วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 184 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2011, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย Rotala เมื่อ 27 มี.ค. 2011, 18:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2011, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ในธรรม...

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2011, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
อย่างไรเรียกว่ารู้ชอบในธรรม
อย่างไรเรียกว่ารู้ผิดในธรรม

รู้ "สัพเพสังขาราอนิจจา สัพเพธรรมาอนัตตาติ " เรียกได้ว่ารู้ชอบ

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2011, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2011, 17:27
โพสต์: 72


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา ผู้ตั้ง ปุจฉา และท่าน วิสัชนา ...สาธุ

.....................................................
มองทาง สำรวจทาง รู้ทุกเส้นทาง เผื่อเจอแยกจะได้จำได้ และเลือกเส้นทางได้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2011, 18:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ผมขอเสนอแนะเรื่องการตั้งชื่อหัวเรื่องครับ

อยากให้ตั้งชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่เราถาม
เพราะเมื่อกระทู้ผ่านไปแล้วและผู้คนที่เข้ามาอ่านทีหลังจะได้ทราบว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
เป็นประโยชน์และง่ายต่อการค้นหาด้วยครับ :b48:

:b51: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2011, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อทุกขมสุขเวทนา หรือ อุเบกขาที่มีอามิส คืออาการวางเฉยต่อผัสสะอารมณ์ด้วยกำลังสมถะ หรือเป็นลักษณะของการหลบทุกข์ชั่วคราว มีความสงบเป็นเครื่องล่อ ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญาที่รู้นามรูปตามความเป็นจริง

อุเบกขาที่เกิดจากปัญญา หรือ อุเบกขาที่ไม่มีอามิส คือ เกิดมาจากความรู้ธรรมชาติตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต ได้แก่ การมีความคิดเห็นประกบกับการรับรู้เสมอว่า สิ่งที่รับรู้ รวมถึงสิ่งอยู่แวดล้อมของเรา มันเป็นเพียงธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และต้องดับไป เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่เคยหยุดนึ่งอยู่กับที่ บังคับควบคุมไม่ได้ ที่มันเป็นเช่นนั้นมันก็ไม่ได้เกิดเป็นขึ้นมาลอยๆ มันมาจากเหตุปัจจัย ฯ (หรือสรุปเป้นคำๆ เดียวว่า มันไม่เที่ยง) เมื่อรู้เห็นเช่นนี้ อาการวางเฉยต่อผัสสะอารมณ์จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะมาจากความเห็นที่ชอบ ความเห็นจริง เห็นตรงต่อความเป็นจริงของโลกและชีวิต หรือ มาจาก ปัญญาสัมมาทิฐิ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2011, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=30069%20-


ปฏิเสธ สมถะ เป็นมิจฉาทิฐิ ค้าน มรรค4 ค้าน อริยะมรรคมีองค์8 ค้านหลักไตรสิกขาโดยสิ้นเชิง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2011, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต



กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วย
ปัญญาๆ ดังนี้ ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัส
บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
เพราะเห็นด้วยปัญญา
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยาย
แม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ
จบสูตรที่ ๓
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๖๒๔ - ๙๖๓๕. หน้าที่ ๔๑๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=23&i=248
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓

:b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2011, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต



กามเหสสูตรที่ ๓
[๒๔๙] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นโดย
ส่วนสองๆ ดังนี้ ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาค
ตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกาย
ด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียง
เท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะ
เห็นด้วยปัญญา อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้น
ด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยาย
แม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ
จบสูตรที่ ๔
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๖๓๖ - ๙๖๔๙. หน้าที่ ๔๑๕ - ๔๑๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0




Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๖๓๖ - ๙๖๔๙. หน้าที่ ๔๑๕ - ๔๑๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2011, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


จะพึงเห็นเอง


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต



สันทิฏฐิกสูตรที่ ๑
[๒๕๐] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึง
เห็นเองๆ ดังนี้ ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาค
ตรัสธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯ
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมอันผู้บรรลุ
จะพึงเห็นเอง ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มี-
*พระภาคตรัสธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯ
จบสูตรที่ ๕
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๖๕๐ - ๙๖๖๑. หน้าที่ ๔๑๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

:b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2011, 00:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรัสว่าจงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง

ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด.
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.
รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า? รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐว่า
“นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์,
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์,
และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์;” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด.
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.

ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้
พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า
“นี้เป็นทุกข์. นี้เป็นเหตุให้เกิดแห่งทุกข์,
นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์;” ดังนี้เถิด.

( - มหาวาร. สํ. ๑๙ / ๕๒๐ / ๑๖๕๔. )

คัดลอกมาจาก http://alumni.tu.ac.th/buddha-words/ind ... 4hx99chk1w

ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง
รู้อะไรตามความเป็นจริงรู้ตามความเป็นจริงว่าจักษุไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่ารูปทั้งหลายไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่าจักษุวิญญาณไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่าจักษุสัมผัสไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่าสุขเวทนาทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนาที่
เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยงฯลฯ

รู้ตามความเป็นจริงว่าใจไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่าธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่ามโนวิญญาณไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่ามโนสัมผัสไม่เที่ยง
รู้ตามความเป็นจริงว่าสุขเวทนาทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง

ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิดดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริงฯ


คัดลอกมาจาก
http://www.maharishifoundationformonk.o ... =539036146


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2011, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

cool


เวทนา คือ ความรู้สึก หรือการเสวยอารมณ์ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ มีทั้งทุกข์ สุข หรือไม่ทุกข์ไม่สุข (เฉย ๆ) จริง ๆ แล้ว ไม่ว่าสุขเวทนา (ความเอร็ดอร่อย ความชื่นใจ สบายใจ ที่เกิดจากอารมณ์) ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์ เจ็บปวด ไม่สบายกาย ใจ) หรือ อทุกขมสุขเวทนา (ไม่ทุกข์ ไม่สุข เฉย ๆ) ล้วนแล้วแต่ไม่เที่ยงทั้งนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปแค่ชั่วขณะจิต พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เวทนาที่เกิดขึ้น อทุกขมสุขเวทนา น่าจะเกิดบ่อยที่สุด เป็นความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงไปกับการนึกคิด ปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่าน กลายเป็นโทษภัย ก่ออุปาทานทุกข์ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว :b16: :b16:

ความจริงอันประเสริฐที่พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้ ก็คือรู้ชอบในอริยสัจ มีปัญญาพิจารณาเห็นในอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีปัญญารู้เท่าทัน ฝึกฝนจิตจนเกิดความรู้แจ้งเห็นจริง รู้ชอบในธรรม เมื่อรู้ชอบแล้วย่อมอยู่เป็นสุข (ไม่ทุกข์) เช่น รู้ว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ รู้ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์คือตัณหา ๓ ประการ รู้ว่าการดับทุกข์จะต้องดับที่เหตุ (กิเลส ,ตัณหา) รู้ว่าวิธีการปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดับทุกข์ มีองค์ประกอบ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป ฯลฯ เป็นต้น หากรู้ชอบแล้วย่อมเป็นสุข แต่หากรู้ไม่ชอบ รู้ผิด ย่อมเป็นทุกข์เป็นโทษอย่างแน่นอน ... :b16: :b16:

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2011, 03:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก เป็นเรื่องที่เกิดสมัยพุทธกาล และหลังจากพระพุทธองค์ดับขันธ์ฯ ไปเล็กน้อย สมัยนั้น ผู้ที่รับฟังความจริงของโลกและชีวิต จนรู้ว่า ที่คนเราต้องเสียนว่ายตายเกิดก็เพราะทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมาเอง ดับทุกข์ได้ ก็ดับชาติดับภพได้ ฯ เกิดมีดวงตาเห็นธรรม บุคคลเหล่านี้ รู้แล้วว่าอะไรจริงแท้ อระไรจริงเทียม ข้ามความเป็นสมมุติได้แล้ว ก็คือ ล่วงภูมิปุถุชนแล้ว ไม่ใช่ปุถุชน เป็นโสดาบัน

ที่ไม่บวชก็เป็นอุบาสกอุบาสิกา ที่ได้บวช ก็เป็นพระอริยสงฆ์ ในสมัยนั้น ผู้ที่บวช ก็คือ ต้องการบรรลุอรหันต์ผล ดับชาติดีบภพให้ได้ในชาตินี้ ก็จะปฏิบัติธรรมเต็มรูปแบบ ที่ไม่บวช ก็ยึดบุญกริยาวัตถุ ๔ เป็นหลักในการดำเนินชีวิต

เพราะฉะนั้น ในพระไตรปิฏก ส่วนมาก เกินกว่าร้อยละ ๙๐ เป็นเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์สอนพระอริยสงฆ์ ไม่ได้สอนบุคคลธรรมดา ไม่ได้สอนฆราวาสให้ปฏิบัติ ถ้าอ่านพระไตรปิฏก แล้วไม่เช้าใจจุดนี้ ไม่เข้าใจฐานะความแตกต่างระหว่างบุคคลธรรมดา เสขะบุคคล อเสขบุคคล และพระพุทธเจ้า จะทำให้ตีความพระไตรปิฏกผิดได้ กลายเป็นไปเอาหลักสูตรพระอริยมาให้ปุถุชนปฏิบัติ

พระโสดาบันบุคคล คือ อริยะบุคคลที่ทรงคุณอย่างน้อยเป็นโสดาปัตติผลแล้วบวช เป็นผู้มีปัญญาประกอบการการดำเนินชีวิตอยู่แล้ว พระพุทธองค์จะตรัสสอนมรรคเบื้องสูง เพื่อให้พระโสดาบันบรรลุอรหันต์ผลเร็วขึ้น

ยกตัวอย่าง;
ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง ฯลฯ

สูตรนี้ ขึ้นต้นระบุกลุ่มผู้ฟังชัดเจนว่า เป็นพระภิกษุสงฆ์ สมาธิที่พระพุทธองค์ตรัส หมายถึง ความตั้งใจมั่นในมรรค ๘ ไม่ได้มีข้อความที่ใหนในสูตรนี้ระบุว่าเป็นอัปนาสมาธิเลย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ..
สูตรนี้ก็สอนพระอริยสงฆ์ "ฯลฯ" ที่หายไป คือข้อความที่บอกว่า เพราะอาศัยอุปธิวิเวก

อุปธิวิเวก หมายถึง วิเวกจากอุปธิ แปลว่า ว่างจากการยึดมั่นถือมั่นและการปรุงแต่ง หมายความชัดเจนว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเป็นอริยบุคคลแล้ว จึงเกิดอัปนาสมาธิได้ เพราะผู้ที่ละความยึดมั่นถือมั่นได้ มีแต่อริยบุคคลเท่านั้น

อุปธิวิเวก มีปัญญาสัมมาทิฐิเป็นเหตุเป็นปัจจัย ไม่ได้มีอย่างอื่นเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เพราะฉะนั้น สมาธิจึงเป็นผล ไม่ใช่เหตุของการได้ปัญญาที่จะเอามาดับทุกข์ได้ ต่อเมื่อเกิดปัญญาแล้ว เกิดสมาธิตามมา ก็เกิดธรรมเอกผุดขึ้นมาได้ มีตาทิพย์ หูทิพย์ ฯ ก็จะเห็นธรรมชาติตามความเป็นจริงชัดเจนขึ้น

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 28 มี.ค. 2011, 04:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2011, 04:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว



ความรู้..ข้อความใดๆ..ที่คัดลอกมาจากตำรา..คัมภรี..ฯลฯ...เป็น สุตตะฯ

ข้อความที่เขียนขึ้นจากความคิดเห็นของตนเอง...เป็น..จินตะฯ

ทั้งสองอย่างนั้น..ก็คือ..สัญญา เเละ สังขาร ยังอยู่ใน...โลกียะ

จะเข้าถึง..โลกุตระ...ได้....จะต้องได้ด้วย..ภาวนามยฯ ...อันปราศจาก..สัญญเจตนา...เท่านั้น!!!

:b41: :b41: :b41:



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2011, 04:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก คือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง พระไตรปิฏกจึงไม่ใช่ตำราทั่วไป เป็นบันทึกเรื่องราว และข้อเท็จจริง อริยสาวก รู้เห็นความจริงเหมือนกันหมด เพราะพบสัจจะเดียวกัน สมัยที่พุทธรุ่งเรือง สาวกจะพูดสัจจะอย่างหนึ่งอย่างใดเป็น ๒ ก็ยังไม่มี

การแสดงความจริง จึงเหมือนลอกตำรามาตอบ ตามความเป็นจริงแล้ว ถ้าไม่เหมือน นั่นแหละผิด .. นักปฏิบัติสมัยนี้ เมื่อลองผิดลองถูก แล้วพบว่า สิ่งที่ตนเองพบไม่เหมือนที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก กลับคิดไปว่า พระไตรปิฏกคงบันทึกมาผิด แทนที่จะคิดว่า ฉันปฏิบัติผิดตรงใหน ทำไมไม่เหมือน blue print!

ลำดับการเกิดของปัญญา ตามที่พระสารีบุตรได้เรียบเรียงไว้ คือ ปัญญาได้มาจากการฟังหรือการอ่าน เมื่อเกิดปัญญาแล้ว ก็สำรวมหรือรักษาไว้ และฝึกทำให้ปัญญาเจริญขึ้น ตามลำดับ

จิตคนเราไม่บริสุทธิ์ มีโลภะ โทสะ โมหะ ทำให้สกปรก ปุถุชนจะต้านทานอำนาจของโลภะ โทสะ โมหะ ได้ไม่ง่ายเลย ถ้าได้ลดมันลงด้วยปัญญาที่มาจากการวิปัสสนา จิตจะเริ่มถูกฟอกให้สะอาดมากขึ้นเรื่อยๆ และจะส่งผลให้เห็นความจริงชัดเจนขึ้นมาเรื่อยๆ

ที่มันเป็นแบบนี้ ก็เพราะมันเป็นไปตามกฏธรรมชาติ ๒ กฏ หรือ มันเป็นครรลองคลองธรรม

ผู้ที่ได้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา จะยกชื่อพระศาสดามาอ้าง ตรวจแล้วตรวจอีก เพราะกลัวผิด เพราะการแสดงสิ่งที่พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสว่าพระพุทธองค์ตรัส เป็นบาปที่จะส่งลงไปถึงมหานรกอเวจีได้เลยทีเดียว

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 184 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร