วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 11:35
โพสต์: 48

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนามยปัญญา ย่อมเป็นปัญญา ที่เราคิดเองไม่ได้ ค่ะ อยากทราบว่า พอมีวิธีดูไหมค่ะ
ว่า เป็นภาวนามยปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ทราบว่าที่ถามเรื่องภาวนานั้นคือภาวนาอะไร และทำอย่างไรครับ? ทั้งนี้เพื่อเหล่ากัลยาณชนจะช่วยแนะนำเพิ่มเติมได้.

ว่าโดยหลัก ภาวนามยปัญญา รู้ได้ด้วยตนเอง เหมือนเรากินเกลือ เรารู้รสเค็มเองได้โดยไม่ต้องถามใคร คนอื่นอธิบายหรือบอกเราก็ไม่อาจทราบชัดในความเค็มนั้น ..

สภาพธรรมเป็นสภาวะนามธรรมที่ละเอียดมากที่สุด เรื่องเช่นนี้เราอาจได้ฟังจากครูบาอาจารย์เป็นแนวทางแต่เมื่อเขาเกิด เรานั่นเองที่ทราบ คนอื่นหาทราบด้วยไม่..

ควรตรวจทานจากคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรงด้วย(พระไตรปิฎก)จะได้ทราบแนวทางที่ถูกต้อง

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


แก้ไขล่าสุดโดย -dd- เมื่อ 14 ส.ค. 2010, 08:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความครุ่นคิดใดที่เป็นไปเพื่อการสละ ละ วาง เพื่อความเบาบางแห่งกิเลส
เพื่อยังจิตให้เกิดความผ่องใส เกิดปิติ เกิดความปราโมทย์ เกิดความสงบรำงับ
ความคุ่นคิดนั้น พระพุทธเจ้าท่านทรงให้พึงหมั่นเจริญให้ยิ่งๆขึ้นไป ครับ

ภาษาบัญญัติ เป็นคำสมมุติเรียกชื่อแทนสภาวะธรรมต่างๆ
เป็นสัญญาอย่างหนึ่ง
การยึดมั่นถือมั่น คือสาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ วิตกกังวล

เมื่อใดที่จิตเกิดความสงบ ปราศจากอกุศลวิตกใดๆ ไม่มีความพยาบาทอาฆาต ไม่มีความคับแค้นขัดเคืองต่อสิ่งใดๆ
เมื่อนั้น ย่อมเป็นกาลที่เหมาะสมกับการพิจารณาใคร่ครวญมรรค

การเฝ้าจ้อง รอคอยให้ปัญญาธรรมเกิดขึ้นเอง นั้น
คือสภาวะธรรมอย่างหนึ่ง คือสังขารธรรมอย่างหนึ่ง
ต้องทิ้งปล่อยวางสภาวะธรรมตัวนี้ลงไปเสียก่อน

ทิ้งสัญญาความจำใดๆทั้งหลายลงไปให้หมด
เพียงแค่สักแต่ว่ารู้ว่า ขณะนี้วิญญาณกำลังทำหน้าที่รู้อะไรอยู่
สติคือธรรมระลึกรู้ถึงสภาพสภาวะธรรมที่กำลังปรากฏเกิดขึ้นในขณะปัจจุบันนั้นๆ
ทั้งสัญญาก็ดี ทั้งเวทนาก็ดี อย่าไปใส่ใจ ให้สละละวางลงไป
สัญญาเพียงแค่ใช่อาศัยเพื่อการเข้าสูมรรคผลเท่านั้นเอง
เพราะสุดท้าย มันต้องปล่อยวางลงทั้งหมด แม้กระทั้งตัวสติและปัญญา
นามรูปดับลงในที่ใด สติและปัญญา ก็ดับลงไปในที่นั้นด้วย

ลองเปลี่ยนแนวภาวนาใหม่ๆดูบ้าง เพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบกัน
สมัยพระพุทธเจ้ายังอยู่ในภพของเจ้าชายสิทธัตถะอยู่ก้ยังเคยยังลองผิดลองถูก
แสวงหาแนวทางภาวนาต่างๆ จนหมดสิ้นแทบจะทุกสำนัก
สุดท้ายพระองค์ก็ทรงค้นคว้าด้วยพระองค์เอง จนประสพความสำเร็จ

ธรรมปฏิจจสมุปบาท คือธรรมที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะ กลายเป็นพระพุทธเจ้า

ถามว่า ธรรมปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้นมาเองลอยๆอย่างนั้นหรือ

แล้วพระพุทธเจ้าท่าน ภาวนาอย่างไร จึงทำให้เข้าถึงธรรมปฏิจจสมุปบาทได้

ในคำสั่งสอนของพระองค์ พระองค์ทรงเล่าบรรยายเอาไว้ให้หมดแล้วครับ
ช่วงก่อนตรัสรู้ ช่วงที่ตรัสรู้ ช่วงหลังจากตรัสรู้แล้ว
ลองปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้าดูเถิดครับ
น่าจะเป็นการภาวนาที่ไม่ทำให้เกิดการหลงทิศ หลงทาง แต่อย่างใดหรอกนะ ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มิ.ย. 2008, 09:58
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


อันนี้เป็นความเข้าใจของผมจากการปฏิบัติ ณ. ขณะนี้ อาจจะผิดก็ได้หรือถูกก็ได้ลองพิจารณาดูครับ

ปัญญาทางโลก เป็นการใช้ทรัพยากรองค์ความรู้ที่เราเคยเรียนรู้มา คิดจะเกิดการตกผลึกทางความคิด เกิดเป็นความรู้ความเข้าใจขึ้น ปัญญาอันนี้ยิ่งรู้มาก ยิ่งยึดมาก

ปัญญาทางธรรม เป็นการเข้าไปประจักษ์ความจริงเฉพาะหน้า จนเห็นความจริง 3 ลักษณะ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปัญญาอันนี้ยิ่งมีมากยิ่งวางมาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มันไม่ได้ยากอะไรหรอกครับ

ดูความฉลาดทางอารมณ์ของเราได้เลย
ลักษณะของภาวนามัยปัญญานี้ ไม่ได้มีอะไรมากหรอก
ไม่ได้มีระบบความคิดอะไรเลย ไม่ต้องพิจารณาอะไรเลย

มันเป็นความสามารถในการเลือกอารมณ์ที่ปรากฏขึ้น
ว่าจะเอา หรือไม่เอา เท่าันั้นเอง

ถ้าเมื่อไหร่ตกไปคิด หาทางคิด คิดบวกคิดลบก้ตาม นี่หลุดจากภาวนามัยปัญญาไปแล้ว

ภาวนามัยปัญญานี้มันจะมีลักษณะเป็นตัวตัด
ตัดสิน ที่จะสละอารมณ์ต่างๆออกไปได้

เช่นโกรธขึ้นมา ถ้าคนที่ฝึกฝนมา มันจะปล่อยได้เร็ว
คือฉลาดเลือกอารมณ์ว่าอันนี้ไม่เอา อันนั้นไม่เอา

คือเครียดขึ้นมานี่ปล่อยเลย ไม่คิดไม่ต่ออะไร
ปล่อย ให้อภัย ไม่ถือ ไม่ว่า ไม่เก็บมาคิด ไม่ปล่อยให้อารมณ์มันฟุ้งซ่าน
ไม่ว่าจะเกิดความเครียดนั้นด้วยตนเอง หรือมีคนมากระทำก้ตาม

อย่าว่าแต่อารมณ์ไม่ดีเลยนะ
อารมณ์ดีก็ยังต้องปล่อยเลย เช่นอ่านหนังสือธรรมะ ถูกใจมีความสุขแผ่ซ่านขึ้นมา
น้ำมูกน้ำตามาจ่อประตูแล้ว พอภาวนามัยปัญญาของเราทำงาน มันก็ปล่อยเหมือนกันนะ
คือเรียกว่าปัญญาตัวนี้มันพยามที่จะไม่ปล่อยให้อารมณ์ตนเองมันหวือหวา

แต่ถ้าไปคิด ไม่ว่าจะคิดอะไรก็ตาม คิดบวกคิดลบ
คิดน้อมนึกตรึกตรอง อะไรก้ตาม ที่ปรากฏขึ้นมา สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ภาวนามัยปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนามยปัญญาเป็นปัญญาที่สั่งให้เราทำนู่นทำนี่ได้เลยค่ะ เราจะรู้ในสิ่งที่ไม่คิดว่าจะรู้แบบไหลมาเองโดยไม่ผ่านการคิด ภาวนามยปัญญาก็เช่นการรู้อดีตชาติของตัวเองและการรู้อนาคตของตัวเอง จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สมควรเกิดซึ่งกรรมเป็นผู้กำหนดไว้ ไม่ใช่รู้ทุกเรื่องแต่เฉพาะเรื่องที่เหมาะจะรู้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ เมื่อใดที่ได้ภาวนามยปัญญาเมื่อนั้นผู้ได้จะรู้เองทันที ภาวนามยปัญญาเป็นปัญญามหัศจรรย์ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 07:32
โพสต์: 95

แนวปฏิบัติ: หลักวิถีธรรมชาติ - อานาปานสติ,บริกรรมภาวนา
ชื่อเล่น: นุ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยกเอาคำอธิบายของท่านพระอาจารย์สายวิปัสสนาท่านนึงที่ผมเคารพมาก มาตอบ ดังนี้ครับ ท่านกล่าวว่า
"มีนักปฎิบัติหลายๆคน ได้เกิดความข้องใจและเกิดความสงสัยในการปฎิบัติ มาถามปัญหาบ่อยๆ คือโดยที่เค้าเคยทำสมาธิจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญ ทำทีไร จิตก็เข้าไปสู่สมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคตา จิตสงบลงไป จนกระทั่งยังเหลือแต่จิตดวงเดียว รู้ตื่น เบิกบาน อยู่เท่านั้น แต่หนักๆเข้า จิตไม่เข้าไปสู่สมาธิ สงบนิ่ง ละเอียดอย่างเคย จะกำหนดจิตก็ตาม ไม่กำหนดจิตก็ตาม จะตั้งใจภาวนาก็ตาม ไม่ตั้งใจภาวนาก็ตาม
จิตของเค้ามีแต่ความคิด เกิดขึ้นมาอยู่ไม่หยุดหย่อน เค้าก็เข้าใจว่าจิตของเค้าฟุ้งซ่าน เพราะความที่ไปติดในความสงบที่เคยผ่านมาแล้ว ในเมื่อจิตมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปอย่างนั้น เค้าจึงเข้าใจผิดว่า เมื่อจิตมีความคิดเกิดขึ้นไม่หยุด เค้าว่าจิตของเค้าฟุ้งซ่าน ทีนี้จิตฟุ้งซ่าน หรือไม่ฟุ้งซ่านนั้น เรามีข้อที่จะสังเกตอย่างนี้

...ในเมื่อจิตของเรามีความคิด แล้วก็มีสติ สัมปะชัญญะ รู้พร้อม อยู่ที่ขณะจิตที่มีความคิด คิดสักแต่ว่าคิด คิดแล้วปล่อยว่างไป คิดแล้วปล่อยว่างไป ไม่ยึดอะไรไว้สร้า้งปัญหาให้ตัวเองต้องเดือดร้อน อันนี้ท่านเรียกว่า
ปัญญาในสมาธิ หรือ สมาธิปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการภาวนา เรียกว่า ภาวนามยปัญญา จิตคิดเอง สติตามรู้เองโดยอัตโนมัติ


...แต่ถ้าความคิดอันใดที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้เราดีใจไป เสียใจไป ทุกข์ใจไป เพราะ สติอ่อน ตามรู้ไม่ทัน ไม่รู้จักปล่อยว่าง อันนี้เรียกว่า ความฟุ้งซ่าน"

.....................................................
จงทำศีลให้เป็น อธิศีล
ทำจิตให้เเป็น อธิจิต
ทำปัญญาให้เป็น อธิปัญญา


พื้นฐานคุณธรรมความเป็นมนุษย์คือ ศีล๕ กุศลกรรมบถ๑๐ หิริโอตัปปะ และความกตัญญู กตเวทิตา

จุดสูงสุดของการรู้ธรรม เห็นธรรม ก็คือ
...สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ...สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา


แก้ไขล่าสุดโดย ภาวิตา-พหุลีกตา เมื่อ 14 ส.ค. 2010, 15:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนามยปัญญา หมายถึง

ปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง ปัญญาที่ทำให้ ปล่อย ละ วาง สิ่งที่ติดยึด ขัดข้อง สิ่งที่เคยยึดไว้ ถือไว้
ปล่อยวางได้ด้วยความรู้เท่า รู้แบบเข้าใจ หายสงสัย ไม่ยึดติด ไม่ขัดข้องอีก

ภาวนามยปัญญาหรือเรียกอีกอย่างว่า วิปัสสนาปัญญา ปัญญาตัวนี่แหละ
ที่ทำให้ปุถุชนคนธรรมดา กลายเป็นพระอริยะบุคคล ขั้นใดขั้นหนึ่ง

ภาวนามยปัญญานี้ ไม่ใช่อยากให้เกิดก็เกิด ต้องมาจากการฝึกฝน อบรมเป็นเวลานาน
หลายภพหลายชาติบางครั้งต้องได้รับการชี้แนะหรือชี้นำ เช่น :--

พระสารีบตร ได้รับคำชี้แนะจากพระอัสสชิว่า
“ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด (เกิดแต่เหตุ)
พระตถาคตเจ้า ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะ ตรัสอย่างนี้”


พระสารีบุตรก็เกิด ปัญญา บรรลุธรรมเป็นพระอริยะขั้นต้น คือ พระโสดาบัน
ปัญญาตัวนี้แหละเรียก "ภาวนามยปัญญา"

ถามว่ารู้ได้อย่างไร ต้องตอบว่า เหมือนกินข้าวอิ่ม ไม่ต้องไปถามใคร
แม้เด็กๆ ก็ไม่ถามว่าอิ่มเป็นอย่างไร เพราะรู้ได้เฉพาะตน ท่านเรียกว่า "ปัจจัตตัง"

แหะ แหะ กระผมรออยู่ว่าเมื่อไรหนา..จะได้บรรลุธรรมง่ายๆ เหมือนพระสารีบุตรบ้าง..สาธุ :b12: :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ภาวนามยปัญญา หมายถึง

ปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง ปัญญาที่ทำให้ ปล่อย ละ วาง สิ่งที่ติดยึด ขัดข้อง สิ่งที่เคยยึดไว้ ถือไว้
ปล่อยวางได้ด้วยความรู้เท่า รู้แบบเข้าใจ หายสงสัย ไม่ยึดติด ไม่ขัดข้องอีก

ภาวนามยปัญญาหรือเรียกอีกอย่างว่า วิปัสสนาปัญญา ปัญญาตัวนี่แหละ
ที่ทำให้ปุถุชนคนธรรมดา กลายเป็นพระอริยะบุคคล ขั้นใดขั้นหนึ่ง

ภาวนามยปัญญานี้ ไม่ใช่อยากให้เกิดก็เกิด ต้องมาจากการฝึกฝน อบรมเป็นเวลานาน
หลายภพหลายชาติบางครั้งต้องได้รับการชี้แนะหรือชี้นำ เช่น :--

พระสารีบตร ได้รับคำชี้แนะจากพระอัสสชิว่า
“ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด (เกิดแต่เหตุ)
พระตถาคตเจ้า ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะ ตรัสอย่างนี้”


พระสารีบุตรก็เกิด ปัญญา บรรลุธรรมเป็นพระอริยะขั้นต้น คือ พระโสดาบัน
ปัญญาตัวนี้แหละเรียก "ภาวนามยปัญญา"

ถามว่ารู้ได้อย่างไร ต้องตอบว่า เหมือนกินข้าวอิ่ม ไม่ต้องไปถามใคร
แม้เด็กๆ ก็ไม่ถามว่าอิ่มเป็นอย่างไร เพราะรู้ได้เฉพาะตน ท่านเรียกว่า "ปัจจัตตัง"

แหะ แหะ กระผมรออยู่ว่าเมื่อไรหนา..จะได้บรรลุธรรมง่ายๆ เหมือนพระสารีบุตรบ้าง..สาธุ :b12: :b8:


อิ อิ ...ตับหวานนนน... :b20:

:b22: :b22: :b22:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
อิ อิ ...ตับหวานนนน... :b20:

:b22: :b22: :b22:

:b32: อิอิ ตอนนี้เลี้ยงงูเขียว ไว้หลายตัว จิ้งจกตุ๊กแกมา จะปล่อยออกจากกรง
กินตับตุ๊กแกเสียเลย 55555+ :b32: :b32: :b22:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 11:35
โพสต์: 48

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนามยปัญญา ถ้าแปลตามตัว คือ ปัญญาจากการภาวนา น่าจะเป็นปัญญา ที่เราคาดไม่ถึงนะ

เราไม่เคยเจอมาก่อน น่าจะเป็นปัญญาที่ลึกซึ้งมากๆๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมร เขียน:
ภาวนามยปัญญา ถ้าแปลตามตัว คือ ปัญญาจากการภาวนา น่าจะเป็นปัญญา ที่เราคาดไม่ถึงนะ

เราไม่เคยเจอมาก่อน น่าจะเป็นปัญญาที่ลึกซึ้งมากๆๆ


ใช่ครับ

ปัญญาที่เป็นไปเืพื่อการสิ้นอาสวะกิเลส มี 16 ตัว เป็นปัญญาโดยลำดับ
แต่ละตัวมีชื่อเฉพาะ และหน้าที่โดยเฉพาะ

ลองหาดูจากคำว่า "โสฬสญาน" หรือ "วิปัสนาภูมิ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 20:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวิตา-พหุลีกตา เขียน:
ขอยกเอาคำอธิบายของท่านพระอาจารย์สายวิปัสสนาท่านนึงที่ผมเคารพมาก มาตอบ ดังนี้ครับ ท่านกล่าวว่า
"มีนักปฎิบัติหลายๆคน ได้เกิดความข้องใจและเกิดความสงสัยในการปฎิบัติ มาถามปัญหาบ่อยๆ .......


สาธุ.. :b8:
..หลวงพ่อพุธ ฐานิโย..
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวิตา-พหุลีกตา เขียน:
ขอยกเอาคำอธิบายของท่านพระอาจารย์สายวิปัสสนาท่านนึงที่ผมเคารพมาก มาตอบ ดังนี้ครับ ท่านกล่าวว่า
"มีนักปฎิบัติหลายๆคน ได้เกิดความข้องใจและเกิดความสงสัยในการปฎิบัติ มาถามปัญหาบ่อยๆ คือโดยที่เค้าเคยทำสมาธิจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญ ทำทีไร จิตก็เข้าไปสู่สมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคตา จิตสงบลงไป จนกระทั่งยังเหลือแต่จิตดวงเดียว รู้ตื่น เบิกบาน อยู่เท่านั้น แต่หนักๆเข้า จิตไม่เข้าไปสู่สมาธิ สงบนิ่ง ละเอียดอย่างเคย จะกำหนดจิตก็ตาม ไม่กำหนดจิตก็ตาม จะตั้งใจภาวนาก็ตาม ไม่ตั้งใจภาวนาก็ตาม
จิตของเค้ามีแต่ความคิด เกิดขึ้นมาอยู่ไม่หยุดหย่อน เค้าก็เข้าใจว่าจิตของเค้าฟุ้งซ่าน เพราะความที่ไปติดในความสงบที่เคยผ่านมาแล้ว ในเมื่อจิตมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปอย่างนั้น เค้าจึงเข้าใจผิดว่า เมื่อจิตมีความคิดเกิดขึ้นไม่หยุด เค้าว่าจิตของเค้าฟุ้งซ่าน ทีนี้จิตฟุ้งซ่าน หรือไม่ฟุ้งซ่านนั้น เรามีข้อที่จะสังเกตอย่างนี้

...ในเมื่อจิตของเรามีความคิด แล้วก็มีสติ สัมปะชัญญะ รู้พร้อม อยู่ที่ขณะจิตที่มีความคิด คิดสักแต่ว่าคิด คิดแล้วปล่อยว่างไป คิดแล้วปล่อยว่างไป ไม่ยึดอะไรไว้สร้า้งปัญหาให้ตัวเองต้องเดือดร้อน อันนี้ท่านเรียกว่า
ปัญญาในสมาธิ หรือ สมาธิปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการภาวนา เรียกว่า ภาวนามยปัญญา จิตคิดเอง สติตามรู้เองโดยอัตโนมัติ


...แต่ถ้าความคิดอันใดที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้เราดีใจไป เสียใจไป ทุกข์ใจไป เพราะ สติอ่อน ตามรู้ไม่ทัน ไม่รู้จักปล่อยว่าง อันนี้เรียกว่า ความฟุ้งซ่าน"



:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 20:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ..คุณอนัตตญาณ :b8:

อันอื่นก็เข้าใจหมด..

ยกเว้น..
อนัตตญาณ เขียน:
เพราะสุดท้าย มันต้องปล่อยวางลงทั้งหมด แม้กระทั้งตัวสติและปัญญา
นามรูปดับลงในที่ใด สติและปัญญา ก็ดับลงไปในที่นั้นด้วย



ก็เห็น..พระอรหันต์..สติ..ปัญญา..ก็ครบสมบูรณ์ดีหมด..

ที่ว่า..ดับลงไป..คงมีความนัยยะอะไรหรือเปล่าครับ :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร