วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 21:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ดวงตะวันยามรุ่งอรุณเบิกฟ้า อะไร อะไร ก็สวยสดใส

ท้องฟ้ายามราตรีมาเยือน อะไร อะไร ก็งามจับใจ

อะไรกันนะ ที่ทำ

:b16:

:b30: :b30: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b40: บ้านใกล้ท่า ไม่มีน้ำกิน ??
:b40: ช่างปั้นดินไม่มีหม้อใช้ ??
:b40: เลี้ยงไก่ไว้ไม่มีเสียงขัน ??
:b40: อยากขึ้นสวรรค์ให้ไปแก้ผ้าซิ่นที่วัด ??


:b38: ๑. บ้านใกล้ท่าไม่มีน้ำกิน หมายความว่า หมู่บ้านหรือเรือนที่ตั้งอยู่ใกล้วัดอยู่ใกล้พระพุทธศาสนา แต่ไม่เคยรับรู้หรือมีความสัมผัสสัมพันธ์อะไรจากศาสนา

ท่า หมายถึง วัด สถานที่บำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา

ไม่มีน้ำกิน หมายถึง ไม่รับรู้รสแห่งธรรมะ เช่น ฟังธรรม ให้ทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา ซึ่งเป็นรสที่ดีที่สุดชนะซึ่งรสทั้งปวง ดังคำกล่าวที่ว่า “เป็นทัพพีเฝ้าหม้อแกง ไม่เคยลิ้มรสอาหารในหม้อเลย หรือ มดแดงเฝ้าผลมะม่วง ไม่รู้เลยว่ามะม่วงมีรสชาติเป็นอย่างไร” สิ่งที่ไม่มีประโยชน์ถึงมีสิทธิ์ถือครองแต่ก็ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ ๔ อย่าง คือ

๑. มีความรู้แต่อยู่ในตำรา

๒. มีทรัพย์แต่อยู่ในมือคนอื่น

๓. มีคู่ครองแต่ไม่อยู่ด้วยกัน

๔. มีเรือข้ามฝากแต่อยู่ฝั่งตรงข้าม

เป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์ไม่มีประโยชน์ ไม่ดีเท่าผ้าขี้ริ้วที่คอยเช็ดเท้าได้

ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ชื่อว่า “ บ้านใกล้ท่าไม่มีน้ำกิน

:b46: :b46: :b46: :b46: :b46:



:b38: ๒. ช่างปั้นดินไม่มีหม้อใช้ หมายความว่า เป็นเจ้าของศาสนา เป็นผู้นับถือที่เป็นศาสนิกชนโดยแท้ แต่หาไม่มีธรรมประจำใจไม่ ไม่เคยนำศาสนธรรมไปปฏิบัติเลย

ช่างปั้นดิน ได้แก่ ศาสนิกชนที่นับถือศาสนา

หม้อ ได้แก่ หลักคำสั่งสอนศาสนา เป็นผู้ให้การสนับสนุนศาสนาทุกอย่าง สร้างวัด สร้างศาลา วิหาร อุโบสถ หอพระคัมภีร์ สร้างขึ้นด้วยน้ำแรงน้ำใจศรัทธาของตน แต่ว่าไม่เคยนำหลักธรรมของศาสนาไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด เปรียบด้วยช่างหม้อปั้นหม้อขายแต่ตนไม่มีหม้อใช้

สิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ๓ อย่าง คือ

๑. ต้นไม้ที่อยู่ใกล้ฝั่งน้ำ

๒. ทรัพย์ที่อยู่ในเงื้อมของคนอื่น

๓. กิจการที่ตกอยู่ในวิสัยของคนชั่ว

รู้ไม่เท่าตาเห็น เห็นไม่เท่าสัมผัส สัมผัสไม่เท่ากระทำเอง

ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ชื่อว่า “ ช่างปั้นดินไม่มีหม้อใช้ ”

:b46: :b46: :b46: :b46: :b46:



:b38: ๓. เลี้ยงไก่ไว้ไม่มีเสียงขัน หมายความว่า ได้ให้การอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ ทุก ๆ อย่าง มีปัจจัย ๔ เป็นต้น ให้ความสะดวกสบายแก่ท่าน แต่พระสงฆ์ไม่เคยเทศน์อบรมนำเสนอศาสนธรรมของพระพุทธเจ้าให้รับรู้ด้วยเลย หรือให้การแนะนำประชาชนก็ไม่เคยมี ไม่เคยชี้ทางไปสวรรค์นิพพานให้เลย

เลี้ยงไก่ไว้ ได้แก่ อุปัฏฐากอุปถัมภ์พระสงฆ์

ไม่มีเสียงขัน ได้แก่ เทศนาชี้นำศาสนธรรมไม่ได้ แต่โดยปกติทั่วไปแล้วพระท่านจะมีพฤติกรรมธรรมดาที่เหมือนกันโดยส่วนมาก



กล่าวคือ อุดมการณ์ จะมีคุณลักษณะบ่งชี้ความเป็นนักบวช มี ๕ อย่าง คือ

๑. มีความอดทนและความสงบเสงี่ยม

๒. ชอบตริตรองด้วยปัญญา

๓. มีศีลเป็นที่มั่น

๔. ไม่มีความห่างความกังวล

๕. มีเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน

ภารกิจที่พระจะต้องทำคือเรียนรู้ศาสนธรรมนำไปปฏิบัติ ช่วยนำพระธรรมไว้ขจัดปัญญาโยม

ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ชื่อว่า “ เลี้ยงไก่ไว้ไม่มีเสียงขัน ”

*เลี้ยงไก่ไว้ไม่มีเสียงขัน(บางความหมาย) -ลูกเนรคุณพ่อแม่ ครูอาจารย์ ไม่มีความเคารพต่อท่านผู้มีพระคุณ*
:b46: :b46: :b46: :b46: :b46:


:b38: ๔. อยากขึ้นสวรรค์ให้ไปแก้ผ้าซิ่นที่วัด หมายความว่า คำว่า “ผ้าซิ่น” หมายถึงผ้ากำมะหยี่สีสวย ๆ ที่นำมาทำเป็นผ้าห่อพระคัมภีร์ ซึ่งเป็นความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามีราคา ต้องเอาผ้าชนิดอย่างดีมาห่อถึงจะมีความเหมาะสม

ถ้าอยากขั้นสวรรค์ ได้แก่ อยากได้ความสุขซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ เป็นอุดมการณ์อย่างหนึ่งในการเข้าวัด

ให้ไปแก้ผ้าซิ่นที่วัด ได้แก่ ให้ไปแก้ผ้ากำมะหยี่ที่ห่อพระคัมภีร์ แล้วคลี่ออกมาอ่าน แล้วนำธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ได้จารึกไว้ในใบลานหรือหนังสือนั้นไปปฏิบัติ ก็จะได้พบความสุขคือทางแห่งสวรรค์และพระนิพพาน

คัมภีร์ คือ พระไตรปิฎก เป็นคำที่เกิดขึ้นในตอนหลัง เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ก็ใช้คำว่า

ธรรม เพียงคำเดียว ต่อมาเมื่อทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ก็ทรงใช้คำว่า พุทธศาสนา ต่อจากนั้นก็ทรงใช้คำว่า สัทธรรม และก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานก็ได้รับสั่งแก่พระอานนท์ พร้อมด้วยหมู่พระเถระว่า “พระธรรมและ



พระวินัยที่ได้บัญญัติแสดงแล้วจักเป็นศาสดาแทนเรา” ในคราวนั้นก็ใช้คำว่า “ธรรมวินัย” หลังพุทธปรินิพพานแล้ว พระสังคีติกาจารย์ ทำการสังคายนา พระธรรมวินัยครั้งที่ ๑ และ ๒ ก็ยังเรียก พระธรรมวินัย ครั้งที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระสังคีติกาจารย์ได้จำแนกแยกแยะ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม จัดไว้เป็นหมวดหมู่เรียกว่า พระไตรปิฎก กล่าวคือ เหมือนกับตะกร้าหรือกระจาด ๓ ใบแยกไว้ดังนี้

๑. พระวินัยปิฎก หมวดพระวินัย เป็นข้อห้ามและอนุญาตสำหรับพุทธบริษัท ๔

๒. พระสุตตันตปิฎก หมวดพระสูตร การอธิบายโดยยกเรื่องมาเล่าประกอบหัวข้อธรรม

๓. พระอภิธรรมปิฎก หมวดพระอภิธรรม ธรรมที่ลึกซึ้งเป็นหัวธรรมล้วน ๆ ปราชญ์สรรเสริญบุคคลที่ขี้ขลาดทำความชั่ว ไม่สรรเสริญคนกล้า ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ชื่อว่า “ อยากขึ้นสวรรค์ให้ไปแก้ผ้าซิ่นที่วัด ”

***********************************




โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก ฝากให้คิด

ทางชีวิต จะรุ่งโรจน์ โสตถิผล

ต้องรู้โง่ รู้ฉลาด ปราดเปรื่องตน

โง่สิบหน ดีว่าเบ่ง เก่งเดี๋ยวเดียว



:b8: ที่มา http://www.watsamma.com

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 11 พ.ค. 2011, 13:15, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: มีเมียมีผัวตีให้หัวแตก
:b43: มีวัวมีควายใช้ให้แหลก
:b43: มีแขกอย่ารับแขก

:b39: ๑. มีเมียมีผัวตีให้หัวแตก หมายความว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความบาดหมางแตกแยกเป็นพรรคเป็นเหล่า ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงทุกวันนี้ และเกิดเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก เมื่อถึงสถานการณ์คับขันก็ปฏิบัติการณ์ไม่ถูก เช่น แก้ทุกข์ แก้ความเศร้า บางท่านก็เอาน้ำเมามาแก้ปัญหานั้นยิ่งจะเพิ่มความทุกข์โศกอีก เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดเกาไม่ถูกที่คัน
มีเมียมีผัว ได้แก่ เมื่อมีปัญหาอุปสรรค คราวที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายให้มีสติใช้ปัญญาขบคิดปัญหาอุปสรรคนั้น

ตีให้หัวแตก ได้แก่ การขบคิดปัญหา แยกแยะปัญหา หาสาเหตุแห่งปัญหานั้นคลี่คลายไปทีละอย่างปัญหาก็จะแก้ไขได้ กล่าวคือปัญหาครอบครัวแตกแยก โดยการแก้ไขปัญหาด้วยปัญญานั้น จำเป็นที่สุดคือต้องมีปัญญาในทางความเห็นที่ถูกต้องจึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาในทางที่ถูกที่ควร ความเห็นที่ถูก (สัมมาทิฏฐิ) มี ๕ อย่าง คือ

๑. ความเห็นชอบในวิปัสสนาคือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ละเป็นอนัตตา

๒. ความเห็นชอบในกรรมที่สรรพสัตว์ทำแล้วว่ามีจริง

๓. ความเห็นชอบในทางที่ถูก (มรรค)

๔. ความเห็นชอบในผลที่เกิดขึ้นว่าเกิดแต่เหตุ

๕. ความเห็นชอบในการพิจารณาเห็นเฉพาะเรื่อง ๆ



ทุกคนบอกว่าการแก้ปัญหาให้แก้ที่ต้นเหตุ แล้วต้นเหตุคืออะไร ?

ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ชื่อว่า “ มีเมียมีผัวตีให้หัวแตก ”

:b48: :b48: :b48:


:b39: ๒. มีวัวมีควายใช้ให้แหลก หมายความว่า บางคนมีทรัพย์สมบัติที่แสวงหามาได้มีความพึงพอใจแค่ได้มีเท่านั้น ชื่นชมโดยการนั่งดู เก็บรักษาไว้ไม่ให้สูญหายไป ไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์เลยแม้แต่นิดเดียว เอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นเครื่องประดับบุญบารมีของตนเองเท่านั้น

มีวัวมีควาย ได้แก่ มีแขนมีขามีอวัยวะสมบูรณ์และทรัพย์สมบัติ ใช้ให้แหลก หมายถึง จงใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและทำประโยชน์ให้มาก มีอวัยวะที่สมบูรณ์ก็ใช้ทำบุญให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ไม่เอาไปทำบาป เช่น ใช้ฆ่าหรือเบียดเบียนผู้อื่น ใช้พูดเท็จ ใช้ดื่มน้ำเมา ใช้ทำผิดประเวณีกับคู่ครองคนอื่นเป็นต้น วิธีการใช้ทรัพย์ มี ๕ ลักษณะ คือ

๑. ฝากออมสิน ฝากธนาคารไว้ จะปลอดภัย ได้ดอกเบี้ย
๒. ฝังดินไว้ ทำบุญกุศล ทำคุณประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น
๓. ใช้หนี้เก่า เลี้ยงดูพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นการตอบแทนพระคุณท่าน
๔. ให้เข้ากู้ ส่งเสียให้ลูกศึกษาเล่าเรียน เพื่ออนาคตของลูก เมื่อเขาเติบใหญ่จะได้ใช้คืน
๕. ทิ้งสู่เหว หามาได้จับจ่ายใช้สอยเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ของตนเองให้ชีวิตนั้นดำรงอยู่ได้ แม่น้ำไม่ไหลน้ำจะเน่าเหม็น มีทรัพย์ไม่ใช้จ่ายก็ไม่มีประโยชน์
ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ชื่อว่า “มีวัวมีควายใช้ให้แหลก"

:b48: :b48: :b48:


:b39: ๓. มีแขกอย่ารับแขก หมายความว่า สิ่งที่เข้ามาครอบงำหรือปิดกั้นจิต ไม่ให้เจริญก้าวหน้า ไม่ให้ก้าวขึ้นสู่คุณธรรมอันดีงามคอยเป็นตัวขวาง ตัวถ่วงและเป็นตัวทำลาย ไม่ควรรับโดยเด็ดขาด
มีแขก ได้แก่ กิเลสเครื่องยังจิตให้เศร้าหมอง
อย่ารับแขก ได้แก่ อย่าต้อนรับเพราะจะทำให้เกิดทุกข์ เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจ

มีคุณธรรมเครื่องกำจัดสิ่งที่ขัดขวางจิตใจไม่ให้เจริญก้าวหน้าในคุณธรรม (นิวรณ์) มี ๕ อย่าง คือ

๑. ความไม่สวยงาม สามารถทำลายความพอใจในกามคุณได้ (กามฉันทะ)
๒. ความรักความสงสาร สามารถทำลายความคิดร้ายต่อผู้อื่นได้ (พยาบาท)
๓. มีความยินดีพอใจและความคิดริเริ่ม สามารถทำลายความหดหู่ซึมเซาได้ (ถีนมิทธะ) ๔. ความสงบใจ สามารถทำลายความฟุ้งซ่านรำคาญได้ (อุทธัจจกุกุจจะ)
๕. การพิจารณาโดยแยบคาย สามารถทำลายความลังเลสงสัยได้ (วิจิกิจฉา)

ความพอใจเท่านั้นที่จะทำให้เกิดผลฤทธิ์ได้
ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ชื่อว่า “ มีแขกอย่ารับแขก ”

***********************************

หน้าที่ดี ก็มีหน้า ชูราศี

หน้าตาดี แต่ขี้เกียจ คนเหยียดหยาม

หน้าที่นั้น สำคัญกว่า คนหน้างาม

หน้าตาดี หน้าที่ทราม ไม่งามเอย.


:b8: ที่มา http://www.watsamma.com

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 11 พ.ค. 2011, 12:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2011, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ของใครก็เข้ามาขยายความ จะได้มีประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ของเรากล่าวไว้ขอเวลาหน่อย
จะเข้ามาขยายให้ทราบ พิจาณราเจตนาเป็นสำคัญ เป็นกุศลจึงทำ.....เจโตวิมุติ/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2011, 00:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุติ เขียน:
:b42: ของใครก็เข้ามาขยายความ จะได้มีประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ของเรากล่าวไว้ขอเวลาหน่อย
จะเข้ามาขยายให้ทราบ พิจาณราเจตนาเป็นสำคัญ เป็นกุศลจึงทำ.....เจโตวิมุติ/



eragon_joe เขียน:
ดวงตะวันยามรุ่งอรุณเบิกฟ้า อะไร อะไร ก็สวยสดใส

ท้องฟ้ายามราตรีมาเยือน อะไร อะไร ก็งามจับใจ

อะไรกันนะ ที่ทำ

:b16:

:b30: :b30: :b30:


ขยายความว่า

ดู ... เจ๋ย เจ๋ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2011, 02:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เอามาจากหนังสือพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกายครับ ว่าด้วยคำถามผูกปมและลึกซึ้งของพราหมณ์ พาวรี ที่ส่งอชิตมาณพมาถามคำถามกับพระพุทธเจ้า เพื่อทดสอบว่าพระพุทธเจ้าทรงสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะและเป็นพระพุทธเจ้าจริงหรือไม่ดังนี้

๑ โลกคือหมู่สัตว์อะไรปิดบังไว้ โลกไม่แจ่มแจ้งเพราะอะไร พระองค์ตรัสว่าอะไรเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ และอะไรเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น?

พระพุทธเจ้าตอบว่า โลกคือหมู่สัตว์อันอวิชชาปิดบังไว้ ไม่แจ่มแจ้งเพราะความประมาท เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ และทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.

๒ กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย บัณฑิตย่อมปิดกระแสเหล่านั้นด้วยธรรมอะไร?

พระพุทธเจ้าตอบว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก เรากล่าวว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย บัณฑิตย่อมปิดกระแสเหล่านั้นเสียด้วยปัญญา.

๓ ปัญญา สติ และนามรูปเหล่านี้จะดับลง ณ ที่ใด?

พระพุทธเจ้าตอบว่า นามและรูปดับไปไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด สติและปัญญานี้ย่อมดับไป ณ ที่นั้นเพราะความดับแห่งวิญญาณ.

๔ ชนเหล่าใด มีธรรมอันพิจารณาเห็นแล้ว และชนผู้ยังต้องศึกษาอยู่มีอันมากในโลกนี้ ได้โปรดตรัสความเป็นไปของชนเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด

พระพุทธเจ้าตอบว่า ภิกษุไม่กำหนัดยินดีในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติ พึงเว้นรอบ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2011, 03:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


คำตอบในข้อที๔ พึงอธิบายเป็น อเสทปฎิปทาโดยปริยายได้ดังนี็
ไม่กำหนัดยินดีในกามคือ เน้นความไม่ข้องในกามารมณ์คืออายตนะภายนอก๖

มีใจไม่ขุ่นมัวคือ จิตไม่ขุ่นมัวด้วยมโนทุจริต และราคะ โทสะ โมหะ

ฉลาดในธรรมทั้งปวงคือ ฉลาดในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ พร้อมด้วยปฎิจจสมุปบาท

มีสติคือ มีสติดำรงมั่นในสติปัฏฐาน๔ ไม่หลงในอริยาบถทั้งปวง

พึงเว้นรอบคือ เพราะทำลายอกุศลธรรม ๗ ประการคือ สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ มานะ โมหะ พร้อมด้วยอกุศลธรรมอันมีวิบากเป็นทุกข์เหล่าอื่น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพระอเสขบุคคล

จากหนังสือพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกายครับ โดยพระราชธรรมนิเทศ วัดบวรนิเวศวิหาร สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๓๓

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2011, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


* ที่ดำกลับขาว

* ที่ยาวกลับสั้น

* ที่มั่นกลับคลอน

* ที่หย่อนกับตึง

* ที่ซึ้งกลับเซอะ



๑. ที่ดำกลับขาว ได้แก่ เส้นผม ตอนอยู่ในวัยหนุ่มสาวเส้นผมก็ดกดำสวยงาม พอผ่านวัยผู้ใหญ่เข้าสู่วัยชรา เส้นผมกลับเปลี่ยนแปลงเป็นขาวไป (ผมหงอก)

๒. ที่ยาวกลับสั้น ได้แก่ สายตา ตอนอยู่ในวัยเด็กวัยหนุ่มสาวมีนัยน์ตาสดใสมองเห็นอะไรได้ดี พอเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ถึงวัยชราสายตาสั้นพร่ามัว ต้องอาศัยแว่นตาเข้าช่วย

๓. ที่มั่นกลับคลอน ได้แก่ ฟัน ตอนอยู่ในวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว กัดหรือเคี้ยวอะไรที่แข็งได้อย่างเกรงกลัวไม่มีเสียวฟัน พอเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ถึงวัยชราหลุดออกทีละ ซี่ ๆ บางคนต้องถอนออกเหลือแต่เหงือกจำเป็นต้องใส่ฟันปลอมแทน

๔. ที่หย่อนกลับตึง ได้แก่ หู ตอนยังอยู่ในวัยเด็ก วัยหนุ่มสาวฟังเสียงอะไร ๆก็ได้ยินจะอยู่ใกล้หรือไกล แต่ผ่านวัยผู้ใหญ่เข้าสู่วัยชราเนื้อหนังหย่อนยานไปหมดเว้นแต่ยิ่งหูยิ่งแก่ยิ่งตึง จะต้องพูดเสียงดังจึงจะได้ยิน

๕. ที่ซึ้งกลับเซอะ ได้แก่ สัญญาความจำได้หมายรู้ เมื่อยังเด็กเป็นหนุ่มเป็นสาว เรียนรู้อะไรก็จดจำได้ง่ายและแม่นยำ พอแก่ชราลง ก็หลง ๆ ลืม ๆ ความจำเลอะเลือนได้หน้าลืมหลังกินแล้วก็บอกว่าไม่ได้กิน

***********************************


:b8: ที่มา http://www.watsamma.com

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2011, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: ๔ คนหาม

:b41: ๓ คนแห่

:b41: ๑ คนนั่งแคร่

:b41: ๒ คนพาไป


:b45: :b45: :b45: :b45:


:b40: ๔ คนหาม หมายความว่า สิ่งที่ประกอบกันเข้าอย่างพอเหมาะ ทำให้เกิดเป็นรูปร่างขึ้นมา เป็นมวลสาร เนื้อแท้

๔ คนหาม ได้แก่ ธาตุ ๔ วัตถุธรรมชาติดั้งเดิมของสรีระร่างกายของมวลสรรพสิ่งที่มีชีวิตสามารถมองเห็นได้ด้วยตา ซึ่งเป็นส่วนผสมของธาตุ ๔ อยู่ในสภาวะที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลายตัว ใครก็ห้ามไม่ได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่อยู่ในอำนาจของเรา วันหนึ่งต้องทรุดโทรมแตกสลายไปธาตุทั้ง ๔ จะกลับคืนไปสู่สภาพเดิม คือ

๑. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน มีลักษณะแข็งที่มองเห็นเป็นรูป สามารถสัมผัสได้ มี ๑๙ ชนิด เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น

๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ มีลักษณะเหลวไหลถ่ายเท ทำให้อ่อนนุ่มผสมผสานกัน มี ๑๒ อย่าง เช่น น้ำเลือด น้ำลาย น้ำดี เป็นต้น

๓. เตโชธาตุ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อน ยังกายให้อบอุ่น ย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายไม่เปื่อยเน่า

๔. วาโยธาตุ ธาตุลม มีลักษณะกระพือพัด ลอยตัว พัดไปทั่วร่างกาย ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว


ดิน น้ำ ลม และไฟ นี้แหละคือตัวตน แต่ตัวเราที่แท้จริงคืออะไร ? ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ชื่อว่า “ ๔ คนหาม ”

:b45: :b45: :b45: :b45:


:b40: ๓ คนแห่ หมายความว่า มวลสังขารที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ จะซ่อนความเร้นลับคือการผันแปรและสลายตัวเอาไว้ภายในตัว เปิดเผยตัวเองออกมาให้เห็นเสมอกันทั้งหมด เรียกว่า ธรรมนิยม เพราะกำหนดรู้ได้ถึงธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง

๓ คนแห่ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อาการที่เปลี่ยนแปลง อยู่ประจำนามรูปทำให้เบญจขันธ์เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ มี ๓ อย่าง คือ

๑. อนิจจตา เปลี่ยนสภาพอยู่ทุกขณะ คงที่เพียงชั่วครู่ ไม่ยั่งยืนเปลี่ยนแปลงไม่คงทนถาวร

๒. ทุกขตา ความไม่สมบูรณ์ ไม่สมดุลตามธรรมชาติ เจ็บปวดเป็นเวทนาที่ทนได้อยาก

๓. อนัตตตา เป็นไปตามเหตุปัจจัย ฝืนความปรารถนาอยู่เหนืออำนาจความเป็นเจ้าของ สูญสลายไปเอง

สรรพสิ่งต้องยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงไม่สมบูรณ์เสมอสั่งห้ามไม่ได้นี้ คือ เจ้าแห่งรูปที่แท้จริง

ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ชื่อว่า “ ๓ คนแห่ ”

:b45: :b45: :b45: :b45:


:b40: ๑ คนนั่งแคร่ หมายความว่า คุณสมบัติที่คอบควบคุมบัญชาการของอวัยวะทุกส่วน กล่าวคือ ผู้เป็นใหญ่ และเป็นสิ่งที่เก็บข้องมูลทุกอย่างไว้ได้เป็นอย่างดี




๑ คน ได้แก่ จิต และแคร่ หมายถึง ร่างกาย จิตนั่งอยู่บนร่างกายซึ่งทำหน้าที่เป็นนาย ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ” นิยามของคำว่า “ จิต ” มี ๕ อย่าง คือ

๑. การที่จิตมีสภาพปกติ รู้การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

๒. เป็นสถานที่เก็บบาปและบุญบัญชาการตามวิถีแห่งจิต

๓. มีธรรมชาติสร้างผลของกรรม

๔. เป็นบ่อเกิดแห่งศิลปะอันงามวิจิตรทุกอย่างในโลก

๕. เป็นธรรมชาติรู้การสัมผัส ปรุงแต่งสร้างสรรค์สรรพสิ่ง สรรพสิ่งทั้งหลายที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้นล้วนแต่สำเร็จด้วยใจทั้งสิ้น ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ชื่อว่า “ ๑ คนนั่งแคร่ ”

:b45: :b45: :b45: :b45:


:b40: ๒ คนพาไป หมายความว่า สิ่งที่ปรุงหรือปรับปรุง นำพาให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ บางครั้งเป็นเทวดา บางครั้งเป็นมนุษย์ บางครั้งเป็นสัตว์ นำเที่ยวไปอยู่นรกไปอยู่สวรรค์แล้วแต่ทุนที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุน จากพฤติกรรมการกระทำในรูปแบบของกิจกรรมซึ่งมีอยู่ ๒ อย่างคือ ทำดีจัดเป็นบุญกุศล ทำชั่วจัดเป็นบาป ทำสิ่งไหนมากก็จะไปตามทางสิ่งนั้น ๆ ไป

๒ คนพาไป ได้แก่ บุญและบาป นำพาจิตไปเพราะจิตเป็นผู้กระทำ ทำบุญกุศลไว้บุญจะนำพาไปสู่สวรรค์ซึ่งเป็นชื่อของเขตแดนแห่งความสุข ทำบาปไว้ บาปจะนำพาไปสู่นรก เป็นชื่อของเขตแดนแห่งความทุกข์

สาเหตุที่ทำให้ผู้ประพฤติไปสวรรค์ มี ๓ อย่าง คือ

๑. กายกรรม พฤติกรรมทางกายที่เป็นฝ่ายกุศลธรรม กล่าวคือการมีกายที่ประพฤติดี



๒. วจีกรรม พฤติกรรมทางวาจาที่เป็นฝ่ายกุศลกรรม กล่าวคือการมีวาจาที่กล่าวดี

๓. มโนกรรม พฤติกรรมทางจิตที่เป็นฝ่ายกุศลกรรม กล่าวคือการมีจิตที่คิดดี ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผู้ประพฤติไปนรกก็มีแนวพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับสาเหตุที่ทำให้ผู้ประพฤติไปสวรรค์ มี ๓ อย่างเช่นกัน

หลังการตายสิ่งที่สำคัญที่สุดของจิตคือบุญ เงินใช้ไม่ได้ ข้าวกินไม่เป็น ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ชื่อว่า “๒ คนพาไป”

***********************************

ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่

มีเพียงแต่ต้นทุนบุญกุศล

ทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้ปวงชน

แม้ร่างตนเขาก็เอาไปเผาไฟ


:b8: ที่มา http://www.watsamma.com

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2011, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: กินเท่าไรไม่หายยาก

:b48: นอนมากไม่รู้จักตื่น

:b48: รักผู้อื่นยิ่งกว่ารักตัว

:b48: ของควรกลัวกลับกล้า

:b48: ของสั้นสัญญาว่ายาว

:b48: ปอกมะพร้าวเอาปากกัด

:b48: อุ้มลูกอ่อนกอดรัดไว้ไม่วาง

:b48: หลงทางไม่ถามไถ่

:b48: หนีจระเข้ใหญ่ไพล่ลงน้ำ

:b48: ต้องจองจำกับยินดี

:b48: สู้ไพรีไม่หาอาวุธ

:b48: ไม่หยุดไม่ถึงพระ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2011, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางอะไรเอ่ย เป็นทางที่ไม่เคยไป ทิศอะไรเอ่ย เป็นทิศที่ไม่เคยเห็น?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2011, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: แล้วธรรม-ธาร ก็ไหลริน ....กุศลเกิดขึ้นแล้ว-อกุศลก็ไม่มีที่อาศัย จึงดับไป แล้วจะขอเข้ามาอ่าน
ขออนุโมทนากับทุกท่าน.....เจโตวิมุติ/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2011, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 22:55
โพสต์: 213

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้จะเรียกว่าปริศนาได้ไหม เพราะมันบางจริงๆ

กราบพระ ถึงกิเลส ถึงรูปแต่ง ถึงพื้นถึงดิน หรือว่าถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์
สวดมนต์ สวดกิเลส หรือสวดธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2011, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2011, 09:16
โพสต์: 158

แนวปฏิบัติ: พุธโท
งานอดิเรก: นั่งสมาธิ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรัชญา
ชื่อเล่น: T^^T
อายุ: 23
ที่อยู่: ลำปาง

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ใครทำตัวเหมือนต้นหญ้า ต้นไม้ คนนั้นก็จะพ้นทุกข์ :b14: :b14:

.....................................................
ดูก่อu!!!ภิกษุทั้งหลาย!!!คนพาลเขากลัวยากจนจึงไม่รู้จักขวนขวายในการให้ทาน!!!ส่วนบัณฑิตชนเขากลัวยากจนจึงรู้ขวนขวายในการให้ทาน!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2011, 21:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ทางอะไรเอ่ย เป็นทางที่ไม่เคยไป ทิศอะไรเอ่ย เป็นทิศที่ไม่เคยเห็น?


ทางไม่เคยเดิน...จึงไม่เคยไป.....มรรค 8

ทิศไม่เคยมอง...จึงไม่เคยเห็น...สัมมาทิฏฐิ

มั่วสาด... smiley


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร