วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 104 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: อิ อิ ...

เข้าใจค่ะ...แต่...

พูดไม่ออก... :b21: :b21: :b21:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2010, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
:b1: อิ อิ ...

เข้าใจค่ะ...แต่...

พูดไม่ออก... :b21: :b21: :b21:


อาการเดียวกัน

:b21: :b21: :b21:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2010, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ยังไม่มีเวลาเล่าต่อ แวะเข้ามาดูนิดหนอ่ย แต่อยากให่ข้อคิดเกี่ยวกับเรื่อง สิ่งเร้นลับ อภินิหาร
หรืออิทธิฤทธิ์ ต่างๆความจริงพระพุทธเจ้าตรัสว่ามันมีอยู่จริง อ่านดูให้ดีๆ มีทั้งเรื่องที่ตรัสตรงๆและเป็นการอุปมัย แต่มันก็ไม่ได้มีมากจนเฝือ หรือเท่าที่คนเอามาแอบอ้างหากินกันทุกวันนี่(ซึ่งส่วนมาก หลอกลวงหาทรัพย์ทั้งสิ้น ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ลองพิจารณาดู) คนที่ได้พบของจริง ก็เป็นปัจจัตตัง เล่าไปก็ไม่ค่อยเป็นประโยชน์ มีแต่โทษ และอีกอย่างท่านย้ำชัดว่าสิ่งเหล่านี้ มันไม่ใช่ทาง ซึ่งหมายถึงมันไม่ช่วยให้การปฏิบัติของเราได้ผล ยิ่งขึ้น หรือถ้าเป็นสงฆ์ก็ไม่ช่วยย่นระยะทางไปสู่ความเป็นพระอรหันต์ให้สั้นลง พูดถึงตรงนี้คงต้องหมายความว่าสิ่งเหล่านี้ เราไม่ควรปฏิเสธ แต่ก็ไม่ควรไปยุ่งเกียว ไปอยากรู้ ไปพิสูจน์ ท่านย้ำชัด เหมือนเป็นการเตือนสติว่า ความรู้ที่คถาคตตรัสรู้นั้นเปรียบได้กับใบไม้ทั้งป่า แต่ความรู้ที่คถาคตนำมาชี่ทางสั่งสอนนั้นเปรียบได้เพียงใบไม้เพียงกำมือเดียว(แต่ก็เพียงพอทำให้เราบรรลุพระอรหันต์ได้) ท่านจึงเตือนเรากลายๆใม่ให้ไปสนใจสิ่งเหล่าเพราะจะทำให้เราเดินออกนอกทางเสียเวลา(เหมือนเดินคดไปคดมา แวะโน้นแวะนี่ ก็จะไปถึงจุดหมายช้านั่นแหละ) แต้ถ้าคนชอบก็คงไม่เป็นไร ก็เราชอบนี่/เจโตวิมุติ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2010, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่เอกอน...เปล่า เอกอนยังมองศาสนาในแง่มุมของความงมงาย

และเอกอนก็ไม่เคยปฏิบัติ ไม่เคยศึกษาทางด้านศาสนาด้วย
ก็เลย...นึกถึงแต่แววจะเข้าศรีธัญญา...ปรากฎ

ก้ลองปฏิบัติดูสักตั้งสิ สักวันละ 5 นาที 5 นาทีเท่านั้นพอ ผมเคยอ่านหนังสือ
ที่ทางสมเด็จพระสังฆราชท่านเรียบเรียงขึ้น ให้นั่งให้ได้วันละ9 นาทีถ้าทำได้
จิตจะเป้นสุขอย่างยิ่ง ซึ่งผมคิดว่าจริงแน่นอน
คำว่า 5 นาทีคือไม่ปล่อยให้ใจลอยนะ ตั้งแต่วินาทีต้องจับที่ลมหายใจถ้าคลาด
เคลื่อนจากนี้ต้องรู้ว่ากำลังทำอะไร คิดอะไรอยู่เมื่อรู้แล้วดึงจิตที่คิดกลับมาแล้ว
นั่งสมาธิต่อจนครบห้านาทีครับ :b41: :b41:


คุณเจโตฯเล่าได้ดีมากนะครับ เรียบเรียงแบบธรรมชาติไม่ต้องเน้นความพิสดาร
อะไรมาก ถือเปนบังเทิงธรรมอ่านแล้วจรรโลงใจ ทำให้คนรักการปฏิบัติมากกว่า
จะอ่านผลลัพธที่ได้จากการปฏิบัติผ่านทางหนังสืออย่างเดียว.... :b40: :b40:
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: (ต่อสมาธิตอน 1 ขณิกะและอุปจารสมาธิ)เมื่อเวลาผ่านไป4-5วันอาการเจ็บปวดต่างๆค่อยทุเลาลง อุปสรรคต่างๆ ก็แก้ไขโดยการพิจารณาโดยแยบคาย(โยนิโสมนัสสิการ) แล้วค่อยๆแก้ไปล่วงสู่7วันสมาธิก็ตั้งมั่นขึ้น
ปกติขณะเริ่มนั่งทุกครั้ง เราต้องทำกายให้วิเวกเสียก่อน(ทำกายให้วิเวกเสียก่อน จิตจึงวิเวกได้) สมาธิตั้งขึ้นใหม่จิตเริมจดจ่อกับลมหายใจได้นานขึ้น โดยที่จังหวะการหายใจยังเป็นปกติ จะเริ่มรู้สึกได้ถึงความสงัดแบบธรรมชาติทั่วไป จิตจะหลุดออกจากตัวภาวนาบ้างบางครั้ง(เช่นสุนัขเกิดเห่ากรรโชกขึ้นมาดังมาก จิตหลุดจากตัวภาวนา และเกิดอาการปรุงแต่ง เช่นรู้สึกว่าแหมเจ้าสุนัขตัวนี้เห่าเสียงดัง น่ารำคาญจริง)อันนี้พอรู้ตัวก็ดึงจิตกับมาที่ตัวภาวนา ภาวนาต่อไปอาการทีจิตแนบแน่นอยู่กับตัวภาวนาได้มากขึ้นและหลุดออกจากตัวภาวนาบ้างอย่างนี้ เรียกว่าเราปฎิบัติก้าวหน้านิดหนึ่งแล้วหมายถึงสมาธิอยู่ในระดับ ขณิกะสมาธิ(สมาธฺเล็ก)แล้ว ซึ่งบุคคลทั่วไปถ้าปฎิบัติจริง และต่อเนื่องกันสัก30นาทีก็น่าจะเข้าถึงได้ทุกคน การปฏิบัติก็คงดำเนินไปอย่างนี้โดยทำจิตให้เป็นกลางๆตลอดเวลา เมื่อกำลังสมาธิสะสมมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง นิวรณ์บางตัวเริ่มถูกกำจัดออกไป จิตจะเริ่มยกระดับความเข้มแข็งของสมาธิขึ้นเป็นสมาธิระดับกลาง (อุปจาระสมาธิ) ลมหายใจจะอ่อนลงไป จนแทบไม่รู้สึกถึงการหายใจ ช่วงนี้ในการกำหนดไม่สามารถตามรู้ต้นลม ปลายลมหายใจต่อไปได้ ต้องเอาจิตมาจดไว้ที่ปลายจมูก ตรงที่ลมหายใจกระทบก่อนออก พยายามตามรู้ทุกครั้งที่ลมหายใจออก และกระทบจมูก และจิตต้องตื่นอยู่ตลอด ช่วงที่สมาธิยกยกระดับจากขณิกะสมาธิเป็นอุปจารสมาธินี้ จะมีอาการบางอย่างเกิดขึ้นสังเกตุได้ชัดเจน คือมีอาการคล้ายกับที่เขาเรียกว่าการรู้ตัวทั่วพร้อมและคล้ายมีอาการขนลุก พร้อมรู้สึกว่าร่างกายของเราถูกความเงียบกอดกระชับให้แน่นขึ้น(แต่ไม่อึดอัด)ความสงัดอันนี้หุ้มห่อตัวเราไว้ ช่วงนี้จิตเริ่มหยุดการปรุงแต่งแล้ว เช่นได้ยินสุนัขเห่า ก็จะสักแต่ว่าเห่าจิตจะแนบแน่นกับตัวภาวนา ไม่หลุดไปตามรู้อาการเห่าของสุนัข จิตจะเคลียคลออยู่กับตัวภาวนา(ลมหายใจกระทบปลายจมูก)นั้นได้แนบแน่นและแสนนาน ทั้งๆที่ความรู้สึกกระทบนั้นแผ่วเบาจนบ้างครัง้แทบจับความรู้สึกไม่ได้เลยด้วยซ้ำ/ต่อหน้าถัดไป...เจโตวิมุติ


แก้ไขล่าสุดโดย เจโตวิมุติ เมื่อ 30 ส.ค. 2010, 21:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2010, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b2: :b2: อยากโดดกัดตะมูกท่านอินทรีย์...หง่ะ...

:b26: แต่ก่อน...หง่ะ...แต่ก่อน

แต่เดี๋ยวนี้ เอกอนมาศึกษาปฏิบัติบ้างแล้วค่ะ... :b12:

... :b16: :b16:

ก็ไม่ใช่ผู้รู้ดีค่ะ แต่ซนดี...อิ อิ

:b12:

และก็เห็นด้วยที่ว่า ท่านเจ เล่าได้ดีค่ะ...
เอกอนยังอ่านเพลิน ๆ ...

:b16:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 30 ส.ค. 2010, 22:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 21:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:
:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: (ความจริงไม่ค่อยมีเวลาจริงๆ/เอ้าต่อประสบการณ์บางอย่างและการเข้าถึงปฐมฌาณ เป็นครั้งแรก)... เรายังคงปฎิบัติวันละ4ชั่วโมงเหมือนเดิม และเดินจงกลมตามปกติทุกวัน อินทรีย์ 5 เข้มแข็งมาก
กิเลศอย่างหยาบ และนิวรณ์หลายตัวดับไปบ้างบางส่วน แต่ความก้าวหน้าก็คงอยู่แค่อุปจาระสมาธิแนบแน่นอย่างนั้น เป็นเวลานับสิบวัน ไม่ก้าวหน้าไปไหน ไม่ได้ไปถามอะไรหลวงพ่อเพราะคิดว่าทั้งหมดเข้าใจจากการอ่านและฟังเทปการบรรยายของหลายอาจารย์แล้ว ล่วงเข้าสู่วันที่16ของการปฏิบัติ หลังจากฉันท์เพลแล้วมาเดินจงกลม เดินไปได้ไม่นานเกิดความรู้สึกชัดเจนมาก เหมือนพื้นดินยุบยวบลงไปตลอดการเดิน เหมือนเดินบนฟองน้ำขนาดใหญ่ หรือเหมือนกระดูกหน้าแข้งเราอ่อนตัวนิ่มจนขายุบลง ความรู้สึกมันชัดมาก ทั้งๆที่สติบริบูรณ์เป็นปกติ ยอมรับว่าตกใจมาก ใจเสียเลย เลิกเดินจงกลม กลับเข้ากุฏิ ในใจก็คิดโทษตัวเองที่เรามาปฎิบัติเอง โดยไม่ได้ใกล้ชิดครูบาอาจารย์(นึกว่าเราเพี้ยนไปแล้ว) จนกระทั่งตกเย็นก็ยังไม่กล้าบอกใคร แข็งใจขึ้นไปร่วมสวดมนต์เย็นบนศาลา พอเริ่มสวดในกล้ามเนื้อขาทั้งสองส่วนบน เหมือนมีงูมาขดตัวอยู่ในนั้นทั้งสองข้าง บิดตัวไปมารู้สึกได้ชัดเจน โดยที่เราบังคับอะไรไม่ได้เลย คราวนี้มั่นใจว่าเราป่วยแน่แล้ว สวดมนต์เสร็จไม่บอกใครตรงไปกราบหลวงพ่อ บอกหลวงพ่อครับสงสัยผมจะป่วย เพราะหมกมุ่นกับการปฏิบัติมากไป พรุ่งนี้ขออนุญาติไปหาหมอที่โรงพยาบาล หลวงพ่อท่านถามว่าเป็นอะไร ก็เล่าอาการและเหตุการณ์ทั้ง 2 อย่างให้ท่านฟัง ท่านกล่าวด้วยสีหน้าปกติว่าไม่ได้เป็นอะไรหรอก อาการอย่างนี้แสดงว่าอารมณ์ วิปัสนากำลังจะจับ ไม่ต้องไป ท่านกล่าวสั้นๆแค่นั้นจริงๆ เราก็ไม่กล้าถามอะไรอีก แต่เดินกลับไปที่กุฏิด้วยใจที่เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง จริงๆ/
ต่อหน้าถัดไป....เจโตวิมุติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: อย่าตกใจเพราะเรื่องแปลกมีแค่นั้น อะไรที่แปลกไม่พยายามเล่าอยู่แล้ว แต่ขอเฉพาะเรื่องนี้เพราะเป็นเหตุการที่อยู่นอกสมาธิและเกิดขณะสติบริบูรณ์/ต่อคราวหน้านะเรื่องปฐมฌาน...เจโตวิมุติ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: หลังจากวันนั้น เป็นวันที่บวชและปฏิบัติมาครบ 17 วันพอดี อาการที่เป็นเมื่อวานนี้ไม่เกิดขึ้นอีก เราก็ปฎิบัติไปตามปกติเหมือนเดิม โดยในใจมีทั้งความหวังที่จะก้าวหน้าอยู่บ้าง(หลังจากฟังหลวงพ่อเมื่อวานนี้)และความกังวลเล็กๆซ่อนอยู่เหมือนกัน(จากเหตุการณ์ที่กล่าว) ทั้งวันการปฏิบัติก็เป็นปกติ นับถึงวันนี้เราน่าจะอยู่ในอุปจารสมาธิรวมๆแล้วประมาณ40ชั่วโมงตั้งแต่เริ่มปฎิบัติ
........ตกค่ำรู้สึก มีความมุ่งมั่นมาก วิริยินทรีย์มีกำลังมากกว่าทุกวัน สัก2ทุ่มเห็นจะได้ เราเริ่มนั่งสมาธิอีก วันนี้นั่งใต้ต้นมะม่วง บนแคร่หลังกุฏิ หันหน้าออกหาธารน้ำ เรานั่งอยู่ในความมืดสนิทคนเดียวจิตเริมเป็นสมาธิแล้ว จากขณิกะ เข้าสู่อุปจารสมาธิ ใช้เวลาไม่นานนัก จิตแนบแน่นอยู่ในอุปจาระสมาธิประมาณ45นาที เหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลียนแปลง ครบเวลาก็ถอยจิตออกมาที่ขณิกะและออกจากสมาธิ ตามขั้นตอน(ต้องถอยช้าๆ) มานั้งพิจารณาอยู่สักพักว่าการปฏิบัติของเราบกพร่องตรงไหน ทำไม่ไม่ก้าวหน้าทบทวนดูก็ไม่ได้ปฎิบัติผิดขั้นตอน ตั้งแต่ศีล ก็ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นิวรณ์ก็ดับได้มากอินทรีย์ทั้ง5ตัวก็บริบูรณ์ดี ชรอยการเตรียมตัวบวชล่วงหน้าเป็นเวลาเกือบปีคงจะสูญเปล่า นึกอย่างนั้นก็ทำใจได้ว่า อาจเพราะเราไม่มีบุญพอการปฎิบัติจึงก้าวหน้าได้เพียงเท่านี้ อย่ากระนั้นเลยไหนๆก็ตัดสินใจบวชมาแล้ว ได้ก็ช่างไม่ได้ก็ช่างก็แล้วแล้วกัน ต่อไปนี้เราจะไม่หวังอะไรอีกจะนั่งต่อไปอย่างนี้จนครบวันสึกแม้ไม่ได้อะไรเพิ่มเติม ก็ตาม เมื่อตัดสินใจได้อย่างนั้น ก็เริ่มนั่งสมาธิใหม่อีกครั้ง เวลาน่าจะ 3ทุ่มกว่าแล้ว การเข้าสมาธิเร็วขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย เมื่อจิตอยู่ในอุปจารสมาธิสักพักหนึ่ง ระหว่างการภาวนาและทำจิตให้เป็นกลางตลอดเวลานั้นอยู่ก็เหมือนเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมวูบขึ้นมา แล้วจิดก็หลุดวุบเข้าไปในอุโมงหรืออะไรที่มีลักษณะคล้ายอุโมง เหมือนมีแรงดูดหรือแรงส่งก็ไม่แน่ใจทำให้จิตเคลื่อนไปในห้วงที่ว่าอย่างเร็วมาก เพียงชั่วอึดใจจิตก็หลุดออกจากห้วงดังกล่าว พร้อมรู้สึกมีแสงสว่างจ้าขึ้นจนประมาณไม่ได้(เหมือนมีแสงไฟสีขาว เย็นมาส่งแสงเหนือศีรษะสักหมื่นแรงเทียน)แต่ไม่รู้สึกร้อน กลับรู้สึกเย็นและเป็นสุขอย่างประหลาด ช่วงที่จิตหลุดออกมาจากห้วงนั้นจิตมีอาการไหวมากอยู่เหมือนกัน พยายามควบคุมจิตให้นิ่งขึ้น โดยอาศัยสิ่งที่เคยเรียนมาก่อนว่าถ้าเกิดปรากฎการณ์ทางจิตขึ้นอย่างไร อย่าตกใจเพราะจิตจะถอยจากสมาธิทันที(อันนีทราบมาก่อนปฏิบัติ)พอจิตเริมนิ่ง พยายามทำจิตให้เป็นกลาง สักแต่ว่ารู้
สิ่งที่ปรากฏ
/ต่อหน้าถัดไป...เจโตวิมุติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุติ เขียน:
:b42: หลังจากวันนั้น เป็นวันที่บวชและปฏิบัติมาครบ 17 วันพอดี อาการที่เป็นเมื่อวานนี้ไม่เกิดขึ้นอีก เราก็ปฎิบัติไปตามปกติเหมือนเดิม


อิ อิ เหมี๋ยนกันเลยท่าน... :b9:
อาการแปลก ๆ ประมาณนี้...
มันผ่านมาแล้วมันก็ผ่านไปเลย... :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 01 ก.ย. 2010, 21:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: เมื่อควบคุมให้จิตนิ่งขึ้นได้แล้วจึงได้รู้ว่าความรู้สึกมีกาย ได้หายไป-ไม่มีกาย ลมหายใจก็หายไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้นแสงสว่างเย็นอันประมาณมิได้นั้นกลับส่งมาหรือแผ่ออกมาจากจิตของเราเอง เหลือแต่จิตดวงเดียว กายและลมหายใจดับไปแล้ว สักแต่ว่ารู้คิดไม่เป็น ประคองจิตที่ส่องแสงสว่างเย็นไว้อย่างนั้น นานนับชั่วโมง โดยจิตเป็นกลางๆไม่ทุกข์ ไม่สุข หลังจากนั้นสมาธิค่อยถอนตัวออกมาอย่างช้าๆ (ซึ่งสมาธิตอนที่ว่านี้ความจริงก็คืออัปนาสมาธินั่นเอง ซึ่งเราไม่รู้สมมุติบัญญัติตรงนี้ ในตอนแรก)เมื่อสมาธิถอยกลับมาถึงรอยต่ออัปนาสมาธิกับอุปจารสมาธิพอดี ความมีกายก็ค่อยๆปรากฎขึ้น ลมหายใจเริ่มกลับมาแผ่วๆแล้ว ลองขยับแขนเล็กน้อย ขยับได้แล้ว(รอยต่อตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่สุด ที่จะนำไปไปสู่การยกจิตขึ้นสู่การทำวิปัสนาซึ่งจะกล่าวในตอนสุดท้าย)เราปลอ่ยให้สมธิ ค่อยถอนออกมาถึงขณิกะและออกจากการภาวนาในที่สุด วันนั้นใช้เวลาทั้งหมดไปเกือบหรือกว่า2ชั่วโมง ออกจากสมาธิด้วยใจอิ่มสุขและนิ่งมาก พรุงนี้รู้กัน ว่าหลวงพ่อจะบอกว่าปรากฎการณ์ทางจิตอย่างนี้ เรียกว่าอะไร/ต่อวันอื่น...เจโตวิมุติ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2010, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุติ เขียน:
:b42: เมื่อควบคุมให้จิตนิ่งขึ้นได้แล้วจึงได้รู้ว่าความรู้สึกมีกาย ได้หายไป-ไม่มีกาย ลมหายใจก็หายไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้นแสงสว่างเย็นอันประมาณมิได้นั้นกลับส่งมาหรือแผ่ออกมาจากจิตของเราเอง เหลือแต่จิตดวงเดียว กายและลมหายใจดับไปแล้ว สักแต่ว่ารู้คิดไม่เป็น ประคองจิตที่ส่องแสงสว่างเย็นไว้อย่างนั้น นานนับชั่วโมง โดยจิตเป็นกลางๆไม่ทุกข์ ไม่สุข หลังจากนั้นสมาธิค่อยถอนตัวออกมาอย่างช้าๆ (ซึ่งสมาธิตอนที่ว่านี้ความจริงก็คืออัปนาสมาธินั่นเอง ซึ่งเราไม่รู้สมมุติบัญญัติตรงนี้ ในตอนแรก)


อิ อิ เอกอนเพิ่งรู้... :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 00:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ต่อจากตอนที่แล้ว รู้จักฌานความรู้สึกที่เป็นปรมัตถ์ และสมมุติบัญญัติ ที่เป็นชื่อเรียกต่างๆ
....รุ่งเช้าหลังจากฉันท์เช้า ด้วยจิตที่นิ่งและอิ่มบุญเป็นพิเศษ เข้าไปกราบหลวงพ่อ เลียบเคียงถามถึงสภาวะทีเกิดขึ้นในสมาธิเมื่อคืน หลวงพ่อยืนยันด้วยสีหน้าปกติ ว่าคือสภาวะจิตที่อยู่ในองค์ฌาน แล้วก็กล่าวถึงแนวทางในการปฏิบัติ ก็คือให้ลองปฏิบัติ ให้ชำนาญ คือฝึกการเข้าฌานให้ชำนาญขึ้น(เกิดวสี)
เมื่อเข้าฌานที่1 หรือปฐมฌานได้ชำนาญขึ้นแล้ว ให้ค่อยๆละองค์ประกอบ ขององค์ฌานไปทีละตัว เพื่อทำฌานที่สูงขึ้นไป เช่น ทุติยฌาน และตะติยะฌาน เป็นต้น(องค์ประกอบขององค์ฌาน ที่เป็นชื่อเรียกความรู้สึกต่างๆระหว่างกระบวนการเข้าสู่ในองค์ฌานนั้น เป็นสมมุติบัญญัติ เริ่มจาก วิตก วิจารย์ ปิติ สุข เอกทัฅคา และอุเบกขา ซึงการเข้าฌานในครั้งแรกนั้น ความรู้สึกมันเป็นปรมัติ มันเกิดขึ้น ต่อเนื่องและเร็วมาก เราอาจจับความรู้สึกได้ไม่ทัน และอาจไม่สามรถแบ่งแยกอาการของจิตในแต่ละช่วงได้ชัดเจน จะรู้สึกชัดเจน ก็คือสภาวะในช่วงท้ายๆ คิอเอกทัคคาและอุเบกขา ซึ่งเป็นภาวะสุดท้ายของจิตที่อยู่ในองค์ฌาน และจิตต้องอยู่ในสภาวะนั้นนานที่สุด) นอกจากนั้นหลวงพ่อยังได้แนะนำว่าการอยู่ในฌานนั้นถ้าเรารักษาจิตให้เป็นกลางๆไว้ จะอยู่ในฌานให้นานเท่าไรก็ได้ เมื่อจิตรู้สึกอิ่มในฌานจิตก็จะค่อยๆถอนตัวออกมาเอง แต่ในทางปฎิบัติไม่ควรอยู่ในฌานเกินครั้งละ 1 ชั่วโมง เพราะถ้าปฏิบัติบ่อยๆจะเกิดอาการที่เรียกว่า อาการติดฌาน คือมีอาการอยากเข้าฌานทั้งวัน ซึ่งเป็นอาการที่ควรหลีกเลี่ยงของพระวิปัสนา นอกจากนั้นคนที่สามารถเข้าฌานได้ เป็นบุญกุศลที่สูงกว่าการทำบุญให้ทานปกติทั่วไป(เพราะในภาวะปกติจิตของเราไม่ว่ารู้ตัวหรือไม่รู้ตัว จิตจะมีกุศลและอกุศลเข้าครองสลับกันไปตลอดเวลาไม่ว่าหลับหรือตื่น แต่เมื่อใดจิตอยู่ในองค์ฌานหรืออัปนาสมาธิ กายกัยจิตจะแยกจากกันชัดเจน คือมีแต่จิตกายและลมหายใจหายไป จิตคือต้วผู้รู้อย่างเดียว คิดไม่เป็นก็จึงไม่สามารถปรุงแต่งอะไรที่เป็นทั้งกุศลและอกุศลได้ในช่วงนั้น จึงถือเป็นอาการที่เรียกว่าจิตว่างชั่วคราว และอาการที่เรียกว่าจิตว่างนี้เป็นกุศลใหญ่ทางศาสนา)....ต่อหน้าถัดไป/เจโตวิมุติ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 01:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ต่อเรื่องอานิสงฆ์และกำลังแห่งสมาธิ
.....หลังจากนั้นหลวงพ่อยังได้สอนให้แผ่ส่วน บุญส่วนกุศลให้ให้ทุกๆคนเหมือนตอนทำบุญกรวดน้ำ ท่านกล่าวว่าคนที่มีสมาธิระดับองค์ฌานเมื่อออกจากฌานสามารถแผ่ส่วนกุศลได้ไกลมากโดยไม่ต้องกรวดน้ำ บุญกุศลจากองค์ฌานนี้ หากบิดามารดา ที่สิ้นแล้ว/บังเอิญเสวยกรรมอยู่ในทุคตินรก ก็สามารถช่วยลดเวลาในการเสวยกรรมลงได้ถึง30 หรือ300 พุทธกัปส์ทีเดียว(จำไม่ได้แน่นอน) นอกจากนั้นพ่อแม่ในชาติก่อนหน้านี้ ก็ยังสามารถรับส่วนบุญส่วนกุศลที่เราแผ่ไปถึงอีกด้วย/ทั้งหมดนี้หลวงพ่อพูดผมไม่ได้พูดเอง
.....เมื่อเข้าใจเราก็มาปฎิบัติต่อ ก็คือปฏิบัติให้เกิดวสี ช่วงแรกๆก็นั่งทุกวัน เข้าปฐมฌานได้วันเว้นวัน ช่วงนี้ตามรู้อาการของจิตได้แล้ว เมื่อวิตก วิจารย์ดับไป(ลมหายใจ กับการตามรู้)ตรงรอยต่อระหว่างอุปจาระสมาธิกับอัปนาสมาธิ(สมาธิในองค์ฌาน) ตรงรอยเปลี่ยนผ่านนี้ก่อนจะเข้าอัปนาสมาธิ จะเกิดความรู้สึกปิติขึ้นทั่วร่างความรู้สึกปิติเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกแต่ที่เราสังเกตุได้ชัดเจนทุกครั้งคือปิติภายใน ที่รู้สึกเย็นเยือกเป็นทางภายในเหมือนก้อนน้ำแข็งวิ่งผ่านภายในอกทีเดียว ปิติดับไปความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งก็เกิดตามมา พึ่งรู้เป็นครั้งแรกว่าความสุขทางโลก กับความรู้สึกทางธรรมมันต่างกันอย่างไร(ความสุขทางโลกมันเป็นสุขที่เจือด้วยความต้นเต้น มีต้นเหตุและที่มาของความสุข(อามีส)ชัดเจน ใจจะเต้นไม่เป็นปกติ)ส่วนความสุขจากองค์ฌานนั้นสุขทั้งภายใน-ภายนอก โดยไม่มีอามีส เป็นสุขเย็น สุขภายในเปรียบเสมือนสุขจากการอิ่มบุญหลังสร้างกุศลใหญ่ ส่วนสุขภายนอกนั้นสุขเย็นทั่วสรรพางค์กายคล้าย ไปยืนอยู่บนยอดดอยสุเทพ หรือยอดเขาปุญจัก(ในอินโด)ซึงสูงกว่าระดับความสูงของก้อนเมฆแล้วมีเมฆที่ไหลเย็นผ่านกายไปทั่วร่าง(ทั้งหมดเป็นการเปรียบเทียบ ซึง่ความจริงปิติและสุขนี้เป็นปรมัติ อธิบายอย่างไรก็ไม่อารรับรู้ได้จริงๆ เพราะมันเป็นปัจจัตตัง) ปิติและสุขนี้เกิดติดต่อกันช่วงสั้นๆ แล้วสมาธิก็ดำเนินไปสู่ความรู้สึกที่เรียกว่าจิตเป็นหนึ่ง(คือเอกคัคตาจิต)ซึ่งไม่ทราบจะเปรียบเทียบกับอะไร เพียงรูว่าช่วงนี้ จิตเป็นหนึ่งอยู่เท่านั้น(กายและลมหายใจดับไปแล้ว ไม่มีกายในช่วงนี้ มีแต่จิตที่สองแสงสว่างอยู่เหมือนทุกครั้ง)แล้วจิตก็เคลื่อนเข้าสู่ภาวะสุดท้ายขององค์ฌาน คืออุเบกขา ซึงช่วงนี้จิตก็มีความรู้สึกวางเฉยเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ต่อเนื่องยาวนาน จนกว่าจะอิ่มในฌาน ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น/ต่อหน้าถัดไป...เจโตวิมุติ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 104 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร