วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นรก-สวรรค์ ตามหลักของพระพุทธเจ้า
ทีนี้อยากจะให้รู้เสียเลย ที่เกี่ยวกับ ทวารเหล่านี้นะ
พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า
นรกทางอายตนะ ฉันเห็นแล้ว
สวรรค์ทางอายตนะ ฉันเห็นแล้ว

เมื่อก่อน เขาพูดกัน ถึงเรื่อง นรกอยู่ใต้ดิน
อย่าง ภาพเขียนฝาผนัง นั่นมันคือ นรกทางกาย นรกทางวัตถุ
ก็หมายถึง ร่างกาย ถูกกระทำ อย่างนั้น เป็นนรกใต้ดิน ตามที่ว่า
แล้วสวรรค์ ก็อยู่ข้างบน บนฟ้า ข้างบนโน้น
มีวิมาน มีผู้เสวยสวรรค์ เป็นบุคคล
มีนางฟ้า ส่งเสริม ความสุข เป็นร้อยๆ ร้อยๆ นั้นคือ
สวรรค์ข้างบน แต่ เป็นเรื่อง ทางกาย หรือ ทางวัตถุทั้งนั้น

นรกกับสวรรค์ ชนิดนั้น เขาพูดกัน อยู่ก่อนพระพุทธเจ้า
เขาสอนกันอยู่ก่อน แต่คุณจับใจความให้ได้ มันเรื่องทางกายนี้
เจ็บปวดทางกายอยู่ใต้ดิน คือนรก
เอร็ดอร่อยทางกายอยู่ข้างบน นั่นแหละสวรรค์

ทีนี้ พระพุทธเจ้าท่านมาตรัสเสียใหม่ว่า
นรกที่อายตนะฉันเห็นแล้ว ก็คือที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ; นี่นรก
เมื่อทำผิด มันร้อนขึ้นมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มันนรกที่ไม่ใช่วัตถุ ที่ไม่ใช่กาย มันเป็นนามธรรม
เป็นความรู้สึก เป็นทุกข์ร้อน อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นี่นรกฝ่ายวิญญาณ ฝ่ายโน้น ฝ่ายนี้ ฝ่ายวิญญาณ

ทีนี้ สวรรค์ก็เหมือนกัน เมื่อถูกต้อง เขาก็จะเป็นสุข
สนุกสนาน อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็นั้นแหละ คือ สวรรค์
เป็น สวรรค์ทางวิญญาณ มันคู่กัน อย่างนี้ มันคู่กันมา อย่างนี้

ถ้าเอาวัตถุ เอาร่างกายเป็นหลัก นรกอยู่ใต้ดิน สวรรค์อยู่บนฟ้า
แล้วก็เป็นไปตามเรื่องนั้น

แต่ถ้าเอาเรื่อง นามธรรม ฝ่ายวิญญาณ เป็นหลักแล้ว
ทั้งนรก ทั้งสวรรค์ มันอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คือ ความรู้สึก ที่เกิดขึ้น ที่นั่น
พูดอย่างนี้ ชี้ไปยังที่ตัวจริง
พูดอย่างโน้น มันอุปมา เหมือนกับว่า ถูกฆ่า ถูกเผา ถูกอะไรอยู่
หรือว่า เสวยอารมณ์ อันเป็น กามคุณอยู่
นั้นควรจะเป็นอุปมา แต่เขากลับเอามา เป็นตัวจริง

ทีนี้ ผม อธิบายตาม พระบาลี เรื่องตัวจริง ว่า
ร้อนอยู่ที่ อายตนะทั้ง ๖ นี้ มันเป็นนรก สบายอย่างนี้ เป็นสวรรค์
เขากลับหาว่า นี้อุปมา นี่มัน กลับกัน อย่างนี้ ใครโง่ ใครฉลาด?
คุณก็ไปคิดเอาเอง

แต่ผมยืนยันว่า ตามหลักของพระพุทธเจ้าว่า นี้คือ จริง :
นรกที่อยู่ที่อายตนะ ๖ นี้ คือ นรกจริง
สวรรค์ที่อยู่ที่อายตนะ๖ นี้คือ สวรรค์จริง
ท่านจึงตรัสว่า ฉันเห็นแล้วๆ

ก็ไม่ได้พูด ตามที่เขาพูดกัน อยู่ก่อนพระองค์
ที่เขาพูดกัน อยู่ก่อนพระองค์ นั้น เขาพูดกันว่าอย่างนั้น
มันจะเป็น เรื่องคาดคะเน หรือ เป็นเรื่องอะไร ก็ตามใจเขา
เราจะไม่แตะต้อง เราจะไม่ไปคัดค้าน

นี่คุณช่วยจำไว้ข้อหนึ่ง ด้วยนะ แทรกให้ได้ยินว่า
เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น ไม่ตรงกับ ลัทธิของเรา
พระพุทธเจ้า ท่านว่า อย่าไปคัดค้าน แล้วก็ไม่ต้องยอมรับ
เมื่อเราไม่เห็นด้วยเราก็ไม่ยอมรับ แต่แล้ว อย่าไปคัดค้าน
อย่าไปด่าเขา อย่าไปอะไรเขา ก็บอกว่า คุณว่าอย่างนั้น
ก็ถูกของคุณ เราไม่อาจจะยอมรับ แต่เราก็ไม่คัดค้าน
แต่เรามีว่าอย่างนี้ๆ เราก็พูดของเราไป ก็แล้วกัน

นี่ควรจะถือเป็นหลัก กันทุกคน
ถ้าลัทธิอื่น เขามาในแบบอื่น รูปอื่น
เราก็ไม่คัดค้าน เราไม่ยอมรับ
แต่เราบอกว่า ของพุทธศาสนานี้ เป็นอย่างนี้ๆ ก็ว่าไป
ไม่ต้องทะเลาะกัน
ที่มันจะไป ทำลายของเขา ยกตัวของตัว ขึ้นมา
นี้มันจะได้ทะเลาะกัน จะทำอันตรายกัน เพราะหลักธรรมะ นั้นเอง
พระพุทธเจ้าท่านจึงไม่พูด ถึงเรื่องอะไรๆ ที่เขาพูดกันอยู่ก่อน
ในหลายๆเรื่อง รวมทั้งเรื่อง นรก สวรรค์ นี้ด้วย

แต่ท่านพูด ขึ้นมาใหม่ว่า ฉันเห็นแล้ว คือ อย่างนี้ๆ

ฉะนั้น เรามี นรก สวรรค์
ทั้งที่เป็นการกล่าวกันอยู่ตาม ทางวัตถุ ทางกาย
มาสอนใน ประเทศไทย ตั้งแต่ ก่อนพุทธศาสนาเข้ามา
ฝ่ายพุทธศาสนาเข้า
เขาก็ไม่ได้เอาคำของพระพุทธเจ้าข้อนี้มาสอน
ประชาชนก็ยังถือตาม ก่อนโน้นๆ นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า

นรก สวรรค์ อย่างที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสนี้
ไม่ค่อยมีใครสนใจ
พอเอามาพูดเข้า เขาเห็นเป็น เรื่องอุปมา ไปเสียอีก

มันกลับกัน เสียอย่างนี้



สอดคล้องกันอย่างไม่น่าเชื่อกับกับ

เหลิม เขียน:
คุณ mes ครับ นิมิตที่เห็นอาจจะเป็น ภาพทางใจที่ปรุงแต่งขึ้นมาเองก็ได้ครับ

เช่น เห็นเป็นพระพุทธณุปใส ๆ , เห็นเป็นภาพพระพุทธเจ้า, เห็นภาพ นรกภูมิ เป็นต้น

คนนั่งอาจจะเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่ของจริง

ไม่เกี่ยวกับว่า ภพภูมิต่าง ๆ มีจริงหรือไม่ หรือ อภิญญาจิตมีจริงหรือไม่

คุณ mes ต้องแยกประเด็นให้ออกนะครับ


อ้างอิงคำพูด:
chalermsak เขียน:
คุณหลับอยู่ครับ วิชามโนยยิทธิ ที่พวกคุณกำลังฝึก วิทยายุทธกันอย่างเข้มข้นนี้

บางคนอาจจะตัวสั่นงึก ๆ งั่ก ๆ

บางคนอาจจะนอนดิ้นไปมา บางคนก็จะลุกขึ้นมารำ ( องค์ลง )

บางคนก็จะเห็น นิมิตเป็นเมือง นรก สวรรค์ ( เคยไปฝึกมาแล้ว เหมือนถูกดูดตอนถูก คฑากายสิทธิ์ พยายามข่มจิตให้เกิดนิมิต แต่ก็ดีแล้ว ที่ไม่เกิด ไม่งั้น คงเป็นแบบคุณหลับอยู่ )

บางคนที่ฝึกมาถึงขั้นสุดยอดของ วรยุทธ ก็เข้าไปถึงดินแดนพระนิพพาน ติดต่อพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าได้

-----------------------------------------

ถ้าเป็นสายวิชา ธรรมกาย ก็จะยึดเอานิมิต ดวงแก้วใส ๆ ๆ ๆ ๆ

จบที่ นิมิตภาพพระพุทธรูป ใสที่สุด

คุณหลับอยู่ครับ วรยุทธ ทั้งหลายที่สำนักคุณค้นพบใหม่ ถ่ายทอดกันมา ด้วยเคล็ดวิชาอันซับซ้อน

เป็นคนละอย่างกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก อรรถกถา เลยนะครับ

ว่าผมแต่เป็น ฟายยย ลองแปลงร่างเป็นฟายย มาไล่ขวิดผมได้ไหมเนี่ย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงแม้จะเป็นการมองคนละมุม

แต่ความคิดเห็นตรงกันครับ

ต่อไปนี้เหลิมจะได้หยุดโจมตีท่านพุทธทาสเรื่องนี้เสียที่

เพราะมีความคิดเห็นที่ตรงกันแระ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเฉลิมศักดิ์หายไปไหน :b1:

ขอแนะนำเพื่อนๆพี่ๆไปเล็งๆศาสนาอื่นๆบ้าง

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=118.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhadasa.com/index_subj.html

เทวดามีจริงหรือไม่ (โดยท่านพุทธทาส)
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html


“ทีนี้ อาตมา อยากจะชี้แจงต่อ ถึงข้อที่ว่า ทำไม คำว่า เทวดา หรือ คำว่า สวรรค์นี้ มามีอยู่ในพระพุทธภาษิต และอยู่ในพระไตรปิฎก โดยตรง. ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ในประเทศอินเดีย สมัยนั้น มีความเชื่อเรื่องเทวดา เรื่อง นรก เรื่องสวรรค์ นี้อยู่โดยสมบูรณ์แล้ว มีรายละเอียดชัดเจน เหมือนที่กล่าวนี้ ทุกอย่างมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น พอพระพุทธเจ้า มีขึ้นในโลก เรื่องเหล่านี้ มันมีอยู่แล้ว จะไปเสียเวลาหักล้าง ก็ไม่ไหว พิสูจน์ให้คนโง่ เห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงพลอยตรัส เอออวย ไปตามคำที่พูดๆ กันอยู่ แต่แล้ว ก็ทรงแสดง สิ่งที่ดีกว่า ให้เขาเลิกละ ความสนใจ หรือ ติดแน่น ในสิ่งนั้นเสีย ให้เลิกละ ความติดแน่น ในนรก ในสวรรค์ ในเทวโลก พรหมโลก เหล่านั้นเสีย
---------------------------------------------

คุณ mes ครับ ผมไม่ได้เชื่อตามท่านพุทธทาสง่าย ๆ นะครับ

สมัยเป็นวัยรุ่น อาจจะใช่ เพราะตอนนั้น ยังไม่เกิดศรัทธา เท่าไหร

สัทธา ความเชื่อ;
http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=9&
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;

----------------------------------------------------------------------

ยิ่งเรียนมาด้านวิทยาศาสตร์ด้วย เกือบจะเชื่อว่า นรกสวรรค์ไม่มี ตายแล้วสูญ

ผู้ที่เชื่อตามท่านพุทธทาส
http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... sc&start=0


เป็นบุญ ที่ยังไม่เกิดทิฏฐิว่า พระพุทธเจ้าทรงเอออวยสวมรอย สวมรอยกับศาสนาพราหมณ์ ในเรื่อง นรก สวรรค์ หลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด เหมือนที่ท่านพุทธทาสพยายามชี้นำ

ซึ่งก็มีคนจำนวนมากที่เชื่อตามท่าน

ทิฏฐิของอาจารย์คุณ mes
http://www.buddhadasa.com/shortbook/patihan.html


บาลีพระไตรปิฎกของเรานี้ ปรากฏว่ามีอยู่คราวหนึ่ง
ซึ่งถูกถ่ายจากภาษาสิงหลกลับสู่ภาษาบาลีแล้วเผาต้นฉบับเดิมเสีย
และผู้ที่ทำดังนี้ก็คือ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เป็นเอกอัครแห่ง
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายนั่นเอง,

ท่านผู้นี้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด จึงนำให้นักศึกษาหลายๆ คน
เชื่อว่า ถ้าเรื่องของพราหมณ์หลายเรื่อง (เช่น เรื่องนรก สวรรค์
เรื่องพระราหู จับพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในสังยุตตนิกาย เป็นต้น)
ได้เข้ามาปนอยู่ในพระไตรปิฎก ถึงกับบรรจุเข้าในพระพุทธโอษฐ์
ก็มีนั้น ต้องเป็นฝีมือของท่านผู้นี้ หรือบุคคลประเภทเดียวกับ
ท่านผุ้นี้ แต่ที่ท่านบรรจุเข้า ก็ด้วยความหวังดี ให้คนละบาป
บำเพ็ญบุญ เพราะสมกับความเชื่อถือของคนในครั้งนั้น



ยังไม่ปักใจเชื่อตามท่านนัก ที่ว่า พระไตรปิฏก อรรถกถา เถรวาท ไม่น่าเชื่อถือ เพราะถูก อรรถกถาจารย์ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอนุรทธาจารย์ ปลอมปนพระธรรมวินัย นำความเชื่อที่เป็น สัสสตทิฏฐิ มาปลอมปนในพระไตรปิฏก

ท่านพุทธทาสพยายามนำนิกายอื่น ๆ ของมหายาน เช่น ฮวงโป, เว่ยหลาง, เซน ฯลฯ มาเผยแพร่ รวมกับทิฏฐิของตนเอง แทนพระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท

ซึ่งไม่ต่างกับอีก ด้านหนึ่ง ที่ยึดถือว่า มีจิตไปปฏิสนธิในแดนพระนิพพาน เป็นอมตะ มหานิรันดร์กาล อย่างวิชา มโนมยิทธิ+ธรรมกาย ที่พยายามนำคำสอนของนิกายมหายาน มาเผยแพร่ เพราะเข้ากันได้กับทิฏฐิของตน ส่วนที่อ้างจากพระไตรปิฏก ก็อ้างเพื่อยืนยันว่า แดนพระนิพพานมีจริง เท่านั้นเอง

อย่างที่คุณหลับอยู่ อ้าง

มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗
ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

ซึ่งท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก อย่างพระพรหมคุณาภรณ์ ก็ได้ชี้แจงไว้

กรณีธรรมกาย
http://b2b2.tripod.com/tmk/

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


32516.ตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ คนจะมีอภิญญา ได้วิชา มโนมยิทธิ มากขึ้น จริงหรือ ?
viewtopic.php?f=2&t=32516&start=0

ตอนนี้ภาพที่เรามองไม่เห็นจะมีความรู้สึกว่ามีเห็นเป็นผู้หญิงผู้ชายนั่นแหละ มันไม่ปรากฏภาพมาก่อน แต่ความรู้สึกจะเกิดขึ้นกับใจ เมื่อจิตเริ่มเป็นฌานภาพจึงปรากฏขึ้นกับใจ
หลังจากนั้นไปครูเขาจะแนะนำในการตัดขันธ์ ๕ การตัดขันธ์ ๕ มีความสำคัญมาก คือเอาจิตมุ่งพระนิพพานโดยเฉพาะ คิดว่าถ้าตายชาตินี้ เมื่อตายเมื่อไหรขอไปนิพพานจุดเดียว ตัดสินใจแน่นอนละก็ไปถึงนิพพานแน่
หลังจากนั้นเขาจะพาไปพระจุฬามณี ซึ่งตั้อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถ้าขั้นถึงจุฬามณีพึงทราบได้เลยว่าขณะนั้นจิตเป็นฌาน ๔ ภาพจะเกิดความสว่างไสวมาก เขาจะพาไปนมัสการพระ ให้เห็นเทวดาหรือพรหม

หลังจากผ่านพระจุฬามณีแล้วเขาจะพาตรงไปพระนิพพาน ที่เราว่านิพพานสูญนั้นน่ะ เราจะได้ทราบว่านิพพานไม่สูญ ถ้านิพพานสูญก็ไม่มีพระอรหันต์องค์ไหนไปนิพพาน
นี่พูดถึงว่าสำหรับจิตที่มีกำลังอ่อน แต่ว่ามีมากท่านด้วยกันที่มีความเข้มแข็งทางจิต จิตสะอาดจริง พอเริ่มได้รับคำแนะนำจากครูไม่กี่คำจิตจะสว่างจ้า เห็นภาพชัดเจนแจ่มใสมาก เหมือนกับเห็นคนในเวลากลางวัน เครื่องแต่งกายละเอียดละออเพียงใดก็ตาม ก็สามารถจะเห็นได้



คุณ mes ครับ ผมเชื่อตาม หลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฏก อรรถกถา ในเรื่อง การฝึกอภิญญาจิต การมีของภพภูมิต่าง ๆ ของโอปปาติกะ

ซึ่งอาจารย์ใหญ่ของคุณ ไม่เชื่อตามครับ หาว่า พระพุทธเจ้าทรงเอออวย สวมรอยกับศาสนาพราหมณ์ หรือไม่ก็เป็นฝีมือ ของ อรรถกถาจารย์ หรือ พระพุทธโฆษาจารย์(วิสุทธิมรรค) พระอนุรุทธาจารย์(อภิธัมมัตถสังคหะ)

แต่ไม่เชื่อ ตามการกล่าวอ้างของ อัตตโนมติในรุ่นหลัง ๆ ครับ ที่อ้างว่า นั่งกันเป็นกลุ่ม ๆ แล้วได้นิมิตเห็นนั้น เห็นนี่ แม้กระทั่งแดนนิพพาน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ประวัติพระอภิธรรม โดยคุณกุหลาบสีชา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14797

อีกอย่าง ผมก็ไม่เชื่อทิฏฐิของท่านพุทธทาส ที่วิจารณ์พุทธวิสัย ของพระพุทธเจ้า ในเรื่อง การเสด็จขึ้นไปแสดงพระอภิธรรม โปรดพุทธมารดา บนเทวโลก ว่าเป็นการสร้างเรื่องขึ้นของพระเจ้าอโศกมหาราช



คำวิจารณ์ของท่านพุทธทาสต่อ พุทธวิสัย (การแสดงพระอภิธรรม ณ ดาวดึงส์เทวโลก)
http://topicstock.pantip.com/religious/ ... 30962.html

ทีนี้ดูหินสลักที่จำลองมาไว้ที่นี่ หินสลักสมัยสาญจีนี้มัน พศ. ๔๐๐ – ๕๐๐ เท่านั้นเอง เมื่อ พศ. ๔๐๐ – ๕๐๐ มีความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าขึ้นสวรรค์เสร็จแล้ว ไปดูเถอะ เขาสลักบันไดขึ้นสวรรค์ลงสวรรค์ของพระพุทธเจ้าในหินสลักนั้น ฉะนั้นแสดงว่าประชาชนเชื่อกันหมดแล้ว โดยอำนาจของพระราชามหาจักรพรรดิให้สลักเหล่านี้ ประชาชนต้องเชื่อ ในยุคที่มันพ้องกันกันไม่เชื่ออยู่สักครึ่งอายุคน พอตายหมด ยุคหลังมันเชื่อหมดว่าพระพุทธเจ้าขึ้นไปบนดาวดึงส์ นี่ พศ. ๔- ๕๐๐ นี้เป็นอันว่าประชาชนเชื่อแน่นแฟ้นแล้ว มีหินสลักเหล่านี้เป็นพยาน แล้วหนังสือคัมภีร์เรื่องพุทธประวัตินั้นเขียนทีหลังหินสลัก คัมภีร์ลลิตวิตตะหรือว่าพระพุทธจริตะอะไรก็ตาม เรื่องพุทธประวัติมันเขียนทีหลัง เมื่อประมาณ พศ. ๙๐๐ - ๑๐๐๐ เพราะฉะนั้นหนังสือที่เขาเขียนตามหินสลัก หินสลักเขาสลักในสมัยที่ไม่ได้ใช้หนังสือ ทีนี้หินสลักนี้ พศ. ๔-๕๐๐ ถ้าก่อนหินสลัก พศ. ๔ – ๕๐๐ นี้ขึ้นไปอีก มันก็ถึงสมัยพระเจ้าอโศกเท่านั้น

หน้า ๗๙ “ พศ. ๔-๕๐๐ มีการสลักภาพหราไปหมด พศ. ๙๐๐- ๑๐๐๐ ก็เขียนหนังสือ เป็นคัมภีร์พุทธประวัติ อย่างปฐมสมโพธิ ที่เราเรียกในเมืองไทยว่า ปฐมสมโพธิ ในอินเดียก็มีคือคัมภีร์ลลิตวิตตะระ คัมภีร์พุทธจริตะ มันก็มีเรื่องดางดึงส์ ฉะนั้นเรื่องขึ้นดาวดึงส์ต้องมี จริงไม่จริงก็ตามใจ มันต้องให้ฝังอยู่ในจิตใจของประชาชน ว่าพระพุทธเจ้าเป็นสัตถาเทวมนุสสานัง สอนทั้งในเทวโลก มนุษย์โลก นี้เราเห็นใจยอมรับว่าจะต้องมี แต่ที่จะให้เราถือว่าเป็นความจริงนั้นมันไม่ได้ นี้เราไม่งมงายเราถือตามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าดีจริง คำสอนของพระพุทธเจ้าดีจริง โดยไม่ต้องขึ้นไปบนเทวโลกหรอก ยิ่งไม่ขึ้นไปบนเทวโลกเสียอีกพระพุทธเจ้าจะเก่งกว่า สำหรับเรามันเป็นอย่างนี้ แต่สำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งมีแต่ความเชื่อนั้น มันต้องเป็นอย่างโน้น เดี๋ยวนี้เราจะอยู่ในลักษณะที่มันถูกต้องหรือพอดี เราจึงกล้าวิจารณ์เรื่องปาฏิหาริย์ไปบนเทวโลก ว่ามันไม่สมเหตุผลอยู่ในตัวมันเอง



----------------------------------------------

เห็นทิฏฐิอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes ไหมครับ นอกจากจะกล่าวตู่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว ยังกล่าว พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ในสมัยโบราณ อีก ว่าสร้างเรื่องเหล่านี้ ขึ้นมา

นี้กระมังครับ ในพระวินัย จึงกล่าวถึงผลของการประพฤติผิดในพระไตรปิฏก ว่าจะเป็นผู้ฟุ้งซ่าน วิจารณ์ธรรมมากเกินไป

[ผู้ปฏิบัติไม่ดีใน ๓ ปิฎกได้ผลเสียต่างกัน]
ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระวินัย ย่อมมีความสำคัญว่าหาโทษมิได้ ใน
ผัสสะทั้งหลายมีสัมผัสซึ่งรูปเป็นอุปาทินกะเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสห้ามแล้ว โดยความเป็นอาการเสมอกับด้วยสัมผัสซึ่งวัตถุมีเครื่องลาด
และผ้าห่มเป็นต้น ซึ่งมีสัมผัสเป็นสุข ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว.
แม้ข้อนี้ต้องด้วยคำที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธรรมอันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ว่า เป็นธรรมอันทำอันตรายได้อย่างไร
ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถ เพื่อกระทำอันตรายแก่บุคคลผู้เสพได้(๑) ดังนี้. ภิกษุ
นั้นย่อมถึงความเป็นผู้ทุศีล เพราะความปฏิบัติไม่ดีนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระสูตร ไม่รู้อยู่ซึ่งอธิบายในพระบาลีมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ดังนี้ ย่อมถือเอาผิด
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสว่า บุคคลมีธรรมอันตนถือผิดแล้ว ย่อม
กล่าวตู่เราทั้งหลายด้วย ย่อมขุดตนเองด้วย ย่อมได้ประสบบาปมิใช่บุญมาก
ด้วย(๒) ดังนี้ ภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิผิด เพราะการถือนั้น.
# ๑. วิ. มหา. ๒/๔๓๔. ๒. ม. ม. ๑๒/๒๖๖.
ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระอภิธรรม แล่นเกินไปซึ่งการวิจารณ์ธรรม
ย่อมคิดแม้ซึ่งเรื่องที่ไม่ควรคิด ย่อมถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต เพราะคิดซึ่งเรื่อง
ที่ไม่ควรคิดนั้น. ข้อนี้ต้องด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
บุคคลคิดอยู่ซึ่งเรื่องที่ไม่คิดเหล่าใด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า
แห่งความลำบากใจ เรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่านี้ ๔ ประการ อันบุคคลไม่ควรคิด*
ดังนี้. ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในปิฎก ๓ เหล่านี้ ย่อมถึงความวิบัติต่างด้วยความเป็น
ผู้ทุศีล ความเป็นผู้มีทิฏฐิผิดและความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ ตามลำดับ ด้วยประการ
ฉะนี้.



ดูตัวอย่างจากคุณ mes และอาจารย์คุณ mes ได้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


สมุดภาพพระพุทธประวัติ
http://84000.org/tipitaka/book/


ทรงสำแดงยมกปาฏิหาริย์ข่มพวกเดียรถีย์ที่ต้นมะม่วงคัณฑามพฤกษ์
http://84000.org/tipitaka/picture/f62.html

แล้วเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรด(พระอภิธรรม) พระพุทธมารดา
http://84000.org/tipitaka/picture/f63.html

ถึงวันมหาปวารณา เสด็จลงจากดาวดึงส์โดยบันไดแก้ว บันไดทอง บันไดเงิน
http://84000.org/tipitaka/picture/f64.html

____________________________________
ประวัติพระอภิธรรม
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14797

-----------------------------------------



มีเรื่องที่สืบเนื่องจาก ประวัติพระอภิธรรม คือ วันออกพรรษา จะมีแสงประหลาดหลากหลายสีพุ่งจาก แม่น้ำโขง

ผมเชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์ ที่เทวดานาค ท่านแสดงครับ

เหตุการณ์ในวันปวารณาออกพรรษาในพรรษาที่ ๗ และบั้งไฟพญานาค เกี่ยวพันกันอย่างไร ? :
http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry429992

แต่หากเป็นข้อเท็จจริงทางวิชาการของอาจารย์ใหญ่คุณ mes (ท่านพุทธทาส) คงอธิบายไม่ถูกครับ อาจจะอ้างว่า เป็นก๊าซใต้แม่น้ำโขง, เป็นการยิงพลุของชาวบ้าน ฯลฯ

ก็แล้วแต่จะวิจารณ์กันไป ครับ

อนึ่ง ผมเชื่อว่า เทวดานาคมีจริง ปาฏิหาริย์มีจริง

แต่จะให้ผมไปกราบไหว้ขอให้ดลบันดาล ให้ร่ำรวย เร็ว แบบบางสำนักทำ

ผมก็ไม่เชื่อตามนะครับ เพราะเริ่มมี ศรัทธา แล้วครับ

http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=9&

สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ละเหตุได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง
ความหมดกิเลสทั้งปวงเป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย

มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน ( ตามความเป็นจริง )
เหตุมี ผลย่อมมี ทำสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้นแล


ใครได้ ใครเสีย ทำแล้ว ได้อะไรขึ้นมา
เรื่องความเชื่อ เป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคล
ใครเชื่อใคร ล้วนเกิดจากเหตุที่เขาทำร่วมกันมา

ใครรู้ตัวก่อน ย่อมหยุดได้ก่อน
คนที่หยุดได้ก่อน คือคนที่ได้เปรียบ
ส่วนใครที่ยังขยันสร้างเหตุใหม่ให้เกิดต่อไป
บ่วงนั้นย่อมร้อยรัดจิตเขาไว้ให้ตกอยู่ในวัฏสงสารต่อไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhadasa.com/shortbook/patihan.html

อ้างคำพูด:
ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์
เรื่องของฤทธิ์ หรือ ปาฎิหาริย์ นับว่าเป็นเรื่องหนึ่ง ที่ยังมัวอยู่มาก
ในบรรดา เรื่องที่ยังมัวอยู่ หลายเรื่อง ด้วยกัน และดูเหมือน จะเป็นเพราะ
ความที่มันเป็น เรื่องมัว นี่เอง ที่เป็นเหตุ ให้มีผู้สนใจ ในเรื่องนี้ อยู่เรื่อยๆ
มาเป็นลำดับอย่างไม่ขาดสาย และมากกว่า ที่ถ้ามันจะเป็น เรื่องที่กระจ่าง
เสียว่า มันเป็นเรื่อง อะไรกันแน่

หมายความว่า ถ้าเราทราบดีว่า ฤทธิ์ คืออะไร
และเป็นเรื่อง เหมาะสำหรับใคร โดยเฉพาะแล้ว
เชื่อว่า จะทำให้มีผู้สนใจเรื่องนี้ น้อยเข้า เป็นอันมาก

ท่านผู้ที่แสดงฤทธิ์ได้ ไม่เคยปรากฏว่า ได้รับผล อัน"เด็ดขาดแท้จริง" อย่างไร
จากฤทธิ์นั้น ทั้งทางวัตถุ และความสุขในส่วนใจ

ฤทธิ์ เป็นเรื่องจริง สำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่า ฤทธิ์ คืออะไร
และ ตนเป็นผู้ที่ ตกอยู่ใน ภูมิแห่งใจที่ต่ำ
จนผู้มีฤทธิ์ จะออกอำนาจฤทธิ์ บังคับ เมื่อไรก็ได้

แต่สำหรับผู้มีฤทธิ์ หรือ ผู้ที่รู้เรื่องฤทธิ์ดี หรือมีกำลังใจ เข็มแข็ง เท่ากับผู้มีฤทธิ์
จะเห็นว่า ฤทธิ์นั้น เป็นเพียงเรื่อง "เล่นตลก" ชนิดหนึ่ง เท่านั้น
แต่เป็นเรื่องที่ แยบคายมาก ลึกซึ้งมาก

พระพุทธองค์ ทรงสะอิดสะเอียน ในเมื่อจะต้องมีการแสดงฤทธิ์
เว้นแต่ จะเป็น การจำเป็น จริงๆ ทรงห้าม พระสาวก ไม่ให้แสดงฤทธิ์
พระองค์เอง ก็ตรัสไว้ใน เกวัฎฎสูตร๑ ว่า พระองค์เอง ก็ไม่พอพระทัย
ที่จะทรมานใคร ด้วยอิทธิปาฎิหาริย์ และ อาเทศนาปาฎิหาริย์
เพราะมันพ้องกันกับ วิชากลางบ้าน ซึ่งพวกนักเลงโต ในสมัยนั้น เล่นกันอยู่
เรียกว่า วิชาคันธารี และมนต์มณิกา

พระองค์ พอพระทัยที่สุด ที่จะใช้ อนุสาสนีปาฎิหาริย์
คือ การพูดสั่งสอนกัน ด้วยเหตุผล ที่ผู้ฟังจะตรองเห็นตามได้เอง
อันเป็น การทรมาน ที่ได้ผลเด็ดขาด ดีกว่าฤทธิ์ ซึ่งเป็นของชั่วขณะ
อันจะต้องหาวิธีทำให้ มั่นคง ด้วยการสั่งสอน ที่มีเหตุผล อีกต่อหนึ่ง ในภายหลัง

แต่ถึงแม้ว่า ฤทธิ์จะเป็น เรื่องหลอกลวงตา
อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นเรื่อง ที่น่าสนใจอยู่บ้าง
เพราะมันเป็นสิ่งที่ท่านผู้มีฤทธิ์ เคยใช้ต่อต้าน
หรือ ทำลายอุปสรรคของท่านสำเร็จมาแล้ว เป็นอันมากเหมือนกัน

เมื่อเราปวดท้อง เพราะอาหารเน่าบูดในท้อง ยาขนานแรก ที่เราต้องกิน
ก็คือ ยาร้อน เพื่อระงับความปวด ให้หายไปเสียขณะหนึ่งก่อน
แล้วจึง กินยาระบาย ถ่ายของบูดเน่าเหล่านั้นออก
อันเป็นการแก้ให้หายเด็ดขาด ในภายหลัง

ทั้งที่ ยาแก้ปวดท้อง เป็นเพียงแก้ปวดชั่วคราว ไม่ได้แก้ สมุฎฐานของโรค
มันก็เป็น ยาที่มีประโยชน์ อยู่เหมือนกัน ในเมื่อเรารู้จักใช้
เปรียบกันได้กับ เรื่องฤทธิ์ อันท่านใช้ทรมานใคร ในเบื้องต้น
แล้วทำให้มั่นคงด้วยปัญญา หรือ เหตุผลในภายหลัง ฉันใดก็ฉันนั้น

แต่ถ้าไม่มีการทำให้มั่นคงด้วยเหตุผลที่เป็นปัจจัตตะ หรือสันทิฎฐิโก ในภายหลัง
ผลที่ได้มักไม่สมใจ เช่นเดียวกับ กินเพียง ยาระงับ ความเจ็บปวด อย่างเดียว
แต่หาได้ ถ่ายโทษร้าย นั้นออกเสียไม่ มันก็กลับเจ็บอีก
หรือ กลายเป็นโทษร้ายอย่างอื่นไป
ควรใช้กำลังฤทธิ์ในเบื้องต้น ใช้ปัญญาหรือเหตุผล ในภายหลัง
ย่อมได้ผลแนบแนียนและไพศาลกว่า ที่จะได้เพียงอย่างเดียว แต่อย่างเดียว

คนบางพวก เลื่อมใสในศาสนาด้วยอำนาจปาฏิหาริย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
จูงให้เข้า ปฏิบัติศาสนา จนได้รับ ผลของศาสนานั้นแล้ว แม้จะมารู้ภายหลังว่า
เรื่องฤทธิ์ เป็นเรื่องหลอก เขาก็ละทิ้ง เฉพาะเรื่องของฤทธิ์ แต่หาได้ ทิ้งศาสนา
หรือความสุข ที่เขาประจักษ์ กับเขาเอง ในภายหลังนั้นไม่

แต่มีปรากฏอยู่บ้างเหมือนกัน ที่คนบางคนเลื่อมใสฤทธิ์ อย่างเดียว
เข้ามาเป็นสาวกของพระพุทธองค์แล้ว หาได้ทำให้ตน เข้าถึง
หัวใจแห่งพุทธธรรมด้วยปัญญาไม่ ต้องหันหลังกลับไปสู่มิจฉาทิฎฐิตามเดิม
เช่น สุนักขัตตะลิจฉวีบุตร เป็นต้น แต่ก็มีมากหลาย ที่ถูกทรงชนะมาด้วยฤทธิ์
แล้วได้รับการอบรมสั่งสอนต่อ ได้บรรลุพระอรหัตตผลไป เช่น
ท่านพระองคุลิมาล เป็นต้น

จึงเป็นอันว่า เรื่องฤทธิ์ ก็เป็นเรื่องที่น่ารู้สนใจอยู่ไม่น้อย
แม้จะไม่เป็นการสนใจเพื่อฝึกฝนตนให้เป็นผู้มีฤทธิ์

แต่ก็เป็นการสนใจ เพื่อจะรู้สิ่งที่ควรรู้ ในฐานะที่ตน เป็นนักศึกษา
หาความแจ่มแจ้งในวิชาทั่วๆไป

ต่อไปนี้ จะได้วินิจฉัยในเรื่องฤทธิ์นี้ เป็นเพียง แนวความคิดเห็น
ที่ขยายออกมา สำหรับจะได้ช่วยกัน คิดค้นหาความจริง
ให้พบใกล้ชิดเข้าไปหาจุดของความจริง แห่งเรื่องนี้ ยิ่งขึ้นเท่านั้น

ในบาลีพระไตรปิฎก เราพบเรื่องของฤทธิ์ ชั้นที่เป็นวิชชา หรืออภิญญา หนึ่งๆ
แสดงไว้แต่ลักษณะ หรือ อาการว่า สามารถทำได้ เช่นนั้นๆ เท่านั้น หามีบทเรียน
หรือวิธีฝึก กล่าวไว้ด้วยไม่ อันท่านผู้อ่านจะอ่านพบได้จากพระบาลีมหาอัสสปุรสูตร
หรือ สามัญญผลสูตร แล้ว, ในบาลี คล้ายๆ กับ ท่านแสดงว่า
เมื่อได้พยายามฝึกจิต ของตนให้ผ่องใส จนถึงขนาดที่เหมาะสม แก่การใช้มันแล้ว
ฤทธิ์นั้นก็เป็นอันว่า อยู่ในกำมือ ต่อมาในชั้น อรรถกถา และคัมภีร์พิเศษ เช่น
คัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยเฉพาะได้อธิบายถึงวิธีฝึกฝนเพื่อการแสดงฤทธิ์ ไว้โดยตรง
และดูคล้ายกับว่า ท่านประสงค์ให้เป็น บุรพภาคของการบรรลุมรรคผล เสียทีเดียว

ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า เรื่องฤทธิ์นี้เป็นเรื่องของพุทธศาสนาโดยตรงหรือเป็นส่วนหนึ่ง
ของพุทธศาสนา ในบาลีมัชฌิมนิกาย มีพุทธภาษิตว่า
พระตถาคต สอนแต่เรื่องความทุกข์ กับ ความพ้นทุกข์ เท่านั้น ๒
ทั้งเรื่อง ของฤทธิ์ ก็ไม่เข้า หลักโคตมีสูตรแปดหลักแต่หลักใดหลักหนึ่ง
การที่เรื่องของฤทธิ์ เข้ามาเกี่ยวข้องกับ พุทธศาสนาได้ ก็เป็น การเทียบเคียง
โดยส่วนเปรียบว่า ผู้ที่ฝึกจิตของตน ให้อยู่ในอำนาจ อาจที่จะ บรรลุมรรคผล ได้
ในทันตาเห็น นี้แล้ว จิตชนิดนั้น ก็ย่อมสามารถ ที่จะ แสดงฤทธิ์ เช่นนั้นๆ ได้
ตามต้องการ เมื่อต้องการ, และ อีกประการหนึ่ง ฤทธิ์ เป็นเครื่องมือ อย่างดี ที่จะ
ทรมานบุคคล ประเภทที่ไม่ใช่นักศึกษา หรือนักเหตุผล ให้มาเข้ารีตถือศาสนาได้,
ในยุคพุทธกาล ยังเป็น ยุคแห่งจิตศาสตร์ ไม่นิยมพิสูจน์ค้นคว้า กันในทางวัตถุ
เช่น วิทยาศาสตร์แผนปัจจุบัน มหาชนหนักไปในทางนั้น บรรดาศาสดา จึงจำเป็น
ที่จะต้องมี ความรู้ ความสามารถ ในเรื่อง ฤทธิ์นี้เป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งด้วย
เราอาจกล่าวได้ว่า ฤทธิ์ เป็นของคู่กันกับ ลัทธิคำสอน มาตั้งแต่ ดึกดำบรรพ์
ก่อนพุทธกาล ซึ่งศาสดานั้น ใช้เป็นเครื่องมือ เผยแพร่ ศาสนาของตน
แม้พระพุทธองค์ ซึ่งปรากฏว่า เป็นผู้ที่ทรง เกลียดฤทธิ์ ก็ยังต้องทรงใช้บ้าง
ในบางคราวเมื่อจำเป็น ดังที่ปรากฏอยู่ในบาลี หลายแห่ง

ครั้ง ก่อนพุทธกาล นานไกล
ในยุคพระเวท พระเวทยุคแรกๆ ก็มีแต่คำสั่งสอนในการปฏิบัติและบูชาเท่านั้น

ครั้นตกมายุคหลัง เกิดพระเวทที่สี่ (อรรถวนเวท) ซึ่งเต็มไปด้วยเวทมนต์
อันเป็นไปในการให้ประหัตประหารล้างผลาญกัน หรือต่อสู้ต้านทาน
เวทมนต์ของศัตรู ขึ้นด้วยอำนาจความนิยมของมหาชน หรือ อาจกล่าวได้
อีกอย่างว่า ตามอำนาจสัญชาตญาณของปุถุชนนั่นเอง นับได้ว่ายุคนี้เป็น
มูลราก ของสิ่งที่เรียกกันว่า "ฤทธิ์" และนิยมสืบกันมา ด้วยเหตุที่ว่า
มหาชนชอบซื้อ "สินค้า" ที่เป็นไปทำนองฤทธิ์ มากกว่าเหตุผลทางปรัชญา
ถ้าศาสนาใด ด้อยในเรื่องนี้ ก็จะมีสาวกน้อยที่สุด จะได้แต่ คนฉลาดเท่านั้น
ที่จะเข้ามาเป็นสาวก ถ้าเกิดการแข่งขัน ในระหว่างศาสนา ก็เห็นจะเป็น
ฤทธิ์ อย่างเดียวเท่านั้น ที่จะนำความมีชัยมาสู่ตนได้ ในเมื่อให้
มหาชนทั้งหมด เป็นกรรมการตัดสิน คือ ให้พวกเขา หันเข้ามาเลื่อมใส

และเพราะเหตุนี้เอง ในบาลี จึงมีกล่าวประปรายถึง ฤทธิ์
ส่วนในอรรถกถา ได้กล่าวอย่าง ละเอียดพิสดาร
พระพุทธโฆษาจารย์ ได้กล่าว วิธีฝึกฤทธิ์ ไว้ใน คัมภีร์วิสุทธิมรรค
ซึ่งเป็นหนังสือที่แต่งขึ้น เพื่อเอาชนะน้ำใจ ชาวเกาะลังกา
นับตั้งแต่ พระสังฆราช แห่งเกาะนั้น ลงมา อันนับว่า เป็นหนังสือเล่มสำคัญที่สุด
ของท่านผู้นี้ และได้กล่าวไว้ใน อรรถกถาขุททกนิกาย ว่า พระศาสดาของเรา
ทรงแสดงฤทธิ์ หรือ ปาฎิหาริย์ แข่งกับ ศาสดานิครนถเดียรถีย์
อันเรียกว่า ยมกปาฎิหาริย์ และเล่าเรื่องพระศาสดาทรงแสดงปาฎิหาริย์ย่อยๆ
อย่างอื่นอีก เป็นอันมาก นี่ชี้ให้เห็นชัดทีเดียวว่า จะอย่างไรก็ตาม ได้มีการต่อสู้
และแข่งขัน ในระหว่างเพื่อนศาสดา ด้วยใช้ฤทธิ์เป็นเครื่องพิสูจน์
ตามความนิยมของมหาชน เป็นแน่แท้ในยุคนั้น,
แต่นักต่อสู้นั้นๆ จะเป็น องค์พระศาสดาเอง ดังที่ท่านผู้นี้กล่าว
หรือ ว่าเป็นพวกสาวกในยุคหลังๆ หรือ ยุคของท่านผู้กล่าวเอง
หรือ ราว พ.ศ. ๙๐๐ ก็อาจเป็นได้ ทั้งสองทาง

อาจมีผู้แย้งว่าถ้าเป็นยุคหลัง ทำไมเรื่องนี้จึงไปอยู่ในบาลีเดิมเล่า?
พึงเข้าใจว่า บาลีพระไตรปิฎกของเรานี้ ปรากฏว่ามีอยู่คราวหนึ่ง
ซึ่งถูกถ่ายจากภาษาสิงหลกลับสู่ภาษาบาลีแล้วเผาต้นฉบับเดิมเสีย
และผู้ที่ทำดังนี้ก็คือ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เป็นเอกอัครแห่ง
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายนั่นเอง,

ท่านผู้นี้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด จึงนำให้นักศึกษาหลายๆ คน
เชื่อว่า ถ้าเรื่องของพราหมณ์หลายเรื่อง (เช่น เรื่องนรก สวรรค์
เรื่องพระราหู จับพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในสังยุตตนิกาย เป็นต้น)
ได้เข้ามาปนอยู่ในพระไตรปิฎก ถึงกับบรรจุเข้าในพระพุทธโอษฐ์
ก็มีนั้น ต้องเป็นฝีมือของท่านผู้นี้ หรือบุคคลประเภทเดียวกับ
ท่านผุ้นี้ แต่ที่ท่านบรรจุเข้า ก็ด้วยความหวังดี ให้คนละบาป
บำเพ็ญบุญ เพราะสมกับความเชื่อถือของคนในครั้งนั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่า พระศาสดามิได้ทรงสอนเรื่องฤทธิ์ หรือ
เรื่องฤทธิ์มิได้เข้าเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาลแล้ว
มันก็น่าจะได้เข้าเกี่ยวข้องในครั้งนี้ เป็นแน่.
ท่านผู้ที่ดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ได้ทำไปด้วยความหวังดี
เพื่อให้ พุทธศาสนาอันเป็นที่รักของท่าน ต้านทานอิทธิพล
ของศาสนาอื่น ซึ่งกำลังท่วมทับเข้ามานั่นเอง มิฉะนั้น น่ากลัวว่า
พุทธศาสนาจะเหลืออยู่ในโลกน้อยกว่าที่เป็นอยู่ ในบัดนี้มาก

เมื่อเหตุผลมีอยู่ดังนี้ ข้อปัญหาต่อไป จึงมีอยู่ว่าเราจะปรับปรุงความคิดเห็นและ
ความเชื่อถือในเรื่องฤทธิ์นี้อย่างไร ข้าพเจ้าเห็นว่า ฤทธิ์ เป็นเพียงเครื่องประดับ
หรือเครื่องมืออย่างหนึ่ง ซึ่งพุทธศาสนาเคยใช้ประดับ หรือใช้ต้านทานศัตรูมาแล้ว
แต่หาใช่เป็น เนื้อแท้ของพุทธวจนะ ซึ่งกล่าวเฉพาะความดับทุกข์โดยตรงไม่

เพราะฉะนั้น เมื่อเราในบัดนี้ จะเข้าเกี่ยวข้อง กับฤทธิ์อย่างดีที่สุดที่จะทำได้
ก็เท่ากับที่เป็นมาแล้วนั่นเอง เราไม่อาจถือเอามัน เป็นสรณะอันแท้จริงอย่างไรได้
เพราะเหตุผล ดังที่ ข้าพเจ้าจะได้แสดงต่อไป ตามความรู้ ความเห็น ฝากท่านผู้รู้
ช่วยกัน พิจารณาหาความจริง สืบไป

คำว่า ฤทธิ์ แปลว่าเครื่องมือให้สำเร็จตามต้องการ แต่ความหมายจำกัดแต่เพียงว่า
เฉพาะปัจจุบันทันด่วน หรือชั่วขณะเท่านั้น เมื่อ หมดอำนาจบังคับของฤทธิ์ แล้ว
สิ่งทั้งปวง ก็กลับคืนเข้าสู่สภาพเดิม ผู้มีกำลังจิตสูงย่อมแสดงฤทธิ์ ได้สูง
จนผู้ที่มีฤทธิ์ด้วยกัน ต้องยอมแพ้ เพราะมีอำนาจใจต่ำกว่า

จิตเป็นธรรมชาติ อันหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้มีการฝึกให้ถูกวิธีของมันแล้ว
ย่อมมีอำนาจมากพอ ที่จะครอบงำสิ่งทั้งหลายที่มีจิตใจด้วยกันได้หมด
ช้างป่าดุร้าย และน่าอันตรายมาก ถ้าเราไม่ได้ค้นพบวิธีฝึกมันแล้ว
ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ อะไรจากมันเลย คนเราที่รู้จักคิดว่า ช้างนี้
คงฝึกได้อย่างใจ และค้นพบวิธีฝึกบางอย่างในขั้นต้น ก็นับว่าเป็นผู้ที่
ทำสิ่งที่ยากมาก แต่ผู้ที่ค้นพบเรื่องของจิต และวิธีฝึกมัน โดยประการต่างๆ นั้น
นับว่า ได้ทำสิ่งที่ยาก มากกว่า นั้นขึ้นไปอีก

ในยุคดึกดำบรรพ์ เมื่อได้มีการสนใจ ในเรื่องจิตกันขึ้น นักจิตศาสตร์ ได้พยายาม
ทดลองโดยอาการต่างๆ แยกกันไป คนละสาย สองสาย จนในที่สุด ก็ได้ลุถึง
คุณสมบัติอันสูงสุดที่จิต ที่เขาฝึกถึงที่สุด ในแง่นั้นๆแล้ว สามารถจะ อำนวย
ประโยชน์ ให้ได้ อันจำแนกได้ โดยประเภทหยาบๆ คือ

(๑) เข้าถึงธรรมชาติ ที่เรียกว่า ทิพย์ แล้วหา ความเพลิดเพลิน จากสิ่งที่เรียกว่า
วิสัยทิพย์ นั้นๆ
(๒) มีอำนาจบังคับทางจิต สำหรับบังคับจิต ของเพื่อนสัตว์ ด้วยกัน
เพื่อเอาผล เช่นนั้น เช่นนี้ ตามความปรารถนา
(๓) สามารถรู้เรื่อง เกี่ยวกับ สากลจักรวาล พอที่จะให้ตน หมดความอยากรู ้
อยากค้นคว้า อีกต่อไป เพราะตนพอใจ ในความรู้นั้นๆ เสียแล้ว
(๔) สามารถปลงวาง สลัดออกเสีย ซึ่งความทุกข์ ทางใจ อันได้แก่ ลัทธิศาสนา
ที่เกี่ยวกับความดับทุกข์ ในจิต ทั้งมวล นับตั้งแต่ สุขใน ฌาน สมาธิ มรรค
ผล นิพพาน เป็นลำดับๆ

พวกใด ดำเนินสายแห่งการค้นคว้าของเขา เข้าไปในดงรกแห่งฤทธิ์วิธี
ย่อมได้ผลใน สองประเภท ข้างต้น (ข้อ ๑-๒)

พวกที่ดำเนินไป เพื่อฟันฝ่า รกชัฎ แห่งตัณหา อันเป็นก้อนหินหนักแห่งชีวิต
ก็ได้ ผลประเภทหลัง (ข้อ ๓-๔)

พวกแรก คือ พวกฤทธิ์ พวกหลัง คือ ศีลธรรม และ ปรัชญาในทางจิต
ทั้งสองประเภทนี้ เป็นที่นิยม ของมหาชน อย่างคู่เคียง กันมา

ในยุคที่ความนิยม ในทางจิตศาสตร์ ยังปกคลุม ดินแดน อันเป็นที่เกิดขึ้น
แห่งวิชานี้ คือ ชมพูทวีป หรือ อินเดียโบราณ มหาชนในถิ่นนั้น ต่างได้รับผล
สมประสงค์กันทั้ง ฝ่ายฤทธิ์ และฝ่ายความพ้นทุกข์ ของจิต แต่ในที่นี้
จะได้กล่าวเฉพาะ เรื่องฤทธิ์อย่างเดียว
งดเรื่องของความพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งเสีย

ผู้ที่ฝึกใจตามวิธีที่ค้นคว้า และ สั่งสอนสืบๆ กันมา หลายชั่วอายุคน ได้ถึงขีดสุด
อย่างถูกต้องแล้ว สามารถบังคับใจตนเอง ให้เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ อันเกี่ยวกับ รูป
เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ความรู้สึกในใจ อันเกิดขึ้นจากรูป เสียง เป็นต้น นั้นๆ
แล้วฝึกวิธีที่จะส่งกระแสจิตนั้นๆ ไปครอบงำจิตผู้อื่น ให้ผู้อื่นรู้สึกเช่นนั้นบ้าง
ในทางรูป เสียง กลิ่น ฯลฯ ทุกประการ ผู้ที่มีกำลังจิตอ่อนกว่าทุกๆ คน แม้จะมี
จำนวนมากมายเท่าใด ก็จะรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่นเดียวกันหมด เพราะ
ใจของเขา ถูกอำนาจจิตของผู้ที่ส่งมา ครอบงำเขาไว้ ครอบงำเหมือนกันหมด
ทุกๆ คน จึงได้เห็นหรือ ได้ยิน ได้ดมตรงกันหมด เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม
บ้านเมืองที่งดงาม ฯลฯ ตามแต่ที่ผู้ออกฤทธิ์ ได้สร้างมโนคติขึ้นในใจของเขา
แล้วส่งมาครอบงำอำนาจครอบงำ อันนี้ เป็นไปแนบเนียน สนิทสนม ผู้ที่ถูกงำ
ไม่มีโอกาสรู้สึกตัวในเวลานั้น ว่าถูกครอบงำทางจิต และ สิ่งที่รู้สึกนั้น
ไม่ใช่ของจริง เมื่อเรานอนหลับ และ กำลังฝันอยู่ เราไม่อาจรู้ตัวว่า เราฝัน
เรากลัวจริง โกรธจริง กำหนัดจริง ฉันใด ในขณะที่ เราถูกงำ ด้วยอำนาจฤทธิ์
ก็รู้สึกว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ ทุกอย่างฉันนั้น

ผู้ออกฤทธิ์บางคน สามารถออกอำนาจบังคับ เฉพาะคน ยกเว้นให้บางคน คนใน
หมู่นั้น แม้นั่งอยู่พร้อมกันในที่เดียวกัน จึงเห็นต่างๆกัน ดังเราจะได้ยิน ในตอนที่
เกี่ยวกับ พระศาสดาทรมานคนบางคน ที่เข้าไปเผ้าพระองค์ ในที่ประชุมใหญ่
และพระองค์ ทรงบันดาล ด้วย อิทธาภิสังขาร เฉพาะผู้นั้น ให้เห็น หรือ ได้ยิน
อย่างนี้ อย่างนั้น เพื่อทำลาย ทิฎฐิ หรือ มานะ บางอย่าง ของเขาเสีย

เมื่อผู้ที่ทำการต่อสู้กัน ต่างก็มีฤทธิ์ด้วยกัน นั่นย่อมแล้วแต่ อำนาจจิต ของใคร
จะสูงกว่า หรือ มีกำลังแรงกว่า เมื่อผู้มีฤทธิ์ ฝ่ายหนึ่ง ได้บันดาล ให้ทุกๆ คน
ในที่นั้น เห็นภาพ อันน่ากลัว มาคุกคาม อยู่ตรงหน้า เช่นนั้นๆ แล้ว ถ้าหาก
อีกฝ่ายหนึ่ง มีอำนาจจิต สูงกว่า ก็อาจรวบรวม กำลังจิตของตน เพิกถอนภาพ
อันเกิดจากอำนาจฤทธิ์ของฝ่ายแรก กวาดให้เกลี้ยงไปเสียจากสนามแห่งวิญญาณ
แล้วบันดาล ภาพอันน่ากลัว ซึ่งเป็น ฝ่ายของตน ขึ้น คุกคาม บ้าง แม้ว่า ในขณะที่
คนนั้นๆ ถูกอำนาจฤทธิ์ ครอบงำอยู่ และเขาไม่อาจทราบว่า นั่นเป็น กำลังฤทธิ์ ดุจ
ตกอยู่ในขณะแห่งความฝัน ก็ดี เขายังได้รับการศึกษา และความเชื่อมาก่อนแล้ว
ว่า มีวิธีที่จะต่อสู้ต้านทาน ซึ่งเป็นการเพิกถอนฤทธิ์ ของฝ่ายหนึ่ง เช่นนั้นๆ ด้วย
จึงโต้ตอบ กันไปมา จนกว่า ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง จะสิ้นฤทธิ์

ในรายที่ไม่ได ้ทำการต่อสู้ ประหัตประหาร กันโดยตรง แต่ต่อสู้ เพื่อแข่งขัน
ชิงเกียรติยศ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเรียกเอาความเลื่อมใส ของมหาชน มาสู่
พวกของตัวนั้น ก็ทำนองเดียวกัน คือ มีการต้านทาน เพื่อมิให้ อีกฝ่ายหนึ่ง
แสดงฤทธิ์ ของเขาได้สมหมาย ซึ่งถ้าหาก การต้านทาน นั้นสำเร็จ
ฝ่ายโน้นก็แพ้แต่ต้นมือ ถ้าต้านทานไม่สำเร็จ ก็ต้องหาอุบายกวาดล้างอำนาจฤทธิ์
ในเมื่อฝ่ายหนึ่ง ได้ส่งมาแล้ว ซึ่งถ้ายังทำไม่ได้อีก ตนก็ตกเป็นฝ่ายแพ้ฤทธิ์ของผู้
ที่มี ดวงใจบริสุทธิ์ เป็นอริยบุคคล ย่อมมีกำลังสูง และหนักแน่น ยั่งยืนกว่า ของ
ฝ่ายที่ยังเต็มไปด้วยกิเลส เป็นธรรมดา เพราะเหตุว่า จิตของผู้มีกิเลส ถูกกิเลส
ตัดทอน เสียตอนหนึ่งแล้ว ยังอาจที่จะ ง่อนแง่น คลอนแคลน ได้ ในเมื่อ
อิฎฐารมณ์ หรือ อนิฎฐารมณ์ มากระทบ ในขณะที่ ต่อสู้กันนั้น
อีกประการหนึ่ง ผู้ไม่มีกิเลส ย่อมไม่ทำเพราะเห็นแก่ตัว จึงมีกำลัง
ปีติปราโมทย์ ความเชื่อ และ อื่นๆ ซึ่งเป็นดุจเสบียงอาหาร ของฤทธิ์ มากกว่า
ย่อมได้เปรียบ ในข้อนี้

ในรายที่ไม่มีการต่อสู้กัน เป็นเพียงการทรมาน ผู้ที่มีกำลังใจอ่อนกว่า
แต่มีมานะ หรือ ความกระด้าง เพราะเหตุบางอย่าง ย่อมเป็นการง่ายกว่า
ชนิดที่ต่อสู้กัน คนธรรมดา สตรี เด็กๆ เพียงแต่อำนาจสะกดจิตชั้นต่ำๆ
ซึ่งยังมีเหลือออกมา ถึงสมัยปัจจุบันนี้บ้าง ก็อาจที่จะเป็น อำนาจงำ ให้
ตกอยู่ใต้อำนาจของผู้แสดง นั้นได้เสียแล้ว แม้ว่าสมัยนี้ จะเป็นสมัยที่
ไม่ค่อยมีใครเชื่อในเรื่องนี้ และทั้งผู้ฝึก ก็มิได้เป็น "นัก" ในเรื่องนี้
อย่างเอาจริงเอาจัง ก็ในสมัยโบราณ คนทุกคนเชื่อในเรื่องฤทธิ์ และผู้ฝึก
ก็ฝึก อย่างเอาจริงเอาจัง เรื่องของฤทธิ์ จึงเป็นเรื่องที่แนบเนียน และเป็น
เรื่องจริงได้อย่างเต็มที่ ในสมัยนั้น ความที่ทุกคนเชื่อก็ดี ความที่ผู้ฝึกเอง
ก็เชื่อและตั้งใจฝึกเป็นอย่างดี ก็ดี ล้วนแต่เป็น สิ่งส่งเสริมในเรื่องฤทธิ์
ให้เป็นเรื่องจริง เรื่องจัง ยิ่งขึ้นไปอีก เราอาจกล่าวได้ว่า ในยุคโบราณยุคหนึ่ง
ความเชื่อในเรื่องนี้ มีเต็มร้อยเปอร์เซนต์ อิทธิพลในเรื่องฤทธิ์ จึงมีได้ เต็มร้อย
เปอร์เซ็นต์ เพราะมันถูกฝา ถูกตัว แก่กัน ครั้นมาบัดนี้ ทั้งความเชื่อ และ
การฝึกฝน มีเหลือน้อย ไม่ถึง ห้าเปอร์เซนต์ เลยกลายเป็น เรื่องเหลวไหล เสีย
เก้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์ บางที มีแต่ตัว ไม่มีฝา บางทีมีฝา แต่ไม่มีตัว ต่างฝ่าย
ต่างก็ขี้เกียจเก็บ เลยทิ้งให้ ค่อยหายสาปสูญไป ความยั่วยวน อันเกิดจากฝีมือ
ของนักวิทยาศาสตร์ แผนปัจจุบัน กำลังมีอิทธิพล มากขึ้นๆ ในอันที่จะให้จิต
ของคนเราตกต่ำ อ่อนแอต่อการที่จะบังคับตัวเองให้ว่างโปร่ง เพื่อเป็นบาทฐาน
ของฤทธิ์ ได้ เมื่อว่างผู้แสดงฤทธิ์ ได้ นานเข้า ความเชื่อในเรื่องนี้ ก็สาปสูญไป
ทั้งของผู้ที่จะฝึกและของผู้ที่จะดู

บัดนี้ จะย้อนกลับไปหาเรื่องของการฝึก เพื่อให้เข้าใจในเรื่องนี้ดีขึ้น
(มิใข่เพื่อรื้อฟื้นขึ้นฝึกกัน) ผู้ที่จะฝึกในเรื่องฤทธิ์ ต้องเป็นผู้ที่มีใจ เป็นสมาธิง่าย
กว่าคนธรรมดา เพราะเรื่องนี้ มิใช่เป็นสาธารณะ สำหรับคนทั่วไป แม้ผู้ที่เชื่อ
และตั้งใจฝึกจริงๆ ถึงฝึกสมาธิได้แล้ว ท่านยังกล่าวว่า ร้อยคนพันคน จึงจะมี
สักคนหนึ่งที่จะเขยิบตัวเองขึ้นไป จนถึงกับแสดงฤทธิ์ได้ การปฏิบัติเพื่อรู้อริยสัจ
หลุดพ้นไปจากทุกข์ได้เสียอีก ที่เป็นสาธารณะกว่า! คนบางประเภทหลุดพ้นจาก
ทุกข์ได้ ด้วยเหตุผล ที่แวดล้อมเหมาะสม จูงความคิด ให้ตกไป ในแนวแห่ง
ความเบื่อหน่ายและปล่อยวางได้โดยไม่ต้องเกี่ยวกับการฝึกสมาธิเลย จึงกล่าวย้ำ
เพื่อกันสงสัย ได้อีกครั้งหนึ่ง สำหรับคนธรรมดา เราๆ การฝึกเพื่อพระนิพพาน
เป็นของง่ายกว่า ที่จะฝึกในเรื่องฤทธิ์ ให้ได้ถึงที่สุด ยิ่งถ้าจะฝึกเพื่อทั้งฤทธิ์ และ
พระนิพพาน ทั้งสองอย่างด้วยแล้ว ก็ยิ่งยาก มากขึ้นไปอีก ในหมู่พระอรหันต์ ก็
ยังมีแบ่งกันว่า ประเภทสุกขวิปัสสก และประเภทอภิญญา
คือแสดงฤทธิ์ไม่ได้ และแสดงได้

ผู้ฝึกสมาธิ เพื่อมรรคผลนิพพานนั้น เมื่อใจเป็นสมาธิแล้ว ก็น้อมไปสู่ การคิดค้น
หาความจริงของชีวิต หรือ ความทนทุกข์ของสัตว์ ว่ามีอยู่อย่างไร เกิดขึ้นอย่างไร
จะดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ส่วนผู้ที่ฝึก เพื่อฤทธิ์นั้น แทนที่จะน้อมไปเพื่อคิดค้น
หาความจริง เขาก็น้อมสมาธินั้นไปเพื่อการสร้างมโนคติต่างๆ ให้ชำนาญ ซึ่งเป็น
บทเรียนที่ยากมาก เมื่อเขาสร้างภาพแห่งมโนคติได้ด้วยการบังคับจิตหรือวิญญาณ
ของเขาได้เด็ดขาดและคล่องแคล่ว แล้วก็หัดรวมกำลังส่งไป ครอบงำสิ่งที่อยู่ใกล้
จะขยายวงกว้างออกไปทุกที เพื่อให้ ภาพแห่งมโนคติ นั้นครอบงำใจของผู้อื่น ตาม
ที่เขาต้องการความยากที่สุด ตกอยู่ที่ตนจักต้องดำเนินการ เปลี่ยนแปลงภาพ นั้นๆ
ให้เป็นไปตามเรื่องที่ต้องการ ดุจการฉายภาพยนต์ ลงในผืนจอแห่งวิญญาณ ของ
ผู้อื่น จึงเป็นการยากกว่า การที่เจริญสมาธิ เพื่อสงบนิ่ง อยู่เฉยๆ หรือคิดเรื่องใด
เรื่องหนึ่ง แต่เรื่องเดียว โดยเฉพาะ แต่อย่างไรก็ดี ความลำบาก นั้นๆ มิได้เป็นสิ่ง
ที่อยู่นอกวิสัย เพราะเมื่อจิตได้ถูกฝึกจนถึงขีด ที่เรียกว่า "กัมมนีโย" นิ่มนวล ควร
แก่การใช้งานทุกๆ อย่างแล้ว ก็ย่อมใช้ได้ สมประสงค์

ฤทธิ์ตามที่กล่าวไว้ ใน นิทเทสแห่งอภิญญา ของฝ่ายพุทธศาสนานั้น ดูคล้ายกับ
ยืมของใครมาใส่ไว้ เพื่อแสดงความสามารถของจิต อันสูงสุดประเภทนี้ ให้ครบ
ถ้วน นอกจากไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ โดยตรงแล้ว ยังไม่ค่อยตรงกับอาการที่
พระพุทธองค์ทรงแสดงอยู่บ้าง ในบางคราวในบาลีไม่ได้แสดงวิธีฝึก ไม่ได้แสดง
วี่แววว่า ควรฝึกหรือจำเป็น และไม่ค่อยปรากฏว่า พระมหาสาวกองค์ใด ได้รับ
ประโยชน์ หรือใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงนำความเข้าใจให้เกิดขึ้น
ว่า ถ้าหากว่าเรื่องอภิญญาเหล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องที่กล่าวเพื่อแสดงคุณสมบัติของจิต
ที่ฝึกแล้วถึงที่สุด ให้ครบถ้วนเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องจำเป็น ของพระสาวกเลย เมื่อเป็น
เช่นนี้ การฝึกก็เป็นอันว่าต้องต่างกันด้วยไม่มากก็น้อย จากวิธีที่เขาฝึกกัน ในสาย
ของฤทธิ์โดยตรง เพราะเรื่องโน้น เป็นเรื่องของผู้ขวนขวาย เพื่อเสียสละ มิใช่เรื่อง
ของ ผู้ขวนขวาย เพื่อรับเอา ในพระบาลี กล่าวแต่เพียงว่า เมื่อจิตเป็น จตุตถฌาน
คล่องแคล่วดีแล้ว ก็น้อมไปเพื่ออภิญญา ช่นนั้นๆ สำเร็จได้ด้วยอำนาจ จตุตถฌาน
นั่นเอง เมื่อการน้อมนั้นๆ สำเร็จก็จะสามารถทำได้ เช่นนั้นๆ ดูเหมือนว่า ถ้าน้อมไป
เพื่ออภิญญานั้นๆ ไม่สำเร็จ ก็น้อมเลยไป เป็นลำดับๆ ข้ามไปหา การคิดค้น เรื่อง
อริยสัจ เลยทีเดียว คล้ายกับว่า มีไว้เผื่อเลือก หรือ สำหรับคน ที่มีอุปนิสัยบางคน
ในบาลีบางแห่ง ไม่มีกล่าวถึงอภิญญาเลย เมื่อกล่าวถึง จตุตถฌานแล้ว ก็กล่าวถึง
วิชชาสาม คือ ระลึกถึงความเป็นมา แล้วของตนในอดีต ความวิ่งวนของหมู่สัตว์
ในสังสารวัฎ และเหตุผล เรื่อง อริยสัจ เป็นที่สุด พระบาลี ชนิดหลังนี้ มีมากกว่า
ที่กล่าวถึง อภิญญา และที่กล่าวถึง จตุตถฌาน แล้ว กล่าวอริยสัจเสียเลย
ก็มีมากกว่ามาก

ในอรรถกถาซึ่งเป็น คำอธิบายของพระบาลี ก็มิได้กล่าววิธีฝึกฤทธิ์นั้นๆ มักแก้
ในทางศัพท์ ทางข้อธรรมะแท้ๆ หรือ มิฉะนั้น ก็ทางนิยายเลยไป แต่ได้ท้าให้ค้นดู
เอาจาก คัมภีร์วิสุทธิมรรค เพราะ ผู้ร้อยกรอง อรรถกถา กับผู้แต่งวิสุทธิมรรค
เป็นคนเดียวกัน หรือ วิสุทธิมรรคมีอยู่แล้ว ก่อนการแต่งอรรถกถานั้นๆ

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีเรื่องของการฝึกฤทธิ์อย่างพิสดาร จนกล่าวได้ว่า
ไม่มีคัมภีร์ใด มีพิสดารเท่า ในวงของ คัมภีร์ฝ่ายพุทธศาสนา ด้วยกัน
เพราะความพิสดารนั่นเอง จำเป็นที่ข้าพเจ้า จะต้องขอร้อง ให้ท่านพลิกดู
ในหนังสือชื่อนั้น ด้วยตนเอง ด้วยว่า เหลือที่จะ นำมาบรรยาย ให้พิสดาร
ในที่นี้ได้ เมื่อกล่าวแต่ หลักย่อๆ ก็คือ ขั้นแรก ท่านสอน ให้หาความชำนาญ
จริงๆ ในการเพ่งสีต่างๆ และวัตถุ เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม จนติดตาติดใจ เพื่อ
สะดวกในการ สร้างภาพแห่งมโนคติ ในขั้นต่อไป อันเรียกว่า เพ่งกสิณ ซึ่ง
เป็น สิ่งมีมา ก่อนพุทธกาล มิใช่สมบัติ ของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ
ผู้เพ่งต่อฤทธิ์ ต้องหนักไปใน การฝึกกสิณ เท่ากับ
ผู้เพ่งต่อพระนิพพาน หนักไปใน การฝึกแห่ง อานาปานสติ และกายคตาสติ เป็นต้น
ดิน น้ำ ไฟ ลม คือ ส่วนผสมของสิ่งต่างๆ ในโลก หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็ว่า
โลก เท่าที่ปรากฏแก่ ความรู้สึก ของคนทั่วไป ก็คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม นั่นเอง
เมื่อสิ่งเหล่านี้ ติดตา และติดใจ จนคล่องแคล่ว พระโยคีนั้น ก็อาจสร้าง
มโนคติภาพ อันเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ได้ทั่วไป ทุกอย่าง
กสิณ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ศึกษา ในฝ่ายฤทธิ์
สีขาว สีเขียว และสีต่างๆ ก็ทำนองเดียวกัน
เป็นสีของสิ่งทั้งหลาย บรรดามี ในโลกนี้

การฝึก อุทธุมาตกอสุภ คือ การเพ่งจำซากศพที่ตายได้สี่ห้าวัน กำลังขึ้นพองเขียว
จนติดตา และขยายสัดส่วน ให้ใหญ่เล็ก ทำนองย่อ และ ขยายสเกล อยู่ไปมา
ตลอดจน ให้ลุกเดินเคลื่อนไหวได้ ต่างๆ จนติดตาติดใจ ชำนาญ ทุกประเภท
เช่นนี้ ช่วยให้ประสาทของผู้นั้น เข้มแข็งต่อความกลัว จนมีใจไม่หวั่นไหวได้จริง
ในที่ทั้งปวง ทั้งช่วยส่งเสริมในการสร้างมโนคติ ในเรื่องกลิ่น เป็นต้น ได้เป็นพิเศษ
รวมความว่า ในขั้นแรกต้องฝึกการอดทน การบังคับใจของตนเองให้อยู่ในมือจริงๆ
การชำนาญ สร้างภาพ ด้วยใจ อย่างเดียว ตลอดถึง ความกล้าหาญ ความบึกบึน
หนักแน่น ของประสาท ทั้งสิ้น

เมื่อชำนาญใน ขั้นนี้แล้ว จึงฝึก การส่งภาพ ทางใจ หรือ ที่เรียกว่า อธิษฐานจิต
เพื่อความเป็น เช่นนี้ เช่นนั้น ครอบงำผู้อื่น ถ้าหาก มีความชำนาญ และกล้าแข็งพอ
อาจที่จะบันดาลให้ คนทั้งชมพูทวีปรู้สึก หรือเห็น เป็นอันเดียวกันหมดว่า
ภูเขาหิมาลัย ซึ่งเคยอยู่ ทางทิศเหนือนั้น บัดนี้ได้ ขยับเลื่อนลงมาอยู่ ทางทิศใต้
หรือ กลางมหาสมุทรอินเดีย เสียแล้ว เป็นต้นได้ แต่เพราะ ความที่อำนาจใจ นั้นๆ
ไม่พอ จึง เท่าที่ เคยปรากฏ กันมาแล้ว มีเพียง ในวงคน หมู่หนึ่ง หรือ ชั่วขณะหนึ่ง
เท่านั้น สมตามที่ชื่อของมัน คือคำว่า ฤทธิ์ ซึ่งแปลว่า เครื่องมือช่วย แก้อุปสรรค
ให้สำเร็จ กะทันหัน ทันอกทันใจ คราวหนึ่ง เท่านั้น เพราะว่า แม้หาก พระโยคี
องค์ใด เคลื่อน ภูเขาหิมาลัย ได้ด้วย อำนาจฤทธิ์ เมื่อท่านคลายฤทธิ์ หรือตายเสีย
ภูเขาหิมาลัย ก็จะ วิ่งกลับสู่ที่เดิม เท่านั้นเอง นักโทษ ที่มีฤทธิ์ อาจบันดาล ให้เขา
เห็นตนเหาะลอยอยู่ในอากาศได้ แต่ย่อมไม่อาจที่จะทำลาย เครื่องจองจำ นั้นได้
ถ้าหากมัน เป็นเครื่องมือ ที่แน่นหนา แข็งแรงพอ แต่นักโทษผู้นั้น มีทางที่จะใช้
ฤทธิ์นั้น ให้เป็นประโยชน์ แก่ตน หรือ มีโอกาส ให้อุบาย อันใด อันหนึ่ง หรือ
เขาสั่งปล่อย เพราะ กลัวอภินิหาร ของตน

เมื่อตนคล่องแคล่วใน การอธิษฐานจิต แผ่มโนคติภาพ ไปครอบงำ สัตว์อื่น
ได้เช่นนี้ ก็เป็นผู้มีฤทธิ์ แต่จะมากหรือน้อย ย่อมแล้วแต่ ความสามารถ ของตน

เมื่อมาถึงตรงนี้ ก่อนแต่จะจบ ควรย้อนกลับไป พิจารณาถึง เรื่องฤทธิ์นี้ กันมาใหม่
ตั้งแต่ต้นอีกสักเล็กน้อย แต่พิจารณากันในแง่แห่งประวัติศาสตร์ของวิชาประเภทนี้
วิชาเรื่องนี้ฟักตัวมันเองขึ้นมาได้ด้วย ความอยากรู้และอยากเข้าถึงอำนาจบางอย่าง
ซึ่งอยู่เหนือคนธรรมดา มันเป็น ความอยาก ที่เกิดขึ้น โดยบังเอิญของ คนบางพวก
ที่อุตริ เชื่อว่า จิตนี้ แปลกประหลาดมาก น่าจะมี คุณสมบัติพิเศษ บางอย่าง ซึ่งเมื่อ
ผู้ใดอุตส่าห์ฝึกฝนจนรู้เท่าถึงแล้วอาจเอาชนะคนที่รู้ไม่ถึงได้เป็นอันมาก ความคิดนี้
เป็นเหตุให้ยอมพลีเวลาตลอดทั้งชีวิต เพื่อการค้นคว้าทดลอง อันเรียกว่า
บำเพ็ญตบะ ในยุคที่คนเราถือพระเป็นเจ้า ย่อมหวังความช่วยเหลือของพระเป็นเจ้า
อย่างเต็มที่ ด้วยอำนาจสมาธิที่มีต่อ สิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็น พระเป็นเจ้านั่นเอง
ที่ได้เป็น บาทฐาน ให้เขาพบวี่แวว ของฤทธิ์ ในครั้งแรก สักเล็กน้อย และเป็นเงื่อน
ให้ คนชั้นหลังดำเนินตามหลายสิบชั่วอายุคนเข้า คนที่ตั้งใจจริงเหล่านั้น ก็ได้พบ
แปลกขึ้นเป็นอันมาก จนปะติดปะต่อ เข้าเป็นหลักเป็นเกณฑ์ สำหรับสั่งสอนกัน
เมื่อวิชานี้ถูกแพร่ข่าวรู้มาถึง คนในบ้าน ในเมือง ก็จูงใจ พวกชายหนุ่ม นักรบ หรือ
กษัตริย์ ให้ออกไป ขอศึกษาจาก พวกโยคีนั้น ถึงในป่า มีเรื่องเหลือ เป็นนิยาย
อยู่ตามที่หนังตะลุง มักเล่นกัน โดยมาก คนป่าหรือยักษ์บางตน ก็มีความรู้ ความ
สามารถในเรื่องนี้เท่าหรือมากกว่าคนบ้านหรือมนุษย์ ถึงกับรบกันและผลัดกันแพ้
ผลัดกันชนะ พวกเทวดาหรือ พวกที่เอาแต่ เล่นสนุก ไม่ปรากฏว่า มีฤทธิ์ เพราะ
สมาธิ ไม่ค่อยดี กระมัง ในตอนแรกๆ ผู้มีฤทธิ์นั้น ค้นคว้า กันเพียง ขั้นที่สำเร็จ
สมความต้องการ ไม่ได้ค้นถึง เหตุผล ของฤทธิ์ ไม่เป็น นักปรัชญา หรือ ทฤษฎี
ในเรื่องนี้ แต่เป็นเพียงนักปฏิบัติการ ตามที่สั่งสอน สืบๆ กันมา ขณะเมื่อ
ในอินเดีย กำลังรุ่งเรือง ด้วยวิชา ประเภทนี้ ทางฝ่ายยุโรป ไม่มีความรู้ ในเรื่อง
นี้เลย เมื่อทางอินเดียเสื่อมลง ทางยุโรป ได้รับเพียง กระเส็น กระสาย เล็กน้อย
ไม่พอที่จะรุ่งเรืองด้วย จิตวิทยา ประเภทนี้ อย่างอินเดียได้ มีแต่ฤทธิ์ ของซาตาน
หรือมารเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่มีพิษสงอะไรนัก และเป็นเรื่องทางศาสนามากกว่า

เมื่อวิชานี้ได้เสื่อมลงในอินเดียแล้วในทางปฏิบัติการ แต่ในทางนิยายยังมีเหลืออยู่
ไม่สาบสูญ และยิ่งกว่านั้น ที่แน่นอนที่สุด คือ ได้ถูกคนชั้นหลัง ต่อเติมเสริมความ
ให้วิจิตรยิ่งขึ้นไป จนคนชั้นหลัง ในบัดนี้ปอกเปลือกตั้งหลายชั้นแล้ว ก็ยังไม่ถึง
เยื่อในได้เลย ความเดาทำให้ขยายความจริง ให้เชื่อง จนฤทธิ์ ซึ่งเป็นเพียงวิชา
สำหรับใช้แก้ อุปสรรค กะทันหัน เล่นตลก กับคนที่รู้ไม่ถึง กลับกลาย เป็นเรื่อง
จริงแท้ๆ ไป ดุจเดียวกับเรื่องทางวัตถุอื่นๆ คนในชั้นหลังเป็นอันมาก เชื่อว่าอะไร
ทุกๆ อย่างจริงตามนั้น ทั้งที่ตนตอบไม่ได้ว่า ถ้าจริงเช่นนั้น ทำไมเวลาปรกติ
ผู้มีฤทธิ์ ยังต้องเดิน ไปไหน มาไหน ไม่เหาะ เหมือนคราวที่ แสดงฤทธิ์ แข่งขัน
ทำไมต้องทำนา ทำสวน หรือ ออกบิณฑบาต ขอทาน ไม่บันดาล เอาด้วยฤทธิ์
เป็นต้น ฤทธิ์ที่เคยเป็นเพียงการลองดีกันด้วยกำลังจิต ก็กลายเป็นเรื่องทางวัตถุ
หนักขึ้น จนคนบางคนในชั้นหลัง หวังจะมีฤทธิ์ เพื่อให้หาเหยื่อ ให้แก่ตน ตาม
กิเลสของตน ผลที่ได้รับในที่สุด ก็คือ การวิกลจริต!

สรุปความสั้นๆ ที่สุดในเรื่องฤทธิ์ ที่ได้กล่าวมา อย่างยืดยาว นี้ ก็คือว่า
ฤทธิ์ เป็นเพียง คุณสมบัติพิเศษ ส่วนหนึ่งของจิตเท่านั้น เรื่องของจิต
อันนี้เป็น พวกนามธรรม จะให้สำเร็จผล เป็นวัตถุไม่ได้ เช่นเดียวกับวัตถุ
ในความฝัน มันจะเป็น วัตถุอยู่ ก็ชั่วเวลา ที่เราไม่ตื่น จากฝันเท่านั้น ของ
ที่นฤมิตขึ้น ด้วยอำนาจฤทธิ์ สำเร็จประโยชน์ ชั่วเวลา ที่คนเหล่านั้น ยัง
ตกอยู่ใต้ อำนาจจิต ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ เพราะว่า สิ่งทั้งหลาย ที่เราเรียกกัน
ว่า โลกนี้ก็ตาม ถ้ามีอะไร มาดลบันดาล ให้จิตของเรา ทุกคน วิปริต เป็น
อย่างอื่นไป โลกนี้ก็จะปรากฏ แก่เรา อย่างอื่น ไปทันที ดุจกัน สิ่งทั้งหลาย
สำเร็จ อยู่ที่ใจ รูป เสียง กลิ่น รส ทั้งหมด มีคุณสมบัติขึ้นมาได้ ก็เพราะเรา
มีสิ่งที่เรียกกันว่า ใจ ถ้าไม่มีใจ โลกนี้ก็พลอยไม่มีไปด้วย รวมความสั้นๆ ได้
ว่า สิ่งทั้งหลายสำเร็จจากใจ ใจสร้างขึ้น ใจเป็นประธาน หรือ หัวหน้าแต่
ผู้เดียว เพราะฉะนั้น ถ้ามีอะไรก็ตาม มาดลบันดาล ให้ใจ เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
ไป สิ่งทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยใจ ก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย ถ้าอำนาจ ดลบันดาล
นั้นเป็นของ ชั่วขณะ สิ่งนั้นก็ แปรปรวน ชั่วขณะ ด้วย

ในโลกนี้ ไม่มีอะไร เที่ยงอยู่แล้ว เราจะสร้างฤทธิ์เพื่อเอาชนะสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้น
น่าจะไม่ได้รับผลที่น่าชื่นใจ เพราะฉะนั้น พระอริยบุคคล ทั้งหลาย แทนที่จะ
ใช้เวลา ไปค้นคว้า ในเรื่องฤทธิ์ ท่านจึงใช้ชีวิต ที่เป็นของ น้อยนิด เดียวนี้
ค้นคว้า หาสิ่งที่เที่ยง และเป็นสุข คือ พระนิพพาน แม้ว่า เรื่องฤทธิ์ และพระ
นิพพาน ต่างก็ เป็นวิทยาส่วนจิต ด้วยกันก็จริง แต่แตกต่างกัน ลิบลับ
ด้วยเหตุผล ดังกล่าวมาแล้ว

เมื่อพระผู้มี พระภาคเจ้า อุบัติขึ้น ในอินเดีย พระองค์ทรงบัญญัติ
บาทฐาน ของฤทธิ์ ว่า มีอยู่ สี่ อย่าง คือ ความพอใจ ความเพียร
ความฝักใฝ่ และ ความคิดค้น เรียกว่า อิทธิบาท เมื่อทำได้ ผลที่ได้รับ
คือ มรรคผลนิพพาน เพราะคำว่า ฤทธิ์ ของพระองค์ จำกัดความเฉพาะ
เครื่องมือให้สำเร็จ หรือ ลุถึง นิพพาน เท่านั้น ฤทธิ์ ซึ่งเคยได้ผล เป็นของ
ตบตา และชั่วคราว ก็ได้เปลี่ยน มาเป็น สิ่งซึ่งให้ผล อันมีค่าสูงสุด และ
แน่นอน ด้วยประการฉะนี้

พุทธทาสภิกขุ

๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๐





นี่เหลิมก็คิดเห็นเหมือนกับท่านพุทธทาส

แอบชอบท่านพุทธทาสเหมือนกัน

จึงแอบเอาคำสอนท่านพุทธทาสมาใช้

อ้างอิงคำพูด:
chalermsak เขียน:
คุณหลับอยู่ครับ วิชามโนยยิทธิ ที่พวกคุณกำลังฝึก วิทยายุทธกันอย่างเข้มข้นนี้

บางคนอาจจะตัวสั่นงึก ๆ งั่ก ๆ

บางคนอาจจะนอนดิ้นไปมา บางคนก็จะลุกขึ้นมารำ ( องค์ลง )

บางคนก็จะเห็น นิมิตเป็นเมือง นรก สวรรค์ ( เคยไปฝึกมาแล้ว เหมือนถูกดูดตอนถูก คฑากายสิทธิ์ พยายามข่มจิตให้เกิดนิมิต แต่ก็ดีแล้ว ที่ไม่เกิด ไม่งั้น คงเป็นแบบคุณหลับอยู่ )

บางคนที่ฝึกมาถึงขั้นสุดยอดของ วรยุทธ ก็เข้าไปถึงดินแดนพระนิพพาน ติดต่อพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าได้

-----------------------------------------

ถ้าเป็นสายวิชา ธรรมกาย ก็จะยึดเอานิมิต ดวงแก้วใส ๆ ๆ ๆ ๆ

จบที่ นิมิตภาพพระพุทธรูป ใสที่สุด

คุณหลับอยู่ครับ วรยุทธ ทั้งหลายที่สำนักคุณค้นพบใหม่ ถ่ายทอดกันมา ด้วยเคล็ดวิชาอันซับซ้อน

เป็นคนละอย่างกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก อรรถกถา เลยนะครับ

ว่าผมแต่เป็น ฟายยย ลองแปลงร่างเป็นฟายย มาไล่ขวิดผมได้ไหมเนี่ย


http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/006616.htm

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มีเรื่องที่สืบเนื่องจาก ประวัติพระอภิธรรม คือ วันออกพรรษา จะมีแสงประหลาดหลากหลายสีพุ่งจาก แม่น้ำโขง

ผมเชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์ ที่เทวดานาค ท่านแสดงครับ

เหตุการณ์ในวันปวารณาออกพรรษาในพรรษาที่ ๗ และบั้งไฟพญานาค เกี่ยวพันกันอย่างไร ? :
http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry429992

แต่หากเป็นข้อเท็จจริงทางวิชาการของอาจารย์ใหญ่คุณ mes (ท่านพุทธทาส) คงอธิบายไม่ถูกครับ อาจจะอ้างว่า เป็นก๊าซใต้แม่น้ำโขง, เป็นการยิงพลุของชาวบ้าน ฯลฯ

ก็แล้วแต่จะวิจารณ์กันไป ครับ

อนึ่ง ผมเชื่อว่า เทวดานาคมีจริง ปาฏิหาริย์มีจริง แต่จะให้ผมไปกราบไหว้ขอให้ดลบันดาล ให้ร่ำรวย เร็ว แบบบางสำนักทำ

ผมก็ไม่เชื่อตามนะครับ เพราะเริ่มมี ศรัทธา แล้วครับ

http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=9&


ผมขอเอาคำพูดเหลิมมาใช้น่ะ

ถ่านรูปมาให้ดูหน่อย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes ครับ ผมไม่ได้เชื่อตามท่านพุทธทาสง่าย ๆ นะครับ

สมัยเป็นวัยรุ่น อาจจะใช่ เพราะตอนนั้น ยังไม่เกิดศรัทธา เท่าไหร



http://www.buddhadasa.com/heritage/diamond1.html
อ้างคำพูด:
ฟ้าสางทางการขุดเพชร

คำปราศรัยผู้มา

เพื่อนสหธรรมิกและท่านสาธุชน ผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย.

อาตมา ขอแสดงความยินดี และขอขอบคุณพร้อมกันไปในตัว ในการมาของท่านทั้งหลาย สู่สถานที่นี้ในลักษณะนี้ ด้วยความหวังดี. สำหรับอาตมาปีนี้ ประจวบเหมาะไม่ค่อยสบาย; คุณหมอทั้งหลาย ขอร้องว่าอย่างทำอะไร ให้นอนนิ่งๆ ตลอดวันตลอดคืน ติดต่อกันไปสัก ๒ เดือน ก็อาจจะหายจากโรคที่เป็นอยู่นี้ได้ แต่แล้วอาตมาก็ต้องขออภัย ดื้อหมอมาพบกับท่านทั้งหลาย ก็เห็นอยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร, ที่ดื้อมานี่หมอก็เกรงใจ อาตมาก็เลยดื้อได้ เดี๋ยวนี้ ความดันโลหิต ๒๐๐ กับ ๑๐๐ เรียกว่า เกือบไม่มีแรงจะพูด, แต่ด้วยความขอบคุณในท่านทั้งหลาย ก็อุตส่าห์มาพูดจนได้.

ในฐานะที่เป็นพุทธทาส

ยิ่งกว่านั้นก็คือว่า อาตมาเป็นพุทธทาส ดังนั้น จึงต้องทำสนองพระพุทธประสงค์ทุกอย่าง, ก็เลยขอบอกให้ทราบว่า พระพุทธองค์นั้น ทรงทำหน้าที่ของพระองค์ อย่างที่เรียกว่า จนวินาทีสุดท้าย คือ นิพพาน. บางคนก็ทราบเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว ว่ากำลังจะปรินิพพานอยู่หยกๆ แล้ว ก็ยังมีปริพาชกในลัทธิอื่นเข้ามาขอเฝ้าเพื่อศึกษาธรรมะ. พระสงฆ์ทั้งหลายก็ไล่ออกไปว่า อย่ามากวนๆ พระพุทธองค์ทรงป่วยหนักแล้ว. พระพุทธเจ้าทรงได้ยินเสียงไล่คนนั้นให้ออกไป ท่านตรัสว่า อย่าไล่ๆ แล้วก็เรียกให้เข้ามา. เขาได้ทูลถามปัญหาได้ศึกษาธรรมะในโอกาสอันสั้นนั้น จนบรรลุธรรมวิเศษ, อีกไม่กี่นาทีต่อมา ก็มีการปรินิพพาน. ขอให้นึกถึงข้อนี้กันบ้าง ว่าพระพุทธองค์ทรงทำหน้าที่ของท่านจนวินาทีสุดท้ายเช่นนี้, อาตมาเป็นทาสของพระพุทธองค์ ก็ต้องถือเป็นหลักปฏิบัติตาม, ถ้ามันจะเป็นอะไรก็ขอให้มันเป็นไป เพื่อจะได้ทำหน้าที่จนวินาทีสุดท้ายด้วยเหมือนกัน. นี่ขอให้ทราบข้อเท็จจริงว่าเดี๋ยวนี้อยู่ในสภาพที่หมอห้ามพูด ก็ยังไม่ฟัง จะมาพูดให้จนได้.

เพชรในพระพุทธศาสนา

อาตมา ขอเรียกธรรมะที่กล่าวในวันนี้ว่า "ของขวัญในวันล้ออายุปี ๒๕๒๘". ของขวัญที่กล่าวนี้คือเสรีภาพอันสูงสุด ในการที่จะรับและนับถือธรรมะประจำชีวิตของตน. ขอให้ทุกคนได้รับของขวัญอันนี้คือมีเสรีภาพในการที่จะรับถือธรรมะ มาเป็นที่พึ่งของตน. เสรีภาพเช่นนี้ของเรียกว่า "เพชรในพระพุทธศาสนา", และขอมอบให้ทั้งสิ่งที่เป็นเครื่องมือสำหรับขุดเพชร กล่าวคือ เสรีภาพในการพิจารณา เลือกเฟ้นข้อผิดถูก ในการที่จะรับถือพระพุทธศาสนา นั่นเอง ดังที่จะได้กล่าวต่อไปตามลำดับ.


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ยิ่งเรียนมาด้านวิทยาศาสตร์ด้วย เกือบจะเชื่อว่า นรกสวรรค์ไม่มี ตายแล้วสูญ

ผู้ที่เชื่อตามท่านพุทธทาส
http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... sc&start=0



ยกมาให้เหลิมอ่านเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

ต่อท่านพุทธทาส

อ้างคำพูด:
สวรรค์ในทุกอิริยาบถ.
เพื่อนสหธรรมิกและท่านสาธุชนทั้งหลาย!

การบรรยาย ไม่อาจจะทำไปในรูปของธรรมเทศนา แต่จะทำไปในรูปของการปราศรัยตามธรรมดา ตามที่จะทำได้ ดังที่เป็นที่ทราบกันอยู่ดีแล้วว่า ผู้บรรยายอยู่ในฐานะมีโรคภัยเบียดเบียน แต่จะไม่พูดไม่บรรยายกันเสียเลย มันก็ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ขอทำการบรรยายในรูปของการปราศรัย เหมือนอย่างครั้งที่แล้วมาเมื่อตอนเช้า.

เมื่อตอนเช้านั้น ได้ให้ของขวัญ คือเสรีภาพในการรับถือธรรมะเพื่อชีวิต และก็ได้บอกถึงเรื่องที่สำคัญ คือเรื่องเพชรและเครื่องขุดเพชร อันมีอยู่ในพระไตรปิฎก ในส่วนที่เป็นหัวใจ เพชรนั้นคือธรรมะที่เป็นเครื่องดับทุกข์โดยตรง ขอย้ำในที่นี้อีกทีหนึ่งว่า ความรู้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นั่นเป็น ความรู้ที่เป็นเพชร แล้วการปฏิบัติที่ปฏิบัติไปเพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด นั่นแหละเป็น การปฏิบัติที่เป็นเพชร; ทีนี้ได้รับผล ที่เป็นผลจากการปฏิบัติไม่ยึดมั่นถือมั่น นั่นเป็น ผลของการปฏิบัติที่เป็นเพชร ขอให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ ในการที่จะได้รับของขวัญ ดังที่กล่าวแล้ว คือเสรีภาพในการรับถือธรรมะเพื่อชีวิต แล้วก็เพชรและเครื่องขุดเพชร คือ หลัก ๑๐ ประการ ที่เรียกว่า กาลามสูตร นี้ขอให้รับเอาไปด้วยกัน จงทุกคน ในฐานะเป็นของขวัญ.

ของขวัญชิ้นที่สอง

ทีนี้ ก็มาถึงเรื่องของขวัญชิ้นที่สอง ซึ่งเรียกชื่อของขวัญนั้นว่า สวรรค์ในทุกอิริยาบถ บางคนจะรู้สึกแปลก หรือ ฉงน หรือ ตกใจ ก็ได้ ; สวรรค์ในทุกอิริยาบถนี้ เป็นสิ่งที่มีได้ และอาตมากำลังพยายามที่จะทำความเข้าใจให้มันเกิดมีขึ้นมา และมอบให้ท่านทั้งหลายในฐานะเป็นของขวัญชิ้นที่สอง ขอให้ตั้งใจฟังให้ดี!

ขอทำความเข้าใจปลีกย่อยสักนิดหนึ่งก่อนว่า มีคนจำนวนหนึ่ง กล่าวหาอาตมาว่า ยกเลิกสวรรค์ ยกเลิกนรก ว่าไม่มีสวรรค์ ไม่มีนรก; เดี๋ยวนี้จงเป็นพยานกันทุกคนเถิดว่า อาตมากำลังพูดว่า มีสวรรค์ได้ทุกอิริยาบถที่นี่และเดี๋ยวนี้ ไม่ต้องรอต่อตายแล้ว สำหรับสวรรค์เดิมๆ ของพวกที่ว่า จะได้ต่อตายแล้วนั้น อาตมาไม่ไปแตะต้อง ไม่ต้องไปยกเลิกให้มันเหนื่อย ให้มันเป็นสวรรค์ในความหวัง เรื่อยๆ กันไปเถิด. แต่ถ้าสวรรค์ที่เป็นความจริง ที่จะได้กันที่นี่และเดี๋ยวนี้ และทุกอิริยาบถ นั่นแหละต้องการจะให้ทราบ ต้องการจะให้ปฏิบัติ และต้องการให้ได้รับ จนมีสวรรค์อยู่ในทุกอิริยาบถ.

ของขวัญที่ไม่เหลือวิสัย

ทีนี้ ข้อนี้ฟังดูมันก็เป็นเรื่องใหญ่โต คล้ายกับว่าจะเหลือวิสัย : บางคนจะนึกล่วงหน้าไว้แล้วว่า มันเหลือวิสัย ไม่ฟังก็ได้ ไม่สนใจก็ได้ สำหรับสวรรค์ในทุกอิริยาบถ. แต่อาตมาขอยืนยันว่า มันเป็นสิ่งที่มีได้ ไม่เหลือวิสัย ทำได้และสนุกในการทำด้วย ขอให้สนใจฟังให้ดีๆ เพราะเราไม่สนใจทำอะไรอย่างลึกซึ้ง อย่างประณีตอย่างละเอียด แล้วมันยังน่าหัวต่อไปอีกว่า สวรรค์ในทุกอิริยาบถนี้ ไม่ต้องลงทุนเป็นเงินเป็นทอง ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยอะไร ให้มากไปกว่าที่เคยทำอยู่ก่อนแล้ว คือขอให้ทุกคนทำหน้าที่ของตนตามที่มีอยู่แล้วเป็นประจำวันในชีวิต แต่ขอเพิ่มอีกนิดเดียวว่า จงมีธรรมานุสสติ ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ เท่านั้น ฟังให้ดีๆ : ไม่ได้เพิ่มอะไร อะไรที่ทำกันอยู่แล้ว ขอให้ทำกันต่อไปด้วยสติ.

ชาวนาทำนา ชาวสวนทำสวน คนค้าขายก็ค้าขาย ข้าราชการก็ทำราชการ กรรมกรก็ทำกรรมกร กระทั่งว่า คนขอทาน ก็นั่งขอทานไปตามเดิม ทำตามที่เคยทำอยู่อย่างเดิม แต่ขอเพิ่มอีกนิดเดียวว่า ขณะที่ทำนั้นจงมีธรรมานุสสติ คือสติระลึกถึงธรรม. ความลับมันมีอยู่ตรงที่คำว่า "ธรรม" นั่นเอง. คนมันไม่มีธรรมจริง มันไม่รู้จักธรรมจริง ไม่อาจจะทำให้ธรรมเกิดขึ้น ได้แต่ออกเสียงทางปากว่า ธรรมๆ แต่ไม่ได้ทำให้ธรรมะอันแท้จริงเกิดขึ้นในใจ ทีนี้ การที่จะทำให้ธรรมะอันแท้จริงเกิดขึ้นนั้น จะต้องมีการทำความเข้าใจ หรือปรับปรุงการกระทำกันสักหน่อย; มันเป็นเรื่องละเอียดเร้นลับ คือ ความลับในข้อที่ว่า ธรรมนั้นอยู่ในความหมายของคำว่า "หน้าที่".

ธรรม นั้นคือ สิ่งที่เป็นหน้าที่ : สิ่งที่เป็นหน้าที่แหละ คือ ธรรม. เมื่อพูดอย่างนี้ คนจำนวนหนึ่งหาว่าบ้าแล้ว. นั่นคือมันไม่รู้ มันไม่รู้ความลับ ของที่ว่าธรรมคือหน้าที่ การปฏิบัติธรรมคือการทำหน้าที่; เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ต้องพูดเลยไปถึงเรื่องธรรมนี้เป็นพิเศษว่า ธรรมๆ ที่จะเป็นที่พึ่งได้โดยแท้จริง นั้นคืออะไร. ใครๆ ก็ได้ยินกันอยู่ทั่วไปแล้วว่า ธรรมคือสิ่งที่จะทรงผู้ปฏิบัติ ไม่ให้ตกลงไปในกองทุกข์ หรือในความชั่ว แต่จะทรงผู้ปฏิบัติให้อยู่เหนือความทุกข์: ธรรมนั้นจะสามารถทรงผู้ปฏิบัติธรรมให้อยู่เหนือความทุกข์เสมอไป.

มีธรรมะอยู่ในหน้าที่ที่ทำ

ทีนี้ จะปฏิบัติธรรมอย่างไร ให้มันอยู่เหนือความทุกข์ทุกอิริยาบถ? นั่นมันก็ต้องสวมรอยลงไปที่สิ่งที่ทำอยู่ทุกอิริยาบถนั่นเอง. อะไรเล่าที่ทำอยู่ทุกอิริยาบถ? ก็คือ ทำหน้าที่การงานตามที่เหมาะสม หรือต้องทำกันอยู่เป็นประจำ. มีหน้าที่โดยไม่ต้องบอกชื่อของหน้าที่ ก็คงจะรู้กันได้ ว่า ชาวนาก็ไถนา ชาวสวนก็ทำสวน พ่อค้าก็ค้าขาย; นี่เป็นหน้าที่โดยตรง เรียกว่า หน้าที่ในอาชีพ หน้าที่โดยความเป็นอาชีพ.

ทีนี้ หน้าที่อีกส่วนหนึ่ง ก็คือหน้าที่ในการบริหารชีวิต. หน้าที่ส่วนนี้ เพื่อให้ชีวิตรอดอยู่เป็นปรกติ ทางสุขภาพอนามัย เป็นต้น เช่น ต้องหาอาหาร ต้องกินอาหาร ต้องถ่าย ต้องอาบ ต้องบริหารร่างกาย และจะต้องทำอีกหลายๆ อย่าง ทั้งหมดนี้เพื่อบริหารชีวิตและร่างกาย.

ดังนั้น เราจะต้องทำหน้าที่ทั้งสองอย่าง หน้าที่โดยตรงคือ ประกอบการเลี้ยงชีวิต, หน้าที่โดยอ้อมคือ บริหารร่างกาย แต่ทุกอย่างก็เป็นหน้าที่ที่ต้องทำให้ถูกต้องตามที่ธรรมชาติต้องการ เราจะต้องกินอาหาร จะต้องถ่ายอุจจาระปัสสาวะ จะต้องอาบน้ำ จะต้องนุ่งผ้า จะต้องแต่งเนื้อแต่งตัว ให้เหมาะสม และเตรียมพร้อมที่จะไปทำงาน ทั้งสองหน้าที่รวมกันเรีกว่า ธรรม เป็นสิ่งที่ต้องทำให้มี อยู่กะเนื้อกะตัวตลอดเวลา อย่างน้อยที่สุด เช่นรู้สึกคันขึ้นมา มันก็ต้องเกา แม้ว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย คือจะต้องเกาเมื่อคันขึ้นมา มันก็เป็นหน้าที่ ที่จะต้องทำให้ดีให้ถูกต้อง แม้ทำหน้าที่อย่างนี้ก็จัดเป็นธรรมะเหมือนกัน

ธรรมะ แปลว่า หน้าที่, หน้าที่ แปลว่า ธรรมะ. ข้อนี้เป็นคำแปลก หรือเรื่องแปลกสำหรับท่านทั้งหลาย แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว มันเป็นอย่างนี้. ถ้าว่าโดยภาษาศาสตร์ เอาภาษาอินเดียเป็นหลัก ปทานุกรมในประเทศอินเดียนั้น คำว่า ธรรมแปลว่า หน้าที่ ไม่ได้แปลว่า คำสั่งสอนของใคร. ธรรมะแปลว่า หน้าที่ แต่แล้วคำสั่งสอนต่างๆ ก็คือ คำสั่งสอน ที่บอกหน้าที่ หรือวิธีทำหน้าที่ นั่นเอง มันก็มาเป็นสิ่งเดียวกันในตอนนี้.


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 06:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เป็นบุญ ที่ยังไม่เกิดทิฏฐิว่า พระพุทธเจ้าทรงเอออวยสวมรอย สวมรอยกับศาสนาพราหมณ์ ในเรื่อง นรก สวรรค์ หลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด เหมือนที่ท่านพุทธทาสพยายามชี้นำ

ซึ่งก็มีคนจำนวนมากที่เชื่อตามท่าน

ทิฏฐิของอาจารย์คุณ mes
http://www.buddhadasa.com/shortbook/patihan.html




เหลิมอาจอ่านคำสอนท่านพุทธทาสไม่ทั่วถึง

ถ้าศึกษาดีๆเหลิมจะเข้าใจ



อ้างคำพูด:
ชาตินี้ ชาติหน้า
บัดนี้ วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๑๐ สำหรับพวกเรา ได้ล่วงมาถึงเวลา ๕.๐๐ น.แล้ว
เป็นเวลาที่เรา กำหนดกันไว้ว่า จะพูดจา เรื่องใดเรื่องหนึ่งกัน เป็นประจำวัน

วันนี้จะได้กล่าวถึงเรื่อง ชาตินี้-ชาติหน้า, เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญแก่คน
ทุกคน ในฐานะที่เป็นปัญหา, และพวกธรรมฑูต ก็จำเป็น ที่จะต้องสอน เรื่องนี้
นอกจาก จะเป็นเรื่อง ที่จะถูกถามแล้ว ยังเป็นเรื่อง ที่จะถูกถามหรือไม่ถูกถาม ก็
ต้องสอนให้รู้จัก, ให้เข้าใจ ในการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่แล้วมาได้สังเกตเห็น
ว่า ความเข้าใจผิด ในเรื่องนี้ มีอยู่มากทีเดียว, เมื่อเข้าใจผิด ก็ทำให้การปฏิบัติ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ พลอยผิดไปด้วย หรือไปสนใจ ในทาง หรือ ในแนวที่ผิดๆ.

การที่จะสันนิษฐาน หรือ แม้แต่ตัดสินใจ ลงไปว่า เรื่องใดผิด เรื่องใดถูก นี้ก็มี
ปัญหา อยู่บางอย่าง, คือ ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะเอามาแสดงกันได้ โดยเปิดเผย
ชัดเจน, มันก็กลายเป็น เรื่องที่ขึ้นอยู่กับ เหตุผล, และมักจะเป็น เหตุผลของการ
พูดจาเสียมากกว่า เช่น โลกหน้า เป็นต้น ดังนั้น มันมีทางออก อีกทางหนึ่ง ที่จะ
วินิจฉัย หรือตัดสินเกี่ยวกับเรื่องนี้. คือว่า ความเห็นหรือเหตุผลนั้นจะต้องฟังดู
อีกทีหนึ่งว่าการกล่าวลงไปเช่นนั้น มันมีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์, ถ้ามันมี
ประโยชน์ ก็ต้องนับว่า เป็นการสันนิษฐาน หรือความเข้าใจที่ถูกต้อง, ถ้ามันเป็น
ประโยชน์เต็มที่ ในเมื่อความเห็นอีกทางหนึ่งไม่มีประโยชน์อะไรเลยอย่างนี้ ก็ต้อง
เอาอย่าง ที่เป็นประโยชน์เต็มที่ นี่แหละ เรื่องเกี่ยวกับ ชาติหน้า หรือชาติอื่นที่เอา
มาให้ดูไม่ได้, เพราะไม่ใช่เรื่องวัตถุ จะต้องเป็นไป ในทำนองที่ว่า ความคิดเห็น
หรือหลักเกณฑ์อย่างไรเป็นประโยชน์ ความคิดเห็น หรือหลักเกณฑ์อันนั้นถูกต้อง

การที่จะสอนเรื่อง โลกหน้า กันไปตามตัวหนังสือ, หรือ ตามความเข้าใจ ที่ทำ
สืบๆ กันมา อย่างหลับหู หลับตานั้น อาจจะกลายเป็นผู้ทำผิด, หรือเป็นผู้โง่เขลา
เกี่ยวกับเรื่องนี้เสียเอง. ดังนั้น เราในฐานะ ที่เป็น นักศึกษาธรรมฑูต จักไม่ตกหลุม
ตกบ่อ ของตัวเอง, ของความโง่เขลา ของตัวเอง มากเหมือนอย่างนั้น, ยิ่งตั้งอยู่ใน
ฐานะที่จะไปสอน เข้าด้วยแล้วก็จะต้องระวังให้ดี, หรือควรจะรับผิดชอบให้เต็มที่,
ให้มันเป็นเรื่อง ที่มีประโยชน์ จึงจะเรียกว่า ถูกต้อง

ที่นี้ เราจะได้พูดกัน ถึงเรื่องนี้ ชาตินี้ ชาติหน้า โลกนี้ หรือ โลกหน้า ต่อไป. ข้อนี้
มันเกี่ยวกับ คำว่า "ชาติ" คือ ความเกิด เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่เรียกว่า ความเกิด
นั้น มันต้องรู้กันด้วยว่า เป็นความเกิดของอะไร. เป็นความเกิดของเนื้อหนังร่างกาย,
หรือว่าเป็นความเกิดของจิตใจ แน่นอนความเกิดนั้น ยังเป็นความเกิดของตัวเรา
หรือตัวกู แต่มันยังมีเป็น ๒ อย่าง, คือเกิดทางร่างกาย, หรือเกิดทางจิตใจ
ตัวเราเกิดทางร่างกาย หรือ เกิดจากท้องแม่ เกิดทีเดียว ก็เสร็จไปตลอดชาติ,แต่ว่า
การเกิดทางจิตใจนั้น เกิดได้เรื่อยไป, วันหนึ่งเกิดได้หลายๆหน หรือ หลายสิบ
หน ปัญหาจึงมีขึ้นเป็นชั้นแรกว่า ความเกิดชนิดไหน เป็นความเกิด ที่เป็น
ปัญหา สำหรับมนุษย์เรา ที่เราจะต้องรู้, ที่เราจะต้อง เอาชนะให้ได้,
โดยมีหลักอยู่ว่า ความเกิดเป็นทุกข์, หรือ ความเกิดทุกที เป็นทุกข์ทุกที.

ถ้าเกี่ยวกับความเกิดจากท้องแม่ มันก็เป็นเรื่องเสร็จสิ้นไปแล้ว, ไม่มีปัญหาอะไร
เหลืออยู่, แต่ถ้าเป็นการเกิดทางจิตใจ มันยังจะเกิดอีกเรื่อยไป, คือมันเป็นการเกิด
ทางจิตใจ มันยังจะเกิดอีกเรื่อยไป, คือมันยังจะต้องมีความทุกข์อีกเรื่อยไป, นี่เป็น
การเกิดทางใจ ทางนามธรรม เป็นการเกิดของอุปาทานว่าตัวเรา ว่าของเรา. พระ
พุทธองค์ก็ได้ตรัสว่า เบญจขันธ์ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทานนั้นเป็นทุกข์ ด้วยเหตุนี้
เราพอจะจับหลักได้ว่า เบญจขันธ์มีอุปาทานว่า ตัวกู ของกู ขึ้นในขณะใด, ขณะนั้น
เบญจขันธ์นั้น จะต้องมีความทุกข์ เพราะมีการยึดถือเบญจขันธ์ นั้นเอง ว่าเป็นตัวกู
บ้าง ว่าเป็นของกูบ้าง ในขณะใด เบญจขันธ์ ปราศจากความรู้สึกว่า มีอุปาทาน ใน
ขณะนั้นก็ไม่มีทุกข์

เบญจขันธ์ ของพระอรหันต์ เรียกว่า เบญจขันธ์บริสุทธิ์, ปราศจากกิเลสอุปาทาน
จึงไม่เป็นทุกข์ ตลอดเวลา ตลอดกาล, ส่วนเบญจขันธ์ของคนธรรมดา นั้น เดี๋ยวก็
เกิดอุปาทาน เดี๋ยวก็เกิดอุปาทาน มีความรู้สึก ไปในทำนอง เป็นตัวกู ของกู เกิดอยู่
บ่อยๆ จึงเป็นทุกข์บ่อยๆ พร้อมที่จะเกิดและจะเป็นทุกข์ และง่ายดายที่สุดที่จะเกิด
และเป็นทุกข์มันแตกต่างกันอยู่อย่างนี้, นี้คือการเกิดและเป็นการเกิดของตัวกู หรือ
ของกู ในฝ่ายนามธรรม หรือ ทางจิต, ดังนั้น สิ่งที่เรียกว่า ชาตินี้ หรือชาติหน้า ใน
ทางฝ่ายร่างกาย และทางฝ่ายนามธรรม มันจึงต่างกันอย่างยิ่ง อีกเหมือนกัน, ชาติ
หน้า ฝ่ายร่างกาย หรือฝ่ายวัตถุนั้น มันต้องเข้าโลง ตายเข้าโลง เน่าไปแล้ว จึงจะมี
ชาติหน้า.

ส่วนเรื่องชาติหน้าของการเกิดฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายจิตนั้น มีสลับกันอยู่ในชาตินี้
และกระทั่งในวันนี้มีชาตินี้ชาติหน้าสลับกันอยู่ จนกล่าวได้ว่า ในกรณีที่มีความรู้สึก
ว่า ตัวกูของกู เกิดขึ้นครั้งหนึ่งนั้นคือชาติหนึ่ง, พอกรณีนั้นสิ้นสุดไป ก็เรียกว่า ชาติ
นั้น สิ้นสุดไป พร้อมที่จะมีชาติหน้าใหม่, คือจะมีกรณีที่ทำให้เกิดตัวกู ของกู ต่อไป
ใหม่ นี้เรียกว่าระหว่างชาตินี้ กับชาติหน้า, แม้ในภายในวันหนึ่งก็มีได้ตั้งหลายชาติ,
ผลที่ทำไว้ในชาติที่แล้วมา คือ ในกรณีก่อนจะมามี ความทุกข์เกิดขึ้นในกรณีหลัง,
อย่างนี้เป็นสิ่งที่แน่นอน, เห็นได้ชัดด้วยตา ด้วยใจ อย่างชัดแจ้ง เปิดเผย, เช่นตัวกู
เกิดขึ้น กระทำอย่างโจร, เสร็จแล้ว ตัวกูก็เกิดขึ้น ในลักษณะที่ กลัวความผิด, หรือ
ร้อนใจ คือตัวกูกระทำความชั่วไว้ในกรณีหลัง ที่เกิดตัวกู รู้สึกในเรื่องนี้ขึ้นมา, แล้ว
ก็ร้อนใจ และเป็นทุกข์ดังนี้เป็นต้น. เรียกว่าผลในชาติก่อนให้ผลแล้ว ในชาติถัดมา,
ดังนั้นในวันหนึ่งจึงมีการเกิดตัวกูของกูอย่างนี้ได้หลายๆชาติมีทั้งชาตินี้มีทั้งชาติ
หน้า.

ถ้าจะเรียกอีกอย่างหนึ่ง ก็เรียกว่าเป็นกรณีๆ ไปทีเดียว, กรณีหนึ่งก็คือ ชาติหนึ่ง,
แต่คำว่า "กรณี กรณี" ในที่นี้ ต้องสมบูรณ์ จริงๆ, หรือ เป็นกรณีที่มี ความรู้สึก
เป็นตัวกู ของกู เกิดขึ้นมา อย่างสมบูรณ์, เรียกว่า การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การดับ
ไป โดยสมบูรณ์ ในกรณีของการที่อุปาทาน ได้เกิดขึ้น, การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ของจิต ในขณะจิต ตามธรรมดานั้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ และไม่มีความหมายอะไร,
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของอุปาทาน เนื่องด้วยตัวเรา เนื่องด้วยของเรานี้มีความ
หมายเต็มที่ และปัญหาอยู่ที่นี่ ดังนั้น จึงต้องจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้ ให้ดีๆ ให้เห็น
ว่า มันอยู่ใกล้ที่นี่และเดี๋ยวนี้ เราจึงจะกำจัดความทุกข์ที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้.

คนโง่ ย่อมคิดไกลเกินไป จนไม่มีประโยชน์ "คนโง่ก็ไปคิดเอา สิบเบี้ยไกลมือ,
คนฉลาดก็ไปคิดเอา หนึ่งเบี้ย สองเบี้ย ใกล้มือ" นี้เป็นคำพูดพื้นบ้าน, ซึ่งดูเหมือน
จะมีอยู่ทั่วไป ว่า คนโง่คิดไกลอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ชาติหน้าของคนโง่ จะต้องอยู่
ไกล หลังจากตายไปแล้วอยู่เสมอ แต่ชาติหน้าของคนฉลาด ต้องอยู่ที่นี่ และเดี๋ยว
นี้ ติดต่อกันไปทีเดียว จึงสามารถ ป้องกันมันได้ คนโง่จะเอาเรื่องเหตุ ไว้ที่ชาติอื่น,
เอาผลไว้ที่ชาติอื่น, แล้วมันจะทำกัน ได้อย่างไร, เช่นว่าเดี๋ยวนี้ เราจะมีความทุกข์
เราต้องการ จะตัดต้นเหตุ ของความทุกข์, แล้วเราเอาเหตุ ของความทุกข์ ไปไว้ที่
ชาติอื่น คือ ชาติที่แล้วมา อย่างนี้ มันจะตัดต้นเหตุ ของความทุกข์ ได้อย่างไร นี่
พูดถึง ชาติ ของร่างกาย

มันต้องอยู่ในชาติ ทางร่างกายเดียวกันนี้, ทั้งเหตุและผล เราจึงจะสามารถ ตัด
ต้นเหตุ แห่งความทุกข์นั้นได้ และได้รับผล เป็นความไม่ทุกข์ได้ สิ่งต่างๆ ต้อง
อยู่ในวิสัย ที่เราจะเกี่ยวข้องได้ จัดการได้ มันจึงจะเป็นประโยชน์, ถ้าเอาไปไว้กัน
เสีย คนละชาติแล้ว มันแทบจะ ไม่มีประโยชน์อะไร และในบางกรณี มันทำไม่ได้
เหมือนกับที่ เราจะดับทุกข์ ของชาตินี้ แต่เหตุของมัน อยู่ที่ ชาติก่อนโน้นแล้ว จะ
ไปดับได้อย่างไร.




.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ยังไม่ปักใจเชื่อตามท่านนัก ที่ว่า พระไตรปิฏก อรรถกถา เถรวาท ไม่น่าเชื่อถือ เพราะถูก อรรถกถาจารย์ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอนุรทธาจารย์ ปลอมปนพระธรรมวินัย นำความเชื่อที่เป็น สัสสตทิฏฐิ มาปลอมปนในพระไตรปิฏก




ตัวอย่างที่เหลิมยกมา

ท่านพุทธทาสแสดงความเห็นทางวิชาการ

ตามหลักโยนิโสมนสิการ

เหลิมมาอ่านธรรมท่านพุทธทาสบทนี้ดีกว่า



อ้างคำพูด:
บทที่ ๑. ปรับความเข้าใจ

พุทธศาสนิกชนไทย ที่นับถือพุทธศาสนา ในลักษณะที่คนอื่นมองเห็นว่า เคร่งครัด แต่ความจริง คนนั้นยังเข้าไม่ถึง ตัวแท้แห่งพุทธศาสนาเลย ก็มีอยู่เป็นอันมาก ทีเดียว แล้วคนพวกนี้เอง ที่เป็นคนหัวดื้อ ถือรั้น หรือ อวดดี จนกระทั่ง ยกตนข่มผู้อื่น ที่เขารู้ดีกว่า

การเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยวิธีปรำปรา หรือปฏิบัติตามๆ กันมา อย่างงมงาย นั้น แม้จะได้กระทำสืบๆ กันมา ตั้งหลายชั่วบรรพบุรุษ แต่ก็หาสามารถทำให้เข้าถึง ตัวแท้ของพุทธศาสนาได้ไม่ มีแต่จะกลายเป็น ของหมักหมม ทับถมกัน มากเข้า จนเกิดความเห็นผิด ใหม่ๆ ขึ้นมา กลายเป็น พุทธศาสนาเนื้องอก ไปหมด ทำให้ห่างจาก ตัวแท้ของพุทธศาสนา ออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง เกิดการกลัว ต่อการบรรลุ มรรคผลนิพพาน ซึ่งเราได้ยินกันอยู่ทั่วๆ ไป ในหมู่ พุทธบริษัท ชาวไทยสมัยนี้ ที่ห้ามไม่ให้พูดกันถึงเรื่อง มรรคผล นิพพาน ใครขืนพูด คนนั้นจะถูกหาว่า อวดดี หรือ ถูกหาว่า นำเอาเรื่องที่เหลือวิสัย มาพูด แล้วก็ขอร้อง ให้พูดกันแต่เรื่องต่ำๆ เตี้ยๆ เช่น ให้พูดแต่เรื่อง จริยธรรมสากล ที่ศาสนาไหนๆ เขาก็มีด้วยกันทั้งนั้น

นี่แหละคือ สถานะอันแท้จริง ของการศึกษา และปฏิบัติ พุทธศาสนาในประเทศไทย มีผลทำให้ พุทธบริษัทชาวไทย กลายเป็นชาวต่างศาสนาของตนไป ฉะนั้น เราควรตั้งต้นศึกษา และปฏิบัติ หลักพระศาสนา ของเราเสียใหม่ อย่ามัวหลง สำคัญผิดว่า เรารู้พุทธศาสนาดีกว่า ชาวต่างประเทศ เพราะนึกว่า เราได้อยู่กับ พุทธศาสนา มานานแล้ว มีผู้เขียน มีผู้แต่งตำรา เกี่ยวกับพุทธศาสนา มากพอแล้ว เราไปค้นคว้า เอาตัวพุทธศาสนา ผิดๆ หรือไปคว้าเอาแต่เพียงกระพี้ ของพุทธศาสนา ไปคว้าเอาพุทธศาสนาเนื้องอก ใหม่ๆ มาอวดอ้าง ยืนยันกันว่า นี่เป็นพุทธศาสนาแท้ ฉะนั้น หนังสือพุทธศาสนา ที่เขียนขึ้นมา จึงมีสิ่งที่ ยังมิใช่ตัวแท้ ของพุทธศาสนา รวมอยู่ด้วย ๔๐-๕๐% เพราะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ นำเอาพระพุทธศาสนา ไปปนกับ ลัทธิอื่นๆ ซึ่งมีอยู่ในประเทศอินเดีย ซึ่งบางอย่าง ก็คล้ายคลึงกันมาก จนถึงกับ ผู้ที่ไม่แตกฉาน เพียงพอ อาจจะนำไป สับเปลี่ยน หรือ ใช้แทนกันได้โดยไม่รู้ เช่น คำตู่ต่างๆ ของพวกบาทหลวง ที่มีใจเกลียดพุทธศาสนา เมื่อบาทหลวงผู้นั้น เป็นผู้มีชื่อเสียง และมีคนนับถือกว้างขวาง หนังสือเล่มนั้น ก็กลายเป็นที่เชื่อถือ ของผู้อ่านไปตามๆ กัน

เราได้พบหนังสือชนิดนี้ เป็นครั้งเป็นคราว อยู่ตลอดมา นับว่าเป็นความเสียหาย อย่างใหญ่หลวง แก่พุทธศาสนา แล้วเป็นอันตราย อย่างยิ่ง แก่ผู้อ่าน ซึ่งหลงเข้าใจผิด ในหลักพุทธศาสนา ที่ตนสนใจ หรือ ตั้งใจจะศึกษา ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เช่น เรื่องกรรม ที่ว่า ทำดี-ได้ดี ทำชั่ว-ได้ชั่ว และ บุคคลผู้ทำ เป็นผู้ได้รับ ผลแห่งกรรม นั้น นี่เป็นหลัก ที่มีมาก่อนพุทธกาล และมีกันทั่วไป ในทุกศาสนาใหญ่ๆ ฉะนั้น การที่จะถือเอาว่า หลักเรื่องกรรม เพียงเท่านี้ เป็นหลักของพุทธศาสนานั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าหัวเราะ ทั้งนี้เพราะ ความจริงมีอยู่ว่า พุทธศาสนา แสดงเรื่องกรรม มากไปกว่านั้น คือ แสดงอย่างสมบูรณ์ที่สุด ว่า ผลกรรม ตามหลักที่กล่าวนั้น เป็นมายา จึงถือไม่ได้ ยังมี กรรมที่ ๓ อีกประเภทหนึ่ง ที่สามารถลบล้าง อำนาจของกรรมดี กรรมชั่ว นั้นเสียได้โดยสิ้นเชิง แล้วยังเป็นผู้อยู่เหนือกรรม โดยประการทั้งปวง การปฏิบัติ เพื่อบรรลุ มรรคผลนิพพาน นั่นแหละ คือ การทำกรรมที่ ๓ ดังกล่าว ซึ่งศาสนาอื่น ไม่เคยกล่าวถึงเลย นี่แหละ คือ กรรม ตามหลักแห่งพุทธศาสนา ที่ถูกต้อง เพราะ พระพุทธศาสนา มีความมุ่งหมาย ที่จะช่วยมนุษย์ ให้อยู่เหนือ ความที่จะต้องเป็นไปตามกรรม ฉะนั้น มันจึงไม่ใช่ลัทธิ ทำดีได้ดี ทำชั่ว-ได้ชั่ว ทำบุญไปสวรรค์ ทำบาปไปนรก

สำหรับเรื่อง การเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย นั้น กล้ากล่าวได้ว่า ไม่ใช่หลักของพุทธศาสนา เพราะว่า มันเป็นเรื่องคู่กันมากับหลักกรรม อย่างตื้นๆ ง่ายๆ ก่อนพุทธศาสนา คนในยุคโน้น เชื่อและสอนกันอยู่แล้วว่า สัตว์หรือคน ก็ตาม ตายแล้วเกิดใหม่ เรื่อยไป แทบจะไม่มีที่สิ้นสุด คือมีตัวตน หรือวิญญาณที่ถาวร ซึ่งเวียนว่ายตายเกิด เรื่อยไปในวัฏฏสงสาร จะมีจุดจบต่างๆ กันตามแต่ลัทธินั้นๆ จะบัญญัติไว้อย่างไร ฉะนั้น การที่มากล่าวว่า พุทธศาสนา มีหลักในเรื่อง การเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย ทำนองนี้นั้น จึงเป็นสิ่งที่น่าหัวเราะเยาะ เช่นเดียวกันอีก ทั้งนี้ก็เพราะ การตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นการค้นพบความจริงว่า โดยที่แท้แล้ว คนหรือสัตว์ ไม่ได้มีอยู่จริง หากแต่ความไม่รู้ และมีความยึดมั่นเกิดอยู่ในใจ จึงทำให้ คนและสัตว์นั้น เกิดความสำคัญผิดว่า ตนมีอยู่จริง แล้วก็ไปรวมเอาอาการ ที่เรียกว่า "เกิด" หรือ "ตาย" เข้ามาเป็นของตนด้วย ข้อนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกอย่างมั่นใจว่า มีคน มีสัตว์ มีการเกิด การตาย การประกาศศาสนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นก็คือ การประกาศความจริง พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติ จนสามารถทำให้ คนรู้หรือเข้าใจถึงความจริงว่า ไม่มีตัวเรา หรือ ของเรา ดังนั้น ปัญหาเรื่องการเกิด การตาย และ การเวียนว่ายไปในวัฏฏสงสารนั้น ก็หมดไป

เมื่อข้อเท็จจริง มีอยู่ดังนี้แล้ว การที่มายืนยันว่า พุทธศาสนา มีหลักเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ ในทำนองความเชื่อ ของลัทธิขั้นทารกสอนเดิน แห่งยุคศาสนาพราหมณ์โบราณ ย่อมเป็นการตู่ เป็นความไม่ยุติธรรม ต่อพุทธศาสนา นี่แหละ คือ ปมที่เข้าใจได้ยากที่สุด ของพุทธศาสนา จนถึงกับ ทำให้ชาวไทย ชาวต่างชาติ เขียนข้อความ ซึ่งเป็นการตู่พุทธศาสนา ได้เป็นเล่มๆ โดยให้ชื่อว่า หลักพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่อย่างมากมายในระยะ ๒๐-๓๐ ปี มานี้ และนักเขียนเหล่านั้น ยกเอาบทที่ชื่อว่า กรรม และการเกิดใหม่นั่นเอง ขึ้นมาเป็นบทเอก หรือ เป็นใจความสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา ส่วนเรื่องความไม่มีตัวไม่มีตน หรือ ไม่มีอะไรเป็นของตน และวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความว่าง เช่นนั้น เป็นเรื่องที่ไม่กระจ่างแก่เขา เขามักจะเว้นเสีย หรือ ถ้าจะกล่าว ก็กล่าวอย่างอ้อมแอ้ม คลุมเครือ ไม่เป็นที่แจ่มแจ้ง ได้เลย จึงต้องจัดบุคคล ผู้เขียนตำราพุทธศาสนา เช่นนี้ ไว้ในฐานะ เป็นคนไม่รู้จักพุทธศาสนา และ ทำลายสัจจธรรม ของพุทธศาสนา

การเข้าใจหลักของพุทธศาสนา อย่างผิดๆ ย่อมทำให้ ไม่เข้าถึงจุดมุ่งหมายอันแท้จริง ของพุทธศาสนา อาการอันนี้เอง ที่นำผู้ปฏิบัติ ไปสู่ความงมงาย ทั้งโดยทางปฏิบัติ และหลักวิชา ทำให้เกิดการยึดมั่น ในแบบปฏิบัติ ตามความคิดเห็นผิดของตน เลยเกิดการปฏิบัติแบบ "เถรส่องบาตร" ขึ้นเป็นอันมาก กล่าวคือ เห็นเขาทำกันมาอย่างไร ก็ทำตามๆ กันไป อย่างน่าสมเพช เช่น ชาวต่างประเทศ ที่ไม่เคยรู้จักพุทธศาสนา พอเข้ามาเมืองไทย ก็ผลุนผลัน ทำวิปัสสนา อย่างเอาเป็นเอาตาย อยู่ในสำนักวิปัสสนาบางแห่ง จบแล้วก็ยังมืดมัว อยู่ตามเดิม หรือไม่ก็ งมงาย ยึดมั่นถือมั่น สำคัญผิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นมาอีก จากการที่ทำวิปัสสนาแบบนั้นๆ แม้ในหมู่ชาวไทยเรา ก็ยังมีอาการดังกล่าวนี้ จนเกิดมีการยึดมั่นว่า ถ้าจะให้สำเร็จ ขั้นหนึ่ง ขั้นใด ในทางพุทธศาสนา ก็ต้องนั่งวิปัสสนา เรื่องจึงกลายเป็นเพียงพิธีไปหมด การทำไปตามแบบ โดยไม่ทราบถึงความมุ่งหมาย เป็นเหตุให้เกิด แบบกรรมฐาน ขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งทั้งหมดนั้น ไม่เคยมีในครั้งพุทธกาลเลย ทั้งหมดนี้ รวมเรียกสั้นๆว่า "สีลัพพตปรามาส" กล่าวคือ การบำเพ็ญ ศีล และพรต ที่ทำไป โดยไม่ทราบความมุ่งหมาย หรือ มุ่งหมายผิด

ความงมงายนี้ มีได้ตั้งแต่ การทำบุญ ให้ทาน การรักษาศีล การถือธุดงค์ และ การเจริญกรรมฐานภาวนา คนก็ยึดมั่น ถือมั่น ในการทำบุญ ให้ทาน แบบต่างๆ ตามที่นักบวช โฆษณา อย่างนั้น อย่างนี้ ว่า เป็นตัวพุทธศาสนา ที่สูงขึ้นหน่อย ก็ยึดมั่น ถือศีลเคร่งครัด ว่า นี้เป็นตัวแท้ของพุทธศาสนา และ การยึดมั่นถือมั่น อาจมีมาก จนกระทั่ง ดูหมิ่นผู้อื่น ที่ไม่ยึดถืออย่างตน หรือ กระทำอย่างตน ส่วนนักปฏิบัติ ที่สูงขึ้นไปอีก ก็ยึดมั่นถือมั่น ในแบบของกรรมฐาน หรือวิธีแห่งโยคะ ที่แปลกๆ และทำได้ยาก ว่าเป็นตัวแท้ของพุทธศาสนา ความสำคัญผิด ของบุคคลประเภทนี้ มีมากจนถึงกับไปคว้าเอา วิธีต่างๆ ของโยคี นอกพุทธศาสนา ที่มีอยู่ก่อนพุทธศาสนาบ้าง ในยุคเดียวกันบ้าง และในยุคหลังพุทธกาลบ้าง เข้ามาใส่ไว้ในพุทธศาสนา จนเต็มไปหมด สมตามพระพุทธภาษิตที่ว่า "ไม่ใช่เพราะศีล หรือ เพราะการปฏิบัติอันแปลกประหลาด และการยึดมั่นถือมั่น เหล่านั้น ที่คนจะ บริสุทธิ์จากทุกข์ทั้งหลาย ได้ แต่ที่แท้ ต้องเป็นเพราะ มีความเข้าใจถูกต้อง ในเรื่องของความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ในเรื่องความดับสนิทแห่งทุกข์ และวิธีดับความทุกข์นั้น"

ข้อนี้หมายความว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องถือเอา เรื่องของความทุกข์ มาเป็นมูลฐาน อันสำคัญ ของปัญหาที่ตนจะต้องพิจารณา สะสาง หาใช่เริ่มต้นขึ้นมา ด้วยความพอใจ ในสิ่งแปลกประหลาด หรือ เป็นของต่างประเทศ หรือ เป็นสิ่งที่เขา เล่าลือ ระบือกัน ว่า เป็นของศักดิ์สิทธิ์ และ ประเสริฐ นี่เป็นความงมงาย อย่างเดียวกัน ที่ทำให้คนหนุ่มๆ เข้ามาบวชในพุทธศาสนา ซึ่งส่วนมาก มาเพราะ ความยึดมั่นถือมั่นผิดๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยตนเองบ้าง โดยบุคคลอื่น เช่น บิดามารดา บ้าง หรือ โดยประเพณีบ้าง มีน้อยเหลือเกิน หรือ แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีเลย ที่เข้ามาบวช เพราะความเห็นภัยในความทุกข์ อย่างถูกต้อง และแท้จริง เหมือนการบวช ของบุคคลครั้งในพุทธกาล เมื่อมูลเหตุอันแท้จริง แตกต่างกันแล้ว ก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่เขาจะจับฉวยเอา ตัวแท้ของพุทธศาสนา ไว้ไม่ได้เลย

อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างน่าขบขัน ได้แก่ ความยึดมั่นถือมั่น ที่ห่างไปไกลถึง นอกเปลือกของพุทธศาสนา ชาวยุโรปบางคน ที่ได้รับยกย่องว่า เป็นศาสตราจารย์ ทางฝ่ายพุทธศาสนาได้ยืนยันว่า เขาเป็นพุทธบริษัทที่แท้จริง เพราะเขาเป็น นักเสพผัก หรือ งดเว้นการกินเนื้อสัตว์ เขาเสียใจที่ภรรยาของเขา เป็นพุทธบริษัทไม่ได้ เพราะไม่สามารถเป็นนักเสพผักได้ นั่นเอง เรื่องนี้ นึกดูก็น่าสมเพช คงเป็นที่น่าหัวเราะเยาะ ของพวกอาซิ้ม ไหว้เจ้าตามโรงกินเจ เพราะอาซิ้มเหล่านั้น นอกจากไม่รับประทานเนื้อสัตว์แล้ว ยังเว้นผักที่มีรสจัด หรือกลิ่นแรง อีกหลายชนิด ส่วนพวกมังสะวิรัติ ไม่กินเนื้อสัตว์ก็จริง แต่ก็ยังกินไข่ กินนม และกินผักทุกชนิด นี่เป็นเพราะ ความยึดมั่นถือมั่น ในทางประเพณีแห่งพิธีรีตอง นั่นเอง แม้ในหมู่ชาวไทย ที่อ้างตนว่า เป็นพุทธบริษัท เป็นภิกษุ เป็นพระเถระ เป็นมหาบาเรียน เป็นคนสอนศาสนาพุทธ แก่ประชาชน ได้ดีขึ้นมา ก็เพราะอาศัยพุทธศาสนา แล้วยังกล้ายืนยัน อย่างไม่ละอายแก่ใจว่า บ้านของชาวพุทธ ต้องมีศาลพระภูมิ ไว้ทำพิธีกราบไหว้บูชา ถ้าไม่ทำอย่างนั้น ก็เป็นคนนอกพุทธศาสนา ข้อนี้ เป็นเครื่องแสดงอยู่แล้วในตัวว่า "โมษะบุรุษ" ประเภทนี้ ยังเข้าใจผิด หรือ บิดผันศาสนาของตน เพียงไร พุทธศาสนาของคนในยุคนี้ จึงมีแต่พิธี และวัตถุ ที่นึกว่า ศักดิ์สิทธิ์ เท่านั้นเอง หลงกราบไหว้ ผีสางเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในสากลโลก โดยคิดว่า นั่นก็เป็นพุทธศาสนา แล้วก็สั่งสอนกัน ต่อๆไป แม้โดยพวกที่ประชาชนเชื่อว่า รู้จักพุทธศาสนาดี เพราะมีอาชีพในทางสอนพุทธศาสนา

คนบางพวก มีความยึดมั่นถือมั่นว่า เขาจะเข้าถึงพุทธศาสนาได้ ก็โดยทำตนให้เป็นผู้แตกฉานในคัมภีร์ เท่านั้น เพราะเวลาล่วงมาแล้ว ตั้งแต่ ๒,๕๐๐ กว่าปี สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก จะต้องศึกษาเอาจากคัมภีร์ทั้งหมด เพื่อให้ทราบว่า พุทธศาสนาเดิมแท้ แห่งครั้งกระโน้น เป็นอย่างไร ฉะนั้น การศึกษาพระไตรปิฎก พระอภิธรรม และคัมภีร์อื่นๆ ก็อาจกลายเป็นอุปสรรค ไปได้เหมือนกัน จริงอยู่การที่จะพูดว่า ไม่ต้องศึกษาเสียเลยนั้น ย่อมไม่ถูกต้องแน่ แต่การที่จะพูดว่า ต้องศึกษาพระคัมภีร์เสียให้หมด แล้วจึงจะรู้จักพุทธศาสนา ยิ่งไม่ถูก มากขึ้นไปอีก หรือไม่ถูกเอาเสียเลย ทีเดียว ถึงธรรมะที่แท้จริง จะถ่ายทอดกันไม่ได้ทางเสียง หรือ ทางตัวหนังสือ แต่ว่า วิธีปฏิบัติ เพื่อให้ธรรมะปรากฏแก่ใจนั้น เราบอกกล่าวกันได้ ทางเสียง หรือ ทางหนังสือ แต่ถ้าจิตใจของเขา เหล่านั้น ไม่รู้จักความทุกข์แล้ว แม้จะมีการถ่ายทอดกัน ทางเสียง หรือทางหนังสือ สักเท่าไร เขาก็หาอาจจะถือเอาได้ไม่ ยิ่งเมื่อไปยึดมั่นที่เสียง หรือตัวหนังสือ เข้าด้วยแล้ว ก็จะยิ่งกลายเป็นอุปสรรค ต่อการที่จะเข้าใจพุทธศาสนา มากขึ้นไปอีก คือ กลายเป็นผู้เมาตำรา มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ปริยัติได้กลายเป็นงูพิษ ดังที่พระพุทธองค์ ได้ตรัสไว้ ชาวต่างประเทศ ที่มีมันสมองดี ได้กลายเป็นนักปริยัติ ประเภทนี้ไป เสียมากต่อมาก ไม่จำเป็นจะต้องกล่าวถึง ชาวไทยที่เรียน ปริยัติธรรม อภิธรรม เพื่อประโยชน์ทางโลกๆ หรือทางวัตถุ กันจนเป็นของธรรมดา ไปเสียแล้ว ถึงขนาดเป็นกบฏ ไม่รู้คุณพระพุทธเจ้า ก็มีมาก เช่น การกล่าวว่า การไหว้พระภูมิ ยังไม่เสียการเป็นพุทธบริษัท เป็นต้น

เราไม่จำเป็น จะต้องศึกษาเรื่องราว ทางปริยัติ ทางอภิธรรม อย่างมากมาย เพราะเหตุว่า คัมภีร์เหล่านั้น เป็นที่รวม แห่งเรื่องต่างๆ ทั้งหมด หลายประเภท หลายแขนงด้วยกัน ในบรรดาเรื่อง ตั้งหลายพันเรื่องนั้น มีเรื่องที่เราควรขวนขวายให้รู้ เพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องความดับทุกข์โดยแท้จริง หรืออย่างมากที่สุด ก็ควรขยายออกเพียง ๒ เรื่อง คือ เรื่องความทุกข์อันแท้จริง พร้อมทั้งต้นเหตุของมัน (อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ความมีขึ้นไม่ได้แห่งความทุกข์นั้น พร้อมทั้ง วิธีทำเพื่อให้เป็นเช่นนั้นได้จริง) ถ้าผู้ใดสนใจเฉพาะ ๒ ประเด็นเท่านี้แล้ว ชั่วเวลาไม่นาน เขาก็จะเป็นผู้รู้ปริยัติ ได้ทั้งหมด คือ สามารถเข้าถึง หัวใจของปริยัติ ในลักษณะที่เพียงพอ สำหรับจะนำไปปฏิบัติ ให้ถึงความหมดทุกข์ได้

เราต้องไม่ลืมว่า ในครั้งพุทธกาลโน้น การศึกษาปริยัติ ในลักษณะที่กล่าวนี้ เขาใช้เวลากันไม่กี่นาที หรือไม่กี่วัน คือ ชั่วเวลาที่พระพุทธองค์ ทรงซักไซร้ สอบถาม แล้วทรงชี้แจง ข้อธรรมะ ซึ่งถูกตรงกับ ความต้องการแห่งจิตใจของเขา เขาก็สามารถบรรลุธรรมะ อันเป็นตัวแท้ของพุทธศาสนาได้ ในที่นั่งนั้นเอง หรือในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า นั่นเอง บางคนอาจแย้งว่า นั่นมันเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ท่านทรงสอนเอง และเป็นเรื่องในยุคโน้น จะนำมาใช้ในยุคนี้ อย่างไรได้ คำแย้งข้อนี้ นับว่ามีส่วนถูกอยู่ แต่ก็มีส่วนผิด หรือส่วนที่มองข้ามไปเสีย อยู่มากเหมือนกัน คือมองข้ามในส่วนที่ว่า ธรรมะไม่ได้เกี่ยวเนื่องอยู่กับเวลา และไม่ได้เนื่องอยู่ที่บุคคลผู้สอน ไปเสียทั้งหมด หมายความว่า ถ้าใครมีต้นทุนที่เพียงพอ เขาก็สามารถเข้าถึงธรรมะได้ เพราะได้ฟังคำพูด แม้เพียงบางประโยค

สำหรับข้อที่ว่า มีต้นทุนมาแล้วอย่างเพียงพอนั้น หมายความว่า เขามีความเจนจัด ในด้านจิตใจมาแล้วอย่างเพียงพอ คือ เขาได้เข้าใจชีวิตนี้มามากแล้ว ถึงขั้นที่มองเห็น ความน่าเบื่อหน่าย ของการตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ต้องทนทรมานอยู่ อย่างซ้ำๆ ซากๆ รู้สึกอึดอัด เพราะถูกบีบคั้น และไร้อิสรภาพ มองเห็นชัดอยู่ว่า ตนยังปฏิบัติผิด ต่อสิ่งทั้งปวง อยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเอาชนะกิเลสไม่ได้ เขารู้สิ่งต่างๆ มามากแล้ว ยังเหลืออยู่เพียงจุดเดียว ที่เขายังคว้าไม่พบ ซึ่งถ้าคว้าพบเมื่อใด ความพ้นทุกข์สิ้นเชิง ก็จะมีได้โดยง่าย และทันที เหมือนเราคว้าพบ สวิตซ์ไฟฟ้า ในที่มืด ฉันใดก็ฉันนั้น

ต้นทุนดังที่กล่าวนี้ ไม่ค่อยจะมีแก่บุคคลแห่งยุคที่มัวเมา สาละวนอยู่แต่ ความเจริญก้าวหน้าในทางวัตถุ คนเหล่านี้ถูกเสน่ห์ของวัตถุ ยึดใจเอาไว้ และลากพาตัวเขาไป ไม่มีที่สิ้นสุด จึงไม่ประสีประสา ต่อความจริง ของธรรมชาติ โดยเฉพาะ ในด้านจิตใจ ว่ามันมีอยู่อย่างไร เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่า เขาจะเป็นคนเฉลียวฉลาด และมีการศึกษาแห่งยุคปัจจุบัน มามากแล้ว สักเพียงใด ก็ยังไม่แน่ว่า เขาเป็นผู้มีต้นทุนพอ ในการที่จะเข้าถึงธรรมะตามแบบ หรือวิธี แห่งยุคพระพุทธเจ้าได้ พระพุทธเจ้าที่แท้จริง ย่อมปรากฏ หลังจากที่ธรรมะปรากฏ แก่ผู้นั้นแล้วเสมอไป ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้ เราไม่ต้องพูดถึงพระพุทธเจ้าก่อนก็ได้ ขอแต่ให้เรา พิจารณาอย่างแยบคายที่สุด ในการมองดูตัวเอง มองดูชีวิต มองดูสภาวะ อันแท้จริงของชีวิต ให้รู้อยู่ตามที่เป็นจริง เรื่อยๆไป ก็พอแล้ว วันหนึ่ง เราก็จะบรรลุถึงธรรมะ ด้วยเครื่องกระตุ้นเพียงสักว่า "ได้ยินคำพูดบางประโยค ของหญิงทาสที่คุยกันเล่นอยู่ตามบ่อน้ำสาธารณะ" ดังที่พระพุทธเจ้า ทรงยืนยันไว้ หรือ ยิ่งกว่านั้น ก็ด้วยการได้เห็นรูป หรือ ได้ยินเสียง ของมดหรือแมลง นกหรือต้นไม้ ลมพัด ฯลฯ แล้ว บรรลุธรรมะถึงที่สุดได้ ตามวิธีง่ายๆ เฉพาะตน

ยังมีความเข้าใจผิด อีกอย่างหนึ่ง ที่ทำคนให้เข้าใจพุทธศาสนาผิด จนถึงกับไม่สนใจพุทธศาสนา หรือ สนใจอย่างเสียไม่ได้ ข้อนี้คือ ความเข้าใจที่ว่า พุทธศาสนามีไว้สำหรับ คนที่เบื่อโลกแล้ว หรือ เหมาะแก่ บุคคลที่ละจากสังคม ไปอยู่ตามป่า ตามเขา ไม่เอาอะไรอย่างชาวโลกๆ อีก ข้อนี้ มีผลทำให้คนเกิดกลัวขึ้น ๒ อย่าง คือ กลัวว่า จะต้องสลัดสิ่งสวยงาม เอร็ดอร่อย สนุกสนาน ในโลกโดยสิ้นเชิง อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ กลัวความลำบาก เนื่องจาก การที่จะต้องไปอยู่ในป่า อย่างฤษีนั่นเอง ส่วนคนที่ไม่กลัวนั้น ก็กลับมีความยึดถือบางอย่าง มากขึ้นไปอีก คือ ยึดถือการอยู่ป่า ว่า เป็นสิ่งจำเป็น ที่สุด สำหรับผู้จะปฏิบัติธรรม จะมีความสำเร็จก็เพราะออกไปทำกันในป่าเท่านั้น การคิดเช่นนี้ เป็นอุปสรรคขัดขวาง ต่อการปฏิบัติธรรมะ เพราะโดยปกติ คนย่อมติดอยู่ใน รสของกามคุณ ในบ้านในเรือน หรือ การเป็นอยู่อย่างโลกๆ พอได้ยินว่า จะต้องสละสิ่งเหล่านี้ไป ก็รู้สึกมีอาการ เหมือนกับ จะพลัดตกลงไปในเหวลึก และมืดมิด มีทั้งความเสียดาย และ ความกลัวอยู่ในใจ จึงไม่สามารถได้รับประโยชน์ จากพุทธศาสนา เพราะมีความต่อต้าน อยู่ในจิตใจ หรือมีความรู้สึกหลีกเลี่ยงอยู่แล้ว

เมื่อคนคิดกันว่า จะเข้าถึงตัวแท้ของพุทธศาสนา ไม่ได้ถ้าไม่ไปอยู่ในป่า จึงมีแต่เพียงการสอน และการเรียน เพื่อประโยชน์ แก่อาชีพ หรือ เพื่อผลทางวัตถุไป จะสอน หรือ จะเรียนกันสักเท่าไรๆ ก็ไม่มีทางที่จะเข้าถึงตัวแท้ ของพุทธศาสนาได้ พุทธศาสนาจึงหมดโอกาส ที่จะทำประโยชน์แก่ บุคคลผู้ครองเรือน ได้เต็ม ตามที่พุทธศาสนาอันแท้จริง จะมีให้ บางคนถึงกับเหมา หรือเดาเอาเองว่า บุคคลใด หรือ สำนักไหน มีการสั่งสอนพุทธศาสนา อย่างถูกต้องแล้ว ที่นั่น ก็จะมีแต่การชักชวนคน ให้ทิ้งเหย้าเรือน บุตรภรรยา สามี ออกไปอยู่ป่า เขาเองไม่อยากจะ เกี่ยวข้องกับสำนักนั้นๆ แล้วยังกีดกันลูกหลาน ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เพราะเกรงว่า จะถูกชักจูง หรือ เกลี้ยกล่อม ให้ไปหลงใหลอยู่ในป่า นั่นเอง พุทธศาสนา ไม่ได้มีหลักเช่นนั้น การที่มีคำกล่าวถึง ภิกษุอยู่ในป่า การสรรเสริญ ประโยชน์ของป่า หรือแนะให้ไปทำกรรมฐานตามป่านั้น มิได้หมายความว่า จะต้องไปทนทรมานอยู่ในป่าอย่างเดียว แต่หมายเพียงว่า ป่าเป็นแหล่งว่างจากการรบกวน ป่าย่อมอำนวยความสะดวก และส่งเสริมการกระทำทางจิตใจ ถ้าใครสามารถหาสถานที่อื่น ซึ่งมิใช่ป่า แต่อำนวยประโยชน์ อย่างเดียวกัน ได้แล้ว ก็ใช้ได้

แม้ภิกษุในพุทธศาสนา ก็ยังเกี่ยวข้องอยู่กับชาวบ้าน มิใช่อยู่ป่าชนิดไม่พบใครเลย จนตลอดชีวิต เพราะจะต้องช่วยเหลือชาวบ้าน ให้อยู่ในโลกได้ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ ถ้าจะพูดโดยสำนวนอุปมา ก็กล่าวได้ว่า "ให้รู้จักกินปลา โดยไม่ถูกก้าง" พุทธศาสนามีประโยชน์แก่โลกโดยตรง ก็คือ ช่วยให้ชาวโลก ไม่ต้องถูกก้างของโลกทิ่มตำ ภิกษุสงฆ์ทั้งหมด มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ก็เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่กับโลกตลอดเวลา เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน หรือ ศึกษาโลกพร้อมกันไปในตัว จนกระทั่ง รู้แจ้งโลก ซึ่งเรียกกันว่า "โลกวิทู" จนสามารถขจัดความทุกข์ ทางโลกๆ ออกไปได้ และต้องการให้ ทุกคนเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ให้หนีโลก หรือพ่ายแพ้แก่โลก แต่ให้มีชีวิตอยู่ในโลก อย่างมีชัยชนะ อยู่ตลอดเวลา

ฉะนั้น การที่ใครๆ จะมากล่าวว่า ถ้าจะปฏิบัติธรรมะแล้ว ต้องทิ้งบ้านเรือน เปิดหนีเข้าป่า ก็เป็นการกล่าวตู่พุทธศาสนา ด้วยคำเท็จ อย่างยิ่ง เพราะสถานที่ใด ที่มีการพิจารณาธรรมะได้ ที่นั้นก็มีการศึกษา และปฏิบัติธรรมะได้ พุทธศาสนาไม่ได้สอน ให้คนกลัว หรือ หลบหลีก สิ่งต่างๆในโลก และไม่ได้สอนให้ มัวเมาในสิ่งเหล่านั้น แต่สอนให้รู้จัก วิธีที่จะทำตัวให้มีอำนาจ อยู่เหนือสิ่งเหล่านั้น ฉะนั้น เป็นอันกล่าวได้ว่า จะเป็นใครก็ตาม ย่อมสามารถใช้ พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือ ให้ตนอยู่ในโลกได้ โดยไม่ถูกก้างของโลกทิ่มแทง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้สนใจพุทธศาสนาทั้งหลาย ไม่ได้มองเห็นกันในแง่นี้ แต่กลับไปเห็น เป็นศาสตร์ หรือ เป็นปรัชญา หรือเป็นวิชาความรู้ อย่างหนึ่ง ในบรรดาวิชาความรู้ ที่มีอยู่ในโลก แล้วก็ศึกษา เพื่อจะเอาพุทธศาสนา มาทำมาหากินกัน เมื่อผู้สอนเอง ก็ไม่รู้ว่า พุทธศาสนาประสงค์อะไร ผู้ถูกสอน ก็จะยิ่งมืดมัวขึ้นไปอีก ฉะนั้น จึงใคร่ขอปรับความเข้าใจผิด กันเสียก่อนที่จะศึกษาเรื่องอื่นๆ ต่อไป

หมู่นกจ้อง มองเท่าใด ไม่เห็นฟ้า
ถึงฝูงปลา ก็ไม่เห็น น้ำเย็นใส
ไส้เดือนมอง ไม่เห็นดิน ที่กินไป
หนอนก็ไม่ มองเห็นคูต ที่ดูดกิน

คนทั่วไป ก็ไม่ มองเห็นโลก
ต้องทุกข์โศก หงุดหงิด อยู่นิจสิน
ส่วนชาวพุทธ ประยุกต์ธรรม ตามระบิล
เห็นหมดสิ้น ทุกสิ่ง ตามจริงเอย




.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านพุทธทาสพยายามนำนิกายอื่น ๆ ของมหายาน เช่น ฮวงโป, เว่ยหลาง, เซน ฯลฯ มาเผยแพร่ รวมกับทิฏฐิของตนเอง แทนพระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท



พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ตั้งศาสนาพุทธ

มีแตทรงให้ประพฤติพรหมจรรย์

เหลิมต้องออกจากสมมุติให้ได้

ลองอ่านธรรมที่ผมยกมาให้อ่าน



อ้างคำพูด:
ปาฐกถาชุด "พุทธธรรม"
" พุทธธรรมคือสิ่งๆ หนึ่ง ที่จะทำให้คนธรรมดากลายเป็นพุทธะ
คือผู้ตรัสรู้ ผู้เบิกบาน, เป็นสิ่งธรรมดาอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่เบื้องหลังของชีวิต,
รุ่งเรืองสว่างไสวอยู่เสมอ ไม่รู้จักดับ ทรงตัวเองอยู่ได้ตลอดกาลและพร้อม
อยู่เสมอที่จะสัมผัสกับใจ ถ้าหากลอกเอาเครื่องหุ้มห่อจิตออกเสียได้เมื่อใด
ก็จะพบสิ่งๆ นั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ให้แต่ความสงบ เยือกเย็น ความสะอาด และ
ความแจ่มแจ้ง ในปัญหาของชีวิตทุกอย่าง. สิ่งๆ นี้เป็นสัจธรรมอันเดียว
ที่สูงยิ่งกว่าสัจธรรมทั้งหลาย. ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่พบสัจธรรมนี้
ความปลอดภัยที่แท้จริงของชีวิต ยังมีไม่ได้.
สาเหตุที่คนส่วนมากไม่สนใจในเรื่องนี้ เป็นเพราะไปเข้าใจเสียว่า
เรื่องพุทธธรรมไม่เกี่ยวกับคนเรา หรือเห็นไปเสียว่า ไม่จำเป็นต้องรู้ก็อาจหาความสุขได้ บางคน
เห็นว่า ถ้าสนใจกับเรื่องนี้แล้ว จะต้องทำตัวเป็นฤาษีชีไพร ต้องทำตัวให้เหินห่างจากความสนุก
เพลิดเพลินในโลกทุกอย่าง และบางคนถึงกับเห็นไปว่า เรื่องพุทธธรรมนั้นวิเศษจริง แต่ก็ยาก
ที่คนอย่างเราจะเข้าใจได้. อันที่จริง ความเข้าใจเช่นนั้น เป็นการหลอกตัวเองให้เข้าใจผิดทั้งสิ้น.
ข้อที่เข้าใจว่า พุทธธรรมไม่จำเป็นต้องรู้ ก็อาจหาความสุขได้นั้น ก็เป็นความจริง, แต่
ท่านคงไม่เคยรู้สึกว่า ความสุขที่เราแสวงหาและมีๆ กันอยู่นั้น เป็นของหลอกลวงเกือบทั้งสิ้น และ
มักมีพิษในภายหลังเสมอ. ถ้าได้สัมผัสกับพุทธธรรมเสียบ้าง พิษที่เกิดจากความสนุกนั้นจะลด
น้อยลง และสามารถแสวงหาความสุขที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป.
ข้อที่ว่า ถ้าคนสนใจกับเรื่องนี้ จะต้องออกไปเป็นฤาษีชีไพร เข้าไปแตะต้องกับความสุข
ในทางโลกไม่ได้เลยนั้น ข้อนี้ก็เป็นความเข้าใจผิดถนัด. พุทธศาสนาไม่มีการบังคับให้เชื่อ หรือ
บังคับให้ทำตาม. ท่านจะเป็นฤาษีหรือไม่ สุดแล้วแต่ความพอใจ. และก็ไม่ใช่เป็นกฎตายตัวว่า
ต้องเป็นฤาษีหรือนักบวชเท่านั้น จึงจะเข้าใจพุทธธรรมได้. เรื่องนี้ท่านผู้แสดงได้ชี้แจงไว้
ดีที่สุดแล้ว ในปาฐกถาของท่าน.
ข้อที่ว่า คนธรรมดาไม่ใช่นักบวชหรือนักปราชญ์เข้าใจเรื่องนี้ไม่ได้นั้น ก็ยังขัดต่อ
ความจริง ในครั้งพุทธกาล ปรากฏว่าคนอายุ ๗ ขวบทั้งหญิงทั้งชาย หรือฆราวาสผู้ครองเรือน
เข้าใจเรื่องนี้ได้ ก็มีอยู่ ข้อที่ว่าเราเห็นว่ายากนั้น อาจเป็นเพราะเราไม่สนใจอย่างแท้จริง หรือ
เพราะอ่านหนังสือที่ทำอย่างไรเสียก็ไม่อาจเข้าใจได้ ก็ได้..."

ปาฐกถาที่ ๑ วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม
ปาฐกถาที่ ๒ ความสงบ คือ พุทธธรรม
ปาฐกถาที่ ๓ ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม
ปาฐกถาที่ ๔ ขยายความภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม
บันทึกเกี่ยวกับภูเขาพุทธธรรม - ข้อปุจฉา-วิสัชนา



.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร