วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 22:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 02:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




nature.jpg
nature.jpg [ 20.52 KiB | เปิดดู 4283 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

cool

บางส่วนจากหนังสือ คติชีวิต…อาจารย์วศิน อินทสระ

ปริศนาธรรม

ปริศนาธรรมแต่โบราณ ท่านว่าไว้อย่างนี้

“ทางใหญ่อย่าเที่ยวจร ลูกอ่อนอย่าอุ้มรัด หลวงเจ้าวัดอย่าให้อาหาร ไม้โกงอย่าทำกังวาล ช้างสารอย่าผูกกลางเมือง ถ้าจะเป็นลูกให้เอาไฟสุมต้น ถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา (หมายถึงเรือ ถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา) ถ้าจะเรียนโหราให้ฆ่าอาจารย์ ทั้ง 4 เสีย”


คำแก้ปริศนา

ทางใหญ่ คือกามสุขขัลลิกานุโยค กับอัตตกิลมถานุโยค ทางใหญ่อย่าพึงจร กามสุขขัลลิกานุโยค คือการทำตนให้หมกมุ่นพัวพันอยู่ในกามสุข เพลิดเพลินหลงใหลอยู่ในกามสุข เกี่ยวกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เห็นเป็นความสุขที่ยิ่งกว่าความสุขใดๆ หมกมุ่นพัวพันอยู่จนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น

อัตตกิลมถานุโยค ประกอบตนให้ลำบากโดยไร้ประโยชน์ คือว่าเคร่งเกินไป จัดการกับตัวเองรุนแรงเกินไป ไม่ถนอมตนในสมัยโบราณ สมัยพระพุทธเจ้าท่านยกตัวอย่างพวกฤาษีชีไพรที่ทรมานตน นอนบนหนาม แก้ผ้าคลุกขี้เถ้า ลงคลาน 4 ขากินอาหารอย่างสุนัขบ้าง อย่างนี้เรียกว่าอัตตกิลมถานุโยค แต่มา สมัยนี้บ้านเราก็ไม่มีแล้ว เราก็คิดดูเอาเองว่า การทำตนให้ลำบากโดยไร้ประโยชน์ เคร่งครัดกับตัวเองมากเกินไป ไม่ผ่อนปรนให้ตนเองบ้างตามสมควร อย่างนี้ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค ก็เป็นทางใหญ่สองทางที่ไม่พึงจร

ในปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร พระพุทธเจ้าท่านก็เริ่มต้นด้วยเรื่องนี้ ว่าภิกษุทั้งหลายที่สุดทั้งสองนี้ บรรพชิตไม่พึงเกี่ยวข้อง คือกามสุขขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค


ลูกอ่อนอย่าอุ้มรัดเอาไว้ คำแก้ปริศนา คำว่าลูกอ่อนคือปัญจขันธ์ หรือขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมเป็น 2 คือรูปกับนาม รูปเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนาม วิญญาณก็คือจิต

ลูกอ่อนไม่พึงอุ้มรัด คือ ไม่พึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ไม่พึงเข้าไปกอดรัดขันธ์ 5 โดยความเป็นตนและของตน คือพึงปล่อยวาง ไม่ยึดถือในขันธ์ 5 ว่าเป็นเราหรือเป็นของเรา

แต่ว่าโดยวิสัยปุถุชน มันก็อดไม่ได้ที่จะยึดถือในขันธ์ 5 ถ้าเผื่อเรารู้เท่าทันธรรมดาบ้าง ก็มีเวลาที่จะปล่อยวางได้บ้าง ในเวลาที่จำเป็นหรือว่าถึงคราวที่จะต้องปลดปล่อย ปล่อยวางได้บ้าง หรือว่าไม่แบกไว้มากเกินไป เหมือนเราแบกหินอยู่ ก็รู้สึกว่าหนักๆ และมีคนบอกว่าให้วางก้อนหินลงเสีย ก็ไม่ได้วาง ถ้าวางมันก็เบา ถ้าไม่ได้วางมันก็หนัก แบกไปก็บ่นไปว่าหนัก วิ่งไปก็บ่นไปว่าหนัก มีคนบอกให้ปล่อยเสีย ให้วางเสียก็ไม่วาง มันก็หนักเรื่อยไป เหมือนกับคนกลิ้งหินขึ้นภูเขา พอถึงยอดเขาแล้วก็ปล่อยลงมา แล้วก็ตามลงมาจากยอดเขา แล้วก็กลิ้งขึ้นไปใหม่ เป็นเรื่องของปรัชญา


หลวงเจ้าวัด อย่าให้อาหาร หลวงเจ้าวัด คือวิญญาณขันธ์ อย่าปรนเปรอด้วยอาหาร 4 มีกวฬิงการาหาร เป็นต้น จิตหรือวิญญาณอย่าไปปรนเปรอมากเกินไป จะต้องให้อดอาหารเสียบ้าง ให้จิตมันอดอาหารเสียบ้าง ถ้าเผื่อไม่ให้อดอาหารเสียบ้าง คือเราฝึกมันไม่ได้ มันอยากได้อะไรให้มันได้ ปรนเปรอทุก อย่าง เหมือนเราให้เชื้อกับไฟ ไฟมันไม่รู้จักอิ่มด้วยเชื้อ มหาสมุทรไม่รู้จักอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ แปลว่าจิตไม่อิ่มด้วยตัณหา ถ้าปรนเปรอมันมากมันก็ยิ่งเดือดร้อนใหญ่โต

ไม้โก่ง อย่าทำกังวาล กังวาลคือเรือสำหรับต้านทานลมพายุ ต้องใช้ไม้ตรง ไม้โก่งไม้คดใช้ไม่ได้ คำไขปริศนาก็คือ อย่าเอาคนคดมาเป็นมิตร คดกายบ้าง คดวาจาบ้าง คดใจบ้าง ถ้าไม่คด เรียกว่าอุชุ เป็นผู้ซื่อตรง ไม่คดกาย ไม่คดวาจา ถ้าไม่คดทางใจเรียกว่าสุอุชุ ตามคำอธิบายของอรรถกถากรณียเมตตสูตร

อย่าเอาคนคดมาเป็นมิตร เพราะเขาจะต้องคดโกงสักวันหนึ่งเหมือนกับเราเลี้ยงอสรพิษเอาไว้ ให้อาหารมันก็ตาม วันไหนไม่ได้อาหารมันต้องกัดคนให้นั่นแหละ หรือโบราณที่เขาว่า คนเลี้ยงผีเอาไว้เป็นเพื่อน ไว้ใช้งาน แล้วก็ต้องเซ่นอาหารมันทุกวัน ถ้าวันไหนไม่มีอาหารให้มัน มันก็จะมาเล่นงานคนเลี้ยงมัน เลี้ยงผีนี่เสี่ยงมาก

เลี้ยงโจรก็เสี่ยงเหมือนกัน ถ้าเผื่อมันปล้นที่ไหนไม่ได้ มันก็จะมาปล้นบ้านเรา ฉะนั้น ก็อย่าเอาคนคดมาเป็นมิตร

พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ถ้าหาคนที่มีปัญญามาเป็นมิตรไม่ได้ ไม่มีคนดีมีปัญญาเป็นสหายแล้ว ก็อยู่คนเดียวดีกว่า อยู่คนเดียว ไปคนเดียวดีกว่า

สำหรับคนชั่วคนพาลหรือคนคด บางแห่งพระพุทธเจ้าท่านเปรียบเอาไว้เหมือนกับงู ที่ตกลงไปในหลุมคูถ หรือหลุมอุจจาระ ทั้งเนื้อทั้งตัวมันเปื้อนไปด้วยอุจจาระ ถ้าเราไปจับมัน ถ้ามันไม่กัดถึงตายหรือปางตาย มือเราก็เปื้อนคูถหรือว่าเผลอๆอาจจะได้ทั้งสองอย่าง คือถูกกัดถึงตายหรือปางตาย และมือยังเปื้อนคูถด้วย ท่านก็ให้หลีกคนคดคนพาล นี่ก็เป็นปริศนาธรรมข้อที่ 4


ช้างสารอย่าผูกกลางเมือง ธรรมดาช้างสารย่อมจะพอใจในป่า ไม่พอใจในเมือง แม้จะให้อยู่ในเมือง ปรนเปรออย่างดี โดยธรรมชาติของช้างไม่พอใจ มันชอบอยู่ในป่าหรืออยู่ที่สระ

ข้อนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมได้นิพพิทาญาณ คือญาณที่เกี่ยวกับความเบื่อหน่ายในสังขาร ในนามรูปแล้ว ย่อมจะไม่พอใจในสังขาร หน่ายในสังขาร พอใจในพระนิพพาน เหมือนช้างสารพอใจในป่า ไม่พอใจในเมือง


ถ้าจะให้เป็นลูกให้เอาไฟสุมต้น คำว่าลูกในที่นี้ท่านหมายถึงมรรค 4 ผล 4 ต้นในที่นี้ก็คือกิเลส เอาไฟสุมกิเลส มีอวิชชา ตัณหา อุปทาน เป็นต้น ไฟก็คือสมถกรรมฐาน หรือวิปัสสนากรรมฐาน สำหรับเผาลำต้นคือกิเลสให้เร่าร้อน

ถ้าได้มรรค 4 ผล 4 แล้ว นิพพานก็ต้องได้อยู่ดี เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องกัน ไม่มีการถอยกลับ ได้มรรคแล้วต้องได้ผล ไม่ต้องถึงมรรคหรอกได้โคตรภูญาณแล้วก็ต้องได้มรรคแน่นอน ไม่มีทางที่จะถอยกลับไปอย่างเดิม ต้องก้าวไปข้างหน้าเรื่อยไป ได้มรรคแล้วก็ได้ผลและก็ได้นิพพาน


ถ้าจะให้ล่มให้บรรทุกแต่เบา นี่ก็หมายถึงเรือ ถ้าให้เรือล่มก็ให้บรรทุกแต่เบา ก็เป็น paradox อยู่ ธรรมดาเรือมันจะล่มมันต้องบรรทุกหนัก เพียบเกินอัตราเกินกำลัง อันนี้กลับตรงกันข้าม

คำไขปริศนาคือ ถ้าจะให้เรือคือตัวเรานี้ถึงอมตะมหานิพพาน ไม่ต้องแล่นวนเวียนอยู่ในสังสารสาครแล้ว ก็ให้บรรทุกอกุศลแต่น้อย แล้วก็ไม่ขนเอาลาภสักการะและอกุศลมากมายนั้นไป ให้พยายามลดละ โยนทิ้งอกุศลและลาภสักการะเสีย พวกนี้มันเป็นภาระหนัก เมื่อโยนทิ้งสิ่งเหล่านี้เรือมันก็เบา

มีพระพุทธภาษิตบางแห่งที่ตรัสว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ ดูกรภิกษุ ท่านจงวิดเรือนี้ สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ เรือที่ท่านวิดแล้วจักถึงเร็ว ท่านละราคะโทสะโมหะได้แล้ว จะถึงพระนิพพานโดยเร็ว เรือคืออัตภาพ เมื่อวิดเรือแล้วเรือจะถึงเร็ว เมื่อละราคะ โทสะ โมหะ แล้วก็จะแล่นไปสู่นิพพานได้เร็ว

ปริศนาธรรมที่ว่า ถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา คือว่าไม่ต้องแล่นวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ


ถ้าจะเรียนโหราให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง 4 เสีย
อาจารย์โหราในที่นี้หมายถึงวิชชา 3 คือ
บุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติหนหลังได้
จุตูปปาตญาณ คือทิพจักษุ คือรู้อุบัติและจุติของสัตว์ทั้งหลาย
อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้สิ้นกิเลส นี่ก็ระบุไปถึงการรู้อริยสัจ ก็ถามว่าการรู้อาสวักขยญาณ คือรู้อะไร เพราะว่าตามตัวแปลว่าญาณที่เป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ ถ้าถามว่าญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ คือญาณอะไร รู้อะไร

ในนิทเทศของอาสวักขยญาณทุกแห่งในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าจะตรัสถึง อาสวักขยญาณ ก็จะตรัสถึง ทุกฺเข ญาณํ รู้ทุกข์ ทุกฺขสมุทเย ญาณํ รู้สมุทัย ญาณในสมุทัย ทุกฺขนิโรธ าณํ ญาณในนิโรธ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาย าณํ ญาณในทาง ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ทั้งนั้นเลยทุกแห่ง

ฉะนั้น ถ้าเขาถามว่า อาสวักขยญาณหมายถึงอะไร ที่แปลกันก็คือแปลตามตัวว่า อาสวักขยญาณคือญาณที่ทำให้กิเลสสิ้นไป แต่ถ้าถามความหมายว่าหมายถึงอะไร ก็ต้องตอบว่าหมายถึงญาณในอริยสัจ 4 ซึ่งประกอบด้วยรอบ 3 อาการ 12 ไตรปริวัตร ทวาทสาการ เรียกว่ารู้อริยสัจจริง มีอาสวักขยญาณ

ถ้าจะเรียนโหรา หมายถึงวิชชา 3 ก็ให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง 4 เสีย อาจารย์ทั้ง 4 ก็คืออาสวะทั้ง 4 คือ
กามาสวะ อาสวะคือกาม
ภวสวะ อาสวะคือภพ ความติดในภพ ความยินดีในภพ ความอยากเกิดอีก
ทิฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ความเห็นผิดต่างๆ
อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา ความไม่รู้คือรู้ไม่จริง รู้ไม่จริงกับไม่รู้ อันไหนจะดีกว่า รู้ผิดกับไม่รู้ อันไหนจะดีกว่า อวิชชามันเป็นทั้งสองอย่าง คือทั้งรู้ผิดและทั้งไม่รู้

อาจารย์ทั้ง 4 หรืออีกนัยหนึ่งท่านกล่าวว่า อาจารย์ทั้ง 4 คือ โลภะ โทสะ โมหะ และมานะ อาจารย์อย่างนี้ต้องฆ่าเสียเอาไว้ไม่ได้ สอนให้เสียคน ต้องฆ่าเสีย แล้วถึงจะเรียนโหราคือวิชชา 3 ได้

นี่เป็นปริศนาธรรมแต่โบราณ


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 06:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2011, 10:52
โพสต์: 256

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b53: :b8: :b8: :b8: :b53:

.....................................................
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร ไม่ต้อง อ้อนวอน ขอพร กะใคร ให้กวน
พรที่ ให้กัน ผันผวน เป็นเหมือน ลมหวน อวลไป อวลมา อย่าหลง
พรทำ ดีเอง มั่นคง วันคืน ยืนยง ซื่อตรง ต่อผู้ รู้ทำ
อยากรวย ด้วยพร เพียรบำ - เพ็ญบุญ กุศลนำ ให้ถูก ให้พอ ต่อตน
ทุกคน เกิดมา เป็นคน ชั่วดี มีจน เป็นผล แห่งกรรม ทำเอง
ถือธรรม เชื่อกรรม ยำเยง บาปชั่ว กลัวเกรง ทำแต่ กรรมดี ทวีพรฯ

ท่านพุทธทาสภิกขุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 08:25
โพสต์: 326


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
สุดปลายฟ้า... เชื่อมั่นและสัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ยึดถือพระองค์เป็นสรณะ อย่างไม่มีสิ่งใดเหนือกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 14:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b16: :b16: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร