วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๒.เจอกายทิพย์

เมื่ออาตมายังเด็ก ก็มีตาเห็น หูได้ยิน เป็นปกติ คือเวลาเห็นก็ เห็นทั่วไปหมด แม้แต่จิตวิญญาณ
ก็เห็นเราเดินไปมาขวักไขว่ เช่น มนุษย์ เรานี้ หูนั้นใครพูดคุยก็ได้ยินไปหมด จนบางครั้งก็รำคาญว่า
คนเรานี่ มันช่างพูดกันไม่รู้จักจบสิ้น จนชินไปเอง ครั้นออกธุดงค์คราวนี้ ก็สามารถ กำหนดได้
คือไม่ต้องการให้เห็นก็ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ถ้าต้องการจึงจะ เห็น จึงจะได้ยินได้ จึงเป็นการตัดรำคาญ
ไปได้อย่างหนึ่ง คือไม่ต้องเห็น ต้องได้ยินตามบารมีเก่า ที่ติดมาแต่อดีตชาติอย่างพร่ำเพรื่อ

บางครั้งเมื่อจิตเป็นพุทโธ มีพุทโธอยู่ในจิต ถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีอารมณ์สนุก
อยากจะเห็นสภาพป่า ที่ไกลจากบริเวณที่นั่งอยู่ มันก็เห็นทะลุปรุโปร่งออกไปอย่างกว้างไกล
ไม่มีขอบเขต ได้เห็นเสือ เห็นหมี บ้างเดิน บ้างนั่ง บ้างนอน อยู่กับความสงบเงียบ
เห็นฝูงกวาง พากันเลาะเล็มยอดไม้ใบหญ้าที่กำลังแตกใบอ่อนไปตามประสาตน

อาตมาได้เห็นพระภิกษุสงฆ์ แบกกลดเดินธุดงค์บ้าง บางรูปก็ บำเพ็ญภาวนา บางรูปก็เดินจงกรม
บางทีก็เห็นชีปะขาว แม่ชี ที่นั่น ที่นี่อยู่ทั่วไป ฤาษีชีไพรผมยาวเครารุงรังก็เห็นมีอยู่เช่นกัน ข้อแตกต่าง
ที่สังเกตเห็นได้ ถ้าเป็นภิกษุสงฆ์ ที่ยังเป็นมนุษย์อยู่ จะเห็นได้ที่ท่านมีกลด อยู่กับตัว ไม่แบกเดินไป
ก็นั่งกางกลดอยู่ตามโคนไม้ ส่วนที่ท่านเป็น กายทิพย์ คือละสังขารทิ้งกายเนื้อธาตุขันธ์ไปแล้ว
จะไม่มีกลด บางรูป นั่งอยู่ในสมาธิ ช้านานไม่มีกำหนด บางรูปก็นอนเอกเขนกสบายอารมณ์
อยู่ตามแท่นหิน หรือหน้าถ้ำริมธารน้ำไหล หรือบนพื้นหญ้าเรียบๆ ท่ามกลางหมู่ไม้ดอกและใบ
บางรูปก็เลื่อนลอยไปเหนือพื้นดิน บางรูป พิสดารขึ้นไปนั่งรับลมอยู่บนยอดไม้ ดูไปช่างมากมาย
เสียจริงๆ จนทำให้ คิดว่า ป่าในเขตจังหวัดเลยและเพชรบุรีนี้ เปรียบเหมือนป่าหิมพานต์
เป็นแผ่นดินธรรมค้ำจุนโลก เป็นแดนบุญของบ้านเมือง เทพยดาอารักขเทวา ที่เป็นสัมมาทิฐิ
ก็มีอยู่ทั่วไป เห็นได้จากเมื่อพระอริยสงฆ์ที่เป็นกายทิพย์ ท่านไปนั่งเข้าฌานสมาบัติอยู่โคนต้นไม้
เขาจะรีบลงมาอยู่ข้างล่างทันที ด้วยมีความนอบน้อมเคารพ

ในป่าเขาแห่งนี้ มีหมู่บ้านสำหรับพวกกายทิพย์อยู่หลายแห่ง ไม่ เฉพาะแต่ทีบนเขาภูกระดึงเท่านั้น
พวกกายทิพย์นี้ก็คือ พวกลับแล หรือ บังบด มีฤทธิ์อยู่อย่างหนึ่ง คือ เขาจะให้มนุษย์เห็นก็ได้
ไม่ให้เห็นก็ได้ เป็นพวกมีศีล ชอบทำบุญให้ทาน ที่หมู่บ้านเชิงเขาภูกระดึงนั้น เขาเคย มาร่วมตักบาตร
ทำบุญที่วัดเสมอ คนช่างสังเกตจึงจะรู้ได้ ภิกษุสงฆ์ที่ ท่านเป็นกายทิพย์ ท่านไม่ต้องฉันอาหาร
แต่พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นมนุษย์ ยังต้องฉันอยู่ พวกบังบดจึงมักมาใส่บาตรแก่พระที่เขาเห็นว่า
ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีจิตเบาละเอียดเสมอเขา พระที่มาถือธุดงค์อยู่ในป่าแถบนี้ ถ้าปฏิบัติจริงๆแล้ว
ไม่อด ธรรมย่อมรักษาแน่นอน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 27 ม.ค. 2010, 20:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 00:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓.เล่นกสิณ

หลวงพ่ออาจารย์กับอาตมา ไม่ได้ออกจากป่าไปบิณฑบาต ตามหมู่บ้านมนุษย์เป็นเดือนๆ
เพราะระยะทางห่างไกลมาก ก็ได้อาศัย ญาติโยมชาวบังบดลับแลนี้ เอาอาหารมาใส่บาตรให้

สังเกตอาหารที่เขาใส่ให้ เป็นข้าวสีเหลืองอ่อนๆ มีกลิ่นหอม อาหารก็มีถั่วงาเป็นพื้น ไม่มีเนื้อสัตว์เลย
ฉันครั้งหนึ่งก็ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ไปได้หลายวัน

แต่ตามปกติ เมื่อจิตอยู่ในขั้นอุเบกขาแล้ว เรื่องอาหารไม่เคยได้ เอาใจใส่ จะฉันหรือไม่ฉัน
มันก็อิ่มและวางเฉยอยู่ เป็นสิ่งประหลาด มากว่า จิตที่ฝึกดีแล้วสามารถดำรงกายอยู่ได้
โดยไม่เดือดร้อนกระวน กระวาย

การออกธุดงค์ครั้งแรกตอนเป็นสามเณรนี้ ทำให้การปฏิบัติธรรม เจริญรุดหน้าไปเป็นอันมาก

ครั้งหนึ่งหลวงพ่ออาจารย์ท่านพูดเปรยๆว่า

"จิตของเณรดีเข้าขั้นแล้ว นึกสนุกก็เอากสิณมาเพ่งดูบ้าง ถือ ว่าเป็นของเล่นของจิต"

อาตมาก็ทำตาม ได้ไปนั่งอยู่บนก้อนหิน ที่ริมลำห้วยใหญ่ อันมี น้ำใสไหลเย็น
นั่งเพ่งน้ำในลำห้วยอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งมองเห็น พื้นน้ำติดตา ลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น

เมื่อชำนาญคล่องแคล่วแล้ว ก็นึกให้น้ำแห้งจนติดก้นลำห้วย น้ำก็ แห้งอย่างคิด นึกให้น้ำเต็มฝั่ง
ก็ขึ้นมาเต็มฝั่ง แล้วนึกให้พื้นน้ำแข็ง เหมือนแผ่นดิน เดินไปมาได้ นึกให้น้ำไหลอย่างเก่าก็เป็น
อันนี้เป็นสิ่ง ที่สำเร็จด้วยจิต ซึ่งได้จากการฝึกกสิณน้ำจนชำนาญ เพียงนึกก็เป็นดังประสงค์

ต่อไปเมื่อคิดจะเอากสิณอย่างอื่น ในกสิณทั้ง ๑๐ มาเพ่ง ไม่ต้อง เอาวัตถุใดมาเพ่ง
เพียงแต่นึกถึงกสิณ ก็เกิดเป็นผลสำเร็จขึ้นมาทันที ทั้ง นี้ก็เพราะระดับจิต เป็นระดับเดียวกัน

เมื่อได้กสิณน้ำแล้ว อย่างอื่นก็ได้ด้วย เพียงแต่ทำให้คล่องแคล่ว ชำนาญเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ เมื่อนึกจะขึ้นไปเดินจงกรมในอากาศ กายก็ลอยขึ้นไป นึกจะเดินทะลุภูเขา
มันก็ทะลุออกไปได้ นึกจะดำดินไปโผล่อีกแห่งหนึ่ง ก็ทำได้ นึกอยากจะไปถึงที่ไหน ก็ไปถึงได้ทันที
นี่เป็นฤทธิ์อภิญญา ที่มีสอนไว้ในพระพุทธศาสนา ถ้าทำได้จริงก็จะไม่แพ้ฤทธิ์ของลัทธิใด
เพราะเป็นฤทธิ์อภิญญาบริสุทธิ์ ไม่มีใครทำลายได้ ไสยศาสตร์มนต์ดำ หมดความหมายไปเลย

แต่เมื่อสำเร็จทางกสิณแล้ว หลวงพ่ออาจารย์ท่านก็เตือนว่า อย่า ไปติดนะ ไม่จำเป็น
ก็อย่าไปแสดงให้ใครเห็น ถือว่าเป็นเพียงของเล่นทาง ผ่านเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นหลุดพ้นได้
ต้องพากเพียรปฏิบัติต่อไป ซึ่งอาตมา เองก็คิดเช่นนั้น นอกจากทดลองอยู่แต่ในป่าในเขา
เพื่อให้รู้ว่า สำเร็จ หรือยัง แล้วก็วางเสีย หันมาปฏิบัติธรรมสมาธิ

ต่อมาอาตมาก็ฝึกฝนอบรมจิตมาตามลำดับขั้นตอน จนกระทั่งจิต เข้าสู่อุเบกขาชำนาญ
คือนึกจะวางเฉยเมื่อไรก็วางได้ เมื่อนั้น ไม่ต้อง มานั่งภาวนาพุทโธ หรือลมเข้าลมออกอะไรอีก
เห็นว่าสมถะมั่นคงแล้ว มีสติสมบูรณ์แล้ว จึงเห็นว่าควรเข้าวิปัสสนา เพื่อความรู้แจ้งในธรรม
เพื่อความพ้นทุกข์ต่อไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2010, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๕.เมตตาจิตเต็มเปี่ยม

ธุดงค์อยู่ในป่านี้ บางแห่งมีเสือชุกชุมมาก เป็นเสือลายพาด กลอนตัวใหญ่ๆ ขณะที่เดินจงกรมอยู่
บางตัวเขาจะมานั่งดูเราที่ข้าง ทางเดิน บางตัวเมื่อเราอยู่ในกลด เขาจะมานอนหมอบอยู่ใกล้ๆ
เวลา เราออกไปบิณฑบาต เขาจะเดินตามกันไปหลายตัว จนพ้นเขตป่า

เราจะต้องพิจารณาให้รู้ว่า เขาเป็นเสือจริงๆ หรืออย่างไร ส่วน มากจะเป็นเสือเจ้าป่า และเสือเทพารักษ์
ท่านเนรมิตเป็นเสือ มาคอย พิทักษ์รักษาคุ้มครอง เมื่อเสือเนรมิตนี้อยู่ เสือจริงๆ จะไม่เข้ามาใกล้

สิ่งที่พระธุดงค์จะขาดไม่ได้ ก็คือเจริญเมตตากรวดน้ำให้แก่สรรพ สัตว์ เรามักจะต้องทำกันเป็นประจำ
ตื่นเช้าขึ้นทำจิตให้เป็นสมาธิแล้ว เจริญเมตตากรวดน้ำ ก่อนเริ่มทำสมาธิ และหลังจากสวดมนต์ทุกครั้ง
แล้วหลังจากถอนจิตจากสมาธิอีกครั้งหนึ่ง หากทำสมาธิครั้งใดก็ทำเรื่อย ไป ผลแห่งการแผ่เมตตา
และการกรวดน้ำนี้ จิตวิญญาณที่ท่องเที่ยวอยู่ เขาก็มีโอกาสจุติในภพภูมิอื่น หรือเกิดเป็นมนุษย์ได้

จิตวิญญาณที่ท่องอยู่ในป่านั้น ส่วนมากแล้วเขาต้องอยู่กันนานๆ ไม่ค่อยได้ไปผุดไปเกิด เพราะกุศล
ยังหนุนไม่พอ เฉพาะอย่างยิ่ง ไม่มี ใครคอยแผ่ส่วนกุศลไปให้ เรียกว่าลืมกันเลยทีเดียว
วนเวียนอยู่มาเป็น ร้อยเป็นพันปี

ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพระธุดงค์ เมื่อเข้าไปวิเวกอยู่ในป่าแล้ว ต้องหมั่นเจริญเมตตา และกรวดน้ำ
เพื่อช่วยเขา เมื่อเขาได้รับการแผ่ เมตตา แม้กุศลยังไม่พอไปเกิดใหม่ เขาก็จะมีน้ำใจไมตรี
คอยช่วยเท่าที่ เขาจะช่วยได้ ไม่ให้มีอันตรายเกิดขึ้น

อันที่จริงก็เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายพระธุดงค์เอง เมื่อมี จิตเมตตาอยู่เต็มเปี่ยมแล้ว
ย่อมเป็นเหตุให้ศีลบริสุทธิ์ จิตอยู่ในกุศลธรรม เมื่อจิตอยู่ในกุศลธรรม ก็เป็นศีล เป็นจิตที่พร้อม
จะทำสมาธิภาวนา เมื่อ จิตอยู่ในสมาธิภาวนาตั้งมั่นดีแล้ว ก็จะเป็นที่งอกงามของปัญญา
เป็นที่งอกงามของญาณ แม้เวทมนตร์คาถา วิชาความรู้ใดๆ ก็ต้องอาศัย สมาธิภาวนานี้
เป็นที่งอกงามและสำเร็จประโยชน์ ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ถูก โมหะครอบงำ จะไม่มีทางสำเร็จประโยชน์ได้เลย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖.กลับสู่วัด… พบความเปลี่ยนแปลง


เมื่อใกล้เข้าพรรษา หลวงพ่ออาจารย์ก็ชวนอาตมาธุดงค์กลับวัด ระหว่างเดินทาง
หลวงพ่ออาจารย์ยิ้มแล้วก็ถามว่า

"ดูมหาจำเริญบ้างหรือเปล่า ตอนนี้เป็นอย่างไร"

"มหาจำเริญตอนนี้หรือครับ ท่านเป็นไปตามที่หลวงพ่อตั้งความ หวังไว้ เข้าป่าช้าทุกวันเลยครับ
ต่อไปก็คงจะช่วยเป็นกำลังสำคัญ ให้ชาวบ้านมาปฏิบัติกันได้มากๆ"

"หลวงพ่อก็คิดอย่างนั้น เห็นมหาจำเริญปฏิบัติเคร่งครัด สำรวม อินทรีย์ยิ่งกว่าแต่ก่อน
เพราะเรื่องบาปบุญคุณโทษนี้ หากไม่ปฏิบัติ ด้วยตัวเอง ก็มองไม่เห็นว่าเป็นนาม ผิดศีลเล็กๆ น้อยๆ
แต่มีผลใหญ่ ก็ไม่รู้สึกสนใจอะไรกัน ตอนนี้คงรู้แล้วนะ เพราะมีสติมากขึ้น หลวงพ่อ ก็ต้องอนุโมทนา"

"แต่หลวงพ่อครับ"

"อะไรหรือเณร"

"หลวงพ่อเห็นหรือยังว่า ตอนนี้เรายังจัดตั้งสำนักปฏิบัติไม่ได้ คงจะต้องใช้เวลา ๔-๕ ปีข้างหน้า"

"อือ…เห็น! อะไรมันยังไม่เกิด มันก็ไม่เกิด แต่เราก็ต้องเริ่มสร้าง คนให้รู้ทางเสียก่อน ชาวบ้านข้างวัด
ที่เห็นว่าพอมีวาสนาบารมีก็มีอยู่ หลายคน ชวนเขาให้มาปฏิบัติ ไม่ช้าเขาก็จะนำเอาคนอื่นมาด้วย"

"งั้นพรรษานี้หลวงพ่อก็ลงมือได้แล้ว"

"เณรก็ต้องช่วยหลวงพ่อเหมือนกันนะ"

"ก็ยังไม่ถึงเวลาอีกนะครับ หลวงพ่อ"

"อือ…ก็จริงของเณร ต้องอุปสมบทเสียก่อน เมื่ออุปสมบทแล้ว เณรก็ต้องออกธุดงค์ไปตามลำพังอีก
อย่างน้อย ๕ พรรษา คงพอจะ กลับมาสร้างความเชื่อถือให้ชาวบ้านได้"

"ที่จริงผมควรไปธุดงค์กับหลวงพ่อ จะได้คอยดูแลปฏิบัติหลวงพ่อ ด้วย เพราะหลวงพ่ออายุมากแล้ว"

"หลวงพ่อจะหยุดออกธุดงค์แล้วนะ ตั้งแต่บวชมาก็ ๓๐ กว่าปี ไม่เคยขาดเลย ตอนนี้ออกธุดงค์หรือไม่
จิตก็เป็นอย่างเดียวกัน จึงคิด อยากจะอยู่ช่วยมหาจำเริญต่อไป จนกว่าจะละสังขาร"

"หลวงพ่อยังอยู่อีกนาน ยังไม่ละสังขารง่ายๆ หรอกครับ"

"ละไม่ละ ก็เท่ากันนะเณร เพราะหลวงพ่อไม่ได้ไปยึดถือ อยู่ กับความเกิด ความตาย แตกดับอะไรอีก
แต่เณรเองก็เบาใจได้แล้วนี่"

"ครับ! ผมไม่มีความสงสัย ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระ อริยสงฆ์อีกแล้ว แต่ยังไม่จบพรหมจรรย์
คงต้องประคับประคองจิต ไปอีกสักระยะหนึ่ง ถึงจะไม่ย้อนกลับก็ประมาทไม่ได้
ผมไม่อยากเสียเวลาไปเป็นพรหม"

"ถูกแล้วเณร แต่ดูดีแล้วหรือว่า บุญบารมีจะพอในชาตินี้"

"ตอนนี้ยังไม่พอครับ แต่ก็คงจะสร้างสมได้ทัน อุปสมบทแล้ว พรรษานี้ พอออกพรรษา
ก็จะต้องไปสร้างบารมีอีกสักพัก คงจะแสวง วิเวกอย่างเดียวไม่ได้"

เมื่อกลับไปถึงวัด ปรากฏว่าที่ป่าช้ามีกุฏิมุงแฝกเพิ่มขึ้นอีก ๓ หลัง เพราะภิกษุในวัดเห็นการปฏิบัติ
ของมหาจำเริญ ก็เกิดความเลื่อมใส ขอเข้าไปปฏิบัติด้วย

ตอนนี้มหาจำเริญมีอาการสำรวมมากกว่าแต่ก่อน ราศีก็ดูผ่องใส กว่าแต่ก่อน

นี่แหละแสดงว่ากายตามจิต เมื่อจิตละเอียดมากเข้า กายก็ละเอียด ประณีตตาม คือ
มีความสำรวมระวังมากขึ้น แม้ปุถุชนคนทั่วไปก็ตาม เราก็จะเห็นความแตกต่างระหว่างคนที่จิตเป็นกุศล
มีคุณธรรม หรือ อย่างน้อยเป็นผู้ที่มองโลกในด้านดี มักจะมีกิริยาทางกาย วาจา อ่อน โยน สุภาพ
ราบเรียบ เป็นที่รักนิยมของผู้อื่น ส่วนคนที่มีจิตเป็นอกุศล ไร้คุณธรรม โหดเหี้ยมอำมหิต
ซึ่งเป็นจิตหยาบกร้าน ก็มักมีกาย วาจา หยาบกระด้าง ใครเห็นก็ชิงชังไม่อยากเข้าใกล้

แต่ในทุกวันนี้ ชาวโลกเราปล่อยให้จิตตามกาย เป็นเบี้ยล่างของ กาย เป็นทาสของกาย มีความโลภ
โกรธ หลง เป็น "พลัง" ส่งเสริม ให้เห็นผิดเป็นชอบ กายต้องการอะไร ต้องหามาปรนเปรอให้จงได้

กิเลส ตัณหา อุปาทาน ก็ประดังกันมา จนเกินความสามารถ ของจิต ที่จะปฏิบัติตามได้
เมื่อเกินความสามารถ ทำอะไรลงไปก็ประสบ ความพ่ายแพ้ ผิดหวัง เศร้าเสียใจ สุดแต่จะเป็นไป
ถึงกับทำลาย ตนเอง ทรัพย์สินให้พินาศย่อยยับไปก็มี

ชาวโลกแบกตัวพ้นทุกข์ไว้ด้วย อวิชชา คือ ความรู้ไม่จริงของ ตนเอง แล้วก็ทำหน้าชื่นอกตรม
ไปตามประสาของคนที่ถูกอวิชชาครอบงำ

ธุรกิจการงานทั้งหลาย ที่มนุษย์ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมนั้น ท่าน ว่าต้องมีหลักการ และดำเนิน
ไปตามหลักการ จึงบรรลุความสำเร็จ ใครที่ละทิ้งหลักการ ทำไปตามอารมณ์ของตน
ธุรกิจการงานนั้นก็จะ พังทลายได้โดยง่าย ชีวิตก็เช่นเดียวกัน

ทางพระพุทธศาสนาท่านถือว่า มนุษย์ก็ต้องอยู่ในหลักการเหมือน กัน คือ ต้องขึ้นอยู่กับการเวียนว่าย
ตายเกิด ขึ้นอยู่กับอสังขธาตุ มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุอากาศ วิญญาณธาตุ
และต้อง ขึ้นอยู่กับกรรม

ใครจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ว่าชีวิตมนุษย์เรา มีการเวียนว่ายตายเกิด มานับครั้งไม่ถ้วน ต้องเป็นความจริง
อยู่เช่นนั้น การเวียนว่ายตายเกิด ก็ขึ้นอยู่กับธาตุที่กล่าวมาแล้ว เมื่อธาตุรวมตัวกันขึ้นก็เกิด เมื่อธาตุ
แยกตัวกันออกก็ตาย การจะเกิดหรือตายก็ต้องอาศัยกรรมเป็นเครื่องจำแนก จะไปเกิดเป็นอะไร
จะตายเมื่อไร ขึ้นอยู่กับกรรมที่ตนได้กระทำขึ้นทั้ง สิ้น ทำกุศลไปเกิดเป็นเทวดา พระอินทร์ พระพรหม
หากทำอกุศลก็ ไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์นรก จำแนกกันอย่างนี้ นี่เป็นหลักการ ดั้งเดิมในชีวิตของ
มนุษย์และสัตว์

ต่อมาเพราะมีการจำแนกการเกิด ก็มีอวิชชาเกิดขึ้น คือ ทำให้ มีความไม่รู้ เป็นเครื่องปิดบัง
ให้ทำผิด คิดผิด ไปตามอารมณ์ชอบ

อันที่จริงอวิชชานี้ เป็นต้นเหตุให้เกิดการแสวงหาความรู้ เช่นเดียว กับกิเลส ถ้าเราไม่มีกิเลส
ก็ไม่ต้องหาทางดับกิเลส ถ้าไม่มีตัณหา ก็ ไม่ต้องหาทางดับตัณหา

ถ้าจะเปรียบอวิชชาเป็นภูเขาลูกใหญ่ ที่ขวางหน้าเราอยู่ ฟากเขา ด้านหลังเป็นวิชา ฟากเขาด้านหน้า
เป็นอวิชชา เมื่อเราต้องการข้าม ไปหาวิชา เราก็ต้องข้ามอวิชชา คือ สันเขาขึ้นไป จนถึงด้านหลังเขา
พอข้ามอวิชชาไปได้ เราก็ได้วิชา…

พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ดับอวิชชา เมื่อดับอวิชชาได้เด็ดขาด ก็เป็น อันสิ้นทุกข์ ไม่เกิดไม่ตายอีกต่อไป
แต่อวิชชาก็ไม่ใช่สิ่งที่จะดับได้โดย ง่าย เพราะเป็นตัวโลภ โกรธ หลง ต้องพากเพียรพยายามอย่างเต็มที่
เพื่อชำระล้างตัวไม่รู้ ให้หมดสิ้นไป

อาตมากลับถึงวัดแล้ว ก็ได้ไปเยี่ยมท่านมหาจำเริญที่กุฏิมุงแฝก ในป่าช้า รู้สึกว่าท่านมีความยินดีมาก
ที่ได้พบอาตมา คำถามแรกของ ท่านก็คือ

"ลำบากไหมเณร"

"ไม่ลำบากเลยครับ มีแต่ความสงบสบาย"

"ออกพรรษาหน้านี้แล้ว หลวงพี่คงได้ไปบ้าง"

"อย่าเพิ่งเลยครับหลวงพี่ ผมว่าปฏิบัติเอาที่ป่าช้านี่แหละ ให้พอ ตัวเสียก่อน จะดีกว่า อีกอย่างหลวงพ่อ
อุปัชฌาย์ท่านจะไม่ออกธุดงค์ อีกแล้ว ว่าจะอยู่ช่วยท่านมหาสร้างสำนักปฏิบัติ ตามที่คิดกันไว้"

"เณรว่าปฏิบัติให้พอตัวเสียก่อน หมายความว่าอย่างไร"

"หมายความว่า เมื่อออกธุดงค์อยู่ในป่า พบอันตรายต่างๆ ก็เอา ตัวรอดได้ แต่ตอนนี้
การปฏิบัติของหลวงพี่ แม้จะดีขึ้นมาก แต่จิตก็ยัง ไม่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรือฌาน ๔
ได้แต่เพียงความปีติ ความสุข อิ่มเอิบอยู่เท่านั้น"

"เณรรู้ได้อย่างไร"

"ก็จริงไหมล่ะหลวงพี่ เชื่อผมเถอะ หลวงพี่ต้องเร่งความเพียร ทางสมถะอย่างเดียว ให้ได้เสียก่อน
ถ้ายังไม่ได้ขั้นอัปปนา หรือได้ แล้วยังไม่ชำนาญพอ อย่าเพิ่งเอาวิปัสสนาเข้ามาแทรก เพราะจะไม่ได้
อะไรเลย จะได้แต่สัญญานอกๆที่จดจำมาจากหนังสือ หรือประสบ การณ์ ยังไม่เป็นธรรมที่เกิดรู้ขึ้นมาเอง

ที่ผมพูดนี้ ไม่ใช่มาสอนหลวงพี่นะ เพราะผมได้ปฏิบัติมาแล้ว ไม่อยากให้หลวงพี่หลงงมอยู่
อย่างที่ผมเคยหลงมาแล้ว"

"ก็เห็นจะต้องเชื่อเณร เพราะเณรปฏิบัติมาก่อนหลวงพี่ ว่าแต่ ไปธุดงค์คราวนี้ เณรคงได้อะไร
เพิ่มเติมมาอีกมาก"

"สิ่งที่ผมได้เพิ่งเติมมานั้น แท้จริงก็ได้ความไม่มีอะไรนั่นเอง หรือ จะว่าความยึดถือตัวเราของเรา
มันน้อยลง เบาบางลง

หลวงพ่ออุปัชฌาย์ท่านว่า การที่เรามาปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา กันนั้น จุดหมายก็คือความไม่มีอะไร
ความเป็นอิสระ ความไม่เกิด ไม่ตาย"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๔.อบรมจิตตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เมื่อจิตอยู่ในอุเบกขาพักหนึ่ง เป็นที่สบายแล้ว ก็ถอนจิตออกมา เป็นอุปจารสมาธิ ที่ยังมีเชื้อ
ของความสงบเหลืออยู่ เริ่มพิจารณาตาม แนว "สติปัฏฐาน ๔" อันได้แก่ รูป เวทนา จิต ธรรม
ไปตาม ลำดับ คำว่าตามลำดับนี้ ไม่ใช่ครั้งเดียวหนเดียว แต่พิจารณาไปตลอด เลย พิจารณาเป็นอย่างๆ

เริ่มต้นด้วย "รูป" อันรูปคนอื่นที่เป็นสิ่งนอกตัวนอกตนนั้นก็ช่าง เขา เอารูปกายยาววา หนาคืบ
ที่ว่าเป็นเราของเรานี้ พิจารณาก่อน… เพราะเพียงคำว่ารูปที่เรียกว่า กายคตาสติ นี้ มีปลีกย่อย
ออกไปถึง ๓๒ และใน ๓๒ ประการนี้ ก็ยังแยกย่อยออกไปอีก เช่นคำว่า กระดูก ไม่ได้หมายเฉพาะ
กระดูกร่างกายร่างหนึ่งเท่านั้น แต่มันยังแยกออก ไปอีกถึง ๓๐๐ ท่อน…เส้นเอ็นก็นับไม่ถ้วน

นอกจากนี้ท่านก็ในแยกพิจารณา เช่น ผม ท่านก็เอามาคำนวณ ออกได้ถึงสามแสนเส้น

เล็บ ก็เอาเล็บมาพิจารณา จนเกิดเห็นขึ้นมาเองว่า เล็บเกิดอย่าง ไร เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่
ธาตุรู้ก็จะเห็นขึ้นมาเองว่า เล็บแปรปรวน ไป ไม่คงทน เห็นยาวก็ตัดออก ก็ขึ้นมาใหม่
หรือไม่ตัดปล่อยให้ยาว ก็จะหักเอง นี่มันไม่เที่ยง เกิดดับเห็นๆ อยู่

ลึกเข้าไปอีก เมื่อเราตาย คงจะหลุดหายไป การพิจารณาอย่างนี้ ยังเอาสัญญาเข้ามาพิจารณา
เราเพียงเพ่งดูเล็บ จนกว่าธาตุรู้จะเห็น ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมาเองชัดเจน จึงจะใช้ได้

ต่อไปก็เอา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มาเพ่งพิจารณาไปทีละอย่าง เมื่อธาตุรู้เห็นชัดแล้ว ก็เปลี่ยนใหม่
จนครบอาการ ๓๒ นี่เป็นการพิจารณา กายคตาสติ อันประกอบด้วยอาการ ๓๒ หรือจะไป
พิจารณาของจริง ทั้งกาย อันเรียกว่าอสุภะหรือศพ ตั้งแต่เพิ่งตาย ให้ติดตาติดใจจน หลับตาเห็นก็ได้

เมื่อเราพิจารณารูปกายผ่านไปแล้ว ย่อมเกิดความเบื่อหน่ายคลาย กำหนัด เมื่อเบื่อหนักเข้า
ก็จะรู้ขึ้นมาว่า รูปกายนี้ไม่ใช่เราของเรา เป็น อนัตตา ไม่มีตัวตน มาเฝ้าเป็นบ้าเป็นหลัง
มายึดถืออะไรอยู่ ก็จะ ปล่อยวางลงไปเอง

ที่นี้ ก็ให้เอา เวทนา มาเพ่งพิจารณา เวทนาที่ท่านเรียกกัน มีทั้งทุกข์ เรียกว่า ทุกขเวทนา มีทั้งสุข
เรียกว่า สุขเวทนา แต่ตามความ เป็นจริงล้วนแต่สุข เพื่อจะทุกข์ต่อไปทั้งสิ้น สุขแท้ๆ ที่จีรังยั่งยืนไม่มี

ทุกขเวทนานั้น ที่มองเห็นก็เกิดที่กาย ที่จิตนี้เอง ตื่นเช้าขึ้นมาก็ ปวดท้องถ่าย จะกลั้นไว้ไม่ได้
ร่างกายก็สกปรก ต้องชำระร่างกาย ทำความสะอาดให้ เดี๋ยวมันหิวขึ้นมาแล้วต้องหาให้มันกิน
ไม่กินก็ แสบท้องแสบไส้ ที่ขวนขวายดิ้นรน ต่อสู้แข่งขันแย่งชิง เอาดีเอาเด่น ได้ประโยชน์
เสียประโยชน์ ต้องรบราฆ่าฟันกันทุกวันนี้ ก็เพียงเรื่อง กินเท่านั้น

ความเกิด ก็เป็นทุกข์ เพราะผู้ให้กำเนิด พอรู้ว่าตั้งท้องก็เริ่มเดือด ร้อน ต้องเตรียมหาเงินค่ายา ค่าหมอ เตรียมเลี้ยงดูอุปถัมภ์ ตลอดจน เติบโตเล่าเรียน เวลาจะคลอด แม่นั้นทุกข์กว่าเพื่อน เจ็บปวดทรมาน
กว่าเพื่อน กว่าจะคลอดออกมาได้

แต่ทุกข์เหล่านี้ เป็นทุกข์ของพ่อแม่ ตัวเรายังไม่ทุกข์หรอกตอนนั้น แต่ก็เป็นทุกข์ได้เหมือนกัน
กับความร้อน ความหนาว ความเจ็บปวด ที่ยังบอกใครไม่ได้ พูดไม่เป็น

เกิดแล้วก็ต้องเจอกับ ความแก่ เจ้าความแก่นี่ก็เป็นทุกขเวทนา ทำให้วิตกกังวลไปต่างๆ
กลัวจะหมดสวยหมดงาม ต้องหาวิธีดึงความ แก่เอาไว้ ไม่ให้แก่เร็ว

ความเจ็บ ก็เป็นเรื่องใหญ่ เจ็บปวดทรมานแสนสาหัส ยิ่งเป็นโรค ที่หมอรักษาหายยาก
ก็เป็นทุกข์ร้อนกลัวจะตาย ตะลอนๆ เที่ยวหาที่ จะชุบชีวิตได้ เจ้าความกลัวตายนี้
จะว่าไปมันทุกข์ยิ่งกว่า ความตาย จริงๆ เสียอีก

ชีวิตคนเรา พระพุทธเจ้าท่านว่าเป็นทุกข์ เกิดมาไม่เหมือนกัน สุดแต่กรรมจะจำแนกแจกให้เป็นไป
บางคนเกิดมาในกองเงินกองทอง พ่อแม่ร่ำรวย เป็นสุขสบายเมื่อยังเล็กอยู่ ครั้นเติบโตขึ้น
กลับทำให้พ่อแม่กลับยากจนลง ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากก็มี ที่เกิดมา ยากจนก็ต้องทนอดมื้อ
กินมื้อ เหนื่อยยาก ต้องทำงานหนัก แต่ไม่พอกิน ล้วนเกิดทุกขเวทนาทั้งนั้น ชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน
การพรัดพรากจาก ของรักของชอบใจ ก็มีอยู่ทุกผู้ทุกคน

การเพ่งพิจารณาเวทนา ให้เห็นตามความเป็นจริง ตัวเราได้เผชิญ มาอย่างไรบ้าง เคยจากพราก
ทุกข์โศกมาบ้างหรือไม่ ถ้ายังมีการเกิด การตาย ทุกขเวทนาก็จะตามมาอยู่ด้วย ไม่ปล่อยปละละเว้น
มันจะตามไปทุกภพทุกชาติ เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายคลาย กำหนัด

ได้กล่าวถึง กาย เวทนา แล้ว มาพูดถึงจิต บ้าง ถ้าเรา ได้ฝึกฝนทำสมาธิ เราจะมีเครื่องมืออย่างหนึ่ง
ที่เรียกสติการระลึกรู้ เราก็จะรู้จักจิตของเราดีขึ้น จิตคิดไปได้ทุกอย่าง ฟุ้งซ่าน ปรุงแต่งไปได้สารพัด
รวดเร็วเหมือนสายฟ้าแลบ

ที่ท่านให้เฝ้าดูจิตด้วยสติ ก็เพื่อจะได้รู้ว่าจิตเป็นอย่างไร อารมณ์ กิเลสเข้ามาทางไหน มาดีหรือมาร้าย
ถ้ามาไม่ดี คิดข้าง กิเลส ตัณหา อุปาทาน คิดไปในทาง โลภ โกรธ หลง เราก็ได้รู้เท่าทัน ยับยั้งมันเสีย
ถ้าคิดไปในทางดี ก็อยู่ในขอบเขตของมรรค ๘ เราก็คอยดูว่าเป็นอย่างไร

จิตที่คิดอยู่ในขอบเขตของมรรค ๘ ย่อมเป็นต้นเหตุให้เกิด ธรรม เราท่านผู้ปรารถนาให้พ้นทุกข์
จงเฝ้าดูต่อไป จะเกิดธรรมให้รู้แจ้งแทง ตลอดในภายหลัง

การตาม สติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่กล่าว มาอย่างสั้นๆ นี้ ท่านให้ทบทวนกลับไปกลับมา
เพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ถึง ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่าชีวิตไม่ว่าของเรา หรือใคร
ก็จะเป็นเช่นเดียวกัน และความรู้นั้นต้องเป็นความรู้ที่เกิดขึ้น จากจิต อย่างที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้
มาแล้ว อย่างที่เรียกว่า ธรรม เกิดขึ้นเอง จะเอาสัญญาความจำได้หมายรู้ ที่ได้มาจากปริยัติ
ซึ่งเป็น ความรู้อย่างนอกๆ นั้นไม่ได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 12 มี.ค. 2010, 23:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนที่ 17

อุปสมบททดแทนคุณ



ครั้นใกล้จะเข้าพรรษา อายุอาตมาครบบวชแล้ว ก็ไปหาโยมพ่อ โยมแม่ทั้งสอง บอกความประสงค์
จะทำการอุปสมบท ซึ่งโยมพ่อ โยมแม่ก็มีความยินดี ตระเตรียมการให้ด้วยความศรัทธาเลื่อมใส
ไม่ท้วงติงแต่อย่างใด เพราะท่านตัดใจได้มานานแล้วว่า ลูกชายท่านคนนี้ คงจะเอาดีทางพระ
ไม่สนใจในทางโลกแน่นอน

เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็ได้ไปเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่ทั้งสอง และพี่ชาย พี่สาว บอกว่า

“จะขอบิณฑบาตโยมทั้งสองอีกสักอย่างจะได้ไหม ต่อไปจะไม่ ขออะไรอีก”

โยมต่างก็ถามว่า “ท่านจะขออะไรก็ขอให้บอกเถอะ โยมยินดี จะถวายทั้งสิ้น ที่สามารถจะถวายได้”

“อาตมาพิจารณาดูแล้ว เห็นโยมพี่ทั้งสอง เรียนสำเร็จแล้ว ก็มี ความรู้ที่จะทำการค้าขายเจริญ
ก้าวหน้าต่อไป ส่วนโยมพ่อและโยมแม่ อายุมากขึ้นแล้วควรจะละความห่วงใยลงเสีย หันมาประพฤติ
ปฏิบัติ ธรรม เพื่อตัวของโยมเองจะดีกว่า โยมพ่อโยมแม่จะทำได้หรือไม่ อาตมาขอเพียงแค่นี้แหละ

และการที่อาตมาบวชมานี้ โยมจะได้บุญกุศลก็เพียงเล็กน้อย ไม่ สามารถจะพาโยมไปสวรรค์นิพพาน
เพื่อความพ้นทุกข์ได้ โยมจะต้อง ขวนขวาย พากเพียรพยายามปฏิบัติเอาด้วยตัวของโยมเองทั้งสิ้น

บุญกุศลที่โยมทำมาแล้วในอดีตชาติ ได้ส่งผลให้โยมมีฐานะความ เป็นอยู่ดีกว่าผู้อื่น มีลูกที่ดี
อยู่ในโอวาททุกคน แต่บุญในอดีตชาตินั้น ย่อมหมดลงได้ ถ้าไม่สร้างสมทำเพิ่มขึ้นอีก

ทาน โยมก็ได้ทำมาดีแล้ว ศีล โยมก็รักษาดีแล้ว แต่บุญที่ยิ่ง ใหญ่เหนือกว่าทานกว่าศีลก็คือ
สมาธิภาวนา ซึ่งจะเป็นทางเอาตัวรอด พ้นจากทุกข์ ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดนับไม่ถ้วนชาติอีกต่อไป”

โยมพี่ชายได้ถามว่า “ท่านคิดว่าพี่สองคนจะดำเนินกิจการต่อไป ได้หรือ”

“โยมพี่ทั้งสอง ก็เรียนกันมาทางค้าขาย ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไข
ก็จะทำให้กิจการก้าวหน้าไปกว่าเดิมเสียอีก โยมพี่ชายนะไม่ต้องวิตกอะไร อีก ๕ ปีข้างหน้า
ก็จะได้แต่งงาน มี ผู้มาช่วยการงานดีขึ้น ขอให้รักษาความดี ความซื่อสัตย์เอกไว้ให้มั่นคง

ส่วนโยมพี่หญิง ขอบอกให้รู้ว่า เกิดมาไม่มีเนื้อคู่กับเขาหรอก เพราะอดีตเป็นนักบวช
ถึงเวลาพอสมควรก็จะหันหน้าเข้าวัด”

ที่สุด โยมพ่อโยมแม่ทั้งสองก็รับปากจะขอปฏิบัติธรรม ตามที่ อาตมาขอบิณฑบาต แต่จะไม่เข้าวัด
ถือบวชระคนด้วยหมู่คณะ จะไป อยู่บ้านสวน ซึ่งมีความสงบดีพอสมควร แล้วค่อยปฏิบัติไป

อาตมาก็บอกว่า “ไม่จำเป็นจะต้องเข้าวัดเพื่อถือบวช เป็นอุบาสก อุบาสิกา อยู่กับบ้านก็
ปฏิบัติธรรมสมาธิได้ ความเป็นอยู่ก็ไม่ต้อง ห่วงใยอะไรแล้ว เพียงตั้งใจปฏิบัติก็จะถึงความสุขได้”

ในพรรษานั้น ก็ได้ช่วยท่านมหาจำเริญแบ่งเบาภาระในการสอน นักธรรม ซึ่งตอนนี้ก็มีพระนักธรรมเอก
และเปรียญ ๓, ๔ ประโยค อีกสองรูป มีผู้เข้ามาบวชเรียนมากขึ้น ก็พอดีช่วยกันได้

อาตมาได้ชักจูง ภิกษุสามเณรที่บวชเก่า และบวชใหม่ให้หันมา ปฏิบัติธรรมสมาธิ ควบกับการเรียนปริยัติ
ไปด้วย แต่แรกก็มีวอกแวก หละหลวม ไม่เอาจริงกันบ้าง อาศัยที่คอยตรวจสอบวารจิต ใครคิด อะไร
ก็คอยทักท้วงให้รู้ว่าที่คิดอย่างนั้น อาตมารู้นะ หรือใครไปทำ อะไรที่ไหน ก็บอกได้หมด

จนภิกษุสามเณรภายในวัดแปลกใจว่า อาตมารู้ได้อย่างไร ก็ได้ แต่บอกว่า ถ้าภิกษุสามเณรตั้งใจปฏิบัติ
ก็สามารถจะรู้เห็นเช่นอาตมา ได้ จึงไม่มีใครหลีกเลี่ยง ตั้งใจปฏิบัติกันดี

พรรษาแรก ถึงวันธรรมสวนะ ๑๕ ค่ำ อาตมาก็ได้รับมอบจาก หลวงพ่ออาจารย์ให้สวดปาติโมกข์ตลอด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2010, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๘. แสวงวิเวกตามลำพัง

ครั้นออกพรรษาแล้ว อาตมาได้อยู่ช่วยจนภิกษุสามเณร เข้าสอบ ธรรมที่สนามหลวงจนเสร็จ
จึงได้กราบลาหลวงพ่ออาจารย์ ออกธุดงค์ แสวงวิเวกไปตามลำพังต่อไป

ตอนแรก ท่านมหาจำเริญ และภิกษุ ๓ รูป ที่ไปปฏิบัติอยู่ในป่าช้า จะขอตามไปด้วย
แต่หลวงพ่ออาจารย์ทักว่า

“ปฏิบัติอยู่ที่วัดไปก่อนเถอะ ยังไม่ถึงเวลาจะไป การออกธุดงค์ ต้องมีจิตที่แก่กล้ากว่านี้”

ท่านมหาจำเริญบอกว่า

“ไปกับท่าน…คงจะช่วยคุ้มครองให้ได้”

หลวงพ่ออุปัชฌาย์บอกว่า

“ได้นะได้หรอก แต่จะไปเป็นกังวลเปล่าๆ ที่ว่ายังไม่ถึงเวลา ก็ เพราะบารมียังไม่พอ
อาจจะเกิดอันตรายได้ จึงไม่อยากให้ไป หากอยู่ก็ จะได้ช่วยกันทางนี้”

เมื่อครูอาจารย์ทักท้วง ก็ไม่มีใครกล้าขัดขืน เพราะต่างก็รู้ คุณพิเศษของท่านเป็นอย่างดี

ออกธุดงค์แต่ลำพังคราวนี้ ไม่ได้ย้อนกลับวัดตอนใกล้เข้าพรรษา และไม่ได้ไปขอจำพรรษาที่วัดไหนเลย

พอเข้าพรรษาก็อธิษฐานเข้าพรรษาอยู่ในถ้ำใดถ้ำหนึ่งจนครบ ๓ เดือน แล้วออกธุดงค์ต่อไป
โดยมากก็วนเวียนอยู่แถบจังหวัดเลย และ จังหวัดเพชรบูรณ์ เข้าไปอยู่ในป่าลึกๆ ไกลผู้คน
เวลาต้องการอาหาร ซึ่งหลายๆ วันสักครั้ง อยากจะโปรดหมู่บ้านไหน ก็ไปด้วยการอธิษฐาน
ชั่วขณะหนึ่งก็ไปถึงชายป่าใกล้หมู่บ้าน แล้วจึงเดินเข้าไป นับว่าไปมา สะดวกรวดเร็ว ไม่ลำบากอะไร

ชาวบ้านบางคนก็ถามว่า ท่านพักอยู่ที่ไหน ก็ได้แต่ตอบว่า อยู่ ไกล โยมเดินทางวันหนึ่ง ไม่ถึงหรอก
ซึ่งชาวบ้านก็ได้แต่แปลกใจ

ส่วนมากการเดินธุดงค์นั้น อาตมาแสวงวิเวกเรื่อยไป จากภาคกลาง ขึ้นภาคอีสาน ตัดขึ้นภาคเหนือ
แล้วลงไปภาคใต้

เมื่อบำเพ็ญสมาธิภาวนากล้าแข็งขึ้น ตาทิพย์และหูทิพย์ที่ได้มาแต่ เด็กๆ ก็เห็นได้กว้างไกลยิ่งขึ้น
อยากเห็นที่ไหน นั่งอยู่กับที่ก็ได้เห็นทะลุ ปรุโปร่งแจ่มแจ้ง เป็นการรู้เห็นแบบปัจจัตตังเฉพาะตัว
ซึ่งไม่สามารถ จะอธิบายให้ผู้อื่นเห็นตามได้ นอกจากเขาจะได้ปฏิบัติด้วยตนเอง

คำว่า “พุทโธ” ซึ่งเป็นบทภาวนาเบื้องต้น เป็นของดีอันประเสริฐ เป็นทางให้ไปสู่ความเป็นผู้รู้
คือรู้แจ้งในธรรมทั้งปวง เป็นทางให้ไปสู่ ความเป็นผู้ตื่น คือ ตื่นจากกิเลสตัณหาที่ห่อหุ้มชีวิตอยู่
ปราศจากนิวรณ์ ทั้ง ๕ ตื่นตัวตื่นใจอยู่ทุกขณะ เป็นทางให้ไปสู่ความเป็นผู้เบิกบาน
เพราะปราศจากความยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเราของเรา ดังที่อาตมาได้สัมผัสอยู่

แต่ชาวโลกนั้นเกิดมามีกรรมมีเวร มีอวิชชาครอบงำอยู่ ใครจะมา แนะนำชักจูงว่า
ลองทำสมาธิเสียบ้างซิ เขาก็จะหลีกเลี่ยง อ้างว่าไม่มี เวลาบ้าง ใจไม่สงบบ้าง มีเรื่องยุ่งยาก
กับการงานครอบครัวบาง ซึ่งล้วน แต่เป็นข้ออ้างของกิเลสตัณหา โลภ โกรธ หลง ยึดนั่น ติดนี่
ซึ่งเป็น อวิชชาทั้งสิ้น

นับว่าชาวโลกส่วนมากเป็นผู้น่าสงสาร แต่ใครจะไปฉุดรั้งผลักดัน เขาได้อย่างไร
เมื่อเขาไม่เคยนึกสงสารตนเองเลย

สงครามในซีกโลกต่างๆ ทำให้ต้องฆ่ากัน ทำลายล้างกัน โดย ไม่มีสาเหตุจำเป็นเลย
ก็เพราะอวิชชานี้ ทำให้ไม่รู้บุญรู้บาป รู้ผิดรู้ถูก ไป เที่ยวยึดถือเอาสิ่งภายนอกเข้ามาทำลายตน


นี่ก็พูดไปตามเนื้อผ้าหยาบๆ ของชาวโลก อาตมาไม่วุ่นวายเดือดร้อน ด้วย เพราะได้ละวางแล้ว
จิตที่อยู่เหนือทุกขเวทนา สุขเวทนา มันเห็น แต่ว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไป จะเกิดหรือดับ
ก็เป็นไปตามสมมติ เป็นไปตามธรรมดา จะต้องเป็นไปเช่นนั้น ไม่มีใครจะไปเปลี่ยนแปลงได้
เว้นแต่ยังไม่สิ้นกรรม สิ้นวาระ ก็แก้ไขปัดเป่ากันไป

อาตมาเบิกบานด้วยสุขวิหารธรรม อยู่ตามป่าตามถ้ำ เป็นเวลา ถึง ๕ ปี หรือ ๕ พรรษา
เพลิดเพลินการเสวนาธรรมกับครูบาอาจารย์ ที่ธุดงค์อยู่ในป่า ทั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ และจิตวิญญาณ
ที่เป็นอมตะ ซึ่งมีอยู่มากมาย

ธรรมเหล่าใดที่ยังข้องใจสงสัยอยู่ ท่านเหล่านั้น ก็ให้อรรถาธิบาย ให้กระจ่างขึ้น ตามภูมิปัญญาของท่าน

ผู้ที่ไม่เชื่อว่าในโลกนี้ยังมีพระอรหันต์ เพราะเขาไม่เห็น แต่ความ จริงแล้ว พระอรหันต์มีอยู่นับไม่ถ้วน
บางท่านก็เป็นพระอรหันต์ แบบสุขวิปัสสโก ยินดีพอใจซุ่มซ่อนอยู่เงียบๆ ท่ามกลางป่าดงพงลึก

บางท่านก็เป็นพระปัจเจกพุทธ บางท่านก็ทรงฤทธิ์อภิญญา แสดง ปาฏิหาริย์ต่างๆเล่นแก้รำคาญ
เป็นที่เบิกบานใจของท่าน ปาฏิหาริย์ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่สำเร็จด้วยจิต คิดจะให้เป็นอย่างไร
ก็เป็นขึ้นมาอย่างนั้น ไม่ต้องอาศัยเวทมนตร์คาถา แบบไสยศาสตร์ ท่านเหล่านี้ท่านแสดงธรรมได้
สอนได้ แต่ท่านไม่ทำ เพราะไม่ได้บำเพ็ญบารมีมาทางนี้

ยังมีอีกเป็นจำนวนมาก ที่สมัยเป็นมนุษย์ปฏิบัติธรรมอยู่ แล้ว กายทิพย์ถอดจากร่างไปโดยไม่รู้ตัว
เมื่อกายทิพย์ออกไปแล้ว ก็เพลิด เพลินท่องเที่ยวไปในแดนสวรรค์ชั้นต่างๆ เมื่อสติไม่กล้าแข็งพอ
ไปหลง ติดอยู่กับวิมานนางฟ้า ทำให้ลืมเวลาอันสั้นของเมืองมนุษย์ ครั้นคิดกลับ เข้าร่าง ร่างก็เน่าเปื่อย
หรือเขาทำการเผาไปแล้ว จึงต้องท่องเที่ยวเร่ร่อน ไป จะไปเกิดก็เกิดไม่ได้ เป็นพวกนอกบัญชี
ที่ยังไม่ถึงอายุขัย

การที่กายทิพย์จะออกไปนั้น เป็นการออกแบบไม่รู้ตัว สติไม่ แก่กล้าพอที่จะตามรู้การไปของกายทิพย์
ฉะนั้นผู้ปฏิบัติสมาธิ จึงควรทำ สมาธิของตนให้แก่กล้า เพื่อจะได้มีสติรู้เท่าทันอย่างสมบูรณ์
จะได้ไม่หลงเพลิดเพลิน จนลืมการกลับสู่ร่างเดิม และจะไม่กลายเป็นกายทิพย์ เร่ร่อน
สัญจรไปมาอยู่มากมายในขณะนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๙. สร้างศรัทธาด้วยญาณหยั่งรู้

หลังจากแน่ใจว่า การปฏิบัติธรรมจะไม่ย้อนกลับไปเป็นทางของกิเลสตัณหา
มีแต่เดินไปข้างหน้า ข้ามพ้นชาติชรามรณะทุกข์ไปแล้ว อาตมา จึงกลับสู่วัดเดิม หลวงพ่ออาจารย์และ
มหาจำเริญยังอยู่ หลวงพ่ออาจารย์ ท่านชราลงไปมาก แต่ก็ยังมีราศีผ่องใส การออกบิณฑบาตเป็นวัตร
ซึ่งเป็นธุดงค์ข้อหนึ่ง ท่านก็ยังปฏิบัติอยู่ ทั้งที่ลูกศิษย์ลูกหาชาวบ้าน เขาขอร้องให้หยุดได้แล้ว
ท่านว่าสังขารยังใช้ได้อยู่ ก็ต้องใช้เขาไปก่อน

ท่านทั้งสองได้ช่วยกันพัฒนาวัด ให้เจริญขึ้นเป็นอันมาก โดยเฉพาะ ท่านมหาจำเริญนั้น
เมื่อศิษย์ที่ได้นักธรรมเปรียญมีมากขึ้น ก็ทำให้วาง มือในการสอนไปได้ หันมาปฏิบัติและพัฒนา
อย่างเต็มที่ ทางถาวรวัตถุก็ ได้บูรณะซ่อมแซมโบสถ์ศาลาให้ดีขึ้น ทางโรงเรียนปริยัติ ก็มีผู้มาบรรพชา
อุปสมบทเพิ่มขึ้น แม้ฆราวาสก็มาเรียนและสมัครสอบได้ ส่วน สำนักกรรมฐานก็ได้จัดขึ้นเป็นสัดส่วน
ตามความมุ่งหมายของหลวงพ่อ อาจารย์ มีศาลาฝึกปฏิบัติธรรม แล้วก็มีกุฏิสำหรับพระเณร
ปฏิบัติธรรม ประมาณ ๓๐ หลัง

ส่วนของอุบาสกอุบาสิกานั้น ก็ได้จัดที่ไว้ให้เป็นสัดส่วน อุบาสก อุบาสิกาบางคนมาอยู่ปฏิบัติธรรม
ก็มาสร้างเรือนเล็กๆไว้ อาศัยปฏิรูป ตามใจชอบ เมื่อสร้างขึ้นแล้ว เจ้าของเลิกราไป
ผู้อื่นก็เข้ามาพักปฏิบัติ แทนสลับกันไปอย่างนี้

เมื่ออาตมากลับถึงวัด หลวงพ่ออาจารย์กับท่านมหามีความยินดี มาก เพราะท่านหวังว่าอาตมา
จะมาช่วยกันอีกแรงหนึ่ง ญาติโยมที่มา จากที่อื่นในระยะหลังๆ ไม่มีใครรู้จักอาตมาเลย
แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ คุณวิเศษที่มีอยู่ในตนต่างหาก ที่จะช่วยเขาได้

พระหนุ่มบวชได้ ๕ พรรษา แต่แรกก็ไม่มีใครศรัทธา เพราะเขา เห็นแต่ร่างกาย แต่จิตนั้นเขาเห็นไม่ได้
จะประภัสสรเพียงใดเขาก็ไม่รู้

เมื่อเริ่มต้นการสอนครั้งแรก อาตมาจึงจำเป็นต้องแสดงให้เขารู้ว่า ใครคิดอะไรอยู่ ทั้งที่เกี่ยวกับ
ตัวเขาเอง หรือตัวอาตมา สร้างความแปลกใจ ให้โยมไปตามๆกัน บางทีก็ทักไปถึงทางบ้าน
ที่โยมกำลังเป็นห่วงอยู่

“โยมมาวัดทำไม ลูกสาวคนโตกำลังป่วยอยู่ มาแล้วก็มีความห่วง กังวล ทำจิตให้สงบไม่ได้”

โยมถามว่า “ท่านรู้ได้อย่างไรคะว่า ลูกสาวกำลังป่วย”

“รู้อย่างไรก็ช่างเถอะ แต่อยากจะเตือนว่า ไม่ต้องวิตกกังวล ทำจิต ให้สงบ
ปล่อยวางความห่วงใยให้หมด เวลานี้ลูกสาวโยมหายป่วยแล้ว”

“จะเป็นไปได้อย่างไรเจ้าคะ เขาป่วยมาเป็นปี รักษาเท่าไรก็ ไม่ดีขึ้น
หมอที่มารักษานั้นนับไม่ถ้วนแล้วเจ้าค่ะ”

“นั่นแหละหายแล้ว กลับไปนี้ โยมไปทำสังฆทาน อุทิศส่วน บุญกุศลให้เจ้าเวรนายกรรมเขาเสีย
คนเรายังไม่ถึงเวลาตาย ถึงเวลา จะหายมันก็หายเอง ถ้าโยมอยากรู้ว่าลูกสาวหายอย่างไร
ก็ไปถามลูก สาวดู”

วันต่อมา โยมท่านนั้นมาพร้อมด้วยลูกสาว พอเห็นอาตมาเข้า ก็ตรงเข้ามากราบ พูดว่า

“หากไม่ได้อาจารย์ไปช่วยรักษา ลูกคงนอนซมอยู่อย่างนั้น”

แล้วหันไปบอกมารดาว่า

“อาจารย์รูปนี้แหละค่ะ ท่านไปรักษาลูกที่บ้าน”

ทุกคนในที่นั้น ต่างแปลกใจไปตามๆกัน บางคนซักว่า

“ท่านไปรักษาแม่หนูตั้งแต่เมื่อไร”

“เมื่อวานตอนบ่ายๆแหละจ้ะ”

“เอ๊ะ…เมื่อวานตอนบ่าย ท่านก็อยู่ที่นี่ จะไปรักษาได้อย่างไรกัน”

“ฉันก็ไม่ทราบเหมือนกัน ที่ทราบก็คือท่านไปรักษาฉันจริงๆ จำท่านได้แม่นยำ พอมาเห็นก็จำได้”

“ท่านไปรักษาอย่างไร”

“ฉันกำลังนอนลืมตาอยู่บนเตียง อยู่ๆ ท่านก็มายืนอยู่ หลับตา พนมมือ พูดอะไรปากขมุบขมิบอยู่พักหนึ่ง
แล้วท่านก็ใช้มือโบกจาก ศีรษะไปหาเท้าสามครั้ง ฉันก็รู้สึกว่าตัวเบาสบาย เหมือนไม่เป็นอะไร
ปกติทุกอย่าง อย่างที่เห็นนี่แหละ”

ตั้งแต่นั้น ญาติโยมที่มาปฏิบัติก็พากันศรัทธาเชื่อถือ จะแนะนำ สั่งสอนอะไร ก็ตั้งใจปฏิบัติตาม
แต่อาตมาก็ต้องช่วยเหลือชาวบ้าน ทั้งใกล้และไกลมากขึ้น ด้วยกิตติศัพท์มันแพร่กระจายออกไป

สำหรับการช่วยสงเคราะห์ความป่วยเจ็บของชาวบ้านนั้น ก็ไม่มี การให้คนป่วยมารักษากันที่วัด
เพราะดูเป็นการเอิกเกริก หรือรบกวน ผู้ที่กำลังปฏิบัติอยู่ เพียงให้ญาติพี่น้อง เขามาแจ้งสถานที่อยู่
ให้ทราบ และโรคที่เป็นอยู่เท่านั้น เมื่อตรวจดูทางจิตแล้ว เห็นว่าเขามีทางจะหายได้
ก็ส่งจิตไปช่วยรักษาให้ ส่วนที่ไม่มีทางจะหาย ถึงเวลาหมดอายุแล้ว ก็จะบอกไปตามที่มองเห็น

บางรายเข้าเวรนายกรรมเขากำลังมาทวงถาม ขืนไปรักษา เขาก็จะ ต่อว่า หาว่าขัดขวางทางกรรม
ที่เขาจะได้รับการชดใช้ ในกรณีเช่นนี้ ก็ต้อง ถามความพอใจของเจ้าเวรนายกรรมดูก่อนว่า
ถ้าจะทำสังฆทานอุทิศ กุศลให้เขาได้ไปผุดไปเกิด เขาจะยอมอโหสิกรรมให้หรือไม่ เพราะการจองเวร
จองกรรมกันอยู่เช่นนี้ ไม่มีทางที่จะหมดเวรหมดกรรม จะต้อง ผลัดกันรับผลกรรม อีกร้อยชาติพันชาติ
ถ้าเขาไม่ยอม ก็ไม่มีทางจะ ช่วยกันได้ นอกจากให้คนไข้อโหสิกรรมเจ้าเวรนายกรรมให้หมด
จะได้ดับชีวิตลงโดยไม่ยึดติดอาฆาตมาดร้ายกันต่อไป แต่ส่วนมากเขาก็ยอม
เมื่อเขายอม คนไข้ก็หายวันหายคืน ไม่ต้องรักษาอะไรกันมาก

บางคนป่วยเพราะธาตุในกาย ขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ใช้พลัง จิต เสริมธาตุที่ขาดให้สมบูรณ์
สม่ำเสมอกับธาตุอื่น เขาก็จะหายเป็นปกติ ในไม่ช้า พลังจิตที่ว่านี้ ได้อาศัยกสิณเข้าช่วย
ขาดธาตุใดก็เสริมธาตุนั้น เขาก็จะหายเจ็บป่วย

แต่มีข้อแม้ว่า เมื่อหายแล้วเขาจะต้องมาฝึกทำสมาธิอย่างน้อย ๗ วัน ครั้นมาฝึกแล้ว ส่วนมาก
เขาก็จะยินดีปฏิบัติต่อไป เพราะได้รู้รสแห่ง ความสงบ ได้รู้ความจริงของชีวิตที่ต้องเจ็บป่วย
ก็เนื่องจากกรรมที่ได้ กระทำมาในอดีต หรือความไม่เที่ยงแห่งสังขาร ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้อง แก่
ต้องเจ็บเป็นธรรมดา ความตายจะมาถึงเมื่อไร ไม่อาจรู้ได้ จึงควรอยู่ ในความไม่ประมาท
รีบสร้างสมแต่ความดี มีการให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิ อันจะทำให้เกิดปัญญา
มองเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็น สิ่งที่จะต้องเกิดต้องมี แก่ทุกผู้ทุกนาม

บางทีเขาไม่ได้มารักษา ใช้ดวงตามองไปเห็นว่า เขาพอจะมีชีวิต ทำคุณงามความดีต่อไปได้
ก็จะไปช่วยรักษาให้ หายแล้วเขาก็จะตามมา หาจนถึงวัด

ทั้งหมดที่อาตมาได้สงเคราะห์ชาวบ้าน ทั้งที่อยู่ใกล้และไกล ล้วน กระทำไปด้วยจิตเมตตาอย่างเดียว
ไม่มีสินจ้างรางวัล หรือเรียกร้องค่าครู ค่ารักษาใดๆ ทั้งสิ้น บางคนที่เขามีฐานะดี หายเจ็บป่วยแล้ว
ก็เอาเงิน ทองข้าวของมาถวายเป็นอันมาก แต่อาตมาก็ไม่รับ เพราะไม่มีความจำเป็น ที่ต้องรับ
หรือต้องใช้ อาหารบิณฑบาตไปรับมาแล้ว ก็ฉันหนเดียว ยังเหลือเสียอีก อย่างวันพระก็เหลือมาก
จึงเอาของเหลือจากพระเณร รูปอื่นๆ มารวมกัน ยกไปให้เด็กๆ ที่โรงเรียน

หากมีใครจะทำบุญจริงๆ ก็ให้เอาไปบริจาคสร้างโบสถ์ สร้างศาลา สร้างกุฏิ ทำสังฆทานอุทิศให้
เจ้าเวรนายกรรม และเป็นบุญสะสมของ ตนเอง จึงมีผู้ศรัทธาเอาปัจจัยมาช่วยวัดมากขึ้น และถ้ามีเหลือ
ก็แบ่ง เอาไปช่วยวัดอื่นๆที่ขัดสนบ้าง โดยเฉพาะอาหารแห้ง อาหารกระป๋อง ข้าวสาร มีมากจน
ไม่รู้จะเอาไปไหนหมด ก็ได้เจือจานแบ่งปันไปทาง วัดที่กันดาร

อาจารย์เจ้าอาวาสและภิกษุสามเณร ที่ได้รับการแบ่งปัน ท่านก็มา คิดว่า ทำไมวัดที่อาตมาอยู่
จึงมีผู้มาทำบุญมากมาย ส่วนวัดของตน กลับไม่มีใครสนใจ ทั้งที่เป็นวัดในพระพุทธศาสนา
อย่างเดียวกัน บางวัน อาหารบิณฑบาต ก็ไม่พอขบฉัน พระเณรที่ทนลำบากไม่ไหว
ถ้าไม่สึก หาลาเพศไป ก็จะต้องหาทางไปอยู่วัดอื่นที่ดีกว่า

ปัญหานี้ มักจะเกิดขึ้นกับวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรไทย ทำให้ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
ไม่กระจายออกไปสู่พุทธบริษัทอย่าง ทั่วถึง วัดไหนมีพระดี สร้างศรัทธาให้ประชาชนได้
พุทธบริษัทก็จะ ไปรวมอยู่ด้วยเป็นกระจุก วัดไหนไม่มีพระดีที่จะสร้างศรัทธาแก่ประชาชน
ก็ได้แต่เป็นหลวงตาเฝ้าวัดไปตามๆกัน และมีอยู่เป็นส่วนมากเสียด้วย

คำว่าพระดีนั้น บางทีก็ดีไม่จริง ดีอย่างปลอมๆ กลายเป็นนักธุรกิจ หาเงินเข้าวัดบ้าง เข้าตัวเองบ้าง
ร่ำรวยจนต้องสึกหรือให้เขาจับสึกไปก็มี พระที่เป็นพระแต่ผ้าเหลืองเครื่องหมาย แต่ไม่ประพฤติปฏิบัติ
อยู่ในพระ ธรรมวินัย แอบอ้างผ้าเหลืองหากิน ก็มีอยู่เป็นอันมาก ทำให้ศาสนาเสื่อม
ทำให้ประชาชนท้อแท้ ไม่ยอมเข้าวัด เป็นอุปสรรคขัดขวางการ สร้างสมคุณความดีของเขา

สภาพความจริงดังกล่าวนี้ เป็นปัญหาใหญ่สำหรับพุทธศาสนา ถึงจะมีผู้รู้มองเห็นกันมาก
ก็ไม่ทำให้ผู้มีหน้าที่ หาทางแก้ไขอย่าง จริงจัง กลับพากันเห็นเป็นเรื่องธรรมดาไป การเกิด การตาย
และสิ่ง ที่ปรุงแต่งสมมติกันขึ้นทั้งนั้น แท้จริงก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่ออยู่กับ ชาวโลก อยู่ในแวดวง
พระพุทธศาสนา ซึ่งมีคำสอนเป็นสัจธรรม เป็น ที่ยอมรับของผู้มีปัญญา และนับวันจะพากันยอมรับ
ออกไปทั่วโลก ผู้ มีหน้าที่ก็จำเป็นจะต้องรู้จักแยกแยะความดีความชั่ว ว่าชอบด้วยธรรม วินัยหรือไม่
และควรจะรักษาสัจธรรมนั้นไว้อย่างไร จึงจะงดงามอยู่ใน จิตใจของสาธุชน

จริงอยู่สัจธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นของเกิดขึ้นมีอยู่ ไม่ว่าใครจะทำอย่างไร สัจธรรม
ก็คงเป็นอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่การเข้า ถึงนี้ซิ มหาชนจะเข้าถึงสัจธรรมได้หรือไม่

สังคมชาวโลกของเรา แม้จะเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุ จนเกินความ จำเป็น ก็จะอยู่ด้วยวัตถุอย่างเดียวไม่ได้
เพราะมนุษย์ชาวโลกยังมีความ คิดจิตใจ ที่จะต้องพึ่งพิงอาศัยอยู่ ความคิดจิตใจดังกล่าวนี้
แยกแยะออก ได้เป็นสองฝ่าย คือฝ่ายสร้างและฝ่ายทำลาย

ฝ่ายสร้าง ก็คือคุณงามความดี ความมีสามัคคีเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน เป็นสัจธรรม
ฝ่ายสัมมาทิฐิที่จะทำให้สังคมชาวโลก อยู่ กันได้ด้วยความสงบสุข

ส่วน ฝ่ายทำลาย นั้น ก็คือความชั่วร้าย ความคิดเบียดเบียน แย่งชิงผลประโยชน์ ฆ่าฟันกัน
เป็นการตัดสินกันขั้นสุดท้าย ก็เป็น สัจธรรมเหมือนกัน ที่เป็นฝ่ายมิจฉาทิฐิ หรือพูดง่ายๆ
ก็คือความดี กับความชั่ว

เจ้าความดีกับความชั่วนี้ ในโลกมนุษย์เรามันก็มีอยู่ทั้งสองอย่าง ขึ้นอยู่กับว่า อย่างไหนจะมีมากกว่ากัน
เวลานี้โลกสงบสุขก็เพราะมี ความดี อยู่มากกว่าความชั่ว เมื่อใดความชั่วมากกว่าความดี โลกก็จะ
สงบอยู่ไม่ได้ มนุษย์ก็จะฆ่าฟันทำลายกัน จนเกิดกลียุคด้วยอานาจของ กิเลสตัณหา โลภะ โทสะ โมหะ

พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า หรือถ้า มันมีอยู่ ก็ต้องคอยชำระล้างขจัดปัดเป่า
ให้มันเบาบางหรือหมดไป ด้วย การรักษาศีล บำเพ็ญภาวนาสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง
ในการดำเนินชีวิตของคนเรา เมื่อละความชั่ว ก็ต้องไปทำความดี รักษา ความดีให้มากขึ้น
เพื่อให้โลกร่มเย็นสงบสุข

ด้วยเหตุนี้ สัจธรรมที่เป็นฝ่ายสัมมาทิฐิ จึงจะเป็นที่เราจะต้องระวัง รักษา ป้องกันไม่ให้ความชั่วเข้ามา
ทำให้เสียหาย ทำลายความเชื่อหรือ ศรัทธาของผู้ที่จะทำความดีให้ย่อยยับไป เพราะการทำความดี
ต้อง อาศัยศรัทธาเป็นพื้นฐาน ศรัทธาในสิ่งที่ถูกที่ควร ศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติ ที่จะทำให้จิตใจ
ตั้งอยู่ในความดี และศรัทธาเมื่อปฏิบัติตามแล้ว จะเป็น ประโยชน์สุขแก่ตน

การที่มนุษย์สังคม จะทำความดีโดยอาศัยศรัทธาเป็นพื้นฐานเช่นนี้ ผู้มีหน้าที่จึงจำเป็นจะต้อง
หาทางแก้ไข อย่าให้วัดสักแต่เป็นวัด อย่าให้ พระสักแต่ว่าเป็นพระ ภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา ของพระบรม ศาสดา จะต้องรักษาศรัทธาของพระชาชนเอาไว้ ด้วยการปฏิบัติอยู่ใน ธรรมวินัย มีศีล สมาธิ ปัญญา ให้มหาชนศรัทธาอย่างทั่วถึง

อาตมาพูดอย่างตรงๆ เพื่อให้เอาไปคิด อันที่จริงพระตามชนบท ห่างไกลความเจริญ ท่านก็มาจากชาวไร่ชาวนา พื้นฐานความรู้ก็ไม่มาก ไปกว่าชาวไร่ชาวนาเท่าใดนัก แม้ท่านจะศรัทธาเข้ามาบวชในพระ ศาสนา แต่โอกาสที่จะหาความรู้ในทางปฏิบัตินั้นยังมีน้อยอยู่ ท่านจึง ไม่สามารถจะปฏิบัติถูกต้องได้ นอกจากทำไปตามประเพณีที่เขานิยมกัน ประเพณีบางอย่างไม่ชอบด้วยธรรมวินัย แต่เขานิยมมาเก่าก่อน อย่าง พระเณรทางเหนือ ฉันข้าวเย็นได้ ซ้ำร้ายถึงกับไปร่วมสำรับกับโยมที่ บ้าน โยมเองตอนบวชก็ประพฤติเช่นนี้ จึงพากันคิดว่าไม่ผิด เพราะ สมัยปู่ก็ทำกันมาอย่างนี้ ท่านยังหาว่าพระที่ไม่ฉันข้าวเย็นเป็นบาป เพราะทรมานตนเองให้เกิดทุกข์

เมื่อมีปัญหาเช่นนี้ หลวงพ่ออาจารย์ ท่านมหาจำเริญ และอาตมาจึง มาปรึกษากันว่า ควรจะทำอย่างไร
ก็เห็นว่าจะเริ่มต้นกับวัดที่อยู่ใกล้ๆ ก่อน โดยเฉพาะวัดในเขตตำบล ที่หลวงพ่ออาจารย์
เป็นเจ้าคณะตำบลอยู่ ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๐ กว่าวัด ตามปกติก็มีภิกษุสามเณรในเขตตำบล
มาเรียนนักธรรมบาลีกันอยู่แล้ว แต่ความสำคัญ ขึ้นอยู่กับเจ้าวัดซึ่งเป็น ประธานสงฆ์
เป็นผู้นำของชาววัดและชาวบ้าน จะต้องเป็นแบบฉบับ ให้ได้เสียก่อน

ความคิดในการปฏิบัติ ในศีล สมาธิ ปัญญา ได้แพร่ออกไปบ้าง แล้ว ภิกษุสามเณรที่มาเรียนนักธรรม
บาลี ก็ได้มีชั่วโมงให้ปฏิบัติกรรมฐาน อยู่ด้วย ญาติโยมในตำบลก็สนใจที่จะปฏิบัติกันตามโอกาสที่เขามี
ถ้าสมภารเจ้าวัดไม่คิดปฏิบัติเสียบ้าง ต่อไปก็จะไม่มีใครเข้าวัด หมดความ เลื่อมใส
ท่านจะอยู่ได้อย่างไร

เมื่อเห็นกันเช่นนี้ หลวงพ่ออาจารย์ในฐานะเจ้าคณะตำบล จึง นิมนต์เจ้าอาวาสซึ่งอยู่ในเขตตำบล
ของท่าน มาชี้แจงทำความเข้าใจ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุครับ คุณน้ำ :b8:

ว่างเมื่อไหร่ ก็จะแวะเข้ามาอ่านทีละตอนครับ :b1: :b4:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐. เปิดประตูนรก

เคยมีท่านเจ้าอาวาสหลายแห่ง ได้มาถามข้อสงสัยในความแตกต่าง ระหว่างวัดของท่าน
กับวัดที่อาตมาอยู่ ก็ได้ให้ข้อคิดไปว่า การที่วัดของ ท่านขัดสนกันดาร ไม่ค่อยมีผู้สนใจเข้าไปทำบุญ
ให้ทาน ทั้งที่เป็นวัด เหมือนกัน มีภิกษุสามเณรอยู่เช่นกัน สาเหตุก็ขึ้นอยู่กับตัวท่าน และ
ภิกษุสามเณรเอง มักจะย่อหย่อนในธรรมวินัย ไม่ยึดถือศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหลักปฏิบัติ
อยู่กันแบบหลวงตาเฝ้าวัด จึงไม่ทำให้ชาวบ้านเขาเกิด ศรัทธาเลื่อมใส

พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า ธรรมย่อมรักษาคุ้มครอง ผู้ปฏิบัติธรรม สาวกของพระตถาคต
เมื่อปฏิบัติธรรมอยู่ ย่อมไม่ประสบ ความอดอยาก ดังนั้นทางที่ถูกที่ควร จึงต้องพากันปฏิบัติธรรม
พระธรรม ก็จะเลี้ยงดูเรา

ตอนแรกหลวงพ่ออาจารย์ได้กล่าวว่า

“การเป็นสมณะเพียงการอุปสมบท นุ่งเหลืองห่มเหลือง ท่องเจ็ด ตำนาน สิบสองตำนานได้ ให้ศีล
อ่านใบลานแล้วเทศน์ให้โยมเขาฟัง จะได้ ชื่อว่าเป็นสมณะก็หาไม่ จะต้องปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
เคร่งครัดอยู่ใน พระธรรมวินัยด้วย ต้องรู้จักรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ต้องเจริญสมาธิให้ จิตตั้งมั่น มีสติ
เพื่อเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในธรรมด้วย จึงจะได้ชื่อ ว่าเป็นสมณะ
เป็นเนื้อนาบุญของชาวบ้านอย่างแท้จริง

การอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนานั้น อย่าคิดว่าบวชตามประเพณี จะได้บุญ
ได้ขึ้นสวรรค์เพียงเท่านั้น

ถ้าบวชแล้วมิได้ปฏิบัติ ตามธรรมวินัย มิได้เจริญสมาธิเพื่อแสวงหาความหลุดพ้นจากกองทุกข์
ก็เท่ากับเราอยู่ในความประมาท มีโอกาสจะลงนรกได้ง่ายนัก ศีล ๕ ที่ท่านเคยให้ชาวบ้านสมาทานนั้น
ถ้าเราทำผิดเสียเอง ละเมิดเสียเอง จะเป็นบาปสักแค่ไหน ขอให้รู้ว่า บุญบาปมีจริง นรกสวรรค์มีจริง
ทำกรรมสิ่งใดไว้ ย่อมจะได้รับผลของกรรมนั้น พระพุทธศาสนาของเรา ถือกรรมเป็นเรื่องสำคัญ
ถ้าไม่มีการกระทำ ก็จะไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น

การเทศน์ธรรมให้ชาวบ้านฟัง หรือตามที่เขานิมนต์ไป ท่านถือว่า เป็นการให้ธรรมเป็นทาน
สืบต่อพระประสงค์ของพระบรมศาสดา ท่านจึง ใช้คำว่าโปรดสัตว์ ช่วยผู้อื่นให้เห็นความจริง
ไม่มัวเมาอยู่ในกิเลสตัณหา เมื่อโปรดสัตว์ก็ไปหวังผลอะไรไม่ได้ ใครไปหวังโลภอยากได้
เครื่องกัณฑ์บูชาธรรมของเขา ก็เป็นบาปถึงตกนรก ไปได้รับทุกข์ทรมานแสน สาหัส
ท่านเชื่อไหมว่านรกสวรรค์มีจริง”

หลวงพ่ออาจารย์เงียบไปพักหนึ่ง แล้วหันมาทางอาตมาบอกว่า

“คุณช่วยเปิดนรก ให้ท่านอาจารย์ทั้งหลายเห็นหน่อยซิ เอาแค่พระเทศน์เพื่อหวังลาภ
จะได้รับผลอย่างไรก็พอ”

เจ้าอาวาสทุกวัดหันมามองอาตมาด้วยความสงสัย ไม่รู้ว่าจะเปิด นรกอย่างไร จึงได้เรียนกับท่านว่า

“พระคุณเจ้า…นิมนต์นั่งในท่าสมาธิ หลับตาลง ทำจิตให้สงบ
อย่านึกอย่าคิดอะไรทั้งสิ้น ประเดี๋ยวผมจะเปิดนรกให้ดู”

พระคุณเจ้าทั้งหมด พากันกระทำตาม เมื่อพิจารณาวารจิตของ แต่ละรูปว่า จิตสงบดีแล้ว
อาตมาก็เริ่มเปิดนรก ทำให้มโนภาพของ พระคุณเจ้าเหล่านั้น เป็นภาพขึ้น

แดนนรกนั้น เป็นสถานที่อันกว้างใหญ่ มองไปทางไหน ก็เห็นแต่ เปลวไฟ แลบเลียอยู่ทั่วไป
จนรู้ได้ถึงความร้อนแรงกว่าไฟใดๆ ที่มีอยู่ ในมนุษย์โลกนี้ ควันไฟกระจายไปทั่ว ประดุจหมอกดำ
และขาวปกคลุม ออกไปเป็นระยะไกล ไม่สามารถจะมองเห็นได้ทั่วถึง นอกจากจะเข้าไป ใกล้ๆ

ทันใดนั้น ก็เกิดภาพที่ชัดเจนปรากฏเฉพาะหน้า เป็นภาพภิกษุ รูปหนึ่งครองจีวรเรียบร้อย ท่าทางสำรวม
นั่งอยู่บนธรรมาสน์ปิดทอง ประดับด้วยกระจกสีต่างๆ แวววาวน่าเลื่อมใส
ในมือทั้งสองประคองใบลานเทศน์ อยู่ในระดับหน้าอก ปากก็เทศน์ส่งเสียงก้องกังวาน

เพียงชั่วขณะหนึ่ง กลับมีไฟติดพรึ่บขึ้นที่ใบลานธรรม ไหม้จน ใบลานธรรมมอดลง
แล้วลุกลามไปที่ปาก ที่ตัว ไฟยิ่งลุกโพลงขึ้นจนท่วม แล้วร่างภิกษุนักเทศน์ก็ไหม้ดำ
กลายเป็นขี้เถ้ากองหนึ่ง เป็นที่น่าสังเวช สลดใจยิ่งนัก

สักพักหนึ่งกองขี้เถ้า ก็กลับเป็นรูปร่างอย่างเดิมขึ้นมาใหม่ แล้วไฟ ก็ติดใบลานอีก
เป็นเช่นนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า นับเป็นหมื่นครั้ง ทุกข์ ทรมานสาหัสเพราะไฟลวกเผาให้ปวดแสบ
เพราะความโลภในเครื่อง กัณฑ์เทศน์ คิดแต่จะให้เขาถวายปัจจัยมากๆ พยายามเทศน์ให้ถูก ใจคนฟัง

เพียงความโลภอยากได้กัณฑ์เทศน์ มีผลเห็นปานนี้ ก็ที่พวกอ้าง ว่าเป็นอุบาสกอุบาสิกา
พากันกระทำผิดคิดมิชอบ เช่น ยักยอกเอาเงิน ที่เขาอุทิศถวาย สร้างโบสถ์ศาลาไปใช้ส่วนตัว
หยิบฉวยเอาของวัดที่ไม่ ได้รับอนุญาต และอีกมากมาย จะได้รับผลกรรมสักเพียงไหน

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า “ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า”

ก็ด้วยเหตุนี้ ผลบาปนี้มันน่าสะพรึงกลัวสยดสยองจริงหนอ เรามา บวชแล้ว กินของอันชาวบ้าน
เขาถวาย หมายจะส่งเสริมให้มีโอกาสปฏิบัติ ดีปฏิบัติชอบ เพื่อเป็นเนื้อนาบุญของเขาแล้ว
แต่ไม่ปฏิบัติ จะบาปกรรม สักแค่ไหน เราเป็นผู้ประมาทโดยแท้ ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะทรงเมตตา
ก็คงช่วยเราไม่ได้ เพราะเราไม่ช่วยตัวเอง

“พระคุณเจ้า ออกจากสมาธิลืมตาได้แล้ว”

อาตมาบอกด้วยเสียงเรียบๆ อ่อนโยน พร้อมกันนั้นหลวงพ่ออาจารย์ ได้ถามขึ้นว่า

“พระคุณเจ้า…รู้สึกอย่างไรบ้าง นรกมีจริงไหม นี่เป็นเพียงเปิด ทางให้เห็นเป็นส่วนน้อยเท่านั้น
ถ้าท่านพากเพียรปฏิบัติกรรมฐาน ด้วยตนเอง ก็จะเห็นด้วยตนเองชัดเจนยิ่งกว่านี้”

ท่านเจ้าอาวาสทุกรูปต่างพร้อมใจกันลุกขึ้นนั่งคุกเข่า กราบหลวงพ่อ อาจารย์
แล้วหันมาพร้อมกับพนมมือให้อาตมา พูดเหมือนนัดกันว่า

“ต่อไปนี้ กระผมจะขอปฏิบัติพระกรรมฐาน ตั้งมั่นอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา อย่างเคร่งครัด
กินข้าวสุกชาวบ้านเปล่าๆ มานานแล้ว บาป คงจะเกาะอยู่เต็มตัว ของหลวงพ่อและท่านอาจารย์
จงสั่งสอนให้พระ กรรมฐานแก่กระผมด้วย”

เป็นอันว่า เจ้าอาวาสทุกวัดภายในตำบล ได้พากันหันมาปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ฝึกสมาธิกันจริงจัง
ตามความคิดที่ได้คิดกันไว้ อันการปฏิบัติ ธรรมนี้ ไม่เหมือนวิชาความรู้ที่กำหนดเป็นชั้น เป็นเวลา
ชั้นประถมจะ สำเร็จในกี่ปี มัธยมจะสำเร็จในกี่ปี มหาวิทยาลัยจะสำเร็จในกี่ปี
จะได้ รับประกาศนียบัตรหรือปริญญา แสดงว่าเรียนจบแล้ว

การปฏิบัติธรรมย่อมขึ้นอยู่กับความเพียรพยายาม ความมานะ อดทน และวาสนาบารมี
ที่สร้างสมมาในอดีตชาติ หรือสร้างขึ้นใหม่ใน ปัจจุบันชาติ บางท่านปฏิบัติวันเดียว หรือ ๗ วัน ๗ ปี
จึงสำเร็จ แต่ที่ แน่นอน เมื่อปฏิบัติไปโดยติดต่อสืบเนื่อง กล้าเสียสละแม้แต่ชีวิต จะเป็นจะตาย
ก็ไม่ย่อท้อ ไม่เสียดายอาลัยในชีวิต จะช้าหรือเร็วก็ต้องบรรลุผล แน่นอน

พระพุทธเจ้าของเรา ท่านทรงสร้างสมบารมีมาไม่รู้กี่ร้อยกี่พันชาติ แม้ในชาติสุดท้าย
จะได้ตรัสรู้สัมโพธิญาณ ก็ต้องใช้เวลาถึง ๖ ปี ยากที่ ใครจะทำได้ และไม่มีใครทำมาก่อนเลย
แล้วเราจะมาเหยาะแหยะ ไม่เอา จริง จะสำเร็จได้อย่างไร

และเมื่อสำเร็จแล้ว ก็รู้ได้เฉพาะตน จะมาเอายศ เอาเกียรติ เอา โด่งดังก็ไม่ได้อย่างชาวโลก
ถ้าเรามีเมตตาปรารถนาจะช่วยเพื่อนร่วมโลก ที่อยู่ในกองทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน ก็เพียงแต่
เอาคำสั่งสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงกล่าวไง้ดีแล้ว และเราได้รู้เห็น มาบอก แก่ชาวโลกเท่านั้น

คำสอนนั้นเป็นแต่วิธีการปฏิบัติเพื่อถึงความพ้นทุกข์ ส่วนใครจะ เชื่อถือปฏิบัติตามหรือไม่ ก็สุดแต่ตัวเขา
เราไม่มีอำนาจใดๆ จะไป บังคับหรือหยิบยื่นผลการปฏิบัติให้แก่เขาได้ การขยายเผยแพร่ธรรมปฏิบัติ
จึงต้องการเวลา

ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมะแห่งอัตตะโน นาโถ คือ ต้อง พึ่งตนของตนเอง ช่วยตัวเอง
ไม่มีพระเจ้าองค์ใดจะช่วยได้ ไม่ว่าจะจุด ธูปเทียนถวายดอกไม้สักการะจนเสียงแหบแห้ง
หรือหัวใจจะแตกสลาย จนสายเลือดแทบจะนองแผ่นดิน

ท่านทั้งหลายเอ๋ย…ขึ้นชื่อว่าทุกข์นั้น บางทีเราก็มองไม่เห็นว่าเป็น ทุกข์ จงพิจารณาการดำเนินชีวิต
ของตน ให้เห็นเสียก่อนว่า มันเป็น ทุกข์อย่างไร น่าเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่ายแค่ไหน ทรมานจิตใจเพียงใด

แม้เห็นแล้ว เรามองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ทนต่อทุกข์นั้นได้ เราก็คงจะ ขวนขวายที่จะหาทางขจัดทุกข์
หรือหนีทุกข์ให้พ้นได้ เพราะกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันครอบงำให้เห็นเป็นเช่นนั้น

ดังนั้นจะต้องทำจิตให้สงบ ตั้งมั่น ทำจิตให้ว่างเปล่า ให้อยู่เหนือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ขันธ์ ๕ ให้ได้
เสียก่อน นั่นแหละ จึงจะเห็น ว่า กองทุกข์นั้นใหญ่เท่าภูเขาหลวง เราจะกวาดมันออกไปได้อย่างไร?

การเปิดนรกสวรรค์ ทำให้พระคุณเจ้าของวัดต่างๆ ในตำบล ได้ ตระหนักถึงผลบุญผลบาป
แล้วน้อมนำให้ท่านเหล่านั้นหันมาปฏิบัติธรรม สมาธิอย่างจริงใจ

วิธีนี้อาตมาจึงเห็นว่า น่าจะเป็นวิธีที่จะเผยแพร่กับคนที่ยังมีจิต หยาบ ไม่เชื่อถือ ให้เขาเชื่อถือได้
อาตมาจึงได้นำมาใช้กับคนอื่นๆ ตามความเหมาะสม

ดังนั้นเมื่อจะชักจูงจิตใจให้เขาเป็นผลแห่งคุณความดี ยินดีในทาน ในศีล
ก็ให้เขาได้เห็นภาพสวรรค์วิมาน เทพยดานางฟ้าที่ได้ไปเสวยสุข เพราะเหตุนั้นๆ

แต่เมื่อจะทรมานคนที่มีจิตใจหยาบ ไม่เชื่อถือพระพุทธศาสนา ถือว่า เป็นมิจฉาทิฐิ เห็นว่าทำบุญแล้ว
ไม่ได้บุญ ทำบาปก็ไม่เกิดผล ตายแล้ว ไม่ไปเกิดอีก ก็จะแสดงนรกให้เขาเห็นผลกรรม
ที่เขาได้กระทำขึ้น ก็จะ ได้รับผลดีตามสมควร

ที่ว่าตามสมควรนั้น ก็เพราะว่าในชาติก่อน บางคนไม่ได้สะสมบุญ วาสนามาเลย เป็นสัตว์นรก
เพิ่งพ้นโทษมาเกิดใหม่เป็นมนุษย์ในชาตินี้ จิตยังมืดมน ไม่รู้ถูกรู้ผิด ถึงจะแนะนำอย่างไร
เขาก็ไม่ยอมรับความเชื่อ เรื่องบุญบาปได้โดยง่าย

ทั้งนี้ก็เหมือนเรือที่สร้างด้วยไม้ เอาเกลือบรรทุกไปจนเต็มลำ ไม้ก็ ไม่รู้จักว่ารสเกลือเป็นอย่างไร
เป็นพวกมามืดไปมืด เป็นดอกบัวที่อยู่ใน โคลนตม นับแต่จะเป็นเหยื่อของเต่า ปู ปลา อย่างเดียว

บางคนพ้นโทษทุกข์จากนรก จากในอดีตชาติมาแล้ว มีบุญหนุน ส่งอยู่บ้าง ก็พอรู้ดีรู้ชั่ว
แบบหลับๆ ตื่นๆ พอจะสอดแทรกความผิดถูก เข้าไปได้บ้าง

บางคนมีวาสนาบารมีทำไว้จากอดีตชาติดีพอสมควร แต่ยังไม่เต็ม เปี่ยม
เพียงสะกิดให้รู้ก็ยินดีในการปฏิบัติ

บางคนไม่ต้องมีใครสะกิดให้รู้ แต่เมื่อถึงเวลา เขาก็เข้าหาธรรม ปฏิบิติได้เอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร