วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2008, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


เชิญประชาสัมพันธ์สถานที่ปฏิบัติ โดยการลงชื่อ-ที่อยู่ กำหนดการ-ระเบียบการ และเว็บไซต์ (ถ้ามี)
ของสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่อยู่ต่างประเทศ ไม่ว่าประเทศใด แจ้งประกาศหรือแนะนำได้เลยครับ


.......

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่กระดานสนทนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=1

:b8:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อเขมธัมโม)
............................................................................



วัดป่าสันติธรรม
เมืองวอริค ประเทศอังกฤษ


The Forest Hermitage (Watpah Santidhamma)
Lower Fulb rook,
near Sherbourne Warwichshire CV35 8AS
United Kingdom


Tel & Fax 01926624385
หรือส่ง E-mail ถึง หลวงพ่อเขมธัมโม ได้ที่
prakhem@foresthermitage.org.uk


พระภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อเขมธัมโม) เจ้าอาวาส

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาพระภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อเขมธัมโม)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=25674

เว็บไซต์วัดป่าสันติธรรม
http://www.foresthermitage.org.uk
http://www.watpa.iirt.net/about/index.html

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก”
ณ เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย


อุบาสิกาบงกช สิทธิผล ประธานและผู้ก่อตั้ง

สถานที่ของ สำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก” ณ เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย คล้ายคลึงกับสำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคล” (เกาะมหามงคล) แห่งประเทศไทย ณ บ้านช่องแคบ ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

อุบาสิกาบงกช สิทธิผล

อุบาสิกาบงกช สิทธิผล เป็นชาวปราจีนบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2497 ก่อนสละชีวิตทางโลก ได้ศึกษาด้านความสวยงามที่ประเทศฝรั่ง กลับมาเปิดโรงเรียนเสริมสวย สมรสและมีบุตรชาย 3 คน

ด้วยความที่มีใจฝักไฝ่ในธรรม ปฏิบัติธรรมมา 10 ปี สุดท้ายครั้นเมื่ออายุ 29 ปี ได้ขออนุญาตครอบครัวและวงศ์ตระกูลออกบวชเนกขัมมะ เจริญจิตภาวนา ประพฤติพรหมจรรย์ ถือธุดงค์จาริกไปยังสถานที่ต่างๆ จนมาพบสถานที่ปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล (เกาะมหามงคล) แห่งนี้ จึงปักหลักปฏิบัติธรรมและพัฒนาสถานที่แห่งนี้ด้วยการปลูกต้นไม้นับแสนต้น เป็นที่รื่นรมย์ด้วยธรรมชาติ เหมาะแก่การภาวนาเป็นอย่างยิ่ง

ท่านได้ รับการประกาศเกียรติคุณจากองค์กรและรัฐบาลของหลายประเทศ ทั้งจากประเทศอินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา และสหภาพเมียนมาร์ เป็นต้น รวมถึง ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนาแห่งโลก ประจำปี พ.ศ. 2547 จากองค์การสหประชาชาติ (The United Nations)

ผลงานและเกียรติคุณดีเด่น

1. ท่านได้สอนวิปัสสนากรรมฐานไม่ให้ยึดวัตถุเป็นตัวตั้ง มีลูกศิษย์ทั้งคนไทยและต่างชาติจำนวนมาก โดยใช้สถานที่ปฏิบัติธรรมแดนมหามงคลเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอุบาสิกาบงกช ได้สร้างผลงานจนเป็นที่รู้จักกันในนานาประเทศ โดยเคยรับเชิญไปแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่องเกี่ยวกับสันติภาพโลก ที่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2548

2. ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในปี 2549 เพราะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถกอปรด้วยคุณงามความดี ได้บำเพ็ญคุณูปการแก่การศึกษา พระพุทธศาสนา สังคม และประเทศชาติ เป็นอเนกประการ ควรแก่การยกย่องประกาศเกียรติคุณ ดังนี้

ด้านพุทธศาสนา ได้ตั้งสถาบันเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ชื่อสถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติเพื่อสันติภาพ ณ แดนมหามงคล อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และแดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก ณ เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตั้งโครงการสมทบทุนสร้าง บูรณปฏิสังขรณ์ วัด สำนักปฏิบัติธรรม มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก และพระพุทธศาสนานานาชาติ

ด้านบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สนับสนุนอุปถัมภ์สถานีอนามัย โรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดกาญจนบุรี และอีกหลายแห่งในจังหวัดสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี สมทบทุนกับโรงพยาบาลต่างๆ เช่น ร.พ.ศิริราช ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ร.พ.ศรีธัญญา ร.พ.อำเภอไทรโยค และ ร.พ.พหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

งานด้านสังคม มอบสถานที่สถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติ สำหรับฝึกอบรม ประชาชน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ โรงเรียน มหาวิทยาลัย และผู้สนใจทุกชาติ ทุกภาษา ทุกศาสนา

เกียรติคุณพิเศษ รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนาแห่งโลก จากองค์การสหประชาชาติ รับไตรปิฏกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเทศอินเดีย รับรางวัล “ดร. อัมเบดการ์นานาชาติเพื่อสันติภาพ” รับเกียรติคุณสูงสุดในพระพุทธศาสนาฝ่ายสตรี “อัครมหาศิริสุธรรมาสินกิ” สหภาพเมียนมาร์ รับเกียรติคุณมหาอุบาสิกาผู้ทรงเกียรติคุณสูงสุดในพุทธจักรจากประเทศศรีลังกา และรับมหาอิสริยยศเหรียญทองเกียรตินิยมสูงสุดจากประเทศกัมพูชา

3. เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชา ซึ่งปี 2549 เป็นปีที่ครบ 2550 ปีแห่งอายุพระพุทธศาสนา คณะสงฆ์ประเทศศรีลังกา ได้มีมติเป็นเอกฉันท์มอบรางวัล “วิศวะกีรติศรีศาสนภิมณีมโหบาสิกา” The Most Eminent Mahopashika of the Buddhist World หรือรางวัล “มหาอุบาสิกาผู้ทรงเกียรติคุณงามเด่นสูงสุดในพุทธจักร” แก่มหาอุบาสิกา ดร.บงกช สิทธิพล จากประเทศไทย โดยประธานาธิบดี มหินทะ ราชปักษา แห่งศรีลังกา เป็นผู้มอบ

โดยคณะสงฆ์ประเทศศรีลังกาเห็นว่า มหาอุบาสิกา ดร.บงกช ได้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด มีความวิริยะอุตสาหะในการอุทิศเสียสละเพื่อพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้ามาโดยตลอด พร้อมทั้งได้ก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคล” ที่ จ.กาญจนบุรี ประเทศไทย และ “แดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก” ณ เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เพื่อเผยแผ่พุทธธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทั้งนี้ มหาอุบาสิกา ดร.บงกช ยังได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศลาว พม่า กัมพูชา สิงคโปร์ และมาเลเซีย ฯลฯ โดยตลอด ซึ่งคุณงามความดีของมหาอุบาสิกา ดร.บงกช เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนในหลายประเทศ จึงทำให้รัฐบาลและคณะสงฆ์ประเทศศรีลังกา ประกาศเกียรติคุณดังกล่าว

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

พลิกฟื้นประวัติศาสตร์...ที่สาวัตถี : ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39323

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ในประเทศไทย สำนักฯ ที่อุบาสิกาบงกช สิทธิผล เป็นประธานและผู้ก่อตั้งคือ
สำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคล” (เกาะมหามงคล) จ.กาญจนบุรี


รูปภาพ

สำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคล” (เกาะมหามงคล) จ.กาญจนบุรี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=9&t=18656

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดรัตนประทีปวิหาร
45 ถนนสมิธ ทิบาตัน อะดิเลด
รัฐออสเตรเลียใต้ 5013 ประเทศออสเตรเลีย


WAT RATTANAPRATIP VIHARA
45 SMITH STREET, THEBARTON , ADELAIDE,
SOUTH AUSTRALIA 5031 AUSTRALIA
TEL & FAX (61-04) 8443-5856


วัดก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2528 สังกัดนิกายธรรมยุต มีเนื้อที่ 750 ตารางเมตร เป็นวัดแห่งแรกในนครอดิเลด จึงได้รับการต้อนรับจากสาธุชนชาวพุทธจำนวนมาก มาจากหลายชนชาติด้วยกัน เช่น ไทย ลาว เขมร พม่า จีน มาเลเซีย ศรีลังกา รวมทั้งชาวออสเตรเลียด้วย

กิจกรรมการปฏิบัติศาสนกิจ

1. การเผยแผ่ เป็นปกติประจำการ ได้มีนักเรียน นักศึกษาจากโรงเรียน สถาบันการศึกษาติดต่อเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา และ ระหว่างพรรษากาล ทุกวันอาทิตย์ จัดให้เป็นวันธรรมสวนะ จัดให้มีการทำบุญตักบาตร สวดมนต์ไหว้พระ รับศีล ฟังพระธรรมเทศนา ในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันปีใหม่สากล วันสงกรานต์ มีกิจกรรมตามความสำคัญของวันนั้นๆ

2. การศึกษา อบรมกรรมฐาน นั่งสมาธิ เสร็จแล้วสนทนาธรรมตามสมควรแก่เวลา

3. การสาธารณูปการ การพัฒนาวัด ทางวัดเน้นทางวัตถุ และจิตตภาวนาควบคู่กันไป และได้ดำเนินติดต่อกันมาอยู่ตลอด เช่นการเปลี่ยนหลังคาใหม่ และการสร้างห้องครัวห้องน้ำขึ้นใหม่ พร้อมทั้งการสร้างฝาผนัง ต่อเติมห้องให้กว้างขึ้น ถือว่าการพัฒนาวัดได้ประสบความสำเร็จพอสมควร

4. การสังคมสงเคราะห์

5. อื่นๆ โครงการในอนาคตจะได้มีการจัดสร้างศาลาทรงไทยขึ้น เพื่อให้วัดเป็นทั้งสถานที่เคารพบูชา และจุดรวม เช่น สมาคมนักเรียนไทย ร้านอาหารไทย และเปิดสอนภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และพุทธศาสนาภาคฤดูร้อน ประจำรัฐออสเตรเลียใต้

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดภูริทัตตวนาราม
เมืองออนทาริโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา


BUDDHIST TEMPLE OF AMERICA
มีที่ตั้งถาวรอยู่เลขที่ ๕๖๑๕
HOWARD STREET ONTARIO
CA ๙๑๗๖๒ U.S.A
Telephone Number (๙๐๙) ๙๘๘-๗๗๓๑
Fax (๙๐๙) ๙๘๘-๔๑๙๑


พระครูวินัยธรสำรวย ตายโน เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

วัดตั้งอยู่ห่างจาก DOWNTOWN ของเมือง LOS ANGELES
ไปทางตะวันออกประมาณ ๕๐ไมล์ มีพื้นที่ทั้งสิ้น ๔.๖๘ เอเคอร์ (ประมาณ ๑๒ ไร่)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดป่าวิมุตติ
Vimutti Forest Monastery
750 Paparata Rd. Bombay,
Auckland, New Zealand
Tel. 0066 4 9 8282935


ท่านอาจารย์ฉันทโก ภิกษุชาวอเมริกัน เจ้าอาวาส
เป็นวัดในสายหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


วัดป่าวิมุตติ (Vimutti Forest Monastery)
เมืองโอคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์


ที่เห็นและเป็นอยู่

วัดป่าวิมุตติ เป็นวัดสาขาใหม่ล่าสุดของวัดหนองป่าพง เกิดจากแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ชาวนิวซีแลนด์ หลากเชื้อชาติที่เลื่อมใสศรัทธาในคำสอน วัตรปฏิบัติของหลวงปู่ชา และพระลูกศิษย์วัดได้เริ่มก่อตัวอย่างช้าๆพัฒนาจากทุ่งหญ้าที่เคยเป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์ และป่าสนเสื่อมโทรมบางส่วน กลายเป็นวัดป่าเล็กๆ สงบ สมถะ และสัปปายะ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 425 ไร่ เลขที่ 750 ถนนพาพาราต้า บอมเบย์ ซึ่งห่างจากตัวเมืองโอ๊คแลนด์ประมาณ ครึ่งชั่วโมง

สร้างวัดไว้รออาจารย์

ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ร่วมแรงร่วมใจก่อสร้างวัดเล็กๆ ซึ่งประกอบด้วย ศาลาหลังเล็ก เรือนสำนักงาน และที่พักของสงฆ์ ทั้งๆที่ยังไม่ทราบว่า จะมีภิกษุรูปใดมาประจำในปี 2547 ชุมชนชาวพุทธเถรวาท โอ๊คแลนด์ได้กราบนิมนต์ท่านอาจารย์ฉันทโก ภิกษุชาวอเมริกัน ซึ่งได้บวชเรียนจากวัดป่านานาชาติ ให้เข้าดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านเมตตาที่จะแบกภาระการเป็นผู้นำ ผู้บริหาร และผู้สอน ด้วยหวังว่าจะพัฒนาทั้งคนและวัด เผยแผ่ศาสนาให้เจริญงอกงามในดินแดนกีวีสืบไป

ก้าวช้าๆ แต่ว่ามั่นคง

วัดป่าวิมุตติได้หยั่งรากแตกหน่อ ญาติโยมเสียสละทั้งแรงกายและปัจจัยเพื่อสร้างวัด ได้ใช้วิธีการหลากหลายเพื่อระดมทุน อาทิเช่น รับจ้าง เก็บขยะ ทำความสะอาดสนามรักบี้ ซึ่งเป็นกีฬาโปรดของคนที่นี่ หรือปรุงอาหารประจำชาติเพื่อขายในเทศกาลอาหารนานาชาติเป็นต้น ญาติโยมอยากเชิญชวนญาติธรรมชาวไทยผู้มีจิตศรัทธา หากมีโอกาสได้เดินทางไปนิวซีแลนด์ กรุณาแวะเยี่ยมที่วัด

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
หลวงพ่อชา สุภัทโท


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

สาขานานาชาติของวัดหนองป่าพง (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
http://www.watnongpahpong.org/sakhanana.php

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
วัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
............................................................................



วัดอมราวดี
เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ


Amaravati and Chithurst Buddhist Monasteries
Margarets Lane, Great Gaddesden Hemel,
Hempstead, Hertfordshire HP1 3BZ
ENGLAND. Tel. 0144 284 2455


พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบร์ติ สุเมโธ) อดีตเจ้าอาวาส

เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงพ่อชา สุภัทโท สาขาต่างประเทศของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาพระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=19591

รวมคำสอน “พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44534

ประมวลภาพ “พระราชสุเมธาจารย์ (พระอาจารย์โรเบิร์ต สุเมโธ)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=27376

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รูปภาพ
ภายในโบสถ์วัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ

รูปภาพ
หลวงพ่อชากับพระสุเมโธที่วัดหนองป่าพง

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระเทพกิตติโมลี (ทองสูรย์ สุริยโชโต)
............................................................................



วัดศรีนครินทรวราราม
Wat Srinagarindravararam
(สาขาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม)
หมู่บ้านเกรทเซ่นบาค (Gretzenbach)
จังหวัดโซลธูร์น (Solothurn)
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)


พระเทพกิตติโมลี (ทองสูรย์ สุริยโชโต) เจ้าอาวาส

วัดสวยและสงบ หลวงพ่อท่านก็ใจดีค่ะ

รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ชม...วัดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่าฯ ที่เมืองนาฬิกา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13320

เว็บไซต์วัดศรีนครินทรวราราม
http://www.wat-srinagarin.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ดอกบัวบานที่หมู่บ้านพลัม
............................................................................



ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติ หมู่บ้านพลัม
เมืองบอร์กโดซ์ (Bordeaux) ประเทศฝรั่งเศส
(Plum Village Meditation Practice Center, France)


ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) ประธานผู้ก่อตั้ง

ท่านติช นัท ฮันห์ ได้ก่อตั้ง “หมู่บ้านพลัม” (Plum Village) ขึ้น ณ ประเทศฝรั่งเศส อันเป็นชุมชนแบบอย่างการปฏิบัติธรรมแห่งพุทธบริษัท 4 โดยไม่มีเส้นแบ่งทางศาสนา ที่เน้นการเจริญสติในชีวิตประจำวัน อย่างตระหนักรู้ในแต่ละลมหายใจเข้าออก และกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ ในปัจจุบัน ชุมชนปฏิบัติธรรมแห่งสังฆะหมู่บ้านพลัม มีทั้งสิ้น 12 แห่ง อยู่ในประเทศฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน และเวียดนาม นอกจากนี้มีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์ กระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลก เกือบหนึ่งพันกลุ่ม อาทิเช่น

- Upper Hamlet, Lower Hamlet, New Hamlet, Son Ha กระจายตัวอยู่ในหมู่บ้านชนบทใกล้เมืองบอร์กโดซ์ (Bordeaux) ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส

- Clarity Hamlet, Solidity Hamlet ที่ Deer Park Monastery, Community of Mindful Living รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

- Green Mountain Dharma Center, Maple Forest Monastery รัฐเวอร์มอนต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

- Blue Cliff Monastery รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา

- วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และวัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม

เว็บไซต์หมู่บ้านพลัม
http://www.plumvillage.org/
http://www.thaiplumvillage.org/

รูปภาพ
ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=21739

รวมคำสอน “หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=45472

“นิรามิสา” ภิกษุณีแห่งหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=21765

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระอาจารย์พรหมวังโส
............................................................................



วัดโพธิญาณ (Bodhiyana Monastery)
เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย


Bodhinyana Monastery
Lot 1, Kingsbury Drive,
Serpentine 6125, WA, Australia
http://www.bswa.org

Bodhivana Monastery
780 Woods Point Road,
East Warburton, VIC 3799, Australia

พระวิสุทธิสังวรเถร หรือพระอาจารย์พรหมวังโส
(Ven. Ajahn Brahmavamso) เจ้าอาวาส


พระอาจารย์พรหมวังโส ท่านเป็นศิษย์พระโพธิญาณเถร
(หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี)
โดยท่านเป็นชาวอังกฤษ-ออสเตรเลีย
เดินทางจากประเทศออสเตรเลีย แล้วมาบวชกับหลวงพ่อชา

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

สูดแก้ลม ดมแก้คิดถึง (พระอาจารย์พรหมวังโส)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=43583

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร
กรุงโคเปนเฮเกน ถนน H.P.HANLENSVEJ ๓
เขต STENLSE DENMARK
Tel. +๔๕-๔๗๑๗๑๑๘๐
Fax. +๔๕-๔๗๑๐๗๘๘๗


พระครูวิสุทธิธรรมวิเทศ เจ้าอาวาส

วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร
http://www.watthai.dk/
http://www.geocities.com/watthaidk/

ท่องไปในแดนธรรม : กว่าจะเป็น...“วัดไทยเดนมาร์ก”

ด้วยพลังแห่งความสามัคคีของพุทธศาสนิกชนในประเทศเดนมาร์ก และประเทศใกล้เคียง เช่น สวีเดน นอร์เวย์ เยอรมนี เป็นต้น วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร กรุงโคเปนเฮเกน จึงได้ก่อตั้งขึ้นมาจนเป็นผลสำเร็จอย่างที่เห็นใน

การก่อตั้งวัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร กรุงโคเปนเฮนเกน เป็นความคิดความฝันของคนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่รวมตัวกันตั้งกลุ่มขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มชาวพุทธ” ซึ่งมีความปรารถนาและปณิธานอันแน่วแน่ที่จะให้มีวัดไทยเกิดขึ้นในประเทศเดนมาร์ก

พระครูวิสุทธิธรรมวิเทศ เจ้าอาวาส วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร เล่าว่า การสร้างวัดครั้งนี้เพื่อเป็นศูนย์รวมของพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวด้านจิตใจ และเป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญกุศลและปฏิบัติธรรมภาวนา โดยมีทุนทรัพย์ประมาณ ๘,๐๐๐ โครนเดนนิช จากการจัดงานทำบุญเข้าพรรษา ซึ่งได้นิมนต์พระสงฆ์จากประเทศอังกฤษ และประเทศสวีเดน มาประกอบพิธีทางศาสนาแบบชาวพุทธที่ปฏิบัติกันมา และได้รับการสนับสนุนจากสมาคมสวัสดีไทย ให้ทุนทรัพย์อีกจำนวนหนึ่ง

ทุกคนเสียสละแรงกายและแรงสติปัญญาประชาสัมพันธ์งานริเริ่มก่อตั้งวัดไทย จนหลายฝ่ายให้ความร่วมมือกันเป็นจำนวนมากขึ้น กลุ่มจึงจัดตั้งสมาคมขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “พุทธสมาคม” มีการประชุมเลือกตั้งคณะกรรมการทำงานพุทธสมาคมอย่างเป็นรูปธรรมในปี ๒๕๓๐

พุทธสมาคมดำเนินงานกันต่อไปด้วยการอุทิศตนอย่างไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ในอันที่จะให้วัดไทยก่อกำเนิดขึ้นในประเทศเดนมาร์ก โดยการรวบรวมทุนทรัพย์จากการบริจาค และการจัดงานในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดให้มีเป็นประจำทุกปี ขณะเดียวกันยังคงนิมนต์พระธรรมทูตที่มาปฏิบัติศาสนกิจประจำอยู่ ณ ประเทศใกล้เคียง มาประกอบพิธีในวันสำคัญนั้นๆ ตลอดระยะเวลา ๓ ปี หลังการก่อตั้งพุทธสมาคมอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมานั้น ทางพุทธสมาคมได้รวบรวมทุนทรัพย์ทั้งหมดเป็นจำนวน ๒๐๐,๐๐๐.๐๐ โครนเดนนิช (ประมาณ ๘ แสนบาท) เมื่อมีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะหาซื้ออาคารสถานที่สำหรับสร้างเป็นวัดให้เป็นหลักเป็นฐาน

พุทธสมาคมจึงปรึกษาหารือกัน ทุกฝ่ายมีความเห็นชอบที่จะหาสถานที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งวัด และมอบถวายเป็นสมบัติของสงฆ์ เมื่อพระธรรมทูตปฏิบัติศาสนกิจต่างประเทศได้เดินทางมาถึงประเทศเดนมาร์ก ทุกฝ่ายจึงตกลงทำสัญญาซื้ออาคารพร้อมที่ดินในเนื้อที่ ๑,๔๐๔ ตารางเมตร ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนน H.P.HANLENSVEJ ๓ เขต STENLSE อาคารพร้อมที่ดินที่ทางพุทธสมาคมได้ทำสัญญาซื้อนั้นเป็นอาคาร ๓ หลัง แต่มีสภาพใช้ประโยชน์ได้เพียงอาคารหลังใหญ่หลังเดียวเท่านั้น

ส่วนที่เหลืออีก ๒ หลัง ทรุดโทรมไม่สามารถที่จะใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นจะต้องได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมตกแต่งทั้งภายนอกภายในอีกจำนวนมาก ซึ่งทุกฝ่ายต่างคำนึงถึงข้อนี้เป็นอย่างดีจึงได้ร่วมมือกันทั้งพระสงฆ์ พุทธสมาคมตลอดจนกลุ่มคนหนุ่มคนสาวที่เกิดในประเทศไทย แต่มาเติบโตที่ต่างประเทศได้เสียสละเวลาในช่วงวันหยุดประจำสัปดาห์พากันมาร่วมแรงร่วมใจบูรณะซ่อมแซมปรับปรุงตัวอาคารที่ทรุดโทรมทั้งกลางวันและกลางคืน จนกระทั่งอาคารที่เหลือทั้งสองหลัง สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยได้ทำเป็นที่ปฏิบัติธรรม ห้องสมุด ที่พักสงฆ์ ห้องโถงใหญ่ ห้องพักรับรอง ห้องสำนักงาน ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร ในปีที่ ๓ หลังการทำสัญญาตกลงซื้อวัดทางวัดก็ได้ไถ่ถอนโฉนดอาคารและที่ดินออกมาได้ทุกฉบับได้สำเร็จ

ด้วยอาศัยพลังแห่งศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งที่อยู่ในประเทศเดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ และเยอรมนี ที่ได้สละทรัพย์บริจาคให้กับวัดเพื่อเป็นทุนทรัพย์ในการซื้อกรรมสิทธิ์ในโฉนดอันชอบด้วยกฎหมายแห่งประเทศเดนมาร์กเพื่อความเจริญและตั้งมั่นแห่งวัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร

ผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนติดต่อได้ที่ วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร กรุงโคเปนเฮเกน ถนน H.P.HANLENSVEJ ๓ เขต STENLSE DENMARK Tel. +๔๕-๔๗๑๗๑๑๘๐, Fax. +๔๕-๔๗๑๐๗๘๘๗ อีเมล : watthaiiceland@hotmail.com

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ


นำข้อมูลมาจาก
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก - 20 กรกฎาคม 2550 04:15 น.

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดป่าอภัยคีรี
เลขที่ 16201 เมืองเรดวู้ด วาเลย์
มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา


ABHAYAGIRI BUDDHIST MONASTERY;
16201 TOMKI ROAD;
REDWOOD VALLEY, CA 95470;
TEL : (707) 485-1630; FAX : (707) 485-7948


มีเจ้าอาวาสร่วมกัน 2 รูป คือ
พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ และพระอาจารย์อมโร ภิกขุ


การสร้างวัดป่าอภัยคีรี

ในปีพุทธศักราช 2540 พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ (รีด แพรี่ : Reed perry) ได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เพื่อมาก่อตั้งวัดป่าอภัยคีรี และเป็นเจ้าอาวาสร่วมกับ พระอาจารย์อมโร ภิกขุ

วัดป่าอภัยคีรี เป็นวัดปฏิบัติในสายหลวงพ่อชา สุภัทโท แห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซานฟรานซิสโก มีเจ้าอาวาสร่วมกัน 2 รูป คือ พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จ.อุบลราชธานี และพระอาจารย์อมโร ภิกขุ อดีตรองเจ้าอาวาสวัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ “อภัยคีรี” เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า “ขุนเขาแห่งความปลอดภัย” ซึ่งเป็นชื่อวัดโบราณในประเทศศรีลังกา ที่ต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ต่างนิกายมาปฏิบัติธรรมร่วมกัน ด้วยความสมัครสมานสามัคคี ด้วยความเชื่อว่า “ทุกชีวิตมีสิทธิ์ในการทำทุกข์ให้สิ้นได้เท่าๆ กัน”

ปัจจุบัน “วัดป่าอภัยคีรี” ในอเมริกา ก็ไม่แตกต่างกันนักคือ ได้เปิดโอกาสให้สาธุชนผู้มีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ รักในสติ รักในปัญญา ได้เข้าถึงความสงบ สัปปายะ เป็นธรรมชาติตามแนววัดป่าฝ่ายเถรวาท ไม่ว่าผู้นั้นจะนับถือศาสนาใด นิกายไหน มีสีผิวอย่างไร ไม่เลือกเชื้อชาติ เพศ และอายุ

รูปภาพ
พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ

รูปภาพ
พระอาจารย์อมโร ภิกขุ


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22218

เว็บไซต์วัดป่าอภัยคีรี
http://www.abhayagiri.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดโพธิญาณาราม
ELLINGTON THERAVADA BUDDHIST ASSOCIATION
17 RAKAU GROVE, STOKES VALLEY WELLINGTON
NEW ZEALAND


วัดโพธิญาณาราม เป็นวัดนานาชาติของชาวต่างชาติ (มหานิกาย)
โดยเป็นวัดสาขาวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ ของพระราชสุเมธาจารย์ (โรเบร์ติ สุเมโธ)


ใช้วิธีการเจริญอานาปานสติ กำหนดพุทโธ
เป็นลูกศิษย์สายหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ศาสนาพุทธบูม !! ในเยอรมัน

หากมองย้อนหลังไปในอดีต ศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักในประเทศเยอรมันเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446) หรือเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากนักปราชญชาวเยอรมัน “อาเธอร์ โชเปนฮอยเออร์ (Arthur Schopenhauer)” ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่นำพระพุทธศาสนาไปประกาศแก่ชาวตะวันตก และอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นพุทธศาสนิกชนเยอรมันคนแรกของประเทศ

นอกจากนี้ ยังมี นายแอนทัน กูเอ็ธ (ชาวเยอรมันคนแรกที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา ชื่อว่า พระญาณติโลกมหาเถร) และ นายยูเจน ชาวออสเตรีย ผู้รวบรวมคำสอนหลักและนำพระไตรปิฎกมาแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาเยอรมัน จนกลายเป็นพระไตรปิฎก ฉบับมาตรฐานสำหรับชาวพุทธในเยอรมัน

ศาสนาพุทธที่เข้ามาในช่วงแรกเริ่มนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากนิกายเถรวาทของพระสงฆ์ที่ธุดงค์มาจากประเทศศรีลังกา อย่างไรก็ดี การเผยแผ่พุทธศาสนาในช่วงนี้ดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประเทศเยอรมันในสมัยนั้นมีรากฐานความเชื่อมาจากศาสนาคริสต์และลัทธิมาร์ก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่กล้าเปิดรับความคิดใหม่ๆ ที่เข้ามา จึงทำให้ฆราวาสที่สนับสนุนพระสงฆ์มีจำนวนไม่มากพอที่จะส่งเสริมให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปได้

แต่ในที่สุดปี ค.ศ.1924 นายแพทย์พอล ดาห์เก้ (Paul Dahlke) ก็ได้เป็นผู้นำสถาปนาศูนย์ปฏิบัติธรรมพุทธศาสนาขึ้นแห่งแรก บนเนินเขาทางตอนเหนือของเมืองเบอร์ลิน ทำให้พุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักปราชญ์และนักศึกษาที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายบนเทือกเขา

ในบรรดาปราชญ์ทางพุทธศาสนาชาวเยอรมันมากมายซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี อาทิ แฮร์มัน โอล-เดนบวร์ก (Hermann Oldenburg), ยอร์จ กริมม์ (George Grimm), คาร์ล นูมานน์ (Karl- Nueumann), คาร์ล ไซเดนสตุ๊กเกอร์ (Karl Seidenstucker), ไฟรดริช ซิมเมอร์มานน์ (Friedrich Zimmermann), ฮันส์ มุช (Hans Much) ฯลฯ นั้น ได้มีนักเขียนชาวเยอรมันผู้โด่งดังอีกคนหนึ่ง คือเเฮร์มัน เฮสเส (Hermann Hesse) ผู้ซึ่งได้ถ่ายทอดพุทธปรัชญาออกมาในงานเขียนหลายเรื่อง เช่น นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนท์ (Narziss and Goldmund) สเตปเปนวูล์ฟ (Steppenwolf) เกมลูกแก้ว (The Glass Bead Game) และสิทธารถะ (Siddhartha) แต่ที่ชาวไทยรู้จักกันดีก็คือเรื่อง สิทธารถะ ซึ่งเขียนขึ้นในปี ค.ศ.1922 และในปี1946 เฮสเสก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

ต่อมาในปี ค.ศ.1960-70 นิกายมหายานจากประเทศญี่ปุ่นและทิเบตเริ่มเข้ามามีบทบาท และเผยแพร่ไปสู่ชาวเยอรมันอย่างกว้างขวาง ประกอบกับการคมนาคมที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้ชาวเยอรมันได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ และศึกษาพุทธศาสนามาจากอาจารย์ในแถบประเทศเมืองพุทธจนเข้าใจถึงแก่นของสัจธรรม โดยไม่มีกรอบของวัฒนธรรมมาปิดกั้น พวกเขาจึงนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้กลับมา พร้อมกับร่วมส่งเสริมศูนย์พุทธศาสนาให้เติบโตขึ้นตามลำดับ จนในปัจจุบันกว่าร้อยละ 90 ของชาวพุทธในเยอรมันได้เรียนรู้หลักพุทธศาสนามาจากนิกายมหายานและวัชรยาน

ปัจจุบัน ในสังคมวัตถุนิยมที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขัน ชาวเยอรมันในยุคไอทีเริ่มไม่พึงพอใจกับชีวิตที่วุ่นวาย และเริ่มมองหาความหมายของชีวิตที่ลึกซึ้งกว่าการคลั่งไคล้ในพระผู้เป็นเจ้าที่มองไม่เห็นมากขึ้น ศาสนาพุทธจึงกลายเป็นทางเลือกใหม่สำหรับชาวเยอรมัน โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลางซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาระดับสูงจากหลากหลายอาชีพ เช่น แพทย์ วิศวกร ครูอาจารย์ พวกเขาเริ่มหันกลับมาถามตัวเองและพบกับคำตอบว่าการหาเงินมากๆ และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ไม่สามารถทำให้พวกเขาพบกับความสุขที่แท้จริงได้ และแม้แต่ผู้ที่มีชื่อเสียงของประเทศในปัจจุบันก็หันมาศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เช่น ราล์ฟ บอยเออร์ (Ralf Bauer) นักแสดงหนุ่ม, เมเม็ต โชว์(Mehmet Scholl) นักฟุตบอล รวมถึงนักร้องสาวนีนา ฮาเกน (Nina Hagen) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีศรัทธา และช่วยทำให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น

นีน่ากล่าวพร้อมอารมณ์ขันว่า “อย่างน้อยพุทธศาสนาสามารถสร้างความสงบในจิตใจให้แก่ประชาชน ในขณะที่ประเทศยังมีระดับอัตราการว่างงานที่สูง รวมทั้งระบบบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้เกษียณอายุที่ยังคลุมเครืออยู่”

ดังนั้น ช่วงค่ำของทุกวัน บรรยากาศของศูนย์ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาประจำเมืองฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมัน จึงเต็มไปด้วยผู้คนนับร้อย คนที่สนใจร่วมคอร์สอบรมภาวนาสมาธิตามแบบฉบับ ของทิเบต ภาพของชาวเยอรมันผู้เคร่งเครียดกับการแข่งขันในโลกอุตสาหกรรม หันมาสวดมนต์และปฏิบัติสมาธิหลังเลิกงาน กลายเป็นภาพที่มีให้เห็นมากขึ้นในศูนย์ปฏิบัติธรรม ประจำเมืองต่างๆ

ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลเยอรมันจะไม่ได้เก็บข้อมูลจำนวนพุทธศาสนิกชนในประเทศไว้อย่างแน่ชัด แต่ทางกลุ่มพุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน (German Buddhist Union) คาดการณ์ไว้ว่า ชาวเยอรมันที่นับถือศาสนาพุทธในปัจจุบัน มีประมาณ 100,000 คน โดยไม่รวมชาวต่างชาติกว่า 120,000 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธไทยและเวียดนาม

จากสถิติปี พ.ศ.2547 พบว่าจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมที่จดทะเบียนกับทางการ เยอรมันมีกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2513 ซึ่งมีจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมเพียง 15 แห่ง แสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธกำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของประเทศเยอรมันที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง

ปัจจุบัน ทางกลุ่มพุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน (German Buddhist Union) ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติธรรมในเครือรวม 52 แห่ง ได้มีนโยบายส่งเสริมพุทธศาสนา โดยเฉพาะนิกายเถรวาท อย่างเป็นรูปธรรม โดยมิได้มีรูปแบบของประเพณีและพิธีกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาอื่น เช่น ฮินดู ชินโต เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ทางกลุ่มได้พยายามผลักดันจนทำให้พุทธศาสนาเป็นวิชาเลือกหนึ่ง ในโรงเรียนมัธยมศึกษาบางแห่ง และยังได้พิมพ์ตำราและเอกสารทางพุทธศาสนาที่จำเป็นแจกจ่าย โดยได้รับแรงสนับสนุนจากเงินบริจาคของกลุ่มสมาชิกทั่วประเทศ ส่วนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ เช่น สาธารณรัฐเชค สวิตเซอร์แลนด์ ศรีลังกา ไทย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดในระดับสากล นับว่าเป็นก้าวใหม่ของพุทธศาสนาที่กำลังเบ่งบานในประเทศเยอรมัน

อนึ่ง เยอรมันมีประชากรราว 82,424,609 ล้านคน นับถือศาสนาโปรเตสแตนท์ 34%, โรมันคาธอลิก 34%, มุสลิม 3.7% และอื่นๆ 28.3%


รายชื่อวัดไทยในประเทศเยอรมัน

เมืองบาเยิร์น (Bayern)
- วัดไทยมิวนิค, วัดไทยเนิร์นแบร์ก, วัดพุทธเอาสบวร์กใหม่

เมืองเบอร์ลิน (Berlin)
- วัดพุทธวิหาร, วัดพุทธารามเบอร์ลิน

เมืองฮัมบวร์ก (Hamburg)
- วัดพุทธบารมี

เมืองเฮสเสน (Hessen)
- วัดพุทธปิยวราราม, วัดพุทธเบญจพล, วัดโพธิธรรม, วัดป่าภูริทัตตาราม

เมืองไนเดอร์ซัสเชน (Niedersachsen)
- วัดธรรมวิหาร

เมืองนอร์ดรินเวสฟาแลง (Nordrhein-Westfalen)
- วัดป่าอนาลโย, วัดธรรมบารมี, วัดธรรมนิวาส

เมืองซาอาแลนด์ (Saarland)
- วัดสมเด็จฯ เยอรมนี

เมืองชูวิก โฮสไตน์ (Schleswig-Holstein)
- วัดกตัญญุตาราม


โดย ผู้จัดการออนไลน์ 30 สิงหาคม 2547 11:40 น.

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร