วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มัคคมีองค์ ๘

กิเลเส มาเรนฺโต นิพฺพานํ คจฺฉนฺติ เอเตนาติ มคฺโค ฯ ธรรมใดที่ประหาร กิเลสและย่อมเข้าถึงพระนิพพาน ฉะนั้นธรรมที่เป็นเหตุแห่งการฆ่ากิเลส และเข้าถึง พระนิพพาน ชื่อว่า มัคค ได้แก่องค์มัคค ๘ รวมกัน

มคฺคสฺส องฺโค มคฺคงฺโค ฯ ธรรมอันเป็นเครื่องประกอบของธรรมที่เป็นเหตุ แห่งการฆ่ากิเลส และเข้าถึงพระนิพพาน ชื่อว่า มัคคังคะ ได้แก่องค์มัคค ๘ โดย เฉพาะ ๆ

องค์มัคค ๘ โดยเฉพาะ ๆ ได้แก่

    ๑. สัมมาทิฏฐิ
    ๒. สัมมาสังกัปปะ
    ๓. สัมมาวาจา
    ๔. สัมมากัมมันตะ
    ๕. สัมมาอาชีวะ
    ๖. สัมมาวายามะ
    ๗. สัมมาสติ
    ๘. สัมมาสมาธิ


ความหมายแห่งมัคค ได้กล่าวแล้วในมิสสกสังคหะนั้น จึงจะไม่กล่าวซ้ำใน ที่นี้อีก เป็นแต่จะเพิ่มเติมเล็กน้อย ตามนัยที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้ว่า

๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือเห็นรูปนามโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

๒. สัมมาสังกัปปะ คิดชอบ คือ คิดให้พ้นทุกข์ เพราะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

๓. สัมมาวาจา พูดชอบ คือ พูดโดยมีสติ ไม่เผลอพูดชั่ว เพราะการพูดชั่ว จะไม่พ้นทุกข์

๔. สัมมากัมมันตะ ทำชอบ คือ ทำด้วยความมีสติ ไม่เผลอทำชั่ว เพราะ การทำชั่วจะไม่พ้นทุกข์

๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือ มีความเป็นอยู่โดยชอบ โดยมีสติไม่เผลอ ให้ดำรงชีพอยู่โดยความชั่ว เพราะมีความเป็นอยู่ชั่ว จะไม่พ้นทุกข์

๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ พยายามไม่นึกถึงความชั่ว พยายามไม่ทำ ความชั่ว พยายามทำชอบ พยายามทำให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะพยายามเช่นนี้ จึงจะพ้นทุกข์

๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกถึงเฉพาะรูปนามที่มีความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ระลึกเช่นนี้ โลภ โกรธ หลง จึงจะไม่เกิดขึ้นได้ เพราะถ้าโลภ โกรธ หลง ยังเกิดมีอยู่ ก็จะไม่พ้นทุกข์

๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นโดยชอบ คือ ให้แน่วแน่ในวิปัสสนา ในอันที่จะ พ้นทุกข์

ดังนี้จะเห็นได้ว่า มัคคมีองค์ ๘ นี้ย่อมเกี่ยวเนื่องกัน ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน อย่างพรักพร้อม จึงจะสำเร็จกิจให้พ้นทุกข์ได้ ความเกี่ยวเนื่องกันนั้น เป็นดังนี้ คือ

    เมื่อมีปัญญาเห็นชอบแล้ว ก็ย่อมจะ คิดชอบ

    เมื่อคิดชอบ ก็ย่อมจะ พูดชอบ

    เมื่อพูดชอบ ก็ย่อมจะ ทำชอบ

    เมื่อทำชอบ ก็ย่อมจะ มีความเป็นอยู่ชอบ

    เมื่อมีความเป็นอยู่ชอบ ก็ย่อมจะ มีความเพียรชอบ

    เมื่อมีความเพียรชอบ ก็ย่อมจะ มีความระลึกชอบ

    เมื่อมีความระลึกชอบ ก็ย่อมจะ ตั้งใจมั่นโดยชอบ

    ที่มีความ ตั้งใจมั่นชอบ ก็เพราะมี ความระลึกชอบ

    ที่มีความ ระลึกชอบ ก็เพราะมี ความเพียรชอบ

    ที่มีความ เพียรชอบ ก็เพราะมี ความเป็นอยู่ชอบ

    ที่มีความ เป็นอยู่ชอบ ก็เพราะมี ทำชอบ

    ที่ ทำชอบ ก็เพราะมี พูดชอบ

    ที่ พูดชอบ ก็เพราะมี คิดชอบ

    ที่ คิดชอบ ก็เพราะมี ความเห็นชอบ


กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การที่มีความตั้งใจมั่นโดยชอบ ระลึกชอบ เพียรชอบ มีความเป็นอยู่ชอบ ทำชอบ พูดชอบ และคิดชอบ เหล่านี้ ก็เพราะมีความเห็น ชอบ คือ สัมมาทิฏฐิ เป็นรากฐาน

ในการแสดงมัคคมีองค์ ๘ นี้ พระพุทธองค์ทรงแสดง สัมมาทิฏฐิ ก่อน เพราะถือว่าเป็นองค์ที่มีอุปการะยิ่งเป็นเบื้องต้น(บุพพภาค) แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุ มัคคผล จนเปรียบไว้ว่า ปญฺญาปโชต ประทีปคือปัญญา ปญฺญาสตฺถ ศัสตราคือ ปัญญา เพื่อพระโยคาวจรจะได้กำจัดมืด คืออวิชชา และประหารโจร คือกิเลสเสีย ด้วยสัมมาทิฏฐิ

รองจากนั้นก็ทรงแสดง สัมมาสังกัปปะ ซึ่งเปรียบเหมือนอย่างช่างเงิน ผู้ชำนาญในการดูเงิน พลิกกหาปณะไปมาด้วยมือและดูด้วยจักษุ ย่อมรู้ว่ากหาปณะนี้ แท้หรือเทียม ฉันใดแม้ พระโยคาวจร ณ กาลบุพพภาคเบื้องต้นย่อมตรึก นึก รำพึง ด้วยวิตก และใช้ปัญญาเพ่งพินิจธรรมนั้น ๆ อยู่ ย่อมรู้ว่าธรรมนั้น ๆ เป็นรูป เป็น นาม เป็นต้น ก็ฉันนั้น

บุคคลย่อมตรึกก่อน จึงเปล่งวาจาออกมาภายหลัง จึงได้ทรงแสดง สัมมา วาจา เป็นลำดับต่อจากสัมมาสังกัปปะ

ตามปกติ ชนทั้งหลายย่อมกล่าวด้วยวาจาก่อนว่าจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วจึง ประกอบกิจการงานต่าง ๆ เหล่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงนับว่าวาจามีอุปการะแก่การงาน ต่าง ๆ ที่ทำด้วยกาย ดังนั้นจึงได้ทรงแสดง สัมมากัมมันตะ เป็นลำดับรองลงมา จากสัมมาวาจา

อาชีวมัฏฐกสีล สีลมีอาชีวะเป็นที่ครบ ๘ ย่อมบริบูรณ์แก่ผู้ละวจีทุจจริต ๔ ประการ และละกายทุจจริต ๓ ประการ บำเพ็ญแต่กายสุจริตและวจีสุจริต ๒ ประการนั่นเทียว สีลนั้นไม่บริบูรณ์แก่ชนอื่นใดที่นอกจากนี้เลย เหตุนี้จึงทรงแสดง สัมมาอาชีวะ ต่อจากสัมมากัมมันตะ

ผู้มีอาชีวะ คือความเลี้ยงชีพ หรือความเป็นอยู่โดยบริสุทธิเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควร ที่จะมีความยินดีอยู่ว่าอาชีวะของเราบริสุทธิ์แล้วเท่านั้น และเป็นผู้ประมาทอยู่ แต่ ควรจะปรารภความเพียรในอิริยาบถทั้งปวงโดยแท้ ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงสัมมาวายา มะ ต่อจากสัมมาอาชีวะ

ผู้ปรารภความเพียรดังกล่าวแล้ว พึงตั้งสติให้มั่นคงดำรงอยู่ด้วยดีในวัตถุธรรม ๔ มี กาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยประสงค์ดังนี้ จึงได้ทรงแสดง สัมมาสติ ต่อจาก สัมมาวายามะ

ก็และสติดำรงอยู่แล้วด้วยดีดังนี้ ย่อมองอาจแสวงหาคติธรรมทั้งหลายที่เป็น อุปการะ และละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิ แล้วก็ตั้งจิตให้แน่วแน่ในอารมณ์นิพพานที่กำหนดเพ่งพินิจอยู่นั้น ไม่ให้ฟุ้งเฟ้อไปเป็นอื่น จึงได้ทรงแสดง สัมมาสมาธิไว้เป็น อันดับสุดท้ายแห่งมัคคมีองค์ ๘ นี้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ

โกเมศวร์

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มัคคสัจจ มัคคอริยสัจจ ทุกขนิโรธคามินีอริยสัจจ และ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจจ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นชื่อของสัจจที่ ๔ นี้ ซึ่งมีความหมายว่า เป็น ข้อปฏิบัติ เป็นเหตุ เป็นทาง ให้ถึงพระนิพพาน คือถึงซึ่งความดับตัณหา เป็นผล ให้สิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวง

ทางที่ให้ถึงซึ่งความดับแห่งทุกข์นี้ มีทางเดียว อันมีส่วนประกอบ ๘ ประการ ที่มีชื่อว่า อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น นอกจากมัคคมีองค์ ๘ นี้แล้ว ไม่มีทางอื่นใดที่จะให้บรรลุนิพพานได้เลย

ในมหาวัคคฎีกา ได้วิเคราะห์คำว่า มัคค (ซึ่งได้กล่าวมาข้างต้นครั้งหนึ่งแล้ว) ว่า กิเลเส มาเรนฺโต นิพฺพานํ คจฺฉนฺติ เอเตนาติ มคฺโค ฯ แปลความว่า ธรรมชาติที่ประหารกิเลสแล้ว ย่อมถึงพระนิพพานนั้น ชื่อว่า มัคค

ตามสาธกนี้จะเห็นได้ว่า มัคคมีองค์ ๘ แต่ละองค์มีหน้าที่ ๒ ประการ คือ

ก. ทำหน้าที่ ประหารกิเลส

ข. ทำหน้าที่ บรรลุพระนิพพาน

ดังนั้นจะได้กล่าวถึงหน้าที่ ๒ ประการแห่งมัคคมีองค์ ๘ มีโดยย่อ

๑. สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหารมิจฉาทิฏฐิ คือ อวิชชา (โมหะ) ตามกำลังแห่งมัคค มีปัญญาเห็นแจ้ง ในอริยสัจจ ๔ โดยมีพระ นิพพาน เป็นอารมณ์

๒. สัมมาสังกัปปะ ได้แก่ วิตกเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหาร กามวิตก พยาปาทวิตก และวิหิงสาวิตก ตามกำลังแห่งมัคค มีแต่การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ พระนิพพาน คือมีวิตกในนิพพาน โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

๓. สัมมาวาจา ได้แก่ สัมมาวาจาวิรตีเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหารมิจฉา วาจา คือ วจีทุจริต ๔ ตามกำลังแห่งมัคค โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

๔. สัมมากัมมันตะ ได้แก่ สัมมากัมมันตวิรตีเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหาร มิจฉากัมมันตะ คือ กายทุจริต ๓ ตามกำลังแห่งมัคค โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

๕. สัมมาอาชีวะ ได้แก่ สัมมาอาชีววิรตีเจตสิกในมัคคจิต ๔ ประหาร มิจฉาอาชีวะ คือมีความเป็นอยู่ที่ทุจจริต ๗ ประการ โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

๖. สัมมาวายามะ ได้แก่ วิริยเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหารมิจฉาวายามะ คือความเพียรที่ผิดที่เป็นทุจจริต มีแต่เพียรถึงพระนิพพาน โดยมีพระนิพพานเป็น อารมณ์

๗. สัมมาสติ ได้แก่ สติเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหารมิจฉาสติ คือ ความ ปราศจากสติสัมปชัญญะ คงมีแต่สติที่ระลึกรู้อยู่แต่พระนิพพาน โดยมีพระนิพพาน เป็นอารมณ์

๘. สัมมาสมาธิ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิกที่ในมัคคจิต ๔ ประหารมิจฉาสมาธิ คือการขาดความตั้งใจมั่นโดยชอบ คงมีแต่ความตั้งใจมั่นแน่วแน่ในพระนิพพาน โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

อริยมัคคนี่แหละที่ได้ชื่อว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ เป็นข้อปฏิบัติไป สู่ธรรมที่ดับทุกข์ ให้สัตว์ที่ดับทุกข์โดยไม่มีเหลือ เป็นอริยสัจจของจริงอันบริสุทธิ ไปจากข้าศึก เป็นของจริงที่พระอริยเจ้าได้เข้าถึงแล้ว

อริยมัคคนี้เป็นวิชชาด้วย เป็นจรณะด้วย สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ๒ องค์นี้เป็นวิชชา ที่เหลืออีก ๖ องค์เป็นจรณะ ดุจบุคคลผู้สัญจรเดินทางไปตามปกติ ย่อมพร้อมด้วยจักษุสามารถในการเห็น และพร้อมด้วยเท้าสามารถในการเดินไป จักษุที่สามารถในการเห็นนั้นเปรียบกับปัญญาคือวิชชา เท้าที่สามารถในการเดินนั้น เปรียบด้วยจรณะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 02:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มัคคังคะ ๑๒

ธรรมที่เป็น เหตุให้ถึง สุคติภูมิก็ดี ทุคคติภูมิก็ดี นิพพานก็ดี และเป็น หนทางที่ให้ถึง สุคติ ทุคคติ และนิพพาน นั้นชื่อว่า องค์มัคค หรือ ธรรมที่เป็น ส่วนหนึ่ง ๆ ของมัคค เรียกว่า องค์มัคค

มัคค แปลว่า ทาง มีความหมายว่า เป็นเครื่องที่จะนำไปสู่หนทางอันเป็นกุสล และอกุสล อันเป็นทางให้ถึง ทุคคติภูมิ สุคคติภูมิ และนิพพาน นั้น ๆ ด้วย

มัคคังคะ แปลว่า องค์แห่งมัคค มี ๑๒ ประการ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ ความเห็นที่ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่ง สภาวธรรมตามความเป็นจริง มีอริยสัจจธรรมเป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่ในติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙

๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ ๓ ประการ ได้แก่

    ก. เนกขัมมสังกัปปะ ดำริที่จะออกจากกิเลสและขันธ์ เป็นความคิดที่จะ ออกจากความระคนด้วยหมู่คณะ เพื่อออกบรรพชาไปเจริญสมถะและวิปัสสนา ปรารถนาให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

    ข. อพยาปาทสังกัปปะ ดำริที่จะละความโกรธ ความพยาบาท ปองร้าย มีการล้างผลาญ ทำให้ชีวิตสัตว์ตกไป เพื่อให้เกิดความเมตตาปรานี

    ค. อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริที่จะออกจากวิหิงสา ความเบียดเบียนสัตว์ ให้เดือดร้อน เพื่อให้เกิดความไม่เบียดเบียน มีความกรุณาอารี

    ความดำริอยู่ในอารมณ์ ๓ ประการนี้ เป็นความดำริชอบ เรียกว่า สัมมา สังกัปปะ องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ในกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ปฐมฌานจิต ๑๑ รวม ๓๕

๓. สัมมาวาจา คือ การกล่าววาจาชอบ ไม่กล่าววาจาอันเป็นวจีทุจริตทั้ง ๔ มีการพูดปดหลอกหลวง, ส่อเสียดยุยง, หยาบคาย, เพ้อเจ้อไร้สาระ, การเว้นจาก วจีทุจจริตเหล่านี้เรียกว่า สัมมาวาจา องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก ที่ในมหา กุสลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ รวม ๑๖ หรือ ๔๘

๔. สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบ เป็นการงานทางกายที่ไม่เนื่องด้วย การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ล่วงประเวณี การเว้นจากกายทุจจริตเหล่านี้ เรียกว่าสัมมา กัมมันตะ องค์ธรรมได้แก่ สัมมากัมมันตะเจตสิก ที่ในมหากุสล ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ มีความเป็นอยู่ชอบ ไม่เนื่องด้วย วจีทุจจริต ๔ และไม่เนื่องด้วยกายทุจจริต ๓ การหาเลี้ยงชีพที่ไม่เป็นไปด้วยทุจจริต ธรรมทั้ง ๗ นี้ เรียกว่า สัมมาอาชีวะ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาอาชีวเจตสิก ที่ในมหา กุสล ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

๖. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ ให้ตั้งหน้าพยายามในความพากเพียร ชอบ ๔ ประการ ได้แก่

    ก. เพียรที่จะละบาปอกุสล ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้หมดไป

    ข. เพียรที่จะไม่ก่อบาปอกุสลที่ยังไม่เกิด โดยไม่ทำให้เกิดขึ้น

    ค. เพียรที่จะก่อบุญกุสลที่ยังไม่เกิด โดยทำให้เกิดขึ้น

    ง. เพียรที่จะเจริญบุญกุสลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ภิญโญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

    ความพากเพียร ๔ ประการนี้ เรียกว่า สัมมาวายามะ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

๗. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ เป็นการระลึกอยู่แต่ในอารมณ์ที่เป็นกุสล มีอนุสติ ๑๐ หรือสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

๘. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นโดยชอบ เป็นความตั้งมั่นของจิตในอารมณ์ ของสมถกัมมัฏฐาน หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน การที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุสล เช่นนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

ในสัมมามัคค ทั้ง ๘ องค์นี้ เป็นตัวเหตุแห่งสุคติและพระนิพพาน อันเป็น ทางที่จะนำไปสู่สุคติ และเป็นทางที่จะให้บรรลุถึงพระนิพพานด้วย จึงเรียกสัมมา มัคค ๘ องค์นี้ ว่า อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘

ส่วนองค์มัคคที่ยังเหลืออีก ๔ นั้น เป็นตัวเหตุแห่งทุคคติ อันเป็นทางที่จะ นำไปสู่ทุคคติภูมิ จึงเรียกว่า มิจฉามัคค ได้แก่

๙. มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด เป็นความเห็นที่ผิดไปจากเหตุผลแห่งสภาว ธรรมตามความเป็นจริง องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๑๐. มิจฉาสังกัปปะ คือ ความดำริผิด เป็นการนึกการคิดที่ผิดทำนองคลอง ธรรม องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

๑๑. มิจฉาวายามะ คือ ความเพียรผิด เป็นการบากบั่นมั่นมุ่งในสิ่งที่ผิด อัน เป็นโทษเป็นทุกข์ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

๑๒. มิจฉาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นที่ผิด เป็นความตั้งมั่นของจิตอยู่ใน อารมณ์อันเศร้าหมองเร่าร้อนกระวนกระวาย องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน อกุสลจิต ๑๑ (เว้นวิจิกิจฉาสหคตจิต) ๑)

รวมมัคคังคะมี ๑๒ ประการ แต่มีองค์ธรรมเพียง ๙ เท่านั้น คือ ปัญญา เจตสิก วิตกเจตสิก สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก สัมมาอาชีว เจตสิก วิริยเจตสิก สติเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก และ ทิฏฐิเจตสิก

ในองค์ธรรมทั้ง ๙ นี้ มี ปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และ สติ รวม ๕ องค์นี้ เป็นกุสลฝ่ายเดียว

เฉพาะ ทิฏฐิเจตสิก เป็นอกุสลฝ่ายเดียว

ส่วนวิตก วิริยะ และเอกัคคตา รวม ๓ องค์นี้ เป็นได้ทั้งฝ่ายกุสล และอกุสล

ตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎก คือตามแนวแห่งพระสูตรนั้น แสดงว่ามัคคมี ๑๖ องค์ คือ สัมมามัคคมี ๘ และมิจฉามัคคมี ๘ เท่ากัน ทั้งนี้เพื่อแสดงให้ทาง ที่ตรงกันข้าม ทั้งฝ่ายชอบ และฝ่ายชั่ว อันเป็นคู่ปฏิปักษ์กันดังนี้

๑. สัมมาทิฏฐิ เมื่อมีความเห็นชอบ ก็ประหารมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นชั่ว เสียได้

๒. สัมมาสังกัปปะ เมื่อมีความคิดชอบ ก็ประหารมิจฉาสังกัปปะ ความคิด ชั่วเสียได้

๓. สัมมาวาจา เมื่อกล่าววาจาชอบ ก็ประหารมิจฉาวาจา การพูดชั่วเสียได้

๔. สัมมากัมมันตะ เมื่อกระทำการงานชอบ ก็ประหาร มิจฉากัมมันตะ การทำชั่วเสียได้

๕. สัมมาอาชีวะ เมื่อมีความเป็นอยู่ชอบ ก็ประหารมิจฉาอาชีวะ ความเป็น อยู่ชั่วเสียได้

๖. สัมมาวายามะ เมื่อมีความเพียรชอบ ก็ประหารมิจฉาวายามะ ความ เพียรในทางชั่วเสียได้

๗. สัมมาสติ เมื่อมีความระลึกแต่ในทางชอบ ก็ประหารมิจฉาสติ ความ ระลึกชั่วเสียได้

๘. สัมมาสมาธิ เมื่อมีความตั้งใจมั่นโดยชอบ ก็ประหารมิจฉาสมาธิ ความ ตั้งใจมั่นในทางชั่วเสียได้

รวมความว่า มิจฉามัคคที่เพิ่มมากกว่าตามนัยแห่งพระอภิธรรมอีก ๔ นั้น คือ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ และมิจฉาสติ แต่ว่าเมื่อกล่าวโดยองค์ธรรม แล้ว มิจฉามัคค ทั้ง ๔ นี้ ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ ๆ เป็นการแสดงตามนัยแห่ง จิตตุปปาทะคือตามแนวแห่งจิตที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวด้วยวจีทุจจริต กายทุจจริต การเลี้ยง ชีพที่ทุจจริต และ การระลึกนึกถึงสิ่งที่ชั่วต่างๆ นั่นเอง

อนึ่งข้อสังเกตในการแสดงองค์ธรรม ที่กล่าวไว้ตอนท้ายแห่ง ฌานังคะ ๗ นั้น มีกล่าวความเกี่ยวแก่มัคคังคะนี้อยู่ ๒ ประโยค คือ

- อเหตุกจิต ๑๘ ย่อมไม่ได้มัคคังคะ ๑๒ ประโยคหนึ่ง

- เอกัคคตาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่งมิจฉาสมาธิมัคคังคะ อีกประโยคหนึ่ง

มีอธิบายว่าอเหตุกจิต ๑๘ เป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือเป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบด้วยเลยแม้แต่เหตุเดียว เมื่อไม่มีตัวเหตุแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุและไม่เป็นทาง ให้ถึงสุคติทุคคติได้ เพราะองค์ธรรมทั้ง ๙ ที่จะจัดเป็นมัคคได้จะต้องเป็นเจตสิกที่ ประกอบกับ สเหตุกจิต คือ จิตที่มีเหตุเท่านั้น ตัวเหตุนั่นแหละจึงจะเป็นเหตุและ เป็นทางให้ถึงซึ่ง ทุคคติ สุคติ หรือ นิพพาน

ส่วนเอกัคคตาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ก็ไม่ถึงซึ่งมิจฉาสมาธิ มัคคังคะ คือ ไม่นับว่าเป็นองค์มัคค เพราะเหตุว่า แม้วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตจะเป็นจิตที่ ประกอบด้วยเหตุ คือ โมหเหตุก็จริง แต่ก็มีเพียงเหตุเดียว กำลังก็ไม่มากอยู่แล้ว ซ้ำยังมี ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจประกอบเข้าอีกด้วย จึงทำให้กำลังที่มีอยู่ไม่มากมา แต่เดิมนั้นอ่อนลงไปอีก เอกัคคตาเจตสิกในวิจิกิจฉาจิตจึงไม่ถึงซึ่งความเป็นสมาธิที่ เป็นองค์แห่งมัคค เอกัคคตาที่จะจัดว่าถึงสมาธินั้น จะต้องตั้งมั่นในอารมณ์เดียว อย่างแน่วแน่ มั่นคง ปราศจากความสงสัยลังเลใจ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 03:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มัคคมีองค์ ๘ นี้มีได้ทั้งโลกียและโลกุตตร มีสิ่งที่แตกต่างกันอันเป็นส่วน สำคัญ ดังจะกล่าวต่อไปโดยย่อ คือ

๑. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกียนั้นประกอบไม่พร้อมกันหมดทั้ง ๘ องค์ เพราะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ คือ วิรตี ๓ นี้เป็นอนิยตโยคี เจตสิกประเภทนานากทาจิ ประกอบเป็นบางครั้งบางคราว และประกอบได้ทีละดวง เท่านั้น

แต่ว่ามัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตรนั้น วิรตี ๓ เป็นนิยตเอกโต คือต้อง ประกอบพร้อมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง ๓ อย่างแน่นอน ดังนั้นมัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตร ต้องประกอบพร้อมกันหมดทั้ง ๘ องค์

๒. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตร มีนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียว เท่านั้น

ส่วนมัคคที่เป็นฝ่ายโลกียนั้น ไม่ได้มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่มีอารมณ์เป็น อย่างอื่น กล่าวโดยเฉพาะวิรตี ๓ นี้ก็ต้องมีวิรมิตัพพวัตถุ คือวัตถุอันพึงเว้นมา ปรากฏเฉพาะหน้า ส่วนโลกุตตรวิรตีไม่ต้องมีวัตถุอันพึงเว้น เพราะโลกุตตรวิรตีนี้ เป็นองค์แห่งมัคค มีหน้าที่ประหารกิเลส ไม่ใช่มีหน้าที่เว้นจากการทุจจริต

๓. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตร ประหารกิเลสได้เด็ดขาดอย่างที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน แต่โลกียมัคคประหารกิเลสได้เพียงชั่วคราวชั่วขณะอย่างที่เรียกว่า ตทังคปหาน อย่างมากก็ข่มไว้ได้นานหน่อย แค่ที่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เท่านั้น

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร