งหลาย ชื่อว่า ปชานาติ " หมายความว่าในสิ่งที่ควรรู้นั้น มีประการอะไร ๆ ที่ควรรู้สักกี่ประการก็ตาม ก็ย่อมรู้สิ่งนั้น โดยประการทั้งหมดนั้น

ในเวลาที่เดินอยู่ ประการที่ควรรู้ในอิริยาบถเดิน มี ๓ ประการคือ

๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้


ประการแรก โก คจฺฉติ -- ใครเดิน, มีอรรถาธิบายว่า อาการเดิน ท่าทางที่เดิน เป็นเพียงอาการของรูปธรรมเท่านั้น รูปนั่นแหละเดิน หามีสัตว์ บุคคล หญิง ชาย ในอาการเดินนั้นไม่ การพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ เป็นไปเพื่อการถอนทิฏฐิ คือความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลผู้เดิน

ประการที่ ๒ กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร มีอรรถาธิบายว่า การเดิน คือ อาการที่เดิน ท่าทางที่เดิน ไม่ใช่ของสัตว์ ไม่ใช่ของบุคคล ไม่ใช่ของหญิง ไม่ใช่ของชาย ตลอดจนไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของพระกรรมฐาน เพราะว่าอย่าว่าแต่สัตว์ บุคคล หญิง ชายเลย แม้แต่ผู้ปฏิบัติหรือพระโยคีหรือพระกรรมฐานตามที่ใช้เป็นชื่อของผู้ปฏิบัตินั้น ก็หามีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ไม่ เป็นเพียงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่การเข้าใจความ หรือใช้สื่อความหมายในเวลาที่พูดเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การเดินนี้จะเป็นของใครที่ไหนได้ ก็เป็นของรูปนั่นแหละ เพราะเป็นอาการของรูป ประการที่ ๒ นี้ หากมองเพียงผิวเผินแล้ว จะไม่เห็นความแตกต่างกับประการแรก เพราะว่าความรู้ว่า รูปเดิน ไม่ใช่คนสัตว์เดิน กับความรู้ว่าการเดินเป็นของรูป น่าจะเป็นความรู้อันเดียวกัน แต่ทว่าความจริงยังมีข้อที่แตกต่างกันอยู่ กล่าวคือ ความรู้ในประการแรกนั้น เป็นเพียงปฏิเสธความมีอยู่แห่งสัตว์บุคคลผู้เดิน อันไม่มีอยู่จริง สิ่งที่มีอยู่จริง ที่สร้างความเข้าใจผิดว่ามีผู้เดินในเวลานั้น ก็คือรูปเดินเท่านั้น ความรู้อย่างนี้กล่าวได้ว่า เป็นความรู้ที่ถ่ายถอนทิฏฐิคือความเห็นผิดตรง ๆ ส่วนความรู้ในประการที่ ๒ เป็นการปฏิเสธแม้ความเป็นบุคคลพิเศษ คือ เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน อันพิเศษกว่าคนธรรมดา ก็ความรู้สึกว่า ตนเป็นคนพิเศษกว่าคนอื่น คือเป็นผู้ปฏิบัติเป็นต้นนี้ เป็นความเห็นผิด ที่ท่านเรียกว่า มานวินิพันธาทิฏฐิ แปลว่า ทิฏฐิเกี่ยวกับมานะ กล่าวคือ นอกจากจะเห็นผิดด้วยทิฏฐิว่า เป็นสัตว์เป็นบุคคลดังกล่าวแล้ว ยังสำคัญว่าสัตว์บุคคลนั้นเป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน ด้วยมานะความถือตัว ความนับถือตัว เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งด้วย และเมื่อสำคัญว่ามีผู้ปฏิบัติ มีผู้กรรมฐานอันเป็นบุคคลพิเศษอย่างนี้แล้ว ก็ย่อมยังความประพฤติเป็นไปของตน ให้เป็นของพิเศษ อันเป็นของเฉพาะตน ซึ่งเป็นคนพิเศษเท่านั้น ไม่ทั่วไปแก่ผู้คนตามปกติอื่น ๆ นั่นก็คือ แต่งท่าทางการเดินของตนให้แปลกไปจากท่าทางการเดินของผู้ไม่ปฏิบัติ กล่าวคือ ค่อยๆ ยก ค่อยๆ ย่าง ค่อยๆ ก้าว จะยกเท้าก้าวอย่างช้า ๆ เป็นจังหวะ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเมื่อทำอิริยาบถให้ผิดปกติไปอย่างนี้ ก็ย่อมเล็งเห็นอิริยาบถที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษนี้ ว่าเป็นสาระ เป็นของดี เป็นของมีประโยชน์ อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้ โอกาสที่จะทำปัญญาให้เกิดขึ้นมาเห็นความจริงในรูปอิริยาบถว่า รูปเดินเป็นต้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันเป็นการเห็นว่า ไม่เป็นสาระนั่นเอง ย่อมมีได้ยาก เหตุเพราะเข้าไปตั้งความเป็นสาระไว้เสียก่อนแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติโดยประการที่ป้องกันมานะด้วย คือต้องมีการสำเหนียกอยู่เสมอว่า การเดินเป็นของรูปเท่านั้น ไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของผู้กรรมฐาน นี้เป็นข้อที่แปลกไปจากประการแรก แห่งประการที่ ๒

ประการที่ ๓ กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, คือ การเดิน อาการเดิน ท่าทางที่เรียกว่าเดิน เกิดขึ้นได้เพราะเหตุไร ก็พึงตอบได้ว่าการเดิน อาการเดิน ท่าทางที่เรียกว่าการเดิน เกิดขึ้นได้เพราะเหตุ เพราะปัจจัย ไม่ใช่ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ก็เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเดินนั้น ได้แก่ วาโยธาตุ คือธาตุลมอันเกิดจากจิตที่ประสงค์จะเดิน กล่าวคือ เมื่อจิตคือความคิดว่าจะเดินเกิดขึ้น จิตนั้นย่อมยังวาโยธาตุให้ตั้งขึ้นบริเวณอวัยวะที่จะเคลื่อนไหว โดยเฉพาะขาทั้งสอง วาโยธาตุนั้นย่อมผลักดันให้อวัยวะเคลื่อนไหวไปตามความประสงค์ของจิต อาการก้าวไปจึงเกิดขึ้น เรียกว่า เกิดการเดิน เพราะฉะนั้น วาโยธาตุที่เกิดจากจิตที่มีความประสงค์จะเดิน พร้อมทั้งจิตนั้นนั่นแหละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการเดิน เพราะเหตุนี้แหละ จึงเกิดการเดิน


-----------------------------------------------------
การปฏิบัติวิปัสสนา
http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องเรียนรู้ คือ


๑. อารมณ์ของการปฏิบัติ จะต้องเป็นปรมัตถ์อารมณ์ ซึ่งต่างกับการปฏิบัติสมาธิ อารมณ์ปรมัตถ์นี้จะเป็นเสมือนพาหนะนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่วิปัสสนาปัญญาได้ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจใน เรื่องของ วิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ และอริยสัจ ๔ ซึ่งเมื่อสงเคราะห์ลงแล้ว ก็คือ รูป - นาม นั่นเอง ผู้ปฏิบัติจึงต้องกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์ ฉะนั้นก่อนปฏิบัติจะต้องศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ขณะที่มีการกระทบอารมณ์ตามทวารต่างๆจะต้องกำหนดอย่างไรจึงจะแก้ไข ความโง่ และความเห็นผิดได้

๒. ปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจในปัจจุบัน โดยเฉพาะความแตกต่างกันของปัจจุบันธรรม และปัจจุบันอารมณ์

- ปัจจุบันธรรม คือ รูป นาม ที่เกิดเป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยไป

- ปัจจุบันอารมณ์ คือ รูป นามที่ปรากฏเฉพาะหน้า

ปัจจุบันที่มีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติ คือ ปัจจุบันอารมณ์ เพราะ อภิชฌา-โทมนัส จะเกิดขึ้นได้ หรือไม่ได้ อยู่ที่ว่าผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดได้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงหรือไม่ หากกำหนดได้ทันว่ามีรูปอะไร นามอะไร เกิดขึ้นในอารมณ์ปัจจุบัน ขณะนั้นอภิชฌา และโทมนัสย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เท่ากับว่าในขณะนั้นสมุทัย อันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ย่อมถูกละไป (เป็นการทำลายตัณหา) ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ตรงที่ว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องคอยสังเกตให้ได้ทันในปัจจุบันอารมณ์

------------------------------------------------


อ้างคำพูด:
enlighted
อิอิ

ก็ต้องถามคุณที่เขียนกระทู้ในลิ้งนั้น ว่าความแยบคายของคุณ นั้น แยบคายได้แค่ ระดับไหนน๊ออ
แยบคายอย่างปกติจริงหรือ
แยบคายสุดแล้วจริงหรือ

โยนิโสมนสิการ ที่แยบคายจริง จะไม่มีการพิจารณา เกิดขึ้น แม้แต่ประโยคเดียว น๊าคร๊าบบ



คุณ enlighted ครับ จากตัวอย่างการพิจารณา, การกำหนด (รูป นาม), การโยนิโสมนสิการ ขณะเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา ต้องรู้ชัด ตามที่ พระไตรปิฏก อรรถกถา (เถรวาท) ได้อธิบายไว้ด้านบนครับ

ไม่การไป เพ่งอยู่กับ การก้าวเท้า และท่องภาวนาไปด้วย เช่น เดินหนอ ๆ ๆ ๆ , ซ้ายย่าง ขวาย่างหนอ, เดินหนอ ๒ - ๖ จังหวะ(ตามวิธีหนอ ๆ ของคุณกรัชกาย) , ไม่มีตัวเราเดินหนอ , ไม่มีตัวกู ของกู(ตามหลักการของอาจารย์คุณ mes) ฯลฯ

การขาดการพิจารณาโดยแยบคายเหล่านี้ เป็น บัญญัติธรรม ครับ เกิดได้เพียงสมาธิสงบในเบื้องต้น แต่ไม่ใช่ วิปัสสนา โอกาสที่จะเกิดปัญญาเห็นรูป นาม เป็นไตรลักษณ์ จึงไม่มี (เพราะไม่ยก รูป นาม เป็นอารมณ์)



คุณ enlighted ครับ จากตัวอย่างการพิจารณา, การกำหนด (รูป นาม), การโยนิโสมนสิการ ขณะเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา ต้องรู้ชัด ตามที่ พระไตรปิฏก อรรถกถา (เถรวาท) ได้อธิบายไว้ด้านบนครับ

ไม่การไป เพ่งอยู่กับ การก้าวเท้า และท่องภาวนาไปด้วย เช่น เดินหนอ ๆ ๆ ๆ , ซ้ายย่าง ขวาย่างหนอ, เดินหนอ ๒ - ๖ จังหวะ(ตามวิธีหนอ ๆ ของคุณกรัชกาย) , ไม่มีตัวเราเดินหนอ , ไม่มีตัวกู ของกู(ตามหลักการของอาจารย์คุณ mes) ฯลฯ

การขาดการพิจารณาโดยแยบคายเหล่านี้ เป็น บัญญัติธรรม ครับ เกิดได้เพียงสมาธิสงบในเบื้องต้น แต่ไม่ใช่ วิปัสสนา โอกาสที่จะเกิดปัญญาเห็นรูป นาม เป็นไตรลักษณ์ จึงไม่มี (เพราะไม่ยก รูป นาม เป็นอารมณ์)


.................................................................................................

กล่าวคือ เมื่อจิตคือความคิดว่าจะเดินเกิดขึ้น จิตนั้นย่อมยังวาโยธาตุให้ตั้งขึ้นบริเวณอวัยวะที่จะเคลื่อนไหว โดยเฉพาะขาทั้งสอง วาโยธาตุนั้นย่อมผลักดันให้อวัยวะเคลื่อนไหวไปตามความประสงค์ของจิต อาการก้าวไปจึงเกิดขึ้น เรียกว่า เกิดการเดิน เพราะฉะนั้น วาโยธาตุที่เกิดจากจิตที่มีความประสงค์จะเดิน พร้อมทั้งจิตนั้นนั่นแหละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการเดิน เพราะเหตุนี้แหละ จึงเกิดการเดิน
.....................................................................................................

อิอิ

แค่เกิดเงาจิต คิดว่าจะเดิน ก็ไม่แยบคายเสียแล่ว คร๊าบหนอ
ขณะเดิน ยังสร้างเงาจิต คิด หนอๆๆๆ ก็ไม่แยบคายเสียแล้วหนอ

การรู้ชัด ย่อมไม่เกิดเงาจิตความคิด ที่จะพิจารณา หรือ บริกรรมสักแอะ เลยหนอ คร๊าบบ

อิอิ

ปัจจุบันที่มีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติ คือ ปัจจุบันอารมณ์ เพราะ อภิชฌา-โทมนัส จะเกิดขึ้นได้ หรือไม่ได้ อยู่ที่ว่าผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดได้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงหรือไม่ หากกำหนดได้ทันว่ามีรูปอะไร นามอะไร เกิดขึ้นในอารมณ์ปัจจุบัน ขณะนั้นอภิชฌา และโทมนัสย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เท่ากับว่าในขณะนั้นสมุทัย อันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ย่อมถูกละไป (เป็นการทำลายตัณหา) ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ตรงที่ว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องคอยสังเกตให้ได้ทันในปัจจุบันอารมณ์

.................................................................................................
อิอิ

ข้อความตรงนี้
ก็เช่นกัน หนอ

การรู้ชัด อย่างแยบคาย ก็ย่อมไม่เกิด เงาจิต พิจารณา ซ้อนขึ้นมา ในการกระทบทุกครั้ง
ว่า นี่รูปอะไร นี่นามอะไร ไม่เกิดเงาจิตสักแอะ เลยหนอครับ


ยกตัวอย่าง เห็นหน้าคุณเหลิม ก็รู้ชัด โดยแยบคาย
ไม่ได้เกิดเงาจิตกำหนดการกำหนด ไม่ได้เกิดเงาจิตคิดพิจารณา ว่า
รูปนี้ เป็นคนหนอ นามนี้ เป็นเหลิมหนอ

เมื่อแยบคายจึงไม่เกิด เงาจิตการกำหนดรู้ ว่าเงานี้รูป หรือเงานี้นาม
มีเพียงแต่รู้ ด้วยความแยบคาย
รูปและนาม โดยไม่เกิดเงาจิต นะคร๊าบบ หนอ

อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเฉลิมศักดิ์เห็นแล้วครับ แต่ไม่เข้าไป เหตุผลดังที่บอกนั่นแหละ :b16:

ในเมื่อไม่ไป จะถามคุณเฉลิมศักดิ์ตรงนี้ก็ได้

ที่คุณเฉลิมศักดิ์ว่า

อ้างคำพูด:
คุณ mes หมายถึงคุณกรัชกาย ด้วยหรือไม่ครับ

แต่ผมว่าคุณกรัชกาย อธิบายการปฏิบัติแบบผิด ๆ ปฏิรูปพระสัทธรรม คงจะไม่ใช่อริยะบุคคล


คำถามครับ คำว่า "อริยะ" แปลว่าอะไร มีที่มายังไง ?

อริยะบุคคล ได้แก่บุคคลเช่นไร ?

ดูนะว่า คุณเลลิมศักดิ์จะปลิ้นออกทางไหน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




f54802676.gif
f54802676.gif [ 16.55 KiB | เปิดดู 5828 ครั้ง ]
มาอีกแล้วเงาจิต :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
มาอีกแล้วเงาจิต :b32:



อิอิ

มาอีกแล้วเงาจิต หนอ

อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


enlighted เขียน:
กรัชกาย เขียน:
มาอีกแล้วเงาจิต :b32:



อิอิ

มาอีกแล้วเงาจิต หนอ

อิอิ



หนอ แปลว่า อะไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
enlighted เขียน:
กรัชกาย เขียน:
มาอีกแล้วเงาจิต :b32:



อิอิ

มาอีกแล้วเงาจิต หนอ

อิอิ



หนอ แปลว่า อะไร


อิอิ

หนอแปลว่าอะไรหนอ

อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ออกซุกซนจัง อิ อิ


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 15 พ.ค. 2010, 11:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


enlighted เขียน:
อิอิ

เขียนมาซะยาวเปื้อย

ศัพท์ คำว่า มิจฉาวิปัสสนา จึงไม่เคยอ่านเจอ
คุณ enlighted นึกจะพูดอะไรก็พูด ใช้ความรู้สึกส่วนตัว มากล่าวตู่พระสัทธรรม พระสงฆ์

เตือนอีกครั้ง ว่า นรกจะกินหัวนะครับ อิอิ


เหอๆๆ
เจอแต่ที่อ่านน่ะเหรอ
เจอนรกแต่ที่อ่านมาน่ะเหรอ

อ๊ะจ๊าก

อภิธรรมมูลนิธิ ยังอาศัยแนวคิด มาอธิบายจิต
เอาแนวคิด มาสอนเรื่องจิต
ก็ตกม้าตาย ทั้งมูลนิธิ แหละคร๊าบบ

มิจฉาวิปัสสนา ไม่ใช่ว่า นึกจะวิปัสสนา แล้วก็พิจารณาส่งเดช
โดยขาดองค์แห่งวิปัสนาญาณ
การพิจารณาส่งเดช แบบนั้น เรียกว่า มิจฉาวิปัสสนา

การนึกคิดวิปัสสนา ต้องครบองค์แห่งวิปัสสนา จึงเรียกว่า สัมมาวิปัสสนา


แต่สัมมาวิปัสสนาญาณ เป็นกริยาที่ออกมาเอง โดยไม่ต้องอาศัย ความตั้งใจที่จะคิด
เป็น วิปัสนากริยาที่ไม่ต้องอาศัยการคิด การพิจารณา

อิอิ


อิ อิ :b4: :b4:

อุ อุ :b9: :b9:

:b22: :b22:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
คุณ mes ครับ การที่คุณศึกษาตำราของท่านพุทธทาสมาก ๆ แล้ว ไม่ทำให้คุณเย็นใจลงได้ ไม่รู้จะเริ่มศึกษาพระไตรปิฏก อรรถกถา ให้เกิดความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาทางธรรม (ศรัทธา ๔) ได้อย่างไร

ศรัทธา ๔
http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=9&

จะเห็นภัยในวัฏฏะสงสาร มีความเพียรเพื่อการปฏิบัติวิปัสสนา ได้หรือไม่ ?

ผมว่าวางตำราของท่านพุทธทาสลงเสียเถิดครับ อย่าได้ยึดติดในทิฏฐิเกินไป ปิดกั้นตนเองเปล่า ๆ

คุณ mes ครับ คุณจะแสดงความโกรธด้วยการด่าผม ผมคงไม่ด่าตอบหรอกครับ เพราะเวปนี้เป็นการสนทนาธรรม



นี่เป็นความปลิ้นปล้อนของเฉลิมศักดิ์

ปากเที่ยวสอนผู้อื่น

ปากบอกว่าที่นี่เป็นเวปสนทนาธรรมจะไม่ด่าตอบใคร

เหมือนเป็นผู้ทรงคุณธรรม

แต่ด่าว่าโจมตีท่านพุทธทาส ด่าว่าผู้อื่นตลอดเวลา

เมื่อถูกวิพากวิจารณ์กลับบ้างก็ดิ้นเหมือนสุนัขถูกน้ำร้อนลวก

เฉลิมศักดิ์ต้องเข้าใจ

ว่าในเมื่อกล้าวิพากวิจารณ์โจมตีผู้อื่นเสียๆหายได้

ตนก็จะต้องรับการวิพากวิจารณ์ได้ด้วย


เอาอย่างนี้

ผมจะตั้งกระทู้ที่เฉลิมศักดิ์ยกขึ้นมาโจมตีท่านพุทธทาสขึ้นมาสนทนากัน

ผมต้องขออนุญาตท่านที่นับถือท่านพุทธทาสด้วยครับ


ผมจะลิงค์กระทู้ไว้ข้างล่าง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron