วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ซึ่งไม่ต่างกับอีก ด้านหนึ่ง ที่ยึดถือว่า มีจิตไปปฏิสนธิในแดนพระนิพพาน เป็นอมตะ มหานิรันดร์กาล อย่างวิชา มโนมยิทธิ+ธรรมกาย ที่พยายามนำคำสอนของนิกายมหายาน มาเผยแพร่ เพราะเข้ากันได้กับทิฏฐิของตน ส่วนที่อ้างจากพระไตรปิฏก ก็อ้างเพื่อยืนยันว่า แดนพระนิพพานมีจริง เท่านั้นเอง

อย่างที่คุณหลับอยู่ อ้าง

มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗
ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


ท่านพุทธทาสกล่าวว่า

พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์

เหลิมคงยังไม่เคยได้ยินจึงค้นมาฝาก



อ้างคำพูด:
พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์
เมื่อพูดถึง วิทยาศาสตร์ บางคนก็ไม่สนใจ เห็นเป็นเรื่องของคน
อีกพวกหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องของเรา, อาตมาก็เห็นใจคนเหล่านี้;
แต่ก็จะงดไม่พูดด้วยคำคำนี้ก็ไม่ได้ เพราะว่ามันกำลังมีปัญหา
ดังที่จะได้กล่าวให้ทราบต่อไป.

คำว่า วิทยาศาสตร์ นั้น เรายังเข้าใจกันอยู่แต่เพียงว่าเป็น
เรื่องวัตถุ เป็นเรื่องโลกๆ เป็นเรื่องของใหม่ๆ เป็นของทำ
เทียม เป็นของทำปลอม อะไรขึ้นมาหลอกคน, เข้าใจคำว่า
วิทยาศาสตร์ ไปเสียอย่างนี้ แล้วมันก็จะ พูดกันไม่รู้เรื่อง. ที่
จริงคำว่า วิทยาศาสตร์ นั้น ใช้เป็นคำเรียก สิ่งที่มีความจริง, และ
จริงชนิดที่ปรากฏเห็นๆอยู่ และจริงชนิดที่พิสูจน์ได้ ทดลองได้ไม่
ต้องอาศัยการคำนึงคำนวณ, ไม่ต้องอาศัยความเชื่ออย่างงมงาย,
ไม่ต้องอาศัย ความยึดมั่น อย่างละเมอเพ้อฝัน. อาตมาใช้ชื่อ
ชุดการบรรยาย นี้ว่า ธรรมะในฐานะวิทยาศาตร์ นี่ก็เพราะว่า
มันเป็นความจริง ที่ธรรมะนั้น มันเป็นวิทยาศาสตร์, เราไม่รู้
ความจริงข้อนี้ ก็เลยไม่เข้าใจ ก็เกิดความชะงักงัน หรือยังเป็น
หมัน ในการที่จะใช้ธรรมะ อย่างกะว่า เป็นวิทยาศาสตร์

สิ่งซึ่งมิใช่วิทยาศาสตร์ นั้น มีอีกมากมาย ที่เขาพอใจ หลงใหล
กันนัก ในสมัยนี้ ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า ปรัชญา, คล้ายกับว่า โลก
สมัยนี้ เป็นโลกที่ เห่อปรัชญา, การเห่อปรัชญา ก็จะเป็นโรค
ระบาดเต็มโลก; อาตมาก็ต้อง ป้องกันตัว ไว้เสียก่อน คือป้อง
กันตัวของพระพุทธศาสนา หรือป้องกันตัวให้แก่พระพุทธศาสนา
ว่าอย่าให้ โรคเห่อปรัชญา มาครอบงำเอาพระพุทธศาสนา, ให้
พุทธศาสนาสามารถจะแยกตัวออกมาอยู่ในรูปของวิทยาศาสตร์
สำหรับจะได้เรียนกันอย่างเรียนวิทยาศาสตร์, สำหรับจะได้ปฏิบัติ
กัน อย่างปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ จึงได้พยายามชี้ให้เห็นว่า
ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์.

ทีนี้ ก็จะทำความเข้าใจให้ชัดลงไปอีกว่า คำว่า ธรรม ในที่นี้
คืออะไร คำว่า ธรรมในที่นี้ ก็คือ คำที่เราใช้เป็นชื่อของสิ่งที่
เรามักเรียกกันว่า ศาสนา, ซึ่งข้อนี้ก็เคยพูดมามาก แล้วว่า
ในสมัยโบราณ โดยเฉพาะครั้งพุทธกาล นั้นเขาใช้คำว่า ธรรม
เรียกชื่อ สิ่งที่เราเรียกกันในปัจจุบันนี้ว่า ศาสนา, เช่น ปัจจุบันนี้
ถามกันว่า ท่านถือศาสนาอะไร? ในครั้งกระโน้น เขาจะถามกัน
ว่า ท่านถือธรรมะอะไร, ธรรมะข้อไหน, ธรรมะของใคร? ฉะนั้น
ตัวศาสนาก็คือตัวธรรมนั่นเอง, และการที่เอามาพูดในวันนี้คำว่า
ธรรม ในที่นี้ก็หมายถึง ระบบของพระพุทธศาสนา, พุทธศาสนา
ทั้งระบบ เราเอามาเรียกด้วยชื่อสั้นๆว่า ธรรมหรือธรรมะ, แล้ว
อยากจะให้รู้จัก สิ่งที่เรียกว่า ธรรม หรือ ธรรมะนี่แหละ ว่ามัน
เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์, มันไม่ใช่เรื่องปรัชญา.

ถ้าเป็นเรื่องปรัชญา จะไม่เป็นตัวธรรมที่เป็นตัวศาสนา หรือ
ดับความทุกข์ได้, มันจะเป็นธรรมชนิดที่ไม่เกี่ยวกับความดับ
ทุกข์ มันจะเป็นเพียงธรรมสำหรับเรียน สำหรับรู้ สำหรับถก
เถียงกันเท่านั้นเอง. ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายสนใจให้ดีว่า
เมื่อพูดถึงธรรมในที่นี้ ก็คือ ธรรมที่เป็นตัวศาสนาที่สามารถ
ปฏิบัติได้, และครั้งปฏิบัติแล้วก็ดับทุกข์ได้.

ในบัดนี้ มีปัญหาคาราคาซัง กันอยู่ในที่ทั่วๆไป คือมีคนบาง
พวก กำลังเถียงกันอยู่ เกี่ยวกับคำว่า ศาสนา หรือคำว่าธรรม
ในที่นี้. เขาเถียงกันว่า พุทธศาสนานี้เป็นปรัชญา ไม่ใช่เป็น
ศาสนา อย่างนี้ก็มี; นี่เพราะเขาไม่รู้ ความหมาย ของคำว่า
ศาสนา หรือรู้เป็นอย่างอื่นไปเสีย. อาตมา เคยบอกมาหลาย
ครั้งหลายหนแล้วว่า ถ้าเป็นศาสนา จะต้องเป็นวิทยาศาสตร์,
ถ้าเป็นพุทธศาสนา จะต้องเป็นใน รูปของวิทยาศาสตร์, ไม่
เป็นไปใน รูปของปรัชญา ซึ่งเราจะต้อง ทำความเข้าใจกัน
ให้ชัดเจนต่อไป. เดี๋ยวนี้ มัวแต่ เถียงกันไป เถียงกันมา ว่า
พุทธศาสนา เป็นปรัชญา ไม่ใช่เป็นศาสนา ดังนี้บ้าง, และยัง
มีที่เถียงกัน พูดกันว่า พุทธศาสนานั้น ขัดกับวิทยาศาสตร์
ดังนี้บ้าง.

การพูดว่าขัดกับวิทยาศาสตร์นั้น สำหรับคนในสมัยปัจจุบันนี้
เขาถือว่ามันเป็นเรื่องใช้ไม่ได้, ถ้ามันขัดกับหลักวิทยาศาสตร์
แล้ว มันก็ไม่เป็นความจริง. นี้เขาหาว่า พุทธศาสนา ขัดกับ
หลักวิทยาศาสตร์; เราบอกว่า ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น, พุทธศาสนา
นั่นแหละ เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เสียเอง, บางคนเป็นไปมาก
จนถึงกับว่าพุทธศาสนามิใช่ศาสนาไปเสียอีก อย่างนี้ก็มี, ด้วย
เขาไปหลงในปรัชญาให้พุทธศาสนากลายเป็นปรัชญา, เขาจึง
เรียนพุทธศาสนากัน แต่ในรูปแบบของปรัชญา เลยทำให้ ดับ
ทุกข์ไม่ได้ นี่ขอให้สนใจคำที่อาตมากำลังยืนยันว่า ถ้าเรียน
พุทธศาสนา กันใน รูปแบบของ ปรัชญา แล้ว จะไม่ดับทุกข์,
มันจะไม่เป็นการดับทุกข์. เราต้องเรียน พุทธศาสนา กันใน
รูปแบบของ ศาสนา ที่มีลักษณะ เป็นวิทยาศาสตร์ แล้วก็ปฏิบัติ
ลงไปได้จริงๆ จนดับทุกข์ได้.

พุทธศาสนาไม่ใช่ปรัชญา, พุทธศาสนาไม่ใช่วิชาจิตวิทยา,
พุทธศาสนาไม่ใช่วิชาตรรกวิทยา, พุทธศาสนาไม่ใช่ลัทธิ
สำหรับเชื่ออย่างงมงาย; แต่พุทธศาสนาเป็นเรื่องจริงของ
ธรรมชาติ อย่างที่เรียกกันว่า เป็นวิทยาศาสตร์ สำหรับปฏิบัติ
เพื่อดับทุกข์ ตามกฏของธรรมชาติ โดยตรง. ฉะนั้น เราจง
มารู้จักพุทธศาสนา ในฐานะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ กันเสีย
ให้ถูกต้อง, จะได้ป้องกันโรคเห่อปรัชญา ที่กำลังระบาด จะ
คลุมโลกทั้งหมด; โรคเห่อปรัชญานี้ กำลังระบาดมาก จะ
คลุมโลกทั้งหมด เป็นโรคเสียอย่างนี้เสียแล้ว ก็ศึกษาพุทธ
ศาสนา ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ได้, จึงขอโอกาส มาทำความ
เข้าใจ เรื่องนี้ กันเสีย สักคราวหนึ่ง ให้ถึงที่สุด. อาตมาก็รู้สึก
ว่า คงเป็นที่เบื่อหน่าย ของท่านทายกทายิกาบางคน เพราะ
มันเป็น เรื่องที่ฟังดูแล้ว มันคล้ายกับ คนละเรื่องของตน, แต่
อาตมาก็ได้บอกแล้วข้างต้นว่า มันเป็นความจำเป็น ที่จะต้อง
พูดกันเรื่องนี้ จึงขอโอกาสพูดเรื่องนี้ โดยชี้แจง ให้ชัดเจน
เป็นตอนๆ ไปตามลำดับ จนกว่า จะเพียงพอ.

นี่สรุปความว่า เหมือนกับขอให้ท่านบางคนทนฟัง เรื่องที่ไม่
ชวนฟัง สำหรับท่าน, แต่อาจจะชวนฟังอย่างยิ่ง สำหรับคนบาง
คน หรือ บางท่าน, อาตมาจะทำอย่างไรก็ลองคิดดู มันต้องพูด
เพื่อความจริง ให้รู้ความจริง แล้วก็พูดเพื่อให้สำเร็จประโยชน์
ในการที่จะใช้ พระพุทธศาสนา ให้เป็นประโยชน์, แล้วก็จะ
ป้องกัน พระพุทธศาสนา ให้พ้นจาก ภัยอันตราย ของโรค
ระบาด คือการเห่อปรัชญา ให้หันมามองดู พระพุทธศาสนา
ในฐานะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์.


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes ครับ ผมเชื่อตาม หลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฏก อรรถกถา ในเรื่อง การฝึกอภิญญาจิต การมีของภพภูมิต่าง ๆ ของโอปปาติกะ

ซึ่งอาจารย์ใหญ่ของคุณ ไม่เชื่อตามครับ หาว่า พระพุทธเจ้าทรงเอออวย สวมรอยกับศาสนาพราหมณ์ หรือไม่ก็เป็นฝีมือ ของ อรรถกถาจารย์ หรือ พระพุทธโฆษาจารย์(วิสุทธิมรรค) พระอนุรุทธาจารย์(อภิธัมมัตถสังคหะ)

แต่ไม่เชื่อ ตามการกล่าวอ้างของ อัตตโนมติในรุ่นหลัง ๆ ครับ ที่อ้างว่า นั่งกันเป็นกลุ่ม ๆ แล้วได้นิมิตเห็นนั้น เห็นนี่ แม้กระทั่งแดนนิพพาน



เหลิมต้องไม่เชื่อในสิ่งที่ยังมองไม่เห็นด้วยตัวเอง

ตามหลักท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่า




อ้างคำพูด:
ต้องเชื่อสิ่งที่เห็นได้ด้วยตนเอง
นี่ท่านจะเห็นได้เองทันทีว่า การถามเรื่องเกิดทางเนื้อหนังแล้วตายเข้าโลงแล้วว่า
เกิดหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ท่านไม่ยอมพูดด้วย ที่ว่าไม่เป็นเงื่อนต้น
ของความดับทุกข์นั้น ก็เพราะว่าเมื่อผู้ถามถามอย่างไร ผู้ตอบตอบให้ฟัง ผู้ถามก็
เห็นด้วยตนเองไม่ได้ มันจึงได้แต่โง่ลงเป็นครั้งที่สองอีกคือเชื่อตามที่ผู้พูด พูด
หรือ ผู้บอก บอก ครั้งยังไม่เข้าใจ ก็ถามอีก ผู้บอกก็บอกอีก คนฟังก็ต้องโง่เชื่อไป
ตามคำบอกเรื่อยไปๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะมันไม่อาจจะเห็นได้ด้วยตาว่า ว่าหลัง
จากเข้าโลงไปแล้ว มันจะไปเกิด ได้อย่างไร เป็นคนๆเดียวกัน หรือเปล่า แล้วบุญ
กุศลนั้น มันจะไปถึง จริงหรือเปล่า นี่เป็น เรื่องสำคัญที่สุด ของพุทธศาสนา ว่า
มันไม่ได้หมายถึง "ความเกิด" อย่างนั้น ถามไปเท่าไร มันก็เป็นเรื่อง ไกลออกไป
ทุกที ไกลออกไปทุกที จนไม่มีทางที่จะพูดถึงเรื่องดับทุกข์ แล้วผู้ถามก็ต้องเชื่อ
ตามผู้บอก ซึ่งบอกเรื่อยไป ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประโยชน์อะไร

พระพุทธองค์ ตรัสว่า มาพูดถึงเรื่องที่จำเป็น หรือที่สำคัญดีกว่า คือ มาพูดถึง
เรื่องที่ว่า เกิดอยู่นี่มันเป็นทุกข์ แล้วทำอย่างไร จึงจะไม่เป็นทุกข์ อย่าไปพูดว่า
ตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด อันเป็นเรื่อง ข้างหน้าโน้น พูดเดี๋ยวนี้ ที่นี่เลยว่า ที่เกิด
อยู่นี่ เป็นทุกข์ หรือ ไม่เป็นทุกข์ ถ้าเป็นทุกข์ ละก็ จะแก้ทุกข์อย่างไร? ท่านทรง
ชี้ให้เห็นว่า ความยึดมั่น ถือมั่น ว่าตัวกู ว่าของกู นี้มันเป็นทุกข์ พูดกันพักเดียว
คนฟังนั้น เขาฟังเข้าใจ ไม่ต้องเชื่อ พระพุทธเจ้า แต่เขาเชื่อตัวเองเท่านั้น พระ
พุทธเจ้า ท่านก็กำชับว่า อย่าเชื่อตถาคต แม้พระสารีบุตร ก็กล้าปฏิญาณ ต่อหน้า
พระพุทธเจ้าว่า ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า แต่เชื่อตัวเอง อย่างนี้ ในกรณีของธรรมะ
เป็นอันว่า ในกรณีของธรรมะ ในพุทธศาสนานี้แล้ว ต้องเชื่อสิ่งที่เห็นได้ด้วยตน
เอง ฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านสามารถ ที่จะทรงแสดง ให้เขาทราบ เขาเห็นด้วย
ตนเอง ว่าการยึดมั่น ถือมั่น ว่าตัวกู ว่าของกู นี้มันเป็นทุกข์ และความเกิด นั่นมัน
เป็น ความเกิด ที่ทำให้เป็นทุกข์ ขึ้นมา ก็ต่อเมื่อ มีความยึดมั่น ถือมั่น ว่าความเกิด
ของกู นั่นเอง

เมื่อเห็นว่า ความยึดมั่นถือมั่นว่า ตัวกู-ของกู นี้เป็นความทุกข์แล้ว เสร็จไปขั้นหนึ่ง
แล้ว ท่านก็อธิบายต่อไปอีก ขั้นหนึ่ง ว่า ความรู้สึกว่า ตัวกู-ของกูนี้ มันเป็นมายา
มันไม่ใช่ตัวจริง คือมันเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้ เห็นรูป ได้ฟังเสียง ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้ม
รส ที่เรียกว่า สัมผัส แล้วเกิดเวทนา- แล้วเกิดตัณหา- แล้วเกิดอุปาทาน มันเพิ่ง
เกิดหยกๆ ตรงนี้ และชั่วครู่ ชั่วขณะเท่านั้น มันเป็นมายาอย่างนี้ โดยที่แท้จริง
แล้ว มันไม่มี ตัวกู-หรือตัวเรา ของกู-หรือของเรา นี้มันไม่มี มันเป็นความเข้าใจ
ผิด เป็นความยึดมั่น ถือมั่น ที่เกิดขึ้นมาจาก ความไม่รู้ หรืออวิชชา ในขณะที่เห็น
รูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส หรือ คิดนึก ด้วยใจ นั่นเอง ท่านอุตส่าห์ ทรง
พร่ำสอน ตรงนี้ จนผู้ฟังนั้น เห็นเองอีก เห็นได้ด้วยตนเอง ว่า มันไม่มีตัวกู มันมี
แต่ความสำคัญผิด ว่าตัวกู เกิดขึ้นเป็น egoism อย่างที่อธิบายแล้ว แต่วันก่อน
นี้ ขึ้นมาในใจ แล้วไปยึดมั่น ถือมั่น สิ่งนั้นว่า ตัวกู แท้จริงแล้ว ตัวกูไม่มี มีแต่จิต
ที่ประกอบด้วย อวิชชา มันก็ต้องรู้สึกว่า ตัวกู เสมอไป ถ้าประกอบด้วย สติปัญญา
คือ ว่างแล้วก็ไม่มีตัวกู เสมอไป แล้วอันไหนเป็น ความเท็จ อันไหนเป็น ความจริง
ผู้นั้น ก็จะเห็นได้ด้วย ตัวเองทันทีว่า ที่ว่างจากตัวกู นั่นแหละคือความจริง เลย
กลายเป็น บุคคลที่เห็นได้ว่า ตัวกูไม่มี เมื่อตัวกู มันไม่มีแล้ว ใครมันจะตาย แล้ว
ใครมันจะเกิด การที่มาถามทีแรกว่า ตายแล้วเกิดไหม? นั้นจึงเป็น ปัญหาที่โง่ที่
สุด คือมันไม่เป็นปัญหาเลย มันก็เลยหยุดไปเอง เพราะมันเป็น การตอบเสร็จ ไป
เลยในตัวเอง ว่าไม่มีใครตาย ไม่มีใครเกิด ในทำนองที่ เกิดทางเนื้อหนัง ที่ตาย
เข้าโลง แล้วเกิดอย่างนี้ มันไม่มี มันมีแต่จิต ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสิ่งปรุงแต่ง
เท่านั้น มีความเกิดขึ้น แห่งความ ยึดมั่น ถือมั่น ว่า ตัวกู-ของกู เท่านั้น พอเรารู้
แจ้ง เห็นจริง ในข้อนี้ เราขจัดมันไป เสียได้ สิ่งที่เรียกว่า ตัวกู-ของกู ไม่มี เรื่อง
ก็จบกัน คือ สิ้นสุดกันลง เพียงเท่านั้น สิ่งที่เหลืออยู่ ก็เป็นเพียง จิตที่ว่าง ไม่มี
ความทุกข์เลย ไม่มีความรู้สึกว่า ตัวกู-ของกู มาวี่แววเลย ปัญหาเรื่อง ตายแล้ว
เกิดหรือไม่ ก็เลยเป็นหมัน

ทุกๆอย่างนั้น เห็นได้ด้วยตนเองหมด ว่าที่พระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่า ความเกิด
ความแก่ ความตายนั้น มันหมายถึงอะไร? แล้วก็รีบ ขจัดสิ่งเหล่านี้ ออกไปให้
หมด จนไม่มีการเกิดขึ้นมาเลย แล้วเรื่องก็สิ้นสุดลง ไม่ต้องพูดถึงชาติโน้น ไม่
ต้องพูดถึงชาตินี้ ไม่ต้องพูดถึงชาติที่แล้วมา พูดแต่เรื่องเดี๋ยวนี้ ปัจจุบันอย่างยิ่ง
ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ที่จะต้องรีบศึกษา ให้เข้าใจ จนไม่มีความรู้สึกว่า เป็นตัวกู-หรือ
ของกู นั่นแหละ แล้วร่างกายนี้ อัตตภาพนี้ ซึ่งประกอบอยู่ ด้วยร่างกาย และจิตใจ
นี้ จะเป็นของเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ ของคนแก่ คนเฒ่า อะไรก็ตาม จะสะอาด ปราศจาก
ตัวกู-ว่างจากตัวกู แล้วก็ ไม่มีความทุกข์เลย ในพระบาลี ก็ยังมีพูดถึง ผู้ที่เป็นพระ
อรหันต์ ตั้งแต่อายุเพียง ๑๕ ปี นี้ก็หมายถึงเป็นเด็ก แต่มีน้อยมาก มีแต่ที่พูดถึง
ผู้สูงอายุ ได้เป็นพระอรหันต์นั้น เป็นจำนวนมากที่สุด เพราะว่า สามารถ ผ่านสิ่ง
ต่างๆ มา ประจักษ์ชัด ด้วยตนเอง ทั้งนั้น กล่าวคือ มีความแจ่มแจ้ง ในทางจิต
หรือทางวิญญาณ เป็นเรื่องๆ ไปอยู่เป็นประจำ เรียกว่า spritual experience,
คือว่า experience อันนี้ไม่ใช่สัมผัส ทางเนื้อ ทางหนัง ทางวัตถุ แต่เป็นสิ่งที่
เคย ถูกเข้าแล้ว โดยทางจิตใจ โดยทางวิญญาณ รู้รสมาแล้ว ทางจิตใจ รู้รสมาแล้ว
ทางวิญญาณ ในส่วนลึก ว่า มันเป็นอย่างไร ซึ่งคนเรา ตั้งแต่เกิด ขึ้นมาแล้ว กว่าจะ
ตายนี้ มันประสบ กับสิ่งเหล่านี้ นับไม่ถ้วน ถ้าเขาเป็นคนฉลาด สังเกตแล้ว สิ่งเหล่า
นี้ มันจะมีประโยชน์ มากที่สุด คือ มันจะสอน ให้ทุกคราวไปว่า ไม่มีสิ่ง ที่ควรเรียก
ว่า ตัวกู หรือ ของกู ทุกคราวไป ไม่เท่าไร เขาจะมีความรู้ มากพอ อย่างที่ว่า พระ
พุทธเจ้าตรัส สะกิดคำเดียว เขาก็เป็น พระอรหันต์แล้ว คือไม่กี่นาที ที่ได้คุยกับพระ
พุทธเจ้าก็กลายเป็นพระอรหันต์ไป นี้เรียกว่าเป็นผลของ สิ่งๆเดียว คือความเข้าใจ
ถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เข้าใจถูก เรื่องความทุกข์ หรือในเรื่องที่ว่า "ความเกิด
เป็นตัวความทุกข์" อันเป็นคำ ที่สำคัญ คำแรกที่สุด ที่ท่านทั้งหลาย จะต้องสนใจ
และเข้าใจ.


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อีกอย่าง ผมก็ไม่เชื่อทิฏฐิของท่านพุทธทาส ที่วิจารณ์พุทธวิสัย ของพระพุทธเจ้า ในเรื่อง การเสด็จขึ้นไปแสดงพระอภิธรรม โปรดพุทธมารดา บนเทวโลก ว่าเป็นการสร้างเรื่องขึ้นของพระเจ้าอโศกมหาราช



เหลิมลองอ่านหลักความเชื่ออย่างพุทธมามกะท่านพุทธทาส

ก่อนแล้วจึงตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อ


อ้างคำพูด:
ศรัทธาความเชื่ออย่างพุทธมามกะ
ฉันปฏิญาณว่า ฉันมีความเชื่ออย่างพุทธมามกะ ซึ่งอาจจะแตกต่าง
จากความเชื่อของชนเหล่าอื่น

ความเชื่อของพุทธมามกะ นั้นคือ

๑) พุทธมามกะ เชื่อโดยตรงต่อเหตุผล
และด้วยความเป็นผู้อยู่ในอำนาจแห่งเหตุผล ข้อนี้ย่อมทำให้ความเชื่อของฉัน
มี พอเหมาะพอสม ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และเคียงคู่กันไปกับปัญญา
พุทธมามกะ ถือกันเป็นแบบฉบับว่า การเชื่องมงาย เป็นสิ่งที่ น่าอับอายอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นจุดรวมแห่งความนับถือ ของพุทธมามกะนั้น เป็นผู้ที่รู้
และดำเนินไป ตามหลักแห่งการใช้เหตุผล จึงเป็นผู้กำจัดความงมงายของโลก

๒) พุทธมามกะ เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ได้บ่มพระองค์เอง มาเป็นเวลาเพียงพอ
จนสามารถลุถึงด้วยพระองค์เอง และทรงชี้ทางให้มนุษย์ มีความสะอาด ความสว่าง
และความสงบเย็น ได้จริง

เมื่อได้ พิจารณาดูประวัติแห่งคำสอน และการกระทำของพระองค์แล้ว คนทุกคน
แม้กระทั่งผู้ที่ไม่นับถือพระองค์ ก็ย่อมเห็นได้ทันทีว่า พระองค์เป็นผู้ที่สมบูรณ์
ด้วยความสะอาด ความสว่าง และความสงบถึงที่สุด จนสามารถสอนผู้อื่นในเรื่องนี้
ธรรมะ ที่พระองค์ได้ทรงบรรลุนั่นเอง ทำพระองค์ให้ได้นามว่า พระพุทธเจ้า

๓) พุทธมามกะ เชื่อว่า พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบรรลุ และนำมาสอนนั้น
คือความจริงอันตายตัวของสิ่งทั้งปวง อันมีอำนาจที่จะบันดาลสิ่งทั้งปวงให้เป็นไป
ตามกฏนั้น และโดยเฉพาะที่มีค่าต่อมนุษย์มากที่สุด ก็คือ กฏความจริง ที่รู้แล้ว
สามารถทำผู้นั้น ให้ปฏิบัติถูกในสิ่งทั้งปวง และ พ้นทุกข์สิ้นเชิง พระธรรมนี้มีอยู่
สำหรับให้ มนุษย์เรียนรู้ และทำตาม จนได้รับผลจากการกระทำ เป็น
ความพ้นทุกข์สิ้นเชิง ทั้งทางกาย และ ทางใจ

๔) พุทธมามกะ เชื่อว่า พระสงฆ์ คือบรรดามนุษย์ที่มีโชคดี มีโอกาสก่อนใคร
ในการได้รู้ ได้ปฏิบัติ และได้รับผลของการปฏิบัติ ในพระธรรม
ถึงขนาดที่พ้นจากทุกข์ ยิ่งกว่าคนธรรมดา ด้วยความแนะนำของพระพุทธเจ้า
พระสงฆ์ จึงเป็น ผู้ที่ควรได้รับการนับถือ และถือเอาเป็นตัวอย่าง
และเป็นที่บำเพ็ญบุญ ของผู้ที่ประสงค์จะได้บุญ ใครๆ ก็อาจเป็น
พระสงฆ์ที่แท้จริงได้ ไม่ว่า ชายหญิง บรรพชิต หรือฆราวาส เด็ก หรือผู้ใหญ่
มั่งมี หรือ ยากจน คนเป็นพระสงฆ์ ได้ด้วยการประพฤติ และการบรรลุธรรม
ที่มีอยู่ในตัวเขา ไม่ใช่เพราะการเข้าพิธี หรือ การเสกเป่า ต่างๆ

๕) พุทธมามกะ เชื่อว่า โลกนี้ไม่มีบุคคลใดสร้าง หรือ คอยบังคับให้เป็นไป
หากแต่เป็นสิ่งที่หมุนเวียนไปเอง ตาม กฏของสังขารธรรม คือ กฏธรรมชาติ
อันประจำอยู่ในส่วนต่างๆ ที่ประกอบ กันขึ้นเป็นโลก มันเป็น กฏธรรมดา
หากแต่ว่า มีบางสิ่งบางอย่าง ลึกลับ ซับซ้อน ประณีต และมหัศจรรย์
พอที่จะทำให้คน บางพวกหลงไปว่า มีผู้วิเศษคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้สร้างสิ่งต่างๆ
เมื่อมนุษย์ เรามีความรู้เท่าทัน ความเป็นไป ของสิ่งเหล่านี้ ได้มากเพียงใด
ก็สามารถ ปรับปรุงตนเอง ให้ได้รับ ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น หรืออยู่กันได้
ด้วยความผาสุก มากเพียงนั้น ไม่ต้องมีคัมภีร์ ซึ่ง อ้างว่าส่งมาจากสวรรค์
คงมีแต่คัมภีร์ ที่คนผู้เข้าถึงธรรมะแล้ว รู้เห็นได้อย่างไร ก็บอกไปอย่างนั้น
จนผู้อื่นสามารถเข้าถึงธรรมะได้ อย่างเดียวกันก็พอแล้ว เราเรียกคนเหล่านั้นว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

๖) พุทธมามกะ เชื่อว่า มนุษย์แต่ละคนล้วนมีกรรม หรือการกระทำของตนเอง
เป็นเครื่องอำนายความสุข และ ความทุกข์ แล้วแต่ว่า เขาได้ทำไว้อย่างไร
ในขณะที่แล้วมา ทุกคนมีกรรม เป็นของตนเอง เป็นเครื่องปรุงแต่งตัวเอง
บังคับความเป็นไปของตัวเองโดยเด็ดขาด จนกล่าวได้ว่า
เรามีกรรมนั่นแหละเป็นตัวเราเอง

ถ้าเขาอยากมีหรืออยากอยู่ในโลกที่งดงาม เขาก็ต้องทำกรรมดีโดยส่วนเดียว
ถ้าเขาเบื่อต่อการเป็นอยู่ในโลกทุกๆ แบบ เขาก็มีวิธีทำให้จิตใจของเขาสูงพอ
ที่จะไม่ทำอะไรๆ ให้เป็นกรรม อย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นมาได้
และอยู่เหนือกรรม โดยประการทั้งปวง
ผู้ที่ทำกรรมชั่วไว้ จักต้องได้รับโทษ หรือ มีการทำคืนที่สมควรแก่กันเสียก่อน
จึงจะพ้นจากกรรมชั่วนั้น เว้นเสียแต่ เขาได้ทำกรรมดีไว้มากอีกทางหนึ่ง
ถึงกับช่วยให้เขามีจิดใจสูง พ้นอำนาจของกรรมไปเสียก่อน ที่มันจะให้ผลได้

๗) พุทธมามกะ เชื่อว่า ตัวแท้ของศาสนานั้น คือ ตัวการกระทำที่ถูกต้อง
ตามกฏแห่งความจริง จนได้รับผลของการกระทำ เป็นความสะอาด
ความสว่าง และ ความสงบ จริงๆ

หาใช่เป็นเพียง
คัมภีร์ หรือ คำสั่งสอน หรือการสวดร้องท่องบ่น วิงวอน บวงสรวงไม่

พุทธมามกะ มีศาสนาของตนๆ อยู่ที่ กาย วาจา ใจ อันสะอาด ของตนเอง
ความสะอาด ความสว่าง และ ความสงบ นี้ คือ ความหมาย อันแท้จริง
ของคำว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

ซึ่งที่แท้ ทั้งสามองค์ เป็นองค์เดียวกัน
พุทธมามกะ จึงทำใจของตน ให้ปักดิ่ง ลงที่
ความสะอาด ความสว่าง และ ความสงบ เท่านั้น

ทั้งหมดนี้ คือ ความเชื่อ ๗ ประการ ของพุทธมามกะ

พุทธทาสภิกขุ

๒๖ สิงหาคม ๒๔๙๘



.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เห็นทิฏฐิอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes ไหมครับ นอกจากจะกล่าวตู่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว ยังกล่าว พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ในสมัยโบราณ อีก ว่าสร้างเรื่องเหล่านี้ ขึ้นมา

นี้กระมังครับ ในพระวินัย จึงกล่าวถึงผลของการประพฤติผิดในพระไตรปิฏก ว่าจะเป็นผู้ฟุ้งซ่าน วิจารณ์ธรรมมากเกินไป



ท่านพุทธทาสไม่ฟุ้งซ่านหรอก

ท่านสอนแต่เรื่องวิถีทางพ้นทุกข์

ดังคำสอนท่านที่กล่าวไว้ว่า



อ้างคำพูด:
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการนี้ มีมาใน โคตมีสูตร อังคุตตรนิกาย เป็น
ถ้อยคำที่ตรัสแก่ ประเจ้าแม่น้ำโคตมี ซึ่งออกบวชเป็นภิกษุณี ถือกันว่า เป็นหลัก
สำคัญ มีข้อความที่น่าสนใจเป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งคือ เป็นหลักธรรมที่ทรงเลือก
สรรมา ในลักษณะเป็นเครื่องตอบแทนคุณแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะที่เป็นมารดา
อีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นว่า การปฏิบัติอย่างใด จะเป็นไปถูกต้องตาม
หลักแห่งการดับทุกข์ หรือไม่ ก็ควรใช้หลักเกณฑ์เหล่านี้ เป็นเครื่องตัดสินได้โดย
เด็ดขาด ฉะนั้น จึงเป็นหลักที่แสดงถึง ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา อยู่ใน
ตัว หลักเหล่านั้น คือ

ถ้า ธรรม (การปฏิบัติ) เหล่าใด
๑. เป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ
๒. เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ (คือทำให้ลำบาก)
๓. เป็นไปเพื่อสะสมกองกิเลส
๔. เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ (คือไม่เป็นการมักน้อย)
๕. เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ
๖. เป็นไปเพื่อความคลุกคลี
๗. เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก

พึงรู้ว่า ธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่ สัตถุศาสน์ (กล่าวคือคำสอน
ของพระศาสดา) แต่ถ้าเป็นไปตรงกันข้าม จึงจะเป็นธรรมเป็นวินัยเป็นสัตถุศาสน์
คือ

๑. เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
๒. เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบทุกข์
๓. เป็นไปเพื่อไม่สะสมกองกิเลส
๔. เป็นไปเพื่อความอยากน้อย
๕. เป็นไปเพื่อความสันโดษ
๖. เป็นไปเพื่อความไม่คลุกคลี
๗. เป็นไปเพื่อความพากเพียร
๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย

มีอธิบายว่า ความกำหนัดย้อมใจ ได้แก่ ความติดใจรัก ยิ่งขึ้นๆ ในสิ่งที่มาเกี่ยวข้อง
หรือแวดล้อม ถ้าการปฏิบัติ หรือ การกระทำ หรือ แม้แต่การพูดการคิดอย่างใด ทำ
ให้ บุคคลผู้นั้นมีความติดใจรักในสิ่งใดๆ แล้ว ถือว่าเป็นการปฏิบัติผิด ตัวอย่างเช่น
การดูหนังดูละคร เป็นต้น มันทำให้เกิดความยอ้มใจ อย่างที่กล่าวนี้ ด้วยอำนาจของ
ราคะ เป็นต้น ซึ่งจะเทียบดูได้กับจิตใจของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความสงบ หรือ แม้แต่
อยู่ในที่สงัด จะเห็นได้ว่า เป็นการแตกต่างกันอย่างตรงกันข้าม พึงอาศัยตัวอย่างนี้
เป็นเครื่องเทียบเคียง จับความหมายของคำๆ นี้ ให้ได้ ทั้งในทางรูป เสียง กลิ่น รส
โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่สุด ตัวอย่างแห่งธรรมารมณ์ เช่น การขอบคิดฝัน ถึง
สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ก็ย่อมทำจิตให้ถูกยอ้มด้วย ราคะมากขึ้นๆ เป็นต้น

คำว่า เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ หมายถึงการทำตนเองให้ลำบากด้วยความไม่
รู้เท่าถึงการณ์ ด้วยความเข้าใจผิดในกรณีที่ไม่ควรจะมีความลำบากหรือลำบากแต่
น้อยก็ตาม เป็นสิ่งที่น่าพิศวงว่า คนเราไม่ชอบความลำบากด้วยกันทั้งนั้น แต่แล้ว
ทำไมจึงไปทำสิ่งที่ตนจะลำบาก ทั้งนี้ ก็เพรา อำนาจของโมหะ คือ ความหลงเป็น
ส่วนใหญ่ จึงมีความเข้าใจผิดกลับตรงข้าม แม้ในกรณีที่เป็นเรื่องของการอยากดี
อยากเด่นอยากมีชื่อเสียง เป็นต้น ก็มีมูลมาจากโมหะอยู่นั่นเอง กรณีที่เป็นการประชด
ผู้อื่น หรือ ถึงกับประชดตัวเองก็ตาม ย่อมสงเคราะห์เข้าในข้อนี้ ซึ่งมีมูลอันแท้จริง
มาจากความหลงสำคัญผิดอย่างเดียวกัน นั่นเอง โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ การปฏิบัติ ที่
เรียกว่า อัตตภิลมถานุโยค คือ การทรมานตนอย่างงมงาย

คำว่า สะสมกองกิเลส หมายถึงการเพิ่มพูนโลภะ โทสะ โมหะ โดยรอบด้าน ผิด
จากความกำหนัดย้อมใจ ตรงที่ข้อนี้ หมายถึงเป็นอุปกรณ์ หรือ เครื่องสนับสนุน
การเกิดของกิเลสทั่วไปและให้ทวียิ่งขึ้นด้วย การสะสมสิ่งซึ่งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง
กิเลส อยู่เป็นประจำ ในกรณีของ คนธรรมดาสามัญ บางอย่างอาจจะ ไม่จัดเป็น
การสะสมกองกิเลส แต่จัดเป็นการสะสมกิเลส อย่างยิ่ง สำหรับผู้ปฏิบัติ เพื่อความ
ดับทุกข์ โดยตรง เช่น พวกบรรพชิต หรือในบางกรณี ก็จัดว่า เป็นการสะสมกอง
กิเลส ทั้ง คฤหัสถ์ และ บรรพชิต เช่น การมีเครื่องประดับ หรือ เครื่องใช้ชนิดที่
ไม่มีความจำเป็น แก่การเป็นอยู่ แต่เป็นไป เพื่อความลุ่มหลง หรือ ความเห่อเหิม
ทะเยอทะยาน ประกวด ประขันกัน โดยส่วนเดียว เป็นต้น เป็นการขยาย ทางมา
ของกิเลส ให้กว้างขวาง ไม่มีที่สิ้นสุด

คำว่า ความอยากใหญ่ หมายถึง การอยากเกินมาตรฐานแห่งภาวะ หรือสถานะ
หรือกำลังสติปัญญาของตน เป็นต้น ส่วนความไม่สันโดษ ไม่ได้หมายถึง ความ
อยากใหญ่ เช่นนั้น แต่หมายถึง ความไม่รู้จักพอใจ ในสิ่งที่ได้มาแล้ว หรือมีอยู่
แล้ว ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเป็น คนยากจนอยู่เนืองนิจ เป็นทางให้เกิดความอยาก
ใหญ่ หรือ กิเลสอย่างอื่นต่อไปได้ หรือในทางตรงกันข้าม ทำให้เกิดการทำลาย
ตัวเอง จนถึงกับฆ่าตัวตายก็ได้ โดยภาษาบาลี ความอยากใหญ่ เรียกว่ามหิจฺฉตา
ความไม่สันโดษ เรียก อสันตุฎฐิ โดยพยัญชนะ หรือโดยนิตินัย เราอาจจะแยกได้
ว่า เป็นคนละชั้น คนละตอน หรือคนละอย่าง แต่โดยพฤตินัย ย่อมเป็นไปด้วยกัน
จนถึงกับหลงไปได้ว่า เป็นสิ่งเดียวกัน

คำว่า ความคลุกคลี หมายถึง การระคนกันเป็นหมู่ เพื่อความเพลิดเพลินอย่างใด
อย่างหนึ่ง จากการกระทำอันนั้น ความเพลิดเพลิน จากการคลุกคลีนี้ มีรสดึงดูด
ในทางธรรมารมณ์เป็นส่วนใหญ่ และก็มีความยั่วยวน ไม่แพ้อารมณ์ที่ได้รับทาง
ตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะเหตุฉะนั้นเอง คนเราจึงติดใจรสของ
การที่ได้ระคนกันเป็นหมู่นี้ ทำให้จิตใจลุ่มหลงมีลักษณะเหมือนกับจมไม่ลง ทำให้
ความคิด ความอ่าน ดำเนินไปอย่างผิวเผิน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งการคิด อย่างแยบคาย
หรือ ลึกซึ้ง แต่พึงทราบไว้ว่า การประชุมกันเพื่อศึกษาเล่าเรียน ปรึกษาหารือ กิจ
การงาน อันเป็นหน้าที่เป็นต้นนั้น ท่านไม่เรียกว่า การคลุกคลีกัน เป็นหมู่ในที่นี้
แต่อีกทางหนึ่ง ท่านยังหมายกว้างไปถึงว่า การถูกกิเลสทั่วไป กลุ้มรุม ด้วยสัญญา
อดีต ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เคยผ่านมาแล้ว แต่หนหลัง แม้นั่งคิดฝัน
อยู่คนเดียว ก็กลับสงเคราะห์ไว้ในคำว่า การคลุกคลีในหมู่ อย่างหนึ่งด้วยเหมือน
กัน เพราะมีมูล มาจาก ความอาลัย ในการระคนด้วยหมู่

คำว่า ความเกียจคร้าน และคำว่า เลี้ยงยาก มีความหมายชัดเจนแล้ว การปฏิบัติ
ทำความดับทุกข์ เป็นเรื่องใหญ่และยึดยาว จึงต้องอาศัย ความเพียร ความเลี้ยง
ง่าย จึงจะเป็นเหตุให้ไม่ต้องมีภาระ เรื่องอาหาร มากกว่าที่จำเป็น ซึ่งทำให้เสีย
เวลา และเสียวัตถุมากไปเปล่าๆ โดยที่อาจจะนำไปใช้เป็นประโยชน์ อย่างอื่นได้

ลักษณะทั้ง ๘ นี้ แต่ละอย่างๆ เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติ เพื่อความดับทุกข์ โดย
ตรงก็มี เป็นเพียงอุปสรรคก็มี และเป็นการปฏิบัติผิดโดยตรงก็มี จึงถือว่าไม่ใช่
ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์ ต่อเมื่อปฏิบัติ ตรงกันข้าม จาก ๘ อย่างข้าง
ต้น จึงจะเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ หรือ เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ นี้นับ
ว่าเป็น หมวดธรรมที่เป็นอุปกรณ์ แห่งการปฏิบัติ เพื่อความดับทุกข์ อย่างหนึ่ง
ในฐานะที่เป็นหลักสำหรับยึดถือ หรือให้ดำเนินไปถูกทาง


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
เห็นทิฏฐิอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes ไหมครับ นอกจากจะกล่าวตู่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว ยังกล่าว พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ในสมัยโบราณ อีก ว่าสร้างเรื่องเหล่านี้ ขึ้นมา


อะไรคือการกล่าวตู่

ในเมื่อ

อ้างคำพูด:
นรก-สวรรค์ ตามหลักของพระพุทธเจ้า
ทีนี้อยากจะให้รู้เสียเลย ที่เกี่ยวกับ ทวารเหล่านี้นะ
พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า
นรกทางอายตนะ ฉันเห็นแล้ว
สวรรค์ทางอายตนะ ฉันเห็นแล้ว

เมื่อก่อน เขาพูดกัน ถึงเรื่อง นรกอยู่ใต้ดิน
อย่าง ภาพเขียนฝาผนัง นั่นมันคือ นรกทางกาย นรกทางวัตถุ
ก็หมายถึง ร่างกาย ถูกกระทำ อย่างนั้น เป็นนรกใต้ดิน ตามที่ว่า
แล้วสวรรค์ ก็อยู่ข้างบน บนฟ้า ข้างบนโน้น
มีวิมาน มีผู้เสวยสวรรค์ เป็นบุคคล
มีนางฟ้า ส่งเสริม ความสุข เป็นร้อยๆ ร้อยๆ นั้นคือ
สวรรค์ข้างบน แต่ เป็นเรื่อง ทางกาย หรือ ทางวัตถุทั้งนั้น

นรกกับสวรรค์ ชนิดนั้น เขาพูดกัน อยู่ก่อนพระพุทธเจ้า
เขาสอนกันอยู่ก่อน แต่คุณจับใจความให้ได้ มันเรื่องทางกายนี้
เจ็บปวดทางกายอยู่ใต้ดิน คือนรก
เอร็ดอร่อยทางกายอยู่ข้างบน นั่นแหละสวรรค์

ทีนี้ พระพุทธเจ้าท่านมาตรัสเสียใหม่ว่า
นรกที่อายตนะฉันเห็นแล้ว ก็คือที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ; นี่นรก
เมื่อทำผิด มันร้อนขึ้นมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มันนรกที่ไม่ใช่วัตถุ ที่ไม่ใช่กาย มันเป็นนามธรรม
เป็นความรู้สึก เป็นทุกข์ร้อน อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นี่นรกฝ่ายวิญญาณ ฝ่ายโน้น ฝ่ายนี้ ฝ่ายวิญญาณ

ทีนี้ สวรรค์ก็เหมือนกัน เมื่อถูกต้อง เขาก็จะเป็นสุข
สนุกสนาน อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็นั้นแหละ คือ สวรรค์
เป็น สวรรค์ทางวิญญาณ มันคู่กัน อย่างนี้ มันคู่กันมา อย่างนี้

ถ้าเอาวัตถุ เอาร่างกายเป็นหลัก นรกอยู่ใต้ดิน สวรรค์อยู่บนฟ้า
แล้วก็เป็นไปตามเรื่องนั้น

แต่ถ้าเอาเรื่อง นามธรรม ฝ่ายวิญญาณ เป็นหลักแล้ว
ทั้งนรก ทั้งสวรรค์ มันอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คือ ความรู้สึก ที่เกิดขึ้น ที่นั่น
พูดอย่างนี้ ชี้ไปยังที่ตัวจริง
พูดอย่างโน้น มันอุปมา เหมือนกับว่า ถูกฆ่า ถูกเผา ถูกอะไรอยู่
หรือว่า เสวยอารมณ์ อันเป็น กามคุณอยู่
นั้นควรจะเป็นอุปมา แต่เขากลับเอามา เป็นตัวจริง

ทีนี้ ผม อธิบายตาม พระบาลี เรื่องตัวจริง ว่า
ร้อนอยู่ที่ อายตนะทั้ง ๖ นี้ มันเป็นนรก สบายอย่างนี้ เป็นสวรรค์
เขากลับหาว่า นี้อุปมา นี่มัน กลับกัน อย่างนี้ ใครโง่ ใครฉลาด?
คุณก็ไปคิดเอาเอง

แต่ผมยืนยันว่า ตามหลักของพระพุทธเจ้าว่า นี้คือ จริง :
นรกที่อยู่ที่อายตนะ ๖ นี้ คือ นรกจริง
สวรรค์ที่อยู่ที่อายตนะ๖ นี้คือ สวรรค์จริง
ท่านจึงตรัสว่า ฉันเห็นแล้วๆ

ก็ไม่ได้พูด ตามที่เขาพูดกัน อยู่ก่อนพระองค์
ที่เขาพูดกัน อยู่ก่อนพระองค์ นั้น เขาพูดกันว่าอย่างนั้น
มันจะเป็น เรื่องคาดคะเน หรือ เป็นเรื่องอะไร ก็ตามใจเขา
เราจะไม่แตะต้อง เราจะไม่ไปคัดค้าน

นี่คุณช่วยจำไว้ข้อหนึ่ง ด้วยนะ แทรกให้ได้ยินว่า
เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น ไม่ตรงกับ ลัทธิของเรา
พระพุทธเจ้า ท่านว่า อย่าไปคัดค้าน แล้วก็ไม่ต้องยอมรับ
เมื่อเราไม่เห็นด้วยเราก็ไม่ยอมรับ แต่แล้ว อย่าไปคัดค้าน
อย่าไปด่าเขา อย่าไปอะไรเขา ก็บอกว่า คุณว่าอย่างนั้น
ก็ถูกของคุณ เราไม่อาจจะยอมรับ แต่เราก็ไม่คัดค้าน
แต่เรามีว่าอย่างนี้ๆ เราก็พูดของเราไป ก็แล้วกัน

นี่ควรจะถือเป็นหลัก กันทุกคน
ถ้าลัทธิอื่น เขามาในแบบอื่น รูปอื่น
เราก็ไม่คัดค้าน เราไม่ยอมรับ
แต่เราบอกว่า ของพุทธศาสนานี้ เป็นอย่างนี้ๆ ก็ว่าไป
ไม่ต้องทะเลาะกัน
ที่มันจะไป ทำลายของเขา ยกตัวของตัว ขึ้นมา
นี้มันจะได้ทะเลาะกัน จะทำอันตรายกัน เพราะหลักธรรมะ นั้นเอง
พระพุทธเจ้าท่านจึงไม่พูด ถึงเรื่องอะไรๆ ที่เขาพูดกันอยู่ก่อน
ในหลายๆเรื่อง รวมทั้งเรื่อง นรก สวรรค์ นี้ด้วย

แต่ท่านพูด ขึ้นมาใหม่ว่า ฉันเห็นแล้ว คือ อย่างนี้ๆ

ฉะนั้น เรามี นรก สวรรค์
ทั้งที่เป็นการกล่าวกันอยู่ตาม ทางวัตถุ ทางกาย
มาสอนใน ประเทศไทย ตั้งแต่ ก่อนพุทธศาสนาเข้ามา
ฝ่ายพุทธศาสนาเข้า
เขาก็ไม่ได้เอาคำของพระพุทธเจ้าข้อนี้มาสอน
ประชาชนก็ยังถือตาม ก่อนโน้นๆ นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า

นรก สวรรค์ อย่างที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสนี้
ไม่ค่อยมีใครสนใจ
พอเอามาพูดเข้า เขาเห็นเป็น เรื่องอุปมา ไปเสียอีก

มันกลับกัน เสียอย่างนี้


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๑๘. เทวดา-พรหม-เปรต-สัตว์นรก

ปรัศนี: บางคนมีความจงรักภักดีต่อศาสนา แต่เป็นคนโง่ไร้สติปัญญา เป็นมิจฉาทิฎฐิ แล้วอธิบายคำว่า "เทวดา" ว่าแก่ กษัตริย์และเศรษฐี คำว่า "พรหม" ได้แก่นักบวชนั่งสมาธิอยู่ในฌานสมาบัติ คำว่า "เปรต" ได้แก่ คนขอทาน และคนรับทุกข์ทรมาน คำว่า "สัตว์นรก" ได้แก่คนที่มีความสุข และคำว่า นรกได้แก่คนมีความทุกข์ไปเสียอย่างนี้ ซึ่งเขาจัดท่านอาจารย์ไว้ในหมู่ผู้มีคำอธิบายอย่างนี้ด้วยคนหนึ่ง นี่ท่านอาจารย์จะว่าอย่างไรครับ?

พุทธทาส: คนถามเขาฟังไม่ได้ศัพท์ จับมากระเดียด คนที่อธิบายนี้ เขาอธิบายความหมาย คือถ้าไม่มีความสามารถจะเห็น นรก สวรรค์ ต่อตายแล้วได้จริงละก็ ขอให้คำนวณโดยคุณค่า เช่น เทวดานี้ คือคนมีความสุข คนเล่นหัวสนุกสนาน ถ้าจะเรียกว่า เทวดา ก็เทวดาสมมตุ เช่น คนร่ำรวยหรือราชามหากษัตริย์อย่างนี้ ก็เรียกว่า เทวดาสมมติ ให้ดูความหมายของ "เทวดา" ได้จาก สภาวะจิตใจของคนชนิดนี้ คำว่า "พรหม" ในพรหมโลกเขาก็ไม่ได้ปฏิเสธ แต่เขาอยากให้ดูว่า เมื่อคนอยู่ในญาณสมาบัติ ภาวะจิตใจเหมือนกับผู้อยู่ในพรหมโลก เขาไม่ได้พูดชัดว่า ได้แก่เหมือนคนโง่ๆ คนนี้นะคนที่ถามนี่เป็นคนโง่นะ ฟังผิดๆ ฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับไปกระเดียด ใช้คำว่าได้แก่นะ จึงว่า เทวดาได้แก่กษัตริย์ พรหมได้แก่คนที่เจริญสมาบัติ เปรตได้แก่คนขอทาน ฯลฯ ใช้คำผิดเสีย แล้วใช้คำว่า ได้แก่ ที่จริงผู้พูดผู้อธิบายเรื่องนี้ในเมืองไทยนี้ เขาอธิบายกันมาหลายสิบปีแล้วเหมือนกัน เขาใช้คำว่ามีความหมาย เช่นหรือว่ามีการเป็นอยู่ จะเปรียบกันได้ เช่น "เทวดา" มีความเป็นอยู่ของราชามหากษัตริย์ เปรตมีความเป็นอยู่ของขอทาน ไม่ใช้คำว่า "ได้แก่" อ้ายคนนี้มันโง่เองใช้คำพูดไว้ดีแล้ว กลายเป็นคนพูดผิด นี่คนโง่จะทำลายคนอื่นโดยไม่รู้ตัว และก็ไม่มีประโยชน์อะไร ที่เขาจะจัดผมไว้เป็นคนหนึ่งในหมู่พวกนี้ ก็ตามใจเขาซิ เราจะบังคับเขาได้รึ แต่เราไม่มีคำพูดอย่างนี้ว่า "ได้แก่-ได้แก่" เราก็จะพูดว่า "มันมีความหมายแห่ง" เช่น นรก มีความหมายแห่งความร้อนใจ ความร้อนใจคือคนตกนรก เป็นตัวอย่าง.

เทวดา คือคนที่ไม่รู้จักเหงื่อ กล่าวมาตามบาลีเลย พอเทวดาเหงื่อออกเมื่อไร จุติจากเทวดาเมื่อนั้น เทวดาเป็นคนที่ไม่เคยพบเหงื่อ ไม่รู้จักเหงื่อ เพราะว่าเขาไม่มีปัญหาเรื่องเรี่ยวแรงที่ความหมายของมัน ไม่ใช่ "ได้แก่" ขอให้ระวังคำพูดให้ดีๆ มีความหมายเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่ "ได้แก่" ผมก็ได้พูดเพื่อยกตัวอย่างในความหมายเพื่อเป็นสันทิฎฐิกสักนิดหนึ่ง ก็ขอให้ไปเพ่งเล็งจิตในช่วงเวลาที่มีความทุกข์ มีแต่สนุกสนานอย่างเปรตนี้ ถ้ามันหิวๆ อย่างโง่เขลา ซื้อล็อตเตอรี่มาให้หิว ไปดูเวลาหิวนี้มันคือเปรต ความหมายของเปรต จิตไม่สงบเลยไม่ถูกละที่ว่า ผมเป็นคนพวกหนึ่งในพวกนั้น เพราะผมไม่ได้ใช้คำว่า "ได้แก่" ไม่ได้ใช้คำว่า "อยู่นี่" แต่ต้องการให้เปรียบเทียบโดยความหมาย ก็หยั่งทราบด้วยจิตนี้เป็นสันทิฎฐิโก ว่านรกเป็นอย่างไร สวรรค์เป็นอย่างไร เทวดาเป็นอย่างไร พรหมเป็นอย่างไร เอ้า ต่อไป...




.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๑๙. ตัวกู-ของกู-อุปาทาน-การเกิดใหม่

ปรัศนี: มีผู้เสนอตัวเป็นอาจารย์พูดสอนกับพวกหนึ่งสอนว่า พวกที่ไม่ยอมรับว่ามี จิตตา หรือวิญญาณ ซึ่งเป็นตัวตนนั้น พากันอธิบายว่า การเกิดใหม่ก็คือการเกิดดับของเซลล์ ซึ่งมีการเกิดดับใหม่อยู่เสมอ นี้พวกหนึ่ง แม้ว่าการมีลูกออกมา นั่นก็เป็นการเกิดใหม่นี้ก็พวกหนึ่ง เพราะว่าการเกิดขึ้นแห่งอุปาทานว่า ตัวกูของกู ครั้งหลังๆ ก็เป็นการเกิดใหม่ทุกครั้ง นี้ก็อีกพวกหนึ่ง ทั้งหมดนี้เป็นโทษอันร้ายกาจของความไม่เชื่อว่า มีอัตตาหรือวิญญาณไปเกิด และเขาเชื่อและจัดท่านอาจารย์ไว้อยู่ในพวกที่สาม คือพวกที่มีการเกิดใหม่ด้วยอุปาทาน ว่าตัวกู-ของกู เป็นครั้งๆ ไป ข้อนี้ท่านอาจารย์จะอธิบายอย่างไรครับ?

พุทธทาส: ที่ว่าเกิดใหม่นี้ คำเป็นปัญหากว้างขวางมาก การเกิด-ตายนี้ เขาเรียกว่า "เกิดใหม่" ในภาษาคน ภาษาธรรม การเกิดใหม่ของเซลล์เล็กๆ นั้นมันภาษาวัตถุ "เกิดใหม่" ลูกเกิดออกมานี่ก็ภาษาคน ภาษาเนื้อหนัง ส่วนเกิดใหม่แห่งจิตว่า ตัวกู-ของกู นี้เป็นภาษาธรรมแท้ แล้วก็เกิดแห่งตัวกู-ของกู ด้วยตัณหาอุปาทานนี้มันมีอยู่เรื่อย ฉะนั้น จึงมีการเกิดใหม่อยู่เรื่อย แล้วก็ไม่เหมือนกันด้วย

คำว่า "เกิดใหม่" ที่เขาจัดไว้อยู่ในพวกที่สามนี้ก็ได้ ถ้าอธิบายคำว่า "เกิด" นี้ถูกต้องตามเรื่องของปฏิจจสมุปบาท "ชาติ" ความเกิดแห่งปฏิจจสมุปบาทวงทีหลัง นั่นแหละ คือการเกิดใหม่ แล้วก็มีปฏิจจสมุปบาทวงทีหลังอีก ก็มีเกิดอีก มีวงทีหลังก็มีเกิดอีกนี้เรียกว่า "เกิดใหม่" ที่ถูกต้องตามภาษาของพุทธศาสนา ไม่มีอัตตา ไม่มีวิญญาณ อย่างพวกนั้นพูด ซึ่งยืมของลัทธิอื่นมาที่เชื่อว่า มีอัตตา มีตัวตน นั่นแหละเป็นลัทธิอุปนิษัท มีอยู่ก่อนพุทธกาล และพร้อมกันกับพุทธกาลนั้นเป็นพวกไม่ใช่พุทธศาสนา พุทธศาสนาจึงสอนให้รู้เสียแต่ทีแรก ที่จะเข้ามาเป็นพุทธบริษัท ผมเคยเตือนพระเณรทุกองค์ว่า ให้สนใจให้ดีๆ บท ยถาปัจจยัง ปวัตตมานัง ธาตุมัตตเม เวตังนั่น ฯลฯ นิสัตโตนิชีโว สุญโญ นั่นไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่วิญญาณ ไม่ใช่เจตภูต มันเป็นเพียงธาตุที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย นี่คือหัวใจของพุทธศาสนา ในสูตรทั้งหลายก็มีบ่อยๆ ที่ภิกษุบางองค์ เขาถือว่ามีวิญญาณอย่างนี้ไปเกิด-มาเกิด หรือมีวิญญาณอัตตานี้อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปคอยฟังเสียง เห็นรูป ดมกลิ่น พระพุทธเจ้าบอกให้รู้เสียใหม่ให้คิดเสียใหม่ทั้งนั้น ว่ามันมีแต่กระแสแห่งอิทัปปัจจยตา ทำให้เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ได้ตามกฏเกณฑ์แห่งอิทัปปัจจยตา คือถ้าร่างกายนี้มันจะไม่สิ้นสุด มันจะมีธาตุอะไรเหลืออยู่ ก็เป็นไปตามกฏแห่งอิทัปปัจจยตา สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่วิญญาณ ไม่ใช่เจตภูต ทีนี้การเกิดใหม่ตามหลักแห่งพุทธศาสนา ก็คือชาติที่เป็นส่วนหนึ่งของปฏิจจสมุปบาทในวงหลังๆ ขอยืนยันว่า อย่างนี้ ... มีอะไรอีก.




.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๒๐. ปฏิจจสมุปบาทคร่อมภพชาติ


ปรัศนี: คนบางคนอธิบายว่า การอธิบายปฏิจจสมุปบาท ทั้งสายให้มีได้ในเวลาอันสั้นชั่ว ๒-๓ นาที ของการเกิดอุปาทานว่า ตัวตน โดยไม่ต้องกินเวลาคร่อมภพคร่อมชาติ ถึงสามชาตินั้นเป็นเพราะ บุคคลนั้นไม่เชื่อว่า มีอัตตาหรือวิญญาณ ที่เป็นผู้ไปเกิด นี้ท่านอาจารย์จะอธิบายว่าอย่างไรครับ? เพราะดูเหมือนเขาเจาะจงว่า ท่านอาจารย์เป็นผู้มีความเห็นเช่นนั้น

พุทธทาส: อธิบายว่าไม่มีตัวตน อย่างที่เขาพูดกัน คือไม่มีปฏิจจสมุปบาทคร่อมภพ คร่อมชาตินี่เพื่ออธิบายให้ตรงตามพุทธประสงค์ ในพุทธภาษิต เรื่องปฏิจจสมุปบาท คืออธิบายให้เห็นว่าไม่ได้คร่อมภพคร่อมชาติถึงสามชาติ ว่าวงหนึ่งชั่วเวลาแวบเดียวก็ได้กว่าจะตายนี้มีปฏิจจสมุปบาทนับไม่ถ้วนว่ามีกี่วงหรือมีกี่ชาติ การอธิบายไม่ให้ปฏิจจสมุปบาทคร่อมภพคร่อมชาตินี้คือ การอธิบายให้ตรงตามพระพุทธประสงค์ของเรื่องปฏิจจสมุปบาท มีเท่านี้ ไม่ต้องอธิบายอะไรต่อไป...


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๒๑. ความเร้นลับของโอปปาติกะกำเนิด

ปรัศนี: โอปปาติกสัตว์ นี้เป็นอย่างไรครับ? เห็นได้ที่ไหนครับ? รูปร่างเป็นอย่างไรครับ?

พุทธทาส: นี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดกันอยู่เวลานี้ พวกหนึ่งเข้าใจว่า โอปปาติกะนั้น เป็นชื่อของสัตว์ชนิดหนึ่ง นี้เราไม่เห็นด้วย ที่แท้- โอปปาติกะ เป็นชื่อของกิริยาอาการที่เกิด ไม่ได้เป็นชื่อของสัตว์ชนิดหนึ่งที่เป็นรูปร่างอะไรของตนโดยเฉพาะ

"โอปปาติกะ" หมายถึง การเกิดในลักษณะที่ว่า ผลุงขึ้นมาโตเต็มที่ ไม่ต้องเกิดเป็นเด็ก ไม่ต้องมีบิดามารดา มันเกิดผลุงขึ้นมาโดยไม่ต้องมีบิดามารดา โดยไม่ต้องเป็นเด็กก่อน เป็นหญิง เป็นชาย ไม่ต้องมีเพศ กิริยาเกิดผลุงอย่างนี้เรียกว่า โอปาติกะ อย่าเติมคำว่า สัตว์ เข้าไป มันเป็นกริยาอาการที่เกิด เป็นชื่อของกิริยาอาการ ทีนี้เมื่อเกิดแล้วจะไม่เรียกสัตว์นั้นว่า "โอปปาติกะ" ไม่ใช่ชื่อของสัตว์เป็นชื่อของกิริยาอาการที่เกิดได้ที่ไหน? เมื่อมีสติปัญญาเข้าใจความหมายของคำๆ นี้ ก็จะเห็นได้ว่าเป็นกิริยาอาการเกิดมีรูปร่างอย่างไร? ไม่แน่ ไม่มีในตำราถ้าวาการเกิดอย่างนี้เกิดเป็นพรหม มันก็มีรูปร่างอย่างพรหม เกิดเป็นเทวดา ไม่ผิดแผกแตกต่างกันไปนี่ ผมจึงอธิบายว่า เมื่อจิตคิดอย่างเทวดา ก็เป็นเทวดา ผลุงขึ้นมาในจิตนี้ไม่ต้องมีพ่อมีแม่ ไม่ต้องเป็นเด็กก่อน มีความรู้สึกเป็นอย่างพรหม จิตก็อยู่ในสภาพพรหม ก็เกิดเป็นพรหมขึ้นมาในจิตใจนี้ การเกิดที่ไม่ต้องเป็นเด็กก่อนไม่ต้องมีบิดามารดา ไม่ต้องเข้าไปในครรภ์ไม่มีเพศอย่างนี้ การเกิดอย่างนี้ว่า "โอปปาติกะ" เป็นชื่อของการกำเนิดอย่างหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่ชื่อของสัตว์เลย. เอาต่อไป...

๒๒. การออกเสียง โอปปาติกะ

ปรัศนี: คำว่า "โอปปาติกะ"ที่ถูกต้องออกเสียงว่า โอป-ปา-ติ-กา, หรือ โอ-ปะ-ปา-ติ-กะ กันแน่ครับ?

พุทธทาส: ที่ถูกต้องออกเสียงว่า โอ ปะ ปา ติ กา อย่าออกเสียงว่า โอป ปา ติ กา ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาบาลี เอ้า มีอะไรอีก.


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๒๓. พรหมในพระคัมภีร์



ปรัศนี: พรหม ที่ลงมากินง่วนดิน ติดใจกับพรหมโลกไม่ได้ กลายเป็นมนุษย์ไปนั้น เป็นพรหมพวกไหนครับ?

พุทธทาส: เป็นพรหมพวกที่เมื่อกล่าวตามคัมภีร์ในพระบาลี เรียกว่า พรหมพวกอาภัสสรพรหม พรหมนี้มีปีติเป็นภักษา หมายความว่า เป็นเรื่องจิตใจ ไม่ใช่เนื้อหนัง มีแสงสว่างในตัวเอง ก็แสดงว่า เป็นเรื่องจิตใจคล้ายๆ กับว่า มันเป็นธาตุจิต ธาตุจิตใจอยู่ก่อน แล้วต่อมามันได้อาศัยวัตถุและมาเฟื่องด้วยวัตถุเป็นร่างกาย แล้วมันติดอยู่ที่นี่ มันกลับไปเป็นจิตล้วนๆ อีกไม่ได้ เท็จจริงอย่างไรไม่ยืนยัน ไม่ต้องอธิบาย แต่ว่ากล่าวตาม ตามข้อความในพระคัมภีร์ พรหมพวกนี้เขาเรียกว่า "อาภัสสรพรหม" มีคนจำผิดๆ พูดผิดๆ ไม่ตรงตามบาลีอยู่มาก ถ้าอนุญาตให้พูด จะพูดว่า จิตที่ไม่เคยเนื่องกับกาย มันก็มีอยู่แล้ว มีอยู่ก่อน ต่อมา เมื่อจิตมันเข้ามาเนื่องกับกาย และติดอยู่ในกาย จมอยู่ในกาย มันพอใจจึงได้พูดอุปมาว่า พรหมพวกนี้ ทีแรกก็อยู่ในพรหมโลกแล้วต่อมาลงมาที่โลกนี้ มากินง่วนดินเข้าไป มันอร่อยติดใจ กลับพรหมโลกไม่ได้ เพราะร่างกายมันเปลี่ยน เพราะมันเกิดร่างกายขึ้นใหม่ กลับไปพรหมโลกไม่ได้ มันจึงเป็นมนุษย์กันอยู่ที่นี่ เขาว่าอย่างนี้ ไม่ต้องถือเป็นหลักพุทธศาสนานะ เป็นความเชื่อของคนที่เขาเชื่อกัน อยู่ก่อนพระพุทธเจ้า มันจะขัดกับหลักวิทยาศาสตร์ หรือไม่ขัดหลักวิทยาศาสตร์ ไม่ต้องพูดถึงนะ ไม่ได้พูดในนามพุทธศาสนานะ เอ้ามีอะไรอีก...


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ของเหลิมจงอ่านคำสอนท่านพุทธทาสให้เข้าใจ

ให้ถ่องแท้

อ่านแล้วมนสิการให้ถี่ถ้วน

แล้วเหลิมจะหลุดพ้นจากมิจฉทิฐิในขณะนี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


-ขอเชิญชวนเหลิมมาเป็นพุทธทาสกันเถิด

สาธุ

อ้างคำพูด:
มาเป็นพุทธทาสกันเถิด
มีการเป็นทาสชนิดหนึ่ง เป็นทาสที่ไม่ต้องเลิก ยิ่งมีมาก ยิ่งดี
ยิ่งเป็นทุกคนด้วยแล้ว โลกยิ่งมีสันติภาพ ไร้วิกฤตกาล
นั้นคือ การเป็นทาสของพระพุทธองค์ เรียกว่า "พุทธทาส"

พุทธทาส แปลว่า ผู้รับใช้พระพุทธองค์อย่างถวายชีวิต
ในฐานะเป็นหนี้ในพระมหากรุณาธิคุณด้วย
เพราะความกตัญญูด้วย และ
เพราะเห็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ด้วย
จึงสมัคร มอบกายถวายชีวิตหมดสิ้นทุกประการ
เพื่อรับใช้พระพุทธองค์
เพื่อกระทำสิ่งที่เชื่อว่าเป็นพระพุทธประสงค์

พระพุทธองค์ไหน?
ตอบอย่างภาษาคน ก็พระพุทธองค์ที่เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์
ที่ทรงอุบัติขึ้นในโลก ตรัสรู้ แล้วสั่งสอนสัตว์ จนตลอดพระชนมายุ
เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว

แต่ถ้าตอบ อย่างภาษาธรรม ก็ได้แก่ พระพุทธองค์
ดังที่ตรัสไว้ในข้อความที่มีอยู่ว่า
"ผู้ใด เห็นธรรม ผู้นั้น เห็นเรา ผู้ใด เห็นเรา ผู้นั้น เห็นธรรม"
อันเป็นพระพุทธองค์ ซึ่งจะยังทรงอยู่ ตลอดกาลนิรันดร
และมีได้ในบุคคลทุกคนที่เห็นธรรม
สิ่งนั้น คือ สติปัญญาที่ดับทุกข์ได้ ตามหลักที่ตรัสไว้ว่า
"ผู้ใด เห็น ปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้น เห็นธรรม"
ถ้าถือตามหลักนี้ ก็คือ รับใช้สติปัญญาของตนเอง
ที่เห็นธรรม จนดับทุกข์ของตนได้
แล้วช่วยเหลือผู้อื่น ให้ดับทุกข์ได้ด้วย
และมีผลแก่ชาวโลก ตรงตามพระพุทธประสงค์
ถือเอากิจกรรมนี้ เป็นหน้าที่ที่ต้องทำอย่างสุดชีวิตจิตใจ

รับใช้กันอย่างไร? รับใช้ด้วยกระทำ ให้เกิดความถูกต้อง
ทั้งในส่วนปริยัติ และปฏิบัติ ให้เกิดผล เป็นปฏิเวธที่แท้จริง
ให้เพื่อนมนุษย์ รู้ธรรมะ มีธรรมะ ใช้ธรรมะ ได้รับผลจากธรรมะ
มีชีวิตที่เยือกเย็น เป็นนิพพานกัน ที่นี่และเดี๋ยวนี้
ตามสัดส่วน แห่ง สติปัญญา ความสามารถ แห่งตนๆ
ทำให้สติปัญญาชนิดนี้ ปรากฏแพร่หลายไปทั่วโลก
และทุกโลก ทุกโลกในที่นี้ หมายถึง ทุกชนิดแห่งบุคคล
ที่หลงใหลในกาม ในรูป หรือวัตถุ และในอรูป คือสิ่งที่ไม่มีรูป
เช่น อำนาจวาสนาบารมี หรือแม้แต่ในบุญกุศล
อีกอย่างหนึ่ง ก็พูดว่า ทั้งเทวดา และมนุษย์
มนุษย์ คือ ผู้ที่ต้องอยู่กับเหงื่อ
เทวดา คือ พวกที่ไม่รู้จักเหงื่อนั่นเอง
โลกในภาษาคน คือ โลกพิภพ ที่อยู่นอกตัวคน ดังที่เห็นๆกันอยู่
ส่วนโลก ใน ภาษาธรรม นั้น เป็น โลกในตัวคน
ได้แก่ ภูมิแห่งจิตที่แตกต่างกัน ตามภูมิ ตามชั้น
ธรรมะต้องครอบงำทั่วทั้งโลกและทุกโลกจริงๆ อย่างแพร่หลาย

แพร่หลายทั่วโลกอย่างไร?
คือ ทำให้กลายเป็นสิ่งที่มีในขีวิตประจำวันของมหาชน
ทุกชั้นทุกคน
มี สติปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิ ขันติ ในการทำหน้าที่ ของตน
ทุกกาลและเทศ คือทุกวินาที และทุกกระเบียดนิ้ว
ทุกคนทำหน้าที่ อย่างสนุกสนาน มีความพอใจ
และความสุข จากความพอใจตลอดเวลาที่ทำงาน
มิใช่เมื่อรับผลงาน ไปประกอบกิจกรรมอบายมุขทั้งหลาย
มีความถูกต้อง ตลอดทั้งวัน ค่ำลงนึกดูแล้ว ยกมือไหว้ตัวเองได้
เป็นสวรรค์ที่แท้จริง ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ไม่มีใครว่างงาน
เพราะเห็นหน้าที่การงาน ทุกชนิด ว่า
นั่นแหละ คือตัวธรรมะ ที่เขารู้จักกัน มาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล

มีความถูกต้องทั้งในส่วนปริยัติ ปฎิบัติ ปฏิเวธ นั้นเป็นอย่างไร?
คำว่าถูกต้องนี้ มิได้หมายถึง ถูกต้องตามทางตรรก
หรือ ทางปรัชญาชนิด ฟิโลโซฟี่
หากแต่ ถูกต้อง ตามหลักการของพุทธบริษัท คือมีผลปรากฏ
เป็นการไม่เบียดเบียนใคร แต่ทุกคนได้รับประโยชน์
อย่างที่มีความรู้สึกอยู่แก่ใจ
ไม่ต้องเชื่อใคร หรือ ให้ใครบอก (นี้เป็น สันทิฏฐิโก)
เป็นความถูกต้อง ที่เรียกใครๆ มาดูได้
เพราะมีให้ดูอยู่ ที่เนื้อ ที่ตัวจริงๆ (นี้เป็น เอหิปัสสิโก)
และมีผล ไม่ขึ้นอยู่กับ เวลา เมื่อนั้นเมื่อนี้ หรือต่อชาติหน้า
หากแต่มีทันทีตลอดเวลา ที่ปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ อยู่ (นี้เป็น อกาลิโก)
ความถูกต้อง คือไม่ทำใครให้เดือดร้อน
แต่มีผลดีแก่ทุกฝ่าย รวมทั้งตนเองด้วย
เป็นความหมายที่ชัดเจน ไม่ต้องถุ้งเถียงกัน
หรือ ต้องขึ้นศาล
ปริยัติ คือ ความรู้ ก็ถูกต้อง
ปฏิบัติ คือ การกระทำ ก็ถูกต้อง
ปฏิเวธ คือ ผลของการกระทำ ก็ถูกต้อง
เพราะมันมีความรู ้และ การกระทำอย่างถูกต้องนั่นเอง

ดับทุกข์ได้จริงอย่างไร?
คือมีความเย็นอกเย็นใจ ของทุกคนในชีวิตประจำวัน
ถ้าเขามีความรู้เรื่อง สุญญตา ตถตา และ อตัมมยตา
อย่างเพียงพอแล้ว ไม่มีอะไรมาทำให้เกิดความเร่าร้อนได้เลย
จิตของเขาไม่อยู่ใต้อำนาจ ของความเป็นบวกเป็นลบ
เพราะเห็นสิ่งทั้งปวง โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ไม่หิวกระหายในสิ่งใด นอกจากความอิ่ม
เพราะรู้สึกว่า ได้กระทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง
และเหงื่อนั้น คือ น้ำมนต์
หรือ สิ่งชักจูงให้พระเจ้า หรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลาย
มาช่วยเหลือ รู้ชัดจนแน่ใจว่า
ถ้าไม่ประพฤติธรรม คือหน้าที่แล้ว
ไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ มาช่วยได้
ให้มาสักฝูงหนึ่ง ก็ช่วยไม่ได้
ถ้าทำหน้าที่ อย่างถูกต้องแล้ว
เหงื่อนั่นแหละ กลายรูปเป็น
พระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก ที่ช่วยได้จริง
เขาเชื่อมั่นว่า มีอะไรเป็นตัวตน
สิ่งนั้นแหละ จะช่วยจนกว่า จะหมดตัวตน
ซึ่งไม่ต้องการช่วยเหลืออะไรจากใคร อีกต่อไป
ความเห็นแก่ตัว เป็นของร้อน
แต่ความไม่เห็นแก่ตัว หรือ หมดความเห็นแก่ตัว
เป็นของเย็น จะทำงานสิ่งใด ก็ทำด้วยสติปัญญา หรือสัมมาทิฎฐิ
ไม่ทำด้วยอำนาจความเห็นแก่ตัว ซึ่งจะเผาลนตลอดเวลา

อย่างไรเรียกว่าหมดความเห็นแก่ตัว?
ก็โดยศึกษาเรื่องความไม่มีตัว
กาย และ ใจ เป็นธรรมชาติ ที่รู้จักคิด รู้สึกพูด
และทำอะไรได้ โดยไม่ต้องมีผี หรือ เจตภูต เข้าสิง
ดังนั้น ต้องทำทุกสิ่ง ให้ถูกต้องตามกฏของธรรมชาติ
ตามที่เราจะต้องการผลอย่างไร
ถ้ายังโง่อยู่ ยังเห็นว่ามีตัว ก็อย่าเห็นแก่ตัว
เพราะมันจะกัดเอา ด้วยความโลภ โกรธ หลง ซึ่งมีลักษณะ เป็นไฟ
มีสติสัมปชัญญะ เมื่อรับอารมณ์ใดๆ
ไม่ให้ปรุงขึ้นมา เป็นความเห็นแก่ตัว
มีแต่สติปัญญา จัดการกับอารมณ์ นั้นๆ ตามที่ควร
มีสัมมาทิฎฐิ เห็นชัดอยู่เสมอว่า ความเห็นแก่ตัว
หรือ ยึดถือ กายและใจ หรือ ขันธ์ทั้งห้า ว่าเป็นตัว นั้น
เป็นเหตุแห่งความรู้สึก เป็นทุกข์ หรือ เป็นตัวทุกข์เสียเอง
ปราศจากความยึดถือ นี้แล้ว ความทุกข์เกิดไม่ได้
ชีวิตจะเป็นของร้อน ไม่ได้

สัมมาทิฎฐิสูงสุดนั้นเป็นอย่างไร?
เป็นความรู้จักสิ่งทั้งปวงว่า เป็นสิ่งปรุงแต่ง
มีมาจากเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งและจะปรุงแต่งสิ่งอื่นต่อไป
ไม่มีที่สิ้นสุดนั้นคือ กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง
หรือความไม่เที่ยง ซึ่งเรียกว่า อนิจจัง
เพราะต้องเป็นไปกับด้วยสิ่งที่อนิจจัง หรือ เปลี่ยนเรื่อย
ก็เกิดอาการที่เป็นทุกข์ทนยาก หรือ ที่เรียกว่า ทุกขัง
เพราะไม่มีอะไรต้านทาน ได้ต่อสิ่งที่ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์
จึงเรียกว่า ไม่มีตน หรือ ไม่ใช่ตน หรือ อนัตตา
การที่เป็นไปด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ เรียกว่า ธัมมัฎฐิตตา
คือ ความที่เราต้องเป็นไปเช่นนี้ เป็นธรรมดา
ทั้งนี้เป็นเพราะ
มี กฏของธรรมชาติบังคับอยู่ นี้เรียกว่า ธัมมนิยามตา
อาการที่ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยอย่างนี้ เรียกว่า อิทัปปัจจยตา
เป็นกฏธรรมชาติ มีอำนาจเสมอ สิ่งที่เรียกกันว่า "พระเป็นเจ้า"
การที่ไม่มีอะไร ต้านทาน กฏอิทัปปัจจยตา นี้เรียกว่า สุญญตา
คือ ว่างจากตัวตน หรือ ว่างจากความหมาย แห่งตัวตน
มีความจริงสูงสุด เรียกว่า ตถตา คือ ความเป็นเช่นนั้นเอง
อย่างไม่ฟังเสียงใคร ใครจะฝืนให้เป็นไปตามใจตน มันก็กัดเอง
คือ เป็นทุกข์ ในที่สุดก็เกิดความรู้สึก ขั้นสุดท้ายว่า อตัมมยตา
ความที่ไม่อาจอาศัย หรือ เกี่ยวข้องกับสิ่งนี้อีกต่อไป
ซึ่งเป็นความหมาย อย่างภาษาชาวบ้าน พูดว่า
"กูไม่เอากะมึงอีกต่อไปแล้ว"
สลัดออกไปเสีย ก็คือ การบรรลุมรรคผล ธัมมฐิติญาณ
รู้ความจริงของสังขาร สุดลงที่ อตัมมยตา
ต่อจากนั้น ก็เป็นกลุ่ม นิพพานญาณ
เป็นฝ่ายโลกุตตระ เริ่มต้นแห่งความเย็น หรือ ความหมายของนิพพาน

โลกกลายเป็นโลกเย็น
ในที่สุด โลกก็กลายเป็นโลกเย็น เพราะเต็มไปด้วยศีลธรรม
หรือ ภาวะปกติไม่วุ่นวาย อยู่ภายในจิตใจของคน
แม้ว่า ภายนอกกาย จะมีความวุ่นวาย ตามธรรมดาโลก
ความเย็นอกเย็นใจ เป็นสิ่งที่หาได้ง่าย ในหมู่คนเหล่านั้น
แม้ว่าจะมีเหตุการณ์อันสับสนวุ่นวาย
เพราะมี จิตที่ปราศจากความยึดมั่น อย่างโง่เขลา
ไม่ยอมรับสภาพ เช่นนั้นเอง ของธรรมดาโลก
เรือนจำ สถานีตำรวจ ศาล โรงพยาบาลประสาท
และ โรงพยาบาลโรคจิต จะลดลง
เมตตา และความสัตย์ จะเป็นสิ่ง หาได้ง่าย ในสังคมนั้น
มีลักษณะเป็น โลกของพระศรีอารยเมตไตรย
แม้ระเบิดปรมาณู จะลงมา ทุกคนก็ยังหัวเราะได้
เพราะ ความไม่ยึดมั่น ในตัวตน และไม่เห็นเป็นเรื่องแปลก
เพราะ อำนาจของสัมมาทิฎฐิ ดังกล่าวแล้ว
ไม่อาจปล่อยให้ ปรุงเป็นความทุกข์ หรือ ความกลัวขึ้นมา
ทั้งนี้ เป็นผลงานของ บรรดาเหล่าพุทธทาสทั้งหลาย
ที่ได้พยายาม ทำหน้าที่ของตน ตามกำลังสติปัญญา

จะเป็นพุทธทาสกันได้สักกี่คน?
ถ้าไม่มองข้ามกันเสีย ก็มีคนที่เป็นพุทธทาสกันอยู่ทั่วไปอย่างมากมาย แต่มิได้เรียกชื่อตัวว่า พุทธทาส กลัวเสียเกียรติ
สู้เรียกตนว่า เป็น อุบาสก อุบาสิกา ไม่ได้
ทุกคนสวดบททำวัตรเย็นว่า
พุทฺธสฺสาหสฺมิ ทาโส ว พุทฺโธ เม สามิกิสฺสโร
อยู่ด้วยกันทุกวัน เป็นการประกาศตัวว่า เป็นพุทธทาส
ด้วยไร้สำนึกหรืออย่างไร ควรจะลองคิดดู

แต่การที่จะเป็นพุทธทาส ให้ตรงหรือ เต็ม ตามพระพุทธประสงค์
นั้นคือ ทำหน้าที่นั้นๆ ให้สมบูรณ์
มิใช่เพียงแต่ ร้องประกาศ โดยไม่รู้ความหมาย อันแท้จริง
หน้าที่นั้น คือสิ่งใด เป็นพระพุทธประสงค์
ต้องบากบั่น กระทำให้สำเร็จ ตามพระพุทธประสงค์
พระพุทธประสงค์นั้น สรุปให้สั้นที่สุด ก็คือ
ให้ทุกคนเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่นจากหลับและเป็น ผู้เบิกบาน
ไม่รู้จักความทุกข์ อีกต่อไป
ความรู้ เรื่องพระนิพพาน อันเป็นสันทิฎฐิกัง อกาลิกัง เอหิปัสสิกัง
เป็น หัวใจของเรื่องนั้น
แต่กลับพากัน เห็นเป็นเรื่องสุดวิสัย และพ้นสมัยไปเสีย
ข้อนี้ มีค่าเท่ากับ พระพุทธศาสนา หมดสิ้นไปแล้ว
อย่างน่าเศร้าเหลือประมาณ
ผู้สมัครเป็นพุทธทาส ทุกคน ต้องรับรู้เรื่องนี้ให้เพียงพอ

ทุกคนเป็นพุทธทาสได้ และมีอะไรพร้อมที่จะเป็น
ยังขาดอยู่แต่ สัมมาทิฎฐิ หรือ ความเข้าใจอันถูกต้อง
ดูให้ดีจะพบว่า เดี๋ยวนี้ ก็กำลังเป็นกันอยู่ เป็นจำนวนไม่น้อย
หากแต่ไม่ประกาศตัว เพราะเมื่อตั้งใจจะทำจริงๆ แล้ว
ก็ไม่ต้องประกาศก็ได้ การชักชวนนี้ ก็มิใช่ต้องการให้ประกาศตัว
ขอแต่ให้ทำจริง ด้วยการทำตัวอย่าง แห่งบุคคล ผู้มีชีวิตเย็นให้ดู
และพยายามชี้แจงให้เข้าใจชีวิต ระบอบนี้ ให้ยิ่งขึ้นไป
และพยายามทำให้ เพื่อนมนุษย์รู้ธรรม โดยไม่ถือว่า
เป็นบุญคุณ หรือ ต้องการบุญคุณ ให้ใครตอบแทน
ทุกคนย่อมทำได้ ตามมากตามน้อย
ที่จะทำไม่ได้เสียเลยนั้น ดูจะไม่มี

ในที่สุดนี้ เมื่อเราพุทธบริษัท พยายามทำกันอยู่อย่างนี้
จนสุดความสามารถ แล้ว
พระพุทธประสงค์ ก็ได้รับการตอบสนอง อย่างถึงที่สุด
ประโยชน์สุข ก็จะเกิดขึ้นแก่โลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก
พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหม์ พร้อมทั้งเทวดา
และมนุษย์ เต็มตาม พระพุทธประสงค์ และพระพุทธดำรัส
ที่ทรงเอ่ยชื่อ หมู่สัตว์ เหล่านี้ เสมอ ในพระพุทธภาษิต นั้นๆ

เรามาเป็นพุทธทาสกันเถิด
สมควรแก่กาลและเทศอย่างยิ่งแล้ว มาเถิด

โมกขพลาราม

๓๐ เม.ย. ๓๑


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อัคคัญสูตร

[๕๖] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยล่วง
ระยะกาลยืดยาวช้านานที่โลกนี้จะพินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่า
สัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร
มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิต
อยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยบางครั้ง
บางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน ที่โลกนี้จะกลับเจริญ เมื่อโลกกำลังเจริญ
อยู่โดยมาก เหล่าสัตว์พากันจฺติจากชั้นอาภัสสรพรหมลงมาเป็นอย่างนี้ และสัตว์นั้น
ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ใน
อากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ก็แหละ
สมัยนั้นจักรวาลทั้งสิ้นนี้แลเป็นน้ำทั้งนั้น มืดมนแลไม่เห็นอะไร ดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฏ ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายก็ยังไม่ปรากฏ กลางวันกลาง
คืนก็ยังไม่ปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ยังไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฏ
เพศชายและเพศหญิงก็ยังไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งอันนับเพียงว่าสัตว์เท่า
นั้น ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา โดยล่วงระยะกาลยืดยาวช้านาน เกิด
ง้วนดินลอยอยู่บนน้ำทั่วไป ได้ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้นเหมือนนมสดที่บุคคลเคี่ยว
ให้งวด แล้วตั้งไว้ให้เย็นจับเป็นฝาอยู่ข้างบน ฉะนั้นง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี
กลิ่น รส มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี ฉะนั้น มีรสอร่อยดุจรวงผึ้ง
เล็กอันหาโทษมิได้ ฉะนั้น ฯ
ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อมามีสัตว์ผู้หนึ่งเป็นคนโลนพูดว่า ท่าน
ผู้เจริญทั้งหลาย นี่จักเป็นอะไร แล้วเอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดู เมื่อเขาเอา
นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดูอยู่ ง้วนดินได้ซาบซ่านไปแล้ว เขาจึงเกิดความอยาก
ขึ้น ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้สัตว์พวกอื่นก็พากันกระทำตามอย่างสัตว์นั้น
เอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลองลิ้มดู เมื่อสัตว์เหล่านั้นพากันเอานิ้วช้อนง้วนดินขึ้นลอง
ลิ้มดูอยู่ ง้วนดินได้ซาบซ่านไปแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงเกิดความอยากขึ้น ต่อมาสัตว์
เหล่านั้นพยายามเพื่อจะปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ ด้วยมือแล้วบริโภค ดูกรเสฏฐะ
และภารทวาชะ ในคราวที่พวกสัตว์พยายามเพื่อจะปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ ด้วยมือ
แล้วบริโภคอยู่นั้น เมื่อรัศมีกายของสัตว์เหล่านั้นก็หายไปแล้ว ดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์ก็ปรากฏ เมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ปรากฏแล้ว ดวงดาวนักษัตรทั้งหลาย
ก็ปรากฏ เมื่อดวงดาวนักษัตรปรากฏแล้ว กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏ เมื่อ
กลางคืนและกลางวันปรากฏแล้ว เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏ เมื่อเดือนหนึ่ง
และกึ่งเดือนปรากฏอยู่ ฤดูและปีก็ปรากฏ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วย
เหตุเพียงเท่านี้แล โลกนี้จึงกลับเจริญขึ้นมา

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๑๗๐๓ - ๒๑๒๙. หน้าที่ ๗๑ - ๘๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=51





ตามนัยแห่งกำเนิด
http://larndham.org/index.php?showtopic=27992&st=4

กำเนิดบาลีว่า โยนิ หมายถึงอาการที่เกิดใหม่ของสัตว์ทั้งหลายอีกนัยหนึ่งหมายความว่า ที่ที่ปฏิสนธิวิญญาณอาศัยเกิด หรือที่ที่สัตว์ทั้งหลายอาศัยเกิดมี ๔ อย่าง

๑. ชลาพุชกำเนิด ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดา เกิดในมดลูก คลอดออกมา เป็นตัวเลย แล้วค่อย ๆ โตขึ้นตามลำดับ สัตว์ที่เป็นชลาพุชกำเนิด ได้แก่

ก. มนุษย์

ข. เทวดาชั้นต่ำ

ค. สัตว์ดิรัจาน

ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต คือ เปรตจำพวกที่ถูกไฟเผาอยู่เสมอ)

จ. อสุรกาย

ที่เรียกว่าเทวดาชั้นต่ำ ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ที่เป็นภุมมัฏฐ เทวดา คือเทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้นแผ่นดิน ไม่มีวิมานที่ลอยอยู่ในอากาศเป็นที่อยู่ ซึ่งมีชื่อว่า วินิปาติกอสุรา และเวมานิกเปรต เฉพาะพวกที่ปฏิสนธิด้วยอุเบกขา สันตีรณกุสลวิบาก เท่านั้น

๒. อัณฑชกำเนิด คือเกิดในฟองไข่ ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดาเหมือนกัน แต่มีฟองห่อหุ้ม คลอดออกมาเป็นไข่ก่อน แล้วจึงแตกจากไข่มาเป็นตัว และค่อย ๆ เติบโตขึ้นตามลำดับ สัตว์ที่เป็นอัณฑชกำเนิด ได้แก่

ก. มนุษย์ (มีมาในธัมมบทว่า พระ ๒ องค์ที่เรียกกันว่า ทเวพาติกเถระ ซึ่งเป็นลูกของโกตนกินรี เมื่อเกิดมาทีแรกออกมาเป็นฟองไข่ก่อน แล้ว จึงคลอดออกมาจากฟองไข่นั้นอีกทีหนึ่ง)

ข. เทวดาชั้นต่ำ

ค. สัตว์ดิรัจฉาน

ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)

จ. อสุรกาย

ชลาพุชกำเนิด และอัณฑชกำเนิด ทั้ง ๒ นี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด เพราะต้องอาศัยเกิดในครรภ์มารดาเหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า ออกมาเป็นตัวเลย หรือออกมาเป็นฟองไข่ก่อน แล้วจึงแตกเป็นตัวภายหลัง

๓. สังเสทชกำเนิด หมายถึงเกิดขึ้นในที่มีความเปียกชื้น เกิดขึ้นโดยไม่ต้อง อาศัยบิดา มารดา ไม่ได้อาศัยเกิดจากท้องมารดา เกิดขึ้นโดยอาศัย ต้นไม้ ผลไม้ ดอกไม้ ดอกบัว โลหิต หรือที่เปียกชื้น เป็นต้น เกิดมาก็เล็กเป็นทารก แล้วจึง ค่อย ๆ เติบโตขึ้นมา สัตว์ที่เป็นสังเสทชกำเนิด ได้แก่

ก. มนุษย์ (เช่น นางจิญจมาณวิกาเกิดจากต้นมะขาม นางเวฬุวดีเกิดจาก ต้นไผ่ นางปทุมวดีเกิดจากดอกบัว โอรสของนางปทุมวดีรวม ๔๙๙ องค์ เกิดจากโลหิต เป็นต้น)

ข. เทวดาชั้นต่ำ

ค. สัตว์ดิรัจฉาน

ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)

จ. อสุรกาย

๔. โอปปาติกกำเนิด หมายถึงเกิดขึ้นและใหญ่โตเต็มที่ในทันทีทันใดนั้นเลย ทีเดียว ไม่ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดา ไม่ได้อาศัยสิ่งใดเกิด อาศัยอดีตกรรมอย่าง เดียว สัตว์ที่เป็นโอปปาติกกำเนิด ได้แก่

ก. มนุษย์ มีในสมัยต้นกัปป์

ข. เทวดาทั้ง ๖ ชั้น (เว้นเทวดาชั้นต่ำ)

ค. พรหมทั้งหมด

ง. สัตว์นรก, สัตว์ดิรัจฉาน, อสุรกาย

จ. เปรต (รวมทั้งนิชฌามตัณหิกเปรตด้วย)

๕. หรือจะ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า

ก. มนุษย์ ๑ ภูมิ

ข. เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา (เว้นเทวดาชั้นต่ำ) ๑ ภูมิ

ค. สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภูมิ

ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต) ๑ ภูมิ

จ. อสุรกาย ๑ ภูมิ

รวม ๕ ภูมินี้ มีกำเนิดได้ทั้ง ๔

๖. เทวดาชั้นต่ำ (เทวดาชั้นจตุมหาราชิกาที่เป็นภุมมัฏฐเทวดา) มีกำเนิดได้ เพียง ๓ คือ ชลาพุชกำเนิด อัณฑชกำเนิด และสังเสทชกำเนิด เท่านั้น

๗. เทวดาตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป ๕ ภูมิ รูปพรหม ๑๖ ภูมิ อรูปพรหม ๔ ภูมิ นิชฌามตัณหิกเปรต ๑ ภูมิ และสัตว์นรก ๑ ภูมิ มีกำเนิดได้อย่างเดียว คือ โอปปาติกกำเนิด

๘. ชลาพุชกำเนิด และ อัณฑชกำเนิด ทั้ง ๒ กำเนิดนี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด นั้น ย่อมเกิดได้เฉพาะในกามภูมิเท่านั้น

ในปฏิสนธิกาล มีรูปเกิดได้ ๓ กลาป คือ กายทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, หทยทสกกลาปมีรูป ๑๐ รูป และภาวทสกกลาป(กลาปใดกลาปเดียว)มีรูป ๑๐ รูป รวม ๓ กลาป เป็นรูป ๓๐ รูป แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ) ก็ได้เพียง ๑๕ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑, กายปสาทรูป ๑, หทยรูป ๑, อิตถีภาวรูปหรือ ปุริสภาวรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, และสันตติรูป ๑

รูปที่เกิดไม่ได้ในปฏิสนธิกาล ๑๓ รูป คือ ปสาทรูป ๔ (เว้นกายปสาทรูป), สัททรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑, และ อนิจจตารูป ๑

ในปวัตติกาล ถ้าไม่บกพร่องเลย รูปก็เกิดได้ทุกกลาป คือ กัมมชกลาป ๘ (เว้นอิตถีภาวทสกกลาป หรือปุริสภาวทสกกลาป กลาปใดกลาปหนึ่ง), จิตตชกลาป ๖, อุตุชกลาป ๔, อาหารชกลาป ๒, แต่เมื่อนับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ) ก็ได้ครบทั้ง ๒๗ รูป คือ ต้องเว้นภาวรูป รูปใดรูปหนึ่งเสีย ๑ รูป


----------------------------------------------


๒๓. พรหมในพระคัมภีร์ โดยอาจารย์ใหญ่คุณ mes ท่านพุทธทาส

ปรัศนี: พรหม ที่ลงมากินง่วนดิน ติดใจกับพรหมโลกไม่ได้ กลายเป็นมนุษย์ไปนั้น เป็นพรหมพวกไหนครับ?
"โอปปาติกะ" หมายถึง การเกิดในลักษณะที่ว่า ผลุงขึ้นมาโตเต็มที่ ไม่ต้องเกิดเป็นเด็ก ไม่ต้องมีบิดามารดา มันเกิดผลุงขึ้นมาโดยไม่ต้องมีบิดามารดา โดยไม่ต้องเป็นเด็กก่อน เป็นหญิง เป็นชาย ไม่ต้องมีเพศ กิริยาเกิดผลุงอย่างนี้เรียกว่า โอปาติกะ อย่าเติมคำว่า สัตว์ เข้าไป มันเป็นกริยาอาการที่เกิด เป็นชื่อของกิริยาอาการ ทีนี้เมื่อเกิดแล้วจะไม่เรียกสัตว์นั้นว่า "โอปปาติกะ" ไม่ใช่ชื่อของสัตว์เป็นชื่อของกิริยาอาการที่เกิดได้ที่ไหน? เมื่อมีสติปัญญาเข้าใจความหมายของคำๆ นี้ ก็จะเห็นได้ว่าเป็นกิริยาอาการเกิดมีรูปร่างอย่างไร? ไม่แน่ ไม่มีในตำราถ้าวาการเกิดอย่างนี้เกิดเป็นพรหม มันก็มีรูปร่างอย่างพรหม เกิดเป็นเทวดา ไม่ผิดแผกแตกต่างกันไปนี่ ผมจึงอธิบายว่า เมื่อจิตคิดอย่างเทวดา ก็เป็นเทวดา ผลุงขึ้นมาในจิตนี้ไม่ต้องมีพ่อมีแม่ ไม่ต้องเป็นเด็กก่อน มีความรู้สึกเป็นอย่างพรหม จิตก็อยู่ในสภาพพรหม ก็เกิดเป็นพรหมขึ้นมาในจิตใจนี้ การเกิดที่ไม่ต้องเป็นเด็กก่อนไม่ต้องมีบิดามารดา ไม่ต้องเข้าไปในครรภ์ไม่มีเพศอย่างนี้ การเกิดอย่างนี้ว่า "โอปปาติกะ" เป็นชื่อของการกำเนิดอย่างหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่ชื่อของสัตว์เลย. เอาต่อไป...


อาจารย์ใหญ่คุณ mes ท่านพุทธทาสเที่ยวป่าวประกาศว่า อรรถกถาจารย์ เข้าใจเรื่องโอปปาติกะผิด สู้ตนเองไม่ได้

แต่ผมกลับเห็นว่า ท่านนั่นเองที่เข้าใจเรื่องโอปปาติกะ ผิดไปจนกล่าวตู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

หรือศิษย์เอกของท่านจะเชื่อตามอาจารย์ว่า พระพุทธเจ้าทรงเอออวยเรื่อง นรก สวรรค์ โอปปาติกะ หลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด กับศาสนาพราหมณ์

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๒๓. พรหมในพระคัมภีร์ โดยอาจารย์ใหญ่คุณ mes ท่านพุทธทาส

ปรัศนี: พรหม ที่ลงมากินง่วนดิน ติดใจกับพรหมโลกไม่ได้ กลายเป็นมนุษย์ไปนั้น เป็นพรหมพวกไหนครับ?
"โอปปาติกะ" หมายถึง การเกิดในลักษณะที่ว่า ผลุงขึ้นมาโตเต็มที่ ไม่ต้องเกิดเป็นเด็ก ไม่ต้องมีบิดามารดา มันเกิดผลุงขึ้นมาโดยไม่ต้องมีบิดามารดา โดยไม่ต้องเป็นเด็กก่อน เป็นหญิง เป็นชาย ไม่ต้องมีเพศ กิริยาเกิดผลุงอย่างนี้เรียกว่า โอปาติกะ อย่าเติมคำว่า สัตว์ เข้าไป มันเป็นกริยาอาการที่เกิด เป็นชื่อของกิริยาอาการ ทีนี้เมื่อเกิดแล้วจะไม่เรียกสัตว์นั้นว่า "โอปปาติกะ" ไม่ใช่ชื่อของสัตว์เป็นชื่อของกิริยาอาการที่เกิดได้ที่ไหน? เมื่อมีสติปัญญาเข้าใจความหมายของคำๆ นี้ ก็จะเห็นได้ว่าเป็นกิริยาอาการเกิดมีรูปร่างอย่างไร? ไม่แน่ ไม่มีในตำราถ้าวาการเกิดอย่างนี้เกิดเป็นพรหม มันก็มีรูปร่างอย่างพรหม เกิดเป็นเทวดา ไม่ผิดแผกแตกต่างกันไปนี่ ผมจึงอธิบายว่า เมื่อจิตคิดอย่างเทวดา ก็เป็นเทวดา ผลุงขึ้นมาในจิตนี้ไม่ต้องมีพ่อมีแม่ ไม่ต้องเป็นเด็กก่อน มีความรู้สึกเป็นอย่างพรหม จิตก็อยู่ในสภาพพรหม ก็เกิดเป็นพรหมขึ้นมาในจิตใจนี้ การเกิดที่ไม่ต้องเป็นเด็กก่อนไม่ต้องมีบิดามารดา ไม่ต้องเข้าไปในครรภ์ไม่มีเพศอย่างนี้ การเกิดอย่างนี้ว่า "โอปปาติกะ" เป็นชื่อของการกำเนิดอย่างหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่ชื่อของสัตว์เลย. เอาต่อไป...

อาจารย์ใหญ่คุณ mes ท่านพุทธทาสเที่ยวป่าวประกาศว่า อรรถกถาจารย์ เข้าใจเรื่องโอปปาติกะผิด สู้ตนเองไม่ได้

แต่ผมกลับเห็นว่า ท่านนั่นเองที่เข้าใจเรื่องโอปปาติกะ ผิดไปจนกล่าวตู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

หรือศิษย์เอกของท่านจะเชื่อตามอาจารย์ว่า พระพุทธเจ้าทรงเอออวยเรื่อง นรก สวรรค์ โอปปาติกะ หลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด กับศาสนาพราหมณ์



ท่านพุทธทาสกล่าวถูกต้องแล้ว


[url]http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=12&A=2478&w=โอปปาติกะ[/url]

Quote Tipitaka:
นี้เราเรียกว่า สังเสทชะกำเนิด ดูกรสารีบุตร โอปปาติกะกำเนิดเป็นไฉน? เทวดา สัตว์นรก
มนุษย์บางจำพวก และเปรตบางจำพวก นี้เราเรียกว่า โอปปาติกะกำเนิด ดูกรสารีบุตร
กำเนิด ๔ ประการเหล่านี้แล ดูกรสารีบุตร ผู้ใดแล พึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า
ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี
พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้ง
ได้เอง ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย
ก็เที่ยงแท้ ที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผล ในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด
ดูกรสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย
ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://dhamma4u.com/index.php/component/content/article/637-2010-01-18-06-07-33.html?start=23


อ้างคำพูด:
ในโอกาสวันล้ออายุปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ท่านอาจารย์พุทธทาสได้แสดงธรรมในช่วงบ่ายของวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๔ เป็นส่วนหนึ่งในหัวข้อธรรมบรรยายที่ท่านตอบผู้ข้องใจ หรือ ตอบผู้โจษจ้วงท้วงกล่าวหาท่านที่มีมาในสังคมไทย.

๒๔. โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี?



ปรัศนี: ท่านอาจารย์ถูกเขากล่าวหาว่า ปฏิเสธว่าไม่มีโอปปาติกะสัตว์ นี่มันเป็นอย่างไรกันครับ ท่านอาจารย์เอาเหตุผลที่ไหนมาปฏิเสธครับ?



พุทธทาส: เราไม่ได้ปฏิเสธว่า ไม่มีโอปปาติกะ หรือสัตว์ที่มีกำเนิดโดยโอปปาติกะ เราบอกว่า มีๆๆๆ มันก็เป็นโอปปาติกะที่มีเดี๋ยวนี้ และมีแน่ คนธรรมดานี่แหละ ถ้าคิดอย่างโจร มันก็เกิดเป็นโจรทันที ถ้าคิดอย่างสาธุชนคนดีมันก็เกิดเป็นสาธุชนคนดีทันที คิดอย่างสัตว์เดรัจฉาน มันก็เป็นสัตว์เดรัจฉานทันที คิดอย่างสัตว์นรกก็เป็นสัตว์นรกทันที คิดอย่างเปรตก็เป็นเปรตทันทีนี่ ทำไมจะว่าไม่มี เรายืนยันอยู่อย่างนี้ มันมียิ่งกว่ามี และเห็นได้รู้สึกได้อย่างวิทยาศาสตร์ ส่วนพวกที่ว่า ไม่รู้อยู่ที่ไหนน่ะ พวกนั้นแหละ หลับตาพูด ไม่ใช่ไม่รู้สึกได้จริงว่ามันมี แล้วไปเกิดเป็นผีเป็นสาง เป็นเทวดา เป็นอะไรแล้วแต่ว่า มีเนื้อตัวที่มองเห็นได้ นั่นนะยิ่งไม่ยืนยันในความมี เรายืนยันความมีว่า อยู่ที่นี้ในหัวใจคน กิริยาอาการของจิตที่เปลี่ยนไปเป็นสภาพอื่น นี้เรียกว่า "โอปปาติกกำเนิด" การเกิดอย่างโอปปาติกะ เราไม่ได้ปฏิเสธแต่เราพูดให้เห็นชัดว่ามี แล้วก็มีอย่างเป็นสันทิฎฐิโก คนนั้นเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อตามผู้อื่น.

คัดบางตอนจากหนังสือดอกโมกข์ ฉบับพิเศษ พุทธทาสวจนา พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๓๙
หน้า ๒๒๐-๒๒๑



ขอขอบคุณที่มาจาก

http://www.buddhadasa.com/FAQ/index_FAQ.html


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร