วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 03:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 03:24
โพสต์: 6

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มโนก็เรียก ใจก็เรียก มโนวิญญาณก็เรียก แต่ยังไม่เห็นมันชัดๆซักที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ่านมาจากพระไตรปิฏก .............มีอธิบายอย่างแจ่มชัด

กายสังขาร คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
วจีสังขาร คือ วิตก วิจาร
หรือกว่าอีกนัยหนึ่ง
วจีสังขาร คือ วิตกเจตสิก วิจารเจตสิก

จิตสังขารคือ เวทนา สัญญา สังขาร(ยกเว้นวิตก วิจาร)

เพราะฉะนั้น จิตสังขาร ไม่ใช่จิต ........................สรุปเอง
จิตสังขาร ไม่ใช่เจตสิกเสียทีเดียว .......................สรุปเอง

.................................................................................................
วิญญาณธาตุ คืออะไร....

Quote Tipitaka:
[๑๗๘] วิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า วิญญาณธาตุ

มาจากพระไตรปิฏก ๓. ธาตุวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์


วิญญาณธาตุ ก็คือ วิญญาณ6 นั่นเอง

จิตทั้งหมด เท่ากับ วิญญาณ6+มโนธาตุ3

จิต เท่ากับ วิญญาณขันธ์

เราอาจรู้ว่ามีจิต แต่เราไม่เห็นจิตด้วยตาแน่นอน เพราะจิตไม่มีสีสัน ไม่มีรูปร่าง แต่จิตมีที่อยู่อาศัย
คือกายนี้เป็นที่อยู่อาศัย

แปลกดีมั๊ยล่ะ

นามธรรม เช่น จิต เกิดขึ้นแต่เฉพาะในร่างกายสัตว์(รวมมนุษย์ เทวดา) เท่านั้น
จิตเกิดที่ไหน
จิตเกิดได้ 6 แห่ง ในร่างกายมนุษย์

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิตซึ่งเป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์นั้น มิใช่มีแต่ในพระพุทธศาสนา หรือเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น จิตเห็น จิตได้ยิน เป็นต้นนั้นเป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่เชื้อชาติใดๆ ทั้งสิ้น
การที่บัญญัติว่าเป็น
บุคคลนี้เห็น
สัตว์นั้นได้ยิน เป็นต้น
ก็โดยอาศัยรูปและการจำ
ถ้าไม่มีรูปและการจำ
ก็ย่อมจะบัญญัติจิตเห็น จิตได้ยินนั้นๆ ว่าเป็นบุคคลนี้เห็น หรือเป็นสัตว์นั้นได้ยินไม่ได้

จิตเป็นปรมัตถธรรม ไม่ว่าจะเป็นจิตเห็นของสัตว์ใด บุคคลใด จิตเห็นที่เกิดขึ้นนั้น ก็จะต้องเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา
จิตได้ยินก็จะต้องได้ยินเสียง
จิตเห็นจะรู้เสียงไม่ได้
และจิตได้ยินจะรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ได้
ไม่มีผู้ใดมีอำนาจบังคับบัญชา ให้ปรมัตถธรรมเปลี่ยนลักษณะ และสภาพของปรมัตถธรรมนั้นๆ เป็นอย่างอื่นได้

จิตซึ่งเป็นปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น
เกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น
เมื่อไม่มีปัจจัย จิตก็เกิดไม่ได้
เช่น

เมื่อเสียงไม่เกิดขึ้นกระทบหู
จิตได้ยินก็เกิดขึ้นไม่ได้

เมื่อกลิ่นไม่เกิดขึ้นกระทบจมูก จิตรู้กลิ่นก็เกิดไม่ได้

จิตแต่ละประเภทจะเกิดขึ้นได้ ก็เพราะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดจิตประเภทนั้นๆ ฉะนั้น จิตที่เกิดขึ้นจึงต่างกันเป็น ๘๙ ประเภท หรือ ๑๒๑ ประเภท โดยพิเศษ (ซึ่งเรียกว่า ๘๙ ดวงหรือ ๑๒๑ ดวง)

และปัจจัยที่ทำให้เกิดจิตประเภทหนึ่งๆ นั้นก็ไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียว
แต่ต้องมีหลายปัจจัย เช่น จิตเห็นเกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย คือตาซึ่งได้แก่ จักขุปสาท และรูป คือสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นต้น

จิตเป็นปรมัตถธรรมที่ไม่ใช่รูป
ปรมัตถธรรมใดไม่ใช่รูป
ปรมัตถธรรมนั้นเป็นนามธรรม
จิต เจตสิก นิพพานเป็นนามธรรม
รูปเป็นรูปธรรม [ธรรมสังคณีปกรณ์ นิกเขปกัณฑ์ ข้อ ๘๔๔]





http://www.dharma-gateway.com/ubasika/sujin/sujin-paramat_2.htm

*****

อ้างคำพูด:
จิตกับอารมณ์

จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่รู้อารมณ์
อารมณ์ เป็นธรรมชาติที่ถูกจิตรู้ ถ้าจิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นคืออารมณ์
หากกล่าวโดยสรุปก็คือ จิต เป็นผู้รู้ อารมณ์ เป็นสิ่งที่ถูกรู้

คำว่า “อารมณ์” ในที่นี้หมายถึง เครื่องยึดหน่วงจิต อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ ตลอดจนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คิดนึก มิได้มีความหมายดังที่ใช้กันทั่วไป เช่น อารมณ์ดี อารมณ์เสีย หรือมิได้หมายถึงสภาพนิสัยใจคอ เช่น อารมณ์เย็น อารมณ์ร้อน อารมณ์โรแมนติก อารมณ์ขัน เป็นต้น

จิตที่เกิดแต่ละขณะ จะรับอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เช่น ในขณะที่เราดูโทรทัศน์ จิตที่เห็นภาพทางตา กับจิตที่ได้ยินเสียงทางหู เป็นคนละขณะกัน ขณะที่เห็นภาพ ก็จะไม่ได้ยินเสียง ขณะที่ได้ยินเสียงก็จะ ไม่เห็นภาพ แต่เพราะจิตเกิดดับสลับกันเร็วมาก จึงทำให้เราแยกไม่ออก และเข้าใจผิดว่า การเห็นและการได้ยินนั้นเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน จริง ๆ แล้วจิตแต่ละขณะ จะรับอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
เพื่อความชัดเจน ในเรื่องจิตกับอารมณ์ ขอให้พิจารณาการรับอารมณ์ของจิต ทางทวาร หรือประตู หรือช่องทางที่จิต
หรือช่องทางที่จิต
จิต ออกมารับอารมณ์ทั้ง ๖ ช่องทาง ดังนี้
ทางตา จิตทำหน้าที่เห็น สิ่งที่เห็น คืออารมณ์ของจิต
ทางหู จิตทำหน้าที่ได้ยิน เสียงที่ได้ยิน คืออารมณ์ของจิต
ทางจมูก จิตทำหน้าที่รู้กลิ่น กลิ่นที่ได้รับ คืออารมณ์ของจิต
ทางลิ้น จิตทำหน้าที่รู้รส คืออารมณ์ของจิต
ทางกาย จิตทำหน้าที่รู้การสัมผัสถูกต้อง สภาพเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง ที่สัมผัสถูกต้อง คืออารมณ์ของจิต
ทางใจ จิตทำหน้าที่รู้สึก, คิด, นึก สิ่งต่างๆ เรื่องราวต่าง ๆ ที่รู้สึก คิด นึก คืออารมณ์ของจิต

รูปภาพ

จิตจะว่างจากอารมณ์ไม่ได้ เมื่อจิตเกิดขึ้นทุกครั้ง จะต้องมีอารมณ์ให้รู้เสมอ จิตคือตัวรู้ อารมณ์คือตัวถูกรู้ ถ้าไม่มีตัวถูกรู้ ตัวรู้ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อมีการรู้ ก็ย่อมจะต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ อยู่ควบคู่กันด้วยเสมอไป

จิตและอารมณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละทวาร มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ ดังนี้
ทวารทั้ง ๖ ชื่อของจิตที่เกิด
ทางแต่ละทวาร ชื่อของอารมณ์ที่ปรากฏทางแต่ละทวาร
จักขุทวาร = ตา จักขุวิญญาณ รูปารมณ์ = สิ่งที่เห็น
โสตทวาร = หู โสตวิญญาณ สัททารมณ์ = เสียงที่ได้ยิน
ฆานทวาร = จมูก

ฆานวิญญาณ
คันธารมณ์ = กลิ่นที่ได้รับ
ชิวหาทวาร = ลิ้น ชิวหาวิญญาณ รสารมณ์ = รสที่ได้รับ
กายทวาร = กาย กายวิญญาณ โผฏฐัพพารมณ์ = สภาพเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง ที่สัมผัสถูกต้อง
มโนทวาร = ใจ มโนวิญญาณ ธัมมารมณ์ = สิ่งต่าง ๆ หรือ เรื่องราว ต่าง ๆ ที่ปรากฏทางใจ


รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อารมณ์ ๖ ทวาร ๖ วิญญาณ ๖

สภาพรู้ทั้งหลายมี จิต เป็นผู้รู้ แต่ปุถุชนทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เราเห็น,เราได้ยิน,เรารู้กลิ่น,เรารู้รส, เราเย็น, เราร้อน, เรารู้สึก, เราคิดนึก ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว สภาพรู้ทั้งหลายนี้เป็นจิต ไม่ใช่เรา เป็นเพียงสภาวธรรม ที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว หาแก่นสาร หาเจ้าของ หาตัวตนมิได้เลย มีแต่ “จิต” กับ “อารมณ์” เท่านั้น ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป เพราะไม่รู้ความจริงเช่นนี้ จึงหลงผิดคิดว่าเป็นเรามาตลอดเวลา ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย และเพราะมีเรานี่แหละ จึงได้มีแต่ความทุกข์อยู่ตลอด เพราะมี “เรา” นี่แหละจึงมีความรู้สึก เหมือนกับแบกโลกไว้ทั้งโลก ถ้าเอา “เรา” ออกเสียได้ก็จะรู้สึก เหมือนกับว่ากำลังยืนอยู่เหนือโลก


http://www.buddhism-online.org/Section02A_04.htm

อ้างคำพูด:
จิตมีลักษณะสามัญตามธรรมชาติ (สามัญลักษณะ) อยู่ ๓ ประการ คือ
๑. อนิจจลักษณะ คือ มีลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลง (เกิด-ดับ) อยู่ตลอดเวลา
๒. ทุกขลักษณะ คือ มีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป)
๓. อนัตตลักษณะ คือ มีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด จะบังคับให้หยุดการเกิดดับก็ไม่ได้


อ้างคำพูด:
จิตยังมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว (วิเสสลักษณะ) อีก ๔ ประการ คือ
๑. มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
๒. เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
๓. มีการเกิดดับสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย เป็นผล
๔. มีอดีตกรรม ทวาร อารมณ์และเจตสิก เป็นเหตุให้จิตเกิดขึ้น

การทำงานของจิตจะเกิดดับสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย ในพระสูตรตอนหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้มีใจความว่า ยากที่จะนำสิ่งอื่น ๆ ทั้งหลายในโลก มาเปรียบเทียบกับความเกิดดับอันรวดเร็วของจิต เพราะจิตเกิดดับ ๆ รวดเร็วกว่าสิ่งใด ๆ ในโลก เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตจะเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ หรือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ดวง (หนึ่งล้านล้านดวง)

ที่ว่า จิตมีการเกิดดับสืบต่ออย่างไม่ขาดสาย เพราะจิตดวงที่ ๑ เกิดขึ้นแล้วดับไป ต่อจากนั้นจิตดวงที่ ๒ ก็จะเกิดขึ้นติดต่อกันแล้วก็ดับไปอีก เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ


อ้างคำพูด:
ที่เกิดของจิต
เปลวเทียน ต้องอาศัยไส้เทียนในการลุกไหม้ฉันใด จิตจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีที่ตั้งให้อาศัยเกิดฉันนั้น
ที่ตั้งให้อาศัยเกิดของจิตมี ๖ แห่ง ได้แก่
๑. ประสาทตา
๒. ประสาทหู
๓. ประสาทจมูก
๔. ประสาทลิ้น
๕. ประสาทกาย
๖. หทยวัตถุรูป

ประสาทตา (จักขุปสาท) เป็นที่ตั้งของจิตเห็น (จักขุวิญญาณ) ประสาทตานี้ มิได้หมายถึง ดวงตาหรือลูกตาทั้งลูก แต่หมายเฉพาะประสาทตาหรือแก้วตาที่อยู่กลางตาดำ โตประมาณเท่ากับศีรษะของเหา เป็นเยื่อบางดุจปุยนุ่น ที่ชุ่มด้วยน้ำมันซ้อนกันอยู่ ๗ ชั้น มีความสามารถในการรับคลื่นแสง (รูปารมณ์) ที่มากระทบ

ปสาทหู (โสตปสาท) เป็นที่ตั้งของจิตได้ยิน (โสตวิญญาณ) อยู่ภายในช่องหู มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายวงแหวน และขนมีอันละเอียดอ่อนสีแดงปรากฏอยู่โดยรอบ มีความสามารถในการรับเสียง (สัททารมณ์) ที่มากระทบ

ประสาทจมูก (ฆานปสาท) เป็นที่ตั้งของจิตดมกลิ่น (ฆานวิญญาณ) อยู่ภายในช่องจมูก มีลักษณะคล้ายกีบเท้าแพะ มีความสามารถในการรับกลิ่น (คันธารมณ์) ที่มากระทบ

ประสาทลิ้น (ชิวหาปสาท) เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของจิตลิ้มรส (ชิวหาวิญญาณ) อยู่ตรงกลางลิ้น มีลักษณะเหมือนปลายกลีบดอกบัวเรียงรายซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีความสามารถในการรับรส (รสารมณ์) ที่มากระทบ

ประสาทกาย (กายปสาท) เป็นที่ตั้งของจิตที่รับสัมผัสทางกาย (กายวิญญาณ) ประสาทกายนี้จะเกิดอยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นที่เส้นผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก และบริเวณที่มีหนังหนาด้าน มีลักษณะคล้ายสำลีที่แผ่บาง ๆ ชุบน้ำมันจนชุ่มซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น มีความสามารถในการนรับความรู้สึกเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง (โผฏฐัพพารมณ์) ที่มากระทบ

หทยวัตถุรูป เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ อันได้แก่ จิตที่ไม่ได้อาศัยปสาทรูปทั้ง ๕ ข้างต้น เป็นที่เกิดอยู่ภายในช่องเนื้อหัวใจ ซึ่งมีลักษณะเหมือนบ่อ มีโลหิตอันเป็นน้ำหล่อเลี้ยงหัวใจบรรจุอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ มีสัณฐานโตประมาณเท่าเมล็ดในดอกบุนนาค เป็นรูปอันเป็นที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ

ปสาทรูปทั้ง ๕ อันได้แก่ จักขุปสาทรูป, โสตปสาทรูป, ฆานปสาทรูป, ชิวหาปสาทรูป, กายปสาทรูป นอกจากจะเป็นที่อาศัยเกิดของจิตแล้ว


ยังทำหน้าที่เป็นประตู (ทวาร) สำหรับรับอารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย อีกด้วย
ดังนั้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จักขุทวาร, โสตทวาร, ฆานทวาร, ชิวหาทวาร และกายทวาร

ส่วนหทยวัตถุรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของ มโนวิญญาณ นั้น ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นมโนทวารด้วย เพราะองค์ธรรมของมโนทวาร คือ ภวังคจิต ไม่ใช่หทยวัตถุรูป


อ้างคำพูด:
[b]อำนาจของจิต :b37: [/b]

จิต หรือ วิญญาณ นี้ นอกจากจะเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ตามที่ทราบแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นประธานในธรรมทั้งปวง

คือ การงานต่าง ๆ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่ว่าจะเป็นบุญ (กุศลกรรม) หรือเป็นบาป (อกุศลกรรม) จะสำเร็จได้ก็ด้วยจิตทั้งสิ้น

ดังในธรรมบทที่แสดงไว้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฺฐา มโนมยา ซึ่งมีความหมายว่า
:b46: ธรรมทั้งหลายมีจิตเป็นใหญ่ มีจิตเป็นหัวหน้า สำเร็จได้ด้วยจิต :b46:

จิต นี้ แม้จะเป็นนามธรรมที่ไม่มีรูปร่างตัวตน และแสดงความรู้สึก อยู่ภายในเท่านั้นก็จริง
แต่ก็มีอำนาจวิเศษอย่างน่าอัศจรรย์ และวิจิตรพิสดารยิ่งนัก กล่าวคือ

๑. มีอำนาจในการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ของอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย การพูด การเคลื่อนไหว การกระทำต่าง ๆ ตลอดจนการคิดก็เกิดขึ้นด้วยจิตทั้งสิ้น สรรพสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรถ เรือ เครื่องบิน ยานอวกาศ อาวุธยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ สิ่งก่อสร้าง ภาพวาด วิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ ฯลฯ ก็ล้วนมีจิตเป็นผู้คิดขึ้นมาทั้งสิ้น

๒. มีอำนาจด้วยตนเอง คือ มีอำนาจในการทำบุญ ทำบาป ทำสมาธิถึงขั้นฌานสมาบัติ มีอำนาจในการแสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ (อภิญญา) ตลอดจนมีอำนาจในการทำลายอนุสัยกิเลส ที่เป็นเหตุให้มีการเวียนว่ายตายเกิด อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น

๓. มีอำนาจในการสั่งสมกรรม เพราะจิตเป็นต้นเหตุ ให้มีการทำบาป ทำบุญ ทำฌาน ทำอภิญญา ทำวิปัสสนากรรมฐาน กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว จะถูกเก็บบันทึกเอาไว้ด้วยอำนาจของจิต

๔. มีอำนาจในการรักษาวิบาก (ผลของกรรม) กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล แม้จะนานเท่าไรก็ตาม กี่ภพกี่ชาติก็ตาม ย่อมติดตามส่งผลตลอดไป จนกว่าจะปรินิพพาน

๕. มีอำนาจในการสั่งสมสันดานของตนเอง การกระทำใด ๆ หากกระทำอยู่บ่อย ๆ กระทำอยู่เสมอ ๆ ก็จะฝังในจิตติดเป็นสันดาน และคิดจะทำเช่นนั้นเรื่อยไป เช่น คบคนพาลก็จะกลายเป็นคนพาล คบบัณฑิตก็จะเป็นบัณฑิต ทั้งนี้ เป็นเพราะอำนาจในการสั่งสมสันดานของจิตนั่นเอง

๖. มีอำนาจในการรับอารมณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ไม่ว่าจะเป็นอดีตอารมณ์ อนาคตอารมณ์ หรือปัจจุบันอารมณ์ และไม่ว่าจะเป็นบัญญัติอารมณ์ หรือ ปรมัตถอารมณ์ จิตก็สามารถรับได้ทั้งสิ้น

แม้จิตจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม
แต่ บาป บุญ ที่ทำไว้ และอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่อง อยู่ในขันธสันดาน จะไม่สูญหายไป
พร้อมกับการดับของจิตแต่ละดวง ทั้งนี้ เพราะจิตดวงใหม่ มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม และจิตดวงใหม่ ที่เกิดขึ้นก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้แก่จิตดวงต่อไป เพื่อสืบต่อ บาป บุญ และกิเลสที่สั่งสมไว้ไป จนกว่าจะปรินิพพาน


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 20 ธ.ค. 2010, 10:30, แก้ไขแล้ว 17 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


..

อ้างคำพูด:
นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก
ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น

จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกาม
คุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อ
จะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้ว
จากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น

การ
ฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์
อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคล
ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้


นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก
ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคล
คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้

ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปใน
ที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย
ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย


ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มี
จิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้ว
ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่


กุลบุตรทราบกายนี้ว่า
เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร
พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา
ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว


มีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอจักนอนทับแผ่นดิน ประดุจ
ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคน
มีเวรเห็นคนผู้คู่เวรกันพึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้
จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิดพึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหาย
และความทุกข์นั้นมารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติ
เหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว
พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=366&Z=394
*******

อ้างคำพูด:
เมื่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกดับง่ายเหมือนหม้อน้ำ
พึงป้องกันจิตให้มั่นเหมือนป้องกันเมืองหลวง
แล้วพึงรบกับพญามารด้วยอาวุธคือปัญญา
เมื่อรบชนะแล้วพึงรักษาชัยชนะนั้นไว้
ระวังอย่าตกอยู่ในอำนาจมารอีก


อ้างคำพูด:
จิตที่ฝึกฝนผิดทาง
ย่อมทำความเสียหายได้
ยิ่งกว่าศัตรูทำต่อศัตรู
หรือคนจองเวรทำต่อคนจองเวร


อ้างคำพูด:
มารดาก็ทำให้ไม่ได้ บิดาก็ให้ไม่ได้
ญาติพี่น้องก็ทำให้ไม่ได้
แต่จิตที่ฝึกฝนไว้ชอบย่อมทำสิ่งนั้นให้ได้
และทำให้ได้อย่างประเสริฐด้วย


อ้างคำพูด:
๘. เรื่องนันทโคปาลกะ [๓๑]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในโกศลชนบท ทรงปรารภนายโคบาลก์ ชื่อนันทะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “ทิโส ทิสํ” เป็นต้น.

นายนันทะหลบหลีกราชภัย
ดังได้สดับมา นายโคบาลก์ชื่อนันทะ ในกรุงสาวัตถี เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก รักษาฝูงโคของคฤหบดีชื่ออนาถบิณฑิกะอยู่. นัยว่า นายนันทโคบาลก์นั้นหลบหลีกความบีบคั้นแห่งพระราชา ด้วยความเป็นคนเลี้ยงโค อย่างชฏิลชื่อเกณิยะ หลบหลีกความบีบคั้นแห่งพระราชาด้วยเพศบรรพชิต รักษาขุมทรัพย์ของตนอยู่.
เขาถือเอาปัญจโครสตลอดกาลสมควรแก่กาล (ตามกำหนดเวลา) มาสู่สำนักของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พบพระศาสดา ฟังธรรมแล้ว ทูลวิงวอนพระศาสดา เพื่อต้องการให้เสด็จมาสู่ที่อยู่ของตน.

พระศาสดาทรงเสด็จไปโปรดนายนันทะ
พระศาสดาทรงรอความแก่กล้าแห่งญาณของเขาอยู่ ไม่เสด็จไปแล้ว (ครั้น) ทรงทราบความที่เขาเป็นผู้มีญาณแก่กล้าแล้ว วันหนึ่ง อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปอยู่ ทรงแวะจากหนทาง ประทับนั่งแล้ว ที่โคนต้นไม้แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งใกล้สถานที่อยู่ของเขา
นายนันทะไปสู่สำนักของพระศาสดา ถวายบังคมกระทำปฏิสันถาร นิมนต์พระศาสดาแล้ว ได้ถวายปัญจโครสทานอันประณีตแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานสิ้น ๗ วัน.
ในวันที่ ๗ พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาเสร็จแล้ว ตรัสอนุบุพพีกถาต่างโดยทานกถาเป็นต้น ในเวลาจบกถา นายโคบาลก์ชื่อนันทะ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล รับบาตรของพระศาสดา ตามส่งเสด็จพระศาสดาไปไกล เมื่อพระศาสดารับสั่งให้กลับ ด้วยพระดำรัสว่า “อุบาสก จงหยุดเถิด” ถวายบังคมพระศาสดากลับแล้ว.
ลำดับนั้น นายพรานคนหนึ่งได้แทงเขาให้ตายแล้ว.

พวกภิกษุโทษพระศาสดาว่าทำให้นายนันทะถูกฆ่า
พวกภิกษุผู้มาข้างหลัง เห็นแล้ว จึงไปกราบทูลพระศาสดาว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นายโคบาลก์ชื่อนันทะ ถวายมหาทานตามส่งเสด็จแล้วกลับไป ถูกนายพรานฆ่าตายเสียแล้ว ก็เพราะความที่พระองค์เสด็จมาแล้วในที่นี้. ถ้าว่าพระองค์จักมิได้เสด็จมาแล้วไซร้, ความตายจักไม่ได้มีแก่เขาเลย.”

จิตที่ตั้งไว้ผิดทำความฉิบหายให้ยิ่งกว่าเหตุใดๆ
พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรามาก็ตาม มิได้มาก็ตาม ชื่อว่า อุบายเป็นเครื่องพ้นจากความตายของนายนันทะนั้น แม้ผู้ไปอยู่สู่ทิศใหญ่ ๔ สู่ทิศน้อย ๔ ย่อมไม่มี; ด้วยว่า จิตเท่านั้นซึ่งตั้งไว้ผิดแล้ว อันเป็นไปในภายในของสัตว์เหล่านี้ ย่อมทำความพินาศ ฉิบหาย ที่พวกโจร (หรือ) พวกคนจองเวรจะทำ (ให้) ไม่ได้ ดังนี้
ตรัสพระคาถานี้ว่า
๘. ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา เวรี วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ ปาปิโย นํ ตโต กเร
จิตซึ่งตั้งไว้ผิดแล้ว พึงทำเขา (บุคคล) นั้นให้เลวทรามยิ่ง
กว่าความพินาศฉิบหายที่โจรเห็นโจร หรือคนจองเวรเห็น
คนจองเวรทำ (แก่กัน) นั้น (เสียอีก)

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ทิโส ทิสํ แปลว่า โจรเห็นโจร. ศัพท์ว่า ทิสฺวา เป็นพระบาลีที่เหลือ (บัณฑิตพึงเพิ่มเข้า).
สองบทว่า ยนฺตํ กยิรา ความว่า พึงทำซึ่งความพินาศฉิบหายนั้นใด แก่โจรหรือคนจองเวรนั้น. ถึงในบทที่ ๒ ก็มีนัยเช่นเดียวกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า
“โจรผู้มักประทุษร้ายต่อมิตรผู้หนึ่ง เมื่อผิดในบุตร ภริยา นา ไร่ วัวและควายเป็นต้น ของโจรผู้หนึ่ง โจรผิดต่อโจรใด, เห็นโจรแม้นั้นซึ่งผิดอยู่ในตนอย่างนั้นนั่นแหละ, ก็หรือว่า คนจองเวรเห็นชนผู้ผูกเวรกันไว้ด้วยเหตุบางอย่างนั่นแหละ ซึ่งชื่อว่า ผู้จองเวร,
ชื่อว่าพึงทำความพินาศฉิบหายอันใดแก่โจรหรือคนผู้จองเวรนั้น คือพึงเบียดเบียนบุตรและภริยาของโจรหรือคนจองเวรนั้น พึงทำสิ่งของต่างๆ มีนาเป็นต้นของโจร หรือของคนจองเวรนั้นให้ฉิบหาย หรือพึงปลงซึ่งโจรหรือคนจองเวรนั้นจากชีวิต เพราะความที่ตนเป็นคนโหดร้าย คือเพราะความที่ตนเป็นคนทารุณ,
จิตชื่อว่าตั้งไว้ผิด เพราะความเป็นจิตตั้งไว้ผิดในอกุศลกรรมบถ ๑๐ พึงทำให้เขาเลวทรามยิ่งกว่า ความพินาศฉิบหายนั้น คือทำบุรุษนั้นให้เป็นผู้ลามกกว่าเหตุนั้น;
จริงอยู่ โจรก็ดี คนจองเวรก็ดี มีประการดังกล่าวแล้ว พึงยังทุกข์ให้เกิด หรือพึงทำซึ่งความสิ้นไปแห่งชีวิต แก่โจรหรือแก่คนจองเวร (ได้) ในอัตภาพนี้เท่านั้น,
ส่วนจิตนี้ซึ่งตั้งไว้ผิดในอกุศลกรรมบถทั้งหลาย ย่อมยังบุคคลให้ถึงความพินาศฉิบหายในทิฏฐธรรมบ้าง ซัดไปในอบาย ๔ ย่อมไม่ให้ยกศีรษะขึ้นได้ในพันอัตภาพบ้าง.”
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น, เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว.
ก็กรรมที่อุบาสกได้ทำไว้ในระหว่างภพ พวกภิกษุมิได้ทูลถาม, เพราะฉะนั้น (กรรมนั้น) พระศาสดาจึงมิได้ตรัสบอก ดังนี้แล.

เรื่องนันทโคปาลกะ จบ.


http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=8


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 20 ธ.ค. 2010, 10:08, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๙. เรื่องพระโสไรยเถระ [๓๒]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดายังพระธรรมเทศนานี้ว่า “น ตํ มาตา ปิตา กยิรา” เป็นต้น ซึ่งตั้งขึ้นในโสไรยนคร ให้จบลงในพระนครสาวัตถี.

เศรษฐีบุตรกลับเพศเป็นหญิงแล้วหลบหนี
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี, ลูกชายของโสไรยเศรษฐี ในโสไรยนคร นั่งบนยานน้อยอันมีความสุขกับสหายผู้หนึ่งออกไปจากนคร เพื่อประโยชน์จะอาบน้ำด้วยบริวารเป็นอันมาก.
ขณะนั้น พระมหากัจจายนเถระมีความประสงค์จะเข้าไปสู่โสไรยนคร เพื่อบิณฑบาต ห่มผ้าสังฆาฏิภายนอกพระนคร. ก็สรีระของพระเถระมีสีเหมือนทองคำ ลูกชายของโสไรยเศรษฐีเห็นท่านแล้ว จึงคิดว่า “สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้ควรเป็นภริยาของเรา, หรือสีแห่งสรีระของภริยาของเรา พึงเป็นเหมือนสีแห่งสรีระของพระเถระนั้น.”
ในขณะสักว่าเขาคิดแล้วเท่านั้น เพศชายของเศรษฐีบุตรนั้น ก็หายไป, เพศหญิงได้ปรากฏแล้ว. เขาละอายจึงลงจากยานน้อยหนีไป. ชนใกล้เคียงจำลูกชายเศรษฐีนั้นไม่ได้ จึงกล่าวว่า “อะไรนั่นๆ ?” แม้นางก็เดินไปสู่หนทางอันไปยังเมืองตักกสิลา.

พวกเพื่อนและพ่อแม่ออกติดตามแต่ไม่พบ
ฝ่ายสหายของนาง แม้เที่ยวค้นหาข้างโน้นและข้างนี้ ก็ไม่ได้พบ. ชนทั้งปวงอาบเสร็จแล้วได้กลับไปสู่เรือน, เมื่อชนทั้งหลายกล่าวกันว่า “เศรษฐีบุตรไปไหน?” ชนที่ไปด้วยจึงตอบว่า “พวกผมเข้าใจว่า เขาจักอาบน้ำกลับมาแล้ว.” ขณะนั้น มารดาและบิดาของเขาค้นดูในที่นั้นๆ เมื่อไม่เห็น จึงร้องไห้ รำพัน ได้ถวายภัตเพื่อผู้ตาย ด้วยความสำคัญว่า “ลูกชายของเรา จักตายแล้ว.”

นางเดินตามพวกเกวียนไปเมืองตักกสิลา
นางเห็นพวกเกวียนไปสู่เมืองตักกสิลาหมู่หนึ่ง จึงเดินติดตามยานน้อยไปข้างหลังๆ ขณะนั้น พวกมนุษย์เห็นนางแล้ว กล่าวว่า “หล่อนเดินตามข้างหลังๆ แห่งยานน้อยของพวกเรา (ทำไม?) พวกเราไม่รู้จักหล่อนว่า ‘นางนี่เป็นลูกสาวของใคร?’ นางกล่าวว่า “นาย พวกท่านจงขับยานน้อยของตนไปเถิด. ดิฉันจักเดินไป”, เมื่อเดินไปๆ (เมื่อยเข้า) ได้ถอดแหวนสำหรับสวมนิ้วมือให้แล้ว ให้ทำโอกาสในยานน้อยแห่งหนึ่ง (เพื่อตน).

ได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น
พวกมนุษย์คิดว่า “ภริยาของลูกชายเศรษฐีของพวกเรา ในกรุงตักกสิลา ยังไม่มี, เราทั้งหลายจักบอกแก่ท่าน, บรรณาการใหญ่ (รางวัลใหญ่) จักมีแก่พวกเรา.” พวกเขาไปแล้ว เรียนว่า “นายแก้วคือหญิง พวกผมได้นำมาแล้วเพื่อท่าน.” ลูกชายเศรษฐีนั้นได้ฟังแล้ว ให้เรียกนางมา เห็นนางเหมาะกับวัยของตน มีรูปงามน่าพึงใจ มีความรักเกิดขึ้น จึงได้กระทำไว้ (ให้เป็นภริยา) ในเรือนของตน.

ชายอาจกลับเป็นหญิงและหญิงอาจกลับเป็นชายได้
จริงอยู่ พวกผู้ชาย ชื่อว่าไม่เคยกลับเป็นผู้หญิง หรือพวกผู้หญิงไม่เคยกลับเป็นผู้ชาย ย่อมไม่มี. เพราะว่า พวกผู้ชายประพฤติล่วงในภริยาทั้งหลายของชนอื่น ทำกาละแล้ว ไหม้ในนรกสิ้นแสนปีเป็นอันมาก เมื่อกลับมาสู่ชาติมนุษย์ ย่อมถึงภาวะเป็นหญิง สิ้น ๑๐๐ อัตภาพ
ถึงพระอานนทเถระ ผู้เป็นอริยสาวก มีบารมีบำเพ็ญมาแล้วตั้งแสนกัลป์ ท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ในอัตภาพหนึ่งได้บังเกิดในตระกูลช่างทอง ทำปรทารกรรม ไหม้ในนรกแล้ว, ด้วยผลกรรมที่ยังเหลือ ได้กลับมาเป็นหญิงบำเรอเท้าแห่งชายใน ๑๔ อัตภาพ, ถึงการถอนพืช (เป็นหมัน) ใน ๗ อัตภาพ.
ส่วนหญิงทั้งหลายทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น คลายความพอใจในความเป็นหญิง ก็ตั้งจิตว่า “บุญของข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อกลับได้อัตภาพเป็นชาย” ทำกาละแล้ว ย่อมกลับได้อัตภาพเป็นชาย. พวกหญิงที่มีผัวดังเทวดา ย่อมกลับได้อัตภาพเป็นชาย แม้ด้วยอำนาจแห่งการปรนนิบัติดีในสามีเหมือนกัน. ส่วนลูกชายเศรษฐีนี้ยังจิตให้เกิดขึ้นในพระเถระโดยไม่แยบคาย จึงกลับได้ภาวะเป็นหญิงในอัตภาพนี้ทันที.

นางคลอดบุตร
ก็ครรภ์ได้ตั้งในท้องของนาง เพราะอาศัยการอยู่ร่วมกับลูกชายเศรษฐีในตักกสิลา. โดยกาลล่วงไป ๑๐ เดือน นางได้บุตร ในเวลาที่บุตรของนางเดินได้ ก็ได้บุตรแม้อีกคนหนึ่ง.
โดยอาการอย่างนี้ บุตรของนางจึงมี ๔ คน, คือบุตรผู้อยู่ในท้อง ๒ คน, บุตรผู้เกิดเพราะอาศัยเธอ (ครั้งเป็นชายอยู่) ในโสไรยนคร ๒ คน.

นางได้พบกับเพื่อนเก่าแล้วเล่าเรื่องให้ฟัง
ในกาลนั้น ลูกชายเศรษฐีผู้เป็นสหายของนาง (ออก) จากโสไรยนคร ไปสู่กรุงตักกสิลาด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม นั่งบนยานน้อยอันมีความสุขเข้าไปสู่พระนคร. ขณะนั้น นางเปิดหน้าต่างบนพื้นปราสาทชั้นบน ยืนดูระหว่างถนนอยู่ เห็นสหายนั้น จำเขาได้แม่นยำ จึงส่งสาวใช้ให้ไปเชิญเขามาแล้ว ให้นั่งบนพื้นมีค่ามาก ได้ทำสักการะและสัมมานะอย่างใหญ่โต.
ขณะนั้น สหายนั้นกล่าวกะนางว่า “แม่มหาจำเริญ ในกาลก่อนแต่นี้ ฉันไม่เคยเห็นนาง, ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ไฉนนางจึงทำสักการะแก่ฉันใหญ่โต, นางรู้จักฉันหรือ?”
นาง. จ้ะ นาย ฉันรู้จัก, ท่านเป็นชาวโสไรยนคร มิใช่หรือ?
สหาย. ถูกละ แม่มหาจำเริญ.
นางได้ถามถึงความสุขสบายของมารดาบิดา ของภริยา ทั้งของลูกชายทั้งสอง สหายนอกนี้ตอบว่า “จ้ะ แม่มหาจำเริญ ชนเหล่านั้นสบายดี” แล้วถามว่า “แม่มหาจำเริญ นางรู้จักชนเหล่านั้นหรือ?”
นาง. จ้ะ นาย ฉันรู้จัก, ลูกชายของท่านเหล่านั้นมีคนหนึ่ง, เขาไปไหนเล่า?
สหาย. แม่มหาจำเริญ อย่าได้พูดถึงเขาเลย, ฉันกับเขา วันหนึ่งได้นั่งในยานน้อยอันมีความสุขออกไปเพื่ออาบน้ำ ไม่ทราบที่ไปของเขาเลย. เที่ยวค้นดูข้างโน้นและข้างนี้ (ก็) ไม่พบเขา จึงได้บอกแก่มารดาและบิดา (ของเขา), แม้มารดาและบิดาทั้งสองนั้นของเขา ได้ร้องไห้ คร่ำครวญ ทำกิจอันควรทำแก่คนผู้ล่วงลับไปแล้ว.
นาง. ฉัน คือเขานะ นาย.
สหาย. แม่มหาจำเริญ จงหลีกไป, นางพูดอะไร? สหายของฉันย่อมงามเหมือนลูกเทวดา, (ทั้ง) เขาเป็นผู้ชาย (ด้วย).
นาง. ช่างเถอะ นาย ฉัน คือเขา.
ขณะนั้น สหายจึงถามนางว่า “อันเรื่องนี้เป็นอย่างไร?”
นาง. วันนั้น เธอเห็นพระมหากัจจายนเถระผู้เป็นเจ้าไหม?
สหาย. เห็นจ้ะ.
นาง. ฉันเห็นพระมหากัจจายนะผู้เป็นเจ้าแล้ว ได้คิดว่า ‘สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้ควรเป็นภริยาของเรา, หรือว่าสีแห่งสรีระของภริยาของเราพึงเป็นเหมือนสีแห่งสรีระของพระเถระนั่น’, ในขณะที่ฉันคิดแล้วนั่นเอง เพศชายได้หายไป, เพศหญิงปรากฏขึ้น, เมื่อเป็นเช่นนี้ ฉันไม่อาจบอกแก่ใครได้ ด้วยความละอาย จึงหนีไปจากที่นั้นมา ณ ที่นี้ นาย.
สหาย. ตายจริง เธอทำกรรมหนักแล้ว, เหตุไร เธอจึงไม่บอกแก่ฉันเล่า? เออ ก็เธอให้พระเถระอดโทษแล้วหรือ?
นาง. ยังไม่ให้ท่านอดโทษเลย นาย, ก็เธอรู้หรือ? พระเถระอยู่ ณ ที่ไหน?
สหาย. ท่านอาศัยนครนี้แหละอยู่.
นาง. หากว่า ท่านเที่ยวบิณฑบาต พึงมาในที่นี้ไซร้, ฉันพึงถวายภิกษาหารแก่พระผู้เป็นเจ้าของฉัน.
สหาย. ถ้ากระนั้น ขอเธอจงรีบทำสักการะไว้, ฉันจักยังพระผู้เป็นเจ้าของเราให้อดโทษ.

นางขอขมาพระมหากัจจายนเถระ
เธอไปสู่ที่อยู่ของพระเถระ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว เรียนว่า “ท่านขอรับ พรุ่งนี้ นิมนต์ท่านรับภิกษาของกระผม.”
พระเถระ. เศรษฐีบุตร ท่านเป็นแขกมิใช่หรือ?
เศรษฐีบุตร. ท่านขอรับ ขอท่านอย่าได้ถามความที่กระผมเป็นแขกเลย, พรุ่งนี้ ขอนิมนต์ท่านรับภิกษาของกระผมเถิด.
พระเถระรับนิมนต์แล้ว. สักการะเป็นอันมาก เขาได้ตระเตรียมไว้แม้ในเรือนเพื่อพระเถระ.
วันรุ่งขึ้น พระเถระได้ไปสู่ประตูเรือน. ขณะนั้น เศรษฐีบุตรนิมนต์ท่านให้นั่งแล้ว อังคาส (เลี้ยงดู) ด้วยอาหารประณีต พาหญิงนั้นมาแล้ว ให้หมอบลงที่ใกล้เท้าของพระเถระ เรียนว่า “ท่านขอรับ ขอท่านจงอดโทษแก่หญิงผู้สหายของกระผม (ด้วย).”
พระเถระ. อะไรกันนี่?
เศรษฐีบุตร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในกาลก่อน คนผู้นี้ได้เป็นสหายที่รักของกระผม พบท่านแล้ว ได้คิดชื่ออย่างนั้น; เมื่อเป็นเช่นนั้น เพศชายของเขาได้หายไป, เพศหญิงได้ปรากฏแล้ว, ขอท่านจงอดโทษเถิด ท่านผู้เจริญ.
พระเถระ. ถ้ากระนั้น เธอจงลุกขึ้น, ฉันอดโทษให้แก่เธอ.

เขากลับเพศเป็นชายแล้วบวชได้บรรลุอรหัตผล
พอพระเถระเอ่ยปากว่า “ฉันอดโทษให้” เท่านั้น เพศหญิงได้หายไป, เพศชายได้ปรากฏแล้ว. เมื่อเพศชาย พอกลับปรากฏขึ้นเท่านั้น. เศรษฐีบุตรในกรุงตักกสิลาได้กล่าวกะเธอว่า “สหายผู้ร่วมทุกข์ เด็กชาย ๒ คนนี้เป็นลูกของเรา แม้ทั้งสองแท้ เพราะเป็นผู้อยู่ในท้องของเธอ (และ) เพราะเป็นผู้อาศัย ฉันเกิด, เราทั้งสองจักอยู่ในนครนี้แหละ, เธออย่าวุ่นวายไปเลย.”
โสไรยเศรษฐีบุตรพูดว่า “ผู้ร่วมทุกข์ ฉันถึงอาการอันแปลก คือเดิมเป็นผู้ชาย แล้วถึงความเป็นผู้หญิงอีก แล้วยังกลับเป็นผู้ชายได้อีก โดยอัตภาพเดียว (เท่านั้น); ครั้งก่อน บุตร ๒ คนอาศัยฉันเกิดขึ้น, เดี๋ยวนี้ บุตร ๒ คนคลอดจากท้องฉัน; เธออย่าทำความสำคัญว่า ‘ฉันนั้นถึงอาการอันแปลกโดยอัตภาพเดียว จักอยู่ในเรือนต่อไปอีก, ฉันจักบวชในสำนักแห่งพระผู้เป็นเจ้าของเรา เด็ก ๒ คนนี้จงเป็นภาระของเธอ, เธออย่าเลินเล่อในเด็ก ๒ คนนี้” ดังนี้แล้ว จูบบุตรทั้ง ๒ ลูบ (หลัง) แล้ว มอบให้แก่บิดา ออกไปบวชในสำนักพระเถระ,
ฝ่ายพระเถระให้เธอบรรพชาอุปสมบทเสร็จแล้ว พาเที่ยวจาริกไป ได้ไปถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับ. นามของท่านได้มีว่า “โสไรยเถระ.”
ชาวชนบทรู้เรื่องนั้นแล้ว พากันแตกตื่นอลหม่านเข้าไปถามว่า “ได้ยินว่า เรื่องเป็นจริงอย่างนั้นหรือ? พระผู้เป็นเจ้า.”
พระโสไรยะ. เป็นจริง ผู้มีอายุ.
ชาวชนบท. ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าเหตุแม้เช่นนี้มีได้ (เทียวหรือ?); เขาลือกันว่า “บุตร ๒ คนเกิดในท้องของท่าน, บุตร ๒ คนอาศัยท่านเกิด” บรรดาบุตร ๒ จำพวกนั้น ท่านมีความสิเนหามากในจำพวกไหน?
พระโสไรยะ. ในจำพวกบุตรผู้อยู่ในท้อง ผู้มีอายุ.
ชนผู้มาแล้วๆ ก็ถามอยู่อย่างนั้นนั่นแหละเสมอไป. พระเถระบอกแล้วบอกเล่าว่า “มีความสิเนหาในจำพวกบุตรผู้อยู่ในท้องนั้นแหละมาก.” เมื่อรำคาญใจจึงนั่งแต่คนเดียว ยืนแต่คนเดียว. ท่านเข้าถึงความเป็นคนเดียวอย่างนี้ เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว.
ต่อมา พวกชนผู้มาแล้วๆ ถามท่านว่า “ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า เหตุชื่ออย่างนี้ได้มีแล้ว จริงหรือ?”
พระโสไรยะ. จริง ผู้มีอายุ.
พวกชน. ท่านมีความสิเนหามากในบุตรจำพวกไหน?
พระโสไรยะ. ขึ้นชื่อว่าความสิเนหาในบุตรคนไหนๆ ของเรา ย่อมไม่มี.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลพระศาสดาว่า “ภิกษุรูปนี้พูดไม่จริง ในวันก่อนๆ พูดว่า ‘มีความสิเนหาในบุตรผู้อยู่ในท้องมาก’ เดี่ยวนี้พูดว่า ‘ความสิเนหาในบุตรคนไหนๆ ของเราไม่มี,’ ย่อมพยากรณ์พระอรหัตผล พระเจ้าข้า.”

จิตที่ตั้งไว้ชอบดียิ่งกว่าเหตุใดๆ
พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราพยากรณ์อรหัตผลหามิได้, (เพราะว่า) ตั้งแต่เวลาที่บุตรของเรา เห็นมรรคทัสนะ๑- ด้วยจิตที่ตั้งไว้ชอบแล้ว ความสิเนหาในบุตรไหนๆ ไม่เกิดเลย, จิตเท่านั้น ซึ่งเป็นไปในภายในของสัตว์เหล่านี้ ย่อมให้สมบัติที่มารดาบิดาไม่อาจทำให้ได้” ดังนี้แล้ว
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
๙. น ตํ มาตา ปิตา กริยา อญฺเญ วาปิ จ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร.
มารดาบิดา ก็หรือว่าญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้น (ให้ได้),
(แต่) จิตอันตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น.

____________________________
๑- บาลีบางแห่งว่า มตฺตสฺส ทิฏฺฐกาลโต แต่กาลเห็นมรรค.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตํ ความว่า มารดาบิดา (และ) ญาติเหล่าอื่น ไม่ทำเหตุนั้นได้เลย.
บทว่า สมฺมาปณิหิตํ คือ ชื่อว่าตั้งไว้ชอบแล้ว เพราะความเป็นธรรมชาติตั้งไว้ชอบในกุศลกรรมบถ ๑๐.
บาทพระคาถาว่า เสยฺยโส นํ ตโต กเร. ความว่า พึงทำคือย่อมทำเขาให้ประเสริฐกว่า คือเลิศกว่า ได้แก่ให้ยิ่งกว่าเหตุนั้น.
จริงอยู่ มารดาบิดา เมื่อจะให้ทรัพย์แก่บุตรทั้งหลาย ย่อมอาจให้ทรัพย์สำหรับไม่ต้องทำการงานแล้วเลี้ยงชีพโดยสบาย ในอัตภาพเดียวเท่านั้น, ถึงมารดาบิดาของนางวิสาขา ผู้มีทรัพย์มากมายถึงขนาด มีโภคะมากมาย ได้ให้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีพโดยสบายแก่นาง ในอัตภาพเดียวเท่านั้น, ก็อันธรรมดามารดาบิดาที่จะสามารถให้สิริ คือความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในทวีปทั้งสี่ ย่อมไม่มีแก่บุตรทั้งหลาย. จะป่วยกล่าวไปไย (ถึงมารดาบิดาผู้ที่สามารถให้) ทิพยสมบัติหรือสมบัติมีปฐมฌานเป็นต้น (จักมีเล่า), ในการให้โลกุตรสมบัติ ไม่ต้องกล่าวถึงเลย. แต่ว่าจิตที่ตั้งไว้ชอบแล้ว ย่อมอาจให้สมบัตินี้ แม้ทั้งหมดได้, เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “เสยฺยโส นํ ตโต กเร.”
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
เทศนาได้เป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระโสไรยเถระ จบ.
จิตตวรรควรรณนา จบ
วรรคที่ ๓ จบ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 5&i=13&p=9


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 21 ต.ค. 2010, 23:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2010, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
จิต(จับต้องไม่ได้-นาม) กับ กาย(จับต้องได้-รูป) นั้น ติดกันเหมือน กลอง กับ เสียงกลอง
แต่ กายนั้น เป็น แค่ ดิน น้ำ ลม ไฟ


นามเป็น สภาพรู้
รูป ไม่เป็น สภาพรู้ รูปรู้อะไรไม่ได้เลย

นาม เป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรมภาษาโลก ไม่มีสสาร ไม่มีอะตอม
รูป เป็นสภาพไม่รู้อะไรเลย ...........ไม่ตรงกับรูปธรรม(ภาษาโลก) มีรูปมากมายที่มองไม่เห็น
เช่น เสียง เรามองไม่เห็นเสียง จับต้องเสียงก็ไม่ได้ เอามือกำเสียงไว้ก็ไม่ได้ แต่ เสียง เป็นรูป
ความร้อน เป็นรูป แต่เรามองไม่เห็นความร้อน
แสง เราเอาหูฟังแสง ไม่ได้ จับแสงไปใส่ภาชนะไม่ได้ แสงเป็นรูป

ยกเว้น นิพพานเป็น นามธรรม แต่ไม่ใช่สภาพรู้

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2010, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต คือ ธาตุรู้ ธาตุจำ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2010, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จิต เป็นธาตรู้ เท่านั้น ไม่จำ ไม่คิด ไม่อะไรทั้งสิ้น
แต่ สิ่งที่จำคือ สัญญาที่ประกอบกับจิตทุกดวง ไม่มีเว้นแม้สักดวงเดียว

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2010, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


ติ๊ก1111 เขียน:
มโนก็เรียก ใจก็เรียก มโนวิญญาณก็เรียก แต่ยังไม่เห็นมันชัดๆซักที

จะเห็นได้ชัด..ก็ต้อง..ปฏิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ร่างกายเราประกอบด้วย กาย กับ ใจ (บางทีเรียกจิตบ้าง จิตใจบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง แล้วแต่บริบท แต่คือสิ่งเดียวกัน)

ใจยังแบ่งเป็น ๔ ส่วนคือ รู้สึก คิด จำ รู้

เพราะฉะนั้น จิต จึงเป็นธาตุรู้ (มีวิญญาณเกิดขึ้นมาเพื่อรับรู้อารมณ์) และเป็นธาตุจำ (คือเก็บไว้ในจิตเป็นกองความทรงจำ)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2010, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


พอจะเข้าใจเจตนาท่านSupareak Mulpongเล็กน้อย
ก็ขออนุโมทนาในธรรมทาน

เเต่เท่าที่เคยทราบมาว่า..

จิต - ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ (สภาวธรรมของชีวิตที่รับรู้อารมณ์ เช่น สภาพหรือสภาวะของชีวิตในการรับรู้ใน รูป เสียง กลิ่น ฯ.), สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ

ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น ๑๒๑)

แบ่ง โดยชาติ เป็น อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และกิริยาจิต ๒๐;
แบ่ง โดยภูมิ เป็น กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)


จิตสังขาร - จิตตสังขาร - มโนสังขาร - สังขารขันธ์ในขันธ์๕ อันคือ ความคิด ความนึก การกระทำทางใจต่างๆ
หรือมีความหมายได้ดังนี้

- 1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่สัญญาและเวทนา

- 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสังขาร เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม ดู สังขาร

มโนวิญญาณ - ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะธรรมารมณ์เกิดกับใจ, ธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น,
ความรู้อารมณ์ทางใจ (ดู วิญญาณ)

ธาตุ - สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่ได้เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย
หรือทรงสภาวะของมันเองได้โดยธรรมชาติ
: ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง

สัญญา - การกำหนดหมาย, ความจำได้ ความหมายรู้ คือ
หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์
ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่น ทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น

และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก

สัญญา เป็นหนึ่งในขันธ์ ๕, สัญญามี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้หมายจำนั้น
เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป, สัททสัญญา หมายรู้เสียง, ธรรมสัญญา หมายรู้ในธรรมารมณ์
หรือความนึกคิด เป็นต้น;
ในภาษาไทย มักไปใช้ในความหมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น บางครั้งจึงทำให้สับสน

ธาตุจำ?.....เพิ่งเคยได้ยิน

มีเวลามากๆๆเมื่อไรค่อยมาทบทวน...เชิญท่านฯว่าไปก่อน



แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 11 พ.ย. 2010, 13:05, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2010, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดีค่ะ
"จิด" เป็นพลังงานที่มีความถี่คลื่นสั้นที่สุดและเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าพลังงานชนิดอื่นใด และเป็นพลังงานที่สามารถ รู้ คิด นึก ทำงานได้ด้วยการ เกิด ดับ จิดนั้น อาศัยอยู่ที่หทัยวัตถุในหัวใจ แต่สามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว จิตนั้นมีเพียง ดวงเดียว แต่ละขณะจิตที่มีการเกิด ดับ พลังงานจิตสามารถไปทำงานอื่นได้มากอย่าง จึงทำให้มีการเข้าใจกันว่า จิตมีหลายดวง

ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 01:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


(ปริจเฉทที่ ๑ จิตตสังคหวิภาค)

จิตคืออะไร

จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้ เรียกว่าอารมณ์

จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์

จิต ต้องรับอารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไป

จิต มีชื่อเรียกหลายคำ เช่น มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 05 ธ.ค. 2010, 22:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา

หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ
:b8: :b8: :b8:

สมด้วยพระพุทธภาษิตในคุหัฏฐกสูตรหน้า ๓๙๕ ที่ว่า...

สญฺญํ ปริญฺญา วิตเรยฺย โอฆํ...
สาธุชนมากำหนดรอบรู้..สัญญา..เเล้วจะพึงข้ามโอฆะได้


043 สัญญา

ก. ถามว่า ส่วนเวทนาข้าพเจ้าเข้าใจดีแล้ว แต่ส่วนสัญญาขันธ์ ความจำรูป จำเสียง จำกลิ่น
จำรส จำโผฏฐัพพะ จำธัมมารมณ์ ๖ อย่างนี้ มีลักษณะอย่างไร?
เมื่อรูป สัญญาความจำรูปเกิดขึ้นนั้น มีอาการเช่นไร?
แลเวลาที่ความจำรูปดับไป มีอาการเช่นไร ข้าพเจ้าอยากทราบ เพื่อจะได้กำหนดถูก?

ข. ตอบว่า คือเราได้เห็นรูปคน หรือรูปของอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมานึกขึ้น
รูปคนหรือรูปของเหล่านั้นก็มาปรากฏขึ้นในใจ เหมือนอย่างได้เห็นจริง ๆ นี่เรียกว่าความจำรูป.

ก. ถามว่า ยังไม่เข้าใจดี ขอให้ชี้ตัวอย่างให้ขาวอีกสักหน่อย?

ข. ตอบว่า เช่นกับเมื่อเช้านี้เราได้พบคนที่รู้จักกันหรือได้พูดกัน ครั้นคนนั้นไปจากเราแล้ว
เมื่อเรานึกถึงคนนั้น รูปร่างคนนั้นก็ปรากฏชัดเจนเหมือนเวลาที่พบกัน หรือได้เห็นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้

เมื่อเวลานึกขึ้นก็เห็นสิ่งนั้นชัดเจน เหมือนอย่างเวลาที่เห็นรวมเป็นรูป ๒ อย่าง
คือ อุปาทินนกรูป รูปที่มีวิญญาณ เช่น รูปคนหรือรูปสัตว์
อนุปาทินนกรูป รูปที่ไม่มีวิญญาณครอง ได้แก่สิ่งของต่าง ๆ หรือต้นไม้ดินหินกรวด.

ก. ถามว่า ถ้าเช่นนั้นคนเป็นก็เป็นรูปที่มีวิญญาณ คนตายก็เป็นรูปที่ไม่มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?
ข. ตอบว่า ถูกแล้ว น่าสลดใจ ชาติเดียวเป็นได้ ๒ อย่าง.

ก. ถามว่า ถ้าเช่นนั้นสัญญาก็เป็นเรื่องของอดีตทั้งนั้นไม่ใช่ปัจจุบัน?

ข. ตอบว่าอารมณ์..นั้นเป็นอดีต แต่เมื่อ..ความจำ..ปรากฏ..ขึ้นในใจ..เป็นสัญญาปัจจุบัน
นี่แหละเรียกว่าสัญญาขันธ์


ก. ถามว่า ถ้าไม่รู้จักสัญญา เวลาที่ความจำรูปคนมาปรากฏขึ้นในใจ ก็ไม่รู้ว่าสัญญาของตัวเอง
สำคัญว่าเป็นคนจริง ๆ หรือความจำรูปที่ไม่มีวิญญาณมาปรากฏขึ้นในใจ ก็ไม่รู้ว่าสัญญา
สำคัญว่าเป็นสิ่งเป็นของจริง ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีโทษอย่างไรบ้าง ขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจ?

ข. ตอบว่า มีโทษมาก เช่นนึกถึงคนที่รัก รูปร่างของคนที่รักก็มาปรากฏกับใจ
กามวิตกที่ยังไม่เกิดก็จะเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็จะงอกงาม หรือนึกถึงคนที่โกรธกัน
รูปร่างของคนที่โกรธกันนั้นก็มาปรากฏชัดเจนเหมือนได้เห็นจริง ๆ
พยาบาทวิตกที่ยังไม่เกิดก็จะเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็จะงอกงาม หรือนึกถึงสิ่งที่ของที่สวย ๆ งาม ๆ

รูปร่างสิ่งของเหล่านั้นก็มาปรากฏในใจ เกิดความชอบใจบ้าง แหละอยากได้บ้าง
เพราะไม่รู้ว่าสัญญาขันธ์ของตัวเอง สำคัญว่าสิ่งทั้งปวงเป็นจริงเป็นจังไปหมด ที่แท้ก็เหลวทั้งนั้น.


ก. ถามว่า ก็ความเกิดขึ้นแห่งสัญญามีลักษณะอย่างไร?

ข. ตอบว่า เมื่อความจำรูปอย่างใดอย่างหนึ่งมาปรากฏในใจเป็นความเกิดขึ้นแห่งความจำรูป
เมื่อความจำรูปเหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งความจำรูป.

ก. ถามว่า ความจำเสียงนั้น มีลักษณะอย่างไร?

ข. ตอบว่า เมื่อเวลาเราฟังเทศน์ เมื่อพระเทศน์จบแล้ว เรานึกขึ้นจำได้ว่าท่านแสดงว่าอย่างนั้น ๆ
หรือมีคนมาพูดเล่าเรื่องอะไร ๆ ให้เราฟัง เมื่อเขาพูดเสร็จแล้ว เรานึกขึ้นจำถ้อยคำนั้นได้
นี่เป็นลักษณะของความจำเสียง

เมื่อความจำเสียงปรากฏขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งความจำเสียง
เมื่อความจำเสียงเหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งสัททสัญญา.

ก. ถามว่า คันธสัญญาความจำกลิ่นมีลักษณะอย่างไร?

ข. ตอบว่า เช่นกับเราเคยได้กลิ่นหอมดอกไม้หรือน้ำอบ หรือกลิ่นเหม็นอย่างใดอย่างหนึ่งไว้
เมื่อนึกขึ้นก็จำกลิ่นหอมกลิ่นเหม็นเหล่านั้นได้ นี่เป็นความเกิดขึ้นของความจำกลิ่น
เมื่อความจำกลิ่นเหล่านั้นหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งคันธสัญญา.

ก. ถามว่า รสสัญญาความจำรสนั้นมีลักษณะอย่างไร?

ข. ตอบว่า ความจำรสนั้น เมื่อเรารับประทานอาหารมีรส เปรี้ยว หวาน จืด เค็ม หรือขมเป็นต้น
เมื่อรับประทานเสร็จแล้ว นึกขึ้นก็จำรสเหล่านั้นได้อย่างนี้เรียกว่า ความจำรส

เมื่อความจำรสปรากฏขึ้นในใจเป็นความเกิดขึ้นแห่งรสสัญญา
เมื่อความจำรสเหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งรสสัญญา.

ก. ถามว่า โผฐฐัพพสัญญานั้นมีลักษณะอย่างไร?

ข. ตอบว่า ความจำเครื่องกระทบทางกาย เช่นเราเดินไปเหยียบหนาม ถูกหนามยอก
หรือถูกต้องเย็นร้อนอ่อนแข็งอย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อนึกขึ้นจำความถูกต้องกระทบทางกายเหล่านั้นได้ ชื่อว่าโผฏฐัพพะสัญญา.

ก. ถามว่า เช่นเมื่อกลางวันนี้เราเดินทางไปถูกแดดร้อนจัด ครั้นกลับมาถึงบ้าน นึกถึงที่ไปถูกแดดมานั้น
ก็จัดได้ว่าวันนั้นเราไปถูกแดดร้อนอย่างนี้เป็นโผฏฐัพพสัญญาถูกไหม?

ข. ตอบว่า ถูกแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบถูกต้องทางกาย

เมื่อเรานึกคิดถึงอารมณ์เหล่านั้น จำได้เป็นโผฏฐัพพสัญญาทั้งนั้น

เมื่อความจำโผฏฐัพพเกิดขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งโผฏฐัพพสัญญา
เมื่อความจำเหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งโผฏฐัพพสัญญา.

ก. ถามว่า ธัมมสัญญามีลักษณะอย่างไร?
ข. ตอบว่า ธัมมสัญญา..ความจำธัมมารมณ์นั้นละเอียดยิ่งกว่าสัญญา ๕ ที่ได้อธิบายมาแล้ว

ธัมมารมณ์

ก. ถามว่า ธัมมารมณ์นั้นได้แก่สิ่งอะไร?

ข. ตอบว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ๓ อย่างนี้ ชื่อว่า ธัมมารมณ์

เช่น เราได้เสวยเวทนาที่เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ไว้ แลเวทนาเหล่านั้นดับไปแล้ว
นึกขึ้นจำได้อย่างนี้ ชื่อว่าความจำเวทนา

หรือ เราเคยท่องบ่นอะไร ๆ จะจำได้มากก็ตามหรือจำได้น้อยก็ตาม เมื่อความจำเหล่านั้นดับไป
พอนึกขึ้นถึงความจำเก่า ก็มาเป็น..สัญญาปัจจุบันขึ้น อย่างนี้เรียกว่า..ความจำสัญญา

หรือเราคิดนึกเรื่องอะไร ๆ ขึ้นเองด้วยใจ เมื่อความคิดเหล่านั้นดับไป
พอเรานึกถึงเรื่องที่เคยคิดเอาไว้นั้น ก็จำเรื่องนั้นได้ นี่เรียกว่า..ความจำสังขารขันธ์

ความจำเรื่องราวของเวทนา สัญญา สังขารเหล่านี้แหละชื่อว่า ธัมมสัญญา ความจำธัมมารมณ์

เมื่อความจำธัมมารมณ์มาปรากฏขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งธัมมสัญญา
เมื่อความจำธัมมารมณ์เหล่านั้นดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งธัมมสัญญา.

ก. ถามว่า แหมช่างซับซ้อนกันจริง ๆ จะสังเกตอย่างไรถูก?

ข. ตอบว่า ถ้ายังไม่รู้จักอาการขันธ์ ก็สังเกตไม่ถูก ถ้ารู้จักแล้ว ก็สังเกตได้ง่าย
เหมือนคนที่รู้จักตัวแลรู้จักชื่อกัน ถึงจะพบหรือเห็นกันมาก ๆ คนก็รู้จักได้ทุก ๆ คน
ถ้าคนที่ไม่เคยรู้จักตัวหรือรู้จักชื่อกันมาแต่คนเดียว..ก็ไม่รู้จักว่า ผู้นั้นคือใคร


044 สังขาร

ก. ถามว่า สังขารขันธ์คืออะไร?
ข. ตอบว่า สังขารขันธ์คือความคิดความนึก

ก. ถามว่า สังขารขันธ์เป็นทุกขสัจหรือเป็นสมุทัย?
ข. ตอบว่า เป็นทุกขสัจ ไม่ใช่สมุทัย.

ก. ถามว่า ก็สังขารขันธ์ตามแบบอภิธัมมสังคหะ ท่านแจกไว้ว่า มีบาปธรรม ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕
อัญญสมนา ๑๓ รวมเป็นเจตสิก ๕๒ ดวงนั้น ดูมีทั้งบุญทั้งบาป และไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปปนกัน
ทำไมจึงเป็นทุกขสัจอย่างเดียว ข้าพเจ้ายังฉงนนัก?

ข. ตอบว่า อัญญสมนา ๑๓ ยกเวทนาสัญญาออกเสีย ๒ ขันธ์ เหลืออยู่ ๑๑
นี่แหละเป็นสังขารขันธ์แท้ จะต้องกำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์

ส่วนบาปธรรม ๑๔ นั้นเป็นสมุทัยอาศัยสังขารขันธ์เกิดขึ้น เป็นส่วนปหาตัพพธรรมจะต้องละ
ส่วนโสภณเจตสิก ๒๕ นั้น เป็นภาเวตัพพธรรมจะต้องเจริญ

เพราะฉะนั้นบาปธรรม ๑๔ กับโสภณเจตสิก ๒๕ ไม่ใช่สังขารแท้
เป็นแต่อาศัยสังขารขันธ์เกิดขึ้น จึงมีหน้าที่จะต้องละแลต้องเจริญ

ความคิดความนึกอะไร ๆ ที่มาปรากฏขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งสังขารขันธ์
ความคิดความนึกเหล่านั้นดับหายไปจากใจ ก็เป็นความดับไปแห่งสังขารขันธ์.


045 วิญญาณ

ก. ถามว่า วิญญาณขันธ์ที่รู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ๖ อย่างนี้
มีลักษณะอย่างไร และเวลาเกิดขึ้นแลดับไปมีอาการอย่างไร?

ข. ตอบว่า คือ ตา ๑ รูป ๑ กระทบกันเข้า เกิดความรู้ทางตา
เช่นกับเราได้เห็นคนหรือสิ่งของอะไร ๆ ก็รู้ได้คนนั้นคนนี้ หรือสิ่งนั้นสิ่งนี้ ชื่อว่าจักขุวิญญาณ

เมื่อรูปมาปรากฏกับตา เกิดความรู้ทางตา เป็นความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ
เมื่อความรู้ทางตาดับหายไป เป็นความดับไปแห่งจักขุวิญญาณ

หรือความรู้ทางหู รู้กลิ่นทางจมูก รู้รสทางลิ้น รู้โผฏฐัพพะทางกายมาปรากฏขึ้น
ก็เป็นความเกิดขึ้นแห่งโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ

เมื่อความรู้ทางหู จมูก ลิ้น กาย หายไป ก็เป็นความดับไปแห่งโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
เมื่อใจกับธัมมารมณ์มากระทบกันเข้าเกิดความรู้ทางใจเรียกว่ามโนวิญญาณ.

ก. ถามว่า ใจนั้นได้แก่สิ่งอะไร?

ข. ตอบว่า ใจนั้นเป็นเครื่องรับธัมมารมณ์ให้เกิดความรู้ทางใจ
เหมือนอย่าตาเป็นเครื่องรับรูปให้เกิดความรู้ทางตา.

ก. ถามว่า รู้เวทนา รู้สัญญา รู้สังขารนั้น รู้อย่างไร?

ข. ตอบว่า รู้เวทนานั้น เช่นสุขเวทนาเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น ก็รู้ว่าเป็นสุข หรือทุกขเวทนาเกิดขึ้น
ก็รู้ว่าเป็นทุกข์ อย่างนี้แลรู้เวทนา
หรือสัญญาใดมาปรากฏขึ้นในใจ จะเป็นความจำรูปหรือความจำเสียงก็ดี
ก็รู้สัญญานั้น อย่างนี้เรียกว่ารู้สัญญา

หรือความคิดเรื่องอะไร ๆ ขึ้น ก็รู้ไปในเรื่องนั้นอย่างนี้ รู้สังขาร

ความรู้เวทนา สัญญา สังขาร ๓ อย่างนี้ ต้องรู้ทางใจเรียกว่า..มโนวิญญาณ.

ก. ถามว่า มโนวิญญาณความรู้ทางใจก็เหมือนกันกับธรรมสัญญา ความจำธัมมารมณ์อย่างนั้นหรือ?
เพราะนี่ก็รู้ว่าเวทนา สัญญา สังขาร นั่นก็จำเวทนา สัญญา สังขาร?

ข. ตอบว่า ต่างกัน
เพราะสัญญานั้นจำอารมณ์ที่ล่วงแล้ว..แต่ตัวสัญญาเอง เป็น..สัญญาปัจจุบัน
ส่วนมโนวิญญาณนั้นรู้เวทนา สัญญา สังขารที่เป็น..อารมณ์ปัจจุบัน

เมื่อความรู้เวทนา สัญญา สังขาร มาปรากฏขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ
เมื่อความรู้เวทนา สัญญา สังขาร ดับ หายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งมโนวิญญาณ.

ก. ถามว่า เช่นผงเข้าตา รู้ว่าเคืองตา เป็นรู้ทางตาใช่ไหม?

ข. ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะรู้ทางตานั้น หมายถึงรูปที่มากระทบกับตาเกิดความรู้ขึ้น
ส่วนผงเข้าตานั้นเป็นกายสัมผัส ต้องเรียกว่ารู้โผฏฐัพพะ เพราะตานั้นเป็นกาย
ผลนั้นเป็นโผฏฐัพพะ เกิดความรู้ขึ้น ชื่อว่ารู้ทางกาย
ถ้าผงเข้าตาคนอื่น เขาวานเราไปดู เมื่อเราได้เห็นผลเกิดความรู้ขึ้น ชื่อว่ารู้ทางตา

อาการขันธ์

ก. ถามว่า สาธุ ข้าพเจ้าเข้าใจความในเรื่องนี้ชัดเจนดีแล้ว แต่ขันธ์ ๕ นั้นยังไม่ได้ความ
ว่าจะเกิดขึ้นทีละอย่างสองอย่าง หรือว่าต้องเกิดพร้อมกันทั้ง ๕ ขันธ์?
ข. ตอบว่า ต้องเกิดพร้อมกันทั้ง ๕ ขันธ์.

ก. ถามว่า ขันธ์ ๕ ที่เกิดพร้อมกันนั้น มีลักษณะอย่างไร? และความดับไปมีอาการอย่างไร?
ขอให้ชี้ตัวอย่างให้ขาวสักหน่อย.

ข. ตอบว่า เช่นเวลาเรานึกถึงรูปคนหรือรูปสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง
อาการที่นึกขึ้นนั้นเป็นลักษณะของสังขารขันธ์

รูปร่างหรือสิ่งของเหล่านั้นมาปรากฏขึ้นในใจ นี่เป็นลักษณะของรูปสัญญา
ความรู้ที่เกิดขึ้นในเวลานั้น นี่เป็นลักษณะของมโนวิญญาณ

สุขหรือทุกข์หรืออุเบกขาที่เกิดขึ้นในความนั้น นี่เป็นลักษณะของเวทนา

มหาภูตรูป หรืออุปทายรูปที่ปรากฏอยู่นั้น เป็นลักษณะของรูป..
อย่างนี้เรียกว่าความเกิดขึ้นแห่งขันธ์พร้อมกันทั้ง ๕
เมื่ออาการ ๕ อย่างเหล่านั้นดับไป..เป็นความดับไปแห่งขันธ์ทั้ง ๕.

ก. ถามว่า ส่วนนามทั้ง ๔ เกิดขึ้นและดับไปพอจะเห็นด้วย แต่ที่ว่ารูปดับไปนั้นยังไม่เข้าใจ?

ข. ตอบว่า ส่วนรูปนั้นมีความแปรปรวนอยู่เสมอเช่น ของเก่าเสื่อมไป ของใหม่เกิดแทน
แต่ทว่าไม่เห็นเอง เพราะรูปสันตติ รูปที่ติดต่อเนื่องกันบังเสีย จึงแลไม่เห็น
แต่ก็ลองนึกดูถึงรูปตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันนี้เปลี่ยนไปแล้วสักเท่าไร
ถ้ารูปไม่ดับก็คงไม่มีเวลาแก่แลเวลาตาย.

ก. ถามว่า ถ้าเราจะสังเกตขันธ์ ๕ ว่าเวลาเกิดขึ้นแลดับไปนั้น จะสังเกตอย่างไรจึงจะเห็นได้
แลที่ว่าขันธ์สิ้นไปเสื่อมไปนั้นมีลักษณะอย่างไร เพราะว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
แล้วก็เกิดขึ้นได้อีกดูเป็นของคงที่ไม่เห็นมีความเสื่อม?

ข. ตอบว่า พูดกับคนที่ไม่เคยเห็นความจริงนั้น...ช่างน่าขันเสียเหลือเกิน

วิธีสังเกตขันธ์ ๕ นั้น ก็ต้องศึกษาให้รู้จักอาการขันธ์ตามความเป็นจริง
แล้วก็มีสติสงบความคิดอื่นเสียหมดแล้ว
จนเป็นอารมณ์อันเดียวที่เรียกว่าสมาธิ ในเวลานั้นความคิดอะไร ๆ ไม่มีแล้ว

ส่วนรูปนั้นหมายลมหายใจ
ส่วนเวทนาก็มีแต่ปีติหรือสุข
ส่วนสัญญาก็เป็นธรรม สัญญาอย่างเดียว
ส่วนสังขารเวลานั้นเป็นสติกับสมาธิ หรือวิตกวิจารณ์อยู่
ส่วนวิญญาณก็เป็นแต่ความรู้อยู่ในเรื่องที่สงบนั้น

ในเวลานั้นขันธ์ ๕ เข้าไปรวมอยู่เป็นอารมณ์เดียว
ในเวลานั้นต้องสังเกตอารมณ์ปัจจุบัน ที่ปรากฏอยู่เป็นความเกิดขึ้นแห่งขันธ์
พออารมณ์ปัจจุบันนั้นดับไป เป็นความดับไปแห่งนามขันธ์

ส่วนรูปนั้นเช่นลมหายใจออกมาแล้ว พอหายใจกลับเข้าไป ลมหายใจออกนั้นก็ดับไปแล้ว
ครั้นกลับมาหายใจออกอีก ลมหายใจเข้าก็ดับไปแล้ว
นี่แหละเป็นความดับไปแห่งขันธ์ทั้ง ๕
แล้วก็ปรากฏขึ้นมาอีก ก็เป็นความเกิดขึ้นทุก ๆ อารมณ์

แลขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นดับไป ไม่ใช่ดับไปเปล่า ๆ รูปชีวิตินทรีย์ความเป็นอยู่ของรูปขันธ์
อรูปชีวิตินทรีย์ความเป็นอยู่ของนามขันธ์ทั้ง ๕ เมื่ออารมณ์ดับไปครั้งหนึ่ง
ชีวิตแลอายุของขันธ์ทั้ง ๕ ก็สิ้นไปหมดทุก ๆ อารมณ์

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~ :b44: :b44: :b44:~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา

หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ
:b8: :b8: :b8:

อ่านแล้ว รู้สึกหลวงปู่มั่น เก่งทั้งปริยัติ และปฏิบัติ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร