วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 226 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
noohmairu เขียน:
ธรรมภูต เขียน:
noohmairu เขียน:
อิอิ

รู้ถูก รู้ผิด เพราะไม่รู้เจ๋ยๆ ละจ้าๆ

คนบ้า ก็ ดีใจ เสียใจ เพราะไม่รู้เจ๋ยๆ ละจ้าๆ

จิตเดิมแท้ ไม่เกิด ไม่ตาย ละจ้าๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:


อิอิ

รู้เฉยๆนั่นหนะ เค้าเรียกว่ารู้ถูก จึงแล้วก็เฉยไว้

ที่คนบ้า ดีใจหรือเสียใจ เพราะรู้ผิดไปจากความเป็นจริง

ใช่จ้า จิตเดิมแท้จริง ไม่สูญหายเกิดตายไปไหน

แต่ส่วนใหญ่ ยังเดิมแท้ไม่จริงก็เท่านั้น

:b39:


อิอิ

ไหลตามถูก แล้ว ไหลตามเฉย เพราะไม่รู้ ละจ้าๆ

ที่คนบ้าไหลตามดีใจหรือเสียใจ เพราะไม่รู้ ละจ้าๆ

จิตเดิมแท้ รู้ ทุกสิ่งที่เคลื่อนไหว ไม่ไหลตามจริง ไม่จริง ละจ้าๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:

อิอิ

ไม่รู้หนะ มีแต่คนตายเท่านั้น ส่วนไม่รู้จัก ศึกษาเพิ่มเติมได้

ที่คนบ้าไหลตามดีใจหรือเสียใจ เพราะไม่รู้ ไม่ใช่เพราะไม่รู้

รู้ผิดไปจากความเป็นจริงต่างหาก

จิตเดิมแท้นั้น รู้อยู่ที่รู้ ไม่ไหลไปอยู่กับเรื่องราวความรู้สึกนึกคิดต่างๆ จ้า

:b39:

อิอิ

รู้เจ๋ยๆ

จิตเดิมแท้นั้น รู้ อยู่ที่รู้

ไม่ไหลไปอยู่กับความรู้สึกนึกคิดว่าผิด ความรู้สึกนึกคิดว่าถูก ความรู้สึกนึกคิดว่าเฉย ละจ้าๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


noohmairu เขียน:

รู้เจ๋ยๆ

จิตเดิมแท้นั้น รู้ อยู่ที่รู้

ไม่ไหลไปอยู่กับความรู้สึกนึกคิดว่าผิด ความรู้สึกนึกคิดว่าถูก ความรู้สึกนึกคิดว่าเฉย ละจ้าๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า


ไหลไม่ไหลเนี่ย เหมือนกินสะหรอด :b28:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
noohmairu เขียน:

รู้เจ๋ยๆ

จิตเดิมแท้นั้น รู้ อยู่ที่รู้

ไม่ไหลไปอยู่กับความรู้สึกนึกคิดว่าผิด ความรู้สึกนึกคิดว่าถูก ความรู้สึกนึกคิดว่าเฉย ละจ้าๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า


ไหลไม่ไหลเนี่ย เหมือนกินสะหรอด :b28:


อิอิ

อินทรีย์สังหอนของกรัชกาย ไหลตามอินทรีย์ทวารเบื้องต่ำซะแล่วๆๆ ละจ้าๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงว่าคุณ ธรรมภูต เห็นว่า มีจิตอย่างหนึ่งที่เที่ยง และมีจิตสังขารที่ไม่เที่ยง

ผมคิดว่าการศึกษาพระพุทธพจน์นั้นเราไม่จำเป็นต้องไปตีความอะไรมากมาย เพราะแต่ละคนย่อมตีความไปตามทิฏฐิของแต่ละคน ท่านว่าไว้อย่างไร ก็ควรหมายความเพียงนั้น ไม่ควรไปต่อเติม เช่นท่านว่า จิตไม่เที่ยง แค่นี้ก็พอเพียงแล้ว ไม่ควรที่จะไปต่อเติมตีความว่า ที่กล่าวนั้นท่านหมายความถึงจิตนั้น ไม่ได้หมายความถึงจิตนี้ ควรจะทำความซื่อตรงในการศึกษา

และผมคิดว่าท่านคงไม่ได้แสดงพระธรรมเทศนาเพื่อให้ผู้ฟังมานั่งตีความอะไร พูดถึงสิ่งใดก็ย่อมหมายความถึงสิ่งนั้น

ลองดู มหาตัณหาสังขยสูตร นะครับ ที่ท่านว่าเป็นสัสสตทิฏฐินั้น คือ ความเชื่อที่ว่าวิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ท่านกล่าวไว้เพียงแค่นี้ และแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว ทำไมต้องไปตีความเสริมอีกว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ในลักษณะนี้ ๆ ถึงจะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ในลักษณะนั้นๆ เป็นสัมมาทิฏฐิ

แม้อรรถกถาก็แสดงไว้ว่า(หรือหากไม่มีอรรถกถาข้อความในพระสูตรก็ชัดเจนดีอยู่แล้ว)เธอได้มีความคิดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารเหล่านี้ ย่อมดับไปในที่นั้นๆ นั่นแหละ แต่วิญญาณย่อมท่องเที่ยว ย่อมแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ ดังนี้ จึงเกิดสัสสตทิฏฐิ แต่นักศึกษามากคนอยู่ในสมัยนี้ไม่เอา ไม่เชื่ออรรถกถา แต่เลือกที่จะเชื่ออัตโนมติของตน


หากผิดพลาดประการใดได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 13:59
โพสต์: 50

อายุ: 0
ที่อยู่: ท่องไปดุจ..นอแรด

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถาม
๑.ที่พระพุทธองค์สั่งสมบารมีมาสี่อสงไขแสนมหากัปป์นั้น บารมีนั้นสั่งสมอยู่ที่ใด
เกิดดับหรือไม่อย่างไร
๒.สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กรรมนั้นสั่งสมอยู่ที่ใด
เกิดดับหรือไม่
๓.สภาวะที่แปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย
เรียกว่าเป็นการเกิดดับหรือไม่อย่างไร
เช่นเมื่อเกิดความโกรธขึ้นมาแล้วหาอุบายแก้ไขความโกรธนั้น ความโกรธหายไปจะเรียกว่ามันดับไปได้หรือไม่ หรือมันเปลี่ยนไปตามเหตุและปัจจัยที่มากระทบ
แล้วความโกรธหายไปไหน
ดับไป หรือ เปลี่ยนไป
เจริญในธรรม

.....................................................
"..หลักของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่การพูดกันเฉย ๆ
หรือด้วยการเดา..หรือการคิดเอาเอง
หลักของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคือ
การรู้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงนั่นเอง
ถ้ารู้เท่าทันตามความเป็นจริงนี้แล้ว
การสอนก็ไม่จำเป็น..แต่ถ้าไม่รู้ถึงความเป็นจริงอันนี้
แม้จะฟังคำสอนเท่าใด ก็เหมือนกับไม่ได้ฟัง!!!"


แก้ไขล่าสุดโดย ชิวว์ เมื่อ 19 พ.ค. 2010, 19:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
จิต เป็นสังขตธาตุ หรือ อสังขตธาตุ


ธรรมภูต เขียน:
-ตอบไปแบบ คนที่ผ่านการปฏิบัติมาก่อน ย่อมเข้าใจได้

-จิตที่ไม่ได้รับความบริสุทธิ์โลกียจิตนั้น เป็นสังขตะธรรม
เพราะเกิดตายไปตามความรู้สึกนึกคิดต่างๆที่เข้ามาปรุงแต่งจิตครอบงำอยู่ในขณะนั้น

-ส่วนจิตที่ได้รับความบริสุทธิ์หรือโลกุตรจิตนั้น
สังขตะธรรมถูกขจัดออกไปจากจิต เผยให้เห็นความเป็นอสังขตะธรรมที่ได้รับความบริสุทธิ์



จิต เป็นสังขตธาตุ หรือ อสังขตธาตุ.... เป็นคำถามที่ท่านต้องพิจารณา ให้มาก เพราะคำตอบที่ท่านให้มานั้น แสดงว่า ท่านไม่รู้จักจิตเลย


คุณเช่นนั้น ถาม ว่าจิตเป็นสังขตธาตุ หรืออสังขตธาตุ?
แต่คุณธรรมภูต ยกสังขตธรรม อสังขตธรรม มา :b10: ช่วยอธิบายเพิ่มหน่อยก็ดีนะครับ smiley


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 19 พ.ค. 2010, 21:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
● โดยอธิบาย

★ วิญญาณขันธ์ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕

วิญญาณขันธ์เป็นอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์
คือการรับรู้อารมณ์ของจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

วิญญาณขันธ์ จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตามเหตุปัจจัย

และนามรูป เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดวิญญาณขันธ์ นั่นคือ
ตา+รูป เกิดวิญญาณทางตา
หู+เสียง เกิดวิญญาณทางหู
จมูก+กลิ่น เกิดวิญญาณทางจมูก
ลิ้น+รส เกิดวิญญาณทางลิ้น
กาย+กายสัมผัส เกิดวิญญาณทางกาย
ใจ+ธัมมารมณ์ เกิดวิญญาณทางใจ


★ วิญญาณขันธ์ จึงไม่ใช่ตัวรองรับวิบากของกรรม

จิตคือตัวบันทึกกรรม ตัวเสวยวิบากของกรรมทั้งหลายทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว
จิตจุติ(เคลื่อน)ออกจากร่างกายที่ตายไป ไปเกิดตามอำนาจกรรมดีกรรมชั่ว
โดยจิตเกาะกุมอารมณ์สุดท้าย(มโนวิญญาณ)ในเวลาใกล้จะตาย
เป็นปฏิสนธิวิญญาณพาไปเกิดในภพภูมิใหม่ตามแรงกรรม


★ จิต ไม่ใช่ วิญญาณ(ขันธ์)

จิตคือวิญญาณธาตุ(ธาตุรู้) ไม่ใช่วิญญาณขันธ์
จิตมีดวงเดียว (เอกจรํ=ดวงเดียวเที่ยวไป) ไม่เป็นกอง แต่ขันธ์เป็นกอง

วิญญาณขันธ์ มี ๖ แบ่งตามวิถีทางที่อารมณ์เข้ามา
คือ วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จัดเป็นสสังขาริก...อาศัยทวารทั้ง ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
วิญญาณทางใจ จัดเป็นอสังขาริก...ไม่อาศัยทวารทั้ง ๕


★ จิตคือธาตุรู้ ทรงความรู้ทุกกาลสมัย

ธาตุรู้ยังไงก็เป็นธาตุรู้วันยังค่ำ ไม่อาจแปรเปลี่ยนเป็นธาตุดิน น้ำ ลม หรือ ไฟ

แต่สิ่งที่ถูกจิตรู้ต่างหากที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปจากจิตตลอดวันตลอดคืน นั่นคือ


จิตไม่เกิดดับ

แต่ขันธ์ ๕ ซึ่งรวมถึงวิญญาณขันธ์ เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต
ไม่ว่าวิญญาณทางตาจะเกิดขึ้นแล้วดับไป
เกิดวิญญาณทางหูขึ้นแทนแล้วดับไป
เกิดวิญญาณทางอื่นๆขึ้นแทน...ฯลฯ...
จิตย่อมรู้ตลอดเวลาที่วิญญาณเหล่านั้นเกิดขึ้นและดับไปจากจิต

ถ้าจิตเกิดดับ หรือจิตคือวิญญาณขันธ์
ตอนที่จิตดับคือรู้ดับ ก็ต้องไม่รู้ไรเลย แต่ทำไมยังรู้ล่ะว่าวิญญาณทางตาดับ
เกิดวิญญาณทางหูแทน วิญญาณทางหูดับ เกิดวิญญาณทางอื่นขึ้นแทน...ฯลฯ...
ถ้าไม่รู้ไรเลย ย่อมบอกออกมาไม่ได้!!!


จิตคือธาตุรู้ รู้ผิด หรือ รู้ถูก

ปุถชน จิตรู้ผิดจากความเป็นจริง ไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
เพราะจิตมีอวิชชาครอบงำ หลงผิดยึดขันธ์ ๕ เป็นตน
เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

พระอริยสาวก จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
เพราะจิตหลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา เกิดวิชชาขึ้นแทนที่
จิตไม่หลงผิด จิตปล่อยวางการยึดขันธ์ ๕ เป็นตน
เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตก็ไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

ดังมีกล่าวไว้ใน นกุลปิตาสูตร ว่า

ปุถุชน กายกระสับกระส่าย จิตกระสับกระส่าย
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวน ทุกข์จึงเกิดขึ้นที่จิต

พระอริยสาวก กายกระสับกระส่าย จิตหากระสับกระส่ายไม่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวน ทุกข์ไม่เกิดขึ้นที่จิต


ท่านหลับอยู่ อ่านพิจารณา ถึงสิ่งที่ ท่านธรรมภูต แสดง
และอ่าน ช่วงต่อมา ที่ท่านธรรมภูต นำเอาสังขตธรรม และอสังขตธรรมมาแสดง

เช่นนั้นจึงไม่ถามมากไปกว่า นั้น ว่า
จิตเป็นเพียงธาตุรู้ จริงหรือ
จิตเป็นสังขตธาตุ หรืออสังขตธาตุ

ความเห็นของ ท่านธรรมภูต ยุ่งเหยิงปนกันไปหมด ดังนั้น ท่านธรรมภูติต้อง ใคร่ครวญและตอบเองว่า
เป็นสังขตะธาตุ หรืออสังขตธาตุ

Quote Tipitaka:
"ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จ
แล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่
ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต
๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไป
อยู่ ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐ
ที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม
ทำอยู่ก็ตาม สุขย่อมไปตามบุคคลนั้นเพราะสุจริต ๓ อย่าง
เหมือนเงามีปรกติไปตาม ฉะนั้น "

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 00:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชิวว์ เขียน:
ขอถาม
๑.ที่พระพุทธองค์สั่งสมบารมีมาสี่อสงไขแสนมหากัปป์นั้น บารมีนั้นสั่งสมอยู่ที่ใด
เกิดดับหรือไม่อย่างไร
๒.สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กรรมนั้นสั่งสมอยู่ที่ใด
เกิดดับหรือไม่
๓.สภาวะที่แปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย
เรียกว่าเป็นการเกิดดับหรือไม่อย่างไร
เช่นเมื่อเกิดความโกรธขึ้นมาแล้วหาอุบายแก้ไขความโกรธนั้น ความโกรธหายไปจะเรียกว่ามันดับไปได้หรือไม่ หรือมันเปลี่ยนไปตามเหตุและปัจจัยที่มากระทบ
แล้วความโกรธหายไปไหน
ดับไป หรือ เปลี่ยนไป
เจริญในธรรม


ถ้าเมื่อมีคนตอบแล้ว
ผู้ถามยินดีแสดงความเห็นของตนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนด้วยได้...หรือไม่...

:b1: :b1:

ถ้าไม่....เอกอนขอ...ผ่าน....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 01:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๑.ที่พระพุทธองค์สั่งสมบารมีมาสี่อสงไขแสนมหากัปป์นั้น บารมีนั้นสั่งสมอยู่ที่ใด
เกิดดับหรือไม่อย่างไร

บารมี คือการขัดเกลา พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญบารมีนานปานนั้น เพื่อความขัดเกลาอย่างยิ่ง เพื่อเป็นเหตุเป็นปัจจัย แก่สัมมาสัมพุทธจิตอันเป็นที่ตั้งแห่งพระสัพพัญุตาญาณ ตามที่ได้ทรงอธิษฐานไว้
คำถามว่า เกิดดับหรือไม่อย่างไร ก็ตอบว่า บารมีที่บำเพ็ญไว้นั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตในชาติสุดท้าย

อ้างคำพูด:
๒.สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กรรมนั้นสั่งสมอยู่ที่ใด
เกิดดับหรือไม่


สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ได้กระทำ ผลย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ได้กระทำไว้ ไม่มีการสั่งสม ที่เข้าใจว่าสั่งสม ก็เพราะว่าเหตุปัจจัยที่ทำไว้ให้ผลยังไม่หมด หรือยังไม่ได้ทำเหตุปัจจัยที่ให้ผลอื่นจึงต้องเสวยวิบากซ้ำๆๆโดยเหตุปัจจัยที่ได้ทำไว้

อ้างคำพูด:
๓.สภาวะที่แปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย
เรียกว่าเป็นการเกิดดับหรือไม่อย่างไร

อนิจจัง คือลักษณะทั่วๆไป ที่เป็นความจริงแท้แห่งสังขารธรรมทั้งปวง ย่อมแปรเปลี่ยน เกิดดับ ไปตามเหตุปัจจัย

อ้างคำพูด:
เช่นเมื่อเกิดความโกรธขึ้นมาแล้วหาอุบายแก้ไขความโกรธนั้น ความโกรธหายไปจะเรียกว่ามันดับไปได้หรือไม่ หรือมันเปลี่ยนไปตามเหตุและปัจจัยที่มากระทบแล้วความโกรธหายไปไหน
ดับไป หรือ เปลี่ยนไป


เมื่อความโกรธเกิดขึ้น จิตทำเหตุปัจจัยใหม่ โดยน้อมเอาสัญญาอื่น(หาอุบาย)เพื่อละความโกรธ
สัญญาอย่างหนึ่งเกิดขึ้น สัญญาอย่างหนึ่งดับไป ความโกรธไม่ได้หายไปไหน เป็นเพียงแต่จิตน้อมไปในสัญญาอื่น แต่ปฏิฆานุสัยยังคงมีในจิต เพราะยังเป็นความโกรธที่ยังไม่ได้ละจริงๆด้วยมรรค

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัทรพงศ์ เขียน:
แสดงว่าคุณ ธรรมภูต เห็นว่า มีจิตอย่างหนึ่งที่เที่ยง และมีจิตสังขารที่ไม่เที่ยง

ผมคิดว่าการศึกษาพระพุทธพจน์นั้นเราไม่จำเป็นต้องไปตีความอะไรมากมาย เพราะแต่ละคนย่อมตีความไปตามทิฏฐิของแต่ละคน ท่านว่าไว้อย่างไร ก็ควรหมายความเพียงนั้น ไม่ควรไปต่อเติม เช่นท่านว่า จิตไม่เที่ยง แค่นี้ก็พอเพียงแล้ว ไม่ควรที่จะไปต่อเติมตีความว่า ที่กล่าวนั้นท่านหมายความถึงจิตนั้น ไม่ได้หมายความถึงจิตนี้ ควรจะทำความซื่อตรงในการศึกษา

และผมคิดว่าท่านคงไม่ได้แสดงพระธรรมเทศนาเพื่อให้ผู้ฟังมานั่งตีความอะไร พูดถึงสิ่งใดก็ย่อมหมายความถึงสิ่งนั้น

ลองดู มหาตัณหาสังขยสูตร นะครับ ที่ท่านว่าเป็นสัสสตทิฏฐินั้น คือ ความเชื่อที่ว่าวิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ท่านกล่าวไว้เพียงแค่นี้ และแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว ทำไมต้องไปตีความเสริมอีกว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ในลักษณะนี้ ๆ ถึงจะเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ในลักษณะนั้นๆ เป็นสัมมาทิฏฐิ

แม้อรรถกถาก็แสดงไว้ว่า(หรือหากไม่มีอรรถกถาข้อความในพระสูตรก็ชัดเจนดีอยู่แล้ว)เธอได้มีความคิดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารเหล่านี้ ย่อมดับไปในที่นั้นๆ นั่นแหละ แต่วิญญาณย่อมท่องเที่ยว ย่อมแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ ดังนี้ จึงเกิดสัสสตทิฏฐิ แต่นักศึกษามากคนอยู่ในสมัยนี้ไม่เอา ไม่เชื่ออรรถกถา แต่เลือกที่จะเชื่ออัตโนมติของตน


หากผิดพลาดประการใดได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ tongue

ผมไม่ได้คิดเองเออเองนะครับ

มีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ชัดเจนแล้ว โลกุตรจิตชั้นพระโสดาบันนั้น เป็นผู้เที่ยง และตรงต่อพระนิพพานแล้วใช่มั้ย?

ส่วนโลกียจิตหรือจิตสังขารนั้น ไม่เที่ยงแท้แน่นอนแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาใช่มั้ย?

เรื่องวิญญาณนั้น ไปศึกษาให้ดีๆ ระหว่างวิญญาณขันธ์กับวิญญาณธาตุ คนละเรื่องกันเลย

ในพระสูตรก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า พระสาติเข้าใจผิดคิดไปเองว่า จิตกับวิญญาณขันธ์เป็นสิ่งเดียวกัน

ถ้าจิตกับวิญญาณเป็นสิ่งเดียวกัน เราคงต้องได้อ่านเจอมาบ้างหละว่า มีคำว่าโลกุตรวิญญาณ

แต่เท่าที่พบเจอนั้นมีแต่ การปฏิเสธขันธ์๕ว่า นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เมื่อมีที่ไม่ใช่ แล้วที่ใช่หละ จะไม่ให้มีเลยหรือ ถ้าอะไรๆ ไม่มีอยู่จริง ก็แสดงว่าโกหกกันสิ


:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
จิต เป็นสังขตธาตุ หรือ อสังขตธาตุ


ธรรมภูต เขียน:
-ตอบไปแบบ คนที่ผ่านการปฏิบัติมาก่อน ย่อมเข้าใจได้

-จิตที่ไม่ได้รับความบริสุทธิ์โลกียจิตนั้น เป็นสังขตะธรรม
เพราะเกิดตายไปตามความรู้สึกนึกคิดต่างๆที่เข้ามาปรุงแต่งจิตครอบงำอยู่ในขณะนั้น

-ส่วนจิตที่ได้รับความบริสุทธิ์หรือโลกุตรจิตนั้น
สังขตะธรรมถูกขจัดออกไปจากจิต เผยให้เห็นความเป็นอสังขตะธรรมที่ได้รับความบริสุทธิ์



จิต เป็นสังขตธาตุ หรือ อสังขตธาตุ.... เป็นคำถามที่ท่านต้องพิจารณา ให้มาก เพราะคำตอบที่ท่านให้มานั้น แสดงว่า ท่านไม่รู้จักจิตเลย


คุณเช่นนั้น ถาม ว่าจิตเป็นสังขตธาตุ หรืออสังขตธาตุ?
แต่คุณธรรมภูต ยกสังขตธรรม อสังขตธรรม มา :b10: ช่วยอธิบายเพิ่มหน่อยก็ดีนะครับ smiley

คุณหลับอยู่ ตื่นซะแล้วลองอ่านที่ผมเขียนไปสักหลายเที่ยว และเทียบเคียงกับพระพุทธพจน์แล้วจะเข้าใจเอง

หรือถ้ายังไม่เข้าใจเพราะเหตุอะไรก็ตามแต่ ช่วยบอกที่ตัวเองเข้าใจมาด้วยก็จะดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมก็ดี(โลกียจิตสามัญสัตว์โลก) อสังขตธรรมก็ดี(ธาตุรู้หรือจิต) มีประมาณเท่าใด

วิราคะ(โลกุตรจิตที่พ้นโลกหรือจิตที่ได้รับความบริสุทธิ์) คือ ธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา นำเสียซึ่งความกระหาย ถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย

ตัดซึ่งวัฏฏะ สิ้นไปแห่งตัณหา สิ้นกำหนัด ดับ นิพพาน

บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ธรรมภูต เขียน:
● โดยอธิบาย

★ วิญญาณขันธ์ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕

วิญญาณขันธ์เป็นอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์
คือการรับรู้อารมณ์ของจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

วิญญาณขันธ์ จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตามเหตุปัจจัย

และนามรูป เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดวิญญาณขันธ์ นั่นคือ
ตา+รูป เกิดวิญญาณทางตา
หู+เสียง เกิดวิญญาณทางหู
จมูก+กลิ่น เกิดวิญญาณทางจมูก
ลิ้น+รส เกิดวิญญาณทางลิ้น
กาย+กายสัมผัส เกิดวิญญาณทางกาย
ใจ+ธัมมารมณ์ เกิดวิญญาณทางใจ


★ วิญญาณขันธ์ จึงไม่ใช่ตัวรองรับวิบากของกรรม

จิตคือตัวบันทึกกรรม ตัวเสวยวิบากของกรรมทั้งหลายทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว
จิตจุติ(เคลื่อน)ออกจากร่างกายที่ตายไป ไปเกิดตามอำนาจกรรมดีกรรมชั่ว
โดยจิตเกาะกุมอารมณ์สุดท้าย(มโนวิญญาณ)ในเวลาใกล้จะตาย
เป็นปฏิสนธิวิญญาณพาไปเกิดในภพภูมิใหม่ตามแรงกรรม


★ จิต ไม่ใช่ วิญญาณ(ขันธ์)

จิตคือวิญญาณธาตุ(ธาตุรู้) ไม่ใช่วิญญาณขันธ์
จิตมีดวงเดียว (เอกจรํ=ดวงเดียวเที่ยวไป) ไม่เป็นกอง แต่ขันธ์เป็นกอง

วิญญาณขันธ์ มี ๖ แบ่งตามวิถีทางที่อารมณ์เข้ามา
คือ วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จัดเป็นสสังขาริก...อาศัยทวารทั้ง ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
วิญญาณทางใจ จัดเป็นอสังขาริก...ไม่อาศัยทวารทั้ง ๕


★ จิตคือธาตุรู้ ทรงความรู้ทุกกาลสมัย

ธาตุรู้ยังไงก็เป็นธาตุรู้วันยังค่ำ ไม่อาจแปรเปลี่ยนเป็นธาตุดิน น้ำ ลม หรือ ไฟ

แต่สิ่งที่ถูกจิตรู้ต่างหากที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปจากจิตตลอดวันตลอดคืน นั่นคือ


จิตไม่เกิดดับ

แต่ขันธ์ ๕ ซึ่งรวมถึงวิญญาณขันธ์ เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต
ไม่ว่าวิญญาณทางตาจะเกิดขึ้นแล้วดับไป
เกิดวิญญาณทางหูขึ้นแทนแล้วดับไป
เกิดวิญญาณทางอื่นๆขึ้นแทน...ฯลฯ...
จิตย่อมรู้ตลอดเวลาที่วิญญาณเหล่านั้นเกิดขึ้นและดับไปจากจิต

ถ้าจิตเกิดดับ หรือจิตคือวิญญาณขันธ์
ตอนที่จิตดับคือรู้ดับ ก็ต้องไม่รู้ไรเลย แต่ทำไมยังรู้ล่ะว่าวิญญาณทางตาดับ
เกิดวิญญาณทางหูแทน วิญญาณทางหูดับ เกิดวิญญาณทางอื่นขึ้นแทน...ฯลฯ...
ถ้าไม่รู้ไรเลย ย่อมบอกออกมาไม่ได้!!!


จิตคือธาตุรู้ รู้ผิด หรือ รู้ถูก

ปุถชน จิตรู้ผิดจากความเป็นจริง ไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
เพราะจิตมีอวิชชาครอบงำ หลงผิดยึดขันธ์ ๕ เป็นตน
เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

พระอริยสาวก จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
เพราะจิตหลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา เกิดวิชชาขึ้นแทนที่
จิตไม่หลงผิด จิตปล่อยวางการยึดขันธ์ ๕ เป็นตน
เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตก็ไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

ดังมีกล่าวไว้ใน นกุลปิตาสูตร ว่า

ปุถุชน กายกระสับกระส่าย จิตกระสับกระส่าย
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวน ทุกข์จึงเกิดขึ้นที่จิต

พระอริยสาวก กายกระสับกระส่าย จิตหากระสับกระส่ายไม่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวน ทุกข์ไม่เกิดขึ้นที่จิต


ท่านหลับอยู่ อ่านพิจารณา ถึงสิ่งที่ ท่านธรรมภูต แสดง
และอ่าน ช่วงต่อมา ที่ท่านธรรมภูต นำเอาสังขตธรรม และอสังขตธรรมมาแสดง

เช่นนั้นจึงไม่ถามมากไปกว่า นั้น ว่า
จิตเป็นเพียงธาตุรู้ จริงหรือ
จิตเป็นสังขตธาตุ หรืออสังขตธาตุ

ความเห็นของ ท่านธรรมภูต ยุ่งเหยิงปนกันไปหมด ดังนั้น ท่านธรรมภูติต้อง ใคร่ครวญและตอบเองว่า
เป็นสังขตะธาตุ หรืออสังขตธาตุ

Quote Tipitaka:
"ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จ
แล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่
ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต
๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไป
อยู่ ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐ
ที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม
ทำอยู่ก็ตาม สุขย่อมไปตามบุคคลนั้นเพราะสุจริต ๓ อย่าง
เหมือนเงามีปรกติไปตาม ฉะนั้น "

คุณเช่นนั้น ผมว่าเช่นนั้นสมชื่อจริงๆ ถ้าคิดจะไม่ตอบเพราะกลัวอะไรสักอย่าง

ก็ไม่ต้องใช้วิธีนี้ก็ได้ การกล่าวหาว่าผู้อื่นอธิบายยุ่งเหยิงไปหมดนั้น

แท้จริงแล้วอ่านไม่เข้าใจเอง เพราะมีธงอยู่ในใจแล้วต่างหาก จึงไม่ยอมรับเหตุผลใช่มั้ย?

คุณก็ควรเอาที่คิดว่าไม่ยุ่งเหยิงมาเทียบเคียงสิ อย่าใช้วิธีนี้มันไม่งานนักหรอก

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
หลับอยุ่ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
จิต เป็นสังขตธาตุ หรือ อสังขตธาตุ


คุณหลับอยู่ ตื่นซะแล้วลองอ่านที่ผมเขียนไปสักหลายเที่ยว และเทียบเคียงกับพระพุทธพจน์แล้วจะเข้าใจเอง
ผมยังไม่ตื่นหรอกครับ ในนี้ก้ยังไม่มีคนตื่น :b1:
หรือถ้ายังไม่เข้าใจเพราะเหตุอะไรก็ตามแต่ ช่วยบอกที่ตัวเองเข้าใจมาด้วยก็จะดี
cool
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมก็ดี(โลกียจิตสามัญสัตว์โลก) อสังขตธรรมก็ดี(ธาตุรู้หรือจิต) มีประมาณเท่าใด

วิราคะ(โลกุตรจิตที่พ้นโลกหรือจิตที่ได้รับความบริสุทธิ์) คือ ธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา นำเสียซึ่งความกระหาย ถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย

ตัดซึ่งวัฏฏะ สิ้นไปแห่งตัณหา สิ้นกำหนัด ดับ นิพพาน

บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น

:b39:

อสังขตธรรมก็ดี(ธาตุรู้หรือจิต) :b10: ช่วยอธิบายโดยละเอียดได้ไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมไม่ได้คิดเองเออเองนะครับ

มีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ชัดเจนแล้ว โลกุตรจิตชั้นพระโสดาบันนั้น เป็นผู้เที่ยง และตรงต่อพระนิพพานแล้วใช่มั้ย?

ส่วนโลกียจิตหรือจิตสังขารนั้น ไม่เที่ยงแท้แน่นอนแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาใช่มั้ย?

เรื่องวิญญาณนั้น ไปศึกษาให้ดีๆ ระหว่างวิญญาณขันธ์กับวิญญาณธาตุ คนละเรื่องกันเลย

ในพระสูตรก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า พระสาติเข้าใจผิดคิดไปเองว่า จิตกับวิญญาณขันธ์เป็นสิ่งเดียวกัน

ถ้าจิตกับวิญญาณเป็นสิ่งเดียวกัน เราคงต้องได้อ่านเจอมาบ้างหละว่า มีคำว่าโลกุตรวิญญาณ

แต่เท่าที่พบเจอนั้นมีแต่ การปฏิเสธขันธ์๕ว่า นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เมื่อมีที่ไม่ใช่ แล้วที่ใช่หละ จะไม่ให้มีเลยหรือ ถ้าอะไรๆ ไม่มีอยู่จริง ก็แสดงว่าโกหกกันสิ


เมื่อโลกุตตรกุศลจิต(มัคคจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์)เกิดขึ้นและดับไปแล้วโลกุตตรวิบากจิต(ผลจิต)ก็เกิดสืบต่อทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น ท่านว่าพระโสดาบันเป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะบรรลุพระอรหัตตผล ไม่เกี่ยวกับจิตเที่ยง ไม่เที่ยงครับ

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ พึงเบื่อหน่าย คลายกำหนัดและพ้นไปในกาย อันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ได้. เพราะเหตุไร ? เพราะความก่อขึ้น ความสลายตัว การรวมตัว การแยกตัว ของกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ อันบุคคลเห็นได้. เพราะเหตุนั้น บุถุชนผู้มิได้สดับจึงพึงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและพ้นไปในกายนั้นได้."

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง ใจ (มโน) บ้าง วิญญาณบ้าง อันใด,๓ บุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ (สามารถ) พอที่จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และพ้นไปในธรรมชาตินั้นได้ เพราะเหตุไร ? เพราะธรรมชาตินัน อันบุถุชนผู้มิได้สดับ ฝังใจ ยึดถือ ลูบคลำ (ด้วยใจ) มานานแล้วว่า "นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา." เพราะเหตุนั้น บุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่ (สามารถ) พอที่จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด และพ้นไปได้ในธรรมชาตินั้น."

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ พึงถือกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ว่า เป็นตนดีกว่า. การถือว่า จิตเป็นตนไม่ดีเลย. เพราะเหตุไร ? เพราะกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุ ๔ นี้ ที่ตั้งอยู่ ๑ ปี, ๒ ปี, ๓ ปี, ๔ ปี, ๑๐ ปี, ๒๐ ปี, ๓๐ ปี, ๔๐ ปี, ๕๐ ปี, ๑๐๐ ปี แม้ตั้งอยู่เกิน ๑๐๐ ปี ก็ยังเห็นได้. แต่ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง ใจบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ในกลางคืนกับกลางวัน ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งก็ดับไป."

สังยุตตนิกาย นิทานวัคค์ ๑๖/๑๑๔


[๑๔๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปมีอายุครบ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้
อุปสมบท. ต่อมาท่านได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า บุคคลมีอายุหย่อน
๒๐ ปี ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ ก็เรามีอายุครบ ๒๐ ทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้อุปสมบท จะเป็นอัน
อุปสมบทหรือไม่หนอ. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค
ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตดวงแรกใดเกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณ
ดวงแรกปรากฏแล้ว อาศัยจิตดวงแรก วิญญาณดวงแรกนั้นนั่นแหละเป็นความเกิดของสัตว์นั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรมีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑

ใน ปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค กล่าวว่า
"ยํ จิตฺตํ มโน มานสํ หทยํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทริยํ วิญญาณํ วิญญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโน วิญญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ "
คำว่า จิต มโน มนัส หทัย ปัญฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เป็นศัพท์เดียวกันกับจิตทั้งนั้น

หากผิดพลาดประการใดได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตปรมัตถ์

ลักษณะของจิต
จิตมีความหมายเข้าใจสับสนกันอยู่ ปุถุชนส่วนมากเข้าใจว่าเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง
สิงสถิตย์อยู่ในร่างกายของคนและสัตว์ คืออยู่ที่หัวใจ
หรือบางท่านก็ว่าอยู่ที่มันสมอง ไม่เกิดไม่ดับคงสภาพอยู่ ดังนั้นเป็นนิตย์นิรันดร
เมื่อเกิดขึ้นครั้งแรกนั้นบริสุทธิ์ผุดผ่องประภัสสร ไม่มีมลทินมัวหมอง
ต่อ ๆ มาจึงมีกิเลสตัณหา เข้าครอบงำเป็นเหตุให้เศร้าหมองหมกหมุนอยู่ในโลภโกรธหลง
ทำให้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสาร (ผู้ที่ยังต้องเกิดอีก)
เที่ยวล่องลอยไปเพื่อหาโอกาสที่จะเกิดหรือปฏิสนธิใหม่
เหมือนดังบุคคลที่สละทิ้งบ้านเก่าท่องเที่ยวไปหาบ้านใหม่อยู่ฉะนั้น
นี้เป็นความเข้าใจของปุถุชนเป็นส่วนมาก
ซึ่งเป็นความเข้าใจห่างไกลจากความแท้จริงของสภาวธรรมที่เรียกว่าจิต

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า จิตเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง
ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปธรรม คือไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ด้วยตา
หรือสัมผัสถูกต้องได้ด้วยกาย จึงเป็นเรื่องที่ปุถุชนเข้าใจได้ยากอยู่เอง
เพราะไม่มีลักษณะที่จะหยิบยกจับถูกต้องมองเห็นได้
แต่ถึงกระนั้นก็ดี ก็ยังมีลักษณะที่จะ รู้จักจิตได้ในทางอาการที่แสดงออก
เช่นเมื่อตาสัมผัสกับรูป จิตก็รู้คือเห็นและรู้ว่าสวยงามดีไม่ดีเหล่านี้
และเป็นอาการของจิต จิตมีคุณลักษณะ รู้ซึ่งอารมณ์ที่มากระทบ
"อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ" รู้ในเมื่อขณะกระทบอารมณ์ คือ รูปารมณ์ (รูป)
กระทบจักขุปสาท รู้ "เห็น" สัททารมณ์ (เสียง) กระทบโสตปสาท รู้ "ได้ยิน"
คันธารมณ์ (กลิ่น) กระทบฆานปสาท รู้ "กลิ่น"
รสารมณ์ (รส) กระทบชิวหาปสาท รู้ "รส"
โผฏฐัพพารมณ์ (สัมผัสถูกต้อง) กระทบกายปสาท รู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
ธรรมารมณ์ (เรื่องราว) กระทบใจ รู้ "คิดนึก"
ธรรมชาติที่รู้หรือธาตุรู้นี้แหละเรียกว่า จิต


จิตมีปรมัตถสภาวะเช่นเดียวกับสภาวธรรมอีก 3 อย่าง
(เจตสิก รูป นิพพาน) คือเป็นธรรมชาติที่แท้จริง ไม่ใช่สิ่งสมมุติบัญญัติขึ้น
การรู้ธรรมชาติของจิตที่ถูกต้องแน่นอนได้
ก็ด้วยพระสัพพัญญุตญาณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
ฉะนั้นการที่เข้าใจเรื่องของจิตได้ถูกต้อง จึงจำต้องอาศัยการศึกษาจากคำสอน
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเรียกว่า พระอภิธรรมปิฎก
แต่พระอภิธรรมปิฎกนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้งสุขุม
ต้องมีความเพียรจึงจะทำความเข้าใจได้พอประมาณตามอุปนิสัย
อย่างไรก็ดี นับว่าเป็นโชคลาภอย่างประเสริฐที่ท่านพระอนุรุทธาจารย์ปรารถนาจะ
อนุเคราะห์ให้ปวงชนทั้งหลายได้ศึกษาวิชานี้ง่ายขึ้น
ท่านจึงได้เก็บความสำคัญในพระอภิธรรมปิฏกมาย่อ
แล้วรวบรวมและเรียบร้อยให้ง่ายขึ้น เรียกว่า อภิธรรมมัตถสังคหะ
ซึ่งนักศึกษาพระอภิธรรมได้ใ้เป็นคู่มืออยู่ในปัจจุบันนี้


สภาวะของจิต
สภาวะของจิต มีดังต่อไปนี้คือ :-

๑.มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ คือรู้ขณะที่อารมณ์กระทบ
ต้องมีอารมณ์มากระทบ จึงจะเกิดการรู้ขึ้น
ถ้าไม่มีอารมณ์กระทบแล้วจิตจะเกิดขึ้นเองหาได้ไม่ เช่น
เมื่อรูปกระทบกับจักขุปสาท จึงเกิดการเห็นคือ รู้ขึ้น เรียกว่าจุกขุวิญญาณ
เสียงกระทบกับโสตปสาทก็เกิดการได้ยินคือ รู้ ขึ้น รียกว่า โสตวิญญาณ ฯลฯ
การรู้นี้เรียกว่าเป็น ลักษณะ ของจิต

๒.มีการเป็นหัวหน้าและเป็นประธานในธรรมทั้งปวง
หมายความว่าในสัมปยุตตธรรม(ธรรมที่เข้าประกอบอันได้แก่เจตสิก) ทั้งหลาย
ต้องมีจิตเป็นหัวหน้าและเป็นประธาน(มโน ปุพฺพงฺคมาธมฺมา)
สัมปยุตตธรรมเกิดไม่ได้ถ้าจิตไม่เกิด เช่น ขณะเมื่ิอหลับสนิทอยู่ไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง
จิตมนขณะนั้นคือ การได้ยินอันเป็นอารมณ์ปัจจุบันมิได้เกิดขึ้น
สัมปยุตตธรรม เช่น เวทนาความเสวยอารมณ์ชอบและไม่ชอบ (เวทนาเจตสิก)
สัญญาความจำเสียง(สัญญาเจตสิก) ฯลฯ ก็มิได้เกิดขึ้น เป็นต้น
. นอกจากนั้นแล้วยังทำให้จิตดวงหนึ่งต่อดวงหนึ่งเกิดขึ้นติดต่อกัน
หมายความว่า เมื่อจิตดวงแรกเกิดขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยอุดหนุนใ้ห้จิตดวงหลังๆ
เกิดขึ้นสืบต่อกันไปโดยไม่ว่าง คือจิตเกิดดับ เกิดดับ ติดต่ิอเรื่อยไปเ็ป็นสาย
ตามที่ได้กล่าวนี้เรียกว่าเป็น กิจ ของจิต



๓.มีการเห็นหรือได้ยินเป็นต้น เป็นความปรากฏหรือเป็นผลของจิต
หมายความว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นหรือเมื่อจิตขึ้นรับอารมณ์ก่ารเห็นหรือการได้ยินนั้น
ก็เป็นผลปรากฏแก่จิต เช่น เมื่อรูปารมณ์กระทบกับจักขุปสาทก็เกิดจักขุวิญญาณคือการเห็น
หรือสัททารมณ์(เสียง) กระทบโสตปสาทก็เกิดโสตวิญญาณคือการได้ยิน
การเห็นหรือการได้ยินนี้เรียกว่า็เป็น ความปรากฏหรือผลของจิต


๔.มีนามและรูปเป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น
หมายความว่าจิตจะเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยนามและรูปเป็นเหตุใ้ห้เกิด
จิตจะเกิดขึ้นโดยลำพังไม่อาศัยนามและรูปนั้นไม่ได้
เช่นเมื่อรูปคือรูปารมณ์ไม่มีแล้ว จิตจะเกิดขึ้นเห็นรูปหรือรูปารมณ์ไม่ได้
เมื่อเสียงคือสัททารมณ์ไม่มี จิตจะเกิดขึ้นได้ยินเสียงหรือสัททารมณ์ย่อมไม่ได้
ดังผู้ตาบอดหรือหูหนวกมาแต่กำเนิด ย่อมแลเห็นสิ่งใดๆ ไม่ได้ หรือได้ยินเสียงใดๆไม่ได้
จิตที่รู้ในการเห็นรูปคือจักขุวิญญาณ หรือจิตที่รู้ในการได้ยินคือ โสตวิญญาณ
ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นได้ เป็นต้น
นามคือเจตสิกต้องเข้าประกอบจิต นี้เรียกว่ามีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด


ความวิจิตรของจิต

ความวิจิตรหรือธรรมชาติที่ทำให้เป็นไปของจิต คือ :-
๑.กระทำให้วิจิตต่าง ๆ สิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งหมดที่วิจิตรพิสดารนั้น
ก็เพราะอำนาจแห่งจิตเป็นผู้ทำให้วิจิตร เช่น สรรพวัตถุที่เกิดขึ้น มีเครื่องยนต์กลไก
ประดิษฐกรรม ศิลปลวดลาย วิจิตรกรรมต่่าง ๆ ล้วนแต่เกิดด้วยจิตทั้งสิ้น
สัตว์ทั้งหลายที่กำเนิดขึ้นวิจิตร ก็เพราะการกระทำทาง กาย วาจา ใจ วิจิตร
การกระทำวิจิตรก็เพราะตัณหาความพอใจวิจิตร ตัณหาความพอใจวิจิตรก็เพราะความจำวิจิตร
และสัญญาความจำวิจิตร ก็เพราะจิตวิจิตร

๒.วิจิตรด้วยตนเอง หมายถึงจิตเป็นไปได้ต่าง ๆ เช่นจิตเป็นบุญเป็นกุศล
เป็นบาปเป็นอกุศลได้ เป็นวิบากคือผลของบุญของบาป
ทำให้สัตว์โลกทั้งหลายต่างกันด้วยกรรม ต่างกันด้วยเพศ ต่างกันด้วยสัญญาและคติก็ได้ เป็นต้น
(ต่างกันด้วยกรรมคือ วิจิตรในกุศลกรรมทาง กาย วาจา ใจ ในทาน ศีล ภาวนา
และในอกุศลกรรมถึงวิหิงสา มายาสาไถ เป็นต้น สภาวะต่างกันแห่งกรรม
เป็นอุปนิสัยปัจจัยให้เกิดต่างกันแห่งลิงค์ คือสัณฐานมีมือเท้าเป็นอาทิ
เกิดสำคัญในจิตว่าเป็นหญิงเป็นชาย อันควรแก่ชื่อตามโลกียะกำหนด
อันเป็นต่างกันโดยสัญญาจึงมีโวหารเรียกว่าชาย หญิง
ส่วนคตินั้นคือ เปตคติ ติรัจฉานคติ นิริยคติ มนุษยคติ และเทวตาคติ )

๓.สั่งสมกรรมและกิเลส หมายความว่า กรรมคือการงานที่บังเกิดด้วยเจตนา (เจตนาเจตสิก)
ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใด แม้แต่เพียงอารมณ์หนึ่งมากระทบจิตเกิดรู้ขึ้น
เช่น เมื่อตาห็นรูป เจตนาเจตสิกเกิด แลกรรมคือการงานบังเกิดขึ้น
จิตก็ย่อมเก็บเอาการงานนั้นประทับเข้าไว้ จึงเป็นอันว่าไม่ว่าการกระทำคือ
กุศล หรือ อกุศลกรรมใดๆ จะมากเล็กน้อยประการใดก็ตามย่อม จะเก็บประทับไว้ในจิตทั้งสิ้น
ในทำนองนี้สรรพกุศลกรรมคือทาน ศีล ภาวนา หรืออกุศลกรรมคือกิเลส เช่น
โลภะ โทสะ และโมหะ ที่เกิดขึ้นมากมายก็ย่อมถูกประทับสั่งสมไว้ที่จิต


๔.รักษาไว้ซึ่งวิบากของกรรมและกิเลสที่สั่งสมไว้
หมายความว่ากรรมและกิเลสที่สั่งสมไว้ในจิตนั้นไม่สูญหายไป จิตคงรักษาวิบากของกรรม
และกิเลสนั้นไว้ให้นอนเนืองอยู่ในสันดาน เมื่อถึงคราวใดที่มีโอกาส
วิบากก็จะเกิดขึ้นแสดงไปตามอำนาจของกรรมนั้นๆ วิบากคล้ายกับพลังงาน
คอยหาโอกาสแสดงออกอยู่เสมอ เมื่อได้ช่องก็จะแสดงออกในทันที
ดังนี้แหละบุคคลจึงได้รับวิบากผลในปัจจุบันภพต่างๆ นานา

๕.สั่งสมสันดานตนเอง หมายความว่า จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับลง
เป็นปัจจัยอุดหนุนให้จิตอีกดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับ และอีกดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับ
ติดต่อกันไปไม่ขาดสาย คือ เกิดดับเกิดดับ เป็นสันตติต่อเนื่องสืบกัน
ลงภวังค์แล้วก็เกิดขึ้นใหม่อีกดับไปเสมอเป็นนิตยกาล
ไม่ใช่แต่เพียงการเกิดดับสืบเนื่องกันเท่านั้น ยังส่งมอบรับช่วงบรรดากรรม
และกิเลสที่จิตได้รับและเก็บสั่งสมไว้แล้วนั้นต่อไปอีกด้วย


๖.มีการวิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายความว่า จิตนี้ย่อมรู้อารมณ์ต่างๆ
ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะเกิดกระทบในทางทวารใด จิตเป็นสามารถไปรับรู้รับเห็นได้ทั้งสิ้น
เช่น รูปกระทบจักขุทวาร จิตก็แล่นไปรู้คือ เห็น
ครั้นเสียงกระทบโสตทวาร จิตก็แล่นไปรู้คือ ได้ยิน
เมื่อกายถูกต้องปถวีของแข็ง จิตก็แล่นไปรู้การกระทบนั้น
อย่างนี้แหละจึงเรียกว่า จิตนั้นวิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ
ความวิจิตรทั้งหลายต้องมีจิตเป็นประธาน ตัณหาความปรารถนาพอใจ
ทำให้บังเกิดความวิจิตร กรรมคือการงานที่กระทำขึ้น ก็ประณีตวิจิตรไปตาม
ความเรียกร้องของตัณหา และโยนิคือการปฏิสนธิเป็นวิบากกำหนดให้สัตว์กำเนิดในภพภูมิต่างๆ
มีวิจิตรเป็นไปสมคล้อยตามเจตนารมณ์ของกรรมที่กระทำ
อันเนื่องมาแต่ตัณหาซึ่งมีจิตเป็นประธาน

:พระอภิธรรมสังเขปและธรรมบางประการที่น่าสนใจ ;พระนิติเกษตรสุนทร;๒๕๐๕


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 226 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร