วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 06:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

ผู้ที่ได้ศึกษาและมีความเข้าใจในพระอภิธรรมอย่างลึกซึ้งย่อมรู้สึกว่า การเกิดเป็นทุกข์ แม้จะเกิดในภพภูมิของมนุษย์ก็ตาม และการเวียนว่ายตายเกิดเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด เพราะไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่าชีวิตในภพชาติต่อๆไป จะไม่พลาดถลำลงต่ำไปเกิดในทุคติภูมิ นอกจากบุคคลผู้นั้นได้ปฏิบัติตนเข้าถึงพระอริยสัจธรรมนำชีวิตเข้าสู่พระอริยบุคคลแล้ว เพราะว่าบุคคลนับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปเท่านั้นที่อบายภูมิจะปิดสนิทสำหรับชีวิตของท่าน และการเวียนว่ายตายเกิดที่จะมีต่อไปในสุคติภูมินั้น ย่อมมีได้ไม่เกิน ๗ ชาติ จึงนับได้ว่าพระโสดาบัน ท่านเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่สร้างหลักประกันภัยในการเวียนว่ายตายเกิดให้กับชีวิตได้แล้ว แต่สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชนทุกคนต้องยอมรับว่าอนาคตชาติในการเวียนว่ายตายเกิดของตนนั้นต้องมีต่อไปเป็นอนันตังไม่มีที่สิ้นสุด เพราะปุถุชนคือบุคคลที่ยังหนาแน่นด้วยกิเลส และ กิเลส นี่เองที่เป็นตัวการ ผลักพาให้เกิดการกระทำกรรม เมื่อมีกรรมย่อมเป็นที่แน่นอนว่า วิบาก คือ รูปขันธ์ และนามขันธ์ ย่อมต้องเกิด ฉะนั้นวัฏฏะทั้งสาม คือ กิเลสวัฏ กัมมวัฏ และวิปากวัฏ ที่หมุนวน ย่อมทำให้สังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิดไม่อาจสิ้นสุดหยุดลงได้ และทุกภพชาติที่เกิด กำเนิดของสัตว์ย่อมวิจิตร เพราะจิตย่อมวิจิตรในการสั่งสมกรรม และกิเลส

---------------------------------------------------------


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย เขียน
ออดแอดๆ พึมพำๆ คล้ายๆคนแก่ขี้บ่น นักธรรมพึมพำๆ อะไรนักก็ไม่รู้

ถามจริงๆ คุณเฉลิมศักดิ์ คุณจะเอาความเป็นอริยบุคคลไปทำอะไร กลัวตกนรกหรือครับ


ไม่กลัวครับ เพราะยังเป็นผู้ไร้การศึกษา (ต่างจากนักศึกษาพระอภิธรรม ผู้ที่เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร ที่มีความเพียรในการปฏิบัติวิปัสสนา)

ยังไม่เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร เลยครับ ยังมีตัณหาอยากเกิดอยู่ :b12:

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างอิงคำพูด:
คุณกรัชกาย เขียน
ออดแอดๆ พึมพำๆ คล้ายๆคนแก่ขี้บ่น นักธรรมพึมพำๆ อะไรนักก็ไม่รู้

ถามจริงๆ คุณเฉลิมศักดิ์ คุณจะเอาความเป็นอริยบุคคลไปทำอะไร กลัวตกนรกหรือครับ


ที่พูดถึงความเป็น อริยบุคคล เพราะคุณ mes เขาฟันธง แต่งตั้งคุณเป็น อริยบุคคล อ่ะครับ


เฉลิมศักดิ์พูดโกหกเห็นๆ

เอาหลักฐานมา


เฉลิมศักดิ์เลวโครตๆจริงๆ

ตัดพระสูตรพระธรรมมาแปะแล้วด่าคน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย เขียน
ออดแอดๆ พึมพำๆ คล้ายๆคนแก่ขี้บ่น นักธรรมพึมพำๆ อะไรนักก็ไม่รู้

ถามจริงๆ คุณเฉลิมศักดิ์ คุณจะเอาความเป็นอริยบุคคลไปทำอะไร กลัวตกนรกหรือครับ


ไม่กลัวครับ เพราะยังเป็นผู้ไร้การศึกษา (ต่างจากนักศึกษาพระอภิธรรม ผู้ที่เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร ที่มีความเพียรในการปฏิบัติวิปัสสนา)

ยังไม่เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร เลยครับ ยังมีตัณหาอยากเกิดอยู่



คุณไม่ได้คิดเอาความเป็นอริยะไปป้องกันการตกนรกดอกหรือ :b1: เห็นพร่ำเพ้อละเมอถึงแต่อริยะบุคคล

ก่อนหน้าถามไว้ว่า อริยะ แปลว่า อะไร มีที่มาอย่างไร ? ตอบหน่อยดิครับน่า :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2010, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


244 จะรู้จักพระอรหันต์ได้ไหม
http://84000.org/true/244.html

ปัญหา ฆราวาสผู้อยู่ครองเรือน มีทางจะทราบได้หรือไม่ว่าภิกษุองค์ไหนเป็นพระอรหันต์ ได้บรรลุมรรคผล ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนคฤหบดี ท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม อยู่ครองเรือน นอนเบียดเสียดบุตร บริโภคจันทน์จากแคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ พึงรู้ขอนี้ได้ยากว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ หรือเป็นผู้บรรลุอรหัตตมรรค (เมื่อไม่รู้ว่าใครเป็นพระอรหันต์ และอยากทำบุญให้ทานกับพระอรหันต์ ย่อมมีทางจะให้ได้ถูกต้องฉะนั้น)..... เชิญทานให้สังฆทานเถิด เมื่อท่านให้สังฆทานอยู่ จิตจักเลื่อมใส... เมื่อตายไปจักเข้าพึงสุคติโลกสวรรค์”

ทารุกัมมิกสูตร ฉ. อํ. (๓๓๐)
ตบ. ๒๒ : ๔๓๘-๔๓๙ ตท. ๒๒ : ๔๐๑-๔๐๒
ตอ. G.S. III : ๒๗๙

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๙๒๐๑ - ๙๒๓๘. หน้าที่ ๔๐๑ - ๔๐๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=330

-----------------------------------------------

๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขาร ของสงฆ์ คือ อาราม พื้นที่อาราม วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อโลหะ อ่างโลหะ กะถางโลหะ กะทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกะต่าย หญ้าปล้อง หญ้าสามัญ ดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก
๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริงนี้จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๘๖๐๕ - ๘๖๓๕. หน้าที่ ๓๓๒ - ๓๓๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
---------------------------------------------------------------

http://www.abhidhamonline.org/Ajan/Sua/krasae.doc

คำถาม จะเป็นบาป หรือไม่ถ้าอวด อุติมนุสสธรรม ว่าตนได้เป็นพระอริยบุคคล
คำตอบ ผู้ที่ไม่ได้เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี หรือพระอรหันต์ อวดอุตริมนุสสธรรมจัดว่าเป็นบาป แม้กระทั่งกล่าวตู่พุทธพจน์แค่นี้ก็บาปแล้ว การสอนธรรมะนี้กล้าเสี่ยงที่สุด ในชีวิตคนเรา โลภ โกรธ หลง เป็นการกล้าเสี่ยงอยู่แล้ว กล้าเสี่ยงทั้งสามบวกกันเข้ายังไม่เท่ากับการกล้าเสี่ยงกล่าวพุทธพจน์ออกไปให้เพี้ยน ถ้าเป็นเทวดานับตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา จนถึงปรนิมมิตวสวตดี อวดว่าเป็นพระโสดาบันทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่ได้เป็น อำนาจแห่งการเนรมิตได้จะหมดไปทันที รังสีที่มีห่อหุ้มเป็นกายทิพย์หมดไปทันทีเช่นกัน
ถ้าเป็นพรหมจะตกลงมาอยู่ชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นอย่างต่ำ ถ้าเป็นอรูปพรหมจะมีรูปปรากฏขึ้นทันที
พวกเทวดาถ้ากล้าอวดเช่นนี้ แล้วอำนาจการเนรมิตหมดไปก็ไม่ผิดอะไรกับยาจกของมนุษย์ ความทุรนทุรายเร่าร้อนในความหิว เพราะไม่สามารถเนรมิตได้ ก็จะเกิดอำนาจโทสะ ที่ไปก็คือนรก

คำถาม ถ้าเราคิดว่าพระองค์นี้เป็นพระอรหันต์ จะเป็นบาปหรือไม่
คำตอบ ไม่บาป
คำถาม แล้วถ้าท่านเป็นพระอริยบุคคลจริง ๆ ท่านพูดอวดตนเองจะมีความผิดหรือไม่
คำตอบ ถ้าเป็นพระโสดาบันจริง ไม่มีเลยที่จะพูดอวดตนเองเพราะพระโสดาบันเป็นผู้รู้ชีววิทยาอย่างมากแล้วสามารถทำลายสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสตัวฉมังที่สุดคือสักกายทิฏฐิเหมือนเราเดินเข้าไปในกองไฟ ต่างคนต่างเดินหาทางหนี เวลาเราเอามือจับถ่านเราจะต้องทำอะไร วิ่งเข้าไปจับถ่านแล้วร้อง หรือ นั่นคนบ้า เด็กปัญญาอ่อน พระโสดาบันก็คือผู้ที่จับถ่านแล้วไม่พยายามจับอีก แต่พวกเราที่ยังไม่รู้ก็ยับจับกันต่อไป เหมือนเด็กเล็ก ๆ ไม่เคยรู้ พ่อแม่ไม่เคยสอน คลายไปจับถ่าน ยิ่งกลัวยิ่งร้อนยิ่งกำแน่น แต่ผู้ใหญ่โดยนิดเอามือหนีได้ ฉันใดฉันนั้น พระโสดาบันก็เช่นเดียวกัน
____________________________________


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
ในเวปธรรมจักรแห่งนี้ผมเชื่อว่ามีอริยะบุคคลอยู่หลายท่าน

แต่ละท่านปิดบังตนเองสุดขีด

เฉลิมศักดิ์ทราบไหม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


คุณ mes ทราบอย่างไรว่า ใครเป็นพระอริยบุคคลครับ ?

อย่าตัดสินเพียงเพราะท่าน กล่าวแสดงตนเป็นพระอริยบุคคลนะครับ

หรือ ตัดสินจากการยกย่องสืบทอดกันมา

แบบนี้ ควรใช้หลักกาลามสูตร ตรวจสอบดู ไม่ใช่เชื่อท่านแล้วใช้หลัก กาลามสูตร มาตรวจสอบ พระไตรปิฏก อรรถกถา ที่เป็นตัวแทนของพระพุทธองค์

หากปุถุชนท่านใดแสดงตนเป็นพระอรหันต์ เพื่อ ลาภ ยศ ชื่อเสียง สรรเสริญ เปรียบได้กับ มหาโจร นะครับ

เพื่อลดการเดาที่ผิดพลาดของผม
( ตอนแรกเดาเอาเองว่า คุณ mes คงตัดสินให้ท่านพุทธทาส และ คุณกรัชกาย เป็นพระอริยบุคคล )


คุณ mes ช่วยชี้ชัด ๆ ได้ไหมครับ ว่าใครเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ใครเป็นพระโสดาบัน ใครเป็นพระอรหันต์ ? (อย่าปล่อยให้ผมเดาเอาเองเลยครับ เดาผิดก็โดนด่าอีก )

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2010, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. วิภังคสูตร (ปฏิจจสมุปบาท)
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... ?B=16&A=33
--------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชน

๒ . มหานิทานสูตร
สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/p ... nta/2.html

----------------------------------------------
มหานิทานสูตร (ปฏิจจสมุปบาท)


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๔๕๕ - ๑๘๘๗. หน้าที่ ๖๐ - ๗๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57

พึงกล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทของพระเถระผู้เข้าถึงญาณเป็นของง่าย แม้ของคนอื่นไม่ง่ายดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้กล่าวนั้น ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ดังนี้ ทรงหมายถึงความนั้น.
จริงอยู่ ปฏิจจสมุปบาท แม้ลึกซึ้งปรากฏว่าเป็นของง่ายแก่พระเถระ ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เหตุ ๔ ประการเป็นไฉน
ด้วยการถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยในชาติก่อน
ด้วยการอยู่ในสำนักครู
ด้วยความเป็นพระโสดาบัน
ด้วยความเป็นพหูสูต

ติตฺถวาสาทิวณฺณนา
เกจิอาจารย์กล่าวถึงการเรียน การฟัง การสอบถาม และการทรงไว้ในสำนักครูทั้งหลายบ่อยๆ ด้วยบทว่า ติตฺถวาโส คือ การอยู่ในสำนักครู การอยู่ในสำนักครูนั้นของพระเถระบริสุทธิ์อย่างยิ่ง แม้ด้วยเหตุนั้น ปฏิจจสมุปบาทนี้ แม้ลึกซึ้งก็ปรากฏแก่พระเถระเป็นดุจเป็นของง่าย อนึ่ง ปัจจยาการปรากฏเป็นของง่ายของผู้เป็นโสดาบัน ก็พระเถระนี้ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว.
การกำหนดนามรูป ย่อมปรากฏแก่ท่านผู้เป็นพหูสูต ดุจเตียงและตั่งย่อมปรากฏ เมื่อดวงประทีปส่องสว่างในห้องนอนประมาณ ๔ ศอก ก็ท่านพระเถระนี้เป็นผู้เลิศของผู้เป็นพหูสูตทั้งหลาย ปัจจยาการแม้ลึกซึ้งก็ปรากฏแก่พระเถระนั้น ดุจเป็นของง่ายด้วยอานุภาพแห่งความเป็นพหูสูตด้วยประการฉะนี้.

ปฏิจฺจสมุปฺปาทคมฺภีรตา
ในความง่ายและความลึกซึ้งของปฏิจจสมุปบาทนั้น ปฏิจจสมุปบาทชื่อว่าเป็นของลึกซึ้งด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ด้วยความลึกซึ้งโดยอรรถ ด้วยความลึกซึ้งโดยธรรม ด้วยความลึกซึ้งโดยเทศนา ด้วยความลึกซึ้งโดยปฏิเวธ
ในความลึกซึ้ง ๔ อย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทเป็นของลึกซึ้ง มีอรรถว่ามีและเกิดขึ้นเพราะชาติเป็นปัจจัยแห่งชราและมรณะเป็นของลึกซึ้ง มีอรรถว่ามีและเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น นี้คือความที่ปฏิจจสมุปบาทมีความลึกซึ้งโดยอรรถ
ปฏิจจสมุปบาทเป็นของลึกซึ้ง มีอรรถคืออวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารทั้งหลาย เป็นของลึกซึ้ง มีอรรถคือชาติเป็นปัจจัยแห่งชราและมรณะ เพราะเหตุนั้น นี้ชื่อว่าความที่ปฏิจจสมุปบาทมีความลึกซึ้งโดยธรรม
ในบางสูตรท่านแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลม ในบางสูตรโดยปฏิโลม ในบางสูตรทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม ในบางสูตรโดยอนุโลมหรือโดยปฏิโลมตั้งแต่ตอนกลาง ในบางสูตรโดยอนุโลมหรือโดยปฏิโลมตั้งแต่ตอนท้าย ในบางสูตรมีสนธิ ๓ สังเขป ๔ ในบางสูตรมีสนธิ ๒ สังเขป ๓ ในบางสูตรมีสนธิ ๑ สังเขป ๒ เพราะเหตุนั้น นี้ชื่อว่าความที่ปฏิจจสมุปบาทมีความลึกซึ้งโดยเทศนา


-------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
ไม่ต้องยกพระสูตรย่อยมาแสดง

เพราะที่ผมยกขึ้นมากล่าวเป็นหลักธรรมใหญ่คือ

ปฏิจจสมุทบาทเปรียบเสมือนรอยเท้าช้าง ที่รอยเท้าสัตว์ทุกชนิดลงได้ในรอยเท้านี้

ตามหลักธรรมานุธรรมะปฏิบัติ

คือหลักธรรมย่อยคล้อยตามหลักธรรมใหญ่

อย่างนี้เป็นสัทธรรมปฏิรูปบิดเบือนพระธรรม


คุณ mes ครับ คุณแสดงความเห็น ประหนึ่งว่า เข้าใจในหลัก ปฏิจจสมุปบาทธรรม ดีแล้ว โดยผ่านการศึกษาอัตตโนมติของท่านพุทธทาส ซึ่งอธิบายแบบง่าย ๆ (และท่านก็ได้แสดงตนว่า เข้าใจปฏิจจสมุปบาทธรรมดีแล้ว เป็นแบบปัจจุบัน ที่ถูกต้องที่สุด )

แม้พระอานนท์ ผู้เป็นพระอริยบุคคล ได้สั่งสมบารมีธรรมมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ มามากมาย เป็นพหูสูตร ได้กล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมเป็นของง่าย ( มหานิทานสูตร)

พระพุทธเจ้ายังทรงตรัสห้ามไว้เลยครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2010, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เพ้อเจ้ออยู่คนเดียว

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมได้นำหลักฐานจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ในเรื่อง จริตของบุคคลกับการปฏิบัติ สมถะกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน

ท่านใดสนใจศึกษาได้ที่ กระทู้ ที่คุณ mes ตั้งให้ผม

31670.จริตผู้ปฏิบัติธรรม กับมิจฉทิฐิของเฉลิมศักดิ์
viewtopic.php?f=2&t=31670

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Onion_L Onion_L Onion_L

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


มหาสติปัฏฐานสูตร


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273

--------------------------------------------------
ลำดับญาณ ที่เกิดขึ้นเมื่อ เจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนากรรมฐาน



๒๔ . รถวินีตสูตร
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/p ... a/4.3.html

สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ . พระปุณณะ มันตานีบุตร เป็นผู้ได้รับสรรเสริญจากภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในชาติภูมิ ( เป็นที่แห่งหนึ่งในสักกชนบท ขึ้นแก่กรุงกบิลพัสดุ์ ) พระสารีบุตรจึงถือโอกาสที่ท่านมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วไปพักกลางวันในป่า เข้าไปพบสนทนาธรรมะกัน.

ธรรมะที่ท่านสนทนากันนั้น คือเรื่องวิสุทธิ ( ความบริสุทธิ์หรือความหมดจด ) ๗ อย่าง มีความหมดจดแห่งศีลเป็นข้อแรก มีความหมดจดแห่งญาณทัสสะ ( ความเห็นด้วยญาณ ) เป็นข้อที่ ๗ ๕ . ซึ่งพระปุณณะกล่าวว่า ท่านมิได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อวิสุทธิเพียงข้อใดข้อหนึ่ง แต่ประพฤติเพื่อความดับโดยไม่มีเชื่อเหลือเพราะ วิสุทธิเหล่านี้เป็นเพียงเหมือนรถ ๗ ผลัดที่ส่งให้ถึงที่หมาย ( รถจึงมิใช่ที่หมาย แต่ส่งให้ถึงที่หมายได้ ).

ทั้งสองท่านต่างชื่นชมภาษิตของกันและกัน.

-----------------------------------------------

ปุ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้น สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ
เป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ
เป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณ
ทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๕๐๔๔ - ๕๑๐๘. หน้าที่ ๒๐๕ - ๒๐๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=292

------------------------------------------------------------


วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖

http://abhidhamonline.org/visudhi.htm
-----------------------------------------------------

จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ กรรมฐานสังคหวิภาค

โสฬสญาณ (วิปัสสนาญาณ ๑๖)
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/069.htm
--------------------------------------------


ทิฏฐิวิสุทธิ โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์

http://larndham.org/index.php?showtopic=19112&st=0

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


วิเคราะห์แนวคิดท่านพุทธทาส

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ส่วนหนึ่งของเสวนา

"มองอนาคตผ่านรากฐานความคิดและชีวิตท่านพุทธทาส ‘แล้วเราจะอยู่ในโลกอันแสนวิปริตนี้ได้อย่างไร’"

เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์

ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คัดลอกมาจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ วันที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 27 ฉบับที่ 07

วิภา จิรภาไพศาล /ในโลกอันแสนวิปริต กับฐานความคิดท่านพุทธทาส /





ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลท่านพุทธทาส เครือข่ายธรรมโฆษณ์ พุทธทาส ๑๐๐ ปี ได้จัดงานพุทธทาส ๑๐๐ ปี : ร้อยใจ ฟื้นไทย ให้คืนธรรม เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีพระไพศาล วิสาโล, ดร. ณรงค์ เพชรประเสริฐ และพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ร่วมเสวนาในหัวข้อ "มองอนาคตผ่านรากฐานความคิดและชีวิตท่านพุทธทาส 'แล้วเราจะอยู่ในโลกอันแสนวิปริตนี้ได้อย่างไร'"




ขณะที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เริ่มการเสวนาจากการวิเคราะห์แนวคิดพื้นฐานของท่านอาจารย์พุทธทาสว่า

"ถ้าจะให้อาตมาพูดผ่านแนวคิดของท่าน ในแง่ ๑. คือตนอาจจะอ่านไม่เพียงพอ ๒. การที่จะบอกว่าท่านผู้นั้นเป็นเรื่องยากและที่ต้องระวังมาก ที่นี้แม้แต่ชื่อที่บอกว่ามองอนาคตผ่านแนวคิดและชีวิตของพุทธทาสก็แปลความหมายได้หลายอย่าง

แปลง่ายๆ ก็ให้มองอนาคตของมนุษย์ ของสังคม หรือของอะไรก็แล้วแต่ว่าจะเป็นอย่างไร เราเพียงแต่ดูว่ามันจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็น เราไม่ค่อยเกี่ยวข้อง แต่แทนที่จะมองอย่างนั้น อาตมาคิดว่าเราน่ามองแบบมีส่วนรวมว่าอนาคตของโลกควรเป็นอย่างไร แล้วเราจะช่วยทำให้เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร อาตมาคิดว่าถ้ามองแบบนี้จะมีความหมายสำคัญมากกว่า

ส่วนแนวคิดและชีวิตของท่านพุทธทาสซึ่งจะโยงมาหาการที่เราจะต้องเข้าใจแนวคิดชีวิตของท่านพุทธทาส ว่าเราเข้าใจอย่างไร เราก็จะไปมองเรื่องอนาคตที่ว่านั้นจะจัดการไปตามนั้น ตอนนี้มันเป็นเรื่องสำคัญว่าเรามองแนวคิดของท่านพุทธทาสอย่างไร ไม่ใช่ว่าเรามองตรงกันนั้นถูกต้องแล้ว อันนี้เป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน มันกลับมาสู่ปัญหาพื้นฐานเลยว่าตัวแนวคิดของท่านเป็นอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญมาก

บางทีอาจเป็นหัวข้อที่ท่านที่ศึกษางานจะต้องมาช่วยกันวิเคราะห์ ถกเถียง และอย่างน้อยก็ไม่ด่วนตัดสิน เพราะว่าแนวคิดของท่านที่มองอะไรกว้างขวางและผลงานเยอะ มีความเสี่ยงภัยเหมือนกัน คือบางคนไปจับอะไรมอง ได้ยินอะไร หรือว่าไปอ่านหนังสือของท่านบางเล่มเห็นข้อความบางอย่างจับเอาเลยว่าท่านคิดเห็นอย่างนั้น จริงอยู่ท่านกล่าวจากความคิดของท่าน แต่เรามองอย่างไม่รู้ความเป็นมาเป็นไปเดิม ไม่รู้แนวคิดพื้นฐานกว้างๆ ของท่าน เราก็มองไปแต่เป็นไปตามความคิดความรู้สึกของเราเอง มันทำให้เกิดปัญหาเหมือนกัน

การมองแนวคิดของท่านพุทธทาส ถ้ามองขั้นที่ ๑ เรามองที่เจตนาก่อน เจตนาของท่านเป็นอย่างไร อันนี้เห็นได้ค่อนข้างชัด แม้แต่ชื่อท่านเอง ท่านก็เรียกว่าพุทธทาส แปลว่าทาสของพระพุทธเจ้า ซึ่งถ้าพูดอย่างภาษาเราง่ายๆ ท่านมุ่งอุทิศชีวิตของท่านในการสนองงานของพระพุทธเจ้าอะไรล่ะ สนองงานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับพระสงฆ์ย้ำบ่อยมาก

ท่านมีเจตนาพื้นฐานเพื่อจะสร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่ประชาชน ทำให้โลกอยู่ร่มเย็นเป็นสุข อันนี้จริงไหม ถ้าเรายอมรับเราตกลง แล้วเราแน่ใจ เราก็ได้ไปในขั้นเจตนา เมื่อเราได้เจตนาก็ได้ขั้นพื้นฐานเลยมันเป็นตัวนำจิต เพราะว่าจิตของเรากับจิตของท่านจะสอดคล้องกัน ที่นี้เราแน่ใจไหม มันก็ได้ไปส่วนสำคัญ ที่นี้เมื่อมามองงานของท่านที่มีมากมาย อย่างที่พูดเมื่อกี้ ถ้าเราไม่ได้ชัดเจนกับตัวเอง เรื่องของแนวคิดของท่านที่เป็นไปตามเจตนานี้ มันก็เป็นไปในทิศทางที่จะทำให้โลกอยู่เย็นเป็นสุข พอมีแนวคิดพื้นฐานแบบนี้จะช่วยให้การแปลความหมายดีขึ้น เราจะยอมรับไหมว่าแนวคิดนี้แน่ใจ

ต่อไปก็มองที่ตัวหนังสือบ้าง คำพูด คำเทศนาของท่าน อาตมาจะยกตัวอย่างเลย บางที่บางคนไปจับเฉพาะบางแง่บางส่วน แล้วจะทำให้เกิดปัญหา เช่น บางทีบางคนอาจจะไปยกคำของท่านมา ที่บอกว่าพระไตรปิฎกนี่ต้องฉีกออกเท่านั้นเปอร์เซ็นต์ เหมือนกับว่ามีส่วนที่ไม่ควรใช้ ไม่ควรเชื่อถือหลายเปอร์เซ็นต์ ทีนี้ถ้าหากว่าไม่ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวท่าน ตั้งแต่เจตนาพื้นฐาน บางคนก็อาจจะเข้าใจเลยไปว่าพระไตรปิฎกไม่น่าเชื่อถือ บางคนก็ยกไปอ้างในทำนองนี้ หรือเป็นว่าเป็นแนวคิดของท่าน

อันนี้ถ้าเราดูพื้นจากที่เป็นมา อย่างที่อาตมาเล่า อาตมามอง เริ่มจากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แล้วก็ต่อมาท่านพุทธทาสออกหนังสือกลุ่มจากพระโอษฐ์เยอะมาก ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์, อริยสัจจากพระโอษฐ์, ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ท่านมีหนังสือแบบนี้แสดงว่าท่าทีหรือว่าทัศนคติของท่านต่อพระไตรปิฎกเป็นอย่างไร อย่างน้อยท่านเอาจริงเอาจังมากกับพระไตรปิฎก ท่านอยู่กับพระไตรปิฎกมามากมาย และตั้งใจค้นคว้า ศึกษาจริง

เราจะเห็นข้อความที่ท่านใช้อ้าง แม้แต่ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท เหมือนกับว่าด้านหนึ่งท่านเป็นผู้เอาจริงเอาจัง ซื่อสัตย์ต่อพระไตรปิฎก ไว้ใจพระไตรปิฎกมาก แต่พร้อมกันนั้นท่านก็มีท่าทีให้มีเหตุผลไม่เชื่อเรื่อยเปื่อย หรือเชื่องมงาย ว่าอะไรที่อยู่ในชุดที่เรียกว่าพระไตรปิฎกจะต้องเชื่อตามไปหมด อันนี้เป็นทัศนคติที่พอดีๆ ที่ศึกษาอย่างมีเหตุผล

อาตมาจะอ่านให้ฟังสักนิดเป็นการโควทท่านหน่อย ในหนังสือโอสาเรปนะธรรม หน้า ๔๒๓ บอกว่า "ดังนั้นในการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ ต้องถือเอาบาลีเดิมเป็นหลัก" นี้แสดงว่าท่านยึดพระไตรปิฎก คำว่า "บาลี" เป็นคำทางพระหมายถึงพระไตรปิฎก อย่ามอบตัวให้กับอรรถกถาอย่างไม่ลืมหูลืมตา อันนี้ก็พูดถึงอรรถกถา ซึ่งประเดี๋ยวก็ต้องพูดกันอีก มาถึงเรื่องฉีก ท่านก็ยังพูดถึงเรื่องฉีก ในหนังสือพระธรรมปาติโมกข์ เล่ม ๒ หน้า ๑๒๓ ท่านพูดถึงเว่ยหลาง

"ฉะนั้นการที่เขาฉีกพระสูตรนี้ มันถูกที่สุด เดี๋ยวนี้เรามีห้องสมุด มีหนังสือแยะ ที่เราก็มี เขาให้อะไรเยอะแยะ เป็นตารางที่ขังความโง่ของคนไว้อย่าให้ไปครอบงำใคร...ฉะนั้นห้องสมุดของผมที่ชั้นบนนี้ ผมจึงไม่ให้ใครเอาหรือขึ้นไปใช้มัน เพราะเป็นความโง่ของคนทั้งโลกที่ผมขังไว้ อย่าให้ไปครอบงำคนอื่น บางชุดซื้อมาตั้งหมื่น นั้นคือความโง่ ไม่กี่เล่ม เอามาขังไว้ในนี้ไปครอบงำใครได้ นี้ยิ่งทำยิ่งโง่ ยิ่งอ่านยิ่งโง่ ยิ่งเรียนมากยิ่งโง่"

ถ้าคนมาจับความแค่นี้ก็จะบอกว่าท่านเป็นปฏิปักษ์กับเรื่องหนังสือ ไม่สนับสนุนให้อ่านให้ค้นคว้า อันนี้ก็ไม่อยากให้ไปจับเอาเฉพาะแง่เฉพาะมุมนิดๆ หน่อยๆ ต้องดูทั้งหมดว่าท่านมองอย่างไร คิดอย่างไร บางทีมันเป็นเรื่องเฉพาะกรณี เราก็ต้องดูว่าขณะนั้นท่านกำลังพูดเรื่องอะไร ท่านต้องการให้ผู้ฟังได้แง่คิดอะไรในเรื่องนี้

เมื่อกี้พูดถึงว่าให้เอาบาลี หรือพระไตรปิฎกเป็นหลัก อย่าไปมอบตัวให้กับอรรถกถา ทีนี้บางทีท่านพูดถึงเรื่องอรรถกถาในหลายกรณีก็จะมีเรื่องพูดในแง่ที่ไม่ค่อยดี คล้ายๆ กับไม่น่าไว้ใจ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องอย่างนั้น แต่นี้บางคนไปถึงขนาดที่ว่าอรรถกานี้ไว้ใจไม่ได้ อาตมาอ่านหนังสือบางเล่มเขาดูถูกอรรถกถา ไม่เชื่ออรรถกถา ถ้าเราดูท่านพุทธทาส อาจจะถือเป็นความพอดีก็ได้ งานของท่านจะพูดถึงอรรถกถาเยอะแล้วท่านก็ใช้ประโยชน์จากอรรถกถา เรื่องราวต่างๆ ท่านก็เอาจากอรรถกถามา

เราไม่ต้องไปพูดเฉพาะท่านหรอก คืออย่างคำแปลพระไตรปิฎก ฉบับโน้นฉบับนี้เราก็มาอ้างกันว่าเป็นพระไตรปิฎก และที่ใช้ในเมืองไทยก็ต้องแปลเป็นภาษาไทย โดยมากก็จะคัดมา อ้างอิงมาจากฉบับแปลเป็นภาษาไทย เราไม่ได้อ้างอิงมาจากฉบับภาษาบาลีมาอ้างอิงโดยตรง และหลายคนก็ไม่สามารถแปลได้ด้วย

ที่เราบอกว่าพระไตรปิฎกๆ นั้น คำแปลเขาอ้างจากอรรถกถานะ พระไตรปิฎกฉบับ ๒๕ ศตวรรษพิมพ์ครบชุดครั้งแรกในประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. ๒๕๐๐ แล้วต่อมาก็กลายเป็นฉบับกรมการศาสนา ฉบับมหามกุฏฯ มหาจุฬาฯ คนแปลไม่ได้รู้ไปหมด ต้องค้นหากัน เวลาค้นๆ กันที่ไหน ก็ค้นจากอรรถกถา จากฎีกา แล้วก็แปลไปตามนั้น

คนที่บอกว่าไม่เชื่ออรรถกถา ไม่รู้แปลพระไตรปิฎกเอาตามอรรถกถา ใช้อรรถกถามาเป็นสิ่งที่ตัวเองยึดถือเลย โดยอ้างอิงพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้นพระไตรปิฎกแปลไม่ได้แปลตรงไปตรงมาหรอก แปลตามอรรถกถาอธิบาย เพราะพระไตรปิฎกนั้นเรารู้อยู่แล้วว่าเก่ากว่าอรรถกถามาก ที่นี้ศัพท์ที่เก่าขนาดนั้น บางทีรูปประโยคดูไม่ออกเลยว่าหมายความว่าอย่างไร การแปลจึงต้องหาอุปมาช่วย ก็ได้อรรถกถานี้แหละที่เก่ารองจากพระไตรปิฎก จึงไปเอาอรรถกถาว่าท่านอธิบายบาลีองค์นี้ไว้อย่างไร ถ้าอธิบายความแล้วยังไม่ชัดอยากจะได้ความที่ชัดยิ่งขึ้นก็ไปค้นคัมภีร์รุ่นต่อมา หรือฎีกา หรืออนุฎีกาต่างๆ มาพิจารณาประกอบ จะถือเอาตามนั้นหรือจะตัดสินอย่างไรก็ตามแต่ รวมแล้วก็คือต้องอาศัยคัมภีร์เก่า

แต่บางคนก็อ้างพระไตรปิฎกโดยไม่รู้ว่าความจริงว่าแม้แต่คนแปลเขาก็อ้างอรรถกถา กลายเป็นว่าที่ตัวเอาๆ มาจากอรรถกถา อันนี้เป็นตัวอย่างที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านศึกษามาก ต้องยอมรับว่าท่านบวชตั้งแต่เมื่อไร ท่านอุทิศชีวิตกับการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถา ฎีกาอะไรต่างๆ เวลาท่านอธิบายท่านก็ยกมาอ้าง เวลาท่านบอกไม่ให้เชื่ออย่างนั้นอย่างนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ไม่ให้เราเชื่อเรื่อยเปื่อยงมงายไป

ในหนังสือพุทธิกะจริยธรรม หน้า ๒๓๓ "ฉะนั้นเราต้องมีธรรมที่เหมาะสมแก่วัย ที่วัยนั้นจะพอรับเอาได้ หรือเข้าใจได้" ข้อนี้ท่านเปรียบไว้ในอรรถกถาว่า "ขืนป้อนข้าวคำใหญ่ๆ แก่เด็กซึ่งปากยังเล็กๆ" ก็หมายความว่าเด็กจะรับไม่ได้ ท่านได้ยกคำอรรถกถามาใช้ แต่ที่เป็นอภินิหารท่านก็บอกว่าอันนี้เป็นเรื่องน่าเชื่อไม่น่าเชื่อ

ฉะนั้นการที่จะไปพูดเรื่องมองอนาคตอะไร แนวคิดผลงานของท่านอันนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ บางทีเราอาจจะก้าวเลยไปก็ได้ บางทีคนที่มาพูดมองอนาคตนั้นผ่านชีวิตของท่าน แต่ละคนก็มีในใจของตัวเอง มองแนวคิดของท่านไว้คนละอย่าง เสร็จแล้วอาจจะพูดไปคนละทางสองทาง การมองเรื่องที่ตั้งไว้ว่าเราจะช่วยให้มันเป็นอย่างไร โดยผ่านแนวคิดของท่านพุทธทาส เราก็ต้องชัดด้วย อย่างที่อาตมาบอกว่าให้มองตั้งแต่เจตนาของท่านที่แน่นอนเลย ที่จะสนองพุทธประสงค์ ที่จะรับใช้พระพุทธเจ้า ถ้าเรามีเจตนาแบบนี้ก็ต้องอนุโมทนาว่าเรามีเจตนาที่เป็นกุศล เราศึกษางานของท่าน เพื่อเอามาใช้ เอามาสอน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ถ้าทำได้อย่างนี้จะเป็นส่วนที่เราได้สนองท่านพุทธทาสด้วยนะ ท่านพุทธทาสสนองงานพระพุทธเจ้า โดยที่ว่าเราก็จำกัดลงมาในแง่สนองรับใช้ท่านพุทธทาส เราก็ได้รับใช้ทั้งสองเลย

เอาเป็นอันว่าหลวงพ่อพุทธทาสตั้งเจตนาเลย ท่านอุทิศชีวิตสนองงานพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่ชื่อตัวเอง ที่ท่านเรียกตัวเองว่าพุทธทาสภิกขุ บทบาทที่เด่นของท่านก็สมานสัมพันธ์กับยุคสมัย อย่างที่บอกว่าคนไทยห่างไกลพุทธศาสนามาก ความเชื่ออะไรก็เป็นไปตามปรัมปรา ที่สืบต่อกันมา ก็ค่อยๆ คลาดเคลื่อน ค่อยๆ เพี้ยนไป อันนี้เป็นปัญหาของสังคมไทยที่เป็นสังคมพุทธ เพราะพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ต้องอาศัยกัน ไม่ใช่ศาสนาที่สำเร็จด้วยศรัทธา ที่จะบอกเลยว่าให้มีหลักความเชื่ออย่างไร"

แม้โลกวันนี้จะแสนวิปริตเพียงใด หากท่านมองผ่านฐานแนวคิดของท่านพุทธทาส จะเห็นว่าไม่ได้เป็นเรื่องของความทุกข์เพียงด้านเดียว แต่ยังเป็นบุญ เป็นโชค ดังคำกล่าวของท่านที่ว่า "โชคดีมีบุญที่ได้มาเกิดในโลกนี้ ในสภาพปัจจุบันนี้ที่แสนจะวิปริต เพราะว่ามีอะไรให้ศึกษามาก...คิดดูถ้าไม่มีเรื่องให้ศึกษามากแล้วมันจะฉลาดได้อย่างไร"

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขณะที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เริ่มการเสวนาจากการวิเคราะห์แนวคิดพื้นฐานของท่านอาจารย์พุทธทาสว่า

"ถ้าจะให้อาตมาพูดผ่านแนวคิดของท่าน ในแง่ ๑. คือตนอาจจะอ่านไม่เพียงพอ ๒. การที่จะบอกว่าท่านผู้นั้นเป็นเรื่องยากและที่ต้องระวังมาก ที่นี้แม้แต่ชื่อที่บอกว่ามองอนาคตผ่านแนวคิดและชีวิตของพุทธทาสก็แปลความหมายได้หลายอย่าง


คุณ mes ครับ ท่านเจ้าคุณ ก็ออกตัวแล้วนี้ครับ ว่าท่านอาจจะอ่าน อัตตโนมติ ของท่านพุทธทาส ไม่เพียงพอ

เพราะท่านพุทธทาส แสดงอัตตโนมติ วิจารณ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างมากมาย เช่น

วิจารณ์พุทธวิสัย ของพระพุทธเจ้าในเรื่องแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาบนเทวโลก
http://topicstock.pantip.com/religious/ ... 30962.html

คิดแทนพระพุทธเจ้าว่า เอออวยกับศาสนาพราหมณ์ ในเรื่อง นรก สวรรค์ เพราะคนโง่สมัยนั้นเยอะมาก
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html

วิจารณ์พระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท
http://www.pantip.com/cafe/religious/to ... 88838.html




ผมว่า อัตตโนมติของท่านพุทธทาส ท่านเจ้าคุณ ฯ คงจะไม่เอออวยตามท่านพุทธทาส หรอกครับ

อนึ่งคุณ mes กล่าวอ้างท่านเจ้าคุณ เพื่อจะใช้อ้างอิงว่า อัตตโนมติของอาจารย์ใหญ่ของคุณถูกต้องแล้ว

ผมว่าคงไม่เหมาะสมครับ


ควรศึกษาหนังสือของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187

อ้างคำพูด:
จากการที่ได้เคย สนทนากับผู้ที่ศึกษา งานของท่านพุทธทาสมาก ๆ

มักมีแนวความคิดดังนี้

1. ไม่เชื่อถือในพระไตรปิฏก (เถรวาท ) โดยเริ่มตั้งแต่ พระอภิธรรม พระสูตรที่เกี่ยวข้องกับหลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด ( เทวดา เปรต อสุรกาย)
(พร้อมที่จะฉีกพระไตรปิฏกทิ้ง ตามอุดมการณ์ของท่าน)
-- ไม่ต้องพูดถึง อรรถกถา คัมภีร์อื่น ๆ ของเถรวาท เช่น วิสุทธิมรรค, พระอภิธัมมัตถสังคหะ, มิลินทปัญหา ฯลฯ

2. ปฏิเสธการพูดถึงเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ( เห็นว่าเป็นเรื่องสัสสตทิฏฐิทั้งหมด)

3. ยึดถือ ความเห็นของท่านพุทธทาส ยิ่งกว่า พระศาสดา ( พระไตรปิฏก ) โดยอ้าง การตีความของท่านพุทธทาส ที่อ้างว่าเป็นภาษาธรรม (ธรรมาธิษฐาน) ซึ่งในพระไตรปิฏก อรรถกถา บางส่วนเป็นภาษาคน (บุคคลาธิษฐาน) บางส่วนถูกดัดแปลงเพิ่มเติมเข้ามาจากศาสนาพราหมณ์

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 06:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพุทธทาสยึดพระไตรปิฎก

อย่ามาบิดเบือน

มีแตบุญมี แนบ ที่ไม่มีสถาบันสงฆ์ยอมรับที่เป็นมิฉทิฐิเป็นภัยของศาสานา

คำสอนของท่านพุทธทาสทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ให้พระนักศึกษาใช้ศึกษา

ต่างจาก บุญมีกับ แนบ

ไม่เช่นนั้นท่านพุทธทาสไม่ถูกองค์การยูเนสโกจักเป็นบุคคลที่สำคัญของโลกลำดับที่63หรอห

จะมาบิดเบือนคำกล่าวท่านประยุกต์โตอีก

หลักฐานเห็นอยู่โต้ง

ไม่หน้าด้านไปหน่อยหรือ

aminที่นี่คงเป็นโรคตายด้าน

ปล่อยให้ด่าพระอยู่ได้

เหลิมมันตั้งใจมาก่อกวนไม่เห็นหรือ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหลิมเอย

ยิ่งดิ้นยิ่งจนตรอก อย่าคิดว่าผู้อ่านโง่

ทุกวันนี้ก็ไม่มีใครคบ

ไปเวปไหนก็มีแต่คนต่อต้านคนด่า

แม้แต่คนที่เรียบร้อยที่สุดยังด่าว่าเป็นสันดานที่แก้ไม่หายของเหลิม

ไม่ทุเรศตัวเองบ้างหรือ

เกิดมาพ่อแม่คงสั่งสอนเรื่องห้ามด่าพระ

แต่คนสันดารมันเลวเอง

ตกต่ำอย่างนี้แล้วยังไม่รู้ต้วอีก

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
ขณะที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เริ่มการเสวนาจากการวิเคราะห์แนวคิดพื้นฐานของท่านอาจารย์พุทธทาสว่า

"ถ้าจะให้อาตมาพูดผ่านแนวคิดของท่าน ในแง่ ๑. คือตนอาจจะอ่านไม่เพียงพอ ๒. การที่จะบอกว่าท่านผู้นั้นเป็นเรื่องยากและที่ต้องระวังมาก ที่นี้แม้แต่ชื่อที่บอกว่ามองอนาคตผ่านแนวคิดและชีวิตของพุทธทาสก็แปลความหมายได้หลายอย่าง


คุณ mes ครับ ท่านเจ้าคุณ ก็ออกตัวแล้วนี้ครับ ว่าท่านอาจจะอ่าน อัตตโนมติ ของท่านพุทธทาส ไม่เพียงพอ

เพราะท่านพุทธทาส แสดงอัตตโนมติ วิจารณ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างมากมาย เช่น


ยกมาให้เห็นเลยว่า

เหลิมปั้นน้ำเป็นตัว

บิดเบือนท่านประยุกต์โตอย่างไร

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การเสียชาติเกิดของเหลิมคือ

ศีลไม่มี เที่ยวโกหกใส่ร้ายผู้อืน ปั้นน้ำเป็นต้ว

สมาธิไม่มีเพราะเชื่อว่าสมาธิหรือฌาณคือการนั่งหลับตาเฉยๆ ตามลัทธินอกศาสนาของแนบ

ปัญญาไม่มีเพราะถามอะไรไม่เคยตอบได้

อย่างนี้เกิดเป็นคูโบต้าไถนาดีฟ่า

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร