วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 23:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 119 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2010, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นึกๆแล้วก็สงสาร ต้นไม้แก่ :b23:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2010, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พยายามนึกว่ามีอีกร่างหนึ่งซ้อนอยู่กับตัวเรา ก็ไม่ปรากฏ



อ่านที่ ต้นไม้แก่ เขียนเล่าถึงวิธีปฏิบัติของตนแล้ว ดูรกรุงรังเต็มไปด้วยอารมณ์ขยะ (เหมือนไฟล์ขยะนะ)

ควรกำจัดไฟล์ขยะนั้นออกไปทีละอย่างๆ จนเหลือแก่กรรมฐานที่ใช้กับความรับรู้ แต่คงต้องใช้เวลาพอ

สมควร ไม่พึงรีบร้อน

แต่ตอนนี้ตัดความคิดแบบละครจอแก้วนี้ (พยายามนึกว่ามีอีกร่างหนึ่งซ้อนอยู่กับตัวเรา) ออกก่อน

เพื่อนเลย ไม่ต้องถวิลหามันอีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2010, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความนี้อ่านเพื่อทำความเข้าใจเท่านั้น มิให้นำไปคิดในขณะมนสิการรูปกับนาม (กายกับใจ)

สติไม่ใช่ตัววิปัสสนา ปัญญาต่างหากเป็นวิปัสสนา แต่ปัญญาจะได้โอกาสและจะทำงานได้อย่างปลอด

โปร่งเต็มที่ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่ด้วย

การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา ในภาษาการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติก็เล็งถึงปัญญาที่

ควบอยู่ด้วย และสติจะมีกำลังกล้าแข็งหรือชำนาญคล่องแคล่วขึ้นได้ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน

ปัญญาที่ทำงานร่วมกับสติในกิจทั่วๆไปมักมีลักษณะอาการที่เรียกว่าสัมปชัญญะ

ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ การพูดจามักเพ่งไป

ที่สติ เอาสติเป็นตัวหลักหรือตัวเด่น

แต่ในขั้น ที่ใช้ปัญญาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา สติจะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้

ปัญญา ปัญญาที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิต

หลุดพ้น นี่แหละคือวิปัสสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2010, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพี่เช่นนั้น กะ ท่านสุธี อย่าเพิ่งหนีเอกอนไป...นะ
เอกอนขอไปเปิดกระทู้นะคะ...

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2010, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


จำลองรูปกายหนึ่ง ที่ทับซ้อนกับตัวเรา... เป็นการจดจ่อกับ กายวิญญาณ ไม่เกี่ยวกับนิมิต ซึ่ง "ต้นไม้แก่" น่าจะพ้นขั้นนั้นมาแล้ว (ยกเว้นนิมิตที่เกิดจากจิตอื่น ซึ่งไม่ขอกล่าวถึง)

ถ้าฝึกจนชำนาญ กายนั้นจะชัดขึ้นมา จน น่าจะ เด่นกว่ากายเนื้อจริงๆ

บางคนเขาก็ฝึกอีกแบบ ซึ่ง "ต้นไม้แก่" จะใช้วิธีนั้นก็ได้ คือ สร้างนิมิตให้เป็นตัวเราอีกร่างหนึ่ง นั่งอยู่ตรงข้ามกัน มองกัน... แต่บังเอิญว่า เราไม่ค่อยชอบสร้างนิมิตน่ะ อิอิ
ถ้าฝึกแบบนี้จนชำนาญ ร่างนิมิตที่สร้างขึ้นจะเด่นชัด ชัดแบบภาพหญิงสาวที่เห็นนั่นแหล่ะ...
บางคนว่า วิธีนี้ก็เรียก มโนมยิทธิ ซึ่งเราว่ามันไม่ใช่ แต่ก็ไม่รู้จะเรียกอะไรดี

แต่ต้องบอกก่อนนะว่า วิธีแบบนี้เป็นเรื่องทางอภิญญา... ถ้าไม่ต้องการก็ข้ามไปนะ


อ้อ... มโนมยิทธิ ที่พูดถึงนี่คือ มโนมยิทธิแบบพุทธ ไม่ใช่มโนมยิทธิที่มีกันเกร่อ ซึ่งจริงๆ แล้ว เป็นเพียงนิมิตในภวังค์ของฌาณ 2 เท่านั้น

อ้างคำพูด:
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตรกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง

อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝักดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่งก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง....

.... ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ....



ถ้าฝึกไปนานๆ จนชำนาญ ก็อาจจะได้ ชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง ก็ได้ :b32: :b32: :b32:
อ้อ... มโนมยิทธิ เป็นวิธีวิปัสสนาชั้นเลิศนะ แบบเห็นของจริงกันเลย อิอิ แล้วก็อย่าลืม อานาปานสติ ไปด้วย เพื่อไม่ให้สงบแบบดิ่งลึก ซึ่งจะกลายเป็นฤาษีไป :b22: :b22: :b22:


ปล. เอ้อ...เราจะบอกก็ได้นะ คิดซะว่าเป็นนิยายก็แล้วกัน
การสร้างตัวเองขึ้นมาอีกตัว เราก็เคยทำแล้ว ได้แสงสว่างดี ก็คงจะสว่างมาก จนมี จิตอื่น มาดู ก็เลยรู้ว่ามันไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไรในเชิงวิปัสสนา
ก็เลยแนะให้ฝึกแบบกายวิญญาณ ตามพระสูตรที่ยกมาข้างบน
ซึ่งอ่านดูก็คงรู้นะว่า เมื่อฝึกจนได้ที่ จะเกิดอะไรขึ้น... มันเป็นไปตามนั้นเลยแหล่ะ

แล้วก็... ไม่มีการตกภวังค์ใดๆ นี่เป็นหลักสำคัญ ภวังค์คือ อายตนะพร่องไป เช่น หูไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง ลมหายใจไม่มี เป็นต้น ถ้าตกภวังค์แล้วเห็นอะไรต่อมิอะไร ให้รู้เลยว่า เป็นของปลอม

ถ้าว่าตามแนวที่เราชอบเขียนก็คือ... มโนมยิทธิ คือการฝึกเพื่อให้พ้นจากการควบคุมของร่างสสาร ฝึกเพื่อให้การรับรู้พ้นกรอบของอายตนะทั้ง 5...


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 05 ก.ย. 2010, 22:12, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 10:05
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เอรากอน เขียน:
ช่างเห็นเช่นนั้น...ได้อย่างไร....


^ ^ ธรรมดา ธรรมดา เช่นนั้นเอง
นี่ก็อีกตำราหนึ่ง ที่ปรากฏในโลกนี้ หลังจากพุทธปรินิพพาน ชิมิ!!!!!!


:b12: ตำราเล่มไหนล่ะ ท่านพี่เช่นนั้น... :b12: อิ อิ

เอกอนเคยเห็น... concept ตัวนี้
แต่มันเป็นทัศนะของ บุรุษท่านหนึ่ง ... ในแขนงอื่น น่ะ

:b1:

เป็น...บทที่แหวกม่านหมอกอย่างชนิดที่ว่า...นึกไม่ถึง...

นั่งอ่าน ก็ยังทำหน้างงเป็นไก่ต้ม ตาค้าง... อิ อิ :b24:

มันคือ concept ที่หักล้างความเชื่อทุกสิ่งทุกอย่างลงอย่างสิ้นเชิง...

....

หนังสือเล่มนั้น มีผู้อ่านเป็นจำนวนมาก
แต่เอกอนก็ไม่รู้ว่า บทความท่อนนั้น ๆ มีผู้สะดุดตา สักกี่คน...
...

เมื่อมาเจอ ผู้ที่ใช้คำกล่าว สะท้อน concept นั้นขึ้นมา...
เอกอนก็เลย... อิ อิ :b16:





หนังสือชื่อว่าอะไรหรือครับ คุณเอรากอน
เนื้อความโดยรวมเป็นอย่างไรครับ

รบกวนขอความรุ้หน่อยครับ
:b1:

.....................................................
ปลดล็อคใจ ตัดโซ่ร้อยรัดพันธนาการ สู่ทางแห่งเสรีชน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 13:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 23:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ ท่านกรัชกาย คุณmurano คุณออเรกอน ท่านเช่นนั้น และ คุณอิสระ
กราบขอบพระคุณงามๆ หลายๆ ครั้งค่ะ ที่กรุณาเมตตา สงสาร อนุเคราะห์ และช่วยชี้แนะให้ทั้งหมด
ท่านกรัชกายคะ ต้นไม้แก่ขอตัวอย่างวิธีการฝึกสติจากท่านกรัชกายสักตัวอย่างหนึ่งจะได้ไหมคะ ต้นไม้แก่จะได้นำไปเป็นแบบอย่างในการปฎิบัติน่ะค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ
คุณmurano คะ ต้นไม้แก่ขอขอบพระคุณค่ะ ต้นไม้แก่จะพยายามทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ ก่อนนะคะ พออีกหลายๆ ปี เช่น 10 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหกแล้ว คงจะย้งไม่สาย เพราะดูเหมือนมันจะ
ยากๆ สำหรับต้นไม้แก่จริงๆ ค่ะ ต้นไม้แก่คิดว่าจะปฎิบัติอย่างช้าๆ ไปชั่วขีวิตน่ะค่ะ จะขอเป็นผู้เรียนไปเรื่อยๆนะคะ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

กราบทุกท่านงามๆ อีกครั้งค่ะ
ต้นไม้แก่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านกรัชกายคะ ต้นไม้แก่ขอตัวอย่างวิธีการฝึกสติจากท่านกรัชกายสักตัวอย่างหนึ่งจะได้ไหมคะ ต้นไม้แก่จะได้นำไปเป็นแบบอย่างในการปฎิบัติ



จะพูดแบบเข้าใจง่ายๆ สั้นๆ หากยังไม่เข้าใจถามอีกได้ครับ

เท่าที่ดู ต้นไม้แก่ ใช้ลมหายใจเข้า-ออกเป็นกรรมฐาน พร้อมกับภาวนาในใจ (ว่าในใจ) ลมเข้า พุท

ลมออก โธ นะครับ ลมเข้ากับลมออกเป็นกรรมฐานหรือเป็นฐานสำหรับฝึกสติ

(=กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

คำภาวนา พุท-โธ จะเปรียบก็เหมือนเครื่องตรึงจิตให้แนบกับลมเข้า-ออกได้มั่นขึ้นเท่าทัน (ไม่พึงยึดติด

ถือมั่นในคำภาวนาหรือในคำว่า พุทโธ)

จะเทียบกับผู้ใช้ท้องพองกับท้องยุบให้พิจารณา ท้องพองกับท้องยุบเป็นกรรมฐานหรือเป็นฐานสำหรับฝึก

สติ = กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (รวมทั้งอิริยาบถใหญ่น้อย ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ ฯลฯ)

ท้องพอง ว่าในใจ พองหนอ ท้องยุบ ภาวนา ยุบหนอ ภาวนาไปพร้อมๆกับท้องพองท้องยุบ พอหนอก็

สุดพอง -สุดยุบพอดี และไม่พึงยึดติดถือมั่นคำภาวนาเช่นกัน ไม่ว่าจะหนอหรืออะไรทั้งนั้น

บอกแล้วว่า คำภาวนาเปรียบเสมือนเครื่องตรึงจิตให้แนบกับพอง-ยุบได้มั่นขึ้นเท่านั้น และมิใช่เพียง

เท่านั้นเท่านั้น ทั้งผู้ใช้พุทโธ- ผู้ใช้ หนอ ขณะที่ตนกำลังภาวนาพองหนอ ยุบหนอ หรือลมเข้าพุท

ลมออกโธ อยู่นั้น กายกับใจ หรือจะเรียกในชื่ออื่นๆ มันเป็นยังไง รู้สึกอย่างไร ก็กำหนดยังงั้น-อย่างนั้น

ตามที่มันเป็น ตามที่รู้สึกขณะนั้นนั่นแหละทันที มิปล่อยผ่านไปเฉยๆ ลอยๆ ตัวอย่างเช่น รู้สึกเป็น

ทุกข์ “ทุกข์หนอๆๆ” นี่จึงเท่ากับเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว

หรือขณะนั้น รู้สึกว่าความคิด หรือจิตใจคิดแว้บคิดเรื่องนั่น แว้บคิดเรื่องเรื่องนี้ ไม่อยู่กับมูลกรรมฐาน

ก็กำหนดทันที “คิดหนอๆๆๆ” นี่ก็เท่ากับเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว

หรือขณะนั้น รู้สึกง่วง เป็นต้น กำหนดทันที “ง่วงหนอๆๆๆ” นี่จึงเท่ากับเจริญธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

แล้ว

ทั้งหมดดังกล่าวมา เรียกตามหลักว่า ธรรมานุธรรมปฏิบัติ -การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

เรียกเข้าใจง่ายๆว่า การปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อยตามหลักธรรมใหญ่

-พุทโธ กับ พอง ยุบ เป็นต้น หลักธรรมย่อย แล้วที่ว่า คล้อยตามหลักธรรมใหญ่ ก็คือคล้อยตาม

สติปัฏฐานทั้ง 4 ๆ เป็นหลักธรรมใหญ่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในขั้นต้นนี้เมื่อจะพูดให้เห็นตัวธรรม จะเป็นลักษณะนี้ครับ

สติ เป็นตัวควบคุมจิตไว้ให้อยู่กับหลัก หรือพูดอีกนัยหนึ่ง เหมือนเชือกสำหรับดึงจิต

การที่จะปฏิบัติให้ได้ผล มิใช่ว่าจะนำหลักมาใช้เมื่อไรก็ได้ตามปรารถนา เพราะสติจะตั้งมั่นเตรียมพร้อมอยู่เสมอ จำต้องมีการฝึกฝนอบรม อินทรีย์สังวรจึงต้องมีการซ้อมหรือใช้อยู่เสมอ

การฝึกอบรมอินทรีย์ มีชื่อเรียกว่า อินทรียภาวนา (การเจริญอินทรีย์) ผู้ที่ฝึกอบรมหรือเจริญอินทรีย์แล้ว ย่อมปลอดภัยจากบาปอกุศลธรรม ความทุกข์ และความรู้ที่เอนเอียงบิดเบือนทั้งหลาย เพราะป้องกันไว้ได้ก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นหรือแม้หากความชอบใจไม่ชอบใจจะหลุดรอดเกิดขึ้นมา ก็สามารถระงับ หรือสลัดทิ้งไปได้เร็วพลัน

อินทรีย์สังวรนี้จัดว่าเป็นหลักธรรมในขั้นศีล แต่องค์ธรรมสำคัญที่เป็นแกนคือสตินั้นอยู่ในจำพวกสมาธิ ทำให้มีการใช้กำลังจิตและการควบคุมจิตอยู่เสมอ จึงเป็นการฝึกอบรมสมาธิไปด้วยในตัว

เมื่อฝึกหัดอบรมคือกำหนดทันปัจจุบันอารมณ์ (ตามวิธี คห.บน) บ่อยๆ จนเกิดความชำนาญแล้ว
องค์ธรรมต่างๆมี สติ สัมปชัญญะ (ปัญญา) สมาธิ วิริยะ ฯลฯ จะมีพลังทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ
ก็แต่ว่าขั้นต้นนี้ อาจต้องฝึกต้องฝืนกันบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.ย. 2010, 18:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นไม้แก่ เขียน:
...พออีกหลายๆ ปี เช่น 10 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหกแล้ว คงจะย้งไม่สาย...


เคยได้ยินมาว่า ผู้ฝึกสมาธิจริงจังจนถึงระดับอภิญญา โดยทั่วไปจะใช้เวลา 30 ปี คงเป็นตัวเลขคร่าวๆ และเราว่า... เป็นเพราะฝึกอย่างไม่มีแนวทางที่ชัดเจนมั๊ง

ในระดับอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ตำราว่าจะถึงได้ในเวลาไม่เกิน 7 ปี ต่ำสุดก็ 7 วัน ว่าง่ายๆ คือ บรรลุธรรมได้ง่ายกว่า...

ส่วนตัวเราคิดว่า... หากผู้ฝึกสมาธิมีแนวทางที่ชัดเจน มีความเพียร มีจิตใจรักในทางนี้ และมีปัจจัยที่พอเหมาะ เช่น อาชีพ สถานที่ ภายใน 2-3 ปี ก็น่าจะสำเร็จได้บางด้าน โดยเฉพาะด้าน ความเป็นทิพย์ ซึ่งจะปรากฎเป็นอย่างแรก เมื่อถึงฌาณ 4
ส่วนที่มากกว่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล...

อ้อ เราว่านะ... ถ้าถึงชั้นอริยบุคคลแล้ว การฝึกญาณต่างๆ จะเร็วขึ้นมาก เพราะสิ่งที่จะเป็นตัวขัดขวางสมาธิ ถูกลดทอนไปมาก... โดยเฉพาะ สักกายทิฏฐิ และ สีลัพพตปรามาส


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 06 ก.ย. 2010, 18:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



มีตัวอย่างการปฏิบัติของคนๆหนึ่งให้ ต้นไม้แก่ ศึกษาลักษณะการทำงานขององค์ธรรมมีสติเป็นว่าเป็นไป

โดยอัตตโนมัติยังไง อ้อ..แล้วตรงกายซ้อนกายด้วย ธรรมดามากๆ แต่คนที่หลงอารมณ์ว่าพิสดาร


ฯลฯ
เมื่อเดือนที่แล้ว ก็หวนไปทบทวน ทักษะที่ได้ฝึกปฏิบัติกรรมฐานที่วัดร่ำเปิง ชม. เป็นระยะเวลา แค่ 3 วัน ท่านเจ้าอาวาส มีจิตกรุณามากเทศน์ โปรดให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง เนื่องในวันอาสาฬหบูชาว่า อย่าทิ้งพระอาจารย์หนอไว้ที่นี่นะเอากลับไปที่บ้านด้วย ก็น้อมนำไปปฏิบัติทั้งในที่ทำงาน ก็กำหนดอิริยาบถย่อยต่างๆ เดิน นั่ง ยืน เข้าห้องน้ำ ฯลฯ กำหนดไปตามจริง ตามรู้ไป และทำไปเรื่อยๆพอได้ขณิกสมาธิ ทีละนิดละนิด

ในที่ทำงานมักมีคนชอบจับกลุ่ม นินทากันตามปกติคือไม่พูดออกชื่อแต่จะพูดลอยๆ พูดกระทบกระเทียบถึงเราอยู่ ขณะที่ได้ยิน ได้เผลอกำหนดออกเสียงออกมาเอง มันเปล่งออกมาเอง ทันทีที่ได้ยินถ้อยคำที่ไม่รื่นรมย์นั้น “ยินหนอ” น้ำเสียงเย็น ราบเรียบ สงบ

พอกำหนดจบ วันรู้สึกปิ้ง สิ่งที่มากระทบ โสตฯ หู + จิต ได้ยินสักแต่ได้ยิน ไม่เข้าไปฟังว่า รายละเอียด ยิบย่อย หยุดปรุงแต่ง และสามารถปิดกั้น รู้ทัน อารมณ์ โกรธตัวเองได้ ทันคือรู้ตัวก่อนที่จะรู้สึกโกรธ
หรือไม่พอใจ มันดับแค่คำว่า ยินหนอ พอกำหนด ยินหนอปุ๊บแล้ววางเลย ไม่รู้สึกโกรธ
อะไรเลย
พอทำได้แค่นั้น ปิติ เกิดขึ้นในจิต ยิ้มออกมาจากใจ ขนลุก รู้สึกดีใจ ดีใจที่ตัวเองไม่รู้สึกโกรธเลย ซึ่งไม่เคยทำได้มาก่อนหน้านี้ ไม่เคยทำได้เลย เป็นครั้งแรกที่สติทันกับอาการของจิต รู้สึกว่า ครั้งนี้สติชนะ โทสะพ่าย ทำให้เข้าใจว่าที่ทำต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนมันมีผล
นอกจากทำกรรมฐานแล้ว บางครั้งที่สถานการณ์อำนวย ระหว่างนั่งทำงานไปด้วย เสียบหูฟังข้างหนึ่ง เปิดฟังเทปธรรมะออนไลน์ ทำต่อเนื่องมาตลอด

คืนนี้ตอนกลางคืน 3 ทุ่ม – 4 ทุ่ม สวดมนต์ครึ่งชั่วโมง เดินจงกรม 15 นาทีนั่งสมาธิ พองหนอ -ยุบหนอ 15 นาที ปฏิบัติต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

ผลของการปฏิบัติเมื่อคืนนี้ ระหว่างที่กำหนด ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ พอครบหนอที่ 3 หลังจากได้ยินเสียงนาฬิกาที่ตั้งไว้ ที่ 15 นาที เป็นการกำหนด ยืนหนอก่อนที่จะกำหนด อยากนั่งหนอ เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับการทำสมาธินั่นเอง

ระหว่างการกำหนดยืนหนอนั้น เอาจิตไปจดจ่อ อยู่รูปยืนของตัวเอง ไล่ จากล่างขึ้นบน บนลงล่าง เป็นปกติ ก็กำหนดเช่นนี้

สภาวะที่เกิดกับตนขณะยืนหนอนั้น รู้สึก เหมือนมีอีกกายหนึ่ง คือใหญ่กว่ากายเนื้อของตนเอง ซ้อนที่กายตัวเอง คือตัวขยายใหญ่ขึ้น รู้สึกว่า ตัวขยายใหญ่ขึ้นหัวติดเพดาน ไหล่ใหญ่คับห้อง แต่ช่วงล่าง ยังซ้อนอยู่ที่เท้าที่ขาเหมือนรูปสามเหลี่ยมทิ่มลงไปที่เท้าที่ตัวเอง ยืนอยู่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=400.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.ย. 2010, 19:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


จริงๆ ไม่อยากจะตอบหรอกนะ กรัชกาย...
เพราะดูสไตล์แล้ว ขี้เกียจจะมานั่งโต้จับจดกันไม่รู้จักจบสิ้น และคิดว่า ที่เขียนนี่ก็คงจะไม่มาโต้ตอบอีก

ถ้าไม่รู้ ก็อย่าพยายามทำตัวว่ารู้ อย่าคิดว่าตนเองรู้หมดแล้ว สมาธิในระดับ หนอ ยังอยู่ในขั้น วิตก วิจาร ซึ่งอยู่ในระดับฌาณ 1 เท่านั้น
คนถามเขาไปถึงไหนต่อไหนกันแล้ว...

ที่ยกมานั่น เป็นแค่อาการของปิติ คนละเรื่องกับมโนมยิทธิเลย หรือถ้าจะหาสิ่งอ้างอิง ลองไปค้นในพระไตรปิฎกดู
ต้องอธิบายไหม... ปิติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง คนละอย่างกับเนรมิตเลย

ลาก่อน...


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 06 ก.ย. 2010, 19:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
สภาวะที่เกิดกับตนขณะยืนหนอนั้น รู้สึก เหมือนมีอีกกายหนึ่ง คือใหญ่กว่ากายเนื้อของตนเอง ซ้อนที่กาย

ตัวเอง
คือ ตัวขยายใหญ่ขึ้น รู้สึกว่า ตัวขยายใหญ่ขึ้นหัวติดเพดาน ไหล่ใหญ่คับห้อง แต่ช่วง

ล่าง ยังซ้อนอยู่ที่เท้าที่ขาเหมือนรูปสามเหลี่ยมทิ่มลงไปที่เท้าที่ตัวเอง ยืนอยู่



murano กรัชกายหมายถึงผู้ปฏิบัตินั้น กำลังหลงอารมณ์อยู่ ก็จึงเห็นเป็นเรื่องแปลกพิสดารจึงตั้งกระทู้

ถามไว้ที่บอร์ดหนึ่งน่าครับ :b20: :b8: :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
จริงๆ ไม่อยากจะตอบหรอกนะ กรัชกาย...
เพราะดูสไตล์แล้ว ขี้เกียจจะมานั่งโต้จับจดกันไม่รู้จักจบสิ้น และคิดว่า ที่เขียนนี่ก็คงจะไม่มาโต้ตอบอีก

ถ้าไม่รู้ ก็อย่าพยายามทำตัวว่ารู้ อย่าคิดว่าตนเองรู้หมดแล้ว สมาธิในระดับ หนอ ยังอยู่ในขั้น วิตก วิจาร ซึ่งอยู่ในระดับฌาณ 1 เท่านั้น
คนถามเขาไปถึงไหนต่อไหนกันแล้ว...

ที่ยกมานั่น เป็นแค่อาการของปิติ คนละเรื่องกับมโนมยิทธิเลย หรือถ้าจะหาสิ่งอ้างอิง ลองไปค้นในพระไตรปิฎกดู
ต้องอธิบายไหม... ปิติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง คนละอย่างกับเนรมิตเลย

...



ต้องอธิบายไหม... ปิติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง คนละอย่างกับเนรมิตเลย

ครับอธิบายด้วยก็ดีครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ใจเย็นดีนี่หว่า... นับถือๆ :b6: :b6: :b6:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 119 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร