วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 198 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสถึง สัทธรรมปฏิรูป


จาก สัทธรรมปฏิรูปกสูตร


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 846&Z=5888


[๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑
ในพระธรรม ๑
ในพระสงฆ์ ๑
ในสิกขา ๑
ในสมาธิ๑

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อ
ความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

[๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม

เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑
ในพระธรรม ๑
ในพระสงฆ์ ๑
ในสิกขา ๑
ในสมาธิ ๑

เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน
ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 18 มิ.ย. 2010, 07:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


อ้างคำพูด:

สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษ

มี

สัทธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ ได้แก่ไตรสิกขา
๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน;


สัทธรรม ๗ คือ
๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุสัจจะ ๕. วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา


ปฏิรูป สมควร, เหมาะสม, ปรับปรุงให้สมควร;
ถ้าอยู่ท้ายในคำสมาสแปลว่า “เทียม” “ปลอม” “ไม่แท้”
เช่น สัทธรรมปฏิรูป แปลว่า “สัทธรรมเทียม” หรือ “ธรรมปลอม”

สัทธรรมปฏิรูป สัทธรรมปลอม, สัทธรรมเทียม




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๘๔๖ - ๕๘๘๘. หน้าที่ ๒๔๖ - ๒๔๗.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=531


อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค กัสสปสังยุตต์
สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

อรรถกถาปรัมมรณสูตรที่ ๑๒
พึงทราบวินิจฉัยในสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓ ดังต่อไปนี้.
บทว่า อญฺญาย สณฺฐหึสุ ภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผล.
บทว่า สทฺธมฺมปฏิรูปกํ ได้แก่ สัทธรรมปฏิรูป ๒ คือ สัทธรรมปฏิรูปคืออธิคม ๑ สัทธรรมปฏิรูปคือปริยัติ ๑.
ในสัทธรรมปฏิรูปกะนั้น
ฐานะ ๑๐ เหล่านี้ คือจิตย่อมหวั่นไหวด้วยฐานะ
เหล่าใด คือหวั่นไหวในโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ
สุข และหวั่นไหวในอธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ
อุเบกขาอาวัชชนะ อุเบกขานิกันติ ปัญญาอันผู้ใด
อบรมแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาดในความฟุ้งซ่านใน
ธรรม จะไม่ถึงความลุ่มหลง ดังนี้.
นี้ชื่อว่าอธิคม คือสัทธรรมปฏิรูปกะ อันเป็นอุปกิเลสแห่งวิปัสสนาญาณ.
ส่วนคำมิใช่พระพุทธพจน์มีคุฬหวินัย คุฬหเวสสันดร คุฬหมโหสถ วัณณปิฎก อังคุลิมาลปิฎก พระรัฐบาลคัชชิตะ ความกระหึ่มของอาฬวกคัชชิตะ เวทัลลปิฏกเป็นต้น นอกจากกถาวัตถุ ๔ เหล่านี้ คือ ธาตุกถา อารัมมณกถา อสุภกถา ญาณวัตถุกถา วิชชากรัณฑกะ ซึ่งยังไม่ยกขึ้นสู่สังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง ชื่อว่าสัทธรรมปฏิรูป คือปริยัติ.
บทว่า ชาตรูปปฏิรูปกํ ความว่า ทองคำทำด้วยทองเหลืองอันนายช่างทองเจียระไนออกเป็นเครื่องประดับ. ก็ในเวลามีมหรสพ คนทั้งหลายไปร้านค้า ด้วยคิดว่า เราจักรับเครื่องอาภรณ์ ดังนี้. ครั้งนั้น พ่อค้าพูดกับพวกเขาอย่างนี้ว่า ถ้าท่านต้องการอาภรณ์เชิญรับอาภรณ์เหล่านี้. เพราะอาภรณ์เหล่านี้หนา สีงาม ราคาก็ถูกด้วย. คนเหล่านั้นฟังพ่อค้าเหล่านั้น รับเอาอาภรณ์เหล่านั้นไปด้วยคิดว่า พ่อค้าเหล่านี้บอกเหตุว่า ท่านใช้อาภรณ์เหล่านี้เล่นนักษัตรได้ งามก็งาม ทั้งราคาก็ถูก ดังนี้. ทองคำธรรมชาติ เขาไม่ขาย ฝังเก็บเอาไว้. เมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่าหายไปอย่างนี้.
บทว่า อถ สทฺธมฺมสฺส อนฺตรธานํ โหติ ได้แก่ สัทธรรมแม้ ๓ อย่างคือ อธิคมสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม ปริยัติสัทธรรม ย่อมอันตรธาน.
ก็ครั้งปฐมโพธิกาล พวกภิกษุได้เป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทา. ครั้นเมื่อกาลล่วงไป ถึงปฏิสัมภิทาไม่ได้ แต่ก็ได้อภิญญา ๖ ต่อมาเมื่อถึงอภิญญา ๖ ไม่ได้ ก็ถึงวิชชา ๓. เมื่อล่วงมาบัดนี้ เมื่อถึงวิชชา ๓ ไม่ได้ จักถึงซึ่งเพียงความสิ้นไปแห่งอาสวะ เมื่อถึงแม้ความสิ้นอาสวะไม่ได้ ก็จักบรรลุอนาคามิผล เมื่อบรรลุแม้อนาคามิผลนั้นไม่ได้ ก็จักบรรลุสกทาคามิผล เมื่อแม้บรรลุสกทาคามิผลนั้นไม่ได้ ก็จักบรรลุแม้โสดาปัตติผล. เมื่อเวลาผ่านไป จักบรรลุแม้โสดาปัตติผลก็ไม่ได้.
ครั้งนั้นในกาลใด วิปัสสนาจักเริ่มเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ ในกาลนั้น อธิคมสัทธรรมของพวกภิกษุเหล่านั้น จักชื่อว่าเสื่อมหายไป.
ครั้งปฐมโพธิกาล พวกภิกษุยังการปฏิบัติอันสมควรแก่ปฏิสัมภิทา ๔ ให้บริบูรณ์ เมื่อกาลล่วงไป เมื่อปฏิบัติข้อนั้นไม่ได้ ก็ปฏิบัติอันสมควรแก่อภิญญา ๖ ได้บริบูรณ์ เมื่อปฏิบัติข้อนั้นแม้ไม่ได้ก็ปฏิบัติอันสมควรแก่วิชชา ๓ ได้บริบูรณ์ เมื่อปฏิบัติข้อนั้นไม่ได้ก็ปฏิบัติอันสมควรแก่พระอรหัตผลได้บริบูรณ์ เมื่อกาลล่วงไป เมื่อปฏิบัติอันสมควรแก่พระอรหัตไม่ได้บริบูรณ์ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่พระอนาคามิผลได้บริบูรณ์ ปฏิบัติแม้ข้อนั้นไม่ได้ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่พระสกทาคามิผลได้บริบูรณ์ เมื่อปฏิบัติแม้ข้อนั้นไม่ได้ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่โสดาปัตติผลได้บริบูรณ์.
ส่วนในกาลใด เมื่อปฏิบัติอันสมควรแม้แก่พระโสดาปัตติผลไม่ได้บริบูรณ์ ก็จักตั้งอยู่เพียงศีลอันบริสุทธิ์. ในกาลนั้น ปฏิบัติสัทธรรมจักชื่อว่าเสื่อมหายไป.
จะกล่าวว่า ศาสนาไม่อันตรธานตลอดเวลาที่พระไตรปิฏกพุทธพจน์ยังเป็นไปอยู่ ดังนี้ก็ควร. อีกอย่างหนึ่ง ๓ ปิฏกยังดำรงอยู่ เมื่ออภิธรรมปิฏกเสื่อมหายไป ปิฏก ๒ นอกนี้ก็ยังเป็นไปอยู่ ไม่ควรกล่าวว่า ศาสนาอันตรธานแล้วดังนี้.
เมื่อปิฏก ๒ เสื่อมหายไป ก็ยังดำรงอยู่เพียงวินัยปิฏก แม้ในวินัยปิฏกนั้นเมื่อขันธกบริวารเสื่อมหายไป ก็ยังดำรงอยู่เพียงอุภโตวิภังค์ เมื่อมหาวินัยเสื่อมหายไป เมื่อปาติโมกข์สองยังเป็นไปอยู่ ศาสนาอันตรธานก็หามิได้แล. แต่เมื่อใดปาติโมกข์สองจักเสื่อมหายไป เมื่อนั้นปริยัติสัทธรรมจักอันตรธาน. เมื่อปริยัติสัทธรรมนั้นเสื่อมหายไป ศาสนาชื่อว่าอันตรธานแล้ว. ด้วยว่าเมื่อปริยัติเสื่อมหายไป การปฏิบัติก็เสื่อมหายไป เมื่อการปฏิบัติเสื่อมหายไป อธิคมก็เสื่อมหายไป.
ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า ปริยัตินี้เป็นปัจจัยแก่การปฏิบัติ การปฏิบัติเป็นปัจจัยแก่อธิคม. แต่เมื่อว่าโดยการปฏิบัติกำหนดปริยัติเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ในสมัยกัสสปสัมมาสัมพุทธะ อนาจารภิกษุ๑- ชื่อกบิล จับพัดนั่งบนอาสนะด้วยคิดว่า เราจักสวดปาติโมกข์ดังนี้ จึงถามว่า ในที่นี้ผู้สวดปาติโมกข์ได้มีอยู่หรือ.
____________________________
๑- ม. อนาราธกภิกฺขุ = ภิกษุผู้มิได้รับอาราธนา.

ครั้งนั้น ภิกษุแม้เหล่าใดสวดปาฏิโมกข์ได้ก็จริง ถึงกระนั้นภิกษุเหล่านั้นก็ไม่พูดว่า พวกเราสวดได้ แต่พูดว่า พวกเราสวดไม่ได้ ดังนี้ เพราะกลัวแต่ภิกษุนั้น เธอวางพัดลุกจากอาสนะไปแล้ว.
ถามว่า ในกาลนั้น ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธะเสื่อมแล้วมิใช่หรือ.
ตอบว่า เสื่อมแม้ก็จริง ถึงกระนั้นก็กำหนดปริยัติโดยส่วนเดียว. เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีขอบมั่งคั่ง ไม่พึงกล่าวว่าน้ำจักไม่ขังอยู่ดังนี้ เมื่อมีน้ำ ไม่พึงกล่าวว่า ดอกไม้มีดอกปทุมเป็นต้นจักไม่บาน ดังนี้ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อมีพระไตรปิฎกคือพุทธพจน์ เป็นเช่นขอบอันมั่นคงของสระน้ำใหญ่ ไม่พึงกล่าวว่าไม่มี กุลบุตรยังปฏิบัติให้บริบูรณ์ได้ เป็นเช่นน้ำในสระน้ำใหญ่ ดังนี้. แต่กำหนดถึงปริยัติ โดยส่วนเดียวอย่างนี้ว่า เมื่อกุลบุตรเหล่านั้นมีอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า พระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น ไม่มี เหมือนดอกไม้มีดอกปทุมเป็นต้นในสระน้ำใหญ่ ไม่มีฉะนั้น.
บทว่า ปฐวีธาตุ ได้แก่ มหาปฐพีหนาได้สองแสนสี่หมื่นนหุต.
บทว่า อาโปธาตุ ได้แก่ น้ำอันยังกัปให้พินาศ เริ่มต้นแต่แผ่นดินท่วมสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นสุภกิณหา.
บทว่า เตโชธาตุ ได้แก่ ไฟอันยังกัปให้พินาศ เริ่มแต่แผ่นดินไหม้ขึ้นไปจนถึงพรหมโลกช้นอาภัสสรา.
บทว่า วาโยธาตุ ได้แก่ ลมอันยังกัปให้พินาศ เริ่มต้นแต่แผ่นดินพัดขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นเวหัปผลา ในธรรมมีปฐวีธาตุเป็นต้นเหล่านั้น แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะยังสัตถุศาสน์ให้อันตรธานได้ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า อิเธว เต อุปฺปชฺชนฺติ โมฆบุรุษเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในศาสนาของเรานี้นี่แหละ เหมือนสนิมเกิดแต่เหล็ก กัดกร่อนเหล็กฉะนั้น.
บทว่า โมฆปุริสา คือ บุรุษเปล่า.
ในบทว่า อาทิเกเนว โอปิลาวติ ได้แก่ ด้วยต้นหน คือด้วยการถือ ได้แก่จับ.
บทว่า โอปิลาวติ คือ อับปาง.
มีอธิบายว่า เรืออยู่ในน้ำ บรรทุกสิ่งของย่อมอับปางฉันใด พระสัทธรรมย่อมไม่อันตรธานไป เพราะเต็มด้วยปริยัติเป็นต้นฉันนั้น. เพราะเมื่อปริยัติเสื่อม ปฏิบัติก็เสื่อม. เมื่อปฏิบัติเสื่อม อธิคมก็เสื่อม เมื่อปฏิบัติยังบริบูรณ์อยู่ บุคคลผู้ทรงปริยัติก็ยังปฏิบัติให้บริบูรณ์ได้ ผู้ปฏิบัติให้บริบูรณ์ได้ก็ยังอธิคม (ปฏิเวธ) ให้บริบูรณ์ได้. ท่านแสดงว่า เมื่อปริยัติเป็นต้นเจริญอยู่ ศาสนาของเรายังเจริญ เหมือนดวงจันทร์ส่องแสงอยู่ฉะนั้น.
บัดนี้ เมื่อทรงแสดงธรรมเป็นเหตุอันตรธาน และความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ปญฺจ โข ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกมนียา ความว่า ความก้าวลง คือเหตุฝ่ายต่ำ.
บทว่า อคารวา ในบทว่า สตฺถริ อคารวา เป็นต้น ได้แก่ เว้นความเคารพ.
บทว่า อปฺปติสฺสา ได้แก่ ความไม่ยำเกรง คือไม่ประพฤติถ่อมตน.
ในความไม่เคารพนั้น ภิกษุใดขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ กั้นร่ม สวมรองเท้า แลดูแต่ที่อื่น เดินคุยกันไป. ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระศาสดา.
ภิกษุใด เมื่อเขาประกาศเวลาฟังธรรม อันภิกษุหนุ่มและสามเณรนั่งห้อมล้อม หรือกำลังทำนวกรรมเป็นต้นอย่างอื่น นั่งหลับในโรงฟังธรรม หรือเป็นผู้ฟุ้งซ่าน นั่งคุยเรื่องอื่น ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระธรรม.
ส่วนภิกษุใดไปสู่ที่บำรุงของพระเถระ นั่งไม่ไหว้ เอามือรัดเข่า ทำการบิดผ้า ก็หรือคะนองมือและเท้าอย่างอื่น มิได้รับการกล่าวเชื้อเชิญในสำนักของพระเถระผู้แก่ ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระสงฆ์.
ส่วนผู้ไม่ยังสิกขา ๓ ให้บริบูรณ์ เป็นผู้ชื่อว่าไม่มีความเคารพในสิกขา. ผู้ไม่ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด หรือไม่ทำความเพียร เพื่อความเกิดสมาบัติเหล่านั้น ชื่อว่าไม่มีความเคารพในสมาธิ
.
ธรรมฝ่ายขาว พึงทราบโดยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓
จบอรรถกถากัสสปสังยุตที่ ๔

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


[๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อ
ความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม


--------------------------------------------------

คุณตรงประเด็นครับ ในทางกลับกันล่ะครับ

ผู้ที่ ศึกษาพระธรรม, สิกขา (ศีล,สมาธิ, วิปัสสนาปัญญา) ไม่ดีพอ

มุ่งเน้นการทำสมาธิ โดยเข้าใจผิดว่า ตนเองกำลังทำวิปัสสนา

ได้รูปฌาน แล้วเข้าใจผิดว่าว่า ได้ วิปัสสนาญาณ

แบบนี้ ก็เป็นการสัทธรรมปฏิรูปได้

เหมือนที่ คุณตรงประเด็นพยายามชี้ว่า การจะเจริญวิปัสสนาได้ ต้องอาศัยสมาธิระดับฌาน เท่านั้น

นั้นคือการสัทธรรมปฏิรูปอย่างหนึ่ง

คุณตรงประเด็น เคยชี้แนะประเด็นเหล่านี้ไหมครับ มีแต่จะให้นั่งหลับตาทำสมาธิอย่างเดียว

--------------------------------------------


21062.เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ
viewtopic.php?f=2&t=21062



21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=21049

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



[๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ
ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ
ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่ง
เบื้องต้นเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ
จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด
จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑
จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑
ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ฯ


Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๓๐๔ - ๔๓๑๖. หน้าที่ ๑๗๖.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0
:b42: :b42: :b42:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 07 มิ.ย. 2010, 07:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="chalermsak"]

--------------------------------------------------

คุณตรงประเด็นครับ ในทางกลับกันล่ะครับ

ผู้ที่ ศึกษาพระธรรม, สิกขา (ศีล,สมาธิ, วิปัสสนาปัญญา) ไม่ดีพอ

มุ่งเน้นการทำสมาธิ โดยเข้าใจผิดว่า ตนเองกำลังทำวิปัสสนา

ได้รูปฌาน แล้วเข้าใจผิดว่าว่า ได้ วิปัสสนาญาณ

แบบนี้ ก็เป็นการสัทธรรมปฏิรูปได้

เหมือนที่ คุณตรงประเด็นพยายามชี้ว่า การจะเจริญวิปัสสนาได้ ต้องอาศัยสมาธิระดับฌาน เท่านั้น

นั้นคือการสัทธรรมปฏิรูปอย่างหนึ่ง

คุณตรงประเด็น เคยชี้แนะประเด็นเหล่านี้ไหมครับ มีแต่จะให้นั่งหลับตาทำสมาธิอย่างเดียว

--------------------------------------------




แสดงว่า คุณ เฉลิมศักดิ์ ได้วิปัสสนาญาณแล้ว
และรู้ได้ว่า ใครได้รูปฌาณ
แล้ว ๆลๆ
:b6: :b9:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 07 มิ.ย. 2010, 07:29, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
คุณตรงประเด็นครับ ในทางกลับกันล่ะครับ

ผู้ที่ ศึกษาพระธรรม, สิกขา (ศีล,สมาธิ, วิปัสสนาปัญญา) ไม่ดีพอ

มุ่งเน้นการทำสมาธิ โดยเข้าใจผิดว่า ตนเองกำลังทำวิปัสสนา

ได้รูปฌาน แล้วเข้าใจผิดว่าว่า ได้ วิปัสสนาญาณ

แบบนี้ ก็เป็นการสัทธรรมปฏิรูปได้

เหมือนที่ คุณตรงประเด็นพยายามชี้ว่า การจะเจริญวิปัสสนาได้ ต้องอาศัยสมาธิระดับฌาน เท่านั้น

นั้นคือการสัทธรรมปฏิรูปอย่างหนึ่ง

คุณตรงประเด็น เคยชี้แนะประเด็นเหล่านี้ไหมครับ มีแต่จะให้นั่งหลับตาทำสมาธิอย่างเดียว


นี่เป็นความโง่เขลาเบาปัญญาของเหลิม

และเป็นสัทธรรมปฏิรูปคือก่อให้เกิดอวิชชา

หมายถึงไม่เข้าใจ ฌาน และ ญาน

เป็นแต่ลิงค์ และยกพระสูตรพระอภิธรรมมาแปะ

ไม่มีปัญญาเป็นของตนเอง ดักดาน

ใครสั่งใครสอนมาว่าทำสมาธิคือการนั่งหลับตาอย่างเดียว

เรียกว่าพอแสดงความคิดออกมาก็แสดงถึงความโง่

ผมจะค่อยๆสีซอให้เหลิมฟัง

ท่านผู้อื่นผมกราบขออภัย

กับคนที่มันเอาเวปสร้างความแตกแยกโจมตีพระ ครูบาอาจารย์ผมไม่ประณีประนอม

ท่านตรงประเด็นผมกราบขออภัยที่อาจสร้างความไม่สบายใจให้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
21062.เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ
viewtopic.php?f=2&t=21062


ผมไม่เคยเห็นใครอย่างหนา5ห่วงเหมือนเหลิมเลย

ไม่รู้กี่กระทู้แล้วทีอธิบายว่า

เจโตวิมุติต่างจาก ปัญญาวิมุติ ตรงที่ได้อิทธิปาฏิหาริย์หรือไม่

แต่ทั้งเจโตวิมุติกับปัญญาวิมุติต้องใช้สมธิหรือฌานกับปัญญาในการบรรลุวิมุติทั้งสิ้น

เหลิมไปขึ้นต้นมะพร้าวง่ายกว่าเรียนธรรมะไหม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
คุณตรงประเด็นครับ ในทางกลับกันล่ะครับ

ผู้ที่ ศึกษาพระธรรม, สิกขา (ศีล,สมาธิ, วิปัสสนาปัญญา) ไม่ดีพอ

มุ่งเน้นการทำสมาธิ โดยเข้าใจผิดว่า ตนเองกำลังทำวิปัสสนา


ในสมัยพุทธกาลมีโรงเรียนปริยัติธรรม หรือมีการสอนพระอภิธรรมไหม

แล้วพระอรหันต์ในสมัยนั้นบรรลุวิมุติอย่างไร

นี่เป็นตัวอย่างของการท่องจำ ไม่ใช้ปัญญา

อวดตนว่ารู้พระสูตรพระอภิธรรมมาก

เลยยกมาแปะให้คนอ่าน

ผมเคยเข้าไปในลิงค์ที่เหลิมทำไว้

ปรากฎไปเจอหน้าสารบัญgoogle

ตลกร้ายม๊ะ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครที่กล้ากล่าวว่า

การทำสมถะคือการนั่งหลับตาเฉยๆ

เป็นพวกนอกศาสนาพุทธเถระวาท

เป็นพวกสัทธรรมปฏิรูป

เหมือนพระเทวทัต

เป็นเนื้อร้าย


กล้าทำนายเลยว่า

ถ้าถกกันด้วยเหตุผล

เหลิมไม่สู้

ใครเอาเหตุผลมาถกเหลิมไม่อ่าน

แต่จะหลับหูหลับตาเอาพระธรรมมาแปะ ยกเอาลิงค์มาตั้ง

ไม่มีปัญญาหาเหตุผลมาสากัจฉาแน่นอน


แน่จริงมาถกกันด้วยความรู้ที่ตัวเองมีเอาไม่


ไม่ใช่ยกเอาพระธรรมที่ไม่เกี่ยวโดยตรงมาแปะ แล้วสรุปเอาตามความต้องการตนเอง

ปัญญาชนเขาไม่ทำอย่างนั้นกันหรอก

แต่อย่างว่า

อย่างเหลิมไม่มีวันเข้าใจหรอก

บัวใต้น้ำเสียขนาดนั้น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่ไหงสมถะ ไม่ได้แค่นั่งหลับตาหายใจทิ้ง

อย่างเหลิมกล่าวหาใสร้าย



http://www.84000.org/tipitaka/read/?14/117/98


Quote Tipitaka:
[๑๑๗] อา. ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญ
ฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญ
ฌานเช่นไร ดูกรพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ
ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดกามราคะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็น
จริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะกามราคะ ทำกามราคะไว้
ในภายใน มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัด
พยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะพยาบาท ทำพยาบาทไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ
ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็น
จริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ ทำถีนมิทธะไว้
ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง
จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ ทำอุทธัจจกุกกุจจะไว้ในภายใน
มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิด
ขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะ
วิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล ดูกรพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง
สรรเสริญฌานเช่นไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอ
ได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้
แล ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอมอบให้เหลิม :b53: :b53: :b53:


http://www.84000.org/tipitaka/read/?12/560/604

Quote Tipitaka:
[๕๖๐] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแหละ ทูสีมารมีความดำริว่า เราไม่รู้จักความมาและ
ความไปของภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านี้ ถ้ากระไร เราพึงดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีว่า
มาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าไฉน
ภิกษุเหล่านั้นถูกพวกท่านด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียนอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยอาการที่
ทูสีมารพึงได้ช่อง.
ครั้งนั้น ทูสีมารก็ดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีตามดำรินั้น พวกพราหมณ์และคฤหบดี
ถูกทูสีมารดลใจแล้ว ก็ด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมว่า
ภิกษุเหล่านี้ เป็นสมณะหัวโล้น เป็นคฤหบดี เป็นค่าง เป็นผู้เกิดแต่หลังเท้าของพรหม พูดว่า
พวกเราเจริญฌาน พวกเราเจริญฌาน เป็นผู้คอตก ก้มหน้า เกียจคร้าน ย่อมรำพึง ซบเซา
หงอยเหงา. เหมือนนกเค้าจ้องหาหนูที่กิ่งต้นไม้ และเหมือนสุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลาใกล้ฝั่งน้ำ
และเหมือนแมวจ้องหาหนูที่ที่ต่อเรือนอันรุงรัง และกองหยากเหยื่อ และเหมือนลาที่ปลดต่างแล้ว
ต่างก็รำพึง ซบเซา เหงาหงอยอยู่ฉะนั้น. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้น มนุษย์เหล่าใดทำกาละไป
มนุษย์เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
โดยมาก.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่ก็ฌาน ไม่เป็นแค่หลับตาซึมเซ้าอย่างอัตตโนมัติพวกสัทธรรมปฏิรูปเหลิม

คนที่พยายามใช้ศัพท์ในการสนทนาธรรมใจกำลังคิดสัทธรรมปฏิรูปอยู่

http://www.84000.org/tipitaka/read/?31/483/368

Quote Tipitaka:
[๔๘๓] ฌานวิโมกข์เป็นไฉน เนกขัมมะเกิด เผากามฉันทะ เพราะ
เหตุนั้นจึงเป็นฌาน เนกขัมมะเกิดพ้นไป เผาพ้นไป เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน-
*วิโมกข์ ธรรมเกิด ย่อมเผา ฌายีบุคคลย่อมรู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา เพราะ
เหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ความไม่พยาบาทเกิด เผาความพยาบาท เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นฌาน ความไม่พยาบาทเกิดพ้นไป เผาพ้นไป ... อาโลกสัญญาเกิด เผา
ถีนมิทธะ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ความไม่ฟุ้งซ่านเกิด เผาอุทธัจจะ ... การ
กำหนดธรรมเกิด เผาวิจิกิจฉา ... ญาณเกิด เผาอวิชชา ... ความปราโมทย์เกิด
เผาอรติ ... ปฐมฌานเกิด เผานิวรณ์ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ฯลฯ อรหัต-
*มรรคเกิด เผากิเลสทั้งปวง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน เกิดพ้นไป เผาพ้นไป
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ธรรมเกิด ย่อมเผา ฌายีบุคคลย่อมรู้กิเลสที่เกิด
และที่ถูกเผา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ นี้เป็นฌานวิโมกข์ ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหลิมเคยสงสัยว่าmesไม่เคยยกพระสูตรมาอ้าง

เพราะผมสนทนาธรรมเพื่อแลกเปลี่ยนธรรมะ

ไม่ใช่เหมือนนักสัทธรรมปฏืรูปเหลิมที่อ้างมาเพือเป็นอัตตโนมัติบิดเบือนพระธรรมนั้น

http://www.84000.org/tipitaka/read/?20/275/77

Quote Tipitaka:
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ
ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว
ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวย
ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


บทนี้มอบให้สำหรับผู้กล่าวร้ายครูบาอาจารย์

อย่างนักสัทธรรมปฏิรูปเหลิม

Quote Tipitaka:
[๓๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุง
ราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระธรรมิกะเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในอาวาส ๗ แห่ง ที่มีอยู่ใน
ชาติภูมิชนบททั้งหมด ทราบข่าวว่า ท่านพระธรรมิกะย่อมด่า บริภาษ เบียดเบียน
ทิ่มแทง เสียดสีซึ่งภิกษุทั้งหลายที่จรมาอาศัยด้วยวาจา และภิกษุผู้จรมาอาศัย
เหล่านั้น ถูกท่านพระธรรมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีด้วยวาจา
ย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า
พวกเราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
*บริขาร ก็แต่ว่า พวกภิกษุที่จรมาอาศัยย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป อะไร
หนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกภิกษุผู้จรมาอาศัยหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป
ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า ท่านพระธรรมิกะนี้แลย่อมด่า
บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุผู้จรมาอาศัยด้วยวาจา และพวก
ภิกษุที่จรมาอาศัยเหล่านั้น ถูกท่านพระธรรมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง
เสียดสีด้วยวาจา ย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป ผิฉะนั้น พวกเราพึงขับไล่
ท่านพระธรรมิกะให้หนีไป ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท ได้พากันไป
หาท่านพระธรรมิกะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกะท่านพระธรรมิกะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอท่านพระธรรมิกะจงหลีกไปจากอาวาสนี้ ท่านไม่ควรอยู่ในอาวาสนี้ต่อไป ฯ
ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้จากอาวาสนั้นไปสู่อาวาสอื่น ทราบข่าวว่า
แม้ที่อาวาสนั้น ท่านพระธรรมิกะก็ด่า บริภาษ ... ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติ-
*ภูมิชนบทได้พากันไปหาท่านพระธรรมิกะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกะท่านพระธรรมิกะ
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธรรมิกะจงหลีกไปจากอาวาสแม้นี้ ท่านไม่
ควรอยู่ในอาวาสนี้ ฯ
ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้จากอาวาสแม้นั้นไปสู่อาวาสอื่น ทราบข่าวว่า
แม้ในอาวาสนั้น ท่านพระธรรมิกะก็ด่า บริภาษ ... ผิฉะนั้น พวกเราพึงขับไล่
ท่านพระธรรมิกะให้หลีกไปจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด
ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทได้พากันไปหาท่านพระธรรมิกะถึงที่อยู่
และได้กล่าวกะท่านพระธรรมิกะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธรรมิกะจงหลีก
ไปจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด ฯ
ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้คิดว่า เราถูกพวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท
ขับไล่ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด บัดนี้ เราจะไปที่ไหน
หนอ ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้คิดว่า ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ลำดับนั้น ท่านพระธรรมิกะถือบาตรและจีวรหลีกไปทางกรุงราชคฤห์
ไปถึงกรุงราชคฤห์และภูเขาคิชฌกูฏโดยลำดับ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสถามว่า ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เออ เธอมาจากที่ไหนหนอ ท่านพระธรรมิกะ
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกพวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท
ขับไล่ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ ควรแล้ว จะมีประโยชน์อะไรแก่เธอด้วยการ
อยู่ในชาติภูมิชนบทนี้ เธอถูกขับไล่ให้ออกจากอาวาสนั้นๆ แล้วมาในสำนักของ
เรา ฯ
ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกพ่อค้าทางสมุทร จับนกที่
ค้นหาฝั่ง แล้วนำเรือออกเดินทางไปในสมุทร เมื่อเดินเรือไปยังไม่เห็นฝั่ง พ่อค้า
เหล่านั้นจึงปล่อยนกที่ค้นหาฝั่ง มันบินไปทางทิศตะวันออก บินไปทางทิศตะวันตก
บินไปทางทิศเหนือ บินไปทางทิศใต้ บินขึ้นสูง บินไปตามทิศน้อย ถ้ามันเห็น
ฝั่งอยู่ใกล้ ก็บินเข้าหาฝั่งไปเลยทีเดียว แต่ถ้ามันไม่เห็นฝั่งอยู่ใกล้ ก็กลับมาที่
เรือนั้น ฉันใด ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เธอถูกขับไล่ให้ออกจากอาวาสนั้นๆ แล้ว
มาในสำนักของเรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะของ
พระเจ้าโกรัพยะมี ๕ กิ่ง ร่มเย็น น่ารื่นรมย์ใจ ก็ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะมี
ปริมณฑลใหญ่สิบสองโยชน์ มีรากแผ่ไป ๕ โยชน์ มีผลใหญ่ เหมือนกระทะหุงข้าว
สารได้หนึ่งอาฬหกะ ฉะนั้น มีผลอร่อย เหมือนรวงผึ้งเล็กซึ่งไม่มีโทษ ฉะนั้น
ก็พระราชากับพวกสนมย่อมทรงเสวยและบริโภคผลไทร ชื่อสุปติฏฐะเฉพาะกิ่ง
หนึ่ง เหล่าทหารย่อมบริโภคเฉพาะกิ่งหนึ่ง ชาวนิคมชนบทย่อมบริโภคเฉพาะกิ่ง
หนึ่ง สมณพราหมณ์ทั้งหลายย่อมบริโภคเฉพาะกิ่งหนึ่ง เนื้อแหละนกย่อมกินกิ่ง-
*หนึ่ง ก็ใครๆ ย่อมไม่รักษาผลแห่งต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ และไม่มีใครๆ
ทำอันตรายผลของกันและกัน ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งบริโภคผลแห่งต้นไทรใหญ่ชื่อ
สุปติฏฐะ พอแก่ความต้องการแล้วหักกิ่งหลีกไป ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่
ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะได้คิดว่า ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้ว
หนอ มนุษย์ใจบาปคนนี้ บริโภคผลของต้นไทรใหญ่ ชื่อสุปติฏฐะพอแก่ความ
ต้องการแล้วหักกิ่งหลีกไป ไฉนหนอ ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะไม่ได้ออกผลต่อไป
พระเจ้าโกรัพยะ เสด็จเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอมเทพถึงที่ประทับ แล้วทูลถามว่า
ขอเดชะ ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์พึงทรงทราบเถิดว่า ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ
ไม่ออกผล ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้มีลมฝนที่
แรงกล้าพัดโค่นต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบน ลำดับนั้น
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะมีทุกข์ เสียใจ มีหน้านองด้วยน้ำตา
ยืนร้องไห้อยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้เสด็จเข้าไปหาเทวดา
ผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ แล้วตรัสถามว่า ดูกรเทวดา เหตุไรหนอ
ท่านจึงมีทุกข์ เสียใจ มีหน้านองด้วยน้ำตา ยืนร้องไห้อยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง เทวดา
นั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ลมฝนที่แรงกล้าได้พัดมาโค่นที่อยู่ (ภพ) ของ
ข้าพระองค์ล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบน ดังที่เห็นอยู่นี้ พระเจ้าข้า ฯ
ส. ดูกรเทวดา ก็เมื่อท่านดำรงอยู่ในรุกขธรรมแล้ว (ธรรมที่เทวดาผู้-
*สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้จะต้องประพฤติ) ลมฝนที่แรงกล้า ได้พัดมาโค่นที่อยู่ของท่าน
ล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบนได้อย่างไร ฯ
ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ย่อมเป็นผู้
ดำรงอยู่ในรุกขธรรมอย่างไร ฯ
ส. ดูกรเทวดา พวกชนที่ต้องการราก ย่อมนำรากต้นไม้ไป พวกชนผู้
ต้องการเปลือก ย่อมนำเปลือกไป พวกชนผู้ต้องการใบย่อมนำใบไป พวกชนผู้
ต้องการดอกย่อมนำดอกไป พวกชนผู้ต้องการผลย่อมนำผลไป ก็แต่เทวดาไม่พึง
กระทำความเสียใจหรือความดีใจเพราะการกระทำนั้นๆ ดูกรเทวดา เทวดาผู้สิงสถิต
อยู่ที่ต้นไม้ ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในรุกขธรรมอย่างนี้แล ฯ
ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ไม่ดำรงอยู่ในรุกขธรรมเป็นแน่
เทียว ลมฝนที่แรงกล้าจึงได้พัดมาโค่นที่อยู่ให้ล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบน ฯ
ส. ดูกรเทวดา ถ้าว่าท่านพึงดำรงอยู่ในรุกขธรรมไซร้ ที่อยู่ของท่านก็พึง
มิเหมือนกาลก่อน ฯ
ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์จะพึงดำรงอยู่ในรุกขธรรม ขอ
ให้ที่อยู่ของข้าพระองค์พึงมีเหมือนกาลก่อนเถิด ฯ
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้มีลมฝนที่
แรงกล้าพัดต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ ให้กลับตั้งขึ้นดังเดิม ต้นไทรใหญ่ชื่อ
สุปติฏฐะได้มีรากตั้งอยู่ดังเดิม ฉันใด ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เออก็ พวกอุบาสก
ชาวชาติภูมิชนบท ได้ขับไล่เธอผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรมออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง
ในชาติภูมิชนบททั้งหมด ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระธรรมิกะทูลถามว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ก็สมณะย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรมอย่างไร ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ สมณะในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ด่าตอบบุคคล
ผู้ด่า ไม่เสียดสีตอบบุคคลผู้เสียดสี ไม่ประหารตอบบุคคลผู้ประหาร ดูกรพราหมณ์
ธรรมิกะ สมณะย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรมอย่างนี้แล ฯ
ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท ได้ขับไล่
ข้าพระองค์ผู้ไม่ดำรงอยู่ในสมณธรรมออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบท
ทั้งหมด พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีศาสดาจารย์ชื่อสุเนตตะ
ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้
แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก ก็สาวกเหล่าใด
เมื่อท่านศาสดาจารย์ชื่อสุเนตตะแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก ไม่
ยังจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไปแล้ว ได้เข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อท่านศาสดาจารย์ชื่อสุเนตตะแสดงธรรม
เพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก ได้ยังจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นเมื่อตาย
ไปแล้ว ได้เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ฯ
ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีศาสดาจารย์ชื่อมูคปักขะ ฯลฯ
มีศาสดาจารย์ชื่ออรเนมิ ฯลฯ มีศาสดาจารย์ชื่อกุททาลกะ ฯลฯ มีศาสดาจารย์
ชื่อหัตถิปาละ ฯลฯ มีศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความ
กำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
เพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก ก็สาวกเหล่าใด เมื่อท่านศาสดาจารย์ชื่อ
โชติปาละแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก ไม่ยังจิตให้เลื่อมใส
สาวกเหล่านั้นเมื่อตายไปแล้ว ได้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวก
เหล่าใด เมื่อท่านศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้ไปเกิดใน
พรหมโลก ได้ยังจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไปแล้ว ได้เข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ ฯ
ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ผู้ใดมีจิต
ประทุษร้าย พึงด่า บริภาษ ท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจาก
ความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึง
ประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญมากหรือ ฯ
ธ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย พึงด่า บริภาษ ท่าน
ศาสดาจารย์ทั้ง ๖ นั้น ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย
มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญมาก
ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย ย่อมด่า บริภาษบุคคลผู้มีทิฐิสมบูรณ์คนเดียว ผู้นี้ย่อม
ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญมากกว่าผู้ด่าว่าบริภาษท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ นั้น ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเราหากล่าวการขุดโค่นคุณความดีของตนภายนอกศาสนานี้
เหมือนการด่าว่าบริภาษในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันนี้ไม่ ดูกรพราหมณ์
ธรรมิกะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่ประทุษร้าย
ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันของตน ดูกรพราหมณ์ธรรมิกะ เธอพึงศึกษา
อย่างนี้แล ฯ
ได้มีท่านศาสดาจารย์ชื่อสุเนตตะ ชื่อมูคปักขะ ชื่ออรเนมิ
ชื่อกุททาลกะ ชื่อหัตถิปาละ และได้มีพราหมณ์ปุโรหิตของ
พระราชาถึง ๗ พระองค์ เป็นเจ้าแห่งโค เป็นศาสดาจารย์
ชื่อโชติปาละ ท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ ผู้มียศเป็นผู้ได้รับยกย่อง
ว่าเป็นเจ้าลัทธิในอดีต ท่านเหล่านั้นได้เป็นผู้หมดกลิ่นสาป
คือ ความโกรธ มุ่งมั่นในกรุณา ผ่านพ้นกามสังโยชน์
คลายกามราคะเสียได้ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก สาวกของ
ท่านเหล่านั้นแม้หลายร้อย ได้เป็นผู้หมดกลิ่นสาป คือ
ความโกรธ มุ่งมั่นในกรุณา ผ่านพ้นกามสังโยชน์ คลาย
กามราคะเสียได้ ก็เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก นรชนใดมีความ
ดำริทางใจประทุษร้าย ย่อมด่าบริภาษท่านเหล่านั้น ผู้เป็นฤาษี
ผู้เป็นนักบวชนอกศาสนา ปราศจากความกำหนัด มีจิตตั้งมั่น
ก็นรชนเช่นนั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญมาก ส่วนนรชน
ใดมีความดำริทางใจประทุษร้าย ย่อมด่า บริภาษภิกษุผู้เป็น
สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้มีทิฐิสมบูรณ์รูปเดียว นรชนผู้นี้ย่อม
ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญมากกว่าผู้ด่าว่าบริภาษท่านศาสดาจารย์
เหล่านั้น นรชนไม่พึงเสียดสีท่านผู้มีความดี ผู้ละทิฐิ
บุคคลใดเป็นผู้มีอินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา สติ วิริยะ สมถะ
และ วิปัสสนาอ่อน บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
ในกาม เราเรียกว่าเป็นบุคคลที่เจ็ด แห่งพระอริยสงฆ์
นรชนใดเบียดเบียน ทำร้ายบุคคลเช่นนั้นผู้เป็นภิกษุ ใน
กาลก่อน นรชนนั้นชื่อว่าทำร้ายตนเอง ย่อมบั่นรอนอรหัตผล
ในภายหลัง ส่วนนรชนใดย่อมรักษาตน นรชนนั้นชื่อว่า
เป็นผู้รักษาตนที่เป็นส่วนภายนอก เพราะเหตุนั้น บัณฑิตไม่
ขุดโค่นคุณความดีของตน ชื่อว่าพึงรักษาตนทุกเมื่อ ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 198 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร