วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ปกหน้า)


ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น
เล่มที่ 1
แปลและเรียบเรียงโดย “ธีรทาส”
ศิลาจารึกเคล็ดลับ
การถ่ายทอดเซ็น (ฌาน) 6 พระองค์ฯ

-----------------------------------------------
“แนะวิธีทำสมาธิแก้กลุ้มใจ!
เพื่อดับเพลิงทุกข์จากโทสะ
บอกศิลปเข้าฌานให้จิตว่าง
แก้โรคกระวนกระวายจิตใจ
ป้องกันโรคไม่รู้ รักษาโรคโง่.”

-----------------------------------------------
พระพุทธศาสนา พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ศึกษาได้ด้วยตนเองแล.....
ชมรมธรรมทาน ทาง ป.ณ.
จ.ม. ขอได้ที่ 231/1 ซอยปลูกจิต 2 กทม. 10330

****************************

(ปกใน)

“เศรษฐีให้เงินทองเป็นทาน
ส่วนปราชญ์ให้ขันธ์ 5 เป็นทาน”

เซ็งง้วน แซ่เล้า


“การศึกษาธรรมก็คือการกระทำให้แจ้งในอริยสัจจ์และหลักธรรม ของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ย่อมไม่มีคำว่า มหานิกาย หรือ ธรรมยุต และมหายาน หรือหินยาน หากยังมัวข้องอยู่ต่อความรู้สึก
ในทำนองนี้แล้ว การที่จะศึกษาต่อไปถึงคำว่า อนิจจัง – ทุกขัง – อนัตตา ก็ไร้ประโยชน์”

ประวิทย์ รัตนเรืองศรี

“จงอย่าหวงผู้อื่น ๆ เขาหยิบยืมอ่านนั่นแหละจะเป็นโชคดี! ได้มีโอกาสสร้างบุญกุศลแล้ว
จะสนองท่านไปภพหน้าอย่างมหาศาล”

ขอตอบขอบพระคุณ เนื่องในปี พ.ศ. 2512 นี้

ข้าพเจ้า “ธีรทาส” ได้รับจดหมายคำอวยพร และ ส.ค.ส. ที่ส่งมาจากท่านผู้ใหญ่ต่าง ๆ
ที่มองเห็นคุณของเมตตากรุณาธรรมบารมีแนวทางนี้
ฯพณฯ จอมพล ถนอม และท่านผู้หญิง จงกล กิตติขจร
ฯพณฯ พลเอก ทวี และคุณหญิง อารี จุลละทรัพย์
ฯพณฯ พลโท อัมพร และคุณหญิง สมสมัย ศรีไชยยันต์
พล.ต.ต. ชัช และคุณนาย ดาววัน ชวางกูร

และยังได้มีของท่านผู้ใหญ่อีกมาก พร้อมทั้งพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตามจังหวัด
อำเภอต่าง ๆ ได้ส่งคำอวยพรมาให้ข้าพเจ้า จงมีอายุยืน มีกำลังใจ เป็นนักบุญตัวอย่าง
ประกาศธรรมาณาจักรใจนี้อีกมากมาย ซึ่งไม่สามารถที่จะนำเอามาตีพิมพ์ไว้ ณ ที่นี้ได้หมดขออภัยด้วย
ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอจารึกคุณธรรมในดวงจิตของทุก ๆ ท่านที่มองเห็นเมตตา
กรุณาธรรมทานนี้มีต่อชีวิตสรรพสัตว์ไว้ ณ ที่นี้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ๆ ทราบสืบไป สาธุ!

ข้าพเจ้าขอสวดมนต์อวยพร ให้ทุก ๆ ท่านจงปราศจากโรคภัยไข้ทุกข์เบียดเบียน และมีอายุยืนด้วยบุญ
สมในความต้องการ ถ้ามุ่งทางโลกแล้วขอให้มีโชคดี จงได้เกิดเป็นปราชญ์ที่ทรงไว้ด้วยศีลธรรมอันดีงาม
ของโลก พร้อมด้วยลาภยศสรรเสริญสุขไปตลอดทุกชาติภพ ถ้ามุ่งทางธรรมแล้วขอให้จงเป็น “พระโพธิสัตว์”
ได้บรรลุธรรมวิเศษสุดอย่างฉับพลันเป็น “พระพุทธเจ้า” อย่างฉับพลันในอนาคตกาลทุก ๆ ท่านด้วยเทอญ สาธุ!

จาก ธีระ วงศ์โพธิ์พระ (ธีรทาส)
(พุทธสมาคม เป้าเก็งเต๊ง 231/1 ซอยปลูกจิต 2 กทม. รหัส 10330)



“แม้เราได้ถ่ายทอดให้แล้วซึ่งธรรมะแห่งจิต ธรรมะก็จะเป็นธรรมะไปได้อย่างไรกัน? เพราะว่าไม่ใช่
ทั้งธรรมะ ไม่ใช่ทั้งจิต ที่สามารถมีอยู่อย่างมีความเป็นตัวเป็นตน เข้าใจข้อนี้เท่านั้น เธอจึงจะเข้าใจธรรมะ
ซึ่งถ่ายทอดด้วย จิต – ถึง – จิต.”

โพธิธรรม


“ผู้ที่รู้จักโลกดีแล้วนั้น ย่อมบูชาความสำราญทางธรรมหรือทางฝ่ายใจอันแท้จริง เป็นสิ่งสำคัญ;
และถือเอาส่วนกายหรือวัตถุ เป็นเพียงเครื่องอำนวยความสะดวกในฐานะเป็นคนรับใช้ สำหรับคอยรับใช้
ในการแสวงหาความสำราญทางฝ่ายจิตเท่านั้น.”

พุทธทาสภิกขุ



คติพจน์ของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ
ยามจะได้ ได้ให้เป็น ไม่เป็นทุกข์
ยามจะเป็น เป็นให้ถูก ตามวิถี
ยามจะตาย ตายให้เป็น เห็นสุดดี
ถ้าอย่างนี้ ไม่มีทุกข์ ทุกวันเอยฯ


หมายเหตุ :
ได้ให้เป็น คืออย่าได้เผื่อเอามาเป็นตัวกู หรือของกู เหมือนที่เขาได้ ๆ กัน
เป็นให้เป็น คืออย่าเป็นด้วยรู้สึกยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปาทาน ว่ากูเป็นนั่นเป็นนี่ไปตามนั้นจริง ๆ
แม้ที่สุดแต่การเป็นบิดา มารดา

ตายให้เป็น คือตายชนิดที่ไม่ตาย แต่กลับเป็น อยู่ตลอดกาล, และต้องเป็นการกระทำชนิดที่เรียกว่า
ตายเสียก่อนตาย คือตายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนแต่ร่างกายแตกดับ ๆ

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


แก้ไขล่าสุดโดย sirisuk เมื่อ 16 ก.ค. 2010, 11:53, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สารบัญ
ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น (ฌาน) เล่มที่ 1
(มี 14 บท)
คำนำผู้แปล โดย “ธีรทาส” และสารบัญ

บทที่ 1
นายดอกบัวใต้น้ำ เป็นชาวนาโง่ ศึกษาธรรมะผิดหวัง. พระปัญญาเภสัช (ตี้เอ๊ยะซาจั๋ง) ได้นำต้นศรีมหาโพธิ์ จากอินเดียมาปลูกไว้เมืองจีน. แล้วเข้าฌานดูรู้ว่าอีก 170 ปี จักมี “พระโพธิสัตว์” มาบรรลุธรรม ณ ตรงจุดนี้ ท่านจึงได้สร้างวัดไว้ก่อน (ผู้สร้างวัดท่านเว่ยหล่าง) สมัยพระเจ้าเหลียงบู๊ตี่.

บทที่ 2
นายดอกบัวใต้น้ำ เรียนธรรมะวันแรก. ท่านพ่อ ถือไม้เท้าสอนธรรมะข้อ “โลภะ” อยู่ที่ตรงไหน? หมวกหายไป. สอนธรรมะข้อ “โทสะ” อยู่ที่ตรงไหน? หวดสันหลัง นายดอกบัวใต้น้ำลงไป 3 ที ให้ตากละอองหิมะ 3 ชั่วโมง บรรลุธรรมหายโง่ไปมากเลย....

บทที่ 3
ท่านพ่อ เทศนาเรื่อง “วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร และปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร” นายดอกบัวใต้น้ำ เริ่มเกิดปัญหาแวบ ! มีอารมณ์สงสัยในปัญหาธรรมนั้นขึ้นมาทันที. ฟังสรุปเรื่องขันธ์ 5 อยู่ในร่างกายของคนที่ตรงไหน?

บทที่ 4
ท่านพ่อ สอนธรรมะข้อ “โมหะ” ให้นายดอกบัวใต้น้ำส่งไม้กวาดให้เป็นปริศนา...ให้กวาดจนหมดแล้วบรรลุธรรม. ได้อุปสมบท เป็น “พระภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ” ไปแล้ว. หลักฐานที่นายจุนทะฯ ปรุงอาหารถวาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มื้อสุดท้ายด้วยเห็ดเนื้ออ่อน. ท่านพ่อ ให้โอวาทชี้ทาง “อรหัตภูมิ และ โพธิสัตว์ภูมิ”

บทที่ 5
นายวานิช พ่อค้าเกลือ. พระภิกษุซิ้งทง พระภิกษุตี้หุย พระภิกษุชอเจ็ง ออกธุดงค์มุ่งไปยังสำนักโซกาย. ระหว่างทางพบวัดในกลางดง คือนิกายวินัย (ลุกจง) ค้นพบกรรมวิธีเจริญสมาธิจิต คือเพ่งพิจารณาดูที่ต้นไม้คด ๆ โค้ง ๆ โพรงไม้กว้าง ๆ ตอไม้ปูดนูนโตตะปุ่มตะป่ำ ดูนาน ๆ จิตจับไปที่รากไม้ยาวชอนไช ดูกิ่งไม้บิดก้านไม้งอ ๆ หงิก ๆ ใบเขียวสดใสชุ่มฉ่ำ ดูป่าถ้ำภูผา โขดหินงอกหินย้อยต่าง ๆ และสายลำธารน้ำตก เพราะจิตคลอเคลียในสิ่งเหล่านั้นหมด...พลังนิ่ง-พลังเงียบอันเร้นลับนี้ เป็นสื่อกลางบันดาลใจ แล้วเกิดอารมณ์ สมถะ....รักษาโรคเส้นประสาท จิตเย็นว่างสงบลง ทำให้สดชื่น มีสมาธิดีได้เหมือนกันแล....

บทที่ 6
ภิกษุซิ้งทง เสกใบไม้ให้กลายเป็นตัวต่อ เป็นตัวแตน, เสกเม็ดมะม่วงให้งอกขึ้นเป็นต้นได้ทันที เขาเล่นกลกันมาเป็นพัน ๆ ปีแล้ว (วิชาสับเปลี่ยน)

บทที่ 7
ภิกษุซิ้งทง ทำบุญพิมพ์หนังสือธรรมแจกทานไปตั้ง 2 อีแปะ...พอนึกถึงบุญกุศลทานนั้น “พระกวนอีมมหาโพธิสัตว์” ก็มาช่วย. พบประตูเมืองสวรรค์สุขาวดี. (เก็กลักสี่ก่าย) ตอนจะกลับได้พบ “ยมบาล” บอกทางรอดให้ คือ “มหาสติปัฏฐานสี่และมรรคมีองค์แปด”

บทที่ 8
ภิกษุซิ้งทง ภิกษุตี้หุย ภิกษุชอเจ็ง ถึงสำนักโซกาย พบ “ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ” กำลังสอนธรรมะแก่สามเณร มีลักษณะ (โหงวเฮ้ง) เห็นแววตาแห้งจากกาม คือจิตว่างจากกิเลสไปมากแล้ว

บทที่ 9
พระจักพรรดินี บูเช็กเทียง เกิดศรัทธาธรรมแบบง่าย ๆ เป็นปัญญาวิมุตติ. โล้วไต้เม้ง ถามเรื่องโพชฌงค์เจ็ด. ภิกษุทั้ง 4 ท่านถือคติพจน์เป็นอุดมคติ 12 ข้อ “จนแล้วอาย – ไม่ใช่เซ็น”

บทที่ 10
ลี้ซ้งฮุ้น ถามเรื่อง “อริยโพธิสัตว์ และ ปุถุชน โพธิสัตว์” ต่างกันอย่างไร? ผู้มุ่ง “พุทธภูมิ” มีมหาปณิธาน 4 ข้อ

บทที่ 11
อุบาสิกา เตียเพ็กฮุ้น ถามเรื่องการทำบุญอธิษฐานจิต แล้วจะไปเกิดได้ตามที่ตนต้องการอย่างไร? “จิตเกิด – รูปธรรมทั้งหลายก็เกิด. จิตดับ – รูปธรรมทั้งหลายก็ดับ”.

บทที่ 12
ท่านเศรษฐี ลิ้มเจี๊ยะช้ง ถามเรื่องการ “ทำดีแล้วไม่ได้ดี” ตอบ มีนาสักหมื่นไร่ก็กินข้าววันละ 3 มื้อ นอนเตียงยาว 8 ศอก ใส่หลุมฝังศพไปไม่ได้เลย ที่สุดแล้ว คือ “พึ่ง – พบ – เพียร – พัก – พลาด” (จำตัวพอ – พ – ทั้ง 5 นี้)

บทที่ 13
ภิกษุทั้ง 4 ท่านถึงวัดกัมจุ้ยยี่ ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ กล่าวโศลกให้สติแก่เจ้าอาวาส เรื่อง “มนุษย์มีปากย่อมพูด คนมีหูย่อมฟัง...” และเรื่อง “พุทธะ” เปิดประตูเมืองสวรรค์ชั้น “สุขาวดี (เก็กลักสี่ก่าย)” ให้เห็นคุณธรรมของพระอมิตาภะพุทธเจ้า พระกวนอีมมหาโพธิสัตว์ พระมหาสถามะปราปต์มหาโพธิสัตว์

บทที่ 14
ภาพศิลาจารึกชีวประวัติ พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา อายุ 120 พรรษา (องค์แรกนำเซ็นจากอินเดียถึงจีนมุ่งแดนมังกร) รายชื่อพระสังฆปริณายกที่สืบอายุพระพุทธศาสนาจากต้นตอที่อินเดียโน้น ลงมา 28 พระองค์. แล้วพระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบานำบาตร – จีวร – สังฆาฏิ – ธรรมทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนีภัยสงครามใหญ่ในอินเดีย ข้ามทะเลอ้อมแหลมมลายู 3 ปีถึงเมืองจีน (มุ่งจับมังกร) เข้าเฝ้า พระเจ้าเหลียงบู๊ตี่. ตอบ เรื่องบุญและกุศลนั้นไม่เหมือนกัน. พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา. ได้พบพระธรรมาจารย์ปอจี่เซี้ยงซือ (คือพระจี้กง.) หน้าพระที่นั่งพระเจ้าเหลียงบู๊ตี่. พระสังฆราชโพธิธรรมได้ถอนเขี้ยวตัวเอง 2 ซี่ ใส่ถ้วยน้ำชาสามเณรไป. โยนต้นหญ้าลงในน้ำ ยืนลอยตัวด้วยวิชาตัวเบา – กายเบา. แล้วก็กวักมือเรียก พระซิ่งกวง. รายชื่อพระสังฆปริณายกสายอินเดีย. พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา อายุ 150 พรรษา ก่อนมรณภาพ สอบภูมิธรรมของศิษย์ ถามว่า “ธรรมะที่แท้จริงนั้นคืออะไร?” ตอบ เรื่องเซ็นเนื้อ – เซ็นกระดูก. กล่าวโศลกต่าง ๆ
ภาพศิลาจารึก ชีวประวัติ พระสังฆปริณายกองค์ที่ 2 พระเว่ยโหมหาครูบา (พระหุยค้อไต้ซือ) วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของท่าน คือ “ตัดแขนซ้ายบูชาพระธรรม ปลงสังขารตก รักธรรมะมากกว่าชีวิต” เฝ้าคอยพระอาจารย์นั่งเข้าฌานอยู่ถึง 9 ปี และโศลก

ภาพศิลาจารึก ชีวประวัติ พระสังฆปริณายกองค์ที่ 3 พระซังซานมหาครูบา (เจ็งฉั่งไต้ซือ) อุบาสกมีโรคอัมพาตเบียดเบียน แต่หาบาปนั้นไม่พบ. ฉันได้ชำระบาปให้ท่านแล้ว และโศลก

ภาพศิลาจารึก ชีวประวัติ พระสังฆปริณายกองค์ที่ 4 พระตูชุนมหาครูบา (เต้าสิ่นไต้ซือ). เดิมเป็นสามเณร ผู้อยากหลุดพ้น. ใครเขาผูกเจ้าไว้ล่ะ? รู้ว่าไม่มีใครเขามาผูกตนไว้เลย. แล้วทำไมเจ้าจึงจะต้องมาหาคนแก้ด้วยเล่า? กลางคืนไม่เคยนอนจนหลังแตะถึงพื้นเสื่อ ตกค่ำนั่งแต่สมาธิ 58 พรรษา และโศลก

ภาพศิลาจารึก ชีวประวัติ พระสังฆปริณายกองค์ที่ 5 พระฮวางยานมหาครูบา (ฮ่งยิ้มไต้ซือ) เมื่อชาติก่อนเป็นตาแป๊ะแก่ถือศีลกินเจ ชอบปลูกต้นสนเล่น. อาศัยท้องหญิงสาวพรหมจารีเกิด เป็นแม่และลูกขอทานเขากินไป 7 ปี. ได้พบพระสังฆปริณายกองค์ที่ 4 บอกว่า “แซ่พุทธะ – คือ – ว่าง” จึงไม่มีระลึกชาติได้และโศลกปริศนาธรรม

ภาพศิลาจารึก ชีวประวัติ พระสังฆปริณายกองค์ที่ 6 พระเว่ยหล่าง มหาครูบา (หุยเล้งไต้ซือ), เดิมเป็นชายหนุ่มผู้มีความกตัญญู ตัดฟืนขายเลี้ยงมารดา. ได้ฟังเขาสวด “วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร” ถึงตอนที่ว่า “จิตเกิดอย่างไม่ติด” แล้วใจก็ลุกโพลง! สว่างไสวในพุทธธรรม, อายุ 24 ปี ได้รับการถ่ายทอด – บาตร – จีวร – สังฆาฏิ – ธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระสังฆปริณายกองค์ที่ 6 (ถ้านับตามสายจากอินเดียลงมาต้องเป็นอันดับที่ 33) ได้ฟังโศลกของครูชินเชา (ซิ่งซิ่ว) ก็รู้ว่ามีปัญญาเพียงแค่รู้แจ้งอนัตตา คือโลกียธรรมเท่านั้น. โศลกของเว่ยหล่าง เข้าถึงสุญตาคือโลกุตรธรรมไปแล้ว. มีโศลกของพระสังฆปริณายกองค์ที่ 5 (พระฮ้งยิ้มมหาครูบา). ท่านอุบาสกเว่ยหล่างได้รับบาตร – จีวร – สังฆาฏิธรรมแล้ว โอ...อมิตาพุทธ! ต้องรีบหนีภัยไปอยู่กับพวกพรานในป่าทึบนานถึง 15 ปี. ท่านถือมังสวิรัติ ไม่เสพเนื้อสัตว์ ยามจนมุมเข้าก็เดินสายกลาง คือ เอาผักลงไปอาศัยต้มในหม้อเนื้อของพวกพรานป่า แล้วก็กินแต่ผักนั้นล้วน ๆ เป็นตัวอย่างของผู้ถือมังสวิรัติด้วย “ฉันผักในจานเนื้อ” พระเจ้าจักรพรรดินีบูเช็กเทียง มอบให้ราชเลขาธิการชื่อ “โง้วฉุ่นเท่ง” นำพระราชสาสน์และบาตรไพฑูรย์และสิ่งของอื่น ๆ ไปถวาย

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น (ฌาน) เล่มที่ 1
ฉบับแก้ไขสมบูรณ์ถาวร โดย “ธีรทาส”

บทที่ 1


ยังมีชาวนา ผู้ซึ่งไม่รู้จักหนังสือทั้งสติปัญญาก็ค่อนข้างจะโง่ทึบคนหนึ่ง อยู่มาวันหนึ่ง เขาคิดอยากจะไปบวชเป็นพระที่สำนักสอนธรรมมีชื่อเสียงในเมืองแห่งหนึ่ง แต่ต้องผิดหวัง เพราะกฎของวัดนั้นมีระเบียบวางไว้ว่า ถ้าบุคคลใดจะเข้ามาบวชเป็นพระอยู่ในวัดนี้ จะต้องท่องสูตรพระอภิธรรม หรือคัมภีร์ใดคัมภีร์หนึ่งให้ได้เสียก่อน ... ทางวัดจึงจะอนุญาตให้บวชได้

ชาวนาผู้นี้จึงขอเข้ามาอาศัยอยู่ในวัดเพื่อฝึกหัดเรียนไปพลางก่อน! อาจารย์เห็นความตั้งใจดีของเขา จึงรู้สึกสงสารพยายามสอนธรรมเบื้องต้น ๆ ให้ ... อดทนสอนไปเถิด! เดือนก็แล้วปีก็แล้ว เรื่องจิต – เจตสิก – รูป – นิพพานนั้น ไม่ต้องพูดถึงเลย ไม่มีทางจะฟังกันรู้เรื่อง เอาเพียงแค่ “โลภะ – โทสะ – โมหะ 3” ตัวนี้เท่านั้น ก็ยังจำลักษณะหรือเข้าใจอาการของจิตไม่ได้ หลายปีผ่านไปอาจารย์ผู้สอนเกิดท้อใจขึ้นมา คือมองเห็นความโง่ซึ่งเป็นวิบากกรรมเก่า ๆ ของศิษย์ แล้วก็ปลงใจจึงบอกกับศิษย์ตรงๆ ว่า “ต่อไปนี้เจ้าไม่ต้องเรียนหรือท่องบ่นคัมภีร์อะไร ๆ ให้มันยุ่งใจหนักสมองเกินตัวเจ้าไปเลย ... เจ้าจงตั้งหน้าตั้งตาทำงานที่เป็นบุญกุศลไปให้มาก ๆ ก็พอแล้ว ... บุญบารมีของฉันที่จะเป็นอุปัชฌาย์ของเจ้านั้นคงจะไม่ได้สร้างสมมาแต่ชาติก่อน เอาไว้คอยชาติหน้าเถิด! เผื่อว่าฉันได้ตรัสรู้ธรรมเมื่อใดแล้ว จึงจะค่อยมาเป็นศิษย์เป็นอาจารย์กันใหม่”

พวกศิษย์ร่วมสำนักได้ตั้งสมญานามให้เขาว่า “นายดอกบัวใต้น้ำ” ใช้เรียกกันจนติดปากหมดทั้งวัด

ต่อมาวันหนึ่ง “นายดอกบัวใต้น้ำ” นั่งครุ่นคิดอยู่ในใจว่า เรามาอยู่วัดนี้ก็หลายปีแล้ว เรียนอะไรก็ไม่ได้ความสักอย่างจนกระทั่งท่านอาจารย์ถึงกับบอกคืนตำแหน่งผู้สอนให้แก่เราเสียแล้ว ต่อไปคงจะไม่มีใครรับสอนธรรมให้เราอีกเป็นแน่.... คิด ๆ ไปก็กลุ้มใจหนักขึ้นทุกที...

บังเอิญมีภิกษุต่างเมืองรูปหนึ่งที่มาศึกษาธรรมอยู่ด้วยกันเห็นแล้วเกิดสงสารในความโง่ทึบของสมองของ “นายดอกบัวใต้น้ำ” นี้ขึ้นมา จึงแนะนำด้วยเจตนาดีแก่เขาว่า ฉันได้ยินข่าวมาว่า ณ เมืองโซกายมีอาจารย์เซ็นผู้หนึ่ง ท่านมีสานุศิษย์อยู่เป็นจำนวนมาก วิธีสอนของท่านแปลกพิสดารกว่าสำนักอื่น ๆ คือสอนทางลัด... อาศัยประสบการณ์ทางธรรมชาติของศิษย์แต่ละคนเป็นเกณฑ์ ถึงแม้คนที่ไม่รู้จักหนังสือมาก่อนเลย ก็ยังจะสามารถเรียนรู้ธรรมได้...

นายดอกบัวใต้น้ำ พอได้ยินคำพูดว่า ไม่รู้จักหนังสือเลยก็ยังจะสามารถเรียนธรรมได้เท่านี้ จิตใจก็เบิกบานเกิดความปีติซาบซึ้ง คิดว่าตนคงจะยังพอมีโชค...ยังไม่หมดหวังไปเสียทีเดียว กล่าวขอบคุณท่านผู้แนะนำทางให้ แล้วรีบไปกราบลาท่านอาจารย์ มุ่งตรงฝ่าป่าดงพงพีเสาะหาทางไปจนถึงเมืองโซกาย

ณ สำนักแห่งเมืองโซกาย มีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ต้นหนึ่งซึ่งจำเดิมนั้นพระเถระนามว่า “ปัญญาเภสัช (ตี๊เอี๊ยะซาจั๋ง)” ได้นำเอาหน่อกิ่งศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ จากพุทธคยา ประเทศอินเดีย ติดตัวเที่ยวจาริกเผยแพร่พุทธศาสนามายังประเทศจีนสมัยเดียวกับ “พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา” พอถึงเมืองโซกาย เห็นวิวทิวทัศน์ของภูมิประเทศ กับภูเขานี้มีรูปนูนขึ้นเหมือนดังศีรษะพญาช้างเผือกกำลังหมอบ ภาพวิวนี้ดูแล้วเหมือนกับเมืองที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่านจึงหยุดพักแล้วพิจารณาดูโดยรอบ ๆ ตักน้ำในลำธารนั้นขึ้นมาดื่มแล้วรู้สึกประหลาดใจมาก...น้ำนี้ใสไหลเย็นมีกลิ่นหอมดุจดังกลิ่นสุคนธชาติ ท่านจึงนั่งเข้าฌานดูเห็นว่าอีกประมาณ 170 ปี ในสถานที่นี้ จักมีพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งมาบรรลุธรรม ณ ตรงจุด ๆ นี้ ท่านจึงได้ทำนายไว้ล่วงหน้า แล้วเอาหน่อกิ่งโพธิ์ที่ติดตัวมาจากทิศตะวันตกปลูกลงไว้ในดิน ณ ที่นั้น ส่วนตัวท่านได้จาริกเผยแผ่ธรรมต่อไปตามดินแดนต่าง ๆ จวบจนวัยชราจึงกลับมาสร้างวัดไว้ ณ ที่นี้ (คือผู้สร้างวัด ท่านเว่ยหล่าง) จนสิ้นอายุขัยของท่านได้นั่งสมาธิดับขันธ์ในฌานสมาบัตินิพพานไป ในสมัยต้นราชวงศ์เหลี่ยงบู๊ตี่ (นับมาจนถึง พ.ศ. 2508 นี้เป็นเวลาประมาณ 1,400 ปีเศษมาแล้ว) ซากพระศพของท่านยังคงอยู่ในสภาพที่ร่างกายมิได้บุบสลายหรือเน่าเปื่อย และยังคงนั่งอยู่ในท่านั่งสมาธิเหมือนตอนนิพพาน บัดนี้ได้ลงรักปิดทองเก็บรักษาไว้
ณ ลานศรีมหาโพธิ์แห่งวัดโซกาย มีอาจารย์เฒ่าท่านหนึ่งมักจะเดินจงกรมมานั่งสมาธิแถวนี้ตอนเวลาบ่ายเสมอ ๆ

นายดอกบัวใต้น้ำ เดินทางมาหลายอาทิตย์ก็เข้าถึงบริเวณวัดโซกาย พอมองไปเห็น “หลวงพ่อเฒ่า” นั่งหลับตาอยู่ใต้ต้นโพธิ์อันร่มเย็น ก็นึกดีใจคงจะเป็นท่านอาจารย์ดังที่ภิกษุรูปนั้นแนะนำไว้เป็นแน่ จึงค่อย ๆ เดินเข้าไปหา แล้วก็นั่งลงกราบไปที่พื้นดินสามหน
ในทันทีนั้น ท่านหลวงพ่อก็ลืมตาขึ้นดู แล้วเห็นชายหนุ่มผิวคล้ำ หน้าผากเตี้ย จมูกเชิด ท่านจึงถามขึ้นว่า “เจ้ามาจากไหน...ต้องการประสงค์อะไร? “

นายดอกบัวใต้น้ำ ตอบว่า “ผมชื่อดอกบัวใต้น้ำ เดินทางมาจากวัดเมืองใต้ ผมต้องการจะมาขอเรียนธรรมจากคุณพ่อครับ!”

หลวงพ่อเฒ่า พอได้ยินคำว่าชื่อ “ดอกบัวใต้น้ำ” เกิดสนใจในชื่อเสียงของผู้มาเยือน นิ่ง! พิจารณาดูอยู่สักครู่หนึ่งแล้วก็ชี้บอกให้ไปหาข้าวหาน้ำกินยังโรงทานที่เชิงเขาโน้นก่อน!

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทที่ 2


อีกสองวันต่อมา “นายดอกบัวใต้น้ำ” เห็นท่านพ่อถือไม้เท้าเดินออกมานั่งหน้ากุฏิจึงค่อย ๆ เดินเบา ๆ เข้าไปกราบลงบนแทบเท้าสามครั้ง แล้วกราบเรียนท่านว่าผมเป็นคนชาวนา เกิดมาในตระกูลยากจนขัดสน ... พ่อแม่ก็ตายตั้งแต่ผมยังเยาว์วัย เลยขาดผู้อุปถัมภ์ให้ได้เล่าเรียนหนังสือ อยู่มาวันหนึ่ง ... ผมคิดเบื่อหน่ายในชีวิตที่ยากแค้น ที่มีมาตั้งแต่เล็กจนโต จึงคิดอยากจะบวชเผื่อจะได้บุญกุศลบ้าง จึงได้เดินทางเข้าไปในวัดแห่งหนึ่งเพื่อขอฝากตัวเป็นศิษย์ แต่โชคไม่ดี ท่านเจ้าอาวาสนั้นบอกว่า ผู้ที่จะมาบวชอยู่ในวัดนี้จะต้องท่อง สูตรพระอภิธรรม หรือคัมภีร์ใดคัมภีร์หนึ่งให้ได้เสียก่อน จึงจะยอมให้บวช ผมบอกไปว่าผมไม่รู้จักหนังสือ ท่านอาจารย์สงสารผมมากอุตส่าห์เอาคัมภีร์มาอ่านให้ฟังเวลาท่านว่างเสมอ ๆ ผมก็ตั้งใจฟัง และเรียนอยู่หลายปีก็ยังท่องจำอะไรไม่ค่อยจะได้ ท่านสอนให้ผมระวังคอยจับลักษณะวาระของจิต เช่น “โลภะ – โทสะ – โมหะ –“ ให้ดี ๆ ว่ามันแสดงอาการออกมาในรูปไหน? ผมได้เรียนมาเป็นเวลานานแล้ว ก็ยังแยกไม่ออกสักที จนอาจารย์ท่านโมโห...ไม่ยอมรับสอนธรรมให้ผมเสียแล้วครับ! ท่านบอกว่าเอาไว้ชาติหน้าเถิด! ปะเหมาะเผื่อท่านได้ตรัสรู้ธรรมแล้วจึงจะสอนให้ผมใหม่ ท่านสั่งให้ผมทำแต่บุญกุศลไปให้มาก ๆ ก็แล้วกัน!

ท่านพ่อ สนใจฟัง แต่นิ่งไม่พูดอะไร ตกเวลาเย็นหลังจากสวดมนต์ทำวัตรจบแล้ว จึงเรียกศิษย์ให้ตามท่านไป ขณะนั้นเป็นฤดูเริ่มหนาว หมอกหิมะตกทุกคืน ชาวจีนทุกคนจะต้องสวมหมวกทำด้วยไหมพรมหนา ๆ

พอเดินเข้ากุฏิ ท่านพ่อ ก็บอกให้ศิษย์ปิดประตูลั่นกลอนเสีย แล้วท่านก็นั่งลงพักเหนื่อย... บนเก้าอี้นวม

ศิษย์ก็ถอดหมวกออกด้วยความเคารพ แล้วเอาวางไว้บนโต๊ะข้าง ๆ นั้น จากนั้นก็เดินไปรินน้ำชาร้อน ๆ มาถวายท่านพ่อถ้วยหนึ่ง เพื่อดื่มกันความหนาว

ท่านพ่อ ลุกขึ้นบอกให้ศิษย์เดินตามท่านมาทางประตูด้านใต้ (กุฏินี้มีสองประตู) พอถึงก็ชี้มือให้ศิษย์ออกไปข้างนอกโน้น...

นายดอกบัวใต้น้ำ พอก้าวพ้นธรณีประตูออกไปเท่านั้น...

ท่านพ่อ ก็ปิดประตูลั่นกลอนไปเลย! แล้วหันกลับมาที่โต๊ะ ซ้ำยังแถมเก็บเอาหมวกของศิษย์ซ่อนไว้เสียอีกด้วย

นายดอกบัวใต้น้ำ ออกไปปะทะลมหนาวเข้า ก็ยังไม่รู้ว่าท่านพ่อจะให้ออกมาทำอะไร? โอ...เดือนก็มืดละอองหิมะเริ่มทยอยพัดสาดเข้ามายังร่มชายคาหน้ากุฏิ มันปกคลุมไปหมดไม่สามารถที่จะมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ หนาวจนขนลุกครางสั่น ฮือ ! ฮือ ! ก็นึกถึงหมวกที่อยู่ในกุฏิขึ้นมาได้หันหลังกลับเข้าไปคลำหาประตู อ้าว! ท่านพ่อลั่นกลอนประตูปิดแน่นเสียแล้ว ตาย! ตาย! ที่นี้จะทำอย่างไรกัน? จึงเคาะประตูส่งเสียงร้องเรียกว่า หลวงพ่อครับ! หลวงพ่อครับ! หมวกของผมอยู่ข้างในครับ! เอ๊ะ! ไม่ได้ยินเสียงท่านตอบ...แต่คงเรียกอยู่อย่างนั้นแหละ! เรียกไปเถิด! ท่านให้ผมออกมาทำอะไรครับ? หนาวตากละอองหิมะทนแทบไม่ไหวแล้วครับ! เงียบ...ไม่มีวี่แววของเสียงที่จะตอบออกมาเลยแม้แต่คำเดียว “นายดอกบัวใต้น้ำ” นั่งกอดเข่าฟันกระทบกันกิก! กิ๊ก..! ครางสั่นฮือ! ฮือ! ตาย...ท่านพ่อจะเล่นแบบไหนกับเราก็ไม่รู้?

สามชั่วโมงผ่านไป ท่านพ่อออกมาเปิดประตู “นายดอกบัวใต้น้ำ” ไม่ถามอะไรเลย! ตรงปรี่ไปที่ปั้นน้ำชา หยิบถ้วยรินน้ำชาร้อนซดฮวก!ฮวก!! สองถ้วยติด ๆ กัน นั่งหายใจออกพร้อมกันทั้งปาก-จมูกมีเสียงฮ้า! ฮา.. หื่อ...ฮือ...เลย แล้วก็รีบเดินไปยังโต๊ะที่วางหมวกไว้ นึกแปลกใจ... หมวกของเราไปไหน ? มองไปรอบ ๆ ก็ไม่เห็นมี... จึงเรียนถามท่านพ่อว่า “หมวกของผมวางไว้บนโต๊ะนี้ หายไปไหนครับ?”

ท่านพ่อ “เจ้าวางไว้บนโต๊ะนั้นจริง ๆ หรือ... ถ้าอย่างนั้นมันจะหายไปไหนล่ะ?”

ศิษย์ตอบ “แน่ครับ! หลวงพ่อ ผมจำได้ไม่ผิด ถอดวางไว้ตอนเข้าประตูครับ!”

ท่านพ่อ “ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ... มันก็แปลกประหลาดใจน่าคิด...ขอให้เจ้าจงใช้สติ-ที่มี-ปัญญาคิดดูที?”

ศิษย์นั่งคิดทบทวนอยู่ไปมา...เกิดความคิดแวบขึ้นมาว่าต้องมีขโมยเอาไปมันจึงหาย...แล้วยกมือขึ้นไหว้ท่านพ่อ “ผมคิดได้แล้วครับ! ต้องมีขโมยเอาไปครับ!”

ท่านพ่อ ซักต่อไป “ขโมยเขาเอาหมวกเจ้าไปเพื่ออะไร จงคิดดูที?”

ศิษย์ตอบ “เป็นเพราะเขาอยากได้ของผู้อื่น เขาจึงต้องเป็นขโมยครับ!”

ท่านพ่อ ถามอีกว่า “การที่อยากได้ของผู้อื่นเขาจนถึงต้องเป็นขโมยนั้น อาจารย์สำนักก่อนของเจ้าท่านสอนว่า “เป็นคนชนิดไหนเล่า?”

ศิษย์ นั่งคิด...แล้วตอบว่า “โลภะครับ!”

ท่านพ่อยิ้ม! หยิบหมวกออกมาจากที่ซ่อนยื่นให้ แล้วพูดว่า “นี่แหละ! ปัญญาอันแท้จริงนั้นถ่ายทอดให้กันไม่ได้ ต้องเกิดขึ้นแก่ตัวของเจ้าเอง มันถึงจะอยู่และไม่ลืมไปได้ง่าย ๆ”

ศิษย์ดีใจและพูดว่า “ครับ! หลวงพ่อ ไอ้ตัว โลภะ นี้ผมคงจะจำมันไว้ได้ไปจนวันตายครับ!”

ในทันใดนั้น ศิษย์เกิดศรัทธาวิธีสอนของเซ็นขึ้นมา จึงกราบลงแทบเท้า ท่านพ่อเฒ่า อีกสามหน แล้วพูดว่าท่านหลวงพ่อ ได้สอนตัว “โลภะ” ให้แก่ผมจนเข้าใจดีแล้ว แต่ยังมีตัวต่อไป คือ “โทสะ” อีกตัวหนึ่ง มันเป็นลักษณะแบบไหนกันครับ? โปรดชี้แจงให้ผมทราบด้วยครับ!

ท่านพ่อเฒ่า นิ่ง! ยืน...แต่มือกำไม้เท้าอยู่จนแน่น... “เดี๋ยวก่อน! เจ้าเรียนตัวนี้มากี่ปีแล้วล่ะ?”

ศิษย์ ตอบว่า “ราว ๆ 3 ปีแล้วครับ!”

ท่านพ่อเฒ่า เหวี่ยงไม้เท้าลงไปที่สันหลังศิษย์ แล้วพูดซ้ำ ๆ ว่า “นี่โทสะ – โทสะๆ จำไว้นะ! มันมีลักษณะอย่างนี้”

นายดอกบัวใต้น้ำ “ร้องโอ๊ย ! โอ๊ย...! ผมรู้–ผมรู้จักมันแล้วครับ–ครับ–โอย...........!”

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทที่ 3


ต่อจากนั้น นายดอกบัวใต้น้ำ ก็จำแม่นขึ้นใจ เป็นอันว่าได้บรรลุธรรมข้อ “โลภะ และ โทสะ” ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

ทุก ๆ วัน นายดอกบัวใต้น้ำ ช่วยเขาผ่าฟืนตักน้ำตามที่ตนถนัดมือตลอดเวลาหลาย ๆ เดือน ทุกเช้าเย็นภิกษุสามเณรหมดทั้งวัดต้องลงโบสถ์สวดมนต์ คือ สาธยาย วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (กิมกังเก็งฯ) และ ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (ซิมเก็ง) ซึ่งนิกายเซ็นถือว่า พระคัมภีร์ 2 เล่มนี้สำคัญที่สุดของเซ็น ถึงแม้ศิษย์ที่อ่านหนังสือไม่ออกก็ยังต้องมานั่งฟังพร้อม ๆ กันทุกเช้า – เย็น ฟังไปนาน ๆ จิตอาจจะเกิดความสว่างไสวแวบขึ้นมา ในขณะใดขณะหนึ่ง แล้วอาจจะบรรลุธรรมก็ได้เหมือนกัน ใจความของพระสูตรสรุปย่อสั้น ๆ ได้ดังนี้


“ให้ขันธ์ 5 เป็นทาน
สูงกว่าเงินทองเป็นทาน
พิจารณาขันธ์ 5 ให้ว่าง
ทุกข์ทั้งปวงจะดับหมด”

อยู่มาวันหนึ่ง ท่านพ่อเรียกประชุมสานุศิษย์แสดงธรรมเรื่อง “ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร” ท่านกล่าวว่า คัมภีร์นี้สำคัญมากสำหรับนิกายเซ็น (ฌาน) เป็นสูตรที่รวมเอาใจความของพระธรรมทั้งหลายมาอยู่ในสูตรนี้สูตรเดียว ถ้าผู้ใดได้ศึกษาและฟังเข้าใจแล้วนำไปปฏิบัติจะพ้นทุกข์ในวัฏฏะแน่นอน ต่อไปนี้ขอให้เจ้าทั้งหลายจงตั้งใจฟังให้ดี ๆ “ธรรมะทั้งปวงมีความว่างเป็นลักษณะ แต่ความว่างก็มิใช่ธรรมะ ธรรมะก็มิใช่ความว่าง” ท่านเทศน์ต่อไปเรื่อย ๆ มีใจความตอนหนึ่งว่า “ธรรมะที่แท้จริงนั้น ไม่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และไม่มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ ไม่มีจนกระทั่ง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การเกิดแก่เจ็บตายทั้งหลายเหล่านี้อีกด้วย”

นายดอกบัวใต้น้ำ วันนี้ตั้งใจฟังเป็นพิเศษ พอได้ยินท่านพ่อพูดมาถึงประโยคที่ว่าไม่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เกิดความคิดแวบ ! ขึ้นมาว่า เอ๊ะ ! เรานี่มันก็มีครบทุกอย่างนี่นา...ทำไมท่านพ่อจึงว่าไม่มี....ประเดี๋ยวจะต้องถามให้สิ้นความสงสัยเสียที พอเทศน์จบศิษย์ก็ยกน้ำชาเข้าไปถวายแล้วถามขึ้นว่า “เมื่อตอนที่ท่านหลวงพ่อพูดว่า ไม่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้น ผมรู้สึกว่าผมก็มีครบทุกอย่างนี่ครับ ! หลวงพ่อ”

ฝ่าย ท่านพ่อ พอได้ยินศิษย์โง่ถามขึ้นมาอย่างนี้ ก็หยิบถ้วยน้ำชาขึ้นมาซดฮวก! ฮวก!! แล้วก็ยิ้มน้อย ๆ นึกในใจว่า วันนี้ไม่เสียแรงที่เราขึ้นเทศน์เลย ศิษย์อื่นจะเข้าใจธรรมทั้งหมดนั้นไม่สำคัญ เพราะปัญญาบารมีของเขาได้สร้างสมไว้ พอที่จะรู้หรือปฏิบัติธรรมได้ ส่วนเจ้าพ่อ นายดอกบัวใต้น้ำ นั่นซิ! เราหนักใจมานานเต็มทนแล้ว วันนี้แกเกิดสงสัยในข้อธรรมขึ้นมา นับว่าเป็นความก้าวหน้าในการสอนของเราขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งทีเดียว!

ท่านพ่อ จึงตอบว่า “เดี๋ยวก่อน! เมื่อตะกี้นี้เจ้าพูดว่าเจ้ามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าเช่นนั้นเจ้าก็เป็นคนเหมือนกับเขาทั้งหลายแล้วซิ! ทีนี้ขอให้เจ้าจงใช้ปัญญาของเจ้าเองพิจารณาต่อไปว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เป็นของเจ้าเองแท้จริงตลอดไปหรือเปล่า?”
จากนี้อีกปีเศษ นายดอกบัวใต้น้ำ นั่งครุ่นคิดอยู่เองว่า เรามาอยู่ในวัดนี้ได้ธรรมที่จำได้จริง ๆ ซาบซึ้งจนไม่มีวันลืม ก็คือ ตัว “โลภะ” หมวกหาย “โทสะ” ถูกหวดสันหลังอย่างแรง 3 ที ตากละอองหิมะ 3 ชั่วโมง

ต่อไปยังมีตัว “โมหะ” อีกตัวหนึ่ง ท่านพ่อยังไม่ได้สอนให้แก่เรา ซึ่งอาจารย์องค์ก่อนท่านเคยบอกไว้ว่าตัวนี้สำคัญที่สุด ถ้าใครรู้หรือเข้าใจเพียงตัวเดียวนี้เท่านั้น ก็อาจจะเข้าใจธรรมทั้งหมดก็ว่าได้ คิดจะไปเรียนถามท่านพ่อให้จบเรื่องกันเสียที แต่ก็ไม่ค่อยจะกล้า เพราะไม่รู้ว่าจะโดนหวดเหมือนครั้งก่อนหรือเปล่าก็ไม่รู้? คิด ๆ ไปก็อึดอัดใจตัวเอง คงจะเป็นเพราะที่เรายากจนไม่ได้เรียนหนังสือเป็นแน่.... มันจึงโง่กว่าคนอื่น ๆ เขา กรรมโว้ย ! กรรม – ของเราเองแท้ๆ เฮ้อ!

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48:

บทที่ 4

อีกสักอาทิตย์หนึ่งต่อมา ท่านพ่อ นั่งอยู่ในเงาร่มไม้ นายดอกบัวใต้น้ำ จึงรวมกำลังใจอยู่พักหนึ่ง แล้วค่อย ๆ เดินเข้าไปกราบที่พื้นดินสามหน
นายดอกบัวใต้น้ำ พูดขึ้นว่า ครั้งก่อน ท่านหลวงพ่อได้สอน “โลภะ และ โทสะ” ให้แก่ผมจนรู้แจ้งแล้ว บัดนี้ยังขาดตัว “โมหะ” ขอได้โปรดช่วยกรุณาสอนให้ผมด้วย ครับ!

ท่านพ่อเฒ่า แห่งโซกาย นั่งนิ่งอยู่สักครู่แล้วพูดขึ้นว่า “ต่อจากนี้ไป ... เจ้าไม่ต้องทำอะไรทั้งหมด ...” แล้วท่านหยิบไม้กวาดยื่นส่งให้ “นายดอกบัวใต้น้ำ” แล้วพูดขึ้นอีกว่า “จงกวาดขี้ฝุ่นละอองธุลี ... ทั้งนอกและทั้งในทิ้งให้หมด …”

นายดอกบัวใต้น้ำ ครับ! รับไม้กวาดมา ... จากนี้ทุกเช้าก็ต้องทำเวรเก็บกวาดใบไม้จนกว่าจะหมดทั่วทั้งลานวัด กินเวลาเกือบทั้งวันและทุกวัน จิตใจอ่อนเพลียระเหี่ยใจไปตลอดปี ทำงานนี้ซ้ำซากกันปีแล้วปีเล่า ...

จึงไปเรียนถามท่านพ่อว่า “ตัว – โมหะ – นั้นเป็นอย่างไร?”

ท่านก็ตอบว่า “กวาดมันหมดแล้วหรือยังล่ะ?” ซึ่งคำตอบของท่านนี้ ดูเหมือนจะเป็น “โกอาน คือ ปริศนาธรรม” เรามันก็โง่อยู่เป็นพื้นมาแล้ว คิดอย่างไรก็ตีปัญหาไม่แตกสักที! อุตส่าห์ไปถามกี่ครั้งกี่หน ... ท่านก็ตอบว่า “กวาดมันหมดแล้วหรือยังล่ะ?” แบบนี้ทุกที! กรรมอะไรหนอ? ที่มาพบอาจารย์เอาแต่นิ่ง! นิ่ง! เราคงจะต้องกวาดลานวัดไปจนวันตายก็ไม่รู้ เฮ้อ! เวร! เวร ... แต่ชาติก่อน

หลายเดือนผ่านไป เกิดฤดูเปลี่ยนแปลงอากาศเริ่มร้อนจัด หิมะเมฆหมอกสลายตัว ท้องฟ้ากระจ่างแจ้ง ... ในบัดดลนั้นก็เกิดมีลมพายุใหญ่พัดมาอย่างแรง กระแสลมได้พัดกวาดพาเอาใบไม้และขี้ฝุ่นละอองธุลีต่าง ๆ ไปหมด ... จนลานวัดเตียนโล่ง ... พอลมสงบ ... นายดอกบัวใต้น้ำ ซึ่งเดินถือไม้กวาดอยู่เห็นเข้าก็ร้องขึ้นว่า “เอ้อ! โชคดีของเราแล้วโว้ย! ฟ้าดินช่วยคราวนี้คงจะได้หยุดพักสบายไปหลายวัน” แล้วก็เดินไปนั่งสมาธิที่ใต้ต้นเซียนท้อ เอาความว่างใสเย็นกระจ่างของท้องฟ้าเป็นนิมิต ... พิจารณาดูไปจนเกิดปัญญาขึ้นมาว่า “ถ้าจิตใจของเราสลัดทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างได้ เหมือนลมพายุพัดกวาดเอาขี้ฝุ่นและใบไม้จนเตียนโล่งลานวัดได้อย่างนี้แล้ว จิตใจของเราคงจะหมดความทุกข์ สิ้นกังวลต่างๆ เหมือนหมดเวร ไม่ต้องถือไม้กวาดทุกๆ วันเป็นแน่แท้”

ในทันใดนั้น ท่านพ่อเฒ่า แห่งเมืองโซกาย รู้ได้ด้วยญาณว่าวาระจิตของศิษย์ไปถึงไหนแล้ว ท่านพ่อ จึงลงจากกุฏิเดินตรงมายังต้นเซียนท้อ ยืนรอคอยจนศิษย์ออกจากสมาธิ ...

เมื่อศิษย์เห็น ท่านพ่อเข้าก็รีบก้มลงกราบด้วยความเคารพอย่างสูง

ท่านพ่อเฒ่า พูดขึ้นว่า “จงเอาไว้กวาดของฉันกลับคืนมาได้แล้ว ... ฉันจะเอาไปไว้ให้คนอื่นที่เขายังมีใบไม้และขี้ฝุ่นรกๆ เกรอะกรังอยู่กวาดกันบ้าง ...”

ตอนบ่าย ท่านพ่อก็เรียกประชุมสานุศิษย์ทำพิธีปลงผมอุปสมทบให้ “นายดอกบัวใต้น้ำ” แล้วยังตั้งฉายาให้ใหม่ว่า “ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ” พอเสร็จพิธีการบวช “ท่านพ่อเฒ่า” ให้โอวาทพูดว่า

ต่อไปนี้เธอ “ดอกบัวพ้นน้ำ” ได้แล้ว เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์แล้ว เธอจะถือนิสัยแบบเดิม ๆ ชอบเที่ยวออกไปกินอาหารที่มีเนื้อสัตว์ตามนอกวัดไม่ได้แล้วนะ! จะเป็นการผิดศีลซึ่งเป็นข้อห้ามของพระพุทธศาสนา ขึ้นชื่อว่าศาสนาพุทธแล้ว มีเมตตากรุณาธรรมต้องไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และหลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ จึงจะเรียกว่าเป็นชาวพุธที่สมบูรณ์ ถึงแม้จะมีบางท่านเห็นว่าไม่ผิดศีล เพราะไม่ได้เจตนาฆ่าเอง หรือถ้าจะอ้างว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนดับขันธ์ปรินิพพานท่านก็ยังฉันอาหารของ “นายจุนทะฯ” ซึ่งปรุงด้วยเนื้อสุกรเช่นกัน “ผู้พูดแบบนี้....เป็นเพราะว่าเขามีความอยากจะกินอยู่แล้วเป็นต้นทุน” นักปราชญ์ยุคหลังจึงตีความในอักษรศาสตร์ ผิดความหมายเดิมของเขาไป หลักฐานในพระไตรปิฎกมหายานมีระบุไว้ชัดเจนว่า “นายจุนทะฯ” ชาวฮินดูมีอาชีพเป็นช่างโลหะ ผู้มีความศรัทธาต่อพระพุทธองค์ได้ไปเก็บเห็ดจากต้นจันทน์มาปรุงอาหารถวาย ซึ่งเห็ดชนิดนี้ตามปกตินั้นชาวพื้นเมืองมักจะเอามาปรุงเป็นอาหารกินได้ โดยไม่มีพิษโทษอะไรเลย! แต่โดยบังเอิญที่โพรงไม้จันทน์ต้นนี้เดิมคงจะมีสัตว์ เช่น พวกงูพิษมาอาศัยอยู่ก่อน ซึ่ง “นายจุนทะฯ” ก็ไม่รู้ ถ้ารู้ก็คงจะไม่มาเก็บเห็ดในโพรงไม้ต้นนี้เป็นแน่!

หลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกด้านหนึ่ง จะชี้ชัดให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าเกิดในตระกูลฮินดูชั้นสูง ไม่นิยมการเสพเนื้อสัตว์ ประชาชนพลเมืองแถบนั้นก็เป็นชาวฮินดูเกือบทั้งหมด เมื่อตัวเองก็ยังไม่กินเนื้อสัตว์อยู่แล้ว แล้วใครจะปรุงอาหารที่มีเนื้อสัตว์ไปถวายหรือใส่บาตรพระพุทธเจ้า เป็นผู้ค้นพบพระพุทธศาสนาเชียวหรือ? หรืออาจจะมีผู้เถียงว่า ก็ไม่ได้สั่งให้เขาฆ่ามาถวาย นี่! นั่นแหละ! การกินก็ยังจัดอยู่ในประเภทที่ได้สนับสนุนให้เขาฆ่าสัตว์ จัดว่ายังมีกรรมร่วมอยู่บ้างเช่นกัน ถ้าจะมองในแง่เมตตาก็ยังขาดไปอีกเหมือนกัน บัดนี้เธอเป็น “พระภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ” แล้ว เธอจงมุ่งจิตศึกษาเซ็นชั้นสูงต่อไปตามกำลังสติปัญญาของเธอเอง ... ฉันหมดหน้าที่ ... ที่จะต้องคอยชี้ทางให้แก่เธอแล้ว

ถ้าเธอปฏิบัติเซ็น (ฌาน) เพื่อความดับทุกข์ของตัวเองรอด นั่นคือ “อรหัตภูมิ”

เมื่อเธอบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้วมีปัญญาเห็นว่า ... ไม่ควรจะเอาตัวรอดไปเพียงคนเดียว เพราะยังมีสัตว์อีกมากมายที่ถูกขังอยู่ในกรงของวัฏสงสาร สมควรที่เธอจะมาช่วยพระบรมศาสดาของเราประกาศธรรม รื้อสัตว์ขนสัตว์กันต่อไปอีก นั่นคือ “โพธิสัตว์ภูมิ” จงทำต่อ ๆ ไปเถิด! จะต้องบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแน่นอน สาธุ!

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48:

บทที่ 5

มีข่าวลือแพร่สะพัดว่า นายดอกบัวใต้น้ำ – ชาวนาโง่ ได้บรรลุธรรม ณ สำนักโซกาย แพร่ไกลออกไปทุกเมือง หลายปีต่อมา มีพ่อค้าเกลือเดินทางไปค้าขายแถบเมืองใต้ แวะพักแรมที่ ณ วัดในสมัยที่ “นายดอกบัวใต้น้ำ” ได้เคยมาศึกษาธรรมแล้วไม่สำเร็จ

ท่านเจ้าอาวาสวัดนั้นได้ถาม “นายวาณิช” ขึ้นว่า ท่านเดินทางมาจากเหนือเคยได้ยินข่าวว่า “นายดอกบัวใต้น้ำ” ซึ่งเคยมาเรียนธรรมอยู่กับฉันแต่ก่อนนั้น บัดนี้ได้บรรลุธรรมที่สำนักโซกายแล้วบ้างไหม?

นายวาณิช ตอบว่า เป็นความจริง! ในวันที่ท่านอุปสมบท ผมยังได้ถวายผ้าจีวรให้แก่ท่านไปหนึ่งผืนด้วย และท่านพ่อเฒ่าแห่งเมืองโซกายยังได้เปลี่ยนฉายานามให้ใหม่ว่า “ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ” บัดนี้กำลังเป็นอาจารย์สอนธรรมะแทน “ท่านพ่อเฒ่า” วัยชราได้เป็นอย่างดี ซึ่งกำลังมีชื่อเสียงทั่วไปทั้งเมือง...

ท่านเจ้าอาวาส อุทาน “หือ! เดี๋ยวก่อน...! ท่านวาณิช นายดอกบัวโง่...นั่นนะหรือ? สอนธรรมได้ เป็นความจริงหรือ?”

นายวาณิช ตอบว่า “เป็นความจริงครับ! ท่านอาจารย์”

ท่านเจ้าอาวาส “ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงแล้ว เมืองโซกายจะต้องมีพระพุทธเจ้ามาเกิดแน่นอน”

เอ้อ! สาธุ! สาธุ! “ฉันขออนุโมทนาด้วย ฉันจะได้หมดห่วงเขาเสียที”

หลังจาก นายวาณิช ได้มาพูดเรื่องนี้ขึ้นแล้ว ก็เป็นข่าวสนใจโจษจันกันไปทั่ววัด บางท่านไม่ยอมเชื่อ...บางท่านก็ยังสงสัยว่ามันจะเป็นไปได้หรือ? คนไม่รู้จักหนังสือ...ซ้ำยังโง่อีกด้วย...

มีภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งชื่อ “ซิ้งทง” เกิดศรัทธาสำนึกเซ็นที่นายวาณิชพูดขึ้นมา จึงชักชวนเพื่อนภิกษุด้วยกันอีกสองรูปออกเดินทางไปพิสูจน์ความจริง ท่านทั้งสามพร้อมใจกันมุ่งตรงตัดทางลัดเลาะป่าฝ่าดงพงทึบแรมคืนมา 14 วัน พอบ่ายวันที่ 14 ก็มองเห็นภูเขาเป็นวิวราง ๆ มีน้ำตกอยู่ข้างหน้า ก็ดีใจเร่งรีบเดินตรงไปยังจุดนี้เพื่อหาน้ำและที่พักแรม เมื่อถึงเชิงเขาก็เห็นเณรองค์หนึ่งกำลังตักน้ำที่ลำธาร จึงแวะวกเข้าไปถามเณรว่า “ที่นี่มีวัดอยู่ด้วยหรือ?”

สามเณรองค์นั้นตอบว่า “เป็นสำนักปฏิบัติธรรมนิกายลุกจง (นิกายวินัย)”

ทั้งสามท่านรู้สึกดีใจที่ได้พบมีวัดอยู่ในกลางป่าดง เพราะว่าข้าวตากเสบียงอาหารที่ติดตัวมาก็เหลือเล็กน้อยเต็มที คงจะได้รับความช่วยเหลือและจะได้ขออาศัยที่พักแรมชั่วคราว จึงเดินตามเณรน้อยไปจนถึงปากถ้ำ

สถานที่นี้สงบเงียบดี กวาดสายตามองไปรอบ ๆ ภูเขา จะเห็นน้ำตกเป็นแผ่นสีขาวแผ่ทาบไว้บนไหล่เขา...ดูเสมือนผืนผ้าทิพย์ที่ชาวสวรรค์เขาเอามาตากไว้ให้มนุษย์ชม ระหว่างเชิงเขาสลับซับซ้อนไปด้วยชะง่อนผา และยังแทรกแซงไปด้วยต้นไม้ป่าอันน้อยใหญ่ ซึ่งมีลำต้นแปลกพิสดารมาก คือบางต้นก็เตี้ยตะแหมะแขะ บางต้นก็สูงตระหง่านไป แล้วแตกกิ่งก้านมีใบสดแสดดกเป็นพุ่มพวงงามเหมือนคล้าย ๆ ร่มกลดพระธุดงค์ บางต้นมีกิ่งบิด ก้านงอหงิกลำต้นคด ๆ โค้ง ๆ มีเปลือกไม้หยาบหนาแตก ขรุขระดูคร่ำคร่า บางต้นก็ปูดนูนโตเป็นตะปุ่มตะป่ำ บางต้นก็มีโคนต้นไม้ที่ใหญ่โตมาก มีตอไม้เว้าแหว่งเป็นโพรงลึก ๆ เข้าไปจนพอให้นักรักสงบเข้าไปนั่งฝึกสมาธิได้ หรือเป็นห้องสมถะวิปัสสนากรรมฐาน
บางโอกาสเขาเล่าไว้ว่ามีอภินิหาร ซึ่งมันทำให้คนที่อยู่ในนั้นหวาดเสียวสะดุ้ง! ตกตะลึกขวัญหนีดีฝ่อสมาธิแตกเลย! ต้องท่องมนต์ขับผีไล่ปีศาจ... แล้วต้องรีบลุกขึ้นไปเหลียวซ้ายแลขวามองสูงดูต่ำ พอสำรวมจิตใจได้แล้วก็ค่อย ๆ แอบจ้องมองดู โอ...คือพวกฝูงสัตว์ป่า บิน เดิน วิ่ง เลื้อย คลาน มีตัวเล็กตัวโตนานาชนิด มีบางพวกธรรมชาติเขาระบายสีให้มาอย่างสวยงามมาก บางตัวแยกเขี้ยวเห็นฟันแหลมคมขาว โง้ง ๆ ออกมา วางท่าร้องเบ่งขู่คำราม! บางตัวพิลึกมีขายาวลำตัวสูงโย่ง ๆ ดูแล้วช่างขยะแขยงน่าสะพรึงกลัวเป็นยิ่งนัก! บางครั้งหูจะได้ยินเสียง นก ลิง ค่าง บ่าง ชะนี กู่ขันร้องสารพัด ไพเราะเสียง

แล้วยังมีสิ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์สูงขึ้น ๆ ไปกว่านั้นอีกอย่างหนึ่ง ก็คือมีต้นไม้โบราณอายุยืนนานมานับพันปี บางต้นรากไม้ยาว ๆ แล้วชอนไชไป ๆ ดำผุดโผล่เกาะแทรกซอกหินพันอ้อมรอบ ๆ โขดผาหน้าถ้ำหินงอกย้อยต่าง ๆ ไปจนถึงปากเหวร่องลำธาร เกาะแก่ง บ้างก็ทับกันไปโยงม้วนขดเป็นวงกลมยาวย้อยลงมาเป็นรูปขั้นกระไดก็มี ดูแล้วไม่เบื่อตาชอบกล ๆ คล้าย ๆ เป็นตัวรูปสิงสาราสัตว์ต่าง ๆ มีสีสันงามแบบธรรมชาติ ที่ไม่มีมายาการอะไรมาปรุงแต่งเลย ... ถ้าเพ่งพิจารณาไปมักจะเกิดอารมณ์สมถะ ...

โอ ... อมิตาพุทธเป็นอย่างนี้เองหนอ! วันนี้พวกฉันเพิ่งจะมาค้นพบกรรมวิธีว่านักรักสงบทางจิตเขามักชอบป่าภูเขาและปลูกต้นไม้ เล่นตอไม้ ไม้ดัดรูปต่าง ๆ เอาธรรมชาติสดชื่นเป็นเพื่อนทางใจ ดังคำปราชญ์โบราณเขาว่า จงหยุดนิ่งก่อน! แล้วพิจารณาดูไปนาน ๆ เถิด! จะเกิดผลเป็นสื่อกลางบันดาลใจให้มนุษย์เราเกิดสมาธิจิตโดยธรรมชาติ เพราะจิตไปคลอเคลียในสิ่งเหล่านั้นหมด ... จึงเลิกคิด ... หยุดคิดในเรื่องอดีต ๆ ทำให้ความรู้สึกขาดตอนลงได้มาก ... ได้ผ่อนคลายอารมณ์ร้ายๆ พักรักษาโรคเส้นประสาทหายเวียนหัว คือการพบมุมว่าง – เย็น – สงบในกายใจ ผลคือกำไรชีวิตดีมากแล ...

ในบางโอกาสก็มีกระแสลมที่โชยมาแทรกอยู่ด้วยกลิ่นหอมอันสดชื่นของเหล่าดอกพฤกษานานาพรรณ มีน้ำตกตอนต่ำไหลเป็นสายวกวนมาเซาะกระทบแก่งหิน แล้วสะท้อนเสียง! เสมือนมีทวยเทพกำลังบรรเลงเพลงทิพย์ ฟังดูแล้วคล้าย ๆ กับบทสวดว่า “อนิจจัง – ทุกขัง – อนัตตา – ว่าง” ภายในจิตใจให้รู้สึกวิเวกวังเวง...ชวนให้คิดไปถึงว่าผู้อาศัยอยู่ในสถานที่นี้คงจะเป็นพวกมนุษย์กึ่งเทพกึ่งคนเป็นแน่ ...

เณรน้อยจึงนำเข้าไปในถ้ำใหญ่ พบท่านเจ้าสำนักกำลังสาธยายธรรมะ มีศิษย์นั่งสนใจฟังอยู่ร่วมร้อยรูป พอจบการบรรยาย ทั้งสามท่านจึงเดินก้มหน้าสำรวมกิริยาเข้าไปกราบ

ท่านเจ้าอาวาสถามขึ้นว่า “ท่านทั้งสามนี้ชื่อว่าอะไร...มาจากที่ไหนกัน?”

ภิกษุซิ้งทง ผู้อาวุโสกล่าวตอบไปว่า “ผมชื่อ – ซิ้งทง องค์รองไปนี้ชื่อ – ตี้หุย – ถัดไปองค์โน้นชื่อ – ชอเจ็ง” ผมทั้งสามเดินทางมาจากวัดเมืองใต้จะไปเมืองโซกาย ปรารถนาจะขอพักแรมในสำนักของท่านอาจารย์สักวันหรือสองวันก่อนแล้วจะเดินทางต่อไปครับ!

ท่านเจ้าอาวาส ต้อนรับอาคันตุกะทั้งสามเป็นอย่างดี แล้วถามขึ้นว่า “ท่านชื่อ ซิ้งทง ฉันสงสัยจะเป็นท่านนี้ใช่ไหม? ก่อนหน้าออกบวช เป็น นักเสกเวทมนตร์คาถา ที่มีชื่อเสียงมาก”

ท่านซิ้งทง จึงตอบว่า “ใช่แล้วครับ!”

ท่านเจ้าอาวาส “ดีแล้ว! ฉันได้ยินศิษย์ของฉันชอบกล่าวถึงท่านเสมอ ๆ วันนี้ได้พบตัวจริงนับว่าเป็นโชคดี เอาละ! ไว้พรุ่งนี้ค่อยสนทนากันใหม่ ท่านจงไปอาบน้ำหาที่พักในวัดนี้ได้ตามใจชอบ ที่นี่ไม่มีอะไร...อยู่กันแบบอาศัยธรรมชาติล้วน ๆ ถึงแม้ว่าอาหารก็ไม่ได้เบียดเบียนชีวิตเนื้อสัตว์ ฉันแต่พวกพืชผักและผลไม้ในป่านี้ตามมีตามเกิดเท่านั้นเอง”

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48:

บทที่ 6

พอบ่ายวันรุ่งขึ้น ท่านเจ้าอาวาสเรียกประชุมศิษย์พร้อมกัน แล้วก็ประกาศว่า “ท่านที่เคยเชื่อถือ ท่านอาจารย์ “ซิ้งทง” ผู้วิเศษนั้น บัดนี้ตัวท่านผู้วิเศษได้มาอยู่ ณ ที่ประชุมของเราแล้ว และท่านคงจะมาทำพิธีเสกใบไม้ให้เป็นตัวต่อ เป็นตัวแตน เสกเม็ดมะม่วงให้งอกขึ้นเป็นต้นได้ในอึดใจเดียว ขอให้พวกเราทั้งหลายได้ชมกันขณะนี้”

ท่านซิ้งทง ถึงกับตกตะลึงหน้าม่อย! ไม่นึกเลยว่าท่านเจ้าอาวาสจะพูดแนะนำในที่ประชุมเช่นนี้ จึงค่อย ๆ ลุกขึ้นยืนเดินก้มหน้าเข้าไปกราบท่านเจ้าอาวาส แล้วพูดว่า “ท่านอาจารย์ครับ! ผมเสกได้ แต่ไม่ใช่เป็นของจริงครับ! เป็นการแสดงกลหวังผลประโยชน์เพื่อสังคมในทางอ้อมครับ! ผมหลอกลวงต้มมนุษย์ที่มีความเชื่อถืองมงายมาเป็นพื้นฐาน เป็นศิลปะในการอำพรางตาอันแยบยล และเป็นวิธีหาเงินของผม จากพวกโง่งมงายได้ดีอย่างสนิทมาหลายสิบปีแล้วครับ! ขอให้ท่านอาจารย์จงอย่าได้เชื่อตามข่าวนั้นว่าเป็นความจริงเลย! ผมบัดนี้ก็เข้าวัดแล้ว ไอ้เจ้ากรรมอันนั้นมันก็ตามมาสนองผมจนป่นปี้หมดทุก ๆ อย่างแล้วครับ!

ท่านเจ้าอาวาส “ก็เพราะว่าฉันไม่เชื่อ...ว่าท่านทำได้ตามที่ศิษย์บอกนั้นซิ! ฉันจึงอยากจะให้ท่านเปิดเผยวิธีการอันแยบยลของท่านที่เคยต้มมนุษย์ได้อย่างสนิท....ให้พวกศิษย์ของฉันฟัง จะได้หมดความสงสัยเสียที ท่านก็จะได้บุญในการเตือนให้เขาได้สติกันบ้าง อนุชนรุ่นหลัง ๆ อีกหลายร้อยชั่วอายุคน จะได้ไม่หลงเสียเวลาไปในสิ่งที่ไร้สาระ หรือตื่นข่าวหลงผิดตามผู้วิเศษไป”

ท่านซิ้งทง เคยเป็นผู้วิเศษหลอกลวงมนุษย์มามากมายแล้ว พอได้ยินคำว่า เปิดเผยแล้วจะได้บุญตรงที่เตือนให้มนุษย์ได้สติ จึงยอมรับปาก ว่าจะแสดงการแสดงกลให้ที่ประชุมดูหมดทุกประการ

เมื่อกราบท่านเจ้าอาวาสแล้ว ก็ลุกขึ้นยืนในที่ประชุมแล้วพูดว่า ท่านผู้คงแก่เรียนและมิตรสหายทั้งหลาย! วันนี้ผมรู้สึกเป็นกุศลอย่างยิ่ง ที่ได้รับความกรุณาจากท่านอาจารย์ ให้ผมขึ้นมาสำนึกบาป...คงจะเป็นเพราะท่านเห็นว่า เมื่อผมตายไปแล้วมีหวังสู่อเวจีมหานรก ท่านจึงมีเมตตาจิตแก่ผมให้มีโอกาสสร้างกุศล พูดถึงความหลอกลวงมนุษย์ให้หลงเชื่อ ตามที่ผมได้ประพฤติมาแล้วนั้น ผมได้อวดตัวเองว่า ผมเก่งกว่าเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายมากมาย ไม่ว่าทุกเพศทุกวัยตลอดจนกระทั่ง อุบาสก อุบาสิกา พระภิกษุ สามเณร และผมยังสามารถทำให้คนทั้งหลายหลงมากราบไหว้บูชา การเล่นกลของผมได้เป็นเวลาหลายสิบปีทีเดียวเลย!

โดยทั่วไปแล้ว “เงินทองที่ได้มาโดยทางที่ไม่ดีแล้ว...เอาไปซื้อของกินเข้าไปก็จะเป็นเลือดเป็นเนื้อที่ไม่ดี...ถึงจะมีลูก จะมีเมีย ก็จะกลายเป็นลูกเมียที่ไม่ดี...”

เรื่องแรก ผมจะขอเล่า วิธีเสกใบไม้ให้กลายเป็นตัวสัตว์ เช่น ตัวต่อหรือตัวแตน ดังที่ผมเคยเป็นผู้วิเศษมาแล้ว ขั้นแรกจะต้องไปหาตัวแตนมาเด็ดเขี้ยวที่มีพิษออกเสียก่อน แล้วซ่อนเลี้ยงไว้จนเชื่อง สถานที่ต้องจัดให้เหมือนแบบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อผู้ชมจะได้เกิดศรัทธา เห็นแล้วจูงจิตใจให้เกิดอุปาทาน คือ ความยึดมั่นเชื่อมั่นยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก

ใช้ถ้วยหรือจอก ขันสัมฤทธิ์ใบเล็ก ๆ ต้องเป็นขนาดแบบรูปเดียวกันหลาย ๆ ใบ เอาเทียนขี้ผึ้งอย่างดีมาทำเป็นแผ่นเล็ก ๆ บาง ๆ จนแทบจะเหมือนแผ่นกระดาษ แล้วหงายถ้วยที่เตรียมไว้เอาขี้ผึ้งแผ่นบาง ๆ ที่ทำไว้นั้นติดทาบไว้ในขันหรือถ้วยที่จะใช้ ทีนี้จึงจับตัวแตนที่เลี้ยงไว้ค่อย ๆ สอดลำตัวเข้าไปในช่องแผ่นขี้ผึ้งเพื่อซ่อนไว้ พอมีผู้ชมมามาก ๆ เข้าก็ใช้ผู้ชมนั้นไปเด็กใบไม้มาคนละใบ...เพื่อหลอกให้เขาเชื่อมั่นว่าได้เก็บใบไม้มาด้วยมือของตนเอง...ใช้คนชมให้ไปหยิบขันมาอีกด้วย...เขาจะได้เกิดความเชื่อถือแน่ใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป พอเสร็จแล้วก็เอาขันคว่ำลงที่ใบไม้...เท่านี้มันก็มีตัวแตนอยู่ในนั้นแล้ว ถ้าทำปากขมุบขมิบ...ทำทีว่าเสกคาถาต่าง ๆ คนชมที่งมงายอยู่เป็นพื้นมาแล้วยอมเชื่อถือยกมือขึ้นไหว้ผู้วิเศษทุกราย และผู้ที่ทำชำนาญดีแล้ว ไม่ต้องใบไม้ ใช้ขันใบเดียวก็เสกได้ สำคัญอยู่ที่นิ้วก้อยกับนิ้วนางหยิบตัวแตนสอดไว้ด้วยความเร็ว ผู้ดูที่ไม่ค่อยรู้ “วิชากล” มาก่อนมักจะไม่มีไหวพริบที่จะจับโกหกได้ทัน ท่านทั้งหลายจงอย่าได้ฝึกหัดไปหลอกลวงมนุษย์ให้โง่หลงงมงายเลย กรรมตามมาทันตาเห็น บาปบุญนั้นมีแน่ผมได้พบแล้ว

เรื่องต่อไป คือ การหลอกลวงมนุษย์ให้หลงเชื่อว่าผมเป็นผู้สำเร็จทางอภิญญา เป็นผู้ทรงคุณทางอาคมต่างๆ นั้น ได้แก่การ เสกเม็ดมะม่วงให้งอกขึ้นเป็นต้นได้ แล้วเสกให้ออกลูกมะม่วงได้ทันที โดยใช้ศิลปะการพูดหว่านล้อมให้ผู้ดูเกิดศรัทธาเสียทีก่อน แล้วเอาเม็ดมะม่วงตากแห้งให้ผู้ดูชมเพื่อเขาจะได้เชื่อ...ที่เม็ดมะม่วงใช้เหล็กแหลมเจาะรูไว้ก่อน ครั้นต่อไปหาต้นมะม่วงที่เพาะไว้จนงอกยาว 1 คืบ ให้มีใบมีรากเตรียมซ่อนไว้ให้มิดชิด หากิ่งมะม่วงที่ยาวไม่เกิน 1 ศอกที่มีลูกติดมาด้วยจะยิ่งดี วิธีเสกแสดงเล่ห์กล...ก็ใช้ผ้าคลุมดังวิธีที่แล้ว ๆ มา ทำปากขมุบขมิบให้ผู้ชมเห็นว่ากำลังว่าคาถาอย่างเคร่งขรึม...ส่วนมืออยู่ในผ้าจะสับเปลี่ยนอย่างไรก็ไม่มีใครเห็น พอเปลี่ยนได้ที่แล้วปักลงไปในกระถางดิน ผู้ดูที่งมงายเป็นพื้นอยู่แล้วเห็นเข้าก็จะยกมือไหว้ผู้วิเศษทุกราย ยิ่งเป็นนักบวช ฤาษีชีไพรด้วยแล้ว คนเขายอมเชื่อง่าย ๆ เพราะเห็นว่าเป็นผู้ทรงศีล...คงจะไม่หลอกลวง...ที่แท้จริงก็คือโจรในศาสนา ไม่ว่าผู้วิเศษคนไหนจะหนีไม่พ้นการเสกตบตาดังที่กล่าวมานี้ทั้งนั้น “คนโง่ไม่รู้มายากลมีมากกว่าคนฉลาด” จึงยังต้มมนุษย์หากินกันอยู่ได้จนถึงทุก ๆ วันนี้ ในสมัยพุทธกาลโน้นก็มีผู้วิเศษแบบนี้มามากมายแล้ว

ท่านทั้งหลมาย ผลกรรม...บาปที่ผมหลอกลวงเงินทองของชาวบ้าน โดยการตั้งตัวเป็นผู้วิเศษทรงคุณทางคาถาอาคมนั้น บัดนี้ผมขอสารภาพด้วยความจริงว่า กรรมนั้นตามมาสนองผมหมดทุกอย่างแล้ว เงินทองที่ได้มามากมาย มีทรัพย์สิน ไร่นา บ้านช่อง แต่พออกุศลบาปกรรมนั้นตามมาสนองเข้าแล้ว มันทุกข์ร้อนกายใจที่หนักมาก ทำให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา เช่น เมียคบชู้ ผลาญทรัพย์จนหมดตัว. ลูกสาวสวยคนโตถูกอันธพาลหลอกไป. คนรองตกไปเป็นทาสในซ่องนางบำเรอ. ลูกชายคนเล็กหวังว่าจะได้สืบแซ่สืบสกุล เกิดมาก็ปากเบี้ยว จมูกบี้. ส่วนตัวผมนั้นกรรมที่จับตัวแตนมาเด็ดเขี้ยวมาก ๆ เข้า มันก็ตามมาสนองให้ฟันข้างหน้าปวดเน่า มีหนองไหลซึมตลอดปี กินเนื้อสัตว์ทีไร ก็มีหนอนออกมาเป็นตัว ๆ ทุกที เป็นทุกข์ทรมานกายใจเรื่อยมา เมื่อความทุกข์ท่วมทับดวงจิตจนทนไม่ไหว! จึงได้หันหน้าเข้าพึ่งวัด แล้วใช่ว่าเวรบาปกรรมนั้นจะหมดสิ้นไปก็หาไม่...

ขอให้ท่านทั้งหลาย จงช่วยกันเตือนเพื่อนมนุษย์เอาบุญ...เพื่อให้เขาได้สติอย่าตื่นข่าวผู้วิเศษกันเลย เป็นสิ่งที่ไร้สาระ ไม่ใช่วิถีทางที่จะดับทุกข์ที่แท้จริง ขอให้ท่านจงปฏิบัติอยู่ในธรรมวินัย จงเป็นผู้บริสุทธิ์ทุกท่านเถิด!

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48:

บทที่ 7

หลังจากนี้แล้ว ทั้งสามท่านก็ออกเดินทางจะไปเมืองโซกาย ระหว่างทางกลางป่าผ่านห้วยเหวมาสามวัน ได้ยินเสียง เ – เ – อ๋ เ – เ – อ๋ มองไปเห็นช้างป่าเดินตรงมาข้างหน้า ท่านตี้หุย และชอเจ็ง ตกใจ ! รีบปีนขึ้นไปเกาะอยู่บนคบไม้ ส่วนท่านซิ้งทง ผู้ชราอายุ 60 เศษ ไม่สามารถที่จะปีนป่ายตามขึ้นไปเพื่อหลบช้างป่าได้ แต่ใจก็ยังมีสตินึกถึง “พระกวนอีมมหาโพธิสัตว์” อยู่ พอได้ยินเสียง เ – เ – อ๋ เ – เ – อ๋ อีกเจ็ดแปดครั้ง เขาก็อ่อน ! ใจก็สั่นนั่งฟุบลงไปที่โคนต้นไม้ พอสำรวมสติได้ก็ไม่รีรอ จึงค่อย ๆ แอบต้นไม้สาวเถาวัลย์โหนตัวลงไปยังเชิงผา ...

ผลกรรมที่ตนเคยสร้างไว้มากมายมันตามมาทัน เถาวัลย์เกิดขาด ตัวก็ตกกลิ้งลงไปฟาดก้อนหินแน่นิ่งนอนสลบหมดลมปราณ ... พอฝูงช้างเดินผ่านไปแล้ว เพื่อนร่วมเดินทางก็รีบลงมาช่วย แต่มันก็สายไปเสียแล้ว ท่านตี้หุยและท่านชอเจ็ง นั่งน้ำตาไหลซึมอยู่ข้างศพปลงอนิจจัง คือความไม่เที่ยงของสังขาร มี “เกิด – แก่ – เจ็บ – ตาย” วนเวียนอยู่ชาติแล้วชาติเล่า โอ...อมิตาพุทธ! เมื่อไรจะพ้นกันเสียทีหนอ? แล้วก็สวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่ดวงวิญญาณท่านภิกษุซิ้งทง ขอให้จงไปสู่ภพสุคติได้บรรลุมรรคผลนิพพานด้วยเทอญ สาธุ!

ด้วยความห่วงอาลัยในเพื่อน ทั้งสองท่านจึงสวดมนต์หน้าศพอยู่สองวัน พอย่างเข้าวันที่สามตอนบ่ายขณะกำลังหลับตาสวดมนต์อย่างตั้งใจอยู่นั้น...ได้ยินเสียงครางเบา ๆ โอ๊ย! โอย...ออกมาจากศพ

ท่านชอเจ็ง ตกตะลึง! ทำท่าจะเผ่นหนี! ท่านตี้หุยก็ใจไม่ดี...จึงรีบดึงจีวรเพื่อนยึดไว้ แล้วเงี่ยหูฟัง ได้ยิน น้ำ – น้ำ – โอ๊ย – โอย ...

ทั้งสองท่านจึงแน่ใจว่า ยังไม่ตาย...จึงค่อย ๆ ยื่นมือไปเปิดผ้าที่คลุมศพไว้ เห็นเพื่อนยังหายใจแขม่ว! แขม่ว! จึงร้องเรียกท่านซิ้งทง ครับ! เป็นไงบ้างครับ?

ท่านตอบว่า โอ๊ย! โอย... น้ำ – น้ำ - หน่อย!

ท่านตี้หุย รีบหยิบกระบอกน้ำรินหยดหยอดลงไปในปาก พอดื่มแล้วหายใจดัง ฮื่อ! ฮื่อ! นัยน์ตาเบิกขึ้นมา...ดูค่อยมีราศีว่าเป็นคนขึ้นมาหน่อย! จากนี้แล้วก็ช่วยกันหายาสมุนไพรในป่ามาประคบเยียวยากันตามมีตามเกิดตลอดเวลา 15 วัน จึงหายพูดจาได้ตามปกติ

ท่านชอเจ็ง จึงถามขึ้นว่า “ขณะที่ตายนั้น...วิญญาณท่านไปทางไหน?”

ท่านซิ้งทง ตอบว่า “แย่! แย่...”

ท่านตี้หุย ชักตื่นเต้น! เร่งขอให้ท่านเล่าต่อไปเร็ว ๆ หน่อย!

ท่านซิ้งทง จึงเล่าว่า ก่อนหน้าที่จะตกจากผานั้น ใจได้นึกถึง “พระกวนอีมมหาโพธิสัตว์" ให้ท่านช่วย แล้วอาศัยเมื่อก่อนบวช มีเพื่อนเคยมาขอเรี่ยไรเงินเพื่อจะเอาไปพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน เสียอ้อนวอนเพื่อนไม่ได้จึงยอมสละเงินไปสองอีแปะ ด้วยกุศลทานอันนี้เอง จิตก่อนดับจากร่างจึงนึกถึงบุญชนิดสูงสุดที่ทำไว้ได้ ก็เลยเป็น “ชนกกรรม” เป็นนิมิตนำทางไปถึงเมืองสวรรค์ชั้นสุขาวดีทันที

พอได้เห็นประตูเมืองสวรรค์จิตใจก็ตะลึง! ในความสวยสดงดงาม มันช่างดื่มด่ำดึงดูดทำให้ใจลอยหลงเคลิ้ม ๆ เหมือนตอนวัยหนุ่มพบสาวงาม ที่บานประตูสร้างด้วยทองคำก่ำกนกลงยาฝังเพชรมณีนิลจินดา มีแสงประกายแววระยับสลับสีสันครบนพเก้า ที่กำแพงนั้นใช้ก้อนมรกตก้อนโต ๆ มาแกะสลักเป็นแผ่นอิฐยึดเกาะเกี่ยวติดเป็นทิวแถวด้วยเงินยวง เรียงรายสลับซ้อนกันมองไปจนสุดสายตา พอได้เห็นเข้าก็ชุ่มชื่นในดวงจิต ทำให้ลืมทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองมนุษย์ทันที แล้วฉันก็จะเดินไปเข้าประตู

เทพผู้รักษาประตูเมืองไม่ยอมให้ฉันเข้าไป ... บอกว่าฉันไม่มีบุญพอที่จะเข้าไปอยู่ในเมืองนี้ได้ ... แล้วเทพองค์นั้นก็ชี้บอกให้ฉันไปยังสวรรค์ชั้นอื่น ๆ ต่อไปอีก พอฉันไปถึง ... เทพผู้รักษาประตูของแต่ละชั้น ก็พูดทำนองแบบเดียวกันกับชั้นที่แล้ว ๆ มาอีก

ทีนี้ฉันก็ต่อว่า ... ว่าเมืองสวรรค์นี่ก็ไม่ยุติธรรมเช่นเดียวกับเมืองมนุษย์เหมือนกัน สมัยที่ฉันอยู่เมืองมนุษย์นั้น ฉันได้สละเงินพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นทานไปตั้งสองอีแปะ แล้วทำไมท่านถึงยังพูดว่าไม่มีบุญอีกด้วย?

ฝ่ายเทพก็ตอบว่า ก็เพราะว่าสองอีแปะของท่านนั่นซิ! จึงได้มาชมแค่ประตูเมืองสวรรค์ ...

ฉันจึงขอร้องให้เขาช่วยกรุณาไปบอกเทพชั้นผู้ใหญ่หน่อยเถิด! ขอให้อนุญาตอยู่เป็นพิเศษสักคนเถิด!

ว่าแล้วเทพผู้รักษาทวารประตู ก็เข้าไปรายงานแก่เทพผู้เป็นใหญ่ ผลสุดท้ายเทพชั้นผู้ใหญ่ต้องออกมาพบฉัน แล้วท่านได้พูดว่าตั้งแต่สร้างเมืองสวรรค์มา ก็ยังไม่เคยมีใครมาตำหนิว่าเมืองสวรรค์ไม่ยุติธรรมเหมือนกับท่านเลย เอาล่ะ! ฉันจะรับฟังความของท่านเป็นครั้งแรก ...

ทีนี้ต้องร้อนถึงเทพผู้เป็นใหญ่อีกหลายท่าน ที่ต้องมาประชุมหารือกันถึงเรื่องของฉัน ได้ถกเถียงกันแล้วลงมติด้วยการว่าไม่สมควรให้อยู่ ไม่อนุญาตให้อยู่ได้ ...

มีเทพอีกท่านหนึ่งเกิดความสงสารมาก เห็นว่าฉันห่มผ้าเหลืองเป็นพระ จึงบอกให้หวนกลับไปคิดถึงสมัยที่ยังเป็นมนุษย์อยู่ว่า นอกจากได้ทำบุญไว้สองอีแปะนี้แล้ว ยังได้สร้างบุญอะไรไว้อีกบ้างไหม?

ฉันนิ่ง ... นึกอยู่สักครู่หนึ่ง พอนึกได้ก็บอกว่าสมัยยังหนุ่มอยู่เคยได้ทำอีแปะตกหายไปหนึ่งอัน แล้วเที่ยวค้นหาอยู่หลายวันก็ไม่พบ ... ทีหลังรู้ว่าคนขอทานเก็บได้ไป ฉันก็ตามไปทวงคืน ...

ขอทานคนนั้นพูดว่า ท่านเศรษฐีเงินหนึ่งอีแปะนั้น ผมซื้อข้าวกินก็ยังไม่ได้จานหนึ่งเลย! ท่านจะมาทวงคืนกลับไปเชียวหรือ?

ฉันเห็นทีว่าจะไม่ได้คืนแล้ว ก็เลยปลงใจ ... ยกให้เป็นทานไป

ที่ประชุมรับฟัง ว่ามีบุญเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งอีแปะ คิด ๆ ไปมันก็ยังไม่พออยู่นั่นเอง

ท่านเทพผู้เป็นประธานจึงพูดขึ้นมาว่า นี่เพียงแต่มาแค่ประตู พวกเจ้าหน้าที่เมืองสวรรค์ยังร้อนถึงต้องประชุมกันเสียแล้ว ถ้าขืนให้อยู่ ... คงจะได้เรื่องประชุมกันอีกแน่นอน อย่าอย่างนั้นเลย! ทางสวรรค์ยอมคืนเงินหนึ่งอีแปะให้ท่านกลับไปก็แล้วกัน!

ตอนจะกลับ ... บังเอิญได้พบท่านยมบาล กำลังมีธุระมาที่เมืองสวรรค์ ได้พบกันตรง หน้าประตูพอดี ฉันจึงพูดว่า “โชคดีแล้วที่ได้พบท่าน ขอรบกวนถามสักหน่อยว่า ฉันนี้ต่อไปจะต้องตกนรกไหม?

ท่านยมบาลบอกว่า “อย่ารู้เลย ... รู้แล้วก็แก้ไม่ได้ มันสายไปเสียแล้ว ...”

ฉันจึงพูดไปว่า “ไม่เป็นไร ... เพราะว่าฉันได้บวชเป็นพระมาแล้ว พอจะมีทางรอดได้”

ฝ่ายท่านยมบาลอุทาน หือ! แล้วพูดว่า “เดี๋ยวก่อน! ท่านคิดว่าบวชเป็นพระแล้วจะรอดจากบัญชีนรกของผมไปหรือ?” ผิดแน่ นักบวชอลัชชี นักพรต ฤาษี ชีไพร กำมะลอ ที่เลวทรามนั้น ตายแล้วตกมาในเมืองผมมากที่สุด ที่ผมขึ้นมาเมืองสวรรค์ในวันนี้ ก็เพื่อจะมาขออนุญาตกลับไปขยายห้องขังในนรก เอาไว้ต้อนรับพวกท่านดอกนะ! ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นก็เป็นเพราะว่า พวกท่านสมาทานศีลแล้ว เห็นเป็นของเล่นๆ ไป ไม่ปฏิบัติตามศีลวินัยนั้น ... บางท่านก็เอาศาสนามาบังหน้าเพื่อสังคม หวังผลประโยชน์ทางอ้อม บางท่านอวดอุตริมนุสธรรม อวดคุณวิเศษที่ตนยังไม่มี ตั้งตัวเป็นคณาจารย์ผู้วิเศษ เที่ยวตบตาหลอกลวงข้าวของเงินทองของชาวบ้าน ที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พอสะสมเงินทองได้มากพอแล้วก็ลาสึกออกไปมีลูกเมียกันเป็นแถว ๆ พวกนี้พอถึงวันดับจิตขาดใจตายแล้ว ผมต้องเชิญมาคิดบัญชีหมดทุกราย พอหมดจากบัญชีเมืองนรกแล้ว ยังจะต้องไปเกิดเป็นวัว เป็นควาย ทำนาใช้หนี้ข้าวสุกของชาวบ้านเขา เพราะว่าข้าวสุกทุก ๆ เมล็ดที่เขาใส่บาตรลงไปนั้นไม่ใช่ของเล่น ๆ นา! เขาได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ บางรายก็สะเดาะเคราะห์ล้างซวย บางรายก็ส่งให้ภูตผีปีศาจหรือเจ้ากรรมนายเวร บางรายหวังชาติหน้าไปเกิดเป็นเศรษฐี นี่แหละ! จิตที่เขาตั้งสัจอธิษฐานไว้แล้วนั้น มันยึดมั่นถือมั่นเป็นเสมือนบัญชีที่คอยติดตามทวงหนี้อยู่ตลอดทุกชาติภพนา! ท่านก็บวชมาแล้วสมัยที่อยู่วัด สมภารหรืออุปัชฌาย์ ในเมืองมนุษย์ไม่เคยเอาพระคัมภีร์ออกมาเทศน์ให้ฟังบ้างหรือ? หลักฐานที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกที่ยังมีอยู่นั้น ได้กล่าวเรื่องนี้ไว้อย่างถูกต้องดีทุกประการ

เอ้า! ไหน ๆ จะพูดกันแล้วก็เลยพูดเสียให้หมด ทางที่จะไม่ต้องตกนรกนั้นมีทางเดียว คือ “มหาสติปัฏฐานสี่ และมรรคมีองค์แปด” พระอริยเจ้าเท่านั้นที่ไม่ต้องวนเวียนกลับมายังเมืองนรกอีก นอกนั้นแล้วรู้จักกับผมหมด ... ต่อจากนั้นท่านยมบาลพร้อมทั้งประตูเมืองสวรรค์ก็หายวับไปทันที

ฉันก็รู้สึกเจ็บปวดระบมไปทั้งเนื้อตัว คอก็แห้งกระหายน้ำอย่างที่สุด

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48:

บทที่ 8

ภิกษุทั้งสามท่านเตรียมตัวจะเดินทางกันต่อไป พอเดินทางมาได้ 7 วันเสบียงอาหารที่เตรียมมาว่าพอดีกับระยะทาง ก็กินหมดไปเสียแล้ว เพราะมัวแต่หยุดพักรักษาพยาบาลท่านซิ้งทง เสียเวลาการเดินทางไปตั้ง 15 วัน ปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะหน้าว่าจะทำอย่างไรในกลางดง ... จะจับสัตว์ฆ่ากินก็ไม่ได้เพราะผิดศีล ... ในที่สุดก็ต้องอาศัยผลไม้เท่าที่จะมีในป่าพอจะช่วยประทังชีพให้เดินทางต่อไปได้ พอหลาย ๆ วันเข้าร่างกายผิดอาหารธาตุเกิดพิการท้องไส้เริ่มจะเสีย รู้สึกอ่อนเพลียมาก เดินทางได้ช้าลงทุก ๆ วัน เดินไปวันหยุดพักไปวัน ทั้งสามท่านหมดแรงไม่สามารถที่จะปีนขึ้นไปเก็บผลไม้บนต้นมากินเป็นอาหารได้ จึงอาศัยตอนเช้าเฝ้าคอยฟังเสียง ชะนี ลิง ค่าง ที่ตรงไหน? มีเสียงร้องมาก ๆ ก็เดินไปที่โคนต้นไม้นั้น เพื่อเก็บเศษผลไม้ที่มันกินเหลือตกหล่นลงมาตามแถว ๆ ใต้ร่มไม้ต่าง ๆ กินเป็นอาหาร พอกันความตาย แล้วค่อย ๆ เดินกระเสือกกระสนไปจนถึงเมืองโซกาย

พอเหยียบลานวัด ก็เห็นภิกษุวัยกลางคนองค์หนึ่ง กำลังสอนธรรมะแก่เณร 3 รูป ดูกิริยาท่วงทีสุขุมนิ่มนวลมีรอยแย้มอมแฝงอยู่ด้วยแสงเหลืองอร่าม สายตามองตรงทอดต่ำลงอยู่ในท่าสำรวม เผยให้ท่านทั้งสามแลเห็นแววตาที่แสดงถึงความแห้งจากกาม

ลักษณะนี้ตามตำรา โหงวเฮ้ง เขากล่าวไว้ว่า เป็นบุคคลที่มี “จิตว่างจากกิเลส” พ้นจากกระแสแห่งความดึงดูดต่อสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้แล้ว ทั้งสามท่านเห็นแล้วก็ยังสงสัย...มันจะใช่ “นายดอกบัวโง่” ของเราหรือเปล่าหนอ? พอเดินเข้าไปใกล้อีกสักหน่อย! มันก็ยังมีเค้ารูปเดิมอยู่เหมือนกัน

ท่านตี้หุยกระซิบบอกว่า ใช่แน่...แล้วจึงค่อย ๆ เดินเข้าไปนมัสการ แล้วพูดว่า “ท่านยังจำพวกผม...ทั้งสามนี้ได้ไหมครับ? ซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้ตักน้ำผ่าฟืนอยู่ด้วยกันนั้น”

ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ยกมือขึ้นไหว้แล้วตอบว่า “ยังพอจำได้ ท่านอาจารย์ของเราที่วัดเมืองใต้ บัดนี้อยู่สบายดีหรือ? ฉันจากมาเสียหลายปีแล้ว ไม่รู้ข่าวคราวทุกข์สุขของท่านเลย”

ท่านซิ้งทง ตอบว่า “ท่านอาจารย์เราชราลงไปมากแล้ว บัดนี้มอบให้ผู้ช่วยสอนธรรมะแทน ท่านหลบพักผ่อนอยู่ในมุมสงบ.”

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48:

บทที่ 9

หลังจาก พระมหาจักรพรรดินี พระพันปีหลวง “บูเช็กเทียง” และพระมหาจักรพรรดิ “จงจุง” ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาตามหลัก “นิกายเซ็น (สุญตา)” แล้วพระองค์ท่านทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ได้ทรงแนะนำขุนนางชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน ว่าควรไปศึกษาธรรมแบบ “นิกายเซ็น (สุญตา)” ณ เมืองโซกายเพื่อจะได้นำเอามาปรับปรุงแก้ไขการปกครองบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขสืบไป

ท่านพ่อ จวนจะใกล้เวลาดับขันธ์ปรินิพพานอยู่แล้ว มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่เป็นจำนวนมากได้เดินทางมายังโซกายเพื่อศึกษาธรรม

โล้วไต้เม้ง ขุนนางผู้หนึ่งได้กราบเรียนท่านพ่อว่า กระผมได้ฟังธรรมที่ท่านพ่อสอนอยู่นี้แล้ว พอจะเข้าใจได้บ้างว่าเป็น “ปัญญาวิมุตติ” แต่กระผมเป็นนักปกครอง ยังมีความเป็นห่วงว่า ประชาชนอีกมากหลายเขาจะไม่สามารถนำเอาหลักธรรมที่พระคุณเจ้าสอนไว้นี้ ไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตประจำวันทั่วไปได้ ขอพระคุณเจ้าได้โปรดกรุณาสอนหลักธรรมที่ง่าย ๆ กว่านี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองสืบไปด้วย ขอรับพระคุณเจ้า

ท่านพ่อ ได้พูดว่า “หลักธรรมะตามโพชฌงค์เจ็ด”

โล้วไต้เม้ง ได้เรียนถามต่อไปอีกว่า “โพชฌงค์เจ็ด” นั้นมีความหมายอย่างไรครับ? พระคุณเจ้า

ท่านพ่อ ตอบว่า “ให้ไปถาม ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ”

หลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน ท่านพ่อก็เรียกประชุมสานุศิษย์ กล่าวโศลกจบ ท่านก็นั่งสมาธิดับขันธ์ในฌานสมาบัตินั้นไป

ท่านโล้วไต้เม้ง จึงไปเรียนถาม ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำว่า “โพชฌงค์เจ็ด” นั้นมีหลักธรรมและความหมายว่าอย่างไร?

ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ตอบว่า จงตั้งใจฟังให้ดี ๆ ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทรงพระประชวร แล้วได้มีผู้มาเอ่ยชื่อ “ธรรมะโพชฌงค์เจ็ด” เท่านั้น พระองค์ท่านก็หายจากทรงพระประชวรทันทีเหมือนปลิดทิ้ง ดีมากถึงเพียงนี้ท่านจึงทรงมอบ “โพชฌงค์เจ็ด” ให้เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ คือ:–

1. การระลึกอย่างทั่วถึง ถึงข้อเท็จจริงของทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรา
2. การเลือกเอาแต่สิ่งที่ตรงกับความต้องการจริงๆ
3. การตั้งหน้าทำสิ่งนั้นด้วยความพากเพียร กล้าหาญอดทนไป
4. พอใจ...อิ่มใจ...อยู่ทุกขั้นทุกตอนที่กำลังกระทำอยู่ มีความสันโดษคือยินดีในสิ่งที่ตนมีตนได้อยู่
5. คอยดูงานนั้นให้เข้ารูป หรือลงรอยในที่สุด...
6. จงระดมกำลังใจทั้งหมดอย่างแน่วแน่ มีอุดมคติทางใจสูงไว้ก่อน เป็นขั้นสุดท้าย
7. รอได้...คอยได้...ด้วยความมั่นใจ จนมีผลออกมา (ข้อนี้สำคัญที่สุด...)

พระพุทธเจ้าท่านเอง ท่านก็ประสบความสำเร็จในการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ด้วยอาศัยหลักธรรมโพชฌงค์เจ็ดนี้ ดังนี้แล้วทำไมหลักธรรมเหล่านี้จะทำความสำเร็จให้แก่การงานอย่างพวกเราไม่ได้ด้วยหรือ? เพราะมันง่ายหรือต่ำกว่ากันเป็นไหน ๆ เราพูดกันเสมอว่าจะทำอะไรก็ต้องให้สำเร็จเป็นมรรคเป็นผล จึงควรเข้าใจไว้เสียด้วยว่าโพชฌงค์เจ็ดอย่างนี้แหละ! คือสิ่งที่จะทำให้เราทำอะไรได้สำเร็จอย่างเป็นมรรคเป็นผล เพราะฉะนั้นเราควรจะพิจารณากันดูอีกทีว่าเป็นความจริงอย่างนั้น จริงหรือไม่?

ข้อหนึ่ง เราไม่ค่อยจะระลึกถึงกันอย่างรอบคอบว่า อะไรเป็นอย่างไร? และมีกี่อย่าง แม้แต่ตัวเราเองเราก็แทบจะไม่รู้จักว่าเราสามารถอย่างไร? บกพร่องทางไหน...เกิดความขี้ขลาดขึ้นมาก็ต้องหันไปเชื่อโชคชะตา ซึ่งยังจัดว่าเป็นความประมาทแล้วเราจะทำอะไรได้สำเร็จ นี่เรียกว่า เราขาดธรรมะข้อที่หนึ่งซึ่งเรียกว่า “สติโพชฌงค์”

ข้อสอง เราไม่รู้จักเลือก ไม่สามารถเลือก ว่าสิ่งใด วิชาใด งานใด อาชีพอะไร เหมาะแก่เรา เราจึงมีอาการเหมือนคนนอนฝันหรือละเมอเสียมากกว่า แม้ว่าเราเลือกได้ว่าสิ่งใดเหมาะสมแก่เราแล้ว เราก็ยังไม่รู้จักเลือกวิธีการ เลือกเวลาและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสมแก่สิ่งนั้นอีกด้วย เป็นเพราะเราขาดการใคร่ครวญอย่างละเอียดถี่ถ้วนในการเลือกเฟ้น “วินิจ – วิจัย” แยกธาตุนิสัยชีวิตจิตใจด้วยปัญญา เราเลยกลายเป็นผู้ทำผิดกาลเทศะ เดินไม่ถูกทิศทางไป นี่เรียกว่าขาดธรรมข้อที่สอง คือ “วิจัย – โพชฌงค์”

ข้อสาม เราขาดความขยัน ขาดความจริงใจ ขาดการบังคับตัวเอง ขาดความอดกลั้นอดทน ขาดความกล้าหาญกันเป็นส่วนมาก พวกเรามีข้อแก้ตัวกันต่าง ๆ นานา ซึ่งทุกคนมีเหตุผลของตัวเองทั้งสิ้น...หนัก ๆ เข้าก็กลายเป็นคนขี้เกียจและเอาเปรียบผู้อื่น ไม่ทำอะไรจริงจังเป็นชิ้นเป็นอันตามที่วางแนวหรือมุ่งหมายไว้ นี่เรียกว่าขาดธรรมข้อที่สาม คือ “วิริยะ – โพชฌงค์”

ข้อสี่ เราเป็นคนที่ไม่รู้จักพอใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ ไม่รู้สึกสนุกในการงานที่ทำ ไม่มีความอิ่มใจไปตามส่วนของงานที่ทำเสร็จไปทีละนิด ๆ (คือจิตสันโดษไม่เป็น) เรามักจะมีความทะเยอทะยานเกินตัว มีความหิวกระหายมากไป จนไม่ใยดีกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ รู้สึกแต่ว่าไม่ได้ผลอะไร...หรือไม่ทันอกทันใจเสียเลย...ความเพียร...ความอดทนของเราก็ท้อถอยหรือหมดกำลังใจ ไม่ทำอะไรได้ยั่งยืน รู้สึกเหมือนตกนรกในขณะที่ทำงานนั้น คือสร้างค่านิยมในชีวิตไว้สูงเกินฐานะตนไป และจังหวะชีวิตยังรับกันไม่ได้ในทันที นี่เรียกว่า ขาดธรรมข้อที่สี่ คือ “ปิติโพชฌงค์”

ข้อห้า งานแม้ชิ้นเดียว ก็ยังมีสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องมากมาย ที่เราจะต้องปรับปรุง “เหตุ-ปัจจัย” ให้มันเข้ารูปเข้ารอย และทั้งปรับปรุงตัวเราเองตลอดเวลาด้วย ธรรมทุกข้อที่กล่าวมาแล้วก็ต้องมีส่วนเข้ารูปลงรอยกันจริง ๆ ด้วย นอกจากจะต้องทำให้ครบถ้วนแล้ว ยังต้องคอยปรับปรุงให้มันประสานเข้ารูปเข้ารอยกันดีด้วย ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น เรียกว่ายังขาดธรรมข้อที่ห้า คือ “ปัจสิทธิโพชฌงค์”

ข้อหก เราขาดสมาธิ คือ จิตไม่สะอาด ไม่ตั้งมั่น ไม่ว่องไวในการงาน จิตใจเรากลัดกลุ้มเพราะความคิดที่ต่ำ ที่ชั่ว ไม่ทนทานต่อสิ่งยั่วยวน... และยังซึมเซาห่อเหี่ยวท้อแท้เสียเป็นส่วนใหญ่ ความแน่วแน่ใจหรือการระดมกำลังใจ ถึงที่สุดจุดหมายจึงไม่มี หรือจะมีก็ไม่พอ จงทำใจให้สะอาด ให้ตั้งมั่น ให้คล่องไวในการงาน มิฉะนั้นแล้ว งานล้มเหลวเพราะเราขาดธรรมข้อที่หก คือ “สมาธิโพชฌงค์”

ข้อเจ็ด แม้ว่าเราจะได้จัดทำสิ่งต่าง ๆ ถูกต้องครบถ้วนประสานกันดีแล้ว ก็มิใช่ว่างานนั้นจะส่งผลคลอดออกมาทันที เราจะต้องรอจนกว่าจะถึงเวลาที่แท้จริงของมัน (ข้อนี้สำคัญที่สุด...) คือคอยเหตุปัจจัยของมันถ้าถึงพร้อมธาตุเมื่อไรแล้ว ผลก็จะเกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ จงอดทนทำไปโดยตลอดอย่ายึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นตัวกู – ว่าเป็น – ของกู ให้มันมากจนเกินไปนัก จิตจะได้ว่างสงบจะมีปัญญาดี คือ “ทำต้องทำ...คิดต้องคิด...แต่อย่าเอามาบ้าเมาหลงใหลจนเกินไปนัก” นี่เรียกว่าเรามีธรรมข้อที่เจ็ดอยู่ในตัวพร้อมไปด้วยแล้ว คือ “อุเบกขาโพชฌงค์”

นี่แหละ! พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้พระราชทานดวงแก้ววิเศษไว้ให้พวกเรา 7 ดวง ผู้มองเห็นคุณค่าและผู้ที่รู้จักนำเอากรรมวิธี ... การแยกธาตุแท้ทางชีวิตจิตใจและการค้นหาปัจจัยเหตุผลของวัตถุ หรือการงานแบบอย่างนี้ ... ไปใช้ ก็จะได้แก้วสารพัดนึกอยู่กับเนื้อกับตัวตลอดไป ขอจบการบรรยายเพียงเท่านี้ ... สาธุ!

ท่านขุนนาง “โล้วไต้เม้ง” และที่ประชุม ได้เกิดความสว่างไสวในพุทธธรรมแนวนี้ และได้ปิติโพชฌงค์ซาบซึ้งในการฟังธรรมครั้งนี้เป็นอย่างสูง
ท่านภิกษุ ซิ้งทง. ตี้หุย และ ชอเจ็ง. ได้พักศึกษาธรรมอยู่อีกปีเศษ ก็หมดความสงสัย โลกุตรธรรม (สุญญตา) จึงได้ชักชวนท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ออกจาริกเผยแผ่ธรรมเดินทางไปยังวองมุย (อึ้งบ๊วย) เพื่อจะได้นมัสการปูชนียวัตถุของพระสังฆปริณายกทุก ๆ พระองค์ ที่ได้เก็บรักษาไว้ ณ วัดวองมุยกันต่อไป

ท่านขุนนาง “โล้วไต้เม้ง” พอได้ทราบข่าวว่า ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ จะออกจาริกเผยแผ่ธรรมไปยังวองมุย (อึ้งบ๊วย) ท่านจึงมาขออนุโมทนาในมหากุศลเจตนาครั้งนี้ด้วย ท่านได้กราบเรียนว่า กระผมอีกไม่กี่วันก็จะเดินทางกลับเมืองหลวงเหมือนกัน อายุสังขารของกระผมนี้ก็เริ่มเข้าสู่วัยชรามากแล้ว ต่อไปข้างหน้าคงจะไม่ได้มีบุญและโอกาส ได้ฟังธรรมของพระคุณเจ้าอีก ฉะนั้นกระผมขอกราบลาพระคุณเจ้า วันนี้เป็นครั้งสุดท้ายของชีวิต ขอให้พระคุณเจ้าจงเจริญในหน้าที่โพธิสัตว์ธรรมทานบารมี จงได้สมตามความมุ่งหมายไว้จงทุกประการด้วยเทอญ สาธุ!
การจาริกไปยังแดนต่างๆ ของภิกษุทั้ง 4 ท่าน ได้ถือคติพจน์เป็นอุดมคติในชีวิตประจำวันไว้ 12 ข้อ

1. ให้พิจารณาว่าของนี้ได้มาอย่างไร? เหมาะสมแก่หน้าที่หรือไม่?
2. เมื่อรับไว้แล้ว ความดีจะเสียไปหรือไม่?
3. ถ้ารับไว้ ความชั่วจะมาสู่ตัวหรือไม่?
4. ของนี้ ถ้าบริโภคแล้ว จะเกิดประโยชน์แก่ร่างกายหรือไม่?
5. เมื่อบริโภคแล้ว จะเกิดปัญญาหรือไม่?
6. อย่า – ได้สะสมเอามาเป็นสมบัติของส่วนตัว
7. อย่า – ได้เอามาผูกพันไว้ในจิตใจของตน
8. อย่า – ได้เอามาปรุงแต่งเพื่อประดับเกียรติยศของตน
9. อย่า – นิยมของคู่ (กฎทวินิยม) “จงนิยมแต่ความเป็นหนึ่งแต่อย่างเดียว”
10. สัญญา – ที่ผ่านมาให้ผ่านไปโดยเร็วที่สุด
11. จงสำรวจแต่ตัวเราเองก่อน อย่าไปเที่ยวค้นหาความผิดของผู้อื่น
12. จนแล้วอาย – ไม่ใช่เซ็น (ฌาน).

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48:

บทที่ 10

ภิกษุทั้ง 4 ท่านได้จาริกไปตามแดนต่าง ๆ ในระหว่างทางมีอุบาสกผู้หนึ่ง ชื่อ “ลี้ซ่งฮุ้น” มาถามปัญหาธรรมว่า ความหมายของคำว่า “พระโพธิสัตว์” นั้นมีอย่างไร?

ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ตอบว่า “พระโพธิสัตว์” นั้นพอสรุปสั้น ๆ ง่าย ๆ ก่อนมี 2 ประเภท คือ “อริยโพธิสัตว์” กับ “ปุถุชนโพธิสัตว์”

ประเภทแรก อริยโพธิสัตว์ เป็นบุคคลที่มี กาย วาจา ใจ และศีลวินัยบริสุทธิ์ เป็นพระอริยเจ้า เป็นเนื้อนาบุญของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลายโดยแท้จริง ท่านมี “มหาปณิธาน 4 ข้อ” เป็นอุดมคติทางใจสูงมาก คือ:–

1. สรรพสัตว์ทั้งหลาย อันไม่มีประมาณและจำกัด เราจะต้องช่วยแนะแนวชี้ทางให้เขาได้สติพ้นทุกข์กายใจ และจะต้องช่วยเขาปลดเปลื้องให้ข้ามถึงฝั่งนิพพานเป็นเป้าหมายอีกด้วย
2. กิเลสทั้งหลายอันไม่มีประมาณและจำกัด เราจะต้องละทิ้ง และพยายามทำลายให้หมดไปโดยเร็ว และยังปรารถนาที่จะให้สรรพสัตว์ทำลายกิเลสเหล่านั้นอีกด้วย
3. พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์อันลึกซึ้งกว้างขวางไพศาลนั้น เราจะต้องยินดีเริ่มเรียนรู้ และทำการปฏิบัติให้บรรลุถึงธรรมนั้นทั้งหมดอีกด้วย
4. พุทธภูมิอันสูงสุด เราจะต้องมีจิตมุ่งมั่นไม่ท้อถอย ต้องพากเพียรบรรลุถึงภูมิธรรมนั้นให้จนได้อีกด้วย (ไม่กลัว)

ส่วนประเภทหลัง “ปุถุชนโพธิสัตว์” นั้น คือฆราวาสผู้ครองเรือนหรือแบกโลกอยู่ก็ปฏิบัติได้เหมือนกัน (มีศีล 5) คือ ผู้ที่มีดวงจิตคิดปฏิรูปศีลธรรมความดีงามที่เสื่อมโทรมไปให้กลับดีขึ้น สนับสนุนการเผยแผ่พระศาสนาให้แพร่หลาย ไม่ทางตรงก็เอาทางอ้อมด้วยกายวาจาใจบริสุทธิ์ (หรือมีจิตเกิดคิดการช่วยนักบุญให้อยู่รอดได้ไม่ทางตรงก็เอาทางอ้อม) นี่แหละ! จิตเกิดแวบนั้นและทำแบบอย่างนั้น เรียกว่า


จิต “ปุถุชนโพธิสัตว์” มันต่างกันก็อยู่ที่ว่า “อริยโพธิสัตว์” นั้น อุปมาเหมือนดอกบัวปลูกลงไปในดินที่มีน้ำ

ส่วน “ปุถุชนโพธิสัตว์” นั้น อุปมาเหมือนกับปลูกดอกบัวลงไปในกองเพลิง

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48:

บทที่ 11

มี อุบาสิกา ชื่อ “เตียเพ็กฮุ้น” ท่านหนึ่ง ถามว่า “มีชาวพุทธทั่วไปทำบุญกุศลอะไรแล้ว มักจะตั้งจิตปรารถนาจะไปเกิดตามที่ตนต้องการนั้น มันจะเป็นไปได้ไหม?”

ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ตอบว่า “จิตเกิด – รูปธรรมทั้งหลายก็เกิด จิตดับ – รูปธรรมทั้งหลายก็ดับ” ท่านจงอย่าดูถูกว่า มีความคิดขึ้นมาเพียงแวบ! เท่านั้น นั่นแหละ! ในชาติใดชาติหนึ่ง ท่านก็จะได้ทำตามความคิดเพียงแวบ! เดียวเท่านั้นแน่นอน ฉะนั้นจงระวังความนึกคิดไว้ให้มาก ๆ จะคิดอะไรก็ขอให้มุ่งไปแต่ทางบุญทางกุศล ให้ปลอดภัยไว้ก่อนเป็นดี จงอย่า...จงอย่าประมาทความคิดที่เกิดขึ้นมาเพียงแวบเดียวเล่น ๆ เท่านั้น มันจะเป็น “เชื้ออนุสัย” ให้ฝังไว้คอยกาลเวลา ถ้าเหตุปัจจัยบารมีทั้งดีและทั้งชั่ว ถ้าถึงพร้อมขึ้นมาเมื่อไรแล้ว ธรรมชาติของมันจะดลใจระเบิดออกไป...มันจะก่อเหตุผลตามมโนกรรมนั้น ๆ ให้เจริญงอกงามใหญ่โตในอนาคตกาลก็ได้นา! แล้วจะเสียใจตรงที่จบกันไม่ลงนา! และแก้กรรมนั้นไม่ตกชำระบาปนั้นไม่ได้อีกด้วยนา! (มีอนุสัยจิตที่แก้ไม่ได้...)

จงดูเศษไฟ (หรือไม้ขีดไฟอันเดียว) นิดเดียว...ถ้าจุดไฟนั้นให้ถูกที่กันแล้ว ก็อาจจะเผาบ้าน พังทลายเมืองลงไปก็ได้นา!

ท่านพ่อเฒ่า ของฉัน ท่านได้เทศนาไว้ว่า “แสงสว่างแห่งประทีปดวงเดียว ถ้ายกเข้าไปในห้องที่มืด...ก็สามารถทำลายความมืด...ความบอดมาตั้งพันปีนั้นลงไปได้ ฉะนั้นประกายแห่งปัญญาย่อมจะสามารถทำลาย – อวิชชา – ความโง่เขลามาเป็นหมื่นปีได้เช่นกัน...”

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48:

บทที่ 12

มีเศรษฐีท่านหนึ่ง ชื่อ “ลิ้มเจี๊ยะช้ง” ได้มากราบเรียนถาม “ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ” ว่าผมได้กระทำความดีไว้มากมาย แต่ไม่ได้ดีสมใจหวังสักทีเลย? ฉะนั้นหลักธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ว่า “ทำดีได้ดี-ทำชั่วได้ชั่ว” นั้น ผมสงสัยว่าจะไม่เป็นความจริงเสียแล้วครับ? พระคุณเจ้า

ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ตอบว่า ถูกแล้ว! พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า “ทำดีได้ดี-ทำชั่วได้ชั่ว” นั้นไม่ผิดคือการทำดี “มันดีอยู่ในตัวแล้วขณะที่ทำ ...”

ส่วนการทำชั่วนั้น “มันชั่วอยู่ในตัวแล้วขณะที่ทำ ...”

อุปมาได้ดังท่านเศรษฐีได้ทำความดีไว้หนึ่งแสนชั่ง มันก็ดีเสร็จเรียบร้อยในตัวแล้วขณะที่ท่านทำ ที่นี้ถ้าท่านทำความชั่วไว้หนึ่งแสนชั่ง ท่านก็เป็นคนชั่วหนึ่งแสนชั่ง มันเป็นคนชั่วมาแล้วเสร็จอยู่ตัวโดยเรียบร้อยแล้ว เป็นอนุสัยจิตสืบภพชาติไปแล้ว

ท่านเศรษฐี “ลิ้มเจี๊ยะช้ง” พอฟังธรรมข้อนี้แล้วก็เกิดศรัทธาในพุทธธรรมเป็นอย่างมาก จึงได้เรียนถามต่อไปอีกว่า “ผมรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจมานานแล้ว เพราะชาวบ้านทั่วไปเขากล่าวหาว่าผมเป็นคนเห็นแก่ตัวไม่เคยทำบุญ ไม่มีเมตตาจิตต่อเพื่อนมนุษย์เลย เก็บค่าเช่านาค่าเช่าบ้าน ขูดเลือดขูดเนื้อคนยากคนจนเกินกว่าเหตุ ส่วนผมนั้นคิดว่าผมมีบ้าน มีนา ให้เขาเช่าแล้ว ก็เป็นการทำบุญและมีเมตตาจิตอยู่แล้ว การกระทำเช่นนี้ ยังมิใช่เป็นบุญอีกด้วยหรือ? ผมกลุ้มอกกลุ้มใจด้วยการถูกชาวบ้านเขากล่าวหา ซึ่งไม่เป็นความยุติธรรมเป็นอย่างนี้ครับ! พระคุณเจ้า”

ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ตอบว่า “เดี๋ยวก่อน! ท่านเศรษฐีท่านเคยสละเงินทองทำบุญสร้างถนนหนทาง ขุดบ่อน้ำ เก็บศพไม่มีญาติ สร้างวัด เอาข้าวที่ได้มาจากการเก็บค่าเช่านา ออกแจกเป็นทานในยามที่บ้านเมืองเกิดทุพภิกขภัยบ้างหรือเปล่า?”

ท่านเศรษฐีตอบว่า “เปล่า! ไม่เคยเลย...ครับ!”

ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ พูดว่า “ขอให้ท่านเศรษฐี จงสนใจพิจารณาคำพูดดังที่ชาวบ้านเขากล่าวหานั้นดูบ้าง เผื่อจะเป็นคุณมหาประโยชน์ในภพหน้า ๆ ของท่านสืบไปอย่างมหาศาล สาธุ!”

ท่านเศรษฐีจะมีนาสัก 10,000 (หนึ่งหมื่น) ไร่ ท่านก็กินข้าววันละสามมื้อ

มีบ้านสัก 1,000 (หนึ่งพัน) หลัง กลางคืนท่านก็นอนเตียงยาวเพียงแค่ 8 ศอก ที่หลุมฝังศพท่านนั้น จะบรรจุได้ก็เพียงแต่ซากศพที่เน่าเปื่อยอันไม่จีรังยั่งยืนอะไรเลย! อันเป็นที่สุดของมนุษย์ทุกรูปทุกนามนั้น จะหนีไปไม่พ้น คือ “พึ่ง-พบ-เพียร-พัก-พลาด” 5 คำนี้ ขอให้ท่านเศรษฐีจงนำเอาไปคิดตรองดูอีกทีเถิด? ว่ามีความจริงบ้างไหม?

ท่านเศรษฐีแห่งแขวงมณฑลโอ้วปัก พอได้ฟังจบลงแล้วก็เกิดความสว่างไสวในพุทธธรรมขึ้นมาทันที หลังจากนี้ท่านได้เป็นผู้สนับสนุนการเผยแพร่ “นิกายเซ็น (ฌาน)” ให้แพร่หลายไปอีกมากมาย

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48:

บทที่ 13

จากนี้ ท่านภิกษุทั้ง 4 ท่านก็จาริกต่อไป ได้มาถึงที่ “วัดกัมจุ้ยยี่” ท่านเจ้าอาวาสเห็นว่าเป็นพระเซ็นฝ่ายวิปัสสนาธุระมาจากโซกาย ท่านจึงต้อนรับเป็นอย่างดี แล้วพูดขึ้นว่า “ในห้องกุฏินี้มันร้อนอบอ้าว! ขอนิมนต์ท่านออกไปสนทนากันข้างนอกเถิด! อากาศเย็นสบายดีกว่านี้”

ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ตอบไปว่า “อากาศนั้นมันยังไม่ร้อนเท่ากับสิ่งที่สิงเกาะอยู่ในจิตใจของท่านเจ้าอาวาส”

ท่านเจ้าอาวาส สะอึก! นิ่ง...มองหน้า ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ แล้วตอบว่า ถูกแล้ว! ถูกแล้ว! ท่านทำให้ฉันสว่างขึ้นมาก! ทุกวันนี้ ฉันปวดหัวในเรื่องการเป็นเจ้าอาวาสปกครองภิกษุสามเณรเป็นจำนวนมาก ๆ ไม่มีวันที่จะสงบจิตใจได้เลย ฉันก็คิดว่ากระทำไปโดยดีตามวิสัยของสมณะทุกอย่างแล้ว แต่ก็ไม่เว้นที่จะถูกชาวบ้านเขาครหาไปต่าง ๆ นานา บางวันต้องหลบหนีขึ้นไปหามุมสงบอยู่บนยอดเขา วันนี้ได้พบท่านนับว่าเป็นโชคดี ขอให้ท่านช่วยกรุณาแนะแนวทางแก้ปัญหาที่มันเกาะสิงอยู่ในจิตใจฉันด้วยทีเถิด!

ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ พูดว่า ขอให้ท่านจงตั้งใจฟังโศลกของฉันสืบไว้ให้ดี:–


“มนุษย์มีปาก ย่อมพูด คนมีหู ย่อมฟัง
สองมือจะปิดหูปิดตาคนทั้งเมือง ย่อมไม่มิด
คนโง่มัวหลบหลีกปรากฏการณ์ต่างๆ
ไม่หลบหลีกจากความคิดปรุงแต่ง
ส่วนคนฉลาดย่อมหลบหลีกความคิดปรุงแต่ง
และไม่จำเป็นต้องหลบหลีกปรากฏการณ์.”

พอได้ฟังโศลกจบลงแล้ว ท่านเจ้าอาวาสก็เกิดความสว่างไสวในพุทธธรรมขึ้นมาทันที จึงเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในคำสอนตามแบบนิกายเซ็น (ฌาน) ง่าย ๆ เป็นอย่างยิ่ง ได้เรียกประชุมสานุศิษย์หมดทั้งวัด แล้วก็ได้อาราธนาท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำแสดงธรรมในที่ประชุมสงฆ์

ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ได้แสดงธรรมในที่ประชุมดังต่อไปนี้ ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย วันนี้เราได้มาร่วมสนทนาธรรมพร้อม ๆ กัน ณ ที่นี้ เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นมิได้ง่าย ๆ นัก มันต้องอาศัยบุญบารมีเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ปรุงแต่งกันได้ส่วนดีแล้ว พวกเราจึงจะมานั่งอยู่ในสถานที่เช่นนี้ได้ ขอให้ท่านทั้งหลายลองคิดดูทีว่ามนุษย์อีกเป็นจำนวนมากมายในโลกนี้ บางคนต้องทำมาหาเลี้ยงชีพและแบกโลก...บางคนไม่เคยบวชและไม่เคยได้ฟังธรรมกันเลย ถึงแม้จะมีบางท่านอยากจะบวชอยากจะได้ฟังธรรม แต่โอกาสมิอำนวยให้เสียเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นเราเกิดมาในชาติหนึ่ง ๆ นี้ ถ้าได้มีโอกาสฟังธรรมบ้างแล้ว ก็นับว่าเป็นโชคดีอย่างมหาศาล มันจะส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงทิศทางของสังสารวัฏเราทีเดียว ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังธรรมที่ฉันจะกล่าวต่อไปนี้:–

เพื่อนผู้ร่วมการ เกิด แก เจ็บ ตาย ทั้งหลาย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า จิตเดิมแท้ของมนุษย์นั้น เป็นพุทธะ มีลักษณะเหมือนความว่าง แต่ความว่างก็มิใช่ธรรมะ ธรรมะก็มิใช่ความว่าง ทุกๆ คนที่เกิดมาในโลกนี้มีธาตุของความเป็น “พุทธะ” อยู่ในตัวมาแล้วโดยสมบูรณ์มิได้ยิ่งหย่อนกว่ากันเลยแม้แต่น้อย...แต่ทำไมแม้เราจะพยายามอยู่สักเท่าไรๆ ก็ไม่ได้บรรลุความเป็น “พุทธะบุคคลสักทีด้วยเล่า?” ข้อนี้เพราะว่าพวกเราเกิด ๆ ตาย ๆ แต่ละคนมีสังสารวัฏอันยืดยาวมาจนไม่สามารถที่จะคำนวณได้ว่า เราเกิดมาแล้วกี่ครั้ง...ตายมาแล้วกี่หน...ทีนี้เราเกิดมาแต่ละชาติค่อย ๆ พัฒนาชีวิตและสร้างสม “กิเลส – ตัณหา – อุปาทาน” ไว้แต่ละชาติ ๆ จนพอกพูนเคลือบหนาขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีวันที่จะสลัดให้หลุดเบาบางไปได้สักชาติหนึ่งเลย ฉะนั้นในเมื่อ “กิเลส – ตัณหา – อุปาทาน” มีแต่จะเคลือบให้หนาขึ้นทุก ๆ วัน แล้วเราจะบรรลุความเป็นพุทธะได้อย่างไรกัน? เพราะคำว่า “พุทธะ” นั้น แปลว่า “หมดกิเลส – หมดตัณหา – หมดอุปาทาน” นี่มันอยู่ตรงจุดนี้เอง

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย คงจะพอรู้แล้วว่า ความเป็นมาแต่ดั้งเดิมนั้นเป็นเช่นไร? ทีนี้ถ้าเราหวนกลับไปพูดกันว่า ถ้าเราจะต้องการความเป็นพุทธะโดยฉับพลันแล้ว เราจะต้องพยายามหาวิธีทำลายสิ่งที่มันเคลือบบดบังความเป็นพุทธะนั้นออกเสีย โดยฉับพลันเช่นกัน ถ้าเราทำลายได้น้อยก็เป็นพุทธะน้อย ถ้าเราทำลายมันได้มากก็เป็นพุทธะมาก ถ้าเราสลัดทิ้งได้หมดก็เป็นพุทธะที่สมบูรณ์ตรงนี้เอง มิใช่อยู่ที่พระคัมภีร์ พระคัมภีร์นั้นมีไว้เพื่อเป็นประโยชน์เหมือนแผนที่ สำหรับบอกทิศทางให้เราเดินสะดวกง่ายขึ้นหน่อยเท่านั้นเอง ที่จริงแล้วทางสำหรับให้เราเป็นพุทธะนั้นมีติดตัวมาแล้วตั้งแต่เกิด แต่พวกเรามองข้ามไปเสียหมด ไม่สนใจกันเองต่างหาก! จึงต้องเที่ยวไปค้นหาพุทธะกันทั่วเมือง แท้ที่จริงมันอยู่แค่จมูกของเราทุก ๆ คน มันติดตามเรามาทุกชาติทุกภพแล้ว “พุทธะ” มีให้เราฟรีๆ อยู่แล้ว โดยมิต้องลงทุนเลย ตรงกันข้ามกับสวรรค์...ท่านจะต้องลงทุนทำบุญจึงจะได้ไปเกิด...ส่วนนรกนั้นเล่า? ท่านก็จะต้องลงทุนทำบาป...ท่านจึงจะได้ไปตกนรก...แต่ทางพุทธะนั้นมีให้เปล่า ๆ มิต้องลงทุนกันมากมาย เหมือนกับสวรรค์และนรกเลย!

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ขอให้ท่านคิดตรองดูทีว่า จริงหรือไม่? มันอยู่ที่พวกเราไม่เอากันเองต่างหากมิใช่หรือ? แล้วยังซ้ำร้ายยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก มีบางคนที่โง่เขลาเที่ยวไปโจษจันว่า “พุทธะ” นั้น ไม่มีทางจะไปได้เลย! คนพวกนี้ตัวเองตกอยู่ในหลุมของอวิชชา แล้วยังจะดึงให้เพื่อนมนุษย์ทั้งหลายหลงติดตามลงไปอีกด้วย ซึ่งพวกเขานี้มิได้ให้ความยุติธรรมแก่ทางเป็นพุทธะ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้บอกทางนั้นไว้เลย กรรม!

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย มีคฤหัสถ์และบรรพชิตเป็นจำนวนมากที่สวดออกนามพระอมิตาภะ และตั้งอธิษฐานจิตขอให้ได้ไปเกิดในดินแดนบริสุทธิ์คือสวรรค์สุขาวดี ทางทิศตะวันตก (ไซทีเก็กลักซี่ก่าย) ท่านทั้งหลายถ้าท่านพบดินแดนบริสุทธิ์ในตัวเองเสียแต่ชาตินี้ให้ทันตาเห็นแล้ว มันก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรอคอยไปจนถึงชาติหน้า ๆ ให้เสียเวลาในการคอย...เสียเวลาการเดินทางไปโดยไร้ประโยชน์ เมืองสุขาวดีนั้นมันยังอยู่ห่างไกลมาก...เมืองสวรรค์ที่อยู่ใกล้ ๆ ท่านนั้นก็มี...ฉันจะยกมาวางไว้ให้ท่านทั้งหลายเห็น...ถ้าท่านอยากจะอยู่ก็จงรับไว้และปฏิบัติตามไปเถิด! ถ้าไม่ท้อถอยแล้วอนาคตสู่อริยภูมิแน่นอนแล...สาธุ!

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย “อริยครู” ของฉันได้สอนไว้ว่า กายเนื้อของเราเปรียบได้เหมือนเป็นนครแห่งหนึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น ของเราเป็นเหมือนประตูเมือง ประตูนอกมี 4 ประตู ในมี 1 ประตู ได้แก่อำนาจปรุงแต่งหรืออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ใจนั้นเป็นแผ่นดิน นิสัยนั้นเป็นเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าแผ่นดินได้อาศัยอยู่ในมณฑลแห่งใจ ถ้านิสัยยังอยู่ เจ้าแผ่นดินก็ยังอยู่ ถ้านิสัยออกไปเสียแล้ว เจ้าแผ่นดินก็ไม่มี ถ้านิสัยยังอยู่กายและใจก็ชื่อว่ายังเหลืออยู่ ถ้านิสัยออกไปเสียแล้ว กายและใจก็จะบุบสลายพังทลายไป พุทธะนั้นเราจะปฏิบัติให้บรรลุถึงได้ภายในนิสัยของเรา ไม่ต้องมัวไปเสาะแสวงหาพุทธะในที่อื่น ๆ ถ้าธรรมชาติแห่งนิสัยของเรายังมีความหลงงมงายอยู่แล้ว นั่นคือสรรพสัตว์ ถ้าเราตรัสรู้ธรรมชาติแห่งนิสัยของเราแล้ว นั่นคือพุทธะ!

1. ความเป็นคนมีเมตตากรุณาจิต เป็นอวโลกิเตศวร (คือพระกวนอีมซึ่งเป็นพระมหาโพธิสัตว์องค์หนึ่งในจำนวนสององค์ ในดินแดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตก)
2. การมีมุทิตา – อุเบกขา คือพระมหาสถามะปราปต์มหาโพธิสัตว์ (คือไต้ซีจี่ไต้พู่สัก. เป็นพระมหาโพธิสัตว์อีกองค์หนึ่งซึ่งคู่กัน ในไซทีเก็กลักซี่ก่าย)
3. มีปัญญาความสามารถที่ทำให้ชีวิตบริสุทธิ์ คือองค์พระศากยมุนี (พระนามอีกพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้)
4. มีความสม่ำเสมอคงที่และความตรงแน่ว คือพระอมิตาภะ (หรืออมิตาพุทธ หรือออนีท่อฮุก)

มีความคิดเรื่องอัตตาตัวตน...หรือเรื่องความมีความเป็นต่าง ๆ คือภูเขาพระสุเมรุ. ใจชั่วได้แก่น้ำในมหาสมุทร. กิเลสคือระลอกคลื่น. ใจที่เคียดแค้นคิดทำลายคือมังกรร้ายอันมีพิษ. ความเท็จมายาการ คือผีห่า. อารมณ์ภายนอกอันน่าเวียนหัวคือปลา ตะพาบน้ำ หรือสัตว์น้ำต่าง ๆ. ความโลภและความโกรธคือ โลกันตนรก. โมหะ หรือความหลงมัวเมา คือสัตว์เดรัจฉานทั่วไป.

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ถ้าท่านประพฤติตามกุศลกรรมบถ 10 ประการอย่างมั่นคง แดนสุขาวดีก็จะปรากฏแก่ท่านในทันที เมื่อใดท่านขจัดความเห็นว่าตัวตน...และความเห็นว่าเป็นนั่น....เป็นนี่...ออกไปเสียจากจิตใจได้ ภูเขาพระสุเมรุก็จะหักคะมำพังทลายลงมา เมื่อใดจิตใจไม่ย้อมด้วยความชั่วอีกต่อไป เมื่อนั้นน้ำในมหาสมุทร (แห่งสังสาระ) ก็เหือดแห้งไปสิ้น เมื่อท่านเป็นอิสระอยู่เหนือกิเลสฯ เมื่อนั้นลูกคลื่นและระลอกทั้งหลายก็สงบลง เมื่อใดความชั่วร้ายไม่กล้าเผชิญหน้าท่าน เมื่อนั้นปลาร้ายและมังกรร้ายต่าง ๆ ก็ตายสิ้น

ภายในมณฑลแห่งจิตนั้น มีองค์ตถาคตแห่งนิสัยความตรัสรู้ ซึ่งส่องแสงอันแรงกล้าออกมาทำความสว่างที่ประตูภายนอกและในทั้ง 5 ประตู และควบคุมมันให้บริสุทธิ์ แสงนี้แรงมากพอที่จะทะลุผ่านสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง 6 และเมื่อมันย้อนฉายกลับเข้าภายในไปยังนิสัยเดิมแท้ มันจะขับธาตุอันเป็นพิษทั้ง 3 อย่างให้หมดไป และชำระล้างบาป สลายตัวการก่อเวรกรรมชนิดที่จะทำให้ตกนรก หรืออบายภูมิอย่างอื่น ๆ แล้วจะทำความสว่างไสวให้เกิดแก่เราทั้งภายในและภายนอก จนกระทั่งเราไม่มีอะไรแตกต่างจากพวกที่เกิดในแดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตกนั้น ถ้าหากว่าเราไม่ฝึกหัดตัวเราเองให้สูงถึงขนาดนี้แล้ว เราจะบรรลุถึงแดนบริสุทธิ์นั้นได้อย่างไรกัน?

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ผู้ใดอยากจะทำการปฏิบัติ (ทางจิต) จะทำที่บ้านก็ได้ ไม่มีความจำเป็นสำหรับคนเหล่านั้นที่จะต้องอยู่ในสังฆาราม พวกที่ปฏิบัติตนอยู่กับบ้านนั้นอาจจะเปรียบกันได้กับชาวบ้านทางทิศตะวันออก “ที่ใจบุญ...” พวกที่อยู่ในสังฆารามแต่ละเลยต่อการปฏิบัตินั้น ไม่แตกต่างอะไรกันกับชาวบ้านที่อยู่ทางทิศตะวันตก “แต่ใจบาป...” จิตบริสุทธิ์ได้เพียงใดมันก็เป็น “แดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตก กล่าวคือ จิตเดิมแท้ของบุคคลนั่นเอง” เพียงนั้น

เมื่อได้ฟังธรรมเทศนาจบลงแล้ว ผู้ที่ได้มาร่วมประชุมเป็นจำนวนมากเกิดความสว่างไสวรู้แจ้งทางจิตใจปิติซาบซึ้งในธรรมนี้มากมาย สาธุ! พุทธอยู่ในดวงจิตของทุก ๆ คนแล้ว

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร