วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ต้องพยายามเน้นนักเน้นหนาเรื่องจิตนั้น เพราะในปัจจุบัน ผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนารายใหม่ๆ มักเชื่อตามๆกันมา โดยไม่เคยพิจารณาว่า สิ่งที่ตนได้ยินได้ฟังมานั้น เชื่อถือได้หรือไม่ ทั้งที่สิ่งที่รู้มา อ่านมา หรือได้ยินได้ฟังมา ขาดเหตุผลและไม่น่าเชื่อถือเลย เพียงเพราะเชื่อตามๆกันมาเท่านั้น ซึ่งผิดไปจากหลักกาลามสูตร ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า อย่าได้เชื่อเพราะสิ่งที่เชื่อนั้น ได้มีความเชื่อที่เกิดขึ้นตามๆกันมา ๑๐ ประการ โดยไม่มีการพิสูจน์เสียก่อน

พระองค์ยังทรงตรัสไว้ในท้ายพระสูตรว่า อย่าเพิ่งเชื่อทั้ง ๑๐ ประการในกาลามสูตร ให้ตั้งใจฟังให้ดีเสียก่อน แล้วนำมาสมาทานดู ลงมือปฏิบัติให้เห็นจริง เมื่อลงมือปฏิบัติให้เห็นจริงได้แล้ว และเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ผู้รู้ไม่ติเตียน ค่อยเชื่อก็ยังไม่สายเกินไปหรอก

แต่ในปัจจุบันไม่ได้เป็นอย่างนั้น ชาวพุทธส่วนใหญ่มักเชื่อโดยขาดเหตุผล เพียงเพราะผู้พูดน่าเชื่อถือ หรืออยู่ในฐานะที่ผู้ฟังคิดเองเออเองว่าผู้พูดคงไม่โกหกหรอก โดยไม่เคยนำพามาเปรียบเทียบกับพระพุทธพจน์(พระสูตรและพระวินัย) หรือกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในสายภาวนาเลย

อย่างเช่น เชื่อไปได้ว่า จิตเป็นกองทุกข์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าจิตตัวมันเองเป็นตัวทุกข์หรือเป็นกองทุกข์เสียแล้ว จะเป็นการพูดที่ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์ หรือเท่ากับเป็นการกล่าวตู่พระพุทธพจน์ดีๆนั่นเอง ที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสสอนไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ ก็จะเสียหายไปด้วย ที่ทรงตรัสสอนไว้ดังนี้ ๑.ละชั่ว ๒.ทำดี ๓.ชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองหรือที่เรียก อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

ถ้าเราลองพิจารณาให้ดีๆก็จะพบว่า พระองค์ทรงกล่าวถึงเรื่องจิตล้วนๆ ทั้ง๓ข้อเลย ๑.การละชั่ว ละกันที่ไหน ถ้าไม่ใช่ละกันที่จิต ๒.การทำดี ทำกันที่ไหน ถ้าไม่ใช่ทำดีกันที่จิต อีกนั่นแหละ ในข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ นั้น ล้วนมีสอนอยู่ในทุกๆศาสนา เช่นเดียวกันกับพระพุทธศาสนาของเรา แต่ในข้อที่๓.ชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองนั้น จะมีแต่เฉพาะในพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น ซึ่งเทียบเท่ากับอธิจิตสิกขา

ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์หรือเป็นกองทุกข์แล้ว คำว่าอธิจิตเราจะแปลว่ายังไงดีหละ คงต้องแปลว่า เป็นกองทุกข์อย่างยิ่งสิใช่มั้ย??? เรายังจะชำระจิตไปเพื่ออะไร??? เมื่อชำระจิตได้แล้ว แทนที่จิตจะสะอาดบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง หลุดพ้นไปได้หรือเป็นอธิจิตไปแล้ว ซึ่งอธิจิตจะนำให้เกิดอธิปัญญาตามมา แต่กลับไม่เห็นเป็นเช่นนั้น สืบเนื่องจากเชื่อไปแล้วว่าจิตเป็นกองทุกข์หรือเป็นตัวทุกข์

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเมื่อจิตตัวมันเองเป็นตัวทุกข์หรือเป็นกองทุกข์ซะแล้ว มันก็ต้องเป็นตัวทุกข์หรือเป็นกองทุกข์อยู่อย่างนั้นเองวันยังค่ำ ดัดแปลงใดๆก็ไม่ได้เลย เพราะความเข้าใจเรื่องจิตผิดไปจากความเป็นจริงแท้ๆ เห็นจิตเป็นวิญญาณขันธ์ ซึ่งวิญญาณขันธ์นั้นเป็นขันธ์หนึ่งในขันธ์๕ ถูกจัดไว้เป็นกองทุกข์นั่นเอง มีพระบาลีกล่าวไว้ชัดเจน “ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา อุปาทานขันธ์ ๕ ทั้งหลายล้วนเป็นทุกข์”

ใครที่เป็นผู้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั่นหละ??? ถ้าไม่ใช่จิต เรื่องในโลกที่เกิดขึ้นล้วนสืบเนื่องมาจาก การที่จิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ในรูปวัตถุสิ่งของต่างๆและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย เข้ามาเป็นของๆตนคือจิตนั่นเอง เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์(อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด)ทั้งหลาย ที่รัก ที่ชอบ ฯลฯ จิตก็จะเป็นสุขไปด้วยกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายเหล่านั้นที่เกิดขึ้น แต่ถ้าไม่ชอบใจ ขัดใจ ชิงชัง ฯลฯ จิตก็จะหงุดหงิด เศร้าหมองจนเป็นทุกข์ไปด้วยกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายเหล่านั้นที่เกิดขึ้น

ก็เป็นแสดงให้เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า จิตไม่ใช่เป็นกองทุกข์แน่นอน เพราะในบางครั้งบางคราว จิตก็เป็นตัวสุขหรือเป็นกองสุขขึ้นมาได้เช่นกัน ฉะนั้นจิตไม่ได้เป็นอะไรทั้งสิ้น ที่จิตเป็นสุข หรือจิตเป็นทุกข์ขึ้นมานั้น ล้วนเพราะตัวจิตเองเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในรูปวัตถุสิ่งของต่างๆและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นที่เกิดขึ้นมาเป็นของๆตนนั่นเอง

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนเมื่อลงปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาด้วยความเพียรจนสำเร็จได้นั้น จิตจะมีสติอย่างต่อเนื่อง เป็นจิตที่มีคุณภาพ อ่อน ควรแก่การงาน และจิตเองก็จะปฏิเสธ สุข ทุกข์ โสมนัสหรือโทมนัสทั้งหลายในกาลก่อนไปด้วย เพราะปล่อยวาง(ละ)อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายที่เกิดขึ้นและปล่อยวาง(ละ)ความยึดมั่นถือมั่นที่เกิดขึ้น ณ.ภายในจิตของตนเอง เข้าถึงอธิจิตได้ดังนี้....

ดั่งมีพระพุทธวจนะรับรองไว้ดังนี้

สัตว์(จิตที่ข้องในอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด)ทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง
สัตว์(จิตที่ข้องในอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด)ทั้งหลาย ย่อมบริสุทธิ์เพราะจิตผ่องแผ้ว ...
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองด้วย ราคะ โทสะ โมหะ สิ้นกาลนาน ...
(คัททูลสูตรที่ ๒)

จิต นี้มีมานานแล้ว ไม่มีใครรู้ว่าเริ่มต้นมาจากที่ไหน และจะไปสิ้นสุดเอาเมื่อไร เวียนว่ายอยู่ในสังสารจักรอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เบื้องต้น เบื้องปลายไม่ปรากฏ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี

(อวิชชาสูตร)

(อวิชชาไม่ได้เกิดมีขึ้นก่อนมีจิต แต่ได้เกิดขึ้นที่จิตในภายหลัง ส่วนอวิชชาจะเกิดขึ้นมาแต่ครั้งใด รู้ไม่ได้ )

“ปภสสสสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ,ตญฺจโข อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฏฺฐํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้มีสภาพประภัสสรผ่องใส แต่ที่เศร้าหมองไปนั้น เพราะมีอุปกิเลสเป็นแขกจรเข้ามาในภายหลัง”


พระพุทธวจนะที่ยกมานี้ พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ชัดเจนแล้วว่า จิตจะเศร้าหมองจนเป็นทุกข์ หรือ ผ่องแผ้วจนเป็นสุขนั้น เกิดจากการที่จิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในรูปวัตถุสิ่งของต่างๆและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นมา ถึงจะจัดเป็นกิเลสที่เป็นแขกจรเข้ามา ณ.ภายในของจิตผู้นั้น

ถ้าจิตของผู้นั้นไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นใน รูปวัตถุสิ่งของต่างๆและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นมา จะจัดเป็นกิเลสที่เป็นแขกจรของจิตผู้นั้นได้มั้ย??? ย่อมไม่ได้เลย จิตก็อยู่ส่วนจิต กิเลสก็อยู่ส่วนกิเลส ซึ่งเป็นของคู่โลก พระพุทธวจนะที่นำมาเสนอนี้ ไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้นเลย

ธรรมภูต :b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 22:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
เพราะความเข้าใจเรื่องจิตผิดไปจากความเป็นจริงแท้ๆ เห็นจิตเป็นวิญญาณขันธ์ ซึ่งวิญญาณขันธ์นั้นเป็นขันธ์หนึ่งในขันธ์๕ ถูกจัดไว้เป็นกองทุกข์นั่นเอง มีพระบาลีกล่าวไว้ชัดเจน “ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา อุปาทานขันธ์ ๕ ทั้งหลายล้วนเป็นทุกข์”



เพราะ..เข้าใจว่า..จิต..ของหลวงปู่..กับ..จิต..ที่หมายถึงวิญญาณขันธ์..ในแบบตำรา..เป็นสิ่งเดียวกัน

พอจะจับเอามาเทียบกัน..เพื่อให้ลงกับตำรา..จึงต้องไปตีความ..จิตของหลวงปู่..กันเล็กน้อย

กลับพลาด..

ตีความ..นี้ใช้สมองคิด..
ลำพังสมองคิด..จึงไม่อาจถึงปัญญาที่เห็นแจ้งของพระอรหันต์ได้..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้
ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี
เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี
เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี.

เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
เพราะหลุดพ้น จิตจึงดำรงอยู่ จิตจึงดำรงอยู่ จิตจึงดำรงอยู่
พราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1007&Z=1024

จิตจึงดำรงอยู่ จิตจึงดำรงอยู่ จิตจึงดำรงอยู่

^
^
พระพุทธองค์ทรงตอบไว้ดีแล้ว เพราะยังทรงอยู่กับเรา

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2010, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อธิธรรมปิฎกกล่าวไว้ว่า ปรมัตถธรรม 4 มี รูป จิต เจตสิก นิพพาน
ขันธ์ 5 มี กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ขันธ์ 5 มี ปรมัตถธรรม อยู่ 3 คือ รูป จิต เจตสิก ยกเว้นนิพพาน ขันธ์ 5 ไม่มีนิพพาน
รูปปรมัตถ์ ได้แก่ กายขันธ์
จิต ปรมัตถ์ ได้แก่ วิญญาณขันธ์
เจตสิกปรมัตถ์ ได้แก่ เวทนาขันธ์1 สัญญาขันธ์1 สังขารขันธ์50 รวมเป็นเจสิก 52


คุณอิสระครับ

อย่าอ้างลอยๆครับ เอาพระพุทธพจน์มายืนยันด้วยครับ
อรรกถาจารย์รจนาของท่านเอง ไม่ใช่พระพุทธพจน์นะครับ

"จิต ปรมัตถ์ ได้แก่ วิญญาณขันธ์" ขอหลักฐานด้วยครับ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2010, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่กองทุกข์ แต่อุปาทานขันธ์5 เป็นทุกข์เป็นกองทุกข์ กรุณาแยกกันด้วย เพราะต่างกรรม ต่างวาระกัน

อุปาทานขันธ์ คือยึดติดในขันธ์ อุปโหลกขันธ์ว่าเป็นตัวตนบุคคลเราเขาแล้วเข้าไปยึดถือไว้จึงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ว่า ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ไม่ใช่ว่า วิญญาณขันธ์เป็นทุกข์ (ศึกษาอภิธรรมให้ถ่องแท้ผนวกกับการปฏิบัติจริงจะเข้าใจแจ้งชัดยิ่งขึ้น)

ถ้าท่านกล่าวว่า ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ วิญญาณขันธ์เป็นทุกข์ งั้นอรหันต์ที่ยังไม่นิพพาน ยังทรงขันธ์5อยู่ ก็แสดงว่าท่ายังไม่พ้นทุกข์สิท่านธรรมภูต งั้นจะเป็นอรหันต์ทำไม ถ้าไม่พ้นทุกข์ จริงมั้ยล่ะท่าน กรุณาแยกแยะด้วย

คุณอิสระครับ

คุณนี่เก่งเกินกว่าพระพุทธองค์อีกนะครับ
พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนพระปัจจวัคคีย์ว่ายังไงครับ?

รูป เวทนา สํญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า

เมื่อรูป เวทนา สํญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์หรือเป็นสุขหละ?
เป็นทุกข์พระเจ้าข้า

พระพุทธองค์ยังทรงอยู่กับเรานะครับ อย่าทำตัวเก่งเกินพระพุทธองค์นะครับ

ใครครับที่อุปโหลกขันธ์ว่าเป็นตัวตนบุคคลเราเขา???

ใครครัยที่ยึดติดในขันธ์๕???ตอบด้วยครับ

อุปทานเกิดขึ้นได้อย่างไรครับ? เกิดขึ้นเอง หรือใครทำให้เกิดครับ??

อ้างคำพูด:
ถ้าท่านกล่าวว่า ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ วิญญาณขันธ์เป็นทุกข์ งั้นอรหันต์ที่ยังไม่นิพพาน ยังทรงขันธ์5อยู่ ก็แสดงว่าท่ายังไม่พ้นทุกข์สิท่านธรรมภูต งั้นจะเป็นอรหันต์ทำไม ถ้าไม่พ้นทุกข์ จริงมั้ยล่ะท่าน กรุณาแยกแยะด้วย


คุณอย่าเดาสวดเองสิครับ คุณรู้ได้ยังไงครับว่า พระอรหันต์ท่านยังไม่ถึงพระนิพพานครับ???
พระอรหันต์ที่ยังครองขันธ์๕อยู่เรียกว่า"สอุปาทิเสสนิพพาน"ใช่มั้ยครับ??? ใช่นิพพานมั้ยครับ???

คุณไม่ได้อ่านพระสูตรที่ผมนำมาลงหรือครับ? หัดอ่านให้เข้าใจเสียก่อนสิ ค่อยมาแย้งก็ยังไม่สายนะครับ
ในเมื่อท่านพระอรหันต์ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์๕อย่างแรงกล้าไม่มี เอาอะไรมาทุกข์ครับ
หัดรู้จักแยกแยะด้วยนะครับ

ผมนำมาให้อ่านอีกครั้งนะครับ
เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
เพราะหลุดพ้น จิตจึงดำรงอยู่ จิตจึงดำรงอยู่ จิตจึงดำรงอยู่เ
พราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.


http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1007&Z=1024

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2010, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กองสุข ไม่มีหรอกท่านธรรมภูต พระพุทธองค์ไม่เคยกล่าวว่ามีสุข มีกองสุข ท่านตรัสสิ่งเดียวเท่านั้น คือ สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์

ฉะนั้น ทุกข์ก็มีแค่ 2 อย่าง คือทุกข์มาก กับทุกข์น้อย

ทุกข์มาก คือทุกข์ที่ทนได้ยาก คือความทุกข์โศก ทุกข์กายปวยไข้ ทุกข์ใจต่าง ๆ นานานั่นแหล่ะ
ทุกข์น้อย คือทุกข์ที่ทนได้ง่าย คือความสุขทั้งหลายนั่นแหล่ะ มันทนได้ง่าย มันทนได้นาน แต่สุดท้ายมันก็ทุกข์ทั้งสิ้น

คุณอิสระครับ
อย่าคิดเองเออเองสิครับ มีพระพุทธพจน์กล่าวถึงเรื่องสุขด้วยนะครับ

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉนรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.


แล้ว "นิพพานัง ปรมัง สุขัง" ใช่พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งมั้ยครับ???
สุดท้ายพระนิพพานจะกลับมาเป็นทุกข์ได้ด้วยหรือครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2010, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิตไม่ได้เข้าไปยึดมั่นถือมันอะไร จิตมีหน้าที่เดียวคือ จิตมีหน้าที่รู้อารมณ์ทั้งปวง แค่นั้น ตัวเรา ตัวกูของกูนี่แหล่ะที่เข้าไปยึด ไม่ใช่จิตเข้าไปยึด

คุณอิสระครับ

จิตปุถุชนมีหน้าที่รู้อารมณ์ทั้งปวงใช่มั้ยครับ???
แล้วจิตของพระอริยเจ้า(โลกุตรจิต) รู้อยู่ที่รู้ โดยไม่รับอารมณ์ได้มั้ยครับ???

คุณพูดว่า "ตัวกูของกูนี่แหล่ะที่เข้าไปยึด"
คำว่าตัวกูของกู่นี่ใครครับ??? ร่างกายที่ตายเน่าเข้าโลง หรือ จิตของกูครับ???
หรือตัวกูของกูมาจากไหนครับ??? อย่าคิดเองเออเองสิครับ

ถ้าไม่ใช่จิตเข้าไปยึด แล้วอะไรเข้าไปยึดให้เกิดตัวกูของกูหละครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2010, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิตรู้อารมณ์ทั้งปวง รู้อารมณ์อะไร ก็คือทุกสิ่ง ทุกสภาพธรรมะนั่นแหล่ะ จิตเข้าไปรู้สีทางตา รู้ดัง(เสียงมีสภาพธรรมะคือ ดัง)ทางหู รู้กลิ่นทางจมูก รู้รสทางลิ้น รู้เย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหวทางกาย รู้ความรู้สึกนึกคิดทางใจ รู้อารมณ์ในสมาธิทุกระดับชั้น รู้อารมณ์นิพพาน(บางครั้งอาจเคยได้ยินว่าอริยะเจ้าเข้าฌาณโดยเอานิพพานเป็นอารมณ์) แม้กระทั่งตัวจิตเอง จิตก็สามารถรู้จิตที่กำลังรู้อารมณ์ได้

ฉะนั้นแยกแยะให้ออกด้วย ระหว่า จิตรู้อารมณ์ กับตัวกูของกูที่เข้าไปยึถืออารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตเข้าไปรู้

จิตทำหน้าที่รู้อารมณ์จบ ก็เป็นอันจบ เกิดขึ้น รับอารมณ์ แล้วดับไป แล้วเกิดจิตดวงใหม่มารับอารมณ์ใหม่ วนเวียนไม่รู้จบ แล้วแต่เหตุปัจจัยจะพาให้จิตไปรู้อารมณ์ใด


คุณอิสระครับ

เมื่อจิตมีหน้าที่รู้อารมณ์ ที่จิตไปรู้อารมณ์เพราะอะไรครับ???
เมื่อจิตมีหน้าที่รู้อารมณ์ แล้วจิตมีหน้าที่ละอารมณ์ด้วยมั้ยครับ???

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโมหะ


คุณรู้ได้อย่างไรครับว่า พระนิพพานเป็นอารมณ์อย่างหนึ่ง???
เดาเอาเองใช่มั้ยครับ???

คุณรู้มั้ยครับว่าคุณลักษณะหนึ่งของพระนิพพาน
คือ "อนารัมมณัง" พระนิพพานไม่มีอารมณ์ใช่มั้ยครับ???
แล้วจิตไปรู้อารมณ์นิพพานได้อย่างไรครับ ในเมื่อพระนิพพานไม่มีอารมณ์???
อย่าจำเอาแต่ตำรามาพูดสิครับ

ผมแนะนำว่าควรศึกษาพระสูตร(พระพุทธพจน์)ให้มากๆและปฏิบัติภาวนาให้มากๆด้วยครับ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 01:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อิสระ เขียน:

จิตไม่ได้เข้าไปยึดมั่นถือมันอะไร จิตมีหน้าที่เดียวคือ จิตมีหน้าที่รู้อารมณ์ทั้งปวง แค่นั้น ตัวเรา ตัวกูของกูนี่แหล่ะที่เข้าไปยึด ไม่ใช่จิตเข้าไปยึด
แนะนำให้ศึกษาอภิธรรมให้มากขึ้น

เจริญในธรรมยิ่ง ๆ


นอกจากจะมี...จิต..มีขันธ์..แล้ว..ยังจะมี..ตัวกู..อีกแหนะ

เห็นที..คุณอิสระ..ต้องอธิบายหน่อยละว่า..ตัวกู..ตามที่ท่านเข้าใจนี้มันเป็นยังงัยหรอ??

:b10: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอชื่นชมคุณอิสระ ที่ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ และเห็นจิตตัวเอง

ขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์บ้างนะค่ะ ในส่วนตัวแล้วรู้สึกว่าจิตเป็นผู้รับรู้อารมณ์ มาเก็บไว้
และตอบกลับ เหมือน เราตีแบต เมื่อมีอะไรมากระทบ เราก็จะรับไว้และแสดงออกไป แต่ตอนรับ
เราก็ต้องพิจารณาให้เห็นจริงก่อนใช่ไหมค่ะ ก่อนแสดงออกไป ว่า ชอบ,ไม่ชอบ

ถ้าไม่ชอบ ก็อยากฝืนเก็บไว้ ให้แสดงเจตอารมณ์ออกมา แต่ก็ไม่ใช่โกรธ เพียงแต่ขอเหตุผล


ยกตัวอย่างเช่น
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองๆ หนึ่ง ปรากฎว่า มีประชาชนอยู่กลุ่มหนึ่งถูกจ้างมาให้มาด่าทอพระพุทธเจ้า ต่างๆนาๆ หยาบๆ คายๆ ทั้งๆ ไม่เคยรู้จัก และ ไม่ได้เป็นศัตรูมาก่อน พระอานนท์ จึงทูลกับพระองค์ว่าเราไปที่อื่น ก้นเถิดพระเจ้าครับ เพื่อไม่อยากให้พระพุทธเจ้ารับฟังคำด่านั้น แต่พระพุทธเจ้าทรบตรัสกับพระอานนท์ว่า แล้วถ้าไปที่อื่นก็เป็นเช่นนี้อีกจะทำอย่างไร พระอานนท์ก็ตอบว่า เราก็ย้ายไปที่อื่นๆ อีก (ถ้าเจอก็หนีไปเรื่อยๆ ) พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ท่านสอบตกแล้วอานนท์ เราจะอยู่ที่นี่ เพราะที่นี่เป็นที่ๆ เราจะต้องแก้ไข ประชาชนกลุ่มนั้นเขาจะว่าเราได้เพียงแค่ 7 วันเท่านั้น


ทุกข์เกิดขึ้นที่ไหน...ความดับทุกข์ก็เกิดขึ้นที่นั้น
สา....ธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรียนท่านธรรมภูต ผมก็ด้นเดาเอาตามประสาผู้ยังไม่รู้แจ้ง ไม่ได้กล่าวตู่ประพุทธองค์ ไม่ได้เก่งกว่า

ใคร โง่ที่สุดในลานธรรมจักรนี้ก็ว่าได้ครับ ปริยัติน้อย งู ๆ ปลา ๆ ความรู้ที่ได้ก็มาจากภาวนา ภาษาก็

อาจจะไม่ตรงกับปริยัติ ไม่ตรงพระคัมภีร์เพราะไม่ได้อ้างคัมภีร์อะไรที่ไหน ครูอาจารย์ที่ศึกษามาก็ประ

เภ ทครูพักลักจำ ปริยัตที่มีก็แค่หัวข้อหลัก รายละเอียดปลีกย่อยอีกนิดหน่อยก็มีไว้เพียงให้เป็นแนว

ทางภาวนาไม่หลงทางไปไกลมาก มีไว้เพื่อให้สะดุ้งตื่นเวลาเฉออกนอกทาง


คุณอิสระครับ

คุณภาวนาแบบไหนของคุณครับ จึงเห็นจิตเกิด-ดับ แถมยังบอกได้อีกว่าจิตนั้นเกิด-ดับ
คุณรู้ได้อย่างไรครับว่าจิตเกิด-ดับ คุณรู้อยู่เห็นอยู่ใช่มั้ยครับ???
ก็แสดงว่าที่เกิด-ดับอยู่นั้น ไม่ใช่จิตสิครับ??? ในเมื่อคุณรู้อยู่เห็นอยู่
เพราะถ้าจิตมันดับไปคุณรู้ได้ยังไงครับว่ามันดับ???
แสดงว่าที่เกิดดับอยู่นั้นเป็นเพียงอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิตใช่มั้ยครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่ได้ต้องการเอาชนะคัดคานอะไร ใครอยากชนะผมให้ท่านชนะหมดเลย ใครอยากเก่งผมให้ท่าน

เก่งกว่าทั้งหมดเลย ใครอยากถูกต้องผมให้ท่านถูกทั้งหมดเลย ผมไม่ต้องการอะไรนอกจากความถูก

ต้องและตรงต่อสภาพธรรมะที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ


คุณอิสระครับ

ชนะคะค้านไปแล้วได้อะไรครับ ทำให้ใกล้มรรคผลนิพพานก็ไม่ใช่
ที่ถกธรรมกันเพื่ออะไร??? ใช่เพื่อค้นหาสัจจะธรรมใช่มั้ย???
เพื่อไม่ให้พระสัทธรรมปฏิรูปไปมากกว่านี้ ควรเข้าหาพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติ
อย่ามัวเสียเวลากับความเชื่อที่ถูกสอนตามๆกันมาในตำราเลยครับ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตัดสมมติออก ตัดบัญญัติออก ตัดรูปแบบออก ทำลายกรอบออกให้สิ้น วางทิฏฐิถือตัวถือโน่นนี่ออก

ให้สิ้น เหลือแต่การรับรู้สภาวะล้วน ๆ ค่อย ๆ สังเกตุดี ๆ (ในขณะภานา) เมื่อมีสติรุ้อยู่ ก็เหมือนมี

อะไรแสดงตัวแสดงตนขึ้นมาเป็นผู้รู้ แม้แต่ขาดสติใช้ชีวิตประจำวันไป จะมีคล้าย ๆ อะไรซักอย่าง

เคลื่อนไหวอยู่ภายในทุกกิริยาการกระทำ ลักษณะคล้ายตัวเชื่อมหรือคล้าวกาวเหนียวที่ทำหน้าที่ให้

ยังคงมีกายมีใจ มีการรับรุ้ มีการนึกคิดเป็นเรื่องเป็นราวได้อยู่ไม่ขาดสาย ตัวมันเองไม่มีภาษาแต่เป็น

ผุ้กำหนดภาษาว่าจะออกมาอย่างไร เป็นตัวกำหนดว่าให้ออกมาเป็นวาจาว่า กู หรือ กระผม ให้ออก

มาเป็นการกระทำว่าโยนทิ้งหรือค่อย ๆ วางลงเบา ๆ เป็นตัวกำหนดว่าเมื่อเห็นแล้วอยากหรือไม่อยาก

เมิ้นหน้าหนีหรือจ้องมองต่อไป เป็นตัวกำหนดว่าทำหน้าบึ้งตึงหรือยิ้มแย้มแจ่มใส ฯลฯ
ผมเรียกมันว่า "ตัวกูของกู" ท่านอื่นจะเรียกว่าอย่างไรก็ไม่สำคัญ สำคัญที่ตรงต่อสภาวะก็ใช้ได้แล้ว
เรียกให้สูงส่งก็ต้องแปลกันหลายชั้นหลายซ้อน อธิบายกันยืดยาวเอาแบบนี้ละกัน "ตัวกูของกู" อย่าง

นี้ละกันเข้าใจง่ายดี (สำหรับท่านอื่นจะอย่างไรก็ไม่ว่ากัน โตไผโตมัน)
สิ่งนี้อยู่เบื้องหลังทุกการกระทำ ทุกความคิด ทุกวาจา


คุณอิสระครับ

ใครใช้ให้คุณตัดบัญญัติและสมมุติบัญญัติออกไปหละครับ
พระพุทธองค์ทรงสอนให้ อย่าเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในบัญญัติหรือสมมุติบัญญัติเท่านั้น
ไม่ใช่ทรงสอนให้เพิกถอนบัญญัติหรือสมมุติบัญญัติทิ้งเสียเมื่อไหร่หละครับ
บัญญัติและสมมุติบัญญัติมีไว้ให้ใช้เรียกหากัน ไม่ใช่มีไว้ให้ยึดมั่นถือมั่นเสียที่ไหนหละ

คุณพูดว่า"เหลือแต่การรับรู้สภาวะล้วน ๆ" ใครหรืออะไรที่เหลือแค่การรับรู้สภาวะล้วนๆเท่านั้น???
คุณพูดว่า"สังเกตุดี ๆ (ในขณะภานา) เมื่อมีสติรุ้อยู่" ใครหรืออะไรมีสติรู้อยู่???
แล้วสติตั้งอยู่ที่ไหน??? ที่กายเน่าเข้าโลง หรือ ที่จิตที่เป็นธาตุรู้ครับ????

ถ้าคุณบอกไม่ได้ ก็แสดงว่าที่คุณกำลังภาวนาอยู่นั้น ยังไม่ชัดเจน
เป็นเพียงสัญญาที่จำเอามาพูดมากกว่า ไม่ใช่ความรู้ที่เกิดจากการภาวนาครับ
ตัวกูของกูที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้น
ใช่เกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งของต่างๆใช่มั้ยครับ???
ใครหรืออะไรครับ ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งของต่างๆเหล่านั้นว่าเป็นตัวกูของกูครับ???
เมื่อเกิดอะไรขึ้นมาแล้ว ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น จะเกิดตัวกูของกูขึ้นมามั้ยครับ???

ถ้าคุณตอบคำถามนี้ได้ คุณก็จะรู้คำตอบเองหละครับ ว่าอะไรสักอย่างของคุณนั้น คืออะไรกันแน่ครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร