วันเวลาปัจจุบัน 30 เม.ย. 2024, 22:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง ใคร ! คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระศาสดาของพระพุทธศาสนา คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงอุบัติขึ้นเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ราชกุมารในพระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางสิริมหามายา

พระองค์เติบใหญ่มีพระชนม์ ๒๙ ชันษา จึงเสด็จออกแสวงหาโมกขธรรม (ธรรมแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์) ทรงใช้เวลาในการแสวงหา ๖ ปี จึงค้นพบและปฏิบัติด้วยพระองค์จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ (อ่านว่า "อะระหัน") สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ (พระญาณตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบธรรม ไม่มีผู้ใดสั่งสอนพระองค์ และพระองค์ทรงสั่งสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตาม) จึงได้ขนานพระนามด้วยพระองค์เองว่า "องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง พระองค์จึงประกาศพระศาสนา สั่งสอนพระธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบและปฏิบัติ เพื่อหวังให้ประชุมชนได้พ้นจากบ่วงแห่งทุกข์ทั้งปวง ซึ่งผู้ฟังและเรียนรู้ เหล่านี้ ก็พ้นทุกข์ตามพระองค์ จึงได้ชื่อว่า "สาวก" และตรัสรู้ตามพระองค์จึงนับได้ว่า "สาวก" เหล่านั้น เป็นประจักษ์พยานการตรัสรู้ของพระองค์ว่า "พ้นทุกข์ได้จริง" พระธรรมนั้น ก็คือ อริยสัจจ์ ๔ นั่นเอง

จะขออธิบายเรื่องพุทธศาสนาว่าคืออะไร

เริ่มจากคำว่า "ศาสนา" ก่อน ซึ่งคำนี้ มาจากภาษาบาลี ว่า "สาสน" (สาสะนะ) พอนำมาใช้ในภาษาไทย ก็ผันเปลี่ยน "ส" ตัวหน้า เป็น "ศ" เพื่อสะดวกการออกเสียง ทำเสียง สระ "อะ" ที่ตัว "น" ให้เป็นเสียงยาวเป็น สระ "อา" จึงเป็นคำไทยว่า "ศาสนา" ตามรูปศัพท์ แปลว่า "การสั่งสอน" หรือ "คำสั่งสอน" การที่จะมีคำสั่งสอนทางจริยธรรม ความประพฤติ ให้บุคคลรู้ดี รู้ชั่ว จนเป็นที่แพร่หลายออกไปนั้น ก็ต้องมีบุคคลต้นแบบ หรือผู้ให้การสั่งสอนเหล่านั้นเกิดขึ้น

บุคคลนี้จึงเรียกว่า "ศาสดา" ซึ่งคำนี้ก็มีรากศัพท์เดียวกันกับ "ศาสนา" ดังนั้น คำว่า "ศาสดา" จึงได้ความหมายว่า "ผู้สั่งสอน" ดังเช่นเอาคำนี้มาใช้ในทางการศึกษาว่า "ศาสดาจารย์" ก็ได้ความหมายว่า "อาจารย์ผู้ให้การสั่งสอน" เพื่อยกระดับผู้สอนทางการศึกษาให้เด่นขึ้น แต่ที่จริงแล้ว "ศาสดา" ต้องเป็นผู้คิดก่อน ทำก่อนใครอื่น และเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์แบบ อย่างเช่น "พระพุทธเจ้า" ซึ่งพระองค์ทรงเป็นเลิศในการเป็นผู้สั่งสอน นั่นเป็นเพราะอะไร ก็เพราะว่า พระองค์ ทรงตรัสรู้ ทำตนให้พ้นทุกข์ ก่อนใครอื่น ทรงกำจัดกิเลส(เครื่องเศร้าหมองใจ มีความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น) ให้หมดสิ้นไปแล้ว ไม่มีเหลือ ทรงเป็นผู้สงบระงับ นี้เป็นต้นแบบทางความประพฤติที่สมบูรณ์พร้อม ด้วยพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ พระองค์จึงทรงสั่งสอนประชุมชนทั้งหลาย จึงทรงเป็นเจ้าของพระธรรม เพราะพระองค์ประพฤติอย่างไร ก็ทรงสั่งสอนอย่างนั้น คือ พระองค์พ้นทุกข์ได้อย่างไร ก็ทรงสอนวิธีการอย่างนั้น จึงทำให้บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงสั่งสอน ก็พ้นทุกข์ตามพระองค์ (บุคคลนี้เรียกว่า "สาวก" ผู้ฟังและเรียนรู้ตามคำสั่งสอนจนพ้นทุกข์ตามพระองค์) ดังนั้น "ศาสดา" พระองค์นี้ได้พระนามว่า "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" เพราะพระองค์ตรัสรู้ (พระนิพพาน ดับทุกข์) ได้ด้วยพระองค์เองไม่มีใคร่สั่งสอน และโดยชอบธรรม เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นต้นแบบคำสั่งสอน เช่นนี้ และมีการเผยแผ่ออกไปเป็นองค์กร เป็นบริษัท จึงเรียกว่า "พระพุทธศาสนา" (องค์กร หรือบริษัท ที่ยึดเอาคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลัก เป็นระบบในการบริหารจัดการ เพื่อเผยแผ่แก่ประชุมชนในโลกยุคเก่า ยุคใหม่ และทุกยุคสมัย)

วันนี้เห็นสมควรแก่เวลาขอ เอวัง จบเพียงนี้ก่อน


พระมหาธีระยุทธ เขมธมฺโม (ปราชญ์นิวัฒน์)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อเนื่องการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่า ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า โดยมีการศึกษาเป็นเครื่องนำทาง สำหรับพระภิกษุ-สามเณร จะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ตอนสวดมนต์ทำวัตร เช้า – เย็น ถ้าใครเคยบวช จะรู้ว่า มีความสุขขนาดไหน ทั้งที่ตัวตนของพระพุทธเจ้าไม่มีแล้ว แต่มีพระพุทธรูปเป็นตัวแทนพระองค์เท่านั้น

ได้พูดถึงศาสดาของพระพุทธศาสนามาแล้ว ในตอนต้น ธรรมดาผู้นำทั้งหลาย ย่อมต้องมีคุณสมบัติเป็นที่ยอมรับ ของคนทั่วไป จนกลายเป็นกลุ่มประชุมชน นับถือและปฏิบัติตาม ผู้นำนั้นๆ แต่ผู้นำเหล่านั้น มีคุณสมบัติเฉพาะอย่างเท่านั้น และผู้นำเหล่านั้นก็ยังคุกรุ่นได้ด้วยตัณหา ๑๐๘ กิเลส ๑,๕๐๐ ดังนั้น พระพุทธเจ้าของพวกเรา เป็นผู้ดับสิ้น หมดสิ้น ตัณหา กิเลส เหล่านั้น ไม่มีเหลือจึงสมควรเป็นที่พึ่งของประชุมชนทั้งมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก(ต้องขอแจ้งให้ทราบว่า ภพภูมิ ของผู้ที่เกิดและตายมีถึง ๓๑ ภพภูมิด้วยกัน ซึ่งผู้เวียนว่ายตายเกิดเหล่านี้ทางพุทธศาสนาเรียกว่า สัตว์ ใน ๓๑ ภพภูมิคือ อบายภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน; มนุษย์ภูมิ ๑; เทวภูมิ ๖; รูปภูมิ ๑๖; อรูปภูมิ ๔ เรื่องเหล่านี้จะชี้แจงให้ทราบในภายหลัง) เอ๊! แล้วไม่เป็นที่พึ่งของสัตว์ดิรัจฉานหรือ ขอบอกเลยว่า เป็นที่พึ่งของสัตว์ดิรัจฉานด้วย เพียงแค่ฟังธรรมก็ได้บรรลุอุปนิสัยสมบัติ ได้ไปบังเกิดเป็นเทพบุตร และยังเป็นผู้มีส่วนแห่งมรรค ผล ในชาติกำเนิดต่อๆ มา ดังมีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก เรื่องมัณฑูกเทพบุตร (เทพบุตรกบ) เป็นต้น ดังนั้น คุณสมบัติของพระพุทธเจ้า จึงต้องแสดงให้ประชุมชนผู้นับถือพระองค์ได้ทราบ ดังต่อไปนี้
พระพุทธเจ้านั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลส และทรงทำลายข้าศึกคือกิเลสทั้งหลาย และทรงหักกำจักรแห่งสังสารจักรทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น และเพราะไม่มีความลับในการทำบาป.

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริง ผู้นำของเราชาวพุทธ ต่างจากผู้นำโดยทั่วไป คือ พระพุทธเจ้านั้น เป็นผู้นำ โดยไม่ต้องได้รับเลือก พระองค์ทรงเป็นผู้นำด้วยการสร้างสมบารมีนานมากเกินกว่าที่จะนับได้ ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ว่า อสงไขย(แปลว่า ไม่สามารถกำหนดนับได้) ก่อนพระองค์จะไปสั่งสอนประชุมชน ก็ทรงเริ่มเลิก ลด ละ กิเลส ตัณหาอย่างหยาบๆ ก่อน ด้วยการสละสุขในราชตระกูลของพระองค์ ออกร่อนเร่แสวงหาโมกขธรรม ทั้งที่พระองค์ก็สามารถที่จะแต่งกายประดับประดาให้อลังการสวยงาม ใช้ข้าทาสบริวารให้ปรนเปรอ และแห่แหนพาไปในที่ต่างๆ ได้ แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น ทรงนุ่งห่มผ้าหยาบ ย้อมสีน้ำฝาดจากเปลือกไม้(ถ้าอยากเห็นสีฝาดของเปลือกไม้ บ้านใครมีต้นขนุน ลองเอามีดโต้ฟันที่เปลือกออกมาสักสะเก็ดก็จะเห็นเป็นสีออกแดง นั่นแหละคือสีฝาด) มีบาตร ๑ ใบ และบริขารเครื่องใช้สอยที่จำเป็นนำติดตัว เสด็จเดินไปด้วยองค์เอง เช่นนักบวชโดยทั่วไปในประเทศอินเดีย(ใครได้ไปสัมผัสประเทศอินเดียแล้วจะรู้ดีว่าเป็นอย่างไร) จึงมีคำถามขึ้นมาว่า มีผู้นำคนใดในยุคนี้ กล้าที่จะสละได้อย่างพระองค์ นี้เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น พระพุทธเจ้า ออกแสวงหาโมกขธรรม ด้วยการเข้าฝึกปฏิบัติตามแบบอย่างที่มีปรากฏในยุคนั้น อาจารย์ใดมีชื่อเสียง ก็ทรงไปทดลองมาทั้งหมด(ถ้าเป็นโยมอย่าทำเช่นนั้น เพราะโยมยังไม่รู้เรื่องศาสนาดีพอ ต้องมีอาจารย์มีความรู้ความสามารถจริงๆ เท่านั้น จะไปเที่ยวทดลองไม่ได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าดีจริง รู้ได้ด้วยการที่อาจารย์เหล่านั้นได้นำพาเราเรียนพระไตรปิฎกอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าอาจารย์นั้นสามารถสอนพระไตรปิฎกที่เป็นคำบาลีได้ จะยิ่งดีมากๆ ๆ ๆ....) ด้วยการทรมานตนมีการอดอาหาร แต่นั่นมิใช่ทางพ้นทุกข์ จนพระองค์คิดค้นได้ด้วยพระองค์เอง จนบรรลุพระนิพพาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2011, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อเมื่อวานนี้) ตอนที่ ๒ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”) ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔
บางคนอาจยังไม่ทราบจึงต้องแสดงให้ทราบก่อนที่จะอธิบายต่อไป ก็คือ

ระดับภูมิธรรมของบุคคล มี ๕ ระดับ ได้แก่ ๑. ระดับปุถุชน(บุคคลระดับนี้ยังหนาแน่ไปด้วยกิเลส แต่ถ้าบุคคลนั้นพยายามลด เลิก ละ กิเลสตัณหา ด้วยศึกษาธรรม แล้วนำมาปฏิบัติธรรม อย่างจริงจัง ก็เรียกว่า กัลยาณปุถุชน ทั้งนี้ บุคคลที่ศึกษาธรรม ก็จริง แต่ย...ังไม่ใฝ่ในการปฏิบัติ เพียงสักว่ารู้ และหลงตนเอง ดังคำที่ว่า มือถือสาก ปากถือศีล อย่างนี้ก็ไม่เรียกว่า กัลยาณปุถุชน); ๒. ระดับโสดาบันบุคคล นี้เป็นระดับภูมิธรรมขั้นแรกของพระอริยบุคคล ซึ่งได้ปฏิบัติมรรควิถี จนเกิดโสดาปัตติมรรค ตัดกิเลสอย่างหยาบ(ชนิดที่ทำให้ตกนรก) แล้ว เข้าสู่โสดาปัตติผล งง! งง! ใช่ไหม อย่างเพิ่งงง จะอธิบายเปรียบเทียบให้ฟัง เหมือน เราเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พอจบ ได้เป็นนายร้อย เป็นว่า การเรียน เป็นเหตุ เหมือน มรรค เป็นนายร้อย เป็นผล หรือ เมื่อมีดอก ก็ต้องมีผลตามมา คำว่า “โสดาปัตติ” แปลว่า ถึงกระแสพระนิพพานครั้งแรก แล้วอะไรคือพระนิพพาน ตอบว่า เป็นสภาพอย่างหนึ่ง ที่ผู้ประสงค์พ้นทุกข์ต้องบรรลุถึงนิพพานให้ได้(ถ้าต้องการรายละเอียดจะมีคำอธิบายในครั้งต่อๆ ไป) คำว่า “มรรค” แปลว่า ทาง, วิถี ดังนั้นจึงเป็นคำเรียกอย่างหนึ่ง เพราะผู้จะปฏิบัติทุกคนเมื่อจะก้าวขึ้นสู่อริยะบุคคล ต้องปฏิบัติตามมรรคสัจ ครั้นปฏิบัติไปแล้ว ภูมิธรรมก็สูงขึ้นก้าวข้ามโคตรปุถุชน จนตัดกิเลสได้ เป็นขั้นมรรค และต่อเนื่องไม่มีระหว่างคั้นด้วยผล เรียกว่า “โสดาปัตติผล” ตอนนี้แหละจึงเรียกว่า โสดาบันบุคคล ผู้บรรลุภูมิธรรมขั้นนี้ ถ้ายังไม่ก้าวขึ้นไประดับอื่นแล้วหมดอายุไขย ก็จะเวียนว่ายตายเกิดอีก ๗ ครั้ง ก็จะบรรลุพระอรหันต์ แล้วปรินิพพานดับไม่เกิดอีก; ๓. ระดับสกทาคามีบุคคล นี้เป็นระดับภูมิธรรมขั้นที่สองของอริยะบุคคล ซึ่งจะบรรลุพระนิพพานครั้งที่สอง หมายความว่า ถ้าโสดาบันปฏิบัติมรรควิถีซ้ำ แล้วทำกิเลสที่เหลือจากโสดาบันให้เบาบาง ผู้บรรลุภูมิธรรมขั้นนี้ ถ้ายังไม่ก้าวขึ้นไประดับอื่นแล้วหมดอายุไขย ก็จะเวียนมาเกิดอีกครั้ง ก็จะบรรลุพระอรหันต์ ปรินิพพานดับไม่เกิดอีก เพราะว่า คำว่า “สกทาคามี” แปลว่า ผู้มาอีกครั้ง(จะไม่ขออธิบายคำบาลีให้มากกว่านี้ ซึ่งอาจจะมีการวิจัยพระบาลีในภายหน้าให้ได้ทราบกัน)

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๓ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
เราได้ทราบระดับภูมิธรรมมา ๓ ระดับแล้ว วันนี้จะได้รู้จักระดับภูมิธรรมที่ ๔ คือ

อนาคามี นี้เป็นระดับภูมิธรรมขั้นที่ ๓ ของพระอริยบุคคล ซึ่งบรรลุพระนิพพานครั้งที่สาม หมายความว่า ถ้าสกทาคามีปฏิบัติมรรควิถีซ้ำ แล้วกำจัดกิเลส ที่เป็นฝักฝ่ายเพศสัมพันธ์ ผู้บรรลภูมิธรรมขั้นนี้ ถ้ายังไม่ก้าวขึ้นเป็นพระอรหันต์ หมดอายุไขย ก็นจะไ...ปเกิดเป็นพระพรหมชั้นอกนิฏฐาพรหม ปรินิพพานบนชั้นภูมินั้น; ระดับภูมิธรรมที่ ๕ คือ พระอรหันต์ นี้เป็นระดับภูมิธรรมขั้นที่ ๔ ของพระอริยบุคคล ซึ่งบรรลุพระนิพพานครั้งที่สี่ หมายความว่า พระอนาคามมี ปฏิบัติมรรควิถีซ้ำ แล้วกำจัดกิเลสที่เหลือทั้งหมด การบรรลุ เป็นพระอริยบุคคลทั้งสี่ขั้นนี้ บางท่านสามารถผ่านระดับ ภูมิธรรมทั้งสี่ ในระยะเวลาใกล้เคียงกันก็มี คือ ปฏิบัติมรรควิถี แต่ละขั้น เป็นโสดาปัตติมรรค ขึ้นเป็นโสดาปัตติผล; สกทาคามิมรรค ขึ้นเป็นสกทาคามิผล; อนาคามิมรรค ขึ้นเป็นอนาคามิผล; อรหัตตมรรค ขึ้นเป็นอรหัตตผล เมื่อสำเร็จอรหัตตผล ก็เป็นพระอรหันต์บุคคล
*****คำว่า “อรหํ” มีรากศัพท์ ๕ คำด้วยกัน คือ ๑. “อารก” (อ่านว่า อาระกะ) แปลว่า ห่างไกล แล้วทำเสียงสระ "อา" ให้เป็นเสียงสระ "อ" อ่านว่า "อะ" นะ จึงได้คำว่า "อรห" (ต้องขอบอกกล่าวให้รู้ โดยทั่วกันว่า ภาษาบาลี ไม่มีพยัญชนะ อ อ่าง; ๒. “หต” (อ่านว่า หะตะ) แปลว่า กำจัด ซึ่งคำนี้ มี “อร” ศัพท์อยู่ข้างหน้า ซึ่งมาจากคำว่า “อริ” แปลว่า ข้าศึก แล้วลบ “ต” อักษรที่ “หต” เหลือ “ห” ตัวเดียว จึงได้คำว่า “อรห”; ๓. “หต” (อ่านว่า หะตะ) แปลว่า หักทำลาย ซึ่งคำนี้ มี “อร” ศัพท์อยู่ข้างหน้า แปลว่า ซี่กำแห่งสังสารจักร แล้วลบ “ต” อักษรที่ “หต” เหลือ “ห” ตัวเดียว จึงได้คำว่า “อรห”; ๔. “อรห” (อ่านว่า อะระหะ) แปลว่า สมควร; ๕. “รห” (อ่านว่า ระหะ) ซึ่งคำนี้ มี “น” ปฏิเสธ แปลว่า ไม่อยู่หน้า แล้วเปลี่ย “น” เป็น “อ” จึงได้คำว่า “อรห” แปลว่า ไม่ลับ คำว่า “อรหํ” จึงแปลได้ ๔ ความหมายคือ ๑. ผู้ไกลจากกิเลส ๒. ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลสทั้งหลาย ๓. หักกำจักร แห่งสังสารจักรทั้งหลาย เป็นต้น ๔. ผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น ๕. ผู้ไม่มีความลับในการทำบาป. *****
ดังนั้นพระพุทธเจ้าของเรา จึงได้พระนามว่า “อรห” เพราะทรงเป็น ผู้ห่างไกลจากสรรพกิเลส นอกจากห่างไกล จากกิเลสแล้ว ยังทรงใช้มรรควิถี กำจัดข้าศึก คือ กิเลสทั้งหลาย พร้อมทั้งวาสนา ที่ติดเนื่องมาตั้งแต่เริ่มเวียนว่ายตายเกิดนั้น เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า “อรห” แม้เพราะทรงทำลายข้าศึกทั้งหลายเสีย เนื่องจากว่า การเวียนว่ายตายเกิดนั้น มีคำพระบาลีว่า “วฏฺฏสํสาร” (อ่านว่า “วัฏฏะสังสาระ” ดังนั้น การหมุนเวียน ท่านจึงเปรียบเสมือนจักร (แปลว่า ล้อ ต้องขอกล่าวว่า เป็นล้อเกวียนนะ ไม่ใช้ล้อแม็กซ์ ถึงกระนั้นก็ตาม รูปทรงก็ไม่ทิ้งกันเท่าไรนัก) เรียกตามพระบาลีว่า “สํสารจกฺก” (อ่านว่า สังสาระจักกะ) ที่หมุนเวียนไป พาไปเกิดและตายในภพต่างๆ ทั้ง ๓๑ ภพนั้น(โอ้! เราก็อาจจะเคยตายขึ้นมาจากนรก มาเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นได้ หรือ อาจจะเคยตายตกจากสวรรค์ มาเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นได้ ซึ่งเรื่องนี้เราไม่อาจคาดเดาได้ เพียงแต่สันนิษฐานดังข้างต้นเท่านั้น) จึงต้องมาพิจารณาล้อ ที่หมุนและนำพาเราไปเกิดตายนั้น มีชิ้นส่วนอะไรบ้าง และพระองค์ ทรงใช้อะไร ทำลายสังสารจักรนี้ ได้อย่างไร

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์....ต่อคราวหน้าจร้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ามีตรงจุดไหนที่ไม่เขาใจหรือต้องการสอบถามรายละเอียดสามารถฝากคำถามถึงอ.พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์ ไว้ได้เลยจร้า.
....^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๔ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
จากที่กล่าวมาแล้วว่า “สํสารจกฺก” นั้น คำว่า “สํสาร” แปลว่า เป็นไปเนืองๆ ไม่ขาดสาย จึงหมายความว่า


การเวียนวน ว่ายวนอยู่อย่างต่อเนื่อง คือ ตาย แล้ว เกิด, เกิด แล้ว ตาย อยู่อย่างนี้ ซึ่งสัตว์ผู้เกิดๆ ตายๆ จะต้องเกิดๆ ตายๆ อยู่ร่ำไป บ้างก็ไปเกิด ในนรกที่เป็นภูมิชั้นต่ำสุด บ้างไปเกิดเสวยกามสุข บนโลกสวรรค์ บ้างก็ไปเกิดเป็นสัตว์ที่มีแต่นามธรร...ม ไม่มีรูปธรรม อรูปพรหม ซึ่งเป็นภูมิชั้นสูงสุด บ้างเสวยสุขบนสวรรค์อยู่ดีๆ ก็ตายตกลงไปเกิด ในนรกก็มี สรุปก็คือ ต้องตายๆ เกิดๆ อยู่ในภพภูมิ ๓๑ ภูมินั่นเอง ส่วนคำว่า “จกฺก” แปลว่า ล้อ ซึ่งทำหน้าที่หมุน เมื่อเอาคำว่า “สํสาร” กับคำว่า “จกฺก” รวมเป็นคำว่า “สํสารจกฺก” ได้ความหมายว่า “ล้อ ที่หมุนไป กล่าวคือ ความเป็นไปเนืองๆ ไม่ขาดสายหาที่สุดมิได้” การหมุนของล้อ ที่หมุนอยู่อย่างนั้น เปรียบได้กับ การเกิดๆ ตายๆ ต่อเนื่องอยู่ร่ำไป ไม่ขาดสาย ดังนั้นเรา จึงต้องวิเคราะห์เจาะลึก ชิ้นส่วนอะไหล่ล้อๆ นี้ ได้ดังต่อไปนี้
๑. ดุมล้อ ชิ้นส่วนที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นตัวยึดซี่กำ อยู่ด้านในวงล้อ และใช้เป็นที่สอดเข้าของเพลา
๒. ซี่กำ ชิ้นส่วนที่เป็น “ก้านยาวรายเรียงเป็นซี่ๆ” ทั้งหมด ที่ถูกดุมล้อยึดไว้
๓. กง ชิ้นส่วนที่เป็นวงกลมใหญ่รอบ ซึ่งยึดซี่กำอยู่รอบนอก
๔. เพลา ชิ้นส่วนที่เป็นท่อนไม้ยาว อันเป็นส่วนรับตัวรถ เพื่อให้คนอาศัยอยู่ได้ และให้ล้อทั้งสอง หมุนได้สะดวก ซึ่งด้านปลายทั้งสองข้าง ยึดติดล้อไว้
๕. ตัวรถ ชิ้นส่วนใช้เป็นที่อาศัย ของคน ซึ่งตั้งติดอยู่บนเพลา
ต่อไปนี้จะเปรียบเทียบ ให้เห็น ว่า “สํสารจกฺก” มีชิ้นส่วนอะไร เปรียบกับชิ้นส่วนล้ออะไร ดังต่อไปนี้
๑. ดุมล้อ เปรียบเหมือน อวิชชา (ความไม่รู้หลงงมงาย) และภวตัณหา (ความยากปรารถนาใคร่ ที่จะไปเกิด ในภพภูมิต่างๆ) ซึ่งเป็นตัวควบคุม ให้เราต้องเกิดๆ ตายๆ อย่างไม่สิ้นสุด
๒. ซี่กำ เปรียบเหมือน ปุญญาภิสังขาร (บุญกุศล ที่คอยปรุงแต่งให้ไปเกิด ในสุคติภูมิมี โลกมนุษย์ และสวรรค์ ๖ ชั้น) อปุญญาภิสังขาร (บาปอกุศลที่คอยปรุงแต่งให้ไปเกิด ในทุคติภูมิ คือ อบายภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน) อาเนญชาภิสังขาร (บุญกุศล ที่คอยปรุงแต่ง ให้ไปเกิดในรูปภูมิ อรูปภูมิ คือ ชั้นรูปพรหม ๑๖ ชั้น และชั้นอรูปพรหม ๔ ชั้น) ซึ่งเป็นตัวส่งผล ให้ไปเกิดในภพภูมิ ทั้ง ๓๑ ภูมิ
๓. กง เปรียบเหมือน ชรา(ความแก่) มรณะ(ความตาย) ที่แฝงเล้นอยู่ในทุกผู้ทุกนาม ตั้งแต่เริ่มเกิด ก็คือ ตอนเด็กๆ แก่ เราก็เรียกว่า “เจริญเติบโต” เมื่อเติบโตแล้ว แก่ เราก็เรียกว่า “เฒ่าชรา” เมื่อเซลล์ร่างกายตาย เราก็เรียกว่า “ผลัดผิว” เมื่อหมดลมหายใจ ก็เรียกว่า “ตาย”
๔. เพลา เปรียบเหมือน การร้อยรัดต้นเหตุ แห่งทุกข์ คือดุมล้อ (อันได้แก่ อวิชชา ภวตัณหา) ทำหน้าที่ ได้สมบูรณ์ ที่จะไม่ให้หลุด จากภพภูมิ ๓๑ ภูมิ(ซึ่งย่อเหลือเพียง ๓ ภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ) ซึ่งเป็นตัวรถสำหรับให้อยู่อาศัยขนถ่ายสัตว์ผู้เกิดๆ ตายๆ เหล่านั้นไป ในภพทั้งสาม ตลอดกาล หาเบื้องต้นมิได้

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 20:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 22:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


ใคร คือ ผู้ชายสบายๆ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ส่วนไหนคือ ผู้ชายสบายๆ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบว่าทั้งหมดนั้นล้วนเรียกและไม่ได้เรียกว่าเป็นข้าพเจ้าและในขณะเดียวกันทั้งหมดนั้นก็ไม่ได้มีสภาวะอะไรให้เรียกให้กำหนดเลย

การดำรงอยู่ของจิตไม่มีที่มาและที่ไปการเกิดของสภาวะการรับรู้ต่างๆในจิตเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา.เพราะฉะนั้นไม่มีส่วนไหนเลยที่จะเรียกว่าผู้ชายสบายๆแต่ในขณะเดียวกันทุกส่วนนั้นก็คือผู้ชายสบายๆแล ผิดถูกประการใดขอชี้แนะเพื่อความเจริญยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ

***ผู้ชายสบายๆ...^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2011, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านใดสนใจเข้าไปพูดคุยกับพระอาจาร์ย พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์ เพื่อศึกษาธรรมมะหรือภาษาบาลีเชิญเข้ามาได้ที่นี่เลยจร้า

http://www.facebook.com/login/setashome ... 2141326677

....ผู้ชายสบายๆ...^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2011, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๕ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
เราได้รู้จัก “สํสารจกฺก” กันแล้ว ดังนั้นเมื่อเรายังติดเนื่องกับ จักรตัวนี้อยู่ การเกิด การตาย ก็ไม่สิ้นสุด ครั้นเราทำลาย จักรตัวนี้ได้

ก็เป็นอันว่าเราไม่ต้องเกิดอีก พอไม่เกิด ก็ไม่มีตายนั่นเอง “ฟังแล้วน่ากลัว! เราจะไม่ได้ผุด ไม่ได้เกิด นะซิ” เห็นไหมว่า คนเรายังมีอวิชชา(ความโง่ไม่รู้หลงงมงาย) และภวตัณหา(ความยากปรารถนาใคร่ที่จะไปเกิดในภพภูมิต่างๆ) เมื่อรู้ได้เช่นนี้ เวลาใคร...สาปแช่งเราว่า “จงอย่าได้ผุดได้เกิด” พวกเราต้องอนุโมทนากล่าวคำว่า “สาธุ” ดังๆ กันเลย และแถมคำว่า “ขอบคุณครับ” เพราะอะไร ก็เพราะเมื่อไม่ได้เกิด ความทุกข์ก็ไม่มี แล้วทุกข์มีอะไรบ้าง ก็ได้แก่ ๑. ทุกข์สามัญ (ทุกข์ตามธรรมชาติ) มีปวดท้องถ่ายหนักเบา ความเจ็บป่วยไข้ เป็นต้น ๒. ทุกข์วิสามัญ (ทุกข์ไม่ธรรมดา) มีพลัดพรากจากสิ่งที่รัก, ไม่ได้สิ่งที่ต้องการปรารถนา เป็นต้น คำว่า “ทุกข์” มีสารพัดทุกข์เกินกว่าที่จะบรรยาย สรุปก็คือ เราต้องกำจัด “สํสารจกฺก” ให้ได้จึงจะหมดทุกข์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเรา ทรงหักทำลาย “สํสารจกฺก” ได้แล้ว ดังนี้
*****พระพุทธเจ้านั้น ขณะที่ทรงประทับบนแท่น โคนต้นโพธิ์ เป็นที่ตรัสรู้ ได้ทรงใช้วิริยะความเพียร เปรียบได้กับพระยุคลบาททั้ง ๒ ข้าง ยืนหยัดอยู่บนศีล เปรียบได้กับพื้นปฐพี จากนั้นทรงใช้ศรัทธา เปรียบได้กับพระหัตถ์ ถือเอาอรหัตตมรรคญาณ เปรียบได้กับผรสุ (ขวาน)โดยมีสมาธิเป็นหินลับมีด ซึ่งพระองค์ลับขวานไว้จนคมกริบดีแล้ว ทำลายกรรม(ที่เป็นเหตุปรุงแต่งให้เกิดๆ ตายๆ) ได้หมดสิ้นไม่เหลือ เปรียบได้กับ “สํสารจกฺก” ถูกกำจัดจนสิ้น เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า “อรหํ” แม้เพราะทรงหักกำแห่งสํสารจักรสำเร็จ จนจักรนั้น ไม่สามารถหมุนพารถไปได้อีก ทำให้พระองค์ไม่ต้องเวียนตาย เวียนเกิดอีกต่อไป*****
ในเมื่อสังสารวัฏ หมุนเวียนวนต่อเนื่องเนืองๆ ไม่มีใครรู้เบื้องต้นและเบื้องปลายได้เลย จึงมีคำพระบาลีว่า “อนมตคฺคสํสารวฏฺฏ” (อ่านว่า “อะนะมะตัคคะสังสารวัฏฏะ” แปลว่า “สังสารวัฏ หมุนเวียนวน ต่อเนื่องเนืองๆ ไม่มีใครรู้เบื้องต้นและ เบื้องปลายได้เลย) ซึ่งพระองค์ ใช้ตรัสเรียกแทน “สํสารจกฺก” ครั้นกล่าวถึง “สํสารวฏฺฏ” เช่นนี้ ก็ต้องลงลึกไปที่ “ปฏิจฺจสมุปฺปาท” (อ่านว่า ปะฏิจจะสะมุปปาทะ”) แปลว่า “การอาศัยเหล่าธรรมที่เป็นเหตุทำให้เหล่าธรรมที่เป็นผลอุบัติเกิดขึ้น” สรุปเล็กๆ ก็คือ เมื่อมีเหตุ ก็ต้องมีผล นั่นเอง ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก คือ ธรรม ๑๒ ประการ ได้แก่ อวิชชา, สังขาร, วิญญาณ, นามรูป, สฬายตนะ, ผัสสะ, เวทนา, ตัณหา, อุปาทาน, ภพ, ชาติ, ชรามรณะ การอธิบายต่อไปนี้ สำหรับผู้เคยศึกษามาก่อนจะเข้าใจได้ดี ส่วนผู้ยังไม่เคยศึกษามาก่อน ขอให้ตั้งใจอ่านและวิเคราะห์ตาม

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2011, 18:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

:b41: :b46: :b53: :b39: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2011, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๖ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
เนื่องจากพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “อรหํ” ในความหมายว่า “ทรงหักทำลายสํสารจกฺก” ทั้งนี้ “สํสารจกฺก” คือ ล้อ ได้แก่ “ปฏิจฺจสมุปฺปาท” มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบ ๑๒ ประการ โดยการนำมาจับคู่ “เหตุ” กับ “ผล” คือ

*****๑. เหตุ คือ อวิชชา... ให้เกิดผล ... คือ สังขาร
๒. เหตุ คือ สังขาร ... ให้เกิดผล... คือ วิญญาณ
๓. เหตุ คือ วิญญาณ... ให้เกิดผล ... คือ นามรูป
๔. เหตุ คือ นามรูป... ให้เกิดผล ... คือ สฬายตนะ
๕. เหตุ คือ สฬายตนะ... ให้เกิดผล ... คือ ผัสสะ
...๖. เหตุ คือ ผัสสะ... ให้เกิดผล ... คือ เวทนา
๗. เหตุ คือ เวทนา... ให้เกิดผล ... คือ ตัณหา
๘. เหตุ คือ ตัณหา... ให้เกิดผล ... คือ อุปาทาน
๙. เหตุ คือ อุปาทาน... ให้เกิดผล ... คือ ภพ
๑๐. เหตุ คือ ภพ... ให้เกิดผล ... คือ ชาติ
๑๑. เหตุ คือ ชาติ... ให้เกิดผล ... คือ ชรามรณะ
๑๒. เหตุ คือ ชรามรณะ... ให้เกิดผล ... คือ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส*****
ในเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ข้างต้นนี้ เป็นเพียงแค่ จุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังไม่อธิบายให้ละเอียดกว่านี้ (ซึ่งมีโอกาส จะแสดงให้เต็มสูตร)
ซึ่งต่อไปนี้จะนำ ปฏิจจสมุปบาท มาเทียบเคียงกับ “ล้อ” คือ
อวิชชา(ธรรมข้อที่ ๑) เป็นดุมของ สังสารจักรนั้น เพราะเป็นมูลเหตุ ซึ่งถ้าไม่มีดุม ซี่กำก็ไม่ถูกยึดเข้ากัน ทั้งเป็นจุดเริ่มต้นให้ “ล้อ” หมุนไป และ มีชรามรณะ(ธรรมข้อที่ ๑๒) เป็นกง เพราะเป็นขอบ ส่วนสุดของล้อ, ส่วนธรรมข้อที่ ๒ ถึง ข้อที่ ๑๑ จัดเป็น “ซี่กำ” ของล้อ ซึ่งปลายด้านหนึ่ง มีดุม (ยึดด้านใน) และปลายอีกด้านหนึ่ง มีกง(ยึดรอบวงนอก)
*****เรามารู้จักองค์ประกอบ ของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งการเกิดๆ ตายๆ ใน ๓ ภพโดยคร่าวๆ
๑. ความไม่รู้ในอริยสัจ มีทุกข์เป็นต้น ชื่อว่า “อวิชชา” เมื่อจะไปเกิด ในกามภพ “ล้อ ปฏิจจสมุปบาท” ก็หมุนในกามภพ โดยเริ่มที่ “อวิชชา” ก่อน จึงเรียกว่า อวิชชาในกามภพ, เมื่อจะไปเกิดในรูปภพ “ล้อ ปฏิจจสมุปบาท” ก็หมุนในรูปภพ โดยเริ่มที่ “อวิชชา” ก่อน จึงเรียกว่า อวิชชาในรูปภพ, เมื่อจะไปเกิดในอรูปภพ “ล้อ ปฏิจจสมุปบาท” ก็หมุนในอรูปภพ โดยเริ่มที่ “อวิชชา” ก่อน จึงเรียกว่า อวิชชาในอรูปภพ
หมายเหตุ คำว่า “อริยสัจ” แปลว่า ความจริงอันประเสริฐมี ๔ ประการ คือ ทุกข์ (ความทุกข์ ผลลัพธ์ที่เกิดมีอยู่ เพียงให้รับรู้) สมุทัย (เหตุของการเกิดทุกข์ ต้องลด เลิก ละ และ ทำให้หมดสิ้นไปในที่สุด) นิโรธ (ผลลัพธ์ จากปฏิบัติการดับทุกข์ ได้แก่พระนิพพาน) มรรค (เหตุของปฏิบัติการดับทุกข์ มีปฏิบัติการทำความเห็นถูกต้อง เป็นต้น) ถ้าเราเข้าถึงความจริงนี้ ก็เป็นผู้มี “วิชชา” ไม่ต้องหมุนเวียนเกิดๆ ตายๆ อีก; ที่ใช้คำว่า “เมื่อจะไปเกิด” หมายความว่า “อวิชชา” เป็นเหตุที่แสดงกาลเป็น “อดีต” และการเกิดแสดงกาลเป็น “อนาคต” ของอวิชชา และการเกิดที่กำลังเป็นอยู่แสดงกาลเป็น “ปัจจุบัน”

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร