วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 19:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อนุโมทนาความรู้ในปริยัติครับ

ขณะอ่านอยู่นี้ กายไม่ได้กำลังเห็นอยู่หรอกหรอ ไม่ได้มองเห็นตัวหนังสือหรอกหรอ เป็นธาตุเป็นการประชุมรวมกันซะงั้น ตกจาก

ปัจจุบันแล้วนะ นี่มาอยู่ตรงนี้สิ มาอยู่ที่ "กำลังเห็น" พอแล้วคุณเอ๊ย
อายาตะนะตะเน๊อะ ข้างนอกข้างใน ข้างบนข้างล่างอะไรเทือกนั้นวางมันไปก่อน ธาตุประชุมรวมกันก็วางไว้ก่อน นี่ของจริงอยู่ตรงนี้นี่

"กำลังเห็น" นี่คือหน้าที่ของกายทางตา มีแค่นี้เอง เรื่องมากยากนานนะท่าน


คุณอิสระครับ

คุณจะแถไปถึงไหนครับ คุณถามผมว่ากายเป็นอย่างไงขณะนี้ใช่มั้ยครับ???
ผมก็ตอบไปว่ากายเป็นที่ประชุมของธาตุทั้งหลาย เป็นที่อาศัยของจิตใช่มั้ยครับ???
การที่อ่านข้อความของคุณอยู่ คุณอยากให้กายเป็นยังไงหรือครับ???
คุณต้องการให้กายหนาวๆร้อนๆไปกับข้อความคุณด้วยหรือครับ???
สิ่งที่จะเร่าร้อนไปกับข้อความของคุณได้ คือจิตที่ใชัสอยในกายนี้อยู่ใช่มั้ยครับ???
ในเมื่อจิตไม่ได้หนาวๆร้อนๆในสิ่งที่เกิดขึ้น กายก็คือกาย จิตก็คือจิตใช่มั้ยครับ???

แต่คุณกลับตอบว่า"กำลังเห็นอยู่หรอกหรอ" คุณเอาอะไรมาถาม มาตอบครับ นี่หรือคนที่ปฏิบัติ
คุณต้องกลับไปถามคำถามมาใหม่นะครับ
ผมถามคุณบ้างว่า แล้วตาบอดจะเห็นได้เหรอครับ
ในเมื่อคนตาบอดหมดสิทธิ์ในการเห็นแล้ว จะรู้ได้มั้ยครับ??? แล้วเอาอะไรมารู้ครับ???

คุณอย่าพยายามยกตนว่ารู้เลยครับ ขณะที่คุณบอกผมอยู่นั้น มันก็ไม่ใช่ปัจจุบันไปเสียแล้วครับ
ถามตรงๆเถอะ คุณรู้จักปัจจุบันธรรมหรือเปล่า??? ที่คุณพูดหนะยังไม่ใช่ปัจจุบันธรรมนะครับ???
เป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และพร้อมจะกลายเป็นอดีตได้ตลอดเวลาใช่มั้ยครับ???

คุณยังกล้าพูดได้เต็มปากนะครับว่าของจริงอยู่ตรงนี้"กำลังเห็น"
มันใช่ของจริงที่ไหนหละ ของหลอกลวงทั้งนั้น พร้อมที่จะเป็นอดีตไปได้ตลอดเวลา
ไม่ใช่ของจริงหรอกครับ "ของจริง" ที่เป็นปัจจุบันธรรมนั้น ต้องไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา
ไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต เป็นปัจจุบันอยู่ที่ปัจจุบันตลอดเวลาครับ

คุณก็รู้นิครับว่าหน้าที่ของตาคือเห็น ของหูคือได้ยินฯลฯ
ส่วนเห็นแล้ว รู้ว่าชอบไม่ชอบ ได้ยินแล้ว รู้ว่าชอบหรือไม่ชอบหนะอะไรที่รู้ครับ???
ตอบไม่ได้ก็อย่าพยายามแถออกนอกประเด็นสิครับ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขณะอ่านอยู่นี้ ไม่ได้กำลังรู้คิดหรอกหรอ รู้ว่ากำลังคิด กำลังคำนึงถึงคำ แปลความภาษาที่ตามันเห็นมาแล้วส่งต่อให้ใจมันคิดต่อ เนี่ยแค่

นี้เอง "กำลังคิด" ส่วนมันคิดเรื่องอะไรจะแปลอะไรมันก็เป็นไปตามปกติของมันอยู่แล้วนี่ คนทั้งโลกใครเขาก็รู้เรื่องที่เขาคิดนะ แต่ที่รู้ตัว

ว่ากำลังคิดนี่มีน้อยนับตัวได้

จะรีบเน่าเปื่อย โลงผุไปไหนเล่าท่าน (เห็นพูดประโยคทำนองนี้บ่อยๆ)
ยังไม่ตายซะหน่อย รู้อยู่แค่ปัจบันสิท่าน
ปัจจุบันยังไม่ตายก็รู้อยู่ว่ายังไม่ตาย กำลังหายใจเข้าหรือออกอยู่ก็รู้อยู่สิ

คนเราเกิดมาก็ต้องตาย เน่าเปื่อยผุพัง เดินไปถามคนซัก 100 คนเขาก็ตอบอย่างนี้ทุกคนแหล่ะท่านเอ๊ย
แต่ไอ้ตัวที่กำลังพูดอ่ะมันยังไม่ตาย ก็ยังไม่รู้ตัวว่ายังไม่ตายอีก

เอาของจริงที่อยู่ต่อหน้าดีกว่า จะไปทำอะไรให้มันยากเย็นยืดยาวทำไมกัน มีเครื่องมืออยู่กับตัวตลอด 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว ทำเอาเลยตอน

ไหนเมื่อไรก็ได้

ยินดีที่ได้สนทนาด้วย ลาก่อน หากมีโอกาสค่อยป๊ะกันใหม่เน้อ

เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ทุก ๆ ท่าน


คุณอิสระครับ

คุณจะรีบหนีไปไหนหละครับ ยังติดค้างที่จะตอบคำถามผมอีกตั้งมากมาย ไม่คิดจะตอบเลยหรือครับ
คุณพูดเองนะครับว่า "ส่งต่อให้ใจมาคิดต่อ เพราะคนทั้งโลกใครเขาก็รู้เรื่องที่เขาคิดนะ"
แล้วจิตมันเกิดดับตอนไหนครับ??? มันรู้อยู่ตลอดเวลา(ในเรื่องที่คิดอยู่)ใช่มั้ยครับ???
ใครครับที่กำลังรู้ว่ากำลังคิดอยู่ครับ??? อย่าเลี่ยงที่จะตอบสิครับ ถ้าปฏิบัติมาจริงๆ
คุณชอบพูดลอยๆแบบนี้เป็นประจำ กล้าๆชี้ชัดลงไปหน่อย ไหนว่าปฏิบัติมาหละครับ จำมาพูดทั้งนั้น

ที่ผมต้องพูดถึงกายที่ตายเน่าเข้าโลง เน่าเปือยพุพังนี้บ่อยๆ
เพื่อเป็นมรณานุสติ คอยเตือนจิตอย่าให้หลงไปกับร่างกายนี้ใช่มั้ยครับ???
มีใครบ้างครับที่ไม่รู้ว่าตนเองต้องตายบ้าง รู้ทั้งนั้นใช่มั้ยครับ???
แต่ทำไมเห็นยังกลัวตายกันอยู่ทุกคน และทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่สร่างซาเลยใช่มั้ยครับ???

คุณแน่ใจหนะ ว่ารู้จักปัจจุบันธรรมที่แท้จริงแล้ว ผมเห็นคุณพูดแต่"ของจริง"
ที่เป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในขณะนั้น พร้อมที่จะเป็นอดีตไปได้ตลอดเวลา
อันนั้นไม่ใช่ของจริงครับ เป็นเพียงของลวงตาให้เชื่อว่าเป็น"ของจริง"อย่างนั้นนั่นเอง

เชื่อผมเถอะครับ หยุดหลอกตัวเองได้ว่ารู้แจ้ง ยังไม่รู้จริง จะรู้แจ้งไปได้อย่างไรครับ
เมื่อไม่รู้ก็ยอมรับว่าไม่รู้ไม่เห็นจะน่าอายตรงไหน ดีกว่าไม่รู้แต่ยังพยายามอวดว่ารู้นิสิครับ(น่าอาย)
เป็นการปิดกั้นตนเองไปเสียเปล่าๆ
ผมเองยอมรับเสมอว่า "ยังต้องสดับ ยังต้องกระทำให้ตื้น" ไม่เห็นน่าอายตรงไหนเลยครับ
ในทางศาสนาพุทธของเราที่ล่วงเลยมาเป็นเวลานาน
ย่อมมีของถูกผสมปนเปอยู่กับของผิดที่มีคนตรึกขึ้นมาเอง
เมื่อรู้ว่าผิดแล้วต้องยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุมีผลเท่านั้น
ไม่ใช่ดันทุรังต่อไปเพียงเพราะความเชื่อความศรัทธาของตนเองเท่านั้น...

ในพระพุทธศาสนาไม่มีของง่ายๆ สบายๆ ลัดสั้นหรอกครับ
ถ้ามีแบบนั้นจริงๆแล้ว พระพุทธเจ้าของเราผู้ได้ชื่อว่าทรงภูมิปัญญาเป็นเลิศในพิภพจบแดน
ไม่ต้องทรงออกผนวช เพื่อค้นหาอมตะธรรมด้วยความยากลำบากมาแล้วไม่รู้กี่อสงขัยกัลป์ครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เอ๊ะยังไง ถึงเวลาทฤษฏี
ก็ค้านไปต่างๆนาๆสารพัด เป็นวรรค เป้นฉาก

แต่เวลาปฏิบัติ ดันมาทำเหมือนพวกโง่ๆอย่างผม

ที่คุณพูดมาน่ะ พวกโง่ๆอย่างผมเขาทำกันนะ


คุณชาติสยามครับ

ดีครับที่โง่แล้วยอมรับว่าโง่ คงฉลาดได้สักวันครับ (ผมเองผ่านมาก่อนแล้ว)
คุณรู้ได้ยังไงครับ ว่าผมปฏิบัติเหมือนที่คุณปฏิบัติกันอยู่ ไม่จริงครับ
ผมไม่มีการเผลอรู้หรอกครับ เผลอคือรู้อยู่ที่อารมณ์(ขาดสติ) ถ้ารู้(มีสติ)อยู่ก็ไม่เผลอใช่มั้ยครับ???
ล้วนแต่ต้องจงใจ ตั้งใจ และเพียรพยายามในการเจริญสติให้เกิดขึ้นที่จิตครับ(เกิดเองไม่ได้)
อย่าทึกทักเอาเองสิครับ ไม่งามนะครับ

ผมพูดเสมอว่า การจะดูจิคให้รู้จักจิตที่แท้จริงนั้น
ต้องผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา(สัมมาสมาธิ) หรือ กายคตาสติให้ได้เสียก่อนครับ
ให้จิตมีฐานที่ตั้งของสติอย่างมั่นคงเท่านั้น จึงจะดูจิต เห็นจิตในจิตได้ชัดเจนครับ

คุณเคยภาวนาจนกระทั่งเข้าถึงกายในกาย(กายคตาสติ)แล้วหรือครับ???
ถ้ายัง ก็อย่าเพิ่งริอ่านไปดูจิตแบบที่พวกคุณทำกันอยู่เลยครับ
ดูไปก็เห็นแต่อาการของจิต ที่ถูกอารมณ์ครอบงำไปแล้ว
แต่พยายามหลอกตัวเองว่าให้วางเฉยๆซะ อันนั้นทางโลกเขาเรียกว่าเฉยโง่ครับ
และหลงเข้าใจผิดๆไปเองว่า จิตบังคับไม่ได้ สติบังคับไม่ได้
ต้องปล่อยให้มันเกิดขึ้นเอง เป็นไปได้หรือครับ
ถ้าไม่ได้ตั้งเจตนาไว้ก่อน หยุดหลอกตัวเองได้แล้วครับ...

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาพระสูตรมาฝากครับ

ปสาทกรธัมมาทิบาลี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้ว
แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้น
ฉะนั้น

[๒๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งซึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
เป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ เป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่
เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ
เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แลบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่
ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ ฯ

[๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ
ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ
ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย
และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ ฯ
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือกายคตาสติ ดูกร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ฯ
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น
ย่อมละอัสมิมานะเสียได้อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน
ย่อมละสังโยชน์เสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น
ย่อมละอัสมิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้ ฯ
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ฯ
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ
ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ
ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แลบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา
ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส
ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ...
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่บริโภคอมตะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไมบริโภคแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของ

ชนเหล่าใดไม่เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดชอบใจแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืมอมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ซ่องเสพแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ซ่องเสพแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดซ่องเสพแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นซ่องเสพแล้ว
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่เจริญแล้วอมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดเจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้มากแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้มากแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้มากแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่กำหนดรู้แล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดกำหนดรู้แล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนดรู้แล้ว
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

[๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้แจ้งแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้งแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้แจ้งแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=1059&Z=1266


:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณอิสระครับ

นี่คือคำถามที่คุณยังค้างที่ต้องตอบอีกตั้งมากมาย ช่วยกลับมาตอบด้วยครับ
แล้วอย่าลืมชี้ด้วยนะครับว่าตรงไหนเป็นปริยัติอย่าที่คุณชอบกล่าวหาไว้

V
v

อ้างคำพูด:
ใครครับที่อุปโหลกขันธ์ว่าเป็นตัวตนบุคคลเราเขา???
ใครครับที่ยึดติดในขันธ์๕???ตอบด้วยครับ
อุปทานเกิดขึ้นได้อย่างไรครับ? เกิดขึ้นเอง หรือใครทำให้เกิดครับ??

แล้ว "นิพพานัง ปรมัง สุขัง" ใช่พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งมั้ยครับ???
สุดท้ายพระนิพพานจะกลับมาเป็นทุกข์ได้ด้วยหรือครับ???
จิตปุถุชนมีหน้าที่รู้อารมณ์ทั้งปวงใช่มั้ยครับ???
แล้วจิตของพระอริยเจ้า(โลกุตรจิต) รู้อยู่ที่รู้ โดยไม่รับอารมณ์ได้มั้ยครับ???

คุณพูดว่า "ตัวกูของกูนี่แหล่ะที่เข้าไปยึด"
คำว่าตัวกูของกู่นี่ใครครับ??? ร่างกายที่ตายเน่าเข้าโลง หรือ จิตของกูครับ???
หรือตัวกูของกูมาจากไหนครับ??? อย่าคิดเองเออเองสิครับ

ถ้าไม่ใช่จิตเข้าไปยึด แล้วอะไรเข้าไปยึดให้เกิดตัวกูของกูหละครับ???
เมื่อจิตมีหน้าที่รู้อารมณ์ ที่จิตไปรู้อารมณ์เพราะอะไรครับ???
เมื่อจิตมีหน้าที่รู้อารมณ์ แล้วจิตมีหน้าที่ละอารมณ์ด้วยมั้ยครับ???

คุณรู้ได้อย่างไรครับว่าจิตเกิด-ดับ คุณรู้อยู่เห็นอยู่ใช่มั้ยครับ???
ก็แสดงว่าที่เกิด-ดับอยู่นั้น ไม่ใช่จิตสิครับ??? ในเมื่อคุณรู้อยู่เห็นอยู่
เพราะถ้าจิตมันดับไปคุณรู้ได้ยังไงครับว่ามันดับ???

คุณพูดว่า"เหลือแต่การรับรู้สภาวะล้วน ๆ" ใครหรืออะไรที่เหลือแค่การรับรู้สภาวะล้วนๆเท่านั้น???
คุณพูดว่า"สังเกตุดี ๆ (ในขณะภานา) เมื่อมีสติรุ้อยู่" ใครหรืออะไรมีสติรู้อยู่???
แล้วสติตั้งอยู่ที่ไหน??? ที่กายเน่าเข้าโลง หรือ ที่จิตที่เป็นธาตุรู้ครับ????

ใครหรืออะไรครับ ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งของต่างๆเหล่านั้นว่าเป็นตัวกูของกูครับ???
เมื่อเกิดอะไรขึ้นมาแล้ว ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น จะเกิดตัวกูของกูขึ้นมามั้ยครับ???

แสดงว่าเหตุที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดพร้อมกันใช่มั้ยครับ??? แต่เกิดติดต่อกันเร็วมากใช่มั้ยครับ???
ตอนที่มันเกิดขึ้นแทบจะพร้อมกัน คุณรู้มั้ยครับ??? ถ้าไม่รู้คุณคงนำมาบอกไม่ได้หรอกครับ
เพียงแต่การเกิดขึ้นเหล่านั้นเร็วมาก จนคุณรู้รายละเอียดไม่ทันใช่มั้ยครับ???

คุณต้องรู้อยู่เห็นอยู่ตลอดเวลาของการปฏิบัติภาวนาอยู่นั้น
และย่อมรู้ว่าอะไรเกิดขึ้น และอะไรดับไปจากจิตครับ???


:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ข้อความดั้งเดิมของคุณอิสระ....อธิธรรมปิฎกกล่าวไว้ว่า ปรมัตถธรรม 4 มี รูป จิต เจตสิก นิพพาน
ขันธ์ 5 มี กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ขันธ์ 5 มี ปรมัตถธรรม อยู่ 3 คือ รูป จิต เจตสิก ยกเว้นนิพพาน ขันธ์ 5 ไม่มีนิพพาน
รูปปรมัตถ์ ได้แก่ กายขันธ์
จิต ปรมัตถ์ ได้แก่ วิญญาณขันธ์
เจตสิกปรมัตถ์ ได้แก่ เวทนาขันธ์1 สัญญาขันธ์1 สังขารขันธ์50 รวมเป็นเจสิก 52


ขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่กองทุกข์ แต่อุปาทานขันธ์5 เป็นทุกข์เป็นกองทุกข์ กรุณาแยกกันด้วย เพราะต่างกรรม ต่างวาระกัน

อุปาทานขันธ์ คือยึดติดในขันธ์ อุปโหลกขันธ์ว่าเป็นตัวตนบุคคลเราเขาแล้วเข้าไปยึดถือไว้จึงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ว่า ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ไม่ใช่ว่า

วิญญาณขันธ์เป็นทุกข์ (ศึกษาอภิธรรมให้ถ่องแท้ผนวกกับการปฏิบัติจริงจะเข้าใจแจ้งชัดยิ่งขึ้น)

ถ้าท่านกล่าวว่า ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ วิญญาณขันธ์เป็นทุกข์ งั้นอรหันต์ที่ยังไม่นิพพาน ยังทรงขันธ์5อยู่ ก็แสดงว่าท่ายังไม่พ้นทุกข์สิท่าน

ธรรมภูต งั้นจะเป็นอรหันต์ทำไม ถ้าไม่พ้นทุกข์ จริงมั้ยล่ะท่าน กรุณาแยกแยะด้วย

ตรงที่ทำสีเขียว

กองสุข ไม่มีหรอกท่านธรรมภูต พระพุทธองค์ไม่เคยกล่าวว่ามีสุข มีกองสุข ท่านตรัสสิ่งเดียวเท่านั้น คือ สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์

ฉะนั้น ทุกข์ก็มีแค่ 2 อย่าง คือทุกข์มาก กับทุกข์น้อย

ทุกข์มาก คือทุกข์ที่ทนได้ยาก คือความทุกข์โศก ทุกข์กายปวยไข้ ทุกข์ใจต่าง ๆ นานานั่นแหล่ะ
ทุกข์น้อย คือทุกข์ที่ทนได้ง่าย คือความสุขทั้งหลายนั่นแหล่ะ มันทนได้ง่าย มันทนได้นาน แต่สุดท้ายมันก็ทุกข์ทั้งสิ้น


จิตไม่ได้เข้าไปยึดมั่นถือมันอะไร จิตมีหน้าที่เดียวคือ จิตมีหน้าที่รู้อารมณ์ทั้งปวง แค่นั้น ตัวเรา ตัวกูของกูนี่แหล่ะที่เข้าไปยึด ไม่ใช่จิต

เข้าไปยึด

จิตรู้อารมณ์ทั้งปวง รู้อารมณ์อะไร ก็คือทุกสิ่ง ทุกสภาพธรรมะนั่นแหล่ะ จิตเข้าไปรู้สีทางตา รู้ดัง(เสียงมีสภาพธรรมะคือ ดัง)ทางหู รู้กลิ่น

ทางจมูก รู้รสทางลิ้น รู้เย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหวทางกาย รู้ความรู้สึกนึกคิดทางใจ รู้อารมณ์ในสมาธิทุกระดับชั้น รู้อารมณ์นิพพาน(บาง

ครั้งอาจเคยได้ยินว่าอริยะเจ้าเข้าฌาณโดยเอานิพพานเป็นอารมณ์) แม้กระทั่งตัวจิตเอง จิตก็สามารถรู้จิตที่กำลังรู้อารมณ์ได้

ฉะนั้นแยกแยะให้ออกด้วย ระหว่า จิตรู้อารมณ์ กับตัวกูของกูที่เข้าไปยึถืออารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตเข้าไปรู้

จิตทำหน้าที่รู้อารมณ์จบ ก็เป็นอันจบ เกิดขึ้น รับอารมณ์ แล้วดับไป แล้วเกิดจิตดวงใหม่มารับอารมณ์ใหม่ วนเวียนไม่รู้จบ แล้วแต่เหตุ

ปัจจัยจะพาให้จิตไปรู้อารมณ์ใด

แนะนำให้ศึกษาอภิธรรมให้มากขึ้น


เจริญในธรรมยิ่ง ๆ


^
^
คุณอิสระครับ

ข้อความข้างบนใช่ปริยัติล้วนๆมั้ยครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมภูต เมื่อ 21 ส.ค. 2010, 20:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. อฆมูลสูตร
ว่าด้วยทุกข์และมูลเหตุแห่งทุกข์
[๖๘] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์และมูล
เหตุแห่งทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน?
ทุกข์คือรูป
ทุกข์คือเวทนา
ทุกข์คือสัญญา
ทุกข์คือสังขาร
ทุกข์คือวิญญาณ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่าทุกข์.
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มูลเหตุแห่งทุกข์เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด นำให้เกิดในภพ
ใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์
นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ามูลเหตุแห่งทุกข์.
จบ สูตรที่ ๑๐.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ภารสูตร
ว่าด้วยขันธ์ ๕ เป็นภาระ
[๔๙] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภาระ
ผู้แบกภาระ เครื่องถือมั่นภาระ และเครื่องวางภาระ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่
ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาระเป็นไฉน?
พึงกล่าวว่า ภาระ คืออุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ
อุปาทานขันธ์ คือรูป
อุปาทานขันธ์ คือเวทนา
อุปาทานขันธ์ คือสัญญา
อุปาทานขันธ์ คือสังขาร และ
อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาระ.


[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้แบกภาระเป็นไฉน? พึงกล่าวว่าบุคคล บุคคลนี้นั้น คือ
ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าผู้แบกภาระ.

[๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เครื่องถือมั่นภาระเป็นไฉน? ตัณหานี้ใด นำให้เกิดภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์
นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเครื่องถือมั่นภาระ.

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การวางภาระเป็นไฉน? ความที่ตัณหานั่นแลดับไปด้วย
สำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่าการวางภาระ.

พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า

[๕๓] ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระแล และผู้แบกภาระคือบุคคล เครื่องถือมั่น
ภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก การวางภาระเสียได้เป็นสุข
บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหาพร้อม
ทั้งมูลรากแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 23 ส.ค. 2010, 11:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตโลกียะ ดูจิตที่เป็นโลกียะ คือดูกองทุกข์
จิตโลกกุตตระ ดูจิตที่เป็นโลกุตตระ คือดูกองธรรมอันเป็นโลกุตตระ

พระอรหันต์ ที่ยังไม่ดับขันธปรินิพพาน ถึงแม้จะมีขันธ์ 5 ขณะที่ยังกิน ยังนอน ยังเดิน ยังขี้ ยังปัสสวะ
ก็ยังชื่อว่าพัวพันกับกองทุกข์ คือขันธ์5 แต่การพัวพันหรือประกอบนั้นเป็นกิริยาจิต เพราะไม่ก่อให้เกิดกรรมวิบาก ด้วยเหตุว่า อรหัตผลจิตอันเป็นโลกกุตตระวิบากนั้นเกิดคั่นสลับระหว่าง กิริยาจิตและอรหัตผลจิต กิริยาจิตนั้นไม่ใช่จิตอันเป็นกุศลเหตุ หรืออกุศลเหตุ เพราะกิริยาจิตเป็นอัพยากตจิต.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิสระ เขียน:
ทั้งหมดที่อธิบาย บรรยาย ตั้งกองพูดกันทั้งหมดทั้งสิ้น ท่านเรียกว่าปริยัติทั้งสิ้นครับ แต่ต้องเป็นกองพูดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัตินะ ไม่ใช่การพูดไร้สาระนั่นเป็นการเพ้อเจ้อฟุ้งซ่าน

ยังเป็นนักเรียนอยู่เลยครับผมอ่ะ ยังโง่ ๆ เซ่อ ๆ อยู่เลย ยังตอบคำถามอะไรที่ลึกซึ้งไม่ได้หรอก นอกจากสิ่งที่พบที่เจอมากับตัวเอง นอกนั้นไม่รู้อะไรซักอย่างเลย

มะม่วง ถ้าไปเรียกมันว่า ลำใย ยังไงมันก็ไม่เปลี่ยนสภาพไปตามคำเรียกไปได้หรอก
มะม่วงก็ยังคงเป็นมะม่วงตามเดิม ไม่ว่าจะเรียกขานด้วยชื่ออะไรก็ตาม


ยังไงก็รบกวนแนะนำผมมาก ๆ นะครับ ขอบคุณความรู้ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง


เจริญในธรรม


คุณอิสระครับ

เรื่องของปริยัตินั้น พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสไว้ดีแล้วนะครับ
ที่เรามาสนทนากันก็เพื่อหาวิธี นำทางไปสู่การปฏิบัต ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง
ที่รู้ที่เห็นนั้น เนื่องจากผลของการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติ
ไม่ใช่จำมาพูดจากความรู้สึกนึกคิดที่ตกผลึกของตนเองเท่านั้นครับ

ฉะนั้นเราควรศึกษาให้เข้าใจในวัตถุประสงค์ของพระองค์ให้ได้ก่อนว่าทรงต้องการให้ปฏิบัตอย่างไรบ้าง
ตลอดพระชนม์ชีพทรงเน้นแต่เรื่องปฏิบัติอริยมรรคมีองค์๘ หรือที่เรียกว่าศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง
หรือในบางแห่งบางโอกาส พระองค์ทรงใช้คำว่าอริยสัจจ๔บ้าง มหาสติปัฏฐาน๔บ้าง

พระองค์ยังทรงกล่าวไว้เป็นพระพุทธพจน์ว่า
"เรา(จิตของพระองค์)เวียนว่ายเข้าไปในภพน้อยใหญ่อันยาวนานนับไม่ถ้วนนั้น
เพราะไม่รู้เห็นอริยสัจจ๔ ตามความเป็นจริงดังนี้"

เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้เรา(จิต)รู้ว่า มีสิ่งหนึ่งคือจิตของแต่ละคนที่ต้องเข้าไปเวียนว่ายตามกิเลส กรรม วิบาก
ที่หมักดองอยู่ที่จิต กดดันให้ต้องไปเกิดในภพน้อยใหญ่อันยาวนานนับไม่ถ้วนใช่มั้ยครับ???

ดังนั้นพระพุทธองค์ทรงสอนให้ชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง(ในโอวาทปาฏิโมกข์)

แสดงว่าจิตเป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนา พระองค์จึงทรงสอนให้ชำระจิตใช่มั้ยครับ???
ในพระพุทธศาสนามีเรื่องอะไรบ้างครับ ที่เกินไปกว่าจิตกับอารมณ์ครับ???

การปฏิบัติในอริยมรรคมีองค์๘ ล้วนเป็นเรื่องของการปฏิบัติทางจิตทั้งสิ้นใช่มั้ยครับ???
หรือคุณคิดว่าเป็นการปฏิบัติในอริยมรรคมีองค์๘นั้น เป็นการปฏิบัติทางกายหละครับ???

ถ้าคุณต้องการรู้จักพระสัทธรรมตามความเป็นจริงแล้วละก้อ
คุณควรต้องแสดงความรู้ที่มีอยู่ของคุณ หรือกล้าๆตอบคำถามของผม ตามที่คุณคิดว่ารู้ออกมา
จึงสนทนากันต่อไปได้ แต่ถ้ายังกลัวว่าจะตอบผิด จึงไม่ตอบ จะทำให้ไม่รู้ของถูกนะครับ
และไม่ต้องกังวัลว่าที่รู้มาจะถูกหรือไม่นั้น เรามีพระพุทธพจน์ไว้เทียบเคียงดูก่อน จึงปักใจเชื่อครับ

มะม่วงก็ยังคงเป็นมะม่วง ลำใยก็คงเป็นลำใย เปลี่ยนแปลงไม่ได้หรอกครับ
แต่ถ้าไปรู้ผิดๆมาแต่ต้นว่า ผลมะม่วงมีสันฐานเป็นลูกกลมๆ เล็กๆเป็นพวง มีรสหวานอย่างเดียวฯลฯ
จนกลายเป็นความเข้าใจผิดที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจ(อนุเสติ)แล้วละก้อ
เมื่อมีคนเอามะม่วงของจริงมาให้ดู กลับเถียงคอเป็นเอ็นว่านั่นไม่ใช่มะม่วงนะครับ
เพราะความเข้าใจผิดของตนเองแท้ๆ ที่เรียนรู้มาแบบผิดๆ หรือเชื่อตามๆกันมานั่นเอง

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
จิตโลกียะ ดูจิตที่เป็นโลกียะ คือดูกองทุกข์
จิตโลกกุตตระ ดูจิตที่เป็นโลกุตตระ คือดูกองธรรมอันเป็นโลกุตตระ

พระอรหันต์ ที่ยังไม่ดับขันธปรินิพพาน ถึงแม้จะมีขันธ์ 5 ขณะที่ยังกิน ยังนอน ยังเดิน ยังขี้ ยังปัสสวะ
ก็ยังชื่อว่าพัวพันกับกองทุกข์ คือขันธ์5 แต่การพัวพันหรือประกอบนั้นเป็นกิริยาจิต เพราะไม่ก่อให้เกิดกรรมวิบาก ด้วยเหตุว่า อรหัตผลจิตอันเป็นโลกกุตตระวิบากนั้นเกิดคั่นสลับระหว่าง กิริยาจิตและอรหัตผลจิต กิริยาจิตนั้นไม่ใช่จิตอันเป็นกุศลเหตุ หรืออกุศลเหตุ เพราะกิริยาจิตเป็นอัพยากตจิต.


คุณเช่นนั้นครับ

กิริยาจิตที่เกิดขึ้น ใช่เกิดจากจิตของพระอรหันตผลใช่มั้ยครับ???

แล้วกิริยาจิต ที่เกิดจากกุศลล้วนๆ โดยจิตนั้นไม่ยึดมั่นในกุศลนั้นมีมั้ยครับ???

กิริยาจิตของพระอรหันต์นั้น จำเป็นด้วยหรือครับที่ต้องเป็นอัพยากฤตจิตเท่านั้น???

ที่คุณบอกว่า" อรหัตผลจิตอันเป็นโลกกุตตระวิบากนั้นเกิดคั่นสลับระหว่าง กิริยาจิตและอรหัตผลจิต"

เกิดคั่นสลับกันอย่างไรครับ??? ใช่จิตดวงกันมั้ยครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 22:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:

กระผมมันไม่ค่อยฉลาด..ไม่เข้าใจเซน..หรอกครับ.. :b12: :b12:
ราตรีสวัสดิ์ :b16:


อ๊ะ ท่านอ๊บ อ๊บบบซ์
เซน เซิน อะไรกันเล่า...อิ อิ
ก็พออ่านกระทู้มาถึงตรงท่านอ๊บ อ๊บซ์
เอกอนก็นึกไปถึงการสร้างสรรค์งาน ศิลป....บนกำแพง... :b12:

กะว่าสีที่เหลือจากการทาสีบ้านแล้ว จะเอามาทำสีกำแพงบ้าน

อิ อิ :b9:


สีทาบ้าน..เอาใส่ในลูกโป่งทำมัยนะ?? :b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
คุณเช่นนั้นครับ

กิริยาจิตที่เกิดขึ้น ใช่เกิดจากจิตของพระอรหันตผลใช่มั้ยครับ???
แล้วกิริยาจิต ที่เกิดจากกุศลล้วนๆ โดยจิตนั้นไม่ยึดมั่นในกุศลนั้นมีมั้ยครับ???
กิริยาจิตของพระอรหันต์นั้น จำเป็นด้วยหรือครับที่ต้องเป็นอัพยากฤตจิตเท่านั้น???
ที่คุณบอกว่า" อรหัตผลจิตอันเป็นโลกกุตตระวิบากนั้นเกิดคั่นสลับระหว่าง กิริยาจิตและอรหัตผลจิต"
เกิดคั่นสลับกันอย่างไรครับ??? ใช่จิตดวงกันมั้ยครับ???


กิริยาจิต ไม่ใช่มีอรหัตผลจิต เป็นเหตุเกิด
กิริยาจิต เป็นจิตที่มีเฉพาะ พระอรหันตเท่านนั้น ไม่เป็นการทั่วไปแก่เสขบุคคล และบุคคลทั่วไป
เกิดเพราะอัพยากตมูล คืออโลภะ อโทสะ และอโมหะ และเกิดดับสลับคั่นระหว่างอรหัตผลจิต

เพราะอรหัตผลจิต ไม่พัวพันกับกองทุกข์ ทำกิจอื่นใดเช่น จะขี้ จะปัสสวะ จะกิน จะลุก จะนั่ง หรือจะเข้าออก รูปฌาน หรืออรูปฌานแสดงฤทธิ์ ก็ไม่ได้ ซึ่งกิจต่างๆ เหล่านี้ สำเร็จด้วยกิริยาจิต ซึ่งพัวพันอยู่กับกองทุกข์

พระอรหันต์ทำกิจวัตรประจำวัน สำเร็จด้วยกามาวจรกิริยาจิต
รูปาวจรกิริยา กระทำรูปฌาน ของพระอรหันต์
อรูปาวจรกิริยา กระทำอรูปฌาน ของพระอรหันต์

กิริยาจิต ไม่ใช่กุศล และไม่ใช่ทั้งอกุศล เป็นอัพยกตจิต
ขณะพระอรหันตทำกิจประจำวัน หรือบางรูปสามารถแสดงอิทฤทธิ์ได้ การกระทำของท่านไม่ก่อให้เกิดกรรมวิบาก เมื่อไม่เป็นเหตุให้เกิดกรรมวิบาก ก็คือด้วยสามารถแห่งอรหัตผลจิตเกิดสลับคั่นในระหว่าง นั่นเอง

ถามว่าเป็นจิตดวงเดียวกันไม๊ ... ตอบว่า ไม่ใช่ เป็นคนละดวงกันแต่มีคุณสมบัติเดียวกัน โดยมีชีวิตอินทรีย์ดำรงความสืบต่อแห่งชีวิตอยู่ เพราะการเกิดดับของจิต เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป

กิริยาจิตหนึ่งจะทำกิจใด จิตก็ไปรู้อารมณ์นั้น และเมื่อจิตจะทำกิริยาอื่น จิตก็ไปรู้อารมณ์อื่น
ถ้ากิริยาจิตไม่เกิดดับ การเปลี่ยนอารมณ์ก็ไม่อาจเป็นไปได้ เพราะจิตขณะหนึ่งๆก็รู้อารมณ์หนึ่ง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 18:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อิสระ เขียน:
ทุกความคิดที่ผุดออก ทุกวาจาเอื้อนเอ่ย ทุกกิริยาเคลื่อนไหว ทั้งหมดนี้ เพื่ออะไร


แล้ว..ทั้งหมดนี้ เพราะอะไร..และ..เพื่ออะไร
:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 10:05
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อิสระ เขียน:
ทุกความคิดที่ผุดออก ทุกวาจาเอื้อนเอ่ย ทุกกิริยาเคลื่อนไหว ทั้งหมดนี้ เพื่ออะไร


แล้ว..ทั้งหมดนี้ เพราะอะไร..และ..เพื่ออะไร
:b12: :b12:



นั่นสิ .. เพื่ออะไร :b1:

.....................................................
ปลดล็อคใจ ตัดโซ่ร้อยรัดพันธนาการ สู่ทางแห่งเสรีชน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร