วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 21:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนถามเรื่อง ความโกรธและแนวทางการปฏิบัติ
หรือ แนวทางการแก้ไขเมื่อท่านเกิดความโกรธคะ

ขอโมทนานะค่ะ สาธุ tongue :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกรธ...โทสะ เป็นกิเลสชนิดหนึ่งซึ่งอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น
คิดทำร้ายผู้อื่น..อยากทำลาย..ผลักออกไป ถ้าขี้ขลาดก็จะหนี..จะทำลายตนเอง..ถ้าเห็นแก่ตัวมาก มีตัวกู-ของกู..จะหน้ามืดทำร้ายผู้อื่น
คนบางคนมีอารมณ์ร้าย-ดีทุกชนิดได้เร็วมาก เกิดอารมณ์ง่ายทุกวินาที ไม่ว่าเหตุกระทบนั้นจะหนักหรือเบา ก็รุนแรง รักมากโกรธมากกับผู้อื่นได้
...ฉะนั้น หากจะโกรธใครสักคน ควรดูที่เจตนาของเขา..หรือความดีของบ้าง คนเรามีดีมีชั่วปะปนกันไปไม่เหมือนกัน..ควรคิดถึงความดีของเขานำมาลบความชั่วของเขา..ถ้ายังมีความดีเหลืออยู่บ้างก็ถือว่า โอ เค..อย่าด่วนหรือโกรธเขาก่อนเลย
...เราจะกำจัด..ความโกรธได้ คือ..ต้องมีสติ มีศีล มีปัญญา หรือ มีสัมมาวิหาร(อยู่โดยชอบด้วยการเจริญอริยมรรค)
...ส่วนการผ่อนคลาย ก็ทำได้โดยการควบคุมอารมณ์ให้ร่มเย็นตามธรรมดา..รักษาให้ปกติ..และเจริญเมตตา..ต่อตัวเอง..ต่อผู้อื่น..หรือ..ผู้ที่เราโกรธ..ถ้าเรามีความเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวงแล้ว..ความโกรธ..อาจจะลดน้อยลง..หรือไม่มีความโกรธเลย
ขอเจริญในธรรม :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 08 มิ.ย. 2010, 11:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


แก้วกัลยา เขียน:
เรียนถามเรื่อง ความโกรธและแนวทางการปฏิบัติ
หรือ แนวทางการแก้ไขเมื่อท่านเกิดความโกรธคะ

ขอโมทนานะค่ะ สาธุ tongue :b8:


ความโกรธ เป็นอารมณ์ชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นภายในหัวใจ ซึ่งก็ไม่ใช่จะมีเฉพาะอารมณ์ที่เรียกว่า ความโกรธอย่างเดียวที่เกิดขึ้นภายในหัวใจ ยังมีอารมณ์ชนิดอื่นๆอีกหลายชนิดที่เกิดขึ้นภายในหัวใจ
ที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า เกิดขึ้นภายในหัวใจนั้น เป็นเรื่องจริง เป้นความจริง เพราะ อารมณ์ทุกชนิด เป็นคลื่นพลังงานที่เกิดจากพลังงานไฟฟ้า และพลังงานเหล่านั้น ก็เกิดจาก การคิด การระลึกนึกถึง และหรือ เกิดจากการที่ได้รับการสัมผัสทางอายตนะภายใน โดยอายตนะภายนอก
ท่านทั้งหลายอย่าเพิ่งคิดว่า ข้าพเจ้า สติเฟื่อง เขียนเรื่องพลังงานไฟฟ้า ที่พวกท่านหลายๆท่านอาจไม่มีความรู้ หรือไม่รู้เลยก็ว่าได้
พลังงานแห่งความโกรธ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะอารมณ์ ที่เรียกว่าโกรธ) จะถูกส่งกระแสคลื่นมาจากสมอง สู่หัวใจ และภายในหัวใจ ก็จะเกิดพลังงานที่เรียกว่า ความโกรธ มีสีดำ และทำให้หัวใจพองโตกว่าปกติ หัวใจสูบฉีดโลหิตเร็วและแรงกว่าปกติ ที่กล่าวไปข้างต้น คือ สภาวะสภาพการเกิด และลักษณะของ อารมณ์ หรือพลังงานที่เรียกว่า ความโกรธ

เมื่อพลังงานความโกรธเกิดขึ้นในหัวใจ ถ้าเราขาดสติ คือไม่มีข้อมูลความรู้ ในอันที่จะขจัดหรือบรรเทาให้พลังงานความโกรธ นั่นลดลงไป พลังงานความโกรธนั้น ก็จะแล่น หรือเคลื่อนที่กลับไปที่สมอง และสมองก็จะสั่งการตามข้อมูลที่มีอยู่ให้เกิดเป็นพฤติกรรมอื่นๆตามมา อาจจะเป็นพฤติกรรมทาง กาย หรือ ทางวาจา หรือถ้าบุคคลพอมีสติคือมีสมาธิอยู่บ้าง ก็จะเกิดเพียงพฤติกรรมทางใจ เท่านั้น
พลังงานความโกรธ ถ้าคิดเป็นน้ำหนัก ขณะเกิดขึ้นในหัวใจ ก็จะมีตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 10 (สมมุติ) ถ้ามีพลังงานความโกรธ ระดับน้ำหนัก 1 บุคคล ก็จะต้องใช้พลังงานมาลบล้าง มากว่า 1 พลังงานที่จะมาลบล้างพลังความโกรธ ก็คือ ข้อมูลความรู้ในด้านศีลธรรมทางศาสนา หรือข้อมูลความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น จิตวิทยา กฎหมาย วิทยาศาสตร์ ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
ความรู้ที่ได้กล่าวถึง จะอยู่ในรูปคลื่น บรรจุอยู่ในสมอง และหัวใจ ถ้าหากบุคคลมีสมาธิดี ย่อมเป็นผู้มีสติดีตามไปด้วย เมื่อมีสติดี ก็ย่อมสามารถนำเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ศีลธรรมทางศาสนา มาใช้เป็นพลังงานลบล้าง พลังงานความโกรธได้
สรุปแล้ว ต้องมีสมาธิ ต้องฝึกสมาธิ และต้องศึกษา หาความรู้ ควบคู่กันไป ระบบการทำงานของร่างกาย ก็จะขจัดอารมณ์หรือพลังงาน ความโกรธ ฯ โดยอัตโนมัติ
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
8 มิย. 2553


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 08 มิ.ย. 2010, 13:04, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ความโกรธเป็นกิเลสตัวหนึ่งที่จรเข้ามาตามเหตุปัจจัย
ซึ่งก็อยู่ในกฎไตรลักษณ์คือไม่เที่ยง
ตอนแรกๆก็รุนแรงมาก จนถึงขีดสุดก็จะหรี่ลง
ถ้าไม่ไปคิดถึงเรื่องที่เกิดซ้ำอีก ก็แทบจะรู้สึกเฉยๆ

แต่หากจิตมันคิดปรุงแต่งตามสัญญาที่จำได้
ก็ไม่ต้องไปทำอะไรกับมันนะคะ เพราะเป็นธรรมชาติของจิตเขาที่จะคิดอยู่แล้ว
เราไม่ต้องไปบังคับให้มันหยุดคิด หรืออยากหายโกรธเกลียด
เพราะความอยากหายนั้น ก็เป็นโทสะอีกตัวที่เกิดขึ้น
และทำให้เป็นทุกข์ซ้อนขึ้นมาอีก
แค่คอยสังเกตความรู้สึกที่เกิดในจิตใจ
จากนั้นจิตจะกลับไปคิดใหม่หรือไม่ก็เรื่องของมัน แค่คอยดูอยู่ห่างๆ
โดยมีศีลป้องกันการเบียดเบียนผู้อื่นทางกายและวาจา

ปกติความโกรธจะดับไปเองไม่ต้องทำอะไรก็ได้ถ้าเหตุดับ
(คือไม่ย้อนกลับไปคิดถึงเรื่องที่ทำให้โกรธ)
แต่ถ้าปล่อยให้ดับไปเองเฉยๆ ก็น่าเสียดายโอกาสที่จะให้จิตได้เรียนรู้สภาวะ
กลับกัน ถ้าเราไปดูไปรู้จะทำให้จิตเห็นสภาพการโกรธ
จิตเป็นธาตุรู้ สามารถรู้แจ้งได้เองอยู่แล้ว หากได้เห็นกระบวนการทำงาน
จะเข้าใจได้เองถึงความไม่ดีของกิเลส
และสัมปชัญญะจะเข้าไปจดจำสภาวะการโกรธนั้น
เมื่อเราโกรธอีก สติก็จะเข้ามาทำงานได้เอง แต่ต้องให้เขาเห็นมากๆ บ่อยๆ
เมื่อถึงจุดนึง การที่กิเลสจะปรุงแต่งความคิดเราให้เกิดความโกรธอีกจะทำได้ยากขึ้น
เพราะเราเริ่มรู้ทันกันแล้ว ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นให้ความทุกข์ลดลง

อีกมุมนึง หากเรามองว่าคนที่ทำให้เราโกรธก็ยังมีอวิชชาเหมือนเรา
มีกิเลสเหมือนเรา
และเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ในสังสารวัฏเหมือนเรา
ก็เป็นทางนึงที่อาจทำให้โทสะลดลงได้ค่ะ

ไม่แน่ว่าความโกรธเล็กน้อยในวันนี้ อาจทำให้เราสามารถพ้นทุกข์ได้ในชาตินี้^^


ขอยกคำสอนของครูบาอาจารย์มา ณ ที่นี้ค่ะ

แท้จริงพระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้ทุกข์ ไม่ใช่ให้ละทุกข์ กิเลสเป็นสังขารขันธ์ซึ่งจัดอยู่ในกองทุกข์ เราจึงต้องรู้กิเลสตามความเป็นจริง เช่น จิตมีราคะก็ให้รู้ว่ามีราคะ การรู้กิเลสนั้นหมายความว่า เราไม่คล้อยตามกิเลสเพราะถูกกิเลสครอบงำ แต่ก็ไม่ควรพยายามต่อต้านกิเลส แต่ให้รู้กิเลสนั้นโดยมีสติรู้อย่างสักว่ารู้ รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง แล้วปล่อยให้กิเลสผ่านไปเองอย่างไร้พิษสง ถ้าพยามฝืนหรือพยายามต่อต้านกิเลส กิเลสจะแสดงพลังอำนาจและความรุนแรงให้เห็นทันที

เช่น พอเราโกรธใครคนหนึ่งอย่างรุนแรง ถ้าเราเอาแต่คิดพยาบาทปองร้ายเขา ก็คือการหลงตามกิเลส แต่ถ้าเราพยายามห้ามใจตนเองไม่ให้โกรธ หรือพยายามดับความโกรธด้วยวิธีการต่างๆ โดยเห็นว่าความโกรธเป็นสิ่งที่ไม่ดี
ก็เท่ากับเรามีความโกรธตัวใหม่ไปโกรธความโกรธตัวแรก จิตจะไม่เป็นกลาง แต่จะเกิดความดิ้นรนปรุงแต่งเพื่อจะต่อต้านทำลายความโกรธนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือความทุกข์ทางใจ แต่ถ้าเราเห็นว่าจิตมีความโกรธ รู้ว่าความโกรธเป็นเพียงนามธรรมบางอย่างที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ใช่เราโกรธ เพียงเท่านี้ความโกรธก็จะหลุดร่วงไปจากจิตใจได้อย่างอัตโนมัติ แม้กิเลสอื่นๆก็ให้ใช้หลักเดียวกันนี้ คือไม่คล้อยตามแต่ก็ไม่ต่อต้าน ทั้งนี้ การคล้อยตามกิเลสเป็นความสุดโต่งอย่างแรก ส่วนการต่อต้านกิเลสก็เป็นความสุดโต่งอย่างที่สอง

อย่างไรก็ตาม หากเกิดสถานการณ์จวนตัว เราก็จำเป็นต้องออกกำลังต่อสู้กับกิเลสเพื่อเอาตัวรอดไปชั่วคราว เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน เช่น พระหนุ่มเมื่อเกิดกามราคะที่รุนแรงไปหลงรักสาวจนอยากลาสิกขา หากไม่มีกำลังพอที่จะเจริญสติให้เห็นตนเอง ให้เห็นสาว ให้เห็นกามราคะว่าเป็นเพียงธาตุขันธ์ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาได้ ก็จำเป็นต้องใช้สมถกรรมฐานเข้าช่วยด้วยการพิจารณาอสุภกรรมฐาน เป็นต้น หากยังสู้ไม่ไหวอีก ก็ให้รีบหนีไปจากที่นั้นเพื่อเอาตัวรอดไว้ก่อน ไม่ใช่จะถือดีเจริญวิปัสสนาอย่างเดียวทั้งที่กิเลสมีกำลังกล้าจนจวนจะพ่ายแพ้อยู่แล้ว

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง

สาธุคะ :b4: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณแก้วโกรธใครๆบ่อยไหมครับ :b33:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จันทร์ ณ ฟ้า เขียน:
ความโกรธเป็นกิเลสตัวหนึ่งที่จรเข้ามาตามเหตุปัจจัย
....ฯลฯ.....

ขอยกคำสอนของครูบาอาจารย์มา ณ ที่นี้ค่ะ

แท้จริงพระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้ทุกข์ ไม่ใช่ให้ละทุกข์ กิเลสเป็นสังขารขันธ์ซึ่งจัดอยู่ในกองทุกข์ เราจึงต้องรู้กิเลสตามความเป็นจริง เช่น จิตมีราคะก็ให้รู้ว่ามีราคะ การรู้กิเลสนั้นหมายความว่า เราไม่คล้อยตามกิเลสเพราะถูกกิเลสครอบงำ แต่ก็ไม่ควรพยายามต่อต้านกิเลส แต่ให้รู้กิเลสนั้นโดยมีสติรู้อย่างสักว่ารู้ รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง แล้วปล่อยให้กิเลสผ่านไปเองอย่างไร้พิษสง ถ้าพยามฝืนหรือพยายามต่อต้านกิเลส กิเลสจะแสดงพลังอำนาจและความรุนแรงให้เห็นทันที

เช่น พอเราโกรธใครคนหนึ่งอย่างรุนแรง ถ้าเราเอาแต่คิดพยาบาทปองร้ายเขา ก็คือการหลงตามกิเลส แต่ถ้าเราพยายามห้ามใจตนเองไม่ให้โกรธ หรือพยายามดับความโกรธด้วยวิธีการต่างๆ โดยเห็นว่าความโกรธเป็นสิ่งที่ไม่ดี
ก็เท่ากับเรามีความโกรธตัวใหม่ไปโกรธความโกรธตัวแรก จิตจะไม่เป็นกลาง แต่จะเกิดความดิ้นรนปรุงแต่งเพื่อจะต่อต้านทำลายความโกรธนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือความทุกข์ทางใจ แต่ถ้าเราเห็นว่าจิตมีความโกรธ รู้ว่าความโกรธเป็นเพียงนามธรรมบางอย่างที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ใช่เราโกรธ เพียงเท่านี้ความโกรธก็จะหลุดร่วงไปจากจิตใจได้อย่างอัตโนมัติ แม้กิเลสอื่นๆก็ให้ใช้หลักเดียวกันนี้ คือไม่คล้อยตามแต่ก็ไม่ต่อต้าน ทั้งนี้ การคล้อยตามกิเลสเป็นความสุดโต่งอย่างแรก ส่วนการต่อต้านกิเลสก็เป็นความสุดโต่งอย่างที่สอง

อย่างไรก็ตาม หากเกิดสถานการณ์จวนตัว เราก็จำเป็นต้องออกกำลังต่อสู้กับกิเลสเพื่อเอาตัวรอดไปชั่วคราว เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน เช่น พระหนุ่มเมื่อเกิดกามราคะที่รุนแรงไปหลงรักสาวจนอยากลาสิกขา หากไม่มีกำลังพอที่จะเจริญสติให้เห็นตนเอง ให้เห็นสาว ให้เห็นกามราคะว่าเป็นเพียงธาตุขันธ์ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาได้ ก็จำเป็นต้องใช้สมถกรรมฐานเข้าช่วยด้วยการพิจารณาอสุภกรรมฐาน เป็นต้น หากยังสู้ไม่ไหวอีก ก็ให้รีบหนีไปจากที่นั้นเพื่อเอาตัวรอดไว้ก่อน ไม่ใช่จะถือดีเจริญวิปัสสนาอย่างเดียวทั้งที่กิเลสมีกำลังกล้าจนจวนจะพ่ายแพ้อยู่แล้ว


ฮะ...ฮ่า.... ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า หลวงพ่ออะไร

ขอเดา.....ด้วยการแจ้งข่าว

วันอาทิตย์ที่ 20 มิย. เวลา 9.00 - 10.30 น. โดยประมาณ

ไปฟังกันได้ที่ศาลลุงชินครับ

viewtopic.php?f=10&t=32412

ขออนุโมทนาที่นำข้อธรรมคำสอนที่มีประโยชน์มาเผยแผ่ครับ คุณจันทร์ ณ ฟ้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แก้วกัลยา เขียน:
เรียนถามเรื่อง ความโกรธและแนวทางการปฏิบัติ
หรือ แนวทางการแก้ไขเมื่อท่านเกิดความโกรธคะ
ขอโมทนานะค่ะ สาธุ tongue :b8:


แก้วกัลยา เขียน:
ขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง
สาธุคะ :b4: :b8:


ท่านเจ้าของกระทู้
เมื่อจะตั้งกระทู้ ก็ตั้งกระทู้ให้ดูดีหน่อย งี่เง่า ซะไม่มีนะ
ถามอะไร ออกมาปัญญาอ่อน จริงๆ
ถามความโกรธ และวิธีปฎิบัติ

เชอะ!

ถ้าสักแต่อยากถามลอยๆ ก็ไม่ควรถาม

ส่วนผู้ที่ตอบ อยากจะอวดภูมิ ก็ดันไม่อ่านคำถามดีๆ ตอบไปเรื่อยเจื้อย เหมือนนกแก้วนกขุนทอง
จำตามรู้ คิดตามพูดออกมา มีสมองหรือเปล่า มิทราบ!

พอตอบเสร็จ เจ้าของกระทู้ ก็แค่ โมทนา จบ ง่ายเกินไปหรือเปล่า
คนตอบ ตอบอะไรออกมา เข้าใจหรือไม่เข้าใจ อย่างไรล่ะ ให้เกียรติแสดงความเห็นด้วย เข้าใจไม๊

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การตั้งคำถาม บางครั้งต้องระวังคะ เพราะตั้งแล้วเหมือนตนเองรู้คำตอบ
พอผู้ตอบ ตอบไม่ตรงกับตนเองรู้ ก็เอาคำนั้นมาตอบกระทบกระเทียบ
บ้างครั้งออกแนวเสียดสี อันนำไปสู่วิวาทะกรรม สร้างความเวียนหัวให้กับ
ท่านผู้ดูแลบอร์ดอีกต่างหาก

การตั้งกระทู้ จึงออกไปในแนวกว้าง ๆ ผู้ตอบสามารถตอบได้โดยไม่ต้องเกรงว่าจะผิดหรือถูก
แล้วก็ไม่มีการนำเอามาอ้างอิงเพื่อเยาะเย้ยหรือเสียดสีดูถูกความรู้ของผู้ตอบ เมื่อมีหลายๆ คนตอบ
ท่านก็สามารถอ่านเปรียบกับที่ท่านตอบว่า เราถูกหรือผิด ปัญญาของแต่ละท่านไม่เท่ากัน การเรียนรู้ก็ไม่เท่ากัน

การดูถูกเหยียดหยามกัน ไม่ใช่การแสดงธรรมที่ถูกต้อง ไม่ใช่นักปฏิบัติตัวจริง
เป็นแต่ผู้จำธรรมได้มากกว่าผู้อื่นเท่านั้น ไม่มีผลต่อจิตใจแต่ประการใด
จึงเป็นแค่ผู้ทนงตน มากด้วยทิฏฐิ มะนะกล้าแข็ง จิตไม่ละเอียด
ไม่เหมาะกับการสนทนาธรรมกับใคร ๆ

ขอบคุณนะค่ะที่ร่วมแสดงความเห็น สาธุนะคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การแสดงความเห็นควรตอบด้วยเมตตา ไม่ใช่อัตตา
เพราะเราต่างก็เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เหมือนกัน
ยังมีอวิชชา(ความไม่รู้)
ยังมีกิเลสมากมาย เหมือนๆกัน

แต่หากเจตนาของผู้เขียน ตั้งใจจะชี้ให้คนถามและคนตอบกระทู้เห็นกิเลสตัวนี้ได้ชัดๆ
เพื่อจะได้ตามรู้กันแบบสดๆเลย ก็ขออนุโมทนาค่ะ :b8:

ดิฉันเห็นมันผุดขึ้นมานิดนึง^^
แล้วก็ผ่านไป ตามเหตุปัจจัย
ขอบคุณที่ทำให้จิตได้เรียนรู้สภาวะนะคะ

ชีวิตเราก็หมดไปๆทุกวัน ไม่มีอะไรจะสำคัญเท่ากับการสั่งสมแต่กรรมดีๆให้จิตใจ
เป็นเสบียงสำหรับการเดินทาง
และฝึกฝนพัฒนาจิตใจด้วยการเจริญสติปัฏฐาน เพื่อจะได้ไม่ต้องเดินทางในสังสารวัฏนี้อีก

หากผิดพลาดล่วงเกินอะไรต้องขออภัยค่ะ :b8:

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b33: :b33: :b33: :b33: :b33:

cool

ความโกรธ เป็นกิเลสกลุ่มหนึ่งในบรรดากิเลส ๓ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่สร้างความทุกข์ ความเดือดร้อนแก่สัตว์โลกทั้งหลาย กิเลสในกลุ่มความโกรธได้แก่ ปฏิฆะ คือความกระทบกระทั่งจิต โทสะ คือความเกรี้ยวกราด พยาบาท คือความผูกใจเจ็บ หรือความปองร้าย อุปนาหะ คือความผูกโกรธ เวระ คือการจองเวร กิเลสในกลุ่มนี้ล้วนแต่ทำให้จิตใจหม่นหมอง เร่าร้อน ทั้งสิ้น

เหตุที่ทำให้เกิดความโกรธโดยตรงคือ ปฏิฆานุสัย – อนุสัยกิเลสคือปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งจิต อันเป็นกิเลสที่ติดขันธสันดานของปุถุชนทุกคนอยู่ ปัจจัยส่งเริมหรือหนุนให้ความโกรธเกิดขึ้นส่วนใหญ่ก็คือ คนอื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่น โดยเฉพาะที่ทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ เดือดร้อนฉิบหาย หรือจองล้างจองผลาญกับเรา โดยตรงก็คือศัตรูนั่นเอง บางคนไม่ใช่ศัตรูก็อาจทำให้โกรธได้เช่นกัน แต่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด ไม่ว่าจะจากศัตรูหรือคนที่เรารัก ความโกรธก็ล้วนแต่ทำลายจิตใจให้หม่นหมอง เร่าร้อนทั้งสิ้น พระพุทองค์เปรียบความโกรธว่าเหมือนไฟ (ไฟโทสะ-โทสัคคิ) มีพลังทำลาย เผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า มีแต่โทษ ไม่มีคุณแม้แต่น้อย

ในทางพุทธศาสนามีหลักธรรมที่ระงับความโกรธโดยตรงก็คือ “เมตตา” คือใช้น้ำเมตตาเข้ารดบ่อย ๆ ความโกรธก็จะระงับลง ถ้าจะถอนทำลายให้สิ้นเชิงก็ต้องเจริญวิปัสสนา ถอนความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวงลง คือการประพฤติธรรมนั่นเอง เพราะผู้ประพฤติธรรมย่อมได้รับความสุขจากการประพฤติธรรมของตน จะเป็นผู้สงบเยือกเย็น เห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ค่อยสะสม ค่อยทำค่อยไป เพราะปฏิฆานุสัยยังอยู่ เพราะเหตุยังเป็นปุถุชนอยู่ เมื่อสะสมมากพอแล้ว ย่อมถอนทำลายกิเลสต่าง ๆ ได้ในที่สุด
ขอยกอุบายระงับโกรธ ๙ ข้อ ของพระธรรมวิสุทธิกวี มาให้ครับ
:b16: :b16:

๑. ให้เห็นโทษของโทสะและเห็นอานิสงส์ของขันติ เช่นเมื่อโกรธจะทำให้เกิดโทษคือ หัวใจเต้นแรง เกรี้ยวกราด ปากสั่น มือสั่น ฉุนเฉียว ทำลายข้าวของเครื่องใช้ ทำร้ายคนอื่น จะเป็นโรคกระเพาะ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ส่วนผลดีของขันตินั้นคือ เป็นบุคคลที่ควรยกย่อง น่าเคารพนับถือ ย่อมระงับเวรภัยลงได้ เป็นตบะธรรมอันสูงที่พระพุทธองค์ทรงยกย่อง สรรเสริญ
๒. หมั่นระลึกถึงความดีของผู้อื่น อย่ามองคนอื่นในแง่ร้าย เราจะหาคนที่ดีหมดนั้นหาไม่ได้หรอก คนเราจะต้องมีเสียบ้าง มีดีบ้าง ก็หมั่นระลึกถึงความดีของผู้อื่นเป็นประจำ ความโกรธก็จะค่อย ๆ ลดลงไป
๓. หมั่นสอนเตือนตนเอง อย่าไปมัวมุ่งแก้ไขที่คนอื่น แก้ที่ตัวเองดีกว่า เมื่อท่านโกรธเขาแล้วจะนำความทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่เขาหรือไม่ก็ตามที แต่เดี๋ยวนี้ท่านเองทุกข์แล้วเพราะท่านไปโกรธเขา ท่านเป็นต้นเหตุของความโกรธเดือดร้อนเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ทำไมท่านจึงโกรธคนอื่นเล่า ขอให้เตือนตัวเองอย่างนี้ บางทีความโกรธจะสงบระงับลงได้
๔. ให้นึกถึงกรรมของตนเอง ขอให้นึกว่าทุกคนมีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ใครเป็นคนทำกรรมเช่นใดไว้ก็ย่อมต้องได้รับผลเช่นนั้น เราจะไปจัดการแทนกฎแห่งกรรมเองทำไม จะไปสร้างกรรมใหม่ทำไม กรรมย่อมจัดสรรเอง ไม่ต้องไปยุ่ง แม้ยังแผ่เมตตาไม่ได้ก็วางเฉยเสีย ทำใจของตนให้สบาย ความโกรธย่อมสงบระงับไปได้
๕. ให้นึกถึงจริยาของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงมีความประพฤติน่าบูชามาก โดยเฉพาะในการอดทนต่อความโกรธ พระพุทธองค์ตรัสว่า “เราจะอดทนต่อคำกล่าวล่วงเกินคำหยาบช้าของคนอื่น ดุจช้างในสังคมอดทนต่อลูกศรที่ยิงมาจากสี่ทิศ เพราะในโลกนี้มีคนชั่วอยู่มาก ในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย ผู้ที่ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐที่สุด”
๖. ให้ระลึกถึงการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ ในการเวียนว่ายตายเกิดของคนเรานั้น เราเคยเป็นญาติพี่น้องกันมาแล้วทั้งสิ้น ทั้งคนที่รัก ทั้งคนที่เกลียด พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ผู้ที่ไม่เคยเป็น มารดา บิดา พี่น้อง บุตร ธิดา ไม่ใช่หาได้ง่ายในสังสารวัฏนี้” เมื่อพิจารณาบ่อย ๆ ความโกรธก็จะระงับลงไปได้
๗. ให้พิจารณาถึงอานิสงส์ของเมตตา เพราะเมตตามีอานิสงส์มากเป็นตัวทำลายความโกรธโดยตรง เป็นธรรมค้ำจุนโลกให้สงบสุขอยู่ได้ แม้ใครเจริญเมตตาเพียงลัดนิ้วมือเดียว บุญก็มีมากกว่าทานและศีล เมื่อเห็นอานิสงส์ของเมตตาโดยคำนึงถึงบ่อย ๆ แล้ว ความโกรธก็จะระงับไปได้
๘. ให้ทำการแยกธาตุ เมื่อมนุษย์ ไม่ใช่ตัวตน บุคคล เรา เขา เป็นเพียงธาตุ ๔ ธาตุ ๖ ต่างหากมารวมกัน คำที่ทำให้เราโกรธก็เป็นพียงคลื่นเสียง ท่านไปโกรธคลื่นเสียงมันถูกหรือ ท่านโกรธเพราะนำมาปรุงแต่งเอง เมื่อพิจารณาบ่อย ๆ ความโกรธก็จะระงับลงได้
๙. ให้ทำการเผื่อแผ่ คือให้ของของเราบ้าง รับของของเขาบ้าง เมื่อเราต้องการชนะความโกรธแล้วก็(ฝืนใจ)ให้ของแก่เขาบ้าง เมื่อเขาให้ก็รับบ้าง ความโกรธก็จะจางลง หรือดำรงอยู่ไม่นาน :b16:

ครับ..พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก บอกว่า “เหตุสมควรโกรธ ไม่มีในโลก” ความโกรธ ไม่ว่ามากหรือน้อย นานหรือไม่นาน ล้วนทำลายความสุข ทำลายสุขภาพ เป็นโทษทั้งแก่ตนเองและคนรอบข้าง สำหรับผู้มีสติปัญญาแล้วจะเห็นความโกรธเป็นอารมณ์ของผู้ไร้ปัญญา ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ ตัดความโกรธด้วยความมีสติข่มใจไว้ และถอนรากเหง้าของความโกรธด้วยเมตตาภาวนา พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญการฆ่าความโกรธไว้ว่า “บุคคลฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข” “บุคคลฆ่าความโกรธได้ ย่อมไม่โศกเศร้า” :b16: :b16:

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ
:b8: :b8: :b8: smiley


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


แก้ไขล่าสุดโดย ningnong เมื่อ 08 มิ.ย. 2010, 18:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกรธ เป็น ของหยาบมองเห็นได้ง่าย พุทธพจน์บทหนึ่งกล่าวว่า "ความโกรธมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน" หมายความว่า "ผู้โกรธจะทุรนทุรายเหมือนกินยาพิษ จนกว่าจะได้ระบายความโกรธนั้น ซึ่งอาจจะทำลายสิ่งของ บุคคลหรือสัตว์อื่น จึงจะยุติ"

ความขุ่นเคืองใจ เป็นเหตุของโทสะ โทสะเป็นเหตุของความโกรธ ๑ ใน ๓ ของกิเลสมูลฐาน คือ โลภ โกรธ หลง ผู้ละโกรธได้เด็ดขาด คือ พระอนาคามี พระอริยะขั้นต่ำกว่านี้ยังมีความโกรธอยู่แต่ก็อยู่ในกรอบของศีล

เราท่านก็ได้แต่ใช้ขันติ ความข่มใจพร้อมกับสติ ในการอดกลั้น อดทนแล้วระบายออกด้วยความรู้ด้วยปัญญา โกรธเป็นของร้อน ตรงข้ามกับเมตตาซึ่งเป็นของเย็น โกรธกับเมตตาจึงเป็นธรรมคู่ปรับกัน

ผู้มีเมตตาเป็นผู้เย็น เป็นผู้โกรธยาก แต่เป็นผู้ให้อภัยง่าย
หมั่นเจริญเมตตาให้มาก ให้สม่ำเสมอ โกรธใครก็ยาก ให้อภัยก็ง่าย

"เมตตาธรรมค้ำจุนโลก" โลกจะเย็นเพราะเมตตายิ่ง โลกจะร้อนเพราะเมตตาหย่อน
อย่างนี้แล..

ขอคารวะ ท่านเจ้าของกระทู้ สาธุจ้า.. :b4: :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:41
โพสต์: 65

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบขอบพระคุณทุกท่าน ที่ให้ประโยชน์ ให้ความรู้ ให้ปัญญา
สาธุคะ :b4: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการภาวนาแบบทางสายเอกคือเจริญสติปัฏฐาน4 ถึงจะระงับความ
โกรธได้ และควบคุมความโกรธไม่ให้โกรธมากขึ้น ถึงเมื่อโกรธก้รู้ทันกำหนดจิตได้ทันโดยยับยั้งความ
โกรธพร้อมกับชะลอความโกรธให้น้อยลงๆ อารมณ์ที่โกรธจะถูกสกัดไว้และคลายตัวกลายเป็นอารมณ์
ไม่โกรธมาแทน ที่แก้ไขหรือทำไม่ได้เพราะไม่ค่อยกำหนด หรือไม่ค่อยได้ฝึกให้ไม่โกรธเมื่อเจอสิ่งที่มากระทบอารมณ์อย่างแรง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร