วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 23:07
โพสต์: 21

แนวปฏิบัติ: เจริญสติภาวนา
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: การที่จิตไปรู้อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ่น(แล้วรู้)แสดงว่าเรากำลังเจริญสติใช้หรือเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 20:24
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่ ถ้ารู้โดยไม่จงใจรู้ค่ะ

ขอเพิ่มเติมคำสอนของครูบาอาจารย์ค่ะ

วิธีสังเกตว่าเรารู้สึกตัวได้ถูกต้องหรือไม่ ดังนี้
1. ความรู้สึกตัวนั้นเกิดขึ้นเอง หรือเกิดจากความจงใจพยายามจะรู้สึกตัว
หากสติเกิดไปตามรู้ทันรูปนามเข้าเองก็ใช้ได้
เช่น กำลังเผลอคิดเรื่องหนึ่งอยู่ แล้วเกิดสติระลึกขึ้นได้ว่า อ้าว เผลอไปแล้ว
หรือกำลังโกรธอยู่ แล้วระลึกได้ว่า อ้าว โกรธไปแล้ว
อย่างนี้มักจะเกิดความรู้สึกตัวที่แท้จริง

แต่ถ้ากายเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ จิตเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ
จู่ๆก็นึกขึ้นได้ว่าจะต้องปฏิบัติธรรม แล้วเกิดความสงสัยว่ากายหรือจิตกำลังเป็นอย่างไร
เกิดอาการจงใจไปรู้กายหรือรู้จิต อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้
ต้องให้สติเกิดเองเพราะจิตจำสภาวะของรูปนามได้ จึงจะเกิดความรู้สึกตัวที่แท้จริง

2. ขณะที่คิดว่ารู้สึกตัวนั้นจิตเป็นกุศลหรืออกุศล
ถ้าจิตเป็นกุศล แสดงว่ามีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นจริง
จิตที่เป็นกุศลจะมีความเบา อ่อนโยน ปราศจากกิเลสและนิวรณ์ คล่องแคล่ว
และรู้อารมณ์อย่างซื่อตรงโดยไม่เข้าไปแทรกแซง

แต่ถ้าในขณะนั้นจิตเป็นอกุศลมีอาการหนัก แน่น แข็ง มีกิเลสและนิวรณ์ซึมทื่อ
หรือพยายามเข้าไปแทรกแซงจิตและอารมณ์ อย่างนี้แสดงว่าไม่ได้เกิดความรู้สึกตัวที่แท้จริง

เราเกิดปัญญาเพราะเห็นความเป็นจริงของรูปนาม ไม่ใช่เพราะคิดถึงรูปนาม
ถ้าจะเจริญวิปัสสนาต้องรู้อารมณ์ปรมัตถ์คือรูปนาม
ส่วนเรื่องบัญญัตินั้นไม่สำคัญหรอก
ดูสิ่งใดไม่สำคัญ-สำคัญที่รู้ว่าดู ฟังสิ่งใดไม่สำคัญ-สำคัญที่รู้ว่าฟัง
คิดเรื่องอะไรไม่สำคัญ-สำคัญที่รู้ว่าจิตมีอาการคิด
แสวงหาอะไรไม่สำคัญ-สำคัญที่รู้ว่าจิตมีอาการแสวงหา
เพ่งอะไรไม่สำคัญ-สำคัญที่รู้ว่าจิตมีอาการเพ่ง
สุข/ทุกข์เรื่องอะไรไม่สำคัญ-สำคัญที่รู้ว่าสุข/ทุกข์
รักอะไรไม่สำคัญ-สำคัญที่รู้ว่าจิตมีอาการรัก
โกรธอะไรไม่สำคัญ-สำคัญที่รู้ว่าจิตมีอาการโกรธ
ฟุ้งซ่านเรื่องอะไรไม่สำคัญ-สำคัญที่รู้ว่าจิตมีอาการฟุ้งซ่าน
และหดหู่ด้วยเรื่องอะไรไม่สำคัญ-สำคัญที่รู้ว่าจิตมีอาการหดหู่

ศึกษาการเจริญสติเพิ่มเติมที่
http://www.dhammada.net/2010/06/04/2442/
http://www.wimutti.net/

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


บทความนี้ แสดงโดย ท่านพุทธทาสภิกขุ :b8:

ชาวพุทธในยุคปัจจุบันหลายๆท่านอาจจะยังไม่เคยอ่าน

ท่านแสดง จิตตานุปัสสนา ในแง่มุม ที่เป็นทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา



จาก หนังสือ โพธิปักขิยธรรม

".........เรื่องแรก คือ เรื่อง กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เอากายมาเป็นอารมณ์ เป็นวัตถุสำหรับตั้งสติ;-
ในที่นี้เราจะเอากายตามความหมายธรรมดา คือเนื้อหนังร่างกายนี้ ; เอาเนื่องหนังร่างกายมากำหนด
....ๆลๆ...
.........................

คำว่า กายนี้ ยังหมายถึงลมหายใจด้วย เพราะว่า ลมหายใจ นั้นเนื่องอยู่กับกาย แล้วปรุงแต่งกาย หรือ เป็นตัวชีวิตนั่นเอง. พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่ากายเป็นชื่อๆหนึ่งของลมหายใจ ลมหายใจนี้มันปรุงแต่งกาย กายขาดเครื่องปรุงแต่งเมื่อไรก็สลายเมื่อนั้น . .ดังนั้น ลมหายใจจึงถูกเรียกว่ากายด้วย.

ตั้งสติอย่างที่๑ คือ ถ้าเอากายลมหายใจมากำหนด เหมือนกำหนดอานาปานสติขั้นแรกๆ : หายใจยาวรู้ว่าหายใจยาว หายใจสั้นรู้ว่าหายใจสั้น. กำหนดกายเพียงเท่านี้ อย่างนี้ เป็น สมถะ มีผลทำให้หยุดความฟุ้งซ่านกระวนกระวาย แม้จะทำไปได้มากจนถึงเป็นฌาน เป็นสมาบัติสูงสุด มันก็อยู่แค่สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญ ไม่เป็นทุกข์ แต่ยังไม่หายโง่. นี่กำหนดที่ร่างกายนี้ก็ดี กำหนดที่ลมหายใจก็ดี เพียงประโยชน์แค่ความสงบ หยุดฟุ้งซ่าน นี้อย่างหนึ่ง เรียกว่าตั้งสติไว้อย่างสมถะ.

อย่างที่สอง ตั้งสติอย่างวิปัสสนา หรือ ปัญญา .ตอนนี้เมื่อใจคอปกติดีแล้ว ก็พิจารณากายว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา .ลมหายใจนั้นก็ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา .ชาวบ้านเรียกว่า ยกพระไตรลักษณ์เข้ามาจับ หรือว่า ยกอารมณ์ขึ้นไปสู่พระไตรลักษณ์ก็ได้เหมือนกัน .ยกพระไตรลักษณ์มาใส่ หรือ ว่ายกอารมณ์นี้ไปหาพระไตรลักษณ์ก็เหมือนกัน .ให้มาพบกับพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็แล้วกัน.ถ้าเพ่งอย่างนี้ เพ่งกายนั่นละ แต่เพ่งอย่างนี้เรียกว่า ตั้งสติอย่างปัญญา หรืออย่าง วิปัสสนา.

เรื่อง “ความเพ่ง “ นี้ ก็ได้พูดให้ฟัง กันมาหลายครั้งหลายหนแล้ว .คำว่า เพ่ง คือ ฌานะ แปลว่าเพ่ง. ฌาน นี้แปลว่าเพ่ง . ถ้าเพ่งอย่างกำหนดอารมณ์ก็เป็นสมถะ ถ้าเพ่งลักษณะให้รู้ความจริงก็เป็นปัญญาหรือวิปัสสนา มันมีอยู่สองเพ่ง. คำว่าเพ่งใช้สับสนปนเปกันไปหมดจนลำบาก พวกที่แปลเป็นภาษาฝรั่งก็ใช้ผิดๆ จนฝรั่งอ่านไม่รู้เรื่อง หรือ ไม่ได้เรื่องที่แท้จริง มันปนกันหมดระหว่างคำว่า meditate concentrate speculate อะไรนี้ ปนกันยุ่งไปหมด

ถ้าจะเอาเป็นหลักเป็นเกฌฑ์ meditate นี้เป็นเพ่งเฉยๆ เพ่งอย่างไรก็ได้ . ถ้า meditate ลงไปในวัตถุนั้นก็เป็น concentrate คือ รวบรวมจิต กระแสจิตทั้งหมดมาจดจ่ออยู่ที่สิ่งนี้สิ่งเดียวเป็น concentrate . ถ้าเพ่งรายละเอียด หาข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็กลายเป็น speculate ก็รู้ข้อเท็จจริงอันละเอียดลึกซึ้งออกไป .เดี๋ยวนี้เอาคำว่า concentrate กับ meditate มาใช้ปนกันยุ่ง ในหนังสือที่เขียนเป็นภาษาต่างประเทศมันก็ลำบาก . แม้แต่ในภาษาไทยนี้ก็ยังลำบาก.

ต้องไปหาหลักที่ถูกต้องและแน่นอนว่า
คำว่า ฌานะ แปลว่า เพ่ง .
ถ้าเพ่งอารมณ์ก็เพ่งให้จิตหยุดอยู่ที่นั่น แล้วเป็นสมถะ.
ถ้าเพ่งหาความจริงอย่างลึกซึ้งก็เป็นปัญญา หรือ เป็นวิปัสสนา.

***คำว่า สติปัฏฐาน คำเดียวนี้ มีความหมายสองอย่าง แยกไปในทางสมถะก็ได้ แยกไปในทางวิปัสสนาก็ได้***

เหมือนอย่างที่พูดแล้ว สำหรับกายว่าเป็นอย่างไร . เพ่งให้จิตหยุดอยู่ที่นั่น คือ เพ่งกายให้จิตหยุดอยู่ที่นั่นก็เป็นสมถะ .เพ่งกาย ให้รู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปัญญา.



เรื่องที่สอง เวทนานุปัสสสนาสติปัฏฐาน เอาเวทนามาเพ่งเป็นอารมณ์ ;-
.....ๆลๆ......
......................



เรื่องที่สาม คือ จิต : กำหนดลักษณะจิตเป็นอย่างไร กำลังเป็นอยู่อย่างไร กำลังโกรธ หรือกำลังรัก หรือกำลังอะไรก็ตาม : อย่างนี้มันเป็นสมถะ เอาจิตเป็นอารมณ์ พอกำหนดจิตอีกอันหนึ่ง คือเพ่งเข้าไปที่นั้นเป็นสมถะ

ทีนี้ก็ดูต่อไป ***ดูจิต*** เพ่งต่อไปถึงว่าจิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา

พิจารณาจิตก็มี ๒ อย่าง
เพียงรู้ว่าจิตเป็นอย่างไรกำหนดเท่านี้ก็เป็นสมถะ กำหนดเพียงภาวะว่าจิตของเรากำลังเป็นอย่างไรเท่านั้นเป็นสมถะ
ถ้าว่ากำหนดข้อเท็จจริงของมันเป็นอย่างไร ที่มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างไร นี่เรียกว่าปัญญาเป็นวิปัสสนา

ๆลๆ......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


การเริ่มฝึกเจริญสติ นั้น .... ถ้าไม่ใช่ ขิปปาภิญญา เช่น ท่านพาหิยะ หรือ ท่านสันตติมหาอำมาตย์ แล้ว การจงใจ(พจนานุกรม ตรงกับ ตั้งใจ ด้วย)ที่จะรู้ในเบื้องต้น ก็ เป็นสิ่งที่จำเป็น ....เรียกว่า เป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐาน(basic requirement) เลยทีเดียว.

ส่วน สติอัตโนมัติ(สตินทรีย์ สติวินโย) นั้น เป็น ขั้นตอนที่พัฒนาไปแล้ว (advanced step) ต่อจาก ขั้นตอน การจงใจ(ตั้งใจ)รู้ นี้ละครับ....




ดังนั้น ไม่ต้องไปกังวล หรือ มัวพะวง ว่า

จะต้องไม่จงใจ(ตั้งใจ) ที่จะรู้น่ะ!....

ต้องหมายเอาระดับอัตโนมัติเลยทีเดียว....

อาจจะเข้าลักษณะ "ตั้งหน้าตั้งตา ที่จะไม่ตั้งใจ" หรือ "ชิงสุกก่อนห่าม"





เสนออ่าน โอวาทธรรม ของ พระสุปฏิปันโน ที่กล่าวเรื่อง สติในขั้นฝึกฝน และ สติอัตโนมัติเอาไว้



โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย


อุบายที่จะทำให้ตัณหาดับนั้นคือทำอย่างไร

ทำสติอย่างเดียว

สิ่งใดเกิดขึ้นทางตาทำสติรู้ ถ้าจิตเกิดความยินดียินร้าย พิจารณาหามูลเหตุว่าทำไมจึงยินดียินร้าย
เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ก็เหมือนกัน ในเมื่อสัมผัสเข้าแล้วเกิดความพอใจ ไม่พอใจ มาทำสติพิจารณาสิ่งนั้น

แม้ว่าเราจะไม่รู้จริงเห็นจริง แต่เราเอาสิ่งนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ โดยธรรมชาติของจิตแล้ว ถ้าหากว่ามีสิ่งรู้แล้วมีสติระลึกอยู่กับสิ่งนั้น ในเมื่อตั้งใจ สนใจ เอาใจใส่ จดจ้องดูอยู่ตลอดเวลา เป็นการปฏิบัติคือการทำสมาธิ เป็นการเจริญสมถวิปัสสนาไปในตัว

เพราะสิ่งใดที่เราดูด้วยความมีสติสัมปชัญญะ ย่อมเป็นอุบายให้จิตสงบเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมมีปีติ มีความสุข และมีเอกัคคตา เช่นเดียวกับการภาวนาอย่างอื่น

จุดหมายของการภาวนา คือ การสร้างพลังสติสัมปชัญญะ

เพราะฉะนั้น จุดมุ่งหมายของการเจริญสมถวิปัสสนา ที่แน่ๆ ที่สุด อยู่ตรงที่ฝึกฝนอบรมให้มีสติสัมปชัญญะมีพลังเข็มแข็ง ซึ่ง เรียกว่า สติพละ

สติพละสามารถที่จะประคับประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติเมื่อประสบกับอารมณ์ต่างๆ สตินทรีย์ เมื่อสติพละเพิ่มกำลังขึ้นกลายเป็นสตินทรีย์ เป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวงสามารถที่จะปฏิวัติตนไปสู่การค้นคว้าพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งนั้นๆ จนกระทั่งรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎแห่งความเป็นจริง

เมื่อสตินทรีย์มีพลังแก่กล้าขึ้น จะกลายเป็น สติวินโย คือมีสติเป็นผู้นำ กระชับแน่นอยู่ที่ดวงจิตของผู้ปฏิบัติไม่พรากจากกันตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด หลับ และตื่น สายสัมพันธ์แห่งสติสัมปชัญญะตัวนี้จะต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย



........................................................



อ้างคำพูด:
อุบายที่จะทำให้ตัณหาดับนั้นคือทำอย่างไร

ทำสติอย่างเดียว



คำว่า ทำสติ ที่หลวงพ่อพุธ ท่านใช้ ก็ตรงกับคำว่า เจริญสติ นั้นเองครับ...ดังนั้น สติทำได้

อ้างคำพูด:
พจนานุกรม

เจริญ [จะเริน] ก. เติบโต, งอกงาม, ทําให้งอกงาม,


ไม่ว่าจะใช้คำว่า เจริญ หรือ ทำ ก็ไม่ถือว่าผิดอะไร

สติ ที่ถึงแม้นจะเป็นอนัตตา ก็ฝึก หรือ ทำให้เจริญขึ้นได้.... การ ฝึก หรือ ทำให้เจริญขึ้นนี้ ไม่ใช่เป็นการบังคับให้สติที่เป็นอนัตตาบังเกิดขึ้นหรอกครับ



นอกจากนี้ ในขั้นการฝึกฝนอบรมเจริญสตินี้ ก็ สามารถ ตั้งใจ และ จดจ้องดูอยู่ ได้ด้วย

อ้างคำพูด:
แม้ว่าเราจะไม่รู้จริงเห็นจริง แต่เราเอาสิ่งนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ โดยธรรมชาติของจิตแล้ว ถ้าหากว่ามีสิ่งรู้แล้วมีสติระลึกอยู่กับสิ่งนั้น ในเมื่อตั้งใจ สนใจ เอาใจใส่ จดจ้องดูอยู่ตลอดเวลา เป็นการปฏิบัติคือการทำสมาธิ เป็นการเจริญสมถวิปัสสนาไปในตัว


ปัจจุบัน บางท่าน จะถือว่า การตั้งใจ(จงใจ)เจริญสติในขั้นฝึกฝน เป็นสภาวะผิดพลาด

แต่ ครูบาอาจารย์พระป่า พระสุปฏิปันโน ท่านไม่ได้ห้าม ผู้ที่เป็นทันทาภิญญา(ตรัสรู้ได้ช้า ต้องอาศัยความพากเพียรเป็นลำดับๆ จึงจะบรรลุธรรม) ตั้งใจ(จงใจ) ในขั้นการฝึกเจริญสติ หรอกครับ



ส่วน เรื่อง สติอัตโนมัติ นั้น ท่านก็สอนเอาไว้ครับ .

อ้างคำพูด:
เมื่อสตินทรีย์มีพลังแก่กล้าขึ้น จะกลายเป็น สติวินโย คือมีสติเป็นผู้นำ กระชับแน่นอยู่ที่ดวงจิตของผู้ปฏิบัติไม่พรากจากกันตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด หลับ และตื่น สายสัมพันธ์แห่งสติสัมปชัญญะตัวนี้จะต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย



สติอัตโนมัติ เป็นไปหลังจากได้ตั้งใจ(จงใจ)เจริญสติ ไปจน การปฏิบัติเคี่ยวตกผลึก.... ไม่ใช่ ไม่ให้ตั้งใจตั้งแต่ไก่โห่(ตั้งหน้าตั้งตา ที่จะไม่ตั้งใจ) หรือ ไปเอา ขิปปาภิญญาโมเดล(รูปแบบท่านผู้ตรัสรู้อย่างฉับพลัน ที่มีอินทรีย์บารมียิ่ง )มาปฏิบัติ .....โดยไม่ได้ดูความเหมาะสมกับตนเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ไม่ว่าจะรู้อยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนเป็นการเจริญสติทั้งสิ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 20:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุ..ท่านตรงประเด็น..คุณวลัยพร..ครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 12:55
โพสต์: 36

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley smiley smiley ชัดเจนครับท่านตรงๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: ขออนุโมทนาสาธุการกับคำตอบของทุกท่านข้างต้นด้วยค่ะ :b8:

ขออนุญาตแนะนำคำสอนธรรมบรรยายของครูบาอาจารย์เพิ่มเติม
เพื่อประโยชน์ยิ่งๆ ขึ้นไปในการปฏิบัติดังนี้ค่ะ


:b8: :b8: :b8:

• ส ติ ปั ฏฺ ฐ า น นั ก ป ริ ยั ติ
พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)*
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


viewtopic.php?f=2&t=30661

• ส ติ เ ป็ น ข อ ง สำ คั ญ
พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ)
วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี


viewtopic.php?f=2&t=26255

• ม ห า ส ติ
viewtopic.php?f=2&t=22343

• “สติระลึกรู้อะไร ?”
พระครูเกษมธรรมทัต (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรํสี)
วัดมเหยงคณ์ จ. พระนครศรีอยุธยา


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13357

• ดู ผู้ รู้
พระครูเกษมธรรมทัต (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรํสี)
วัดมเหยงคณ์ จ. พระนครศรีอยุธยา


viewtopic.php?f=2&t=23330


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


surasak limcharoen เขียน:
:b8: การที่จิตไปรู้อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ่น(แล้วรู้)แสดงว่าเรากำลังเจริญสติใช้หรือเปล่าครับ


การที่จิต ไปรู้อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้วรู้ ..... เป็นธรรมชาติธรรมดา ของจิต
แมวจ้องจับหนู ก็รู้อารมณ์ แล้วรู้ ครับ ไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐานครับ

การเจริญสติปัฏฐาน เป็นการทำให้มีขึ้น ทำใ้ห้เกิดขึ้น แห่งอริยมรรค ครับ
โดยมี กาย หรือมี เวทนา หรือมี จิต หรือมี ธรรม เป็นวัตถุครับ

การเจริญสติปัฏฐาน ก็จะเป็นการ เจริญอินทรีย์ 5 ไปด้วยเช่นกัน คือได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา ครับ

สติปัฏฐาน๔ ประการ. ๔ ประการเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.

ที่ว่าได้ อินทรีย์ 5 คือ เมื่อมีฉันทะในการเจริญสติปัฏฐาน ก็คือได้เจริญศรัทธิืนทรีย์
มีความเพียร คือวิริยินทรีย์ ก็จะได้สัมมัปธาน 4
มีสัมปชัญญะ เป็นปัญญินทรีย์
มีสติ คือสตินทรีย์
กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ คืออุเบกขินทรีย์

โดย การที่สติกำหนดนิมิตแห่งสมาธิ มีความเพียร เป็นที่ตั้งของสมถะ พร้อมกับสัมปชัญญะ และการกำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกเสียได้ เป็นวิปัสนา ครับ

ดังนั้น ผู้ที่คิดว่าเจริญสติปัฏฐานอยู่หรือไม่ ก็ต้องดูองค์ประกอบ แห่งอริยมรรค อินทรีย์ 5 สมถะวิปัสสนา ว่าครบถ้วนหรือไม่ หาไม่แล้วก็จะคิดว่า แค่ "จิตไปกำหนดรู้อารมณ์" จะโดย "แทรกแซงหรือไม่แทรกแซง" ว่าเป็นการเจริญสติปัฏฐานไปทุกสิ่งทุกประการ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 22:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



คำว่า เจริญสติ กับ คำว่า เจริญสติปัฏฐาน มีความแตกต่างกันคือ

เจริญ แปลว่า ทำให้มากขึ้น ทำให้เพิ่มขึ้น

ปัฏฐาน มาจากคำว่า ป + ฐาน
ป ในที่นี้ แปลว่า ประการต่างๆ
ฐาน หมายถึง ปัจจัยอันเป็นเหตุ
ดังนั้น ปัฏฐาน จึงหมายถึงปัจจัยมีประการต่างๆ อันเป็นเหตุ

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/praapitham/7.html



การที่จิตไปรู้อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น(แล้วรู้)แสดงว่าเรากำลังเจริญสติใช้หรือเปล่าครับ


ถ้าว่าในแง่ของการฝึกเจริญสติ ถ้าเจ้าของกระทู้กำลังฝึกอยู่
การที่จิตไปรู้อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น นี่เรียกว่ามีสติ
แล้วรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น นี่เรียกว่า มีสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น
เราจึงต้องมาฝึกเจริญสติเพราะเหตุนี้ เพื่อจะได้มีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม

แต่ในกรณีที่คนไม่ได้มาฝึกเจริญสติ อาจจะรู้ได้ แต่รู้ได้แค่เป็นระยะ ตามกำลังของสติ สัมปชัญญะที่มีอยู่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 18 ก.ค. 2010, 22:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 20:24
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่ จงใจหรือไม่จงใจก็ใช่ เพราะเป็นการฝึก ถ้าสติบริบูรณ์แล้วก็ไม่ต้องจงใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


says: ค่ะใช่ หมูคิดว่ามันเหมือนกัน เจริญสติกะเจริญสติปัฎฐาน

walai says: ค่ะ มีเยอะค่ะที่เข้าใจกันแบบนั้น

says: อืมค่ะ แล้วเจริญสติ มันต่างตรงไหนอะคะ

walai says: ถามจริงๆนะ หมูได้อ่านที่พี่โพสใหม่หมดแล้วหรือยัง

says: เอ๋อ ขอดูอีกทีนะคะ
คำว่า เจริญสติ กับ คำว่า เจริญสติปัฏฐาน มีความแตกต่างกันคือ

เจริญ แปลว่า ทำให้มากขึ้น ทำให้เพิ่มขึ้น
ปัฏฐาน มาจากคำว่า ป + ฐาน
ป ในที่นี้ แปลว่า ประการต่างๆ
ฐาน หมายถึง ปัจจัยอันเป็นเหตุ
ดังนั้น ปัฏฐาน จึงหมายถึงปัจจัยมีประการต่างๆ อันเป็นเหตุ
ตรงนี้สิคะอ่านแล้วอะค่ะ
walai says:
แล้วในลิงค์ ไม่ได้เข้าไปอ่านหรือคะ มันมีลิงค์อยู่น่ะ

says: กดแล้วค่ะ แต่ว่า มันยาก

walai says: เข้าใจละ สภาวะของหมูยังไม่ถึง

says: ค่ะงง

walai says: คำว่าเจริญสติน่ะ คือที่เราฝึกๆนี่แหละ ฝึกให้มีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม

says: ค่ะพี่

walai say:ส่วนเจริญสติปัฏฐานน่ะ นั่นคือ มีกำลังของสติ สัมปชัญญะในระดับหนึ่งแล้ว
จึงทำให้มีกำลังของสติ สัมปชัญญะ รู้อยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม ได้ตลอด

says: อ่าค่ะ แล้วก็จะเข้าใจปัจจัยต่างๆนั้น ใช่ไหมคะ

walai says: ใช่ค่ะ

says: อ่อค่ะ พึ่งรู้นะคะ นึกว่ามาเจริญสตินี่ก็คือเจริญสติปัฎฐานอยู่แล้ว
ที่แท้คือเริ่มจากการฝึกเจริญสติ แล้วพอมีกำลังแล้วค่อยไปเจริญสติปัฎฐาน

walai says: มันเป็นของมันเอง มันเกิดเอง ไม่ต้องแล้วค่อยไปทำแบบนั้นหรอกจ้ะ

says: ค่ะพี่ ขอบคุณค่ะไม่งั้นก็เข้าใจผิดนะนี่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2010, 00:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีการเจริญ สติ เพียวๆ
สติเกิดพร้อมกับอกุศลจิต คือนิวรณ์
สติเกิดพร้อมกับกุศลจิต คือสติสัมปชัญญะ
สติเกิดพร้อมกับกุศลจิต บางทีก็เรียกว่า สติปัญญา(ญาณปัญญา)ก็มี

การเจริญสติ เพื่อเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันเฉพาะหน้า จึงเป็นการเจริญสติปัฏฐาน 4 เท่านั้น ไม่มีการแบ่งแยกว่า เจริญสติ หรือเจริญสติปัฏฐาน 4 เพียงแต่ จะให้ความสำคัญใน ที่ตั้งไหน คือกำหนดอารมณ์ไหนเด่นในการเจริญสมถะวิปัสสนา เท่านั้น

หากไม่เจริญสติปัฏฐาน ก็คือเจริญนิวรณ์ นั่นเอง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2010, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
คำว่า เจริญสติ กับ คำว่า เจริญสติปัฏฐาน มีความแตกต่างกันคือ

เจริญ แปลว่า ทำให้มากขึ้น ทำให้เพิ่มขึ้น
ปัฏฐาน มาจากคำว่า ป + ฐาน
ป ในที่นี้ แปลว่า ประการต่างๆ
ฐาน หมายถึง ปัจจัยอันเป็นเหตุ
ดังนั้น ปัฏฐาน จึงหมายถึงปัจจัยมีประการต่างๆ อันเป็นเหตุ
ตรงนี้สิคะอ่านแล้วอะค่ะ

รบกวนขอความรู้หน่อยนะครับ ตามความเข้าใจแต่แรก ผมเข้าใจว่า
เจริญ แปลว่า ทำให้มากขึ้น
ปัฏฐาน แปลว่า ที่รองรับ ที่ตั้งมั่น
ถ้าจะตีความหมายของคำว่า สติปัฏฐาน ก็คือ การมีสติบนฐานต่างๆ ก็คือ
กาย เวทนา จิตและธรรม

ผมไม่เคยเจอที่ว่า ฐานที่มีความหมายว่า ปัจจัยอันเป็นเหตุเลยครับ
เข้าไปในลิ้งค์ที่ให้มาก็ไม่เห็นกล่าวถึง เห็นมีแต่เรื่องเหตุปัจจัย ซึ่งพิจารณาดูแล้ว
มันน่าจะกล่าวถึงเรื่อง ปฏิจสมุปบาทเสียมากกว่านะครับ ผิดพลาดประการใดรบกวน
ให้ความกระจ่างด้วยครับ

ส่วนเรื่องที่คุณว่า การเจริญสติกับการเจริญสติปัฏฐานมีความต่างกัน
ตามความเข้าใจของผม ผมว่ามันไม่ได้ต่างกันครับ
คำว่า เจริญสติเป็นคำรวม
ส่วนคำว่า เจริญสติปัฏฐาน มีความหมายคือ วิธีการต่างๆในการเจริญสติครับ
ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า สติปัฏฐานเป็นส่วนหนึ่งของคำว่าเจริญสติครับ
ตัวอย่างเช่น การเจริญสติโดยวิธีการพิจารณากาย เวทนา จิตหรือธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร