วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 10:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 21:01
โพสต์: 54

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
งานอดิเรก: ร้อยลูกปัด
ชื่อเล่น: พลอย
อายุ: 22
ที่อยู่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


คือว่า พลอยก็ได้ลองฝึกเอาสติมารู้การกระทำต่างๆในชีวิตประจำวัน
ผลก็คือ พลอยรู้สึกคล้ายว่า มีสติมากขึ้นในการกระทำสิ่งต่างๆ

แต่ก็น่าแปลกใจที่ว่า บางทีก็รับรู้อารมณ์ต่างๆในแต่ละการกระทำเช่น รู้สึกชอบ รำคาญ เบื่อ ฟุ้งซ่าน ประกอบกับการกระทำแต่ละอย่าง ไม่น่าเชื่อว่า"การล้างมือ"แต่ละครั้งก็ยังมีอารมณ์ที่แตกต่างกัน

ก็เลยเริ่มสงสัยว่า ที่รู้อารมณ์ต่างๆนี่เป็นเพราะ
-อารมณ์มีอยู่แล้วแต่รู้ไม่เท่าทัน หรือว่า
-จริงๆไม่ได้มีอยู่แต่เรามีสมาธิสนใจในสิ่งนั้นมาก เราก็เลยรู้สิ่งๆนั้นชัดเจนขึ้น มีการปรุงแต่งมากขึ้ัน

และเริ่มสงสัยว่าควรทำอย่างไรต่อไป
-รู้เท่าทันอารมณ์นั้นๆทั้งที่ดีหรือไม่ดี หรือว่า
-รู้จักปรับเปลี่ยนอารมณ์ เลือกอารมณ์ที่ดีมาใช้ และรู้จักปรับอารมณ์ที่ไม่ดีให้เป็นดี หรือว่า
จะมีวิธีที่เหมาะสมอื่นๆอีก

ช่วยแนะนำพลอยหน่อยนะคะ เพราะพลอยเริ่มสับสน สงสัยเบาๆ
พอดีเพิ่งเริ่มฝึกได้ไม่นานนัก ยังอยู่ในขึ้นเริ่มต้น ช่วยชี้แนะด้วยนะคะ

ขอบคุณค่า -/-


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 19:31
โพสต์: 169

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: ทำดี
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มที่ชอบ
ชื่อเล่น: เก็บเกี่ยว
อายุ: 0
ที่อยู่: ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบ ตามความเข้าใจของผมเองนะครับ จากข้อความที่อ่านมาแล้วผมคิดว่า คุณพัฒนาตัวเองได้เร็วนะ การฝึกสติบ่อยๆย่อมเข้าใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น ตามความเป็นจริง ว่าทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอตามธาตุ แลสังขารทั้งหลาย นะจุดหนึ่งของสติเราจะเข้าใจตัวเองและจะเข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น ความเป็นธรรมดา ของสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล เราต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ โดยพิจารณาจากสิ่งรอบข้าง โดยใช้สติวางใจให้เป็นกลางๆไม่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง ไม่รักดี ไม่รังเกึยจชั่วจนมากไป เปรียบดั้งเรากินอาหารให้พอเหมาะกับร่างกาย และถ่ายของเสียออกจากร่างกายให้ถูกต้องตามเวลา ร่างกายก็เป็นไปได้โดยปกติอยู่ได้ ใจก็เช่นเดียวกันย่อมต้องการสติให้เหมาะสมกับอารมณ์ที่ประสบความพอใจและไม่พอใจนั้นเอง.เท่านี้ก่อนนะ :b17:

.....................................................
รักษาที่ดีไว้ ก่อความดีใหม่ๆ ละๆๆชั่วต่อๆไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมขอให้ keyword ชื่อของครูบาอาจารย์ที่ท่านเน้นเรื่องการเจริญสติ
และท่านเหล่านี้ใช้ภาษาเรียบง่าย เน้นการปฏิบัติโดยตรง

แต่ก่อนอื่นที่จะศึกษาจากอาจารย์ท่านใดก็ตาม
อยากจะให้ศึกษาตั้งต้นที่หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ในเรื่อง สมาธิ
จะเข้าใจภาพรวมของการทำสมาธิได้เป้นอย่างดี ว่าทำทำไม ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำต้องทำอย่างไร ท่านจะแนะนำภาพรวมได้ครอบคลุมกว้างขวาง ด้วยความเรียบง่าย
http://www.thaniyo.com/index.php/typogr ... 6-06-35-16



เมื่อเข้าใจภาพรวมแล้ว ก็ค่อยศึกษาธรรมเทศนาจากชื่อต่อไปนี้
ท่านจะเข้าใจได้ง่ายยิ่งๆขึ้นไปอีก

- หลวงพ่อชา สุภัทโธ
- หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
- หลวงพ่อเทียน จิตสุโภ
- หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโน
- พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก (Mitsuo Gavesako)
- หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
- หลวงพ่อปราโมช ปราโมชโช


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


buddha's student เขียน:
คือว่า พลอยก็ได้ลองฝึกเอาสติมารู้การกระทำต่างๆในชีวิตประจำวัน
ผลก็คือ พลอยรู้สึกคล้ายว่า มีสติมากขึ้นในการกระทำสิ่งต่างๆ

แต่ก็น่าแปลกใจที่ว่า บางทีก็รับรู้อารมณ์ต่างๆในแต่ละการกระทำเช่น รู้สึกชอบ รำคาญ เบื่อ ฟุ้งซ่าน ประกอบกับการกระทำแต่ละอย่าง ไม่น่าเชื่อว่า"การล้างมือ"แต่ละครั้งก็ยังมีอารมณ์ที่แตกต่างกัน

ก็เลยเริ่มสงสัยว่า ที่รู้อารมณ์ต่างๆนี่เป็นเพราะ
-อารมณ์มีอยู่แล้วแต่รู้ไม่เท่าทัน หรือว่า
-จริงๆไม่ได้มีอยู่แต่เรามีสมาธิสนใจในสิ่งนั้นมาก เราก็เลยรู้สิ่งๆนั้นชัดเจนขึ้น มีการปรุงแต่งมากขึ้ัน

และเริ่มสงสัยว่าควรทำอย่างไรต่อไป
-รู้เท่าทันอารมณ์นั้นๆทั้งที่ดีหรือไม่ดี หรือว่า
-รู้จักปรับเปลี่ยนอารมณ์ เลือกอารมณ์ที่ดีมาใช้ และรู้จักปรับอารมณ์ที่ไม่ดีให้เป็นดี หรือว่า
จะมีวิธีที่เหมาะสมอื่นๆอีก

ช่วยแนะนำพลอยหน่อยนะคะ เพราะพลอยเริ่มสับสน สงสัยเบาๆ
พอดีเพิ่งเริ่มฝึกได้ไม่นานนัก ยังอยู่ในขึ้นเริ่มต้น ช่วยชี้แนะด้วยนะคะ


แต่ก็น่าแปลกใจที่ว่า บางทีก็รับรู้อารมณ์ต่างๆในแต่ละการกระทำเช่น รู้สึกชอบ รำคาญ เบื่อ ฟุ้งซ่าน ประกอบกับการกระทำแต่ละอย่าง ไม่น่าเชื่อว่า "การล้างมือ" แต่ละครั้งก็ยังมีอารมณ์ที่แตกต่างกัน

ก็ปกติดีนี่ครับ ไม่เห็นมีอะไรแปลกประหลาดหรือผิดปกติแต่อย่างใด เพราะมันเป็นอย่างนั้นเอง เช่นว่า ขณะทำอะไรๆอยู่แล้ว...(รู้สึกชอบ รำคาญ เบื่อ ฟุ้งซ่าน....) แม้ขณะล้างมือเป็นต้นก็รู้สึกเช่นนั้นได้
ถึงจะล้างถ้วย ล้างจาน กวาดบ้าน ถูเรือน อาบน้ำแต่งตัว...ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด ฯลฯ ความคิดความรู้สึกดังกล่าวเป็นต้นก็เกิดสลับไปมาได้ เช่นบางขณะเบื่อ แว๊บรำคาญ หงุดหงิด ชอบ ชัง ฯลฯ รู้สึกได้เป็นไปได้ทั้งนั้น เพราะธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น

ก็เลยเริ่มสงสัยว่า ที่รู้อารมณ์ต่างๆนี่เป็นเพราะ
-อารมณ์มีอยู่แล้วแต่รู้ไม่เท่าทัน หรือว่า
-จริงๆไม่ได้มีอยู่แต่เรามีสมาธิสนใจในสิ่งนั้นมาก เราก็เลยรู้สิ่งๆนั้นชัดเจนขึ้น มีการปรุงแต่งมากขึ้ัน


- เขามีเขาเป็นอยู่เองแล้วตามธรรมดาของมัน
- มีอยู่ แต่ก่อนหน้าเราไม่รู้ว่า มันเป็นยังงั้นๆเพราะตนเองขาดการพินิจพิจารณาหรือตามดูรู้ทันหรือมนสิการ (กายใจ) จึงไม่รู้ - (ใช้คำพูดหลายๆแนว เพื่อไม่ให้ยึดติดภาษาที่ใช้)


และเริ่มสงสัยว่าควรทำอย่างไรต่อไป
-รู้เท่าทันอารมณ์นั้นๆทั้งที่ดีหรือไม่ดี หรือว่า
-รู้จักปรับเปลี่ยนอารมณ์ เลือกอารมณ์ที่ดีมาใช้ และรู้จักปรับอารมณ์ที่ไม่ดีให้เป็นดี


-ถูกต้องตามนั้นครับ คือรู้เท่ารู้ทันอารมณ์นั้นๆทั้งดีไม่ดี ชอบใจ ไม่ชอบใจ ฯลฯ
- แล้วต่อไปเมื่อมีกำลังสติปัญญา- (ความรู้เท่ารู้ทันการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนของอารมณ์) เป็นต้น เพียงพอ ก็จะเป็นอย่างที่ถาม (รู้จักปรับเปลี่ยนอารมณ์ เลือกอารมณ์ที่ดีมาใช้ และรู้จักปรับอารมณ์ที่ไม่ดีให้เป็นดี) สมกับพุทธวจนะที่ว่า รู้จักยกจิต รู้จักข่มจิต รู้จักประคองจิต และเพ่งดูเฉยเมื่อจิตดำเนินไปถูกต้องดีแล้ว

แม้ตอนนี้ก็ฝึกหัดทำอย่างที่ว่า (รู้จักปรับเปลี่ยนอารมณ์ เลือกอารมณ์ที่ดีมาใช้ และรู้จักปรับอารมณ์ที่ไม่ดีให้เป็นดี) ดูได้นะครับ

หรือว่า
จะมีวิธีที่เหมาะสมอื่นๆอีก


คุณน่าจะเหมาะกับวิธีนี้เพราะดูคุณรู้เข้าใจทันความรู้สึกนึกคิดดีระดับหนึ่ง

ถามนิดนะครับ นอกจากฝึกหัดเจริญสติอย่างที่ทำอยู่นี่แล้ว ยังเคยฝึกดูลมหายใจเป็นต้นต้นร่วมด้วยไหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2010, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 21:01
โพสต์: 54

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
งานอดิเรก: ร้อยลูกปัด
ชื่อเล่น: พลอย
อายุ: 22
ที่อยู่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ คุณเก็บเกี่ยว คุณชาติสยามและคุณกรัชกาย ที่ทำให้พลอยเข้าใจขึ้น

# คุณชาติสยาม
ขอบคุณสำหรับเว็บไซด์ดีๆที่แนะนำนะคะ จะลองเปิดอ่าน ศึกษาดูค่ะ

# คุณกรัชกาย
พลอยฝึกดูลมหายใจอยู่ค่ะ พลอยก็พยายามนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเรื่อยๆคือ
เวลาที่พลอยอารมณ์ไม่ดีมากๆ เช่น เบื่อ ปวดหัว เครียด เหนื่อยล้า หรือ เวลาก่อนจะเริ่มทบทวนบทเรียน ก็จะหยุดทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำอยู่กลับมาเฝ้าตามรู้ลมหายใจ ซักพัก...จนรู้ว่าจิตมีกำลังมากขึ้นก็จะกลับมาทำอิริยาบทต่างๆต่อ หรือทบทวนบทเรียนต่อค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2010, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองทำอริยาบทใหญ่ เดินจงกรม และ นั่งภาวนา ตอนก่อนนอนหรือเช้ามืด 1-2 ชั่วโมง เวลาเดิมๆ
ทำติดต่อกันซัก 2 อาทิตย์ เด๋วก็รู้ว่าอะไรที่ทำให้สามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2010, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ลองทำอริยาบทใหญ่ เดินจงกรม และ นั่งภาวนา ตอนก่อนนอนหรือเช้ามืด 1-2 ชั่วโมง เวลาเดิมๆ :b20:
ทำติดต่อกันซัก 2 อาทิตย์ เด๋วก็รู้ว่าอะไรที่ทำให้สามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ดี

แสดงว่าต้องทำบ่อย ผมเคยอ่านธรรมะในการปฏิบัติแบบวิธีนี้ ว่ายืนมีสติ เดินมีสติ นั่งมีสติ เด่วสักพัก
ทำให้ช้าๆเข้าไว้ อารมณ์ก้ค่อยกลับมาปกติ ยกระดับอารมย์(EQ)ให้สูงขึ้น ความคิดดีๆก้จะค่อยๆเกิดตาม เพราะธรรมชาติจิตของมนุษย์มักไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำควบคุมอารมณ์ให้คงที่ไม่ค่อยได้ การเจริญสติที่ว่ามาทั้งหมดนั้นเป้นการบริหารจิตและพัฒนาคุณภาพจิตให้ใสสะอาดกว่าเก่าและปราศจากความเศร้าหมองทำให้ชีวิตเกิดสาระและประโยชน์ในการเรียนและการทำงานต่อไป :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2010, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ แปลว่า ระลึกรู้ ในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ตรัสสอนให้ฝึกสติปัญญา คือ การระลึกถึงความจริงของโลกและชีวิต หรือ ฝึกเอาสติดึงปัญญาออกมาใช้ เพื่อตอบสนองต่อการรับรู้และการนึกคิดของเรา

การใช้สติปัญญาที่ถูกต้องตามคำสอน คือ เมื่อเรารู้เห็นอะไร ก็ให้ระลึกเสมอว่า สิ่งที่รู้ที่เห็น ที่ได้ยินได้ฟัง ฯลฯ จริงแล้วมันเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป หรือ ไม่เที่ยง

ความรู้สึกชอบก็ไม่เที่ยง รำคาญก็ไม่เที่ยง ฟุ้งซ่านก็ไม่เที่ยง ฯ

Quote Tipitaka:
อวิชชาสูตร

[๕๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็น อย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชา จึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ฯ


ให้ฝีกพิจารณาแบบนี้ตอบสนองต่อสิ่งที่เรารับกระทบสัมผัส ควบคู่ไปกับการใช้วีวิตปกติประจำวัน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ปัญญาจะเกิดขึ้นอย่างมหาศาล ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะส่งผลให้คุณไม่หลงไปกับอารมณ์ ไม่ปรุงแต่ง ดับทุกข์ที่เกิดได้ทันที

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2010, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 21:01
โพสต์: 54

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
งานอดิเรก: ร้อยลูกปัด
ชื่อเล่น: พลอย
อายุ: 22
ที่อยู่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ แต่ว่าพลอยเรียนหนักมาก คิดว่าคงทำเท่าที่ทำได้ ณ ตอนนี้ค่ะ


โดยพลอยจะสวดมนต์(นะโมและพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ)แล้วก็นอนสมาธิจนกว่าจะหลับไป หรือถ้ามีเวลาก็จะนั่งสมาธิซัก10-15นาทีก่อนนอนค่ะ

แล้วก็พยายามทำสิ่งต่างๆเวลาอยู่คนเดียวให้ช้าลงเท่าที่โอกาสเอื้ออำนวยค่ะ


หากเห็นว่ามีคำแนะนำใดๆ เพิ่มเติมช่วยบอกด้วยนะคะ พลอยจะพยายามประยุกต์กับชีวิตประจำวันตามความเหมาะสมค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2012, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 17:36
โพสต์: 210


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
กระบี่อยู่ที่ใจ : เมตตาธรรมค้ำจุนโลก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร