วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 09:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2010, 01:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สรุปง่ายๆ ว่า ตาเห็นรูป (เกิดจักขุสัมผัส) จำรูปได้ว่าคืออะไร (อาศัยรูปสัญญาเดิม) อาศัยความจำนั้นเกิดเป็นความคิด (เกิดรูปสังกัปปะ) จากนั้นก็เก็บสัญญาที่เกิดไว้ในจิตอีก แบบนี้หนือไม่?



เป็นอย่างนั้น
อ้างคำพูด:
แปลว่า สัญญาฝ่ายอกุศลทั้งหมด เกิดจาก โลภะ โทสะ โมหะ เป็นมูล ใช่หรือไม่?

ไม่ใช่ เพราะว่า สัญญา เป็น เจตสิก ฝ่ายกลางๆ ไม่ใช่ บุญ ไม่ใช่บาป เวทนา ต่างหากที่เสวยอารมณ์ บุญ บาปก็เกิดจากการเสวยอารมณ์

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2010, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
สรุปง่ายๆ ว่า ตาเห็นรูป (เกิดจักขุสัมผัส) จำรูปได้ว่าคืออะไร (อาศัยรูปสัญญาเดิม) อาศัยความจำนั้นเกิดเป็นความคิด (เกิดรูปสังกัปปะ) จากนั้นก็เก็บสัญญาที่เกิดไว้ในจิตอีก แบบนี้หนือไม่?



ขอตอบว่า..ไม่ใช่
ว่าด้วย..ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สัญญาเป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่เเห่งสัญญา(สญฺญากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ

สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น
สัญญาในรส สัญญาในโผฎฐัพพะ สัญญาในธัมมารมย์
เราเรียกว่า..สัญญา

....การเกิดเเห่งสัญญา ย่อมมี..เพราะ..การเกิดขึ้นเเห่งผัสสะ
....ความดับไม่เหลือเเห่งสัญญา ย่อมมี..เพราะ..ความดับไม่เหลือเเห่งผัสสะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2010, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา แปลว่า รู้ได้หมายจำ
สัญญาขันธ์ แปลว่า ความทรงจำ

ตอบคุณ student

เมื่อตาเห็นรูป เป็นอริเก่า เกิดพยาบาทสัญญา หมายถึงว่า จำได้ว่าคนนี้เราผูกแค้นอยู่ แบบนี้เรียกสัญญาแบบนี้ว่าอะไร? เป็นกุศล อกุศล หรือไม่ใช่ทั้งคู่

สัญญาอย่างนี้จะเกิดก่อนหรือหลังเวทนา?

ตอบคุณ อานาปานา

ตาเห็นรูป = เกิดผัสสะทางตา
จำรูปได้ = เกิดสัญญาในรูป

ไม่ใช่ตรงใหน?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2010, 01:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:
Supareak Mulpong เขียน:
สรุปง่ายๆ ว่า ตาเห็นรูป (เกิดจักขุสัมผัส) จำรูปได้ว่าคืออะไร (อาศัยรูปสัญญาเดิม) อาศัยความจำนั้นเกิดเป็นความคิด (เกิดรูปสังกัปปะ) จากนั้นก็เก็บสัญญาที่เกิดไว้ในจิตอีก แบบนี้หนือไม่?

Supareak Mulpong เขียน:
ไม่ใช่ตรงใหน?


หากศึกษาจาก..ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์

ถ้าถือมั่นในข้อความข้างต้นที่เขียนเอง...ก็เเสดงว่า..ยังไม่เข้าใจในเรื่องของปฏิจจสมุปบาท

มีอีกวิธีหนึ่งเดียวเท่านั้น..ที่สามารถเข้าไปพิสูจน์ให้เห็นจริง ก็คือ..ปฏิบัติ..
ให้ จิตเห็นจิต เป็นมรรค ดั่งที่หลวงปู่ดูลย์ :b8: ฝากไว้

เมื่อไรที่เข้าไป..เห็นจิต..อย่างเเจ่มเเจ้งเเล้ว
ย้อนกลับมาดู..ข้อความที่คุณเขียนไว้ข้างต้นๆอีกสักครั้ง
เเล้วจะพบคำตอบที่ว่า..ไม่ใช่ตรงไหน?

เจริญในธรรม :b44:






โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2010, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สญฺญากายา ที่ว่าไม่เป็นบุญเป็นบาป เพราะหมายถึง จำได้เฉยๆ ให้รู้ว่ารูปอะไร เสียงอะไร ฯ ยังไม่มีปรุงแต่ง ยังไม่เกิดเป็นเวทนา

คุณ อานาปานา แล้วคุณว่า สัญญา คืออะไร เกิดอย่างไร? สัญญาเกิดจากผัสสะ แปลว่าอะไรละครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2010, 20:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:
Supareak Mulpong เขียน:


สรุปง่ายๆ ว่า ตาเห็นรูป (เกิดจักขุสัมผัส) จำรูปได้ว่าคืออะไร (อาศัยรูปสัญญาเดิม) อาศัยความจำนั้นเกิดเป็นความคิด (เกิดรูปสังกัปปะ)

ใช่
อ้างคำพูด:
จากนั้นก็เก็บสัญญาที่เกิดไว้ในจิตอีก แบบนี้หนือไม่?

ไม่เชิง...สัญญาใหม่ก็เก็บในกองสัญญาขันธ์นั้นแหละ..แต่จิตก็รู้

อ้างคำพูด:
สัญญาเดิมที่เก็บไว้ มีผลต่อการเกิดความคิดโดยตรง เช่น ตาเห็นทองคำ ก็รู้ว่าเป็นทองคำ เป็นของมีค่ามีราคา เกิดเป็นความคิดว่าอยากได้ เพราะมีสัญญาเก่าที่อยากได้ทองคำหรือของมีค่าอยู่ก่อนหน้า ขับให้เกิดเป็นพฤติกรรม ความอยากได้ที่เกิดใหม่ ก็เก็บไว้เป็นความจำอีก ทำให้ความอยากได้ในความทรงจำมีมากขึ้น แรงขับในการเกิดความอยากได้ครั้งต่อไปก็จะมีกำลังมากขึ้น

ใช่..เลย..
อ้างคำพูด:
แปลว่า เมื่อเราเกิดการรับรู้ ถ้าเกิดความพอใจ ไม่พอใจ ตอบสนองสิ่งที่รับรู้นั้น หมายถึง มี โลภะ โทสะ โมหะ (อวิชชา) เจือกับจิต ทำให้เกิดความทรงจำ จำคู่กันระหว่างเวทนาและอามรณ์ ความทรงจำที่มี โลภะ โทสะโมหะ อยู่ด้วย ก็จะทำให้เกิด โลภะ โทสะ โมหะ ขึ้นมาใหม่เจือกับจิตเมื่อเราไปรับรู้เรื่องเดิมหรือสิ่งเดิม อย่างนี้หรือไม่?

ไม่แน่ใจ...ว่ากองสัญญา..มันจะcopy โลภะ โทสะ..โมหะ..ใว้ได้หรือเปล่า..น่าจะเก็บได้แต่รูปแบบการทำงาน..หรือการตัดสินใจ..หรือ..ลักษณะของเวทนา..ขันธ์มันทำงานคล้ายเครื่องจักรทำตามหน้าที่ไม่ได้มีความรู้สึกจริง ๆ หรอก..มีแต่จิตที่รู้สึกจริง

พวกโลภ กับ โกรธ ไม่ได้อยู่ในกองของนามขันธ์..สัญญาขันธ์ก็คงเก็บอะไรมันไม่ได้..
และ..น่าจะเกิดหลังมีตัณหา...ควรจะเกิดจากจอมกษัตรย์แห่งวัฏฏจักรคืออวิชชา..โดยตรง..ทุกครั้ง

อ้างคำพูด:
โลภะ โทสะ โมหะ ที่เกิดใหม่ (อวิชชาใหม่) ก็จะไปเพิ่มกำลัง โลภะ โทสะ โมหะ เดิมที่มีอยู่ในสัญญา (กองอิวิชชา) ให้สามารถส่งอิทธิพลต่อความคิดของเราในครั้งต่อไป อย่างนี้หรือไม่?

กำลังความรุนแรง..น่าจะเพิ่มที่..
มีอุปาทาน..แล้วกลับมาที่..กองขันธ์..เกิดผัสสะจากธรรมารมณ์..เกิดเวทนา..ตัณหา...แล้วเกิดอุปาทาน..ขึ้นอีก...กลับไปที่กองขันธ์อีก..

วนหลาย ๆ รอบเข้าก็ยิ่งรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ..เจ้าตัวที่คอยผลักวงล้อให้หมุนนี้ก็น่าจะเป็นเจ้าความโลภ..ความโกรธ..และอวิชชา

อ้างคำพูด:
แล้วโลกุตระสัญญา

:b12: ไม่เข้าใจ

สัญญามันเรื่องแค่ระดับของขันธ์..ก็เลยไม่เข้าใจ..โลกุตระสัญญา :b12:

ถ้าเป็น..โลกุตระจิต..ก็พอจะคิดตามได้หน่อย :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 06 ธ.ค. 2010, 20:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2010, 20:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:
....การเกิดเเห่งสัญญา ย่อมมี..เพราะ..การเกิดขึ้นเเห่งผัสสะ

:b8: :b8:
อ้างคำพูด:
....ความดับไม่เหลือเเห่งสัญญา ย่อมมี..เพราะ..ความดับไม่เหลือเเห่งผัสสะ

ตรงนี้น่าคิด...เพราะ..ใช้คำว่า..ความดับไม่เหลือ

หาก..ตอนที่เรานอนหลับสนิทมาก ๆ..คิดว่ามีผัสสะไหม??..ไม่น่าจะมีเน๊าะ

แล้วตอนตื่นขึ้นมา..ก็ยังจำเรื่องราวเก่า ๆ ได้อยู่เน๊าะ

ตรงนี้แหละน่าคิด :b6: :b6:

หากมาใช้คำว่า..ไม่ปรากฎ..แทน..จะเป็นอย่างไร?

ความไม่ปรากฏขึ้นของสัญญา ย่อมมี..เพราะความไม่ปรากฏแห่งผัสสะ

อย่างนี้พอจะได้ไหมครับ...
สัญญาเก่าไม่ได้ละลายหายไปไหนแค่..ไม่ปรากฏ..เท่านั้น
:b16: :b16: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2010, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เกิดผัสสะ ก็คือ จิตตกภวังค์ หลับสนิท ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย หลับเป็นตาย :b13:

การเกิดของสัญญา หมายถึง การเกิดของสัญญาเจตสิกที่เกิดในจิตขณะนั้นๆ

ก่อนจะสับสนกันไปไกล ขอให้พิจารณาการรับรู้ของจิตในปัจจทวารวิถี ง่ายๆ ตามนี้

๑) ตาเห็นดอกไม้ ยังไม่รู้ว่าเป็นดอกไม้ -> เก็บเป็นความทรงจำของรูปไว้
๒) จากนั้นก็ปรุงแต่ง เกิดความชอบใจ พอใจ เพราะสีสวย -> เก็บรูปดอกไม้พร้อมความชอบเป็นความทรงจำ
๓) เมื่อกลับมาเห็นดอกไม้อีก ก็จำได้อีกว่าเป็นดอกไม้ -> เก็บเป็นความทรงจำของรูปย้ำความทรงจำเดิม
๔) เกิดความพอใจตามมา <- เพราะมีข้อมูลว่าชอบดอกไม้ในความทรงจำ -> เก็บรูปดอกไม้พร้อมความชอบเป็นความทรงจำย้ำความทรงจำเดิม


ตาเห็นรูป ก็คือ การเกิดผัสสะทางตา หรือ ได้รับกระทบสัมผัส
ที่ไม่รู้ว่าเป็นดอกไม้ เพราะไม่มีข้อมูลในความทรงจำว่า รูปร่างสีสรรค์แบบนี้ คืออะไร แต่ถ้าที่รู้ว่าเป็นดอกไม้ ก็เพราะมีข้อมูลเรื่องดอกไม้ในความทรงจำแล้ว และรูปนี้ก็จะถูกเก็บไว้เป็นความทรงจำ (เก็บไว้ในจิตใจ ในส่วนของกองสัญญา) -> แบบนี้ เรียกว่า การเกิดของสัญญา ยังไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป

ต่อมา อารมณ์ของรูปก็จะไหลต่อเนื่องเข้าไปสู่กระบวนการคิดปรุงแต่ง สติจะไปควานหาสัญญาที่เกี่ยวกับดอกไม้ ก็พบข้อมูลว่า สีแบบนี้ รูปร่างแบบนี้ น่าดูน่าชม เพราะมีกิเลสอันนอนเนื่องผลักดัน เกิดความเป็นจำว่า รูปร่างแบบนี้ สีแบบนี้ ฉันชอบ -> แบบนี้เรียกว่า การเกิดของกิเลสสัญญา

เมื่อกลับมาเห็นดอกไม้อีก ก็รู้ทันทีว่า ดอกไม้ ตอบสนองทันทีว่าชอบ เพราะมีข้อมูลในสัญญาแล้ว ทุกครั้งที่เห็น จิตก็จะจดจำทั้งรูปและเวทนานั้นไว้คู่กัน เป็นสัญญาใหม่ย้ำของเดิมไปเรื่อยๆ


ตามนี้ ก็จะสรุปได้ง่ายๆ ว่า สัญญาแปลว่าจำได้ สัญญาขันธ์แปลว่าความทรงจำ

สัญญาที่ตอบสนองอารมณ์ มี ๒ จุด คือ ตอนรับรู้อารมณ์ และตอนปรุงแต่งให้เกิดเวทนา เกิดเวทนาเพราะอวิชชา เกิดเวทนาแล้วจึงเกิดเป็นตัณหา อุปทาน และกลับไปเป็นอวิชชาอีก ทำให้อวิชชาเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ

ราคะสัญญา เช่น เห็นผู้หญิงแล้วชอบ ฯ พยาบาทสัญญา เห็นหน้าคนที่ด่าเราเมื่อปีที่แล้ว ก็ไม่พอใจ ฯ เป็นต้น ถ้าไม่มีความจำในลักษณะนี้ เราก็จะจำไม่ได้ว่า เราชอบใคร เกลียดใคร ฯ

ส่วน สัญญาที่เป็นโลกุตระ คือ อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนันตสัญญา


โลภะ โทสะ โมหะ ก็คือ อวิชชา จะไปปรุงแต่อารมณ์ที่จิตรับรู้ หลังจากที่จิตรู้แล้วว่าสิ่งที่รู้เห็นคืออะไร ทำให้เกิดเป็นเวทนา หรือ ความพอใจ ไม่พอใจ และความหลง ตอบสนองต่ออารมณ์นั้นๆ

ทุกครั้งที่เรารับรู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เช่นดอกไม้ เราจึงตอบสนองเป็นความพอใจเสมอไป เพราะ โลภะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ในสัญญาที่ประกบคู่กับอารมณ์นั้นๆ หรือ รูปดอกไม้ในสัญญา มันมีตัวอวิชชาประกบอยู่ เมื่อมันถูกสติดึงขึ้นมา อวิชชานั้นก็จะตามมาด้วยเสมอ

กระบวนการในลักษณะนี้ จะทำให้กองสัญญาของปุถุชน เจือด้วยอวิชชา หรือ ถูกครอบงำด้วยอวิชชา รู้เห็นอะไร ก็จะตอบสนองออกมาเป็นความพอใจไม่พอใจเสมอ เรียกอวิชชาว่า ความไม่รู้ หรือความหลง ปุถุชนจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้หลงโลก คือ หลงในอายตนะโลก

สัญญา ที่เรียกว่า สัญญา สัญญา ดังนี้ มีอาการอย่างนี้ ไม่มีอาการเป็นอย่างอื่น เกิดอย่างนี้ ไม่มีที่อื่นเกิด นอกจากเกิดในทวาร ๖ หรือ อินทรีย์ ๖ แบบนี้ ใช่หรือไม่? หรือมีอาการอย่างอื่น เป็นอย่างอื่น เกิดที่อื่นๆ อีก?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2010, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."

ข้อความข้างต้นนี้...มีความหมายเพียงใดกับการศึกษาธรรมของคุณSupareak Mulpong

ที่คุณฯเขียนกระทู้มาทั้งหมด...มีบัญญัติขององค์พระศาสดา :b8: ที่ไหนบ้าง??
เท่าที่เห็นก็มีเเต่..ความฟุ้งซ่าน..เขียนขึ้นเอง..ตามกำลังอัตตา

ที่มาเเสดงความคิดเห็น..ก็ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ มาชี้ให้เห็น..
ยกเอาบัญญุัติของพระองค์ท่าน..มาให้อ่าน...ก็เท่านั้น



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 01:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณอานาปานา ผมก็ไม่ได้ไปว่าอะไรคุณนะ ก็ถามตรงไปตรงมา ว่า ไม่ใช่ตรงใหน ท่านจะได้ชี้แจงเพิ่มเติม

Quote Tipitaka:
สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งจักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น.อันใด นี้ชื่อว่า สัญญา มีในสมัยนั้น ฯ

[๙๒๘] อกุศลสัญญา ๓ เป็นไฉน? กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา
บรรดาสัญญา ๓ นั้น กามสัญญา เป็นไฉน? ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ อันเกี่ยวด้วยกาม นี้เรียกว่ากามสัญญา
พยาบาทสัญญา เป็นไฉน? ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ เกี่ยวด้วยพยาบาท นี้เรียกว่า พยาบาสัญญา
วิหิงสาสัญญา เป็นไฉน? ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ อันเกี่ยวด้วยความเบียดเบียน นี้เรียกว่าวิหิงสาสัญญา


สัญญาขันธ์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=141&Z=225
สัญญาขันธ์ [ทุกมูลกวาร]
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=702&Z=961
สัญญาสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=3801&Z=3825&pagebreak=0
สัญญาสูตร ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3407&Z=3466&pagebreak=0
สัญญาณอัญญาณสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=17&A=6604
สัญญาสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=10499
สัญญาสูตรที่ ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=23&A=1076

สัมผัสสสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=16&A=3727
ผัสสสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=16&A=3859
ฯลฯ


อ้างคำพูด:
วิถีจิตสังคหวิภาค

ขณะจิตในอติมหันตารมณ์วิถี

รูปที่มีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต หรือ ๕๑ อนุขณะนั้น มีชื่อเรียกว่า สตฺตรสายุกรูป

อติมหันตารมณ์วิถี = ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต

ตี = อตีตภวังค, น = ภวังคจลนะ, ท = ภวังคุ ปัจเฉทะ, ป = ปัญจทวาราวัชชนะ, วิ = ปัญจวิญญาณ, สํ = สัมปฏิจฉันนะ, สัน = สันตีรณะ, วุ = โวฏฐัพพนะ, ช = ชวนะ, ต = ตทาลัมพนะ, ภ = ภวังค, มโน = มโนทวาราวัชชนะ

ขณะที่ ๑ อตีตภวังค เป็นภวังคจิตดวงแรกที่กระทบกับอารมณ์ใหม่ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า อารมณ์ใหม่มากระทบกับภวังคจิตดวงใด ภวังคจิตดวงนั้นได้ชื่อ ว่า อตีตภวังค

ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ภวังคจิตมี กรรมอารมณ์ หรือกรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพก่อน ซึ่งขอ สมมติเรียกว่าอารมณ์เก่า อตีตภวังคก็คงมีอารมณ์เก่า ยังไม่ได้รับอารมณ์ใหม่ เป็น แต่เพียงอารมณ์ใหม่มากระทบเท่านั้นเอง ดังนั้น จิตดวงนี้จึงยังไม่เรียกว่า วิถีจิต

ขณะที่ ๒ ภวังคจลนะ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ แต่ยังคงเป็นภวังคจิตที่มีอารมณ์เก่าอยู่ จึงยังไม่เรียกว่าวิถีจิตเหมือนกัน

ขณะที่ ๓ ภวังคุปัจเฉทะ เป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารมณ์ เก่า วางอารมณ์เก่า เพื่อรับอารมณ์ใหม่ที่มากระทบนั้นต่อไป ภวังคุปัจเฉทะนี้ ก็ยัง คงเป็นภวังคจิตที่มีอารมณ์เก่าอยู่ จึงยังไม่เรียกว่าวิถีจิตเช่นเดียวกัน

อตีตภวังค ภวังคจลนะ และ ภวังคุปัจเฉทะ ทั้ง ๓ ขณะ ที่กล่าวมานี้ ได้แก่ ภวังคจิตดวงเดียวกัน ดวงใดดวงหนึ่งในจำนวนภวังคจิต ๑๕ ดวง (เว้นอรูป วิปากจิต ๔)

ขณะที่ ๔ ปัญจทวาราวัชชนะ เป็นกิริยาจิตก็เกิดขึ้น เพื่อพิจารณาอารมณ์ใหม่ที่มากระทบนั้น ว่าเป็นอารมณ์ที่มาทางทวารไหน จะได้เป็นปัจจัยให้สัญญาณแก่ วิญญาณจิตทางทวารนั้น

ปัญจทวาราวัชชนจิตนี้เป็นปฐมวิถีจิต คือ เป็นจิตดวงแรกที่ขึ้นวิถี หรือที่นับ เป็นวิถี เพราะจิตดวงนี้ได้รับอารมณ์ใหม่แล้ว และจิตดวงต่อ ๆ ไป ก็รับอารมณ์ ใหม่ และนับเป็นวิถีจิต จนกว่าจะสุดวิถี คือ กลับเป็นภวังคไปตามเดิม

ขณะที่ ๕ ปัญจวิญญาณ ก็เกิดขึ้นตามควรแก่อารมณ์ คือ

เป็น รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ ก็เกิดขึ้น เห็นรูปนั้น

เป็น สัททารมณ์ โสตวิญญาณ ก็เกิดขึ้น ได้ยินเสียงนั้น

เป็น คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ ก็เกิดขึ้น รู้กลิ่นนั้น

เป็น รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ ก็เกิดขึ้น รู้รสนั้น

เป็น โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ ก็เกิดขึ้น รู้สึกในสัมผัสนั้น

ขณะที่ ๖ สัมปฏิจฉันนะ ก็เกิดขึ้นรับอารมณ์จากปัญจวิญญาณเสนอต่อไป ยังสันตีรณะ

ขณะที่ ๗ สันตีรณะ เกิดขึ้นไต่สวนอารมณ์นั้น

ขณะที่ ๘ โวฏฐัพพนะ คือ มโนทวาราวัชชนจิต ที่ทำหน้าที่ โวฏฐัพพนกิจ ทางปัญจทวารนี้ก็เกิดขึ้น ตัดสินและกำหนดให้เป็นไป กุสล หรือ อกุสล หรือกิริยา ตามควรแก่ มนสิการ และบุคคล

ขณะที่ ๙ ถึงขณะที่ ๑๕ รวม ๗ ขณะ เป็น ชวนจิต ทั้ง ๗ ขณะ เกิดขึ้น เสพอารมณ์นั้นเป็นกุสล อกุสล กิริยา ตามที่โวฏฐัพพนะได้ตัดสินและกำหนดมานั้น แล้ว

เสพให้เป็นกุสลก็เป็นกุสลทั้ง ๗ ขณะ ให้เป็นอกุสลหรือกิริยาอย่างใดก็เป็น อย่างนั้นแต่อย่างเดียวตลอดทั้ง ๗ ขณะ

ชวนจิตที่เกิดได้ในวิถีนี้ ได้เฉพาะกามชวนจิต ๒๙ ดวงเท่านั้น

ขณะที่ ๑๖ และ ๑๗ ตทาลัมพนะ ก็เกิดขึ้นยึดหน่วงอารมณ์ที่เหลือจาก ชวนะนั้นอีก ๒ ขณะ

เป็นอันครบ ๑๗ ขณะจิต เป็นอันสิ้นสุดวิถี และสิ้นอายุของอารมณ์ใหม่นั้น ด้วยพอดี แล้วก็กลับเป็นภวังคจิต รับอารมณ์ต่อไปตามเดิม


:b23: สัญญา ที่เรียกว่า สัญญา สัญญา ดังนี้ มีอาการอย่างนี้ ไม่มีอาการเป็นอย่างอื่น เกิดอย่างนี้ ไม่มีที่อื่นเกิด นอกจากเกิดในทวาร ๖ หรือ อินทรีย์ ๖ แบบนี้ ใช่หรือไม่? หรือมีอาการอย่างอื่น เป็นอย่างอื่น เกิดที่อื่นๆ อีก?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 05:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:

ที่คุณฯเขียนกระทู้มาทั้งหมด...มีบัญญัติขององค์พระศาสดา :b8: ที่ไหนบ้าง??
เท่าที่เห็นก็มีเเต่..ความฟุ้งซ่าน..เขียนขึ้นเอง..ตามกำลังอัตตา

ที่มาเเสดงความคิดเห็น..ก็ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ มาชี้ให้เห็น..

:b12: เข้าใจคุณอานาปานา..นะ

แน่นอนว่า..คุณ Supareak ..เขียนขึ้นเอง..ตามกำลังอัตตา..ไม่ใช่พุทธพจน์

แต่อย่าด่วนไปดูถูก..
:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว






สพฺเพ สงฺขารา สพฺพ สญฺญา อนตฺตา




แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 00:02, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่า การจำแนกธรรมควรทำให้มาก ควรศึกษาให้มากตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ทุกท่านในที่นี้ล้วนจำแนกธรรม ต้องการที่จะรู้ว่าอะไรเป็นเหตุเกิดของธรรม ต้องการที่จะรู้ว่าอะไรเป็นผล หากว่าการเรียนอาจจะมีการเข้าใจที่ผิดบ้าง หรือเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว หรือการนำเสนออาจจะไม่ถูกต้องเป็นบางส่วน หรือถูกต้องดีแล้ว เราเป็นผู้เรียนรู้ย่อมมีการพิจารณาธรรมที่ทุกท่านกล่าวมา แม้แต่ตัวเราก็ต้องตรึกตรองให้มาก ว่าธรรมที่เราเข้าใจนั้น ดีแล้ว ถูกต้องแล้ว หรือว่าไม่เข้าใจ มีความสงสัยอยู่ เรามีหน้าที่ที่ต้องเรียนต้องศึกษาต่อไป ครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมเสวนาธรรม พุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เสวนาธรรมต้องได้ปัญญา การค้นหาความจริง ด้วยการแสดงธรรม ฟังธรรม เสวนาธรรม เป็นบุญกุศล ทั้งผู้แสดงธรรม ผู้ฟังธรรม ผู้ถาม ผู้ตอบ ถ้าพากันไปหาความจริงที่แท้จริงได้

ภาษาที่ใช้ในพระไตรปิฏก เป็นภาษาที่แปลมาจากบาลี ส่วนมากทับศัพท์ สำนวนที่ใช้ก็ดูไม่คุ้นเคย บางทีก็ทำให้สับสนได้

ยกตัวอย่าง "....การเกิดเเห่งสัญญา ย่อมมี..เพราะ..การเกิดขึ้นเเห่งผัสสะ"

ก็แปลได้ง่ายๆ ว่า ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ฯลฯ หรือใจคิดนึก จึงเกิดความรู้ได้หมายจำในสิ่งที่ได้รับรู้ เป็นต้น

จะเห็นว่า หลายท่าน อ่านพระไตรปิฏก ไปติดที่คำศัพท์ บางทีก็ไปอธิบายเรื่องง่ายๆ จนกลายเป็นเรื่องยากไป พระพุทธองค์อธิบายเรื่องยากๆ ให้ง่าย ให้คนเข้าใจ จะได้เข้าถึงความจริง เข้าถึงธรรม ... และ้การสรุปว่า ไม่ใช่ ไม่รู้ ให้ไปดูเอาเอง แบบนี้ ไม่น่าเรียกว่าการแสดงธรรม

Quote Tipitaka:
-สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต
-สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ
-สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต
-สัญญาขันธ์หมวดละ ๔ คือ สัญญาขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจรเป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ
-สัญญาขันธ์หมวดละ ๕ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็นทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุตเป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต
-สัญญาขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญานโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้
-สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ กายสัมผัสสชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญาสัญญาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้
-สัญญาขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ สุขสหคตกายสัมผัสสชาสัญญา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้
-สัญญาขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ กายสัมผัสสชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้
-สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ สุขสหคตกายสัมผัสสชาสัญญา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ เพราะความไม่รู้ในสัญญา ในเหตุเกิดแห่งสัญญาในความดับแห่งสัญญา ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสัญญา จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ขึ้นในโลกอย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง. ดูกรวัจฉะ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง.

ตกลงว่าในพระไตรปิฏก กล่าวว่า สัญญาในอารมณ์ก็มี สัญญาที่เป็นกุศลก็มี สัญญาที่เป็นอกุศลก็มี สัญญาที่เป็นโลกุตระก็มี ฯ สัญญาทั้งหลายเกิดในทวาร ๖ อินทรีย์ ๖ ไม่ได้เกิดที่อื่น เป็นแบบนี้ ไม่มีเป็นอย่างอื่นใช่หรือไม่?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 07 ธ.ค. 2010, 13:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 12:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


mahanoi เขียน:
tongue เรามิใช่นักอภิธรรมนะ แค่อยากจะเสนอความคิดเห็นเท่านั้นเอง

สัญญา เกิดขึ้นพร้อมกับความรู้สึกนั่นแหละ


เห็นท่านอ๊บ อ๊บ มาซน ก็เลยตามมาดู... :b12:

และก็เห็นความแหลมคมในคำตอบของท่าน mahanoi

แต่เอกอน... กลับไม่เห็นว่า สัญญาเกิดขึ้น พร้อมกับ ความรู้สึก

รู้สึก...เกิดก่อนสัญญา...นิ๊ดดดดดนุง...

สัญญาไล่คู่คี่มากับ...รู้...รู้ในลักษณะที่เป็นการหมายรู้ในสิ่งที่รู้สึก...

:b12: :b12: :b12:

หรือว่า...มันเกิดพร้อม...แต่...เอกอนสับสนไปเอง...นะ...

:b23: :b23: :b23:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร