วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2010, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อิสระ เขียน:
ผมเพิ่งเข้ามาลานธรรมจักรใหม่ครับ ผมชอบที่จะภาวนา แต่หาเพื่อนแลกเปลี่ยนธรรมไม่ค่อยได้
ผมภาวนาแบบมีสติตามรู้กาย ตามรู้ใจ ตามความเป็นจริง คือมีสติในชีวิตประจำวันครับ
ตอนเช้าก็เดินครับประมาณ 10-20 นาที กำหนดที่เท้าครับ แต่ใจมันจะชอบไม่อยู่กับเท้า
จะไปคิดอะไรเกี่ยวกับงานกับเรื่องอะไรอื่นไปเรื่ยอยเปื่อยครับ ทำยังไงดี



หลังจากเดินแล้ว ได้นั่งต่อหรือเปล่าคะ?

ในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น อาจจะมีการถามรายละเอียดข้อปลีกย่อยของการปฏิบัติ
ตรงนี้ ถ้ามีการถาม ขออนุญาติล่วงหน้าเลยนะคะ :b44:

การเดินจงกรม เดินได้หลายแบบ ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว คือ จะมีรูปแบบหรือไม่มีรูปแบบก็ได้ค่ะ
จะรูปแบบไหน ขึ้นอยู่กับสภาวะของตัวผู้ปฏิบัติจะเป็นคนเลือกเอง



อิสระ เขียน:

ตอนเช้าก็เดินครับประมาณ 10-20 นาที กำหนดที่เท้าครับ แต่ใจมันจะชอบไม่อยู่กับเท้า
จะไปคิดอะไรเกี่ยวกับงานกับเรื่องอะไรอื่นไปเรื่ยอยเปื่อยครับ ทำยังไงดี




ไม่เป็นไรค่ะ เดินแล้วคิดก็ให้รู้ว่าคิด เพียงแต่เวลาเดินให้รู้ว่ากำลังเดิน ให้รู้ที่เท้า
ส่วนจะรู้ได้มากหรือน้อย อันนั้นไม่ต้องไปกังวลใดๆเลยค่ะ รู้ได้แค่ไหน รู้ไปตามความเป็นจริง
ถึงได้ถามเรื่องการนั่ง ว่า หลังจากเดินแล้ว ได้นั่งต่อหรือเปล่าน่ะค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2010, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 10:05
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนใหญ่ก็ นั่งบ้างไม่นั่งบ้างครับ

.....................................................
ปลดล็อคใจ ตัดโซ่ร้อยรัดพันธนาการ สู่ทางแห่งเสรีชน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2010, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



คุณอิสระ ต้องการแลกเปลี่ยนข้อสนทนาในแบบไหนหรอคะ เกริ่นนำมาได้เลยค่ะ
คือ เห็นจากคำตอบที่ตอบมาว่า นั่งบ้าง ไม่นั่งบ้าง

คนที่มีพื้นฐานด้านสมถะติดตัวมา ส่วนมาก ร้อยทั้งร้อยจะชอบนั่งมากกว่าเดิน
อันนี้โดยการคาดเดาจากที่เคยพบเจอมานะคะ แต่ไม่แน่เสมอไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 10:05
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ก่อนนั่งครับเพราะไม่รู้จะเริ่มยังไง ก็เริ่มด้วยการนั่งเพราะเหตุที่เห็นทั่ว ๆ ไปเขาทำกรรมฐานด้วยการนั่งกันเป็นส่วนใหญ่ ทำไปซักระยะก็ได้ผลครับไม่ใช่ไม่ได้ผล คือมันนิ่ง มั่นคง สงบระงับจริง ๆ แต่ไม่ได้อะไร เพราะไม่รู้จะไปต่อยังไงมันติดอยู่ตรงความนิ่งสงบ ทำกี่ครั้ง ๆ ก็เหมือนเดิม ก็เลยเปลี่ยน หลาย ๆ อย่าง ก็มาจบที่การเดินครับ

รู้สึกว่าเดินนี่ มีอะไร ๆ เคลื่อนไหวมากกว่านั่ง แต่สมาธิน้อยกว่านั่งแน่นอนรู้สึกได้เลย แต่ว่ามีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าการนั่ง สติมั่นคงดีพอเอาตัวรอดเท่าทันความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ฝืนบังคับอะไรมากนัก อะไรเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงก็รู้ได้ดีพอควร แต่ก็ยังมีหลงลืมตัวขาดสติอยู่เป็นระยะ

ผมเดินไม่ได้กำหนดก้าว ย่าง หนอ แต่ทำความรู้สึกไปที่เท้าเลย เอาสติจับเท้าไม่มีคำบริกรรมกำกับ ไม่นาน มันจะค่อย ๆ ครอบคลุมไปทั่วทั้งกาย ก็ปล่อยมันจะไปจับตรงไหนก็ปล่อย ก็มีสติตามไป บางทีก็ไปจับที่ตามองทางบ้าง จับที่เท้าบ้าง แขนที่กำลังกระสานกันบ้าง(บางทีก็ปล่อยไว้ข้างลำตัวให้แกว่งไปตามปกติ) จับที่หูได้ยินเสียงบ้าง แต่จะไม่ทุกครั้งครับ บางครั้งจะคิดบรรยายกำกับในหัว หรือมีความคิดผุดมาต่าง ๆ อันนี้ก็มีสติตามไปที่ความคิดต่าง ๆ พอเท่าทันความคิด จะกลับมาจับที่เท้าอย่างเดิม ซักระยะนึง ก็วิ่งไปโน่นนี่อีก จะไม่อยู่ที่เท้าตลอดเวลา แต่พอสติเข้าไปตามทันว่าใจมันวิ่งไปไหน ก็จะกลับมาที่รู้สึกที่เท้าตามเดิม เป็นอย่างนี้ตลอดเวลาที่เดินเลยครับ

เบื่องต้นเป็นอย่างนี้ครับ ถูกผิดประการใด มีอะไรแนะนำได้เลยครับ

เจริญในธรรม

.....................................................
ปลดล็อคใจ ตัดโซ่ร้อยรัดพันธนาการ สู่ทางแห่งเสรีชน


แก้ไขล่าสุดโดย อิสระ เมื่อ 23 ส.ค. 2010, 08:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อิสระ เขียน:
แต่ก่อนนั่งครับเพราะไม่รู้จะเริ่มยังไง ก็เริ่มด้วยการนั่งเพราะเหตุที่เห็นทั่ว ๆ ไปเขาทำกรรมฐานด้วยการนั่งกันเป็นส่วนใหญ่ ทำไปซักระยะก็ได้ผลครับไม่ใช่ไม่ได้ผล คือมันนิ่ง มั่นคง สงบระงับจริง ๆ แต่ไม่ได้อะไร เพราะไม่รู้จะไปต่อยังไงมันติดอยู่ตรงความนิ่งสงบ




สภาวะนี้เข้าใจค่ะ เหตุเกิดเนื่องจากว่า พอจิตเป็นสมาธิ ลมหายใจจะละเอียดจนจับแทบจะไม่ได้
เลยดูเหมือนกับว่ามันนิ่งไป จริงๆแล้ว ถ้าสังเกตุให้ดี จะมีการเคลื่อนไหวของกายอยู่
เช่นท้องพองยุบ แต่บางครั้ง จิตเสพสมาธิสูง อาการท้องพองยุบก็อาจจะจับไม่ได้
แต่ยังมีการเคลื่อนไหวของกายส่วนอื่นๆอยู่ แถวบริเวณทรวงอก ที่ขยับขึ้นลงเบาๆตามลมหายใจเข้าออก
พอกำลังของสมาธิลดลง จะเริ่มจับลมหายใจต่อได้ สภาวะจะเกิดสลับไปมาอยู่แบบนี้

บางครั้งถ้าสมาธิยังคงค้างอยู่ เวลานอนตะแคงซ้าย จะได้ยินเสียงของหัวใจเต้นแบบชัดเจนมากๆ
อาจจะทำให้นอนไม่หลับ ให้เปลี่ยนเป็นนอนตะแคงขวาแทน ไม่ก็นอนหงาย



อิสระ เขียน:
รู้สึกว่าเดินนี่ มีอะไร ๆ เคลื่อนไหวมากกว่านั่ง แต่สมาธิน้อยกว่านั่งแน่นอนรู้สึกได้เลย แต่ว่ามีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าการนั่ง สติมั่นคงดีพอเอาตัวรอดเท่าทันความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ฝืนบังคับอะไรมากนัก อะไรเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงก็รู้ได้ดีพอควร แต่ก็ยังมีหลงลืมตัวขาดสติอยู่เป็นระยะ



สภาวะตรงนี้เป็นเรื่องปกติค่ะ



อิสระ เขียน:
ผมเดินไม่ได้กำหนดก้าว ย่าง หนอ แต่ทำความรู้สึกไปที่เท้าเลย เอาสติจับเท้าไม่มีคำบริกรรมกำกับ




แล้วแต่เหตุที่ทำมาค่ะ บางคนก็ต้องใช้คำบริกรรมเข้าช่วย เพื่อให้จิตรู้อยู่กับกายได้
แต่ละคนมีการปฏิบัติแตกต่างกันไป ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมา และเหตุที่กำลังสร้างขึ้นในปัจจุบัน




อิสระ เขียน:
บางทีก็ไปจับที่ตามองทางบ้าง จับที่เท้าบ้าง แขนที่กำลังกระสานกันบ้าง(บางทีก็ปล่อยไว้ข้างลำตัวให้แกว่งไปตามปกติ) จับที่หูได้ยินเสียงบ้าง แต่จะไม่ทุกครั้งครับ บางครั้งจะคิดบรรยายกำกับในหัว หรือมีความคิดผุดมาต่าง ๆ อันนี้ก็มีสติตามไปที่ความคิดต่าง ๆ พอเท่าทันความคิด จะกลับมาจับที่เท้าอย่างเดิม ซักระยะนึง ก็วิ่งไปโน่นนี่อีก จะไม่อยู่ที่เท้าตลอดเวลา แต่พอสติเข้าไปตามทันว่าใจมันวิ่งไปไหน ก็จะกลับมาที่รู้สึกที่เท้าตามเดิม เป็นอย่างนี้ตลอดเวลาที่เดินเลยครับ




เข้าใจ ในสภาวะที่คุณเป็นอยู่ค่ะ
จริงๆแล้ว การที่กลับมารู้เท้าได้ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม เป็นเรื่องของตัวสติที่เกิดขึ้น
การที่จะเอาจิตจดจ่ออยู่กับเท้าได้ต่อเนื่องเกิดจากสติ และสัมปชัญญะทำงานควบคู่กัน
ผลที่ได้ในขณะที่รู้เท้าได้ต่อเนื่องนั้น คือ สมาธิ

แต่เนื่องจาก กำลังของสมาธิที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ยังไม่มีกำลังมากพอ
จึงไม่สามารถรู้เท้าได้ตลอด ตรงนี้ไม่ต้องไปกังวลใดๆเลยค่ะ เป็นเรื่องปกติที่จะต้องเจอกัน

ถึงได้บอกคุณว่า ให้นั่งต่อหลังจากเลิกเดินแล้ว เพราะขณะที่เดิน ย่อมมีสมาธิเกิดขึ้น
อาจจะมากหรือน้อยไม่ใช่ตัวปัญหา การที่มานั่งต่อ จะให้สมาธิตั้งมั่นได้ไวมากขึ้น
และเป็นเหตุให้ การเดินในครั้งต่อๆไป ทำให้รู้อยู่กับกายได้มากขึ้น รู้กาย รู้เท้าได้ชัดขึ้น
ยิ่งกำลังของสมาธิมีมากเท่าไหร่ แนบแน่นเท่าไหร่ จะรู้ชัดมากๆ รู้อยู่ในกายได้ตลอด
เมื่อนั่งต่อ สมาธิสามารถเกิดได้อย่างต่อเนื่อง

ส่วนเรื่องความคิดเป็นเรื่องปกติ คิดก็ให้รู้ว่าคิด แล้วให้กลับมารู้ที่กายต่อ
หากสติดี สมาธิดี ความคิดที่เกิดขึ้นจะหายไปเองค่ะ ยกเว้นคนชอบพิจรณา

เวลานั่ง ให้ดูตามสภาวะนี้ค่ะ


เวลานั่ง จะใช้คำบริกรรมภาวนาหรือไม่ใช้ก็ได้ ตามสะดวก
พอจิตเป็นสมาธิ ลมหายใจจะละเอียดจนจับแทบจะไม่ได้ เลยดูเหมือนกับว่ามันนิ่งไป
จริงๆแล้ว ถ้าสังเกตุให้ดี จะมีการเคลื่อนไหวของกายอยู่ เช่นท้องพองยุบ

แต่บางครั้ง จิตเสพสมาธิสูง อาการท้องพองยุบก็อาจจะจับไม่ได้
แต่ยังมีการเคลื่อนไหวของกายส่วนอื่นๆอยู่ แถวบริเวณทรวงอก ที่ขยับขึ้นลงเบาๆตามลมหายใจเข้าออก
พอกำลังของสมาธิลดลง จะเริ่มจับลมหายใจต่อได้ สภาวะจะเกิดสลับไปมาอยู่แบบนี้

ถ้าเป็นคนชอบพิจรณา ก็ใช้การพิจรณาได้ค่ะ
สภาวะของแต่ละคนล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมา จึงมีการปฏิบัติแตกต่างกันไป

บางครั้งถ้าสมาธิยังคงค้างอยู่ เวลานอนตะแคงซ้าย จะได้ยินเสียงของหัวใจเต้นแบบชัดเจนมากๆ
อาจจะทำให้นอนไม่หลับ ให้เปลี่ยนเป็นนอนตะแคงขวาแทน ไม่ก็นอนหงาย




ลองทำดูก่อนนะคะ ทำแล้ว เป็นยังไงบ้าง ก็นำมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ
เหตุที่ให้นั่งต่อหลังจากเดินนั้น มันมีเหตุถึงต้องให้ทำแบบนั้น ส่วนจะนั่งมากหรือน้อย
ให้ดูสภาวะในครั้งนี้ก่อน ว่านั่งแล้วเป็นยังไง แล้วจะมาอธิบายรายละเอียดที่เหลืออยู่ให้ฟังค่ะ

ช่วยดูเวลาให้ด้วยนะคะ เวลาเดินประมาณกี่นาที แล้วได้นั่งต่อกี่นาที
แค่ให้ดูนะคะ ส่วนคุณจะกำหนดโดยตั้งเวลาหรือไม่ตั้งเวลานั้นแล้วแต่ความสะดวกค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 24 ส.ค. 2010, 07:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 10:05
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ
ขอบคุณที่แนะนำ

รู้สึกถึงหัวใจเต้นเป็นบ่อยครับ
เวลานอน หรือนั่งนิ่ง ๆ จะรู้สึกได้เลย
บางทีรู้ไปถึงเส้นเลือดเลย มันพองยุบตามจังหวะเต้นของหัวใจ ก็ว่า เออ... ก็แปลกดีเหมือนกัน ไม่ได้ทำอะไรเลยแต่ก็รู้สึกได้


เดี๋ยวเอาไปลองทำดูซักระยะนึงก่อนครับ เป็นผลอย่างไรก็จะนำมาบอกอีกที


เจริญในธรรมยิ่ง ๆ

.....................................................
ปลดล็อคใจ ตัดโซ่ร้อยรัดพันธนาการ สู่ทางแห่งเสรีชน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อิสระ เขียน:

รู้สึกถึงหัวใจเต้นเป็นบ่อยครับ เวลานอน หรือนั่งนิ่ง ๆ จะรู้สึกได้เลย
บางทีรู้ไปถึงเส้นเลือดเลย มันพองยุบตามจังหวะเต้นของหัวใจ
ก็ว่า เออ... ก็แปลกดีเหมือนกัน ไม่ได้ทำอะไรเลยแต่ก็รู้สึกได้





สภาวะที่เกิดขึ้นของแต่ละคนนั้นล้วนอาจจะมีส่วนคล้ายคลึงกันบ้าง หรือแตกต่างกันไปบ้าง
ล้วนเกิดจากเหตุที่กระทำมาทั้งสิ้น เคยเจอบ่อยเหมือนกันค่ะ เสียงหัวใจเต้นชัดเจนมากๆ
เหมือนกับว่าเอาหูไปแนบฟังเสียงหัวใจเต้นที่หน้าอกเลย เป็นได้ค่ะ :b12:


เรื่องที่นำมาโพสต่อไปนี้ ถือว่าแบ่งปันประสพการณ์กันนะคะ
หากข้อคิดเห็นตรงไหนอาจจะไม่ตรงกัน นำเสนอมาได้นะคะว่าแตกต่างกันตรงไหน
ถือว่าแลกเปลี่ยนสภาวะกันค่ะ


สภาวะ คืออะไร?

สภาวะ แปลว่า ความเห็นเอง ความเกิดขึ้นเอง การปรากฏขึ้นเอง
เช่น สภาวะลักษณะ หมายถึงลักษณะที่เป็นเอง เกิดเองเป็นเองตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ
ในการปฏิบัติกรรมฐานหรือเจริญสติหรือจะเรียกอะไรก็ตาม หมายถึง สภาวะหรือปรากฏการณ์
ที่เกิดขึ้นภายในกายและจิตของผู้ปฏิบัติ

สภาวะมี ๒ แบบ

๑. สิ่งที่เกิดขึ้นภายในกาย

๒.สิ่งที่เกิดขึ้นนอกกาย

สังขาร ( การปรุงแต่ง ) เกิดขึ้นจากอะไร?
เหตุของการเกิดสังขารคือ กิเลส ตัวตัณหาอุปทานในการให้ค่าต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น

แบ่งออกเป็น ๒ สภาวะ

๑. การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นภายในกาย เกิดจากการอ่าน การฟัง และการภาวนา
การให้ค่าตามปริยัติ เช่น นำความรู้ในพระไตรปิฎกมาอ้างอิง เพราะตรงกับความคิดของตนเองที่เกิดขึ้น

การให้ค่าตามบัญญัติ เช่น การเห็นไปในทางเดียวกัน เรียกเหมือนๆกัน

การให้ค่าตามสภาวะ เช่น ขณะที่กำลังอยู่ในอริยาบทเดิน หรืออยู่ในอริยาบทนั่ง
อาจจะพบเห็นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วนำสิ่งเหล่านั้นไปเทียบเคียงกับสิ่งที่เคยได้อ่าน หรือเคยได้ฟังมา
ทำให้เกิดความคาดเดา( อุปทาน ) ให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้นนั้นๆว่า เรียกว่าอะไร แล้วเหตุที่ตามมาคือ
มีแต่ความสงสัยต่อสภาวะที่เกิดขึ้นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆคืออะไร เรียกว่าอะไร
ซึ่งเป็นการส่งจิตออกนอก คือ ไม่สามารถรู้อยู่ในกายได้ กำลังของสมาธิย่อมแนบแน่นได้ยาก

๒. การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนอกกาย เช่น สิ่งต่างๆที่มากระทบอายตนะแล้วก่อให้เกิดความชอบหรือชัง
หรือเฉยๆ ชอบก็ว่าถูก ไม่ชอบก็ว่าผิด ล้วนเป็นการให้ค่าตามความคิดที่เกิดขึ้น
แต่ไม่ใช่ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เพราะถ้าตามความเป็นจริงแล้วไม่มีทั้งถูกและผิด
ถูกหรือผิดล้วนเป็นเพียงเป็นไปตามเหตุของแต่ละคน

เมื่อผัสสะที่มากระทบ ณ ขณะนั้นๆ การที่เกิดการให้ค่าต่อผัสสะนั้นๆของแต่ละคน
ล้วนเกิดจากเหตุที่เคยกระทำร่วมกันมาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะรู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม
ถ้าไม่เคยสร้างเหตุมาร่วมกัน เมื่อเกิดผัสสะหรือการกระทบ ย่อมไม่มีความรู้สึกยินดี
หรือยินร้ายต่อสภาวะที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด

เหตุของตัวตัณหาอุปทานตัวนี้แหละ ที่ก่อให้เกิดภพชาติไม่รู้จบสิ้น
เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผล อุปทานก่อให้เกิดภพชาติเนืองๆ

เพราะเหตุนี้ เราจึงต้องมาเจริญสติ เพื่อจะได้รู้เท่าทันต่อสิ่งที่เกิดขึ้น อยู่กับปัจจุบัน
ไม่ใช่ไหลไปตามสิ่งที่มากระทบ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วหลงไปให้ค่ากับสิ่งที่เกิดขึ้น
ว่าต้องเป็นอย่างงั้นอย่างงี้ ตามความยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้น ภพชาติจึงยืดยาวออกไปเพราะเหตุนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร