วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2008, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m207928.jpg
m207928.jpg [ 289.93 KiB | เปิดดู 4342 ครั้ง ]
เหตุใดสติตามทันขณะปัจจุบันจึงเป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา ?


กิจกรรมสามัญที่สุดของทุกๆ คน ซึ่งเป็นไปอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ก็คือการรับรู้อารมณ์ต่างๆ ทางตา หู

จมูก ลิ้น กาย และใจ

เมื่อมีการรับรู้ ก็มีความรู้สึกพร้อมไปด้วย คือ สุขสบายบ้าง ทุกข์ระคายเจ็บปวด ไม่สบายบ้าง เฉยๆ บ้าง

เมื่อมีความรู้สึกสุขทุกข์ ก็มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในใจด้วย คือ ถ้าสุขสบายที่สิ่งใด ก็ชอบใจติดใจสิ่งนั้น

ถ้าไม่สบายได้ทุกข์ที่สิ่งใด ก็ขัดใจไม่ชอบสิ่งนั้น เมื่อชอบก็อยากรับรู้อีก อยากเสพซ้ำ หรืออยากได้ อยากเอา

เมื่อไม่ชอบก็เลี่ยงหนี หรืออยากกำจัด อยากทำลาย

กระบวนการนี้ ดำเนินไปตลอดเวลา มีทั้งที่แผ่วเบา ผ่านไปโดยไม่มีได้สังเกต และที่แรงเข้ม สังเกตได้เด่นชัด

มีผลต่อจิตใจอย่างชัดเจนและสืบเนื่องไปนาน

ส่วนใดแรงเข้มหรือสะดุดชัด ก็มักชักให้มีความคิดปรุงแต่งยึดเยื้อเยิ่นเย้อออกไป ถ้าไม่สิ้นสุดที่ในใจ

ก็ผลักดันแสดงออกมาเป็นการพูด การกระทำต่างๆ ทั้งน้อยและใหญ่

ชีวิตของบุคคล บทบาทของเขาในโลก และการกระทำต่อกันระหว่างมนุษย์ ย่อมสืบเนื่องออกมาจาก

กระบวนธรรมน้อยๆ ที่เป็นไปในชีวิตแต่ละขณะๆ นี้เป็นสำคัญ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 มิ.ย. 2010, 16:58, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2008, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในทางปัญญา

การปล่อยให้จิตใจให้เป็นไปตามกระบวนธรรมข้างต้นนั้น คือ เมื่อรับรู้แล้ว รู้สึกสุขสบายก็ชอบใจ ติดใจ

เมื่อรับรู้แล้ว รู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ก็ขัดใจ ไม่ชอบใจ ข้อนี้เป็นเครื่องกีดกั้นปิดบัง ทำให้ไม่รู้ไม่เข้าใจ

ไม่มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง หรือตามสภาวะที่แท้ของมัน ทั้งนี้เพราะจิตใจที่เป็นเช่นนี้ จะมีสภาพต่อไปนี้

-ข้องอยู่ที่ความชอบใจ หรือความขัดใจ ตกอยู่ในอำนาจของความติดใจ หรือขัดใจนั้น ถูกความชอบหรือไม่ชอบ

นั้นเคลือบคลุม ทำให้มองเห็น เอนเอียงไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ตรงตามที่มันเป็นจริง


-ตกลงไปในอดีตหรืออนาคต กล่าวคือ เมื่อคนรับรู้แล้ว เกิดความชอบใจหรือไม่ชอบใจ จิตของเขาจะข้อง

หรือขัดอยู่ ณ ส่วนหรือจุดหรือแง่ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจของอารมณ์นั้น เก็บ เอาไปทะนุถนอม คิดปรุงแต่ง

ตลอดจนฝันฟ่ามต่อไป การข้องอยู่ที่ส่วนใดก็ตาม ซึ่งชอบใจหรือไม่ชอบใจ และการจับอยู่กับภาพของสิ่งนั้น

ซึ่งปรากฏอยู่ในใจของตน คือ การเลื่อนไหลลงสู่อดีต การคิดปรุงแต่งต่อไปเกี่ยวกับสิ่งนั้น คือ การเลื่อนลอย

ไปในอนาคต ความรู้ความเข้าใจของเขาเกี่ยวกับสิ่งนั้น ก็คือภาพของสิ่งนั้น ณ จุดหรือตอนที่ชอบใจ

หรือไม่ชอบใจ หรือซึ่งเขาได้คิดปรุงแต่งต่อไปแล้ว ไม่ใช่สิ่งนั้นตามที่มันเป็นของมันเองในขณะนั้นๆ


-ตกอยู่ในอำนาจของความคิดปรุงแต่ง จึงแปล ความหมายของสิ่งที่รับรู้ หรือประสบการณ์นั้นๆ ไปตามแนวทาง

ของภูมิหลัง หรือความเคยชินที่ได้สั่งสมไว้ เช่น ค่านิยม ทัศนคติ หรือทิฐิที่ตนยึดถือนิยม เชิดชู เรียกว่า

จิตตกอยู่ในภาวะถูกปรุงแต่ง ไม่อาจมองอย่างเป็นกลาง ให้เห็นประสบการณ์ล้วนๆ ตามที่มันเป็น


-นอกจากถูกปรุงแต่งแล้ว ก็จะนำเอาภาพปรุงแต่งของประสบการณ์ใหม่นั้นเข้าไปร่วมในการปรุงแต่งต่อไปอีก

เป็นการเสริมซ้ำการสั่งสมนิสัย ความเคยชินของจิตให้แน่นหนายิ่งขึ้น


ความเป็นไปเช่นนี้ มิใช่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องหยาบๆ ตื้นๆ ในการดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมทั่วไปเท่านั้น แต่ท่านมุ่ง

เน้นกระบวนของจิตในระดับละเอียดลึกซึ้ง ที่ทำให้ปุถุชนมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นของคงที่ เป็นชิ้นเป็นอัน มีสวย

งาม น่าเกลียด ติดในสมมุติต่างๆ ไม่เห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ดำเนินอยู่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ดี กระบวนธรรมเช่นนี้ เป็นความเคยชิน หรือ นิสัยของจิตที่คนทั่วไปได้สั่งสมกันมาคนละนานๆ

เกือบจะว่า ตั้งแต่เกิดทีเดียว 20-30 ปีบ้าง 40-50 ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง และไม่เคยหัดตัดวงจรลบ

กระบวนกันมาเลย การจัดการแก้ไข จึงมิใช่จะทำได้ง่ายนัก ในทันทีที่รับรู้อารมณ์ หรือ มีประสบการณ์

ยังไม่ทันตั้งตัว ที่จะยั้งกระบวน จิตก็แล่นไปตามความเคยชินของมันเสียก่อน

ดังนั้น การแก้ไขในเรื่องนี้ จึงมิใช่จะเพียงตัดวงจรล้างกระบวนธรรมนั้นลงเท่านั้น แต่จะต้องแก้ไข ความเคยชิน

หรือนิสัยที่ไหลแรงไปข้างเดียวของจิตอีกด้วย

องค์ธรรมสำคัญที่จะใช้เป็นตัวเบิกทาง และเป็นหลักรวมพลทั้งสองกรณี ก็คือ สติ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน

ก็มีวัตถุประสงค์อย่างนี้ กล่าว คือ เมื่อมีสติตามทันขณะปัจจุบัน และมองดูสิ่งนั้นๆ ตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ

ตลอดเวลา ย่อมสามารถตัดวงจรทำลายกระบวนธรรมฝ่ายอกุศลลงได้ด้วย ค่อยๆ แก้ไขความเคยชินเก่าๆ

พร้อมกับสร้างแนวนิสัยใหม่ให้แก่จิตได้ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ธ.ค. 2010, 10:43, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2008, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตที่มีสติกำกับให้ตามทันอยู่กับขณะปัจจุบัน จะมีสภาพตรงข้ามกับจิตที่เป็นตามกระบวนธรรมข้างต้น คือ

-ความชอบใจ หรือ ขัดใจ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะการที่จะชอบใจ หรือ ขัดใจ จิตจะต้องข้องขัดอยู่ ณ จุด

หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่ง และชะงักค้างอยู่ คือ ตกลงในอดีต


-ไม่เลื่อนไหลลงไปในอดีต ไม่เลื่อนลอยไปในอนาคต ความชอบใจ ไม่ชอบใจ กับการตกอดีตเป็นอาการที่เป็น

ไปด้วยกัน เมื่อไม่ข้อง ไม่ค้างอยู่ ตามดูทันอยู่กับสภาวะที่กำลังเป็นไปอยู่ การตกอดีต ลอยอนาคต ก็ไม่มี


-ไม่ถูกความคิดปรุงแต่ง เนื่องด้วยภูมิหลังที่ได้สั่งสมไว้ ชักจูงแปลประสบการณ์ หรือ สิ่งที่รับรู้ให้เอนเอียง

บิดเบือน หรือ ย้อมสีไปตามอำนาจของมัน พร้อมที่จะมองไปตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ


-ไม่ปรุงแต่งเสริมซ้ำ หรือ เพิ่มกำลังแก่ความเคยชินผิดๆ ที่จิตได้สั่งสมเรื่อยมา


-เมื่อตามรู้ดูทันทุกสิ่ง ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันทุกขณะ ก็ย่อมได้รู้เห็นสภาพจิตนิสัย เป็นต้นของตนที่ไม่พึง

ปรารถนา หรือ ที่ตนเองไม่ยอมรับปรากฏออกมาด้วย ทำให้ได้รับรู้สู้หน้า เผชิญสภาพที่เป็นจริงของตนเอง

ตามที่มันเป็น ไม่เลี่ยงหนี ไม่หลอกตนเอง และทำให้สามารถชำระล้างกิเลสเหล่านั้น แก้ปัญหาในตนเองได้ด้วย


นอกจากนั้น ในด้านคุณภาพจิตก็จะบริสุทธิ์ ผ่องใส โปร่ง เบิกบาน เป็นอิสระ ไม่ถูกบีบจำกัดให้คับแคบ

และไม่ถูกเคลือบคลุมให้หมองมัว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 มิ.ย. 2010, 17:07, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2008, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งทั้งหลาย ตั้งอยู่ตามสภาพของมัน และเป็นไปตามธรรมดาของมัน พูดเป็นภาพพจน์ว่า ความจริงเปิดเผยตัว

มันอยู่ตลอดเวลา แต่มนุษย์ปิดบังตนเองจากมัน หรือไม่ก็มองภาพของมันบิดเบือนไป หรือไม่ก็ถึงกับหลอกลวง

ตัวของมนุษย์เอง

ตัวการที่ปิดบัง บิดเบือน หรือ หลอกลวง ก็คือ การตกลงไปในการแสของกระบวนธรรมดังกล่าวข้างต้น

เครื่องปิดบัง บิดเบือน หรือหลอก ก็มีอยู่แล้ว ยิ่งความเคยชิน คอยชักลากให้เสียอีก โอกาสที่จะรู้ความจริง

ก็แทบไม่มี ในเมื่อความเคยชิน หรือ ติดนิสัยนี้ มนุษย์ได้สั่งสมต่อเนื่องกันมานานนักหนา การปฏิบัติเพื่อแก้ไข

และสร้างนิสัยใหม่ ก็ควรจะต้องอาศัยเวลามากเช่นเดียวกัน


เมื่อใดสติตามทัน ทำงานสม่ำเสมอต่อเนื่องอย่างชำนาญ คนไม่ปิดบังตัวเอง ไม่บิดเบือนภาพที่มอง และพ้นจาก

อำนาจความเคยชิน หรือนิสัยเก่าของจิตแล้ว

เมื่อนั้น ก็พร้อมที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมัน และรู้เข้าใจความจริง

ถึงตอนนี้ ถ้าอินทรีย์อื่นๆ โดยเฉพาะปัญญาแก่กล้าพร้อมดีอยู่แล้ว ก็จะร่วมทำงานกับสติ หรืออาศัยสติคอยเปิด

ทางให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดญาณทัศนะ ความหยั่งเห็นตามเป็นจริง ที่เป็นจุดหมายของวิปัสสนา

แต่การที่ปัญญินทรีย์ เป็นต้น จะพร้อมหรือแก่กล้าได้นั้น ย่อมอาศัยการฝึกฝนอบรมมาโดยลำดับ รวมทั้งการเล่า

เรียนสดับฟังในเบื้องต้นด้วย การเล่าเรียนสดับฟังและการคิดเหตุผล เป็นต้น จึงมีส่วนเกื้อกูลแก่การรู้แจ้ง

สัจธรรมได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 เม.ย. 2013, 16:34, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 20:23 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุคะท่านกรัชกราย :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2008, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงนั้น สติไม่ใช่ตัววิปัสสนา ปัญญาหรือการใช้ปัญญาต่างหากเป็นวิปัสสนา

แต่ปัญญาจะได้โอกาส และ จะทำงานได้อย่างปลอดโปรงเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่ด้วย

การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากใน วิปัสสนา

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติเพื่อจะใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือเป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง

ในภาษาการปฏิบัติธรรม

เมื่อพูดถึงสติก็เล็งถึงปัญญาที่ควบอยู่ด้วย และสติจะมีกำลังกล้าแข็งหรือชำนาญคล่องแคล้วขึ้นได้ ก็เพราะมี

ปัญญาร่วมทำงาน


ปัญญาที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆไป มักมีลักษณาการที่เรียกว่า สัมปชัญญะ

ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ

การพูดจากล่าวขานมักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลักหรือตัวเด่น

แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา สติจะเป็นเหมือนตัวที่คอย

รับใช้ปัญญา

ปัญญา ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาพที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ

นี่แหละ คือวิปัสสนา

(อภิ.วิ. 35/612/337 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 เม.ย. 2013, 16:35, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติทำกิจสำคัญทั้งในสมถะ และ วิปัสสนา

หากพูดเปรียบเทียบระหว่างบทบาทของสติในสมถะกับวิปัสสนา อาจช่วยให้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวมา

นั้นชัดเจนยิ่งขึ้น

ในสมถะ สติกุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือ ดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือจับแน่นสนิทอยู่กับ

อารมณ์นั้น นิ่งสงบไม่ส่ายไม่ซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้นเป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องไป

สม่ำเสมอ ก็เรียกว่า เป็น สมาธิ และเพียงเท่านั้น สมถะก็สำเร็จ

ส่วนในวิปัสสนา

สติกำหนดอารมณ์กุมไว้กับจิต หรือ คุมจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วางอารมณ์เพื่อเอาอารมณ์

นั้นเสนอให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือ จับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดู และ วิเคราะห์ วินิจฉัยโดยใช้จิต

ที่ตั้งมั่นเป็นที่ทำงาน

หากจะอุปมา ในกรณีของสมถะ เหมือนเอาเชือกผูกลูกวัวพยศไว้กับหลัก ลูกวัวจะออกไปไหนๆก็ไปไม่ได้

คงวนเวียนอยู่กับหลัก ในที่สุด เมื่อหายพยศก็หมอบนิ่งอยู่ที่หลักนั่นเอง

จิตเปรียบเหมือนลูกวัวพยศ

อารมณ์เหมือนหลัก

สติเหมือนเชือก

ส่วนในกรณีของวิปัสสนา เปรียบ เหมือนเอาเชือก หรือ เครื่องยึดอย่างหนึ่ง ผูกตรึงคน สัตว์ หรือวัตถุบางอย่าง

ไว้กับแท่นหรือเตียง แล้วตรวจดูหรือทำกิจอื่น เช่น ผ่าตัดเป็นต้นได้ถนัดชัดเจน

เชือกหรือเครื่องยึด คือ สติ

คน สัตว์ หรือวัตถุที่เกี่ยวข้อง คือ อารมณ์

แท่นหรือเตียง คือ จิตที่เป็นสมาธิ

การตรวจ หรือ ผ่าตัด เป็นต้น คือ ปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2011, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ขอนำคำถาม-คำตอบเกี่ยวกับกระทู้นี้เสริมความเข้าใจด้วย

ผู้ถาม: ขอกราบเรียนเรื่องธรรมะครับ เรื่องสัมโพชฌงค์ 7 ที่มี สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ

สมาธิ อุเบกขา ผมเคยอ่านในพระไตรปิฎกว่า ถ้าเจริญสติปัฏฐานให้มาก จะทำให้โพชฌงค์ 7

บริบูรณ์

สติปัฏฐาน คือ สัมมาสติ มรรคองค์ที่ 7 ผมพิจารณาแล้วมีความเข้าใจว่า โพชฌงค์ 7 ก็คือกระบวน

การที่เกิดขึ้นระหว่างสัมมาสติ ซึ่งไปสู่สัมมาสมาธิ อันสุดท้ายก็คืออุเบกขา อุเบกขาในโพชฌงค์

7 จะไปทับกับอุเบกขาในสัมมาสมาธิ ไม่ทราบว่า เข้าใจถูกไหมครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2011, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพรหมคุณาภรณ์: ธรรมะในชุดนี้ เรียกรวมๆได้ว่า อยู่ในชุดโพธิปักขิยธรรม แปลว่า ธรรมะที่

เป็นฝักฝ่ายของการตรัสรู้ คืออยู่ในชุดของการตรัสรู้ ช่วยประกอบกัน หนุนกันให้ถึงปัญญาตรัสรู้ มี

อยู่ 37 ประการ ใน 37 ประการนี้ ก็มีทั้งมรรค ทั้งโพชฌงค์ มีทั้งสติปัฏฐาน 4 อยู่ในนี้หมด ซึ่งทั้ง

หมดเป็นปัจจัยเกื้อหนุนกัน แล้วก็มาแยกตามการใช้งาน เอาเข้าจริงมันก็อยู่ในส่วนนั้นส่วนนี้ที่ถึงกัน

หมด

สติปัฏฐาน ก็คือเอาสติเป็นใหญ่ สติเป็นข้อแรกของโพชฌงค์อยู่แล้ว เวลาแปลสติปัฏฐาน เรามัก

แปลกันว่าการตั้งสติ บางทีก็แปลว่าการปรากฏของสติ หมายความว่า สติมันอยู่ ไม่ลอย ไม่หายไป

เสียนั่นแหละ

เมื่อสติอยู่ เราก็อยู่ ไม่หลุด ไม่หล่น ไม่พลัดออกไปจากทาง ก็เข้าทาง อยู่ในทาง ตั้งต้นทาง

ดำเนินไปถูกทาง พอดำเนินไปถูกทาง มันก็ดำเนินตามโพชฌงค์ไปได้ ก้าวต่อไปได้

ถ้าสติไม่ได้ตั้งขึ้นมาแล้ว โพชฌงค์ก็ไม่เดินไป

ฉะนั้น สติปัฏฐานก็เหมือนกับเป็นตัวเริ่มให้ โพชฌงค์มาทำงาน โพชฌงค์ก็อาศัยสติปัฏฐาน

ในแง่นี้

ทีนี้ สติปัฏฐานนี่ ก็คือการมีชีวิตอยู่ด้วยสติ เหมือนกับตื่นอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีสติ ก็อยู่ในกระบวน

การที่ไปทำให้โพชฌงค์ได้เดินหน้าไปเต็มที่

หมายความว่า สติไม่ใช่ว่ามันจะอยู่ของมันอย่างเดียว แต่สติในสติปัฏฐานมาเป็นตัวเอื้ออำนาย

โอกาสตั้งแต่เริ่มต้นให้ พอสติมาโพชฌงค์ก็เริ่มทำงาน เริ่มต้นเดินหน้า เมื่อสติยังอยู่ โพชฌงค์ก็

ทำงานเดินหน้าต่อไปได้เรื่อยไปๆ

แต่ความจริง ในสติปัฏฐานนั้น องค์ธรรมที่ประกอบกันก็ชัดอยู่แล้ว ปัญญาก็เป็นตัวสำคัญที่อยู่ใน

โพชฌงค์นั่นแหละ ท่านก็บอกไว้ชัดอยู่แล้ว พอสติเริ่มต้นให้แล้ว ธรรมวิจัยคือปัญญาก็ทำงาน

วิจัยธรรมไปได้เลย

ถึงในสติปัฏฐานเอง พอสติมา สัมปชัญญะคือปัญญาก็มาเข้าคู่ไปด้วย แล้วพอสติเริ่มงาน ก็ก้าว

ต่อไปได้ด้วยความเพียร (อาตาปี สมฺปชาโน สติมา) มากันเป็นชุดเป็นกระบวน

แต่ที่เน้นตัวสตินี่ก็คือจับเอาตัวสำคัญมา ตัวที่เริ่มต้นเป็นหลัก เป็นศูนย์รวม ให้แก่ตัวอื่นๆ

แต่เวลาดูการทำงานก็เห็นเป็นกระบวน ซึ่งดำเนินไปในแบบโพชฌงค์นั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2011, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้พอแยกแยะละเอียดออกไป ก็จะเห็นธรรม 2 หมวดนี้ประสานกันคล้ายว่า เวลาพูดถึง

สติปัฏฐานนี่ เราเน้นตัวเด่นที่สติในฐานะเป็นตัวเริ่มต้น และเป็นตัวหล่อเลี้ยงรักษากระบวนการทำ

งานให้ดำเนินอยู่ต่อเนื่องไป แล้วมีตัวทำงานที่สำคัญคือสัมปชัญญะ แล้วก็มีความเพียรที่จะเดิน

หน้า

ทีนี้ความเพียรดำเนินไปอย่างไร พอดูการทำงาน ก็คือมันก้าวไปในกระบวนการทำงานของ

โพชฌงค์นั่นเอง พอเริ่มต้นมีสติระลึกนึกอะไรขึ้นมาแล้วปัญญาที่ว่าวิจัยธรรม ก็มาทำงานเดินหน้า

ไปได้ แล้วที่ก้าวไปนั้นก็คือกำลังของวิริยะ เมื่อก้าวหน้าไปได้ๆ ก็มีปีติอิ่มใจสมใจปลื้มใจไป

เรื่อยๆ ก็สงบผ่อนคลายเป็นปัสสัทธิ แล้วใจไม่เครียดไม่มีอะไรบีบคั้นสงบได้ ก็อยู่ตัวนิ่งแน่วเป็น

สมาธิ จากนั้นก็อุเบกขา

อุเบกขาในที่นี้ เป็นอุเบกขาในธรรม ซึ่งต้องมาด้วยปัญญา คืออาศัยปัญญาที่เกิดความรู้ความเข้า

ใจ พอเกิดความรู้ความเข้าใจมองเห็นสว่างโล่งแล้ว ทุกอย่างก็ลงตัวหมด ใจเป็นกลาง ถึงภาวะจิต

ที่ลงตัว เรียกว่าอุเบกขา

ตรงนี้ก็มาถึงประเด็นที่เป็นจุดหมายของคำถาม คือ ที่ถามว่าโพชฌงค์ 7 เป็นกระบวนการ

ระหว่างสัมมาสติสู่สัมมาสมาธิ โดยในที่สุด อุเบกขาในโพชฌงค์ 7 จะไปทับกับอุเบกขาในสัมมา

สมาธิ ใช่ไหม ?


ขอทำความเข้าใจก่อนว่า โพชฌงค์ 7 เป็นธรรมกระบวนใหญ่ครบหรือสมบูรณ์ในตัว เท่ากับมรรคมี

องค์ 8 หรือเป็นวิธีพูดถึงการทำงานของมรรคนั้นในแนวหนึ่งนั่นเอง โดยแสดงในขั้นของสมาธิและ

ปัญญา

เพราะฉะนั้น แทนที่จะพูดว่า โพชฌงค์ 7 ทำงานจากสัมมาสติสู่สัมมาสมาธิ ควรพูดว่า ทั้งสัมมา

สติและสัมมาสมาธิทำงานร่วมอยู่ด้วยในโพชฌงค์ 7

ทีนี้ ในสัมมาสมาธิ ก็มีอุเบกขา (โดยเฉพาะในจตุตถฌาน) และในโพชฌงค์ 7 ก็มีอุเบกขา นั่นก็

คือ องค์ธรรมหรือคุณสมบัติของจิตที่เป็นกลางนั้น

ในสัมมาสมาธิก็มี ในโพชฌงค์ 7 ก็มี แต่ทำหน้าที่ต่างสถานะ มีแดนขอบเขตอารมณ์ ไม่เท่าไม่

ตรงกัน กล่าวคือ

อุเบกขาในจตุตถฌาน ได้แก่ ภาวะจิตที่เป็นกลางต่อองค์ธรรมในฌาน โดยเฉพาะ ลงตัวต่อความ

สุขที่เพิ่งประสบมาในตติยฌาน ไม่โอนเอนเยื่อใยเอียงไปกับสุขนั้น

ส่วนอุเบกขาที่เป็นโพชฌงค์ คือ ภาวะจิตที่เป็นกลางต่อธรรมทั้งปวงที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ

ปฏิบัติ

ท่านจึงมีคำเรียกสำหรับแต่ละอย่าง คือ อุเบกขาในจตุตถฌาน เรียกว่า ฌานุเบกขา

ส่วนอุเบกขาในโพชฌงค์ เรียกว่า โพชฌังคุเบกขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร