วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2010, 04:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่เราคอยสำรวมใจ สำรวมอยู่ในศีล คอยระวังไม่พูดร้าย ไม่คิดร้าย คอยพิจารณาร่างกายและระลึกถึงความตายอยู่เรื่อยๆ อย่างนี้เป็นการภาวนาหรือเปล่าคะ เพราะบางวันท็ทำงานเยอะเหลือเกิน ง่วงมากมาย เช่น เมื่อวานพอกราบพระสามที นั่งหลับตาเท่านั้นแหล่ะ หลับเลย (- -")/ Zzzz หลับในท่านั่งนั่นเอง ยังไม่ได้บริกรรมสักคำเลย ก็ไม่ไหวต้องไปนอน (แต่มานั่งสมาธิชดเชยตอนเช้าแระ)

แล้วถ้าบางวันเราไม่ได้นั่งสมาธิ ไม่ได้เดินจงกรม แต่เรื่องคอยระวัง คอยสำรวมไม่ขาด ระหว่างวันก็คอยพิจารณาตัวเองอยู่ตลอด แบบนี้ถือว่าวันนั้นๆเราได้ภาวนาไหมคะ ไม่อยากขาดการภาวนาอ่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

tongue tongue tongue tongue

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2010, 08:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียกว่า....เจริญสติ..ครับ

มรรคข้อ 7


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2010, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายให้เข้าใจเบื้องต้นก่อนนะ..
ภาวนามีสองอย่าง คือ สมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนา

- สมถะภาวนา คือ ทำใจให้สงบ ไม่คิดไม่นึก ต้องการความสงบเป็นใหญ่ เรียกว่า ทำสมาธิหรือการฝึกสติ เจริญสติ ทำได้ทุกอริยบท
- วิปัสสนาภาวนา คือ การคิด การพิจารณาหาเหตุหาผล ต้องการความรู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องนั้นเรื่องนี้ เรียกว่า การใช้ปัญญา ทำได้ทุกอริยบทเช่นกัน

เช่น..
- ยืน เดิน นั่ง นอน กำหนดพุทโธ กำหนดลมหายใจ ยุบหนอพองหนอ กำหนดการเคลื่อนไหวของกาย เรียกว่า สมถะภาวนาหรือการทำสมาธิ
- ยืน เดิน นั่ง นอน คิด พิจารณา ร่างกายเป็นของสกปรก ปฏิกูล ระลึกถึงความตาย เรียกว่า วิปัสสนาภาวนาหรือการใช้ปัญญา

หากเราทั้งคอยระวังรักษาใจและพิจารณาไปพร้อมกัน ก็เรียกว่าทำทั้งสมาธิและวิปัสสนา

Hanako เขียน:
แล้วถ้าบางวันเราไม่ได้นั่งสมาธิ ไม่ได้เดินจงกรม แต่เรื่องคอยระวัง คอยสำรวมไม่ขาด ระหว่างวันก็คอยพิจารณาตัวเองอยู่ตลอด แบบนี้ถือว่าวันนั้นๆเราได้ภาวนาไหมคะ ไม่อยากขาดการภาวนาอ่ะค่ะ

อย่างนี้เรียกว่า ผู้มีสติ มีสมาธิ เป็นการเจริญสติเฝ้าระวังรักษาใจ สำรวมใจไม่ให้ส่งส่ายไปในทางที่เป็นโทษแก่ตนเอง ถ้าทำบ่อยจนเป็นนิสัยเป็นปัจจัย วันหนึ่งไม่ช้า คงหนีจากข้าน้อยและผองเพื่อนไปแน่ๆ เลย..

:b11: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2010, 09:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนา แปลว่า ทำให้มาก เจริญให้มากซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย กุศลธรรมที่ได้เพียรพยายามทำด้วยความเพียรทั้งหลาย ได้ชื่อว่า ภาวนา

ภาวนา ๓ คือ การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล ๑ การเจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล ๑ การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก [โลกุตรกุศล] ๑

การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี การเจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก เป็นส่วนประณีตอย่างเดียว

ภาวนา ๔ คือ เมื่อแทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดสมุทัยสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดนิโรธสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดมรรคสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ ภาวนา ๔ นี้ ฯ

[๖๙] ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ เอสนาภาวนา ๑ ปฏิลาภภาวนา ๑ เอกรสาภาวนา ๑ อาเสวนาภาวนา ๑ ฯ

เอสนาภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิอยู่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นนั้น มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้ จึงชื่อว่าเอสนาภาวนา ฯ

ปฏิลาภภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิแล้ว ธรรมทั้งหลายที่เกิดในสมาธินั้น ไม่เป็นไปล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าปฏิลาภภาวนา ฯ

[๗๐] เอกรสาภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อเจริญสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ... เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน... เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจอย่างเดียวกันด้วยสามารถปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนาด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ

เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว เพราะอสัทธิยะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัทธาพละเพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกันเมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะโกสัชชะ ... เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะปมาทะ ... เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถปัญญาพละ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ

เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติสัมโพชฌงค์ ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าเลือกเฟ้น ... เมื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่า ซาบซ่านไป ...เมื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ ... เมื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ... เมื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทางโพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอุเบกขาสัมโพชฌงค์เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ

เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็นชอบ องค์มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาทิฐิ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าองค์มรรคทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าตรึก ... เมื่อเจริญสัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดเอา ... เมื่อเจริญสัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ... เมื่อเจริญสัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว ...เมื่อเจริญสัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อเจริญสัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ... เมื่อเจริญสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน องค์มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนาด้วยอรรถว่าองค์มรรถทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ภาวนานี้ ชื่อว่าเอกรสาภาวนา ฯ


[๗๑] อาเสวนาภาวนาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งสมาธิที่ถึงความสำราญ ตลอดเวลาเช้าก็ดี ตลอดเวลาเที่ยงก็ดีตลอดเวลาเย็นก็ดี ตลอดเวลาก่อนภัตก็ดี ตลอดเวลาหลังภัตก็ดี ตลอดยามต้นก็ดีตลอดยามหลังก็ดี ตลอดคืนก็ดี ตลอดวันก็ดี ตลอดคืนและวันก็ดี ตลอดกาฬปักษ์ก็ดี ตลอดชุณหปักษ์ก็ดี ตลอดฤดูฝนก็ดี ตลอดฤดูหนาว ชื่อว่าอาเสวนาภาวนา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2010, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนา แปลว่า การทำให้เกิดมี การทำให้มีให้เป็น การทำให้เจริญ การเจริญ การเพิ่มพูน การบำเพ็ญ การอบรม หรือฝึกอบรม

“ภาวนา” ศัพท์เดียวยังมีความหมายเป็นกลางๆ หากต้องการว่าภาวนาอะไรกันแน่เติมศัพท์เฉพาะเข้ามา เช่น

กายภาวนา (กาย+ภาวนา) การฝึกอบรมกาย
จิตตภาวนา (จิตต+ภาวนา) การฝึกอบรมจิต
ปัญญาภาวนา (ปัญญา+ภาวนา) การฝึกอบรมปัญญา

บริกรรมภาวนา (บริกรรม+ภาวนา)
อุปจารภาวนา (อุปจาร+ภาวนา)
อัปปนาภาวนา (อัปปนา+ภาวนา)

สมถภาวนา (สมถ+ภาวนา) การเจริญสมาธิ (ในที่นี้หมายถึงเจริญหรือภาวนาสมาธิล้วน)
วิปัสสนาภาวนา (วิปัสสนา+ภาวนา) การเจริญปัญญา

ให้แนวคิดกว้างๆอย่างนี้คงพอมองออกมองเห็นแล้วว่า ว่าตนจะภาวนาอะไร ตอนไหน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2010, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงว่า ระหว่างวันที่เราคอยระวังกาย วาจานี่ เป็นการอบรมกาย เป็นกายภาวนาใช่ไหมคะ ถ้าได้นั่งสมาธิก็เป็นการอบรมจิต เข้าใจอย่างนี้ถูกอ่ะเปล่า :b20: :b20:

ขอบคุณทุกคำตอบเลยนะคะ ขอบคุณมากๆ tongue tongue tongue

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2010, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ปล.



อ้างคำพูด:
อย่างนี้เรียกว่า ผู้มีสติ มีสมาธิ เป็นการเจริญสติเฝ้าระวังรักษาใจ สำรวมใจไม่ให้ส่งส่ายไปในทางที่เป็นโทษแก่ตนเอง ถ้าทำบ่อยจนเป็นนิสัยเป็นปัจจัย วันหนึ่งไม่ช้า คงหนีจากข้าน้อยและผองเพื่อนไปแน่ๆ เลย..




อ่า..อีกนานเลยค่ะ เรายังเดินตามหลังใครๆอีกนานเลยล่ะค่ะ มีอะไรช่วยแนะนำด้วยน้าคะ :b20: :b16:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2010, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุอนุโมทนาสำหรับคำถามและทุกคำตอบค่ะ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2010, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


tongue
"ภาวนา" มีความหมายและสิ่งที่จะปฏิบัติมากกว่าการทำสมาธิและเดินจงกรม

ภาวนาแปลว่า เจริญ ทำให้เกิดขึ้นมีขึ้น มักใช้ตามคำนำหน้าซึ่งเป็นชื่อของการกระทำ
การภาวนามี 2 อย่างคือ สมถะภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา
ความหมายของสมถะภาวนาและวิปัสสนาก็ดังที่เพื่อนกัลยาณมิตรทั้งหลายอธิบายไว้ข้างต้น

มีความหมายของการภาวนาที่แสดงไว้เป็นนัยยะอีกอย่างหนึ่งที่น่าพิจารณาและเรียนรู้ไว้คือ

คำว่า "วิปัสสนาภาวนา" ประกอบด้วยคำว่า "วิปัสสนา" กับคำว่า "ภาวนา" วิปัสสนาก็คือ "สัมมาทิฐิ" ความเห็นถูกต้อง ภาวนาก็คือ "สัมมาสังกัปปะ" ความพิจารณาถูกต้อง เพราะฉะนั้น การเจริญวิปัสสนาภาวนาจึงหมายถึงการเจริญปัญญาสองประการกล่าวคือสัมมาทิฐิกับสัมมาสังกัปปะนั่นเอง

สัมมาทิฐิเป็นผู้เห็นจิต เจตสิก รูป ที่เกิด-ดับ เปลี่ยนแปลงไป ไม่อยู่ในอำนาจของใคร หรือบังคับบัญชาไม่ได้อยู่ เรียกว่า "เห็นสภาวะปรมัตถ์" สัมมาสังกัปปะเป็นผู้พิจารณาหรือชี้บอกว่า สิ่งที่สัมมาทิฐิเห็นอยู่นั้นเป็นอนัตตา บังคับบัญชามิได้

การเจริญวิปัสสนาภาวนาจึงเป็นการฝึกฝนอบรมปัญญาสองประการนี้โดยเพียรอย่างต่อเนื่องยาวนาน ปัญญาสองประการเป็นผู้เห็นผู้พิจารณา จิต เจตสิก รูป (เน้นหนักลงไปที่จิต เพราะจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน) จิต เจตสิก รูป เป็นผู้ถูกเห็นถูกพิจารณา (ปัญญาสองประการเป็นผู้กระทำ จิต เจตสิกเป็นฝ่ายถูกกระทำ ถูกเห็น ถูกพิจารณา)

วิปัสสนาภาวนาดังกล่าวนี้เป็นเหตุแห่งมรรคผลนิพพาน กล่าวคือเมื่อปฏิบัติไปอย่างนี้จนปัญญาทั้งสองมีกำลังเต็มร้อยเปอร์เซ็นแล้ว (อกาลิโก) จะก่อให้เกิดมรรคญาณขึ้นมาตัดกิเลส เมื่อมรรคญาณเกิดขึ้นมาตัดกิเลสแล้วก็เกิดผลคือความสงบเย็นแห่งกิเลส เป็นนิพพาน
วิธีการปฏิบัติมี 5 ขั้นตอน

1. หลับตาเนื้อ
2. เปิดตาปัญญา (ปัญญาสัมมาทิฐิทำงาน)
3. ดูลงในขันธ์ของตน โดยดูและพิจารณาตรงที่วิญญาณเป็นหลัก (วิญญาณคือใจรู้)
4. ในขณะที่อารมณ์ภายนอกเช่น รูป เสียง ฯลฯ หรืออารมณ์ภายในเช่น อาการเจ็บปวดร้อนหนาวหนักแข็งเบาอ่อนนิ่มหรือจิตฟุ้งซ่านเกิดขึ้นมา
5. ให้พิจารณาว่ามิใช่ตัวตนเป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ (ปัญญาสัมมาสังกัปปะทำงาน)

กล่าวให้สั้นเข้าใจง่ายก็คือให้เจริญปัญญาสองประการเท่านั้นนั่นเอง โดยใช้ปัญญาสัมมาทิฐิเห็นรูปธาตุนามธาตุที่เป็นอนัตตา และใช้ปัญญา สัมมาสังกัปปะพิจารณารูปธาตุนามธาตุกายใจที่สัมมาทิฐิเห็นนั้นว่ามิใช่ตัวตนเป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ ปฏิบัติอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

:b10: :b16: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:
แสดงว่า ระหว่างวันที่เราคอยระวังกาย วาจานี่ เป็นการอบรมกาย เป็นกายภาวนาใช่ไหมคะ

ไม่ใช่.. ที่เราคอยระวังกาย วาจานี่ เป็นการสำรวมใจ "เพราะ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน" เป็นการสำรวมระวังรักษาใจหรือเป็นรักษาศีลและกรรมบท ๑๐ นั่นเอง เมื่อใจสงบเป็นปกติ กาย วาจา ก็เป็นปกติ..เรียกว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว"
Hanako เขียน:
ถ้าได้นั่งสมาธิก็เป็น การอบรมจิต เข้าใจอย่างนี้ถูกอ่ะเปล่า

ไม่ถูกเสียที่เดียว ยืนเดินนอนก็อบรมจิตได้ บางคนนั่งสมาธิ กิเลสก็เอาไปกินได้ ทั้งๆ ที่คิดว่าตนเองกำลังอบรมจิต กำลังทำสมาธินี่แหละ .. (ข้าน้อยเองแหละ..อิอิ.. :b32: )

:b11: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: ขอบคุณค่ะ รู้สึกว่าจะต้องทำความเข้าใจอีกเยอะ :b9: :b9: :b9: แต่ยังไงรักษากาย วาจา ใจให้เรียบร้อยไว้ก่อนก็เป็นการถุกต้องแล้วใช่ไหม

ปล. ชอบรูปโฉมบอร์ดแบบใหม่นี้จังเลย สวยงาม ดูเป็นระเบียบ แต่ว่าจะลองให้คะแนน ยังไม่ได้ลองเลย อิอิ :b43: :b42:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2011, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่ยังไงรักษากาย วาจา ใจให้เรียบร้อยไว้ก่อนก็เป็นการถุกต้องแล้วใช่ไหม

ยังไงก้ต้องนอนให้เยอะๆด้วยครับเพื่อรักษากาย และพยายามอย่าให้ตัวเองฟุ้งซ่านเพื่อรักษาใจ
หรือรักษากายและใจแบบวิธีลัด

วิธีที่ทำสมาธิได้ดีกว่าการนั่งสมาธิ-เดินจงกรม คือฝึกจิตให้มีสติในอริยาบถย่อยในแต่ละวันที่ตัวเอง
พอทำได้ด้วย เพราะอริยาบถย่อยถ้าจับมานับรวมมีมากถึง 90%ของเวลาทั้งหมดในแต่ละวัน
ถ้าจิตมีสติกำหนดรู้ได้ทันก้ถือว่าไม่ขาดจากการทำสมาธิแล้ว และได้ผลดีกว่าคนที่เดินหรือนั่งเพียงอย่างเดียว
มากกว่าหลายเท่าด้วยคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 03:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนา สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณอีกครั้งค่ะ :b17:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2011, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 10:05
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:
การที่เราคอยสำรวมใจ สำรวมอยู่ในศีล คอยระวังไม่พูดร้าย ไม่คิดร้าย คอยพิจารณาร่างกายและระลึกถึงความตายอยู่เรื่อยๆ อย่างนี้เป็นการภาวนาหรือเปล่าคะ เพราะบางวันท็ทำงานเยอะเหลือเกิน ง่วงมากมาย เช่น เมื่อวานพอกราบพระสามที นั่งหลับตาเท่านั้นแหล่ะ หลับเลย (- -")/ Zzzz หลับในท่านั่งนั่นเอง ยังไม่ได้บริกรรมสักคำเลย ก็ไม่ไหวต้องไปนอน (แต่มานั่งสมาธิชดเชยตอนเช้าแระ)

แล้วถ้าบางวันเราไม่ได้นั่งสมาธิ ไม่ได้เดินจงกรม แต่เรื่องคอยระวัง คอยสำรวมไม่ขาด ระหว่างวันก็คอยพิจารณาตัวเองอยู่ตลอด แบบนี้ถือว่าวันนั้นๆเราได้ภาวนาไหมคะ ไม่อยากขาดการภาวนาอ่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

tongue tongue tongue tongue


ที่ทำสีแดงไว้ เรียกว่า รักษาศีลครับ ยังไม่ใช่ภาวนา
ที่ทำสีน้ำเงินไว้ เรียกว่า อบรมจิตขั้นการคิด พิจารณาคับ ยังไม่ใช่ภาวนา

ภาวนา คือ อยู่กับปัจจุบัน มีสติอยู่กับปัจจุบัน

สมถะภาวนา คือ มีสติอยู่กับปัจจุบัน เพียงสิ่งเดียว เช่นลมหายใจ หรือกสินต่าง ๆ
วิปัสนาภาวนา คือ มีสติอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น โดยไม่บังคับ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นปัจจุบัน มีสติตามรู้ไม่ว่าจะเป็นกาย หรือใจก็ตาม

.....................................................
ปลดล็อคใจ ตัดโซ่ร้อยรัดพันธนาการ สู่ทางแห่งเสรีชน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร