วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2010, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 10:05
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b12:
เพราะความหลง..จึงหลงทำเพื่อ..ลาภ..ยศ..สรรเสริฐ

มีพวกพ้อง..เพื่อนร่วมอุดมการณ์เยอะ ๆ...นี้ก็ลาภ
ได้เป็นคนสำคัญในกลุ่มพวกพ้อง...........นี้ก็ยศ
อยากให้เขาโมทนากับคำของเราเยอะ ๆ ..นี้ก็สรรเสริฐ

บางครั้ง..เพื่ออะไรนี้..ดูตัวเองก็ยังดูยาก..ก็ไม่คิดว่าตัวทำเพื่อสิ่งเหล่านี้
แต่..ลองดูว่า..หากได้ในสิ่งตรงข้ามแล้ว..ตัวเราเองจะมีอาการยังงัย??

ลอง..ไม่มีใครเห็นด้วยกะเรา..เพื่อนน้อย..........นี้ก็จัดว่า..เสื่อมลาภ
ก็เมื่อไม่มีเพื่อน..ก็ไม่มีคนให้ความสำคัญกะเรา...นี้ก็จัดว่า..เสื่อมยศ
ก็เขาไม่เห็นด้วยกะเรา..แล้วจะมีใครชมเราละ.....นี้ก็จัดว่า..เสื่อมสรรเสริฐ

หากเจอเข้าไปแล้ว..มีอาการหงุดหงิด..หงุ่นหง่าน..บ่นกะปิตกะปอย..ก็ให้พึงรู้ซะว่า..เรากำลังหลงทำเพื่อลาภ..ยศ..สรรเสริฐ..อยู่

ดูที่จิตของเรานั้นแหละ..ไม่ต้องไปดูใคร

ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปกันทุกคนนะครับ :b8: :b8: :b8:




อนุโมทนาสาธุครับ

ขออนุญาตร่วมแสดงความเห็นครับ

ในความเห็นของผม

ทำดี ก็จะมีทั้ง คนสรรเสริญ และสาปแช่ง
ทำชั่ว ก็จะมีทั้ง สาปแช่ง และสรรเสริญ เช่นกัน

โลกธรรม 8 ไม่ขึ้นตรงกับความดี ความชั่ว ถูกใจ ไม่ถูกใจ ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง แต่ขึ้นตรงกับใจผู้นั้นแต่ผู้เดียว
แม้จะได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข (ในการแสดงความเห็นต่าง ๆ )
แม้จะได้ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ (ในการแสดงความเห็นต่าง ๆ )

ขอเพียงใจตั้งมั่นเป็นกลาง มีสติรู้ใจอยู่ กระเพื่อมดีใจ กระเพื่อมทุกข์ใจ ก็ไม่มีปัญหาอะไร
เพราะตั้งมั่นเป็นกลาง เด่นดวง มีสติรู้รอบอยู่
โลกธรรม 8 ก็เป็นอันยุติ ยุติธรรมได้ เพราะมีความยุติในธรรม ไม่มีผลอะไรกับเราอีกต่อไป


เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ครับ

.....................................................
ปลดล็อคใจ ตัดโซ่ร้อยรัดพันธนาการ สู่ทางแห่งเสรีชน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ถ้าจิตไม่เกิดไม่ดับ
ไตรลักษณ์ก็ไม่จริง

ถามหน่อยสิ ว่าตรงไหนพระพุทธเจ้าบอกว่าจิตอยู่พ้นไตรลักษณ์
ถ้าจิตอยู่พ้นไตรลักษณ์ แล้วมันจะเวียนว่ายตายเกิดได้ยังไง


คุณชาติสยามครับ
แสดงว่าคุณไม่เคยสนใจอ่านจริงจังนะครับ
ผมจะนำมาแสดงให้อ่านอีกสักครั้งครับ

พระพุทธพจน์กล่าวไว้ชัดเจนนะครับว่า อุปาทานขันธ์ทั้งหลายเกิดดับเป็นไตรลักษณ์
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนันตา ชัดๆนะ คุณชาติสมาย

๔. อนิจจสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕

ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้
ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี
เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี
เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี.

เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้น

จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่
จึงยินดีพร้อมเพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

^
^
เมื่อไม่มีความยึดมั่นอย่างแรงกล้า จิตย่อมคลายกำหนัดในอุปาทานขันธ์๕
จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย(ไตรลักษณ์) ใช่อยู่เหนือไตรลักษณ์มั้ยครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ธรรมภูต...
ท่านคงรีบด่วนอ่าน จึงตัดโน่นนิดนี่หน่อย จากสิ่งที่ เช่นนั้น แสดง

กามาวจรกิริยาจิต ๘
[๓๙๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรม-
*วิบาก
สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต
ด้วยญาณ...เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจาก-
*ญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น
โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ...เกิดขึ้นโดย
มีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ...เกิดขึ้น ฯลฯ
สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ...เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิด
เพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็น
ปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
มีด้วยประการอย่างนี้

-----

คุณเช่นนั้นครับ

ที่คุณยกของท่านอรรถกถาจารย์มานั้นก็ชัดเจนอยู่แล้ว
ธรรมเป็นอัพยากฤต อยู่ในหมวดกามาวจรกิริยาจิต ๘
คือ ธรรมที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ...ฯลฯ...
เป็นกามาวจรจิต ยังเป็นโลกียจิตอยู่ เป็นจิตของปุถุชนอยู่
เป็นกิริยาจิตหรืออาการของจิตนั่นเอง
ยังอยู่ในวงจรปฏิจจสมุปบาทธรรมอยู่ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยทำให้เกิดสังขาร
ทำให้เกิดวิญญาณ ทำให้เกิดนามรูป...ฯลฯ...ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นที่จิต

ไม่ใช่โลกุตตรจิต จิตพ้นโลก จิตเหนือโลก ซึ่งเป็นจิตพระอรหันต์
จิตพระอรหันต์จึงไม่ใช่อัพยากฤตธรรม(เฉยโง่)
จิตไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ (เป็นวิสังขาร) แล้ว
เป็นอกิริยา ไม่มีอาการของจิต(กิริยาจิต)แล้ว
วงจรปฏิจจสมุปบาทธรรมดับแล้ว เพราะอวิชชาดับ สังขารดับ
วิญญาณดับ นามรูปดับ ...ฯลฯ...ทุกข์ดับไปจากจิต
แต่จิตไม่ได้ดับ จิตรู้อยู่เห็นอยู่ว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตนของเรา
ถึงขันธ์ ๕ จะแปรปรวนไป
แต่จิตของเราไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

ที่คุณพูดว่า กิริยาจิตนั้นเกิดสลับไปมากับพระอรหันต์ผลจิตนั้น
แสดงว่าคุณกำลังกล่าวตู่ท่านพระอรหันต์อยู่นะครับ
เป็นไปได้หรือครับที่ โลกียจิตเกิดสลับไปมากับโลกุตตรจิต เป็นไปไม่ได้ครับ???
ผู้ที่เข้าถึงโลกุตตรจิตแล้ว เป็นผู้เที่ยงแล้ว ยังจะมีโลกียจิตเกิดขึ้นมาสลับอยู่อีกหรือครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
คุณเช่นนั้นครับ
คุณกำลังพูดขัดกันเองอยู่หรือเปล่าครับ
คุณพูดเองนะครับว่า"พระอรหันต์ทำกิจวัตรประจำวัน สำเร็จด้วยกามาวจรกิริยาจิต"
กามาวจรจิต ก็คือจิตที่ยังติดข้องอยู่ในโลก(โลกียจิต)นะครับ

เช่นนั้น เขียน:
อย่างนี้ เรียกว่า เรียนไม่ศัพท์ จับมากระเดียด
ที่เขียน ไว้ คือ กามาวจรกิริยาจิต ไม่ใช่ กามาวจรจิต

อย่างนี้เรียกว่า เรียนไม่ได้ศัพท์ จับมากระเดียด น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง

กามาวจร+กิริยาจิต = อาการของกามาวจรจิต
คือจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์อันน่ารักใคร่ ๒๔ ชนิด
อารมณ์และอาการของจิตเหล่านี้ล้วนเป็นโลกียจิตทั้งสิ้นใช่มั้ย???
ถ้าไม่ใช่เอาพระพุทธพจน์มายืนยันด้วยนะเช่นนั้น

คุณไม่รู้จริงๆหรือแกล้ง...กันแน่ จะอารมณ์ของจิตหรืออาการ(กิริยา)ของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์นั้น
ล้วนสืบเนื่องกันทั้งสิ้น หรือเช่นนั้นจะเถียงว่ากิริยาจิตไม่ใช่อาการของจิต
เอาหลักฐานเป็นพระพุทธพจน์มาแสดงด้วย

ส่วนที่เช่นนั้นยกท่านอรรถกถาจารย์มานั้น
เช่นนั้นอ่านไม่เข้าใจเองจึงเดาสวดคิดเองเออเอง ท่านอรรถกถาจารย์เสียหายหมด

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 20:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
^
เมื่อไม่มีความยึดมั่นอย่างแรงกล้า จิตย่อมคลายกำหนัดในอุปาทานขันธ์๕

:b39:

สาธุ.. :b8: :b8: :b8:

ธรรมภูต เขียน:
^
จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย(ไตรลักษณ์) ใช่อยู่เหนือไตรลักษณ์มั้ยครับ???

:b39:


ด้วยความเคารพนะครับ..

พอจะมีพระพุทธพจน์ที่แสดงว่า..ยังมี..อะไร ๆ ..นอกเหนือจากไตรลักษณ์..ไหมครับ??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กามาวจรกิริยา
[๔๘๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
มโนธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วย
อุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ใน
สมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน
สมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๘๓] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๔๘๔] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้น
แม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์
มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๘๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต
ด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ใน
สมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์
สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย
เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๘๖] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
ผัสสะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีในสมัยนั้น ฯลฯ
วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย
ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ
วิริยพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มี
อยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๘๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้น
แม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๔๘๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๔๘๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต
ด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ใน
สมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์
สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิด
ขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๙๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มี
อยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๔๙๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือ
นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๙๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต
ด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ...
เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต
ด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต
จากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง
ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๙๓] อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูล
คือ อโมหะ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
กามาวจรกิริยา จบ.

ชัดๆนะ เช่นนั้น อย่าทำให้อรรถกถาจารย์ท่านเสียหายอีกเลย
ถ้าอ่านไม่เข้าใจถามสิ อย่าเดาสวดเอาเอง ว่าที่ตัวเองคิดหนะถูกแล้ว

(๔๘๒) ก็บอกไว้ชัดๆแล้วว่า "มโนธาตุ ที่เป็นกิริยา" ไม่ใช่มโนธาตุ ที่เป็นวิบากกรรม
ที่สหรคต(ประกอบ)ด้วยอุเบกขาในสมัยนั้น(ขณะนั้น)
เมื่อมีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด(ขณะต่อมา) เรียกว่า สังขารขันธ์
แสดงว่ายังมีการปรุงแต่งอยู่ในสมัยต่อมา

(๔๘๔) สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้น
แม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์
มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

ถ้ายังมีการสหรคตอยู่ตราบใด ตราบนั้นจิตยังเป็นโลกียจิตนั่นเอง

ใน(๔๙๒) ก็ชัดๆนะ เช่นนั้น อรรถกถาจารย์ก็ชี้ชัดๆอยู่แล้วว่า

สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง

เช่นนั้น จะโมเมไปถึงไหน จึงไปเอาอัพยากฤตธรรมมาเทียบชั้นกับโลกุตรธรรม
มันคนละเรื่องเลยนะ เช่นนั้น

อัพยากฤตธรรมนั้น ในทางศาสนาพุทธของเราเค้าเรียกว่าเฉยโง่
เช่นนั้นไม่รู้จริงๆหรือแกล้ง...เพื่อเอาชนะเท่านั้น

เพราะอัพยากฤตจิตนั้น เป็นจิตยังมีอวิชชาครอบงำอยู่
พร้อมที่จะถูกชักจูงจากอารมณ์ได้ทุกเมื่อใช่มั้ยครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ถ้าไม่ใช่การแสดงออกมาจากจิตพระอรหันต์พระองค์นั้น??? แล้วอยู่ๆโผล่มาจากไหนครับ???

เช่นนั้น เขียน:
ดูชัดๆ นะ ธรรมภูต

[๔๙๓] อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูล
คือ อโมหะ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.


ดูชัดๆนะ เช่นนั้น

ก่อนจะเอา ๔๙๓ มาโชว์... ก็กลับไปอ่าน ๔๙๒ ให้เข้าใจเสียก่อนนะ

อย่ารีบตีความเข้าข้างตัวเองเสียก่อนหละ อรรถกถาจารย์ท่านจะเสียหาย

๔๙๒ ชี้ชัดๆนะ เช่นนั้น ว่า มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา ไม่ใช่ที่เป็นวิบากกรรม

ถ้ายังมีการสหรคต และมีการสัมปยุต มีการวิปปยุต ยังถูกอารมณ์ต่างๆชักจูงได้อยู่ใช่มั้ยครับ???

อย่าลืมนะ เช่นนั้น ถึงจะเป็นอัพยากฤตมูล ก็ยังมีมูลแห่งอวิชชาครอบงำอยู่ใช่มั้ย

ที่จะไม่ถูกอวิชชาครอบงำได้นั้น มีเฉพาะโลกุตรจิตชั้นพระอรหันต์เท่านั้น หรือว่าไม่จริง???

ผมไม่เคยเห็นพระสูตรไหนเลยที่กล่าวว่า
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นหลุดพ้นด้วยอัพยากฤตธรรม(อัพยากฤตจิต)เลย

มีแต่พระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า จิตของพระปัญจวัคคิย์ ก็เบื่อหน่าย
เมื่อจิตเบื่อหน่าย จิตก็คลายกำหนัด
เมื่อจิตคลายกำหนัด จิตก็หลุดพ้น

ไม่เห็นมีตรงไหนในพระสูตรเลยที่กล่าวว่า
จิตพระอรหันต์อยู่ด้วย กิริยาจิตที่เป็นอัพยากฤตธรรม(เฉยโง่)

เป็นไปไม่ได้นะ เพราะอัพยากฤตธรรมนั้น ยังเป็นธรรมฝ่ายโลกียนั่นเอง

ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลสทุกคน
ล้วนรู้จักเคยสัมผัสและเข้าถึงสภาวะอัพยากฤตธรรม(จิต)ทั้งสิ้น หรือว่าไม่จริง???

ส่วนพระพุทธองค์กล่าวไว้ว่า "เราอยู่โดยมากด้วยสุญญตวิหารธรรม(โลกุตรธรรม)"

จำเอาไว้นะ เช่นนั้น

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 21:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ที่คุณพูดว่า กิริยาจิตนั้นเกิดสลับไปมากับพระอรหันต์ผลจิตนั้น
แสดงว่าคุณกำลังกล่าวตู่ท่านพระอรหันต์อยู่นะครับ
เป็นไปได้หรือครับที่ โลกียจิตเกิดสลับไปมากับโลกุตตรจิต เป็นไปไม่ได้ครับ???
ผู้ที่เข้าถึงโลกุตตรจิตแล้ว เป็นผู้เที่ยงแล้ว ยังจะมีโลกียจิตเกิดขึ้นมาสลับอยู่อีกหรือครับ???

:b39:


เคย..มีคนอยากรู้ว่าหลวงปู่เป็นอรหันต์มั้ย??..จึงถามหลวงปู่ดุลย์ว่า..

ถาม..หลวงปู่มีโกรธมั้ย??
ตอบ..มี..แต่ไม่เอา
......................
แสดงว่า..ขันธ์ทั้ง 5 ก็ยังทำงานเป็นปกติของมัน..ผัสสะเกิด..เวทนาเกิด..แต่ท่านไม่เอาคือละที่อุปาทาน..วงปฏิจจสมุปบาทก็ขาดที่ตรงนี้..ไม่มีภพ..มีชาติอีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
คำว่ากิริยาก็ชัดเจนอยู่แล้วนะครับว่า การแสดงออกต่ออารมณ์ของจิต
เมื่อมีการแสดงออกย่อมต้องมีเหตุแห่งการแสดงออกนั้น
จะเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม หรืออัพยากตธรรม
คำว่าอัพยากตธรรมนั้น เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งเหมือนกัน
แต่เป็นธรรมที่ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งระหว่างกุศล และอกุศลในขณะนั้นครับ
แต่ไม่ใช่ธรรมที่ทำให้พ้นจากทุกข์ครับ
เพราะเป็นธรรมที่พร้อมจะเปลี่ยนเป็นกุศลหรืออกุศลในคราวต่อไป


เช่นนั้น เขียน:
ธรรมภูต จิตเป็นกุศลก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นอกุศลก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นอัพยากตก็อย่างหนึ่ง
ขึ้นกับเหตุปัจจัย

กิริยาก็ชัดเจน ชัดเจนแบบธรรมภูต หรือแบบพระอรหันต์
เข้าใจแบบธรรมภูต หรือเข้าใจแบบพระอรหันต์


เช่นนั้น ไม่รู้จริงๆหรือว่า จิตที่เป็นอัพยากฤตจิตนั้น เป็นจิตที่ยังจัดอยู่ในฝ่ายโลกียจิต

จิตที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เป็นจิตที่เป็นกลาง(เฉย)ระหว่างกุศลและอกุศล หรือที่เรียกว่าเฉยโง่

เพราะยังไม่แจ้งในอารมณ์นั้นๆนั่นเอง เมื่อถูกชักจูงไปทางไหน ย่อมทางไปในทางนั้น

จำไว้นะเช่นนั้น


คำว่ากิริยาก็ชัดเจนในตัวเองนะ เช่นนั้น กิริยาคือการกระทำที่เกิดขึ้นหรืออาการของจิตดีๆนั่นเอง

จะเข้าใจแบบไหนหรือชัดเจนแบบไหนไม่สำคัญ สำคัญที่ว่าตรงต่อพระพุทธพจน์ หรือไม่เท่านั้น


ท่านพระอรหันต์ การกระทำของท่านล้วนเป็นอกิริยาจิตทั้งสิ้น ไม่มีอาการ(กิริยา)จิตอีกแล้ว

แต่ท่านแสดงออกด้วยเมตตาล้วนๆ โดยไม่มีอามีส(กิริยา)ติดอยู่เลยแม้สักนิด

ล้วนเป็นการแสดงออกที่เนื่องด้วยอุปนิสัยบารมี(เก่า) ยังต้องแบกขันธ์๕ และมีชีวิตเป็นปัจจัยเท่านั้น


ส่วนธรรมที่เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม หรืออัพยากฤตธรรม ทั้งหมดล้วนเป็นธรรมฝ่ายโลกียะนะ

ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลสทุกคน ล้วนรู้จักเคยสัมผัสและเข้าถึงสภาวะอัพยากฤตธรรม(จิต)ทั้งสิ้น

หรือที่เรียกว่าเฉยโง่ เพราะยังไม่รู้จักในอารมณ์นั้นๆ

เมื่อรู้จักแล้วก็พร้อมจะถูกอารมณ์เหล่านั้นชักจูงได้ตลอดเวลา

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ตกลงจิตของคุณมีกี่ดวงครับ???
ในพระพุทธพจน์ชัดเจนนะครับว่า "เอก จรํ" ดวงเดียวเทียวไป
ถ้าจิตเกิดดับ แล้วกรรมจะบันทึกลงที่จิตดวงไหนครับ???
พระพุทธองค์ทรงสอนให้ชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดไปเพื่ออะไรครับ???
ถ้าจิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลาจริง จะชำระจิตได้อย่างไรครับ???


เช่นนั้น เขียน:
จิตเช่นนั้น ก็มีดวงเดียว และดวงเดียวเที่ยวไป
จิตเช่นนั้นก็เกิดดับ แต่ไม่มีการบันทึกกรรม แต่กรรมก็ให้ผลได้เพื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็น้อมเอาผลนั้นเกิดกับจิตได้

จิตแต่ละดวงเกิดดับ และมีความสืบเนื่องโดยอาศัยเหตุปัจจัยที่เกิดก่อน เหตุเฉพาะย่อมให้ผลเฉพาะ
ปัจจัยเป็นอุปการะแก่ผล จิตจึงดูเหมือนว่าเป็นจิตดวงนั้นแหละที่เที่ยวไป

พระพุทธองค์ตรัสว่า พระพุทธองค์เคยเป็นพระเวสสันดรบ้าง พระชนกบ้าง จิตของพระองค์เที่ยวไปหลายแสนชาติเป็นไปต่างๆนาๆ ถ้าจิตดวงนี้ไม่เกิดดับด้วยเหตุปัจจัย เป็นไปกับอำนาจแห่งเหตุปัจจัย จิตพระเวสันดร ก็คงระลึกถึงจิตของสุเมธดาบสได้ จิตของสุเมธดาบสก็คงระลึกถึงจิตของพระพุทธเจ้าขณะตรัสรู้ที่โพธิบัลลังก์ได้ แต่กลับระลึกกันไปมาไม่ได้ แต่จิตของพระพุทธเจ้ากลับระลึกได้ตลอด จิตที่เกิดดับตามเหตุตามปัจจัยมีความซับซ้อนมากมาย จนท่านธรรมภูต เรียนรู้มาผิดๆ และมีทิฏฐิผิดๆ
เว้นจาก อสังขตธาตุ แล้วสังขตธาตุทั้งหลายในโลกล้วนแล้วแต่ เกิดดับไปตามเหตุปัจจัยทั้งหมดทั้งสิ้น

พระพุทธองค์ให้ชำระจิตบริสุทธิ์หมดจด คือชำระความเศร้าหมองของเจตสิกธรรมอันเป็นจิตตสังขารของจิต เพื่อไม่ให้มีเหตุอันนำไปสู่ภพใหม่ของจิต

กรรม คือเจตนา
วิบากคือผลกรรม คือผลจากเหตุที่ได้กระทำไว้ ไม่เกี่ยวกับบัีนทึกกรรม ตามที่ท่านรู้มาผิดๆ

จิตเกิดดับตลอดเวลาจริง ชำระจิตอย่างไร ก็คงหมดปัญหา
คือเว้นจากการทำจิตเหตุที่ไม่ต้องการ อย่างนี้เรียกว่าชำระ

ชัดๆนะ เช่นนั้น

ดีนะ ที่จิตเช่นนั้น ไม่มีการบันทึกกรรมไว้ แล้วเช่นนั้นไปน้อมเอาผลมาจากไหน ถ้าไม่ได้ถูกบันทึกไว้

เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมแบบนี้ไม่เรียกว่าเดาเอาแล้วจะให้เรียกว่าอะไรหละ เช่นนั้น

แถมจิตยังเกิดดับอยู่ตลอดเวลา แล้วบอกได้ยังไงว่า "ก็น้อมเอาผลนั้นเกิดกับจิตได้"

แสดงว่าผลกรรมเกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิตใช่มั้ย???

มีพระพุทธพจน์กลาวไว้ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" พระพุทธพจน์ก็ผิดหมดนะสิ เช่นนั้น

ชัดๆนะ เช่นนั้น ที่พูดมาทั้งหมดว่าจิตเกิดดับหนะ เช่นนั้นรู้ตลอดมั้ยกับเหตุปัจจัยที่เกิดดับนั้น???


ใครกันแน่นะ เช่นนั้น ที่เรียนรู้มาผิดๆ และมีทิฏฐิผิดๆ จึงเห็นจิตเกิดดับ ทั้งที่เกิดดับคือจิตสังขาร ไม่ใช่จิต

อสังขตธาตุนั้น ไม่ใช่มีเพียงหนึ่งเดียวนะ เช่นนั้น พระสูตรที่เป็นพระพุทธพจน์ ยืนยันชัดๆนะ เช่นนั้น

"สังขตก็ดี อสังขตก็ดี มีประมาณเท่าใด เรากล่าวว่าวิราคะธรรมเป็นเลิศกว่าธรรมทั้งสองนั้น"
แสดงว่า อสังขตธรรมที่มีประมาณเท่าใดนั้น
อสังขตธรรมที่ได้รับความบริสุทธิ์เป็นวิราคะธรรม เป็นเลิศกว่าธรรมทั้งสอง

ชัดๆนะ เช่นนั้น เช่นนั้นพูดเองว่า(พระพุทธองค์ให้ชำระจิตบริสุทธิ์หมดจด คือชำระความเศร้าหมองของเจตสิกธรรมอันเป็นจิตตสังขารของจิต เพื่อไม่ ให้มีเหตุอันนำไปสู่ภพใหม่ของจิต)

เช่นนั้นก็รู้นะว่า "ชำระความเศร้าหมองของเจตสิกธรรมอันเป็นจิตตสังขารของจิต เพื่อไม่ให้มีเหตุอันนำไปสู่ภพใหม่ของจิต"

ชัดๆนะเช่นนั้น เช่นนั้นพูดเองชัดๆว่า เจตสิกธรรมเป็นจิตตสังขารของจิต แสดงว่าไม่ใช่จิตใช่มั๊ย???

จิต+สังขาร(เจตสิก) จิตบวกเครื่องปรุงแต่งจิต กลายเป็นจิตตสังขาร เมื่อเครื่องปรุงจิตดับไป

จำเป็นด้วยหรือที่จิตจะต้องดับไปด้วยกับสิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งนั้น

จิตก็รู้อยู่ว่าสิ่งปรุงแต่งจิตดับไป เดี๋ยวสิ่งปรุงแต่งจิตตัวใหม่ก็เกิดขึ้นแทนที่ใช่มั้ย???

เอาอะไรมาพูดนะ เช่นนั้น "จิตเกิดดับตลอดเวลาจริง" เช่นนั้น รู้ได้ยังไงว่าเกิดดับตลอดเวลา

ถ้ารู้ได้ว่า "เกิดดับตลอดเวลา" แสดงว่าต้องมีจิตผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ตลอดเวลาใช่มั้ยครับ???

ถ้าไม่ใช่แสดงว่าที่พูดมาทั้งหมดนั้น เป็นการเดาๆเอาเองเท่านั้นสิ จำไว้นะ เช่นนั้น

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
จิตยังรู้อยู่เห็นอยู่ตลอดเวลาที่จิตกวัดแกว่งไปตามอารมณ์ใช่มั้ยครับ???


เช่นนั้น เขียน:
จิตที่กวัดแกว่ง ใช้ในการแสดง จิตที่เป็นไปเพราะอวิชชา และตัณหา
เพราะอวิชชาและตัณหา จิตจึงกวัดแกว่งด้วยความซ่านแห่งตัณหาเห็นผิดเพราะอวิชชา

จิตพระอรหันต์ กระทำกิจ รู้อารมณ์ ด้วยอพยกตจิต เพราะมีอัพยากตมูลครับ ไม่กวัดแกว่งครับ จิตบรรลุนิพพานแล้วครับ

ชัดๆนะ เช่นนั้น

ก็เป็นการแสดงให้เห็นชัดๆแล้วนะ ว่าจิตไม่ได้เกิดดับ แต่จิตชอบกวัดแกว่งออกไปหาอารมณ์ต่างๆ

ที่เกิดดับคืออารมณ์ต่างๆ ที่จิตกวัดแกว่งออกไปหาใช่มั้ย???

ขอเถอะนะ เช่นนั้น อย่ากล่าวตู่ท่านพระอรหันต์อีกเลย

ท่านทำกิจ ก็คือท่านทำกิจที่ควรทำ เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย โดยโลกุตตรจิต
ไม่ใช่อัพยากตจิต(จิตที่เฉยโง่)

ส่วนมูลของอัพยากฤตธรรมนั้น ยังเป็นมูลของโลกียธรรม ไม่ใช่โลกุตตรธรรม อย่าเดาสวดอีกเลยนะ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ดูชัดๆ ธรรมภูต
ว่าจิตเกิดดับ มีพุทธพจน์รับรองไว้หรือไม่

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
มหาวรรค ภาค ๒
พรรณนาคุณของพระขีณาสพ
.....
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มี
จิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์
ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับของจิตนั้น


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=136&Z=223&pagebreak=0


ดูชัดๆ เช่นนั้น

ถ้าอ่านพระสูตรไม่เข้าใจ ก็ไม่ต้องยกมา ทำให้พระพุทธพจน์เสียหายได้นะ
ผมเอาของคุณหนูเล็กนิดเดียวมาให้อ่าน เผื่อ เช่นนั้น จะได้ตาสว่างขึ้นมาบ้างนะ

จิตปุถุชน มักถูกอารมณ์ครอบงำ ปรุงแต่งไปตามอารมณ์
เกิดความหวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ทำให้เกิดจิตสังขาร เกิดดับๆๆๆเนืองๆเป็นธรรมดา

จิตพระอรหันต์ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
อารมณ์ไม่อาจครอบงำจิตได้ จิตไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์
จิตไม่หวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดจิตสังขารขึ้น จิตไม่เกิดดับไปตามอารมณ์แล้ว

พระสูตรที่ยกมาแสดงนี้ จะได้นำเสนอโดยละเอียดต่อไป
เนื่องจากช่วงนี้งานเยอะ ยังไม่มีเวลาแจกแจง
จึงขอกล่าวโดยย่อไว้เป็นธรรมทานสำหรับผู้เข้ามาอ่าน

โปรดสังเกตในพระสูตร แสดงไว้ชัดเจนว่า
แม้ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์
ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ผ่านมาสู่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้
ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย
จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

ณ ตรงนี้แสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า
จิตของพระอรหันต์ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
อารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์) ที่เข้ามากระทบ
ไม่ว่าจะผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ ก็ตาม
ไม่อาจครอบงำจิตของท่านให้หวั่นไหวได้เลย

เหมือนภูเขาหินแท่งทึบ ไม่ว่าลมจะพัดมาจากทิศทางใด
ก็ทำให้ภูเขาหินนั้นโยกคลอนไม่ได้ ฉันใดฉันนั้น

ส่วนตอนท้ายพระสูตร ที่แสดงไว้ว่า

จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น
ฉันนั้นเหมือนกันแล

ณ ตรงนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า
จิตที่สงบตั้งมั่นแล้ว ไม่เกิดดับตามอารมณ์
และย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นจิตสังขารเกิดดับ


โดย: หนูเล็กนิดเดียว 23 สิงหาคม 2553 22:23:56 น.


http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nulek

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ....
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ....
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วกาย ....
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน
ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้
ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย
จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้
เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และ
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น

^
^
ชัดๆนะ เช่นนั้น วันหลังจะยกพระสูตรมานั้น

ควรยกในส่วนที่ต่อเนื่องกันมาด้วยนะ

พระสูตรชี้ชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วนะ

เช่นนั้นเองต่างหาก ที่อ่านพระสูตรไม่เข้าใจ จึงตีความตามชอบใจ

หรือเชื่อตามๆกันมาโดยที่ไม่เคยพิจารณาให้ถ่องแท้เสียก่อนเลย

พระอรหันต์ย่อมไม่กล่าวขัดแย้งกันเองนะ

จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว อันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้

คุณยังจะให้จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวนั้นเกิด-ดับอีกหรือ???

ตามความเป็นจริงแล้วควรเป็นอารมณ์ใช่มั้ยครับที่เกิด-ดับ???
เพราะอารมณ์เจือติดจิตไม่ได้ ครอบงำจิตไม่ได้

ที่เกิด-ดับไปควรเป็นอารมณ์ต่างๆเหล่านั้นใช่มั้ย???

จิตของภิกษุนั้น
ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ(อารมณ์)ของจิตนั้นใช่มั้ยครับ???

ทำไมต้องของจิตนั้น เพราะเราจะไปรู้จิตของคนอื่นไม่ได้ จิตใครจิตมันใช่มั้ย???

ตรงไหนครับที่ทรงกล่าวว่าจิตเกิด-ดับ ของแบบนี้คิดเองเออเองไม่ได้หรอกนะ

อ่านพระสูตรหัดพิจารณาด้วยใจที่เป็นธรรม อย่าเอนเอียงสิ เช่นนั้น

พระสูตรพูดถึงอารมณ์ เช่นสัททารมณ์ คันธารมณ์ฯลฯ
ที่ไม่สามารถครอบงำจิต หรือเจือติดที่จิตไม่ได้

แต่เวลาเกิด-ดับกลับเมโมว่าจิตเกิด-ดับ
ทั้งที่เห็นๆอยู่ว่าที่เกิด-ดับนั้น ล้วนเป็นอารมณ์ที่กล่าวมาข้างต้นใช่มั้ย???

ยังมีพระสูตรยืนยันอีกนะครับว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วจิตยังดำรงค์อยู่ครับ

ธรรมภูต

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ธรรมภูต เขียน:
^
เมื่อไม่มีความยึดมั่นอย่างแรงกล้า จิตย่อมคลายกำหนัดในอุปาทานขันธ์๕

:b39:

สาธุ.. :b8: :b8: :b8:

ธรรมภูต เขียน:
^
จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย(ไตรลักษณ์) ใช่อยู่เหนือไตรลักษณ์มั้ยครับ???

:b39:


ด้วยความเคารพนะครับ..

พอจะมีพระพุทธพจน์ที่แสดงว่า..ยังมี..อะไร ๆ ..นอกเหนือจากไตรลักษณ์..ไหมครับ??

อนุโมทนาคุณกบนอกกะลาครับ

ในปฐมพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า
"จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา"

ตัณหา๓ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา(ไตรลักษณ์)

ก็ยังมีพระนิพพานครับ ที่เป็นอะไรๆที่นอกเหนือจากไตรลักษณ์ครับ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2010, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ธรรมภูต เขียน:
ที่คุณพูดว่า กิริยาจิตนั้นเกิดสลับไปมากับพระอรหันต์ผลจิตนั้น
แสดงว่าคุณกำลังกล่าวตู่ท่านพระอรหันต์อยู่นะครับ
เป็นไปได้หรือครับที่ โลกียจิตเกิดสลับไปมากับโลกุตตรจิต เป็นไปไม่ได้ครับ???
ผู้ที่เข้าถึงโลกุตตรจิตแล้ว เป็นผู้เที่ยงแล้ว ยังจะมีโลกียจิตเกิดขึ้นมาสลับอยู่อีกหรือครับ???

:b39:


เคย..มีคนอยากรู้ว่าหลวงปู่เป็นอรหันต์มั้ย??..จึงถามหลวงปู่ดุลย์ว่า..

ถาม..หลวงปู่มีโกรธมั้ย??
ตอบ..มี..แต่ไม่เอา
......................
แสดงว่า..ขันธ์ทั้ง 5 ก็ยังทำงานเป็นปกติของมัน..ผัสสะเกิด..เวทนาเกิด..แต่ท่านไม่เอาคือละที่อุปาทาน..วงปฏิจจสมุปบาทก็ขาดที่ตรงนี้..ไม่มีภพ..มีชาติอีก


คุณกบนอกกะลาครับ

ที่ท่านพรัอาจารย์หลวงปู่ดูลย์บอกว่า มี....แต่ไม่เอา
ก็แสดงชัดๆอยู่แล้วนะครับว่า ท่านพระอาจาย์หลวงปู่ไม่มีกิริยาจิต(อาการของจิต)แล้วครับ
หรือที่เรียกว่ารู้อยู่ที่รู้ ไม่ใช่รู้อยู่ที่เรื่องครับ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร