วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2011, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถ วิปัสสนา ได้ยินบ่ิอยๆ
แต่มักจะได้ยินคนพูดบ่อยๆ เรื่องวิปัสสนา
ทำไมต้องวิปัสสนาด้วย สมถะไม่ได้หรือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2011, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมดีแล้วย่อมละราคะได้
วิปัสสนาย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมดีแล้วย่อมละอวิชชาได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2011, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตของคนเรา เป็นไปตามเหตุปัจจัย เพราะธรรมชาติ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรม หรือ นามธรรม ต่างก็ต้องมีเหตุปัจจัยให้เกิดให้ตั้งอยู่ให้ดับไปทั้งนั้น

ปัจจุบันของคนเรา มีเหตุปัจจัยมาจากอดีต หรือ อดีตเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดปัจจุบัน อดีตก็มาจากปัจจุบันนี่แหละ เพราะฉะนั้น ปัจจุบันจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอนาคต ถ้ารู้จักปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดีหรือกุศล ชีวิตในภายภาคหน้าก็จะดี ถ้าทำสิ่งที่ไม่ดีหรืออกุศล ชีวิตในภายภาคหน้าก็จะลำบาก

แปลว่า กาลข้างหน้า เราจะดีจะชั่วขึ้นอยู่กับปัจจุบันขณะ ซึ่งเราเองเป็นผู้ตัดสินใจกระทำด้วยนเจตนา เท่านั้น เราจึงมีการกระทำของเราเองกำหนด มีการกระทำของเราเองลิขิต ชีวิตไม่มีอะไรกำหนด ไม่มีอะไรมาลิขิต เรียกว่า กฏของการกระทำ หรือ กฏแห่งกรรม

การเวียนว่ายตายเกิดของคนเรา ก็มีเหตุปัจจัย เราไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ แล้วดับไปได้ลอยๆ ถ้าต้องการออกจากวงจรการเวียนว่ายตายเกิด ต้องสร้างเหตุปัจจัยให้ตรง เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ดับชาติดับภพได้เท่านั้น ทำเหตุผิด ผลก็ออกมาผิด คือ ไม่พ้นสงสารวัฏ

ที่คนเราต้องเวียนว่ายตายเกิด ก็เพราะความพอใจไม่พอใจและหลงไปตามความพอใจไม่พอใจที่เราเป็นผู้สร้างขึ้นมาเองทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทุกลมหายใจตั้งแต่ตื่นจนหลับ สะสมมานับชาตินับภพไม่ถ้วน เราทำเอง ไม่ได้มีใครมาทำให้

ภาษาธรรม ความพอใจ คือ โลภะ ความไม่พอใจ คือ โทสะ ความหลง คือ โมหะ รวมเรียกว่า บาปอุศล หรือ อวิชชา เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการดับชาติดับภพ ก็ต้องเอาชนะความพอใจไม่พอใจและความหลงให้ได้

แล้วจะเอาอะไรไปดับความพอใจไไม่พอใจ? พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้เอาความจริงไปดับ ความจริงจะทำให้คนมีสัมมาทิฐิ หรือ เกิดปัญญา เรียกว่า ปัญญาที่วิเศษหรือความรู้ที่เอาไปดับทุกข์ได้

ปัญญาที่วิเศษ ภาษาบาลีเรียกว่า วิปัสสนา

เพราะฉะนั้น ชาวพุทธจึงปฏิบัติวิปัสสนา หรือ วิปัสสนาภาวนา เป็นประจำตั้งแต่ตื่นจนหลับ หรือ ทำเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพื่อดับความพอใจไม่พอใจและความหลงที่เกิดกับเราในขณะปัจจุบัน เพื่อดับเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด หรือเพื่อสร้างเหตุให้บรรลุมรรคผลนิพพาน

สมถะ หรือ สมาธิ ใช้สำหรับกดข่มกิเลสชั่วคราว ไม่สามารถดับความพอใจไม่พอใจและความหลงได้ พุทธประวัติหน้าแรก พระพุทธองค์ก็ตรัสว่า ไม่มีปัญญาอะไรในสมาธิที่จะเอามาดับทุกข์ได้ แล้วท่านก็สอนให้ปฏิบัติวิปัสสนา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 03:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถภาวนา การอบรมจิตให้สงบ เป็นขั้นสมาธิ
วิปัสสนาภาวนา การอบรมจิตให้รู้แจ้งเห็นจริง

เหตุเกิดของวิปัสสนามี 2 ชนิดคือ
1 เหตุใกล้
2 เหตุไกล

เหตุใกล้ของวิปัสสนาคือ สมาธิ ผู้ใดได้สมาธิ ก็แสดงว่าผู้นั้นใกล้ต่อการบำเพ็ญวิปัสสนาได้ดีขึ้น
เหตุไกลของวิปัสสนาคือ ศีล ศีลเป็นเหตุของวิปัสสนาเหมือนกันแต่ยังไกลกว่าสมาธิ
ดังนั้น คนจะทำวิปัสสนาจำเป็นต้องมีศีลและสมาธิ คือได้ สีลวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิ

ถ้าไม่มี ศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีทางทำได้เพราะไม่มีเหตุให้เกิด บางคนอาจจะพูดว่า การบำเพ็ญวิปัสสนาไม่จำเป็นต้องมีศีล ไม่จำเป็นต้องมีสมาธิ ผู้ใดทำถูกวิธีก็เกิดบรรลุมรรคผลขึ้นได้นั้นเป็นการเข้าใจผิด
จริงอยู่ บางคนไม่เคยมีศีล ไม่เคยมีสมาธิมาก่อน พอฟังธรรมของพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสรู้ทันที นั้นก็แสดงว่า ศีลและสมาธิเกิดในขณะฟังธรรม คือเกิดในขณะนั้น เพราะศีลและสมาธิต้องเกิดมาก่อน แต่บางครั้งก็เกิดในขณะนั้นนั่นเอง เช่นพระพาหิยะ ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าขณะที่อยู่บนถนนในเมือง ไม่ได้มีศีลและสมาธิมาก่อน พอฟังธรรมพระพุทธเจ้าแล้วพิจารณาไป ศีลสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นในขณะนั้น ก็ได้บรรลุธรรมเหมือนกัน ในกรณีเช่นนี้มีไม่มากนัก เว้นไว้แต่ท่านผู้มีบุญเป็นพิเศษเท่านั้น ดังนั้น ศีลและสมาธิเป็นเหตุของวิปัสสนา

(คัดลอกจากหนังสือวิปัสสนาภาวนา ของฐิตวณฺโณ ภิกฺขุ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร 2535)

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สีลวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิ

เป็นเรื่องของพระอริยสงฆ์นะครับ หมายถึงผู้มีดวงตาเห็นธรรมแล้วมาขอบวช หรือมีปัญญาสัมมาทิฐิหรือมีความรู้ที่ดับทุกข์ได้อยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องของอุบาสกอุบาสิกา ศีลที่ต้องรักษาหมายถึงศีล ๒๒๗ ข้อของพระ มีรายละเอียดในทันตภูมิสูตร
viewtopic.php?f=7&t=34449

อ้างคำพูด:
ถ้าไม่มี ศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีทางทำได้เพราะไม่มีเหตุให้เกิด บางคนอาจจะพูดว่า การบำเพ็ญวิปัสสนาไม่จำเป็นต้องมีศีล ไม่จำเป็นต้องมีสมาธิ ผู้ใดทำถูกวิธีก็เกิดบรรลุมรรคผลขึ้นได้นั้นเป็นการเข้าใจผิด

อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดศีลละครับ อะไรเป็นเหตเป็นปัจจัยให้เกิดความตั้งมั่นหรือความสงบของจิตละครับ? เพราะธรรมชาติต้องมีเหตุปัจจัยรองรับ อยู่ดีๆ คนจะเป็นคนดีมีศีล มีความสงบไม่ฟุ่งซ่านมันก็ผิดหลักของธรรมชาติสิครับ ให้คนไปถือศีล ก็คือ การสั่งคนให้เป็นคนดี ให้คนไปทำสมาธิ ก็คือ ไปข่มใจหรือสั่งใจให้นิ่ง แล้วจิตนี่เราสั่งมันได้จริงๆ หรือครับ?

พระพุทธองค์ตรัสสอนเรื่องการเกิดของศีลไว้ตามเหตุปัจจัย สรุปง่ายๆ ว่า เพราะมีปัญญาจึงทำให้มีศีล เมื่อมีศีลแล้วจึงเกิดสมาธิ แปลเป็นภาษาคนง่ายๆ ว่า พอมีความรู้เรื่องทุกข์กับการดับทุกข์ปฏิบัติแล้วดับความพอใจไม่พอใจได้ ก็ไม่มีความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ฯ เพราะไม่ยึดมั่น ฯ กลายเป็นคนดีขึ้นมา เรียกว่า การมีศีล เป็นคนดีแบบถาวร เมื่อปกติไม่คิดไม่ทำเรื่องอกุศล จิตก็สงบเป็นสมาธิ เกิดความตั้งมั่นในพระธรรมหรือตั้งมั่นในความจริง

มรรค ๘ ถึงเป็นทางสายกลาง เพราะไม่มีการฝืนธรรมชาติ เป็นไปตามวิถีปกติของจิต เห็นผิดก็คิดผิดทำผิดตั่งมั่นผิด เห็นถูกก็คิดถูกทำถูกตั้งมั่นถูก เหตุของความเห็นผิดก็คือความพอใจไม่พอใจและความหลง เหตุของความเห็นถูกก็คือการเอาชนะความพอใจไม่พอใจ ทำให้ไม่หลง เหตุที่จะทำให้เอาชนะความพอใจไม่พอใจได้ ก็คือ การได้เรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้จักทุกข์และการดับทุกข์ หรือ เกิดมีดวงตาเห็นธรรม

ที่สอนต่อๆ กันมาว่า ต้องไปทำจิตให้สงบก่อน ไปถือศีล แล้วจึงจะมาวิปัสสนาได้ ไม่มีในธรรมวินัย ผมอ่านพระไตรปิฏกจบมา ๓ รอบหาไม่เจอ มีแต่ท่านสอนว่า วิปัสสนาแล้วดับความพอใจไม่พอใจได้ทันที ทดลองทำแล้ว ก็ดับได้ทันทีจริงๆ ไปให้ใครทำ ก็ดับได้จริงๆ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 15 พ.ค. 2011, 10:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




DCP_0032_resize.JPG
DCP_0032_resize.JPG [ 73.19 KiB | เปิดดู 12001 ครั้ง ]
tongka เขียน:
สมถ วิปัสสนา ได้ยินบ่ิอยๆ
แต่มักจะได้ยินคนพูดบ่อยๆ เรื่องวิปัสสนา
ทำไมต้องวิปัสสนาด้วย สมถะไม่ได้หรือ

tongue
(อโศกะ) วิปัสสนา ต้องตามด้วยคำว่า "ภาวนา" หรือ "กรรมฐาน" จึงจะมีความหมายสมบูรณ์เพื่อการปฏิบัติจริง

วิปัสสนา มาจากคำว่า "วิ" กับคำว่า "ปัสสนา"

วิ มาจากคำว่า "วิเศษ" หมายถึงสิ่งพิเศษที่ไม่สามารถเห็นได้ รู้ได้ด้วยตาเนื้อธรรมดา หรือเครื่องมือใดๆ จะรู้ได้ก็ด้วย ตาปัญญา ตาใจ หรือรู้ตรงที่ใจ

สิ่งวิเศษที่มีอยู่ในกายในจิตของคนทั้งหลายก็คือ "ธรรม"หรือ "สภาวธรรม" ทั้งหลายนั่นเอง เช่น ความทุกข์ ความสุข
ชอบใจ ไม่ชอบใจ ร้อน หนาว เย็น อุ่น หนัก เบา แข็ง อ่อน เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน สบาย ดีใจ เสียใจ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม หอม เหม็น เป็นต้น

ปัสสนา มาจากคำว่า "ทัศนา" แปลวา เห็น ดู รู้ ในทางปฏิบัติหมายถึง สัมมาทิฐิ ตาปัญญา อันเป็นมรรคข้อที่ 1 ในมรรค 8 นั้นเลยทีเดียว


วิปัสสนาจึงมีความหมายโดยรวมว่า การเห็น ดู รู้ สภาวธรรมที่เกิดขึ้นในกายและจิต

ที่ต้องมีคำว่า "ภาวนา" ตามมานั้น เพราะ คำว่า "ภาวนา" แปลว่าเจริญหรือทำให้เกิดมีขึ้นมา แต่คำว่า "ถาวนา"นี้เมื่อมาตามหลังคำว่า "วิปัสสนา"แล้ว กลับมีความหมายในเชิงปฏิบัติว่า กรสังเกต พิจารณา อันหมายถึงตาปัญญาดวงที่ 2 ของปัญญามรรคในมรรค 8 คือ ตาปัญญา สัมมาสังกัปปะ

วิปัสสนาภาวนา จึงแปลว่า การเฝ้า ดู เห็น รู้ และ สังเกต พิจารณา สภาวธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในกายและจิต จนเห็นและรู้ธรรมตามความเป็นจริง

ผู้ปฏิบัติท่านใดได้เห็นได้รู้ความจริงอย่างนี้ย่อมจักทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายจาง ปล่อยวาง ความเห็นผิด ยึดผิด ที่ไปยึดว่า รูป นาม กาย ใจ ธาตุขันธ์ หรือขันธ์ 5 ก้อนนี้เป็น อัตตา ตัวตน ตัวกู ของกู

เมื่อความเห็นผิด มิจฉาทิฐิ ดับไป ตายไป ความเห็นถูกต้องโดยสมบูรณ์ หรือ สัมมาทิฐิ ก็จักเกิดขึ้นมาแทนที่ คือเห็นว่าธรรมทั้งหมดทั้งปวงเป็น อนัตตา จิตก็จะหลุดพ้นสู่นิพพาน


ทำไมต้องวิปัสสนาด้วย สมถะไม่ได้หรือ

เฉพาะ สมถะ อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะถอนทำลายความเห็นผิด ว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู ได้

เหตุผลประกอบอีกอย่างหนึ่งคือ

สมถะภาวนา เป็นวิชาของเหล่าพราหมณ์ ฮินดู ฤาษี ชีไพร อเจลกะ นิคฤนธ์ ทั้งหลายเขาทำกันมานานก่อนพระพุทธเจ้า
เป็นการพยายามแก้ที่ ทุกข์ ซึ่งเป็นตัวผล จึงแก้ทุกข์ได้ไม่เด็ดขาด

วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสั่งสอน เป็นวิธี แก้ที่เหตุทุกข์ หรือ สมุทัย
เป็นการแก้ทุกข์ที่ชะงัด ได้ผลสมบูรณ์ ไม่กลับกลอกคืนมาทุกข์ได้อีกต่อไป

:b8:
:b12:
http://www.youtube.com/watch?v=HnbMYzdj ... ata_player (เชิญเปิดดูครับ)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อันคนเรา จริต ไม่เหมือนกัน เหตุ ปัจจัย มาก็ไม่เหมือนกัน
เรียกว่า บุญบารมี สะสมมาไม่เท่ากัน
การปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงความสงบ ถึงความหลุดพ้น
วิธีปฏิบัติจึงไม่เหมือนกัน....
บางคนมีปัญญามาก ใช้วิปัสสนานำหน้า สมถะ..
บางคน ก็ สมถะ ก่อน แล้วค่อยเลื่อนขึ้นไป วิปัสสนา
บางคน ก็ ทั้งสมถะและวิปัสสนา ผสมสลับกันไป
ที่สุดแล้วสมถะ..ให้สมาธิ ให้ความสงบ...ใช้ข่มกิเลสได้ แต่จะประหารให้เด็ดขาดไม่ได้
เหมือนหินที่ทับต้นหญ้า หญ้าไม่อาจจะงอกขึ้นมาได้ แต่พอยกหินออก
ต้นหญ้าก็กลับมางอกขึ้นใหม่
วิปัสสนา เป็นทางเดียว ที่จะประหารกิเลสได้เด็ดขาด ไม่กลับมาเกิดใหม่
และเป็นทางเดียว ที่จะเข้าถึงทางแห่งพระนิพพานได้ ในที่สุด
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมได้ยินมามากได้ยินมานานเรื่องที่เปรียบสมถะเหมือนหินทับหญ้า

ขอพุทธวจนะยืนยันหน่อยได้มั้ยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ได้มีเจตนาต้องการกระทบใครนะครับ

แค่อยากฟังจากพระพุทธองค์เท่านั้น ถ้าพระพุทธองค์ตรัสไว้ดังนั้นจริงผมก็จะได้ทำความเห็นให้ตรง
และทรงจำดังนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
อัฏฐกวัคคิกะ กามสุตตนิทเทสที่ ๑ ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง

Quote Tipitaka:
ว่าด้วยการเว้นขาดกามด้วยเหตุ ๒ ประการ

[๑๒] คำว่า ผู้ใด ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย มีความว่า คำว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ประกอบอย่างใด ผู้ชนิดอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร์ เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์.

กาม ในคำว่า ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑

วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯกามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม.

คำว่า ย่อมเว้นขาดกามคือ ย่อมเว้นขาดกาม โดยเหตุ ๒ ประการ คือ โดยการข่มไว้อย่าง ๑ โดยการตัดขาดอย่าง ๑.

ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างไร? บุคคลผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่าเป็นของมีความยินดีน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่าเป็นของสาธารณ์แก่ชนหมู่มาก ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิง เพราะอรรถว่าเป็นของตามเผา ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าเป็นของให้เร่าร้อนมาก ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝันเพราะอรรถว่าเป็นของปรากฏชั่วเวลาน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่า เป็นของเป็นไปชั่วกาลที่กำหนด ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่าเป็นของให้กิ่งหักและให้ต้นล้ม ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและมีด เพราะอรรถว่าเป็นของฟัน ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกหลาว เพราะอรรถว่าเป็นของทิ่มแทง ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยหัวงู เพราะอรรถว่าเป็นของน่าสะพึงกลัว ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่าเป็นดังไฟกองใหญ่ให้เร่าร้อน ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญพุทธานุสสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญธัมมานุสสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญสังฆานุสสติ ... แม้ผู้เจริญสีลานุสสติ ...แม้ผู้เจริญจาคานุสสติ ... แม้ผู้เจริญเทวตานุสสติ ... แม้ผู้เจริญอานาปานัสสติ ... แม้ผู้เจริญมรณานุสสติ ... แม้ผู้เจริญกายคตาสติ ... แม้ผู้เจริญอุปสมานุสสติ ... แม้ผู้เจริญปฐมฌาน ... แม้ผู้เจริญทุติยฌาน ... แม้ผู้เจริญตติยฌาน ... แม้ผู้เจริญจตุตถฌาน ... แม้ผู้เจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ ... แม้ผู้เจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... แม้ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ ... แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้. ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างนี้.

ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างไร? แม้บุคคลผู้เจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมเว้นขาดกามอันให้ไปสู่อบายโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญสกทาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามส่วนหยาบโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญอนาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามอันเป็นส่วนละเอียดโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญอรหัตมรรค ย่อมเว้นขาดกามโดยอาการทั้งปวง โดยประการทั้งปวงหมดสิ้น มิได้มีส่วนเหลือ โดยการตัดขาด. ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดย่อม เว้นขาดกามทั้งหลาย.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ จึงเสพ
เสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ เป็นไฉน คือ เห็นการ
อยู่สบายในปัจจุบันของตน ๑ อนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว ฯ
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวย
ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อม
เสวยประโยชน์อะไรย่อมละอวิชชาได้ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่คุณ supareak ยกมาเป็นอรรถถาธิบาย หรือเป็นพุทธวจนะครับ ช่วยตอบด้วย


พระพุทธเจ้าเห็นประโยชน์สองอย่างจึงเสพเสนาสนะอันสงบ
ธรรมสองอย่างนั้นคือสมถะและวิปัสสนา

พระบรมศาสดาทรงเห็นประโยชน์ของทั้งสมถะและวิปัสสนา
(ขนาดพระศาสดายังทรงเห็นประโยชน์ของสมถะและวิปัสสนาเลย แต่สาวกบางคนกลับกล่าวโจมตีสมถะอยู่นั่น
หนักไปถึงขั้นกล่าวว่าสมาธิเป็นที่สิ่งสถิตย์ของ.......... )

[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ จึงเสพ
เสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ เป็นไฉน คือ เห็นการ
อยู่สบายในปัจจุบันของตน ๑ อนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว ฯ
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวย
ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อม
เสวยประโยชน์อะไรย่อมละอวิชชาได้

พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสว่าสมถะใช้อบรมปัญญา พระองค์ตรัสว่า สมถะนี้ใช้อบรมจิต
ส่วนวิปัสสนาก็ใช้อบรมปัญญา

ถ้าจิตไม่ได้รับการอบรมด้วยสมถะ จะละราคะได้หรือไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขุททกนิกาย มหานิทเทส เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นบทกวีที่พระสารีบุตรได้ทูลขอ และพระสารีบุตรได้อธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต

อ้างคำพูด:
พระพุทธเจ้าเห็นประโยชน์สองอย่างจึงเสพเสนาสนะอันสงบ
ธรรมสองอย่างนั้นคือสมถะและวิปัสสนา

...

[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ จึงเสพ
เสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว ...

ท่านตรัสสอนพระอริยะนะครับ ไม่ได้สอนคนธรรมดา รบกวนพิจารณาใหม่นะครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๘. สัลเลขสูตร

ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

[๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่พักผ่อน แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะนั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิเหล่านี้มีประการต่างๆ ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลกเมื่อภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นหรือ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมจะมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้หรือ พระเจ้าข้า

[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ ทิฏฐิเหล่านี้มีหลายประการ ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก ก็ทิฏฐิเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใด นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ใดเมื่อภิกษุพิจารณาเห็นอารมณ์นั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ของเราเรามิใช่นั่น นั่นมิใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้.

[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะแต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ

ฯลฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นก็ยังเป็นสุขในวินัยของพระอริยะ เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายอะไร

[๘๕๐] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญสมถะ
และวิปัสสนาแล้วหรือหนอ ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญสมถะ
และวิปัสสนาเลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญสมถะ และวิปัสสนา ดูกรสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุ
พิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญสมถะและวิปัสสนาแล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ
ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล ฯ


คุณ supareak อาจจะบอกว่าพระสูตรบทนี้พระองค์ตรัสสอนพระภิกษุสงฆ์ไม่ใช่ชาวบ้าน
แต่พระสูตรบทนี้ก็เป็นเครื่องยืนยันว่า พระองค์ทรงสอนให้พยายามเจริญสมถะและวิปัสสนา
อริยะสาวกจึงไม่ควรปฏิเสธสมถะ และควรพยายามเจริญสมถะอีกด้วย

ผมนึกถึงเรื่องนา และ โอ่งน้ำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]
๗. เขตตูปทสูตร

{๖๐๓} [๓๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขต
เมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงมีความเอ็นดูมุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์มิใช่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่างนั้น ผู้ใหญ่บ้าน ตถาคตมีความเอ็นดูมุ่ง
ประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคจึงทรง
แสดงธรรมโดยเคารพแก่คนบางพวก ไม่ทรงแสดงธรรมโดยเคารพเช่นนั้นแก่คน
บางพวก”

เปรียบการแสดงธรรมกับการหว่านพืชในนา ๓ ชนิด

“ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในปัญหาข้อนี้ ท่านพึงตอบ
ตามสมควร ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คหบดีชาวนาในโลกนี้มี
นาอยู่ ๓ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นนาดี ชนิดหนึ่งเป็นนาปานกลาง ชนิดหนึ่งเป็น
นาเลว มีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คหบดีชาวนาประสงค์จะ
หว่านพืช จะหว่านในนาชนิดไหนก่อน คือ นาชนิดดีโน้น ชนิดปานกลางโน้น
หรือชนิดเลวโน้นซึ่งมีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คหบดีชาวนาโน้นประสงค์จะหว่านพืช พึงหว่านในนา
ชนิดดีโน้นก่อน แล้วหว่านลงในนาชนิดปานกลางโน้น แล้วหว่านบ้าง ไม่หว่านบ้าง
ในนาชนิดเลวโน้นซึ่งมีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ


{๖๐๔} “ผู้ใหญ่บ้าน เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนคหบดีชาวนา
หว่านพืชในนาชนิดดีโน้นฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านั้น
มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนคหบดีชาวนาหว่านพืชในนา
ชนิดปานกลางโน้นฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบาสกและอุบาสิกาเหล่านั้น
มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
และเราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์
ครบถ้วนแก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกทั้งหลายของเรา เปรียบ
เหมือนคหบดีชาวนาหว่านพืชในนาชนิดเลวโน้น ซึ่งมีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว
ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
{๖๐๕} เพราะอัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชก
เหล่านั้นพึงรู้ธรรมแม้บทเดียว ความรู้นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความ
สุขแก่พวกเขาสิ้นกาลนาน
เปรียบการแสดงธรรมกับการตักน้ำใส่โอ่งน้ำ
ผู้ใหญ่บ้าน เปรียบเหมือนบุรุษมีโอ่งน้ำ ๓ ใบ คือ โอ่งน้ำใบหนึ่งไม่มีรอยร้าว
น้ำซึมไหลออกไม่ได้ ใบหนึ่งไม่มีรอยร้าวแต่น้ำซึมไหลออกได้ ใบหนึ่งมีรอยร้าว
น้ำซึมไหลออกได้ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษโน้นประสงค์จะใส่น้ำ พึง
ใส่ในโอ่งน้ำใบไหนก่อน คือ โอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกไม่ได้ ใบที่ไม่มี
รอยร้าวแต่น้ำซึมไหลออกได้ หรือใบที่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษโน้นประสงค์จะใส่น้ำ พึงใส่ในโอ่งน้ำใบที่ไม่มี
รอยร้าวน้ำซึมไหลออกไม่ได้ก่อน แล้วใส่ในโอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าวแต่น้ำซึมไหล
ออกได้ แล้วใส่บ้าง ไม่ใส่บ้าง ในโอ่งน้ำใบที่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกได้ ข้อนั้น

{๖๐๖} “ผู้ใหญ่บ้าน อุปมานั้นฉันใด อุปไมยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราแสดงธรรมมี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุและภิกษุณี
ทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนบุรุษใส่น้ำในโอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าว น้ำซึมไหลออก
ไม่ได้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านั้นมีเราเป็นที่พึ่ง มี
เราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนบุรุษใส่น้ำในโอ่งน้ำใบที่ไม่มี
รอยร้าว แต่น้ำซึมไหลออกได้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบาสกและอุบาสิกา
เหล่านั้นมีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือน
บุรุษใส่น้ำในโอ่งน้ำใบที่มีรอยร้าว น้ำซึมไหลออกได้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกเหล่านั้นพึงรู้ธรรมแม้บทเดียว
ความรู้นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่พวกเขาสิ้นกาลนาน
{๖๐๗} เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรได้กราบทูล
ว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอ
พระผู้มีพระภาค จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”
เขตตูปมสูตรที่ ๗ จบ


นาดีและโอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกไม่ได้= ภิกษุ ภิกษุณี
นาปานกลางและโอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าวแต่น้ำซึมไหลออกได้ = อุบาสก อุบาสิกา
นาเลวและโอ่งน้ำใบที่มีรอยร้าวและน้ำซึมไหลออกได้ = อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชก นอกพระพุทธศาสนา

ธรรมที่พระองค์ตรัสส่วนมาก จึงตรัสกับ ภิกษุ ภิกษุณี
รองลงมาก็อุบาสก อุบาสิก
รองลงมาก็อัญญาเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกทั้งหลาย

การจะบอกว่าธรรมบทนี้หรือธรรมบทนั้นตรัสแก่ภิกษุนะ ไม่ได้ตรัสสอนกับชาวบ้าน ชาวบ้านจึงไม่ควรศึกษา อันนี้ผมขอไม่เห็นด้วยครับ

ในพระธรรมคุณ มีอยู่วรรคหนึ่งกล่าวว่า เอหิปัสสิโก หมายถึงควรเรียกมาให้ดู ให้มาพิสูจน์
ไม่ได้กล่าวว่า ชาวบ้านห้ามมาดูห้ามมาศึกษาธรรม

จริตของแต่ละคนก็ต่างกัน ความยิ่งหย่อนของอินทรีย์ก็ต่างกัน การปฏิบัติของแต่ละคนก็ต่างกัน
ฆารวาสก็ไม่ได้มีโอกาสที่จะมาปฏิบัติได้เท่ากับพระภิกษุ การที่ฆารวาสจะมาปฏิบัติแบบพระภิกษุนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก และผู้ที่มาบวชก็เป็นผู้มาแสวงหาโมกขธรรม พระพุทธเจ้าจึงสอนธรรมส่วนใหญ่และมีความลึกซึ้งกับพระภิกษุ เพราะมีเหตุปัจจัยที่เหมาะสมกว่า มีโอกาสปฏิบัติได้มากกว่า สอนธรรมก็ไม่เสียเปล่า มีโอกาสบรรลุธรรมได้ง่ายและเร็วกว่า เปรียบเหมือนนาดี หว่านข้าวไปก็ขึ้นได้เร็วกว่า สมบูรณ์กว่า ให้ผลผลิตที่ดีกว่า หรือเปรียบเหมือนโอ่งน้ำที่ไม่มีรอยแตกน้ำซึมออกไม่ได้ เติมน้ำเข้าไปก็ไม่รั่วไหลออกมา กักเก็บน้ำได้เต็มที่

ส่วนอุบาสกอุบาสิกา ไม่ได้มีความเหมาะสมเช่นนั้น เพราะเป็นเพศที่มีความบีบคั้นมาก มีความวุ่นวายมาก หากสั่งสอนธรรมแบบที่สั่งสอนกับพระภิกษุ ไปก็อาจรับไม่ได้หมด โอกาสที่จะบรรลุธรรมก็มีจำนวนน้อยกว่า เปรียบเหมือนนาปานกลาง หว่านพืชลงไปก็ขึ้นได้ช้ากว่า สมบูรณ์น้อยกว่า ให้ผลผลิตน้อยกว่านาดี หรือเปรียบเหมือนโอ่งน้ำที่มีรอยร้าวแต่น้ำซึมออกได้ ใส่น้ำเข้าไปก็เก็บไม่ได้หมด น้ำย่อมรั่วไหลออกไปบ้าง

บทสรรเสริญพระพุทธคุณจึงมี อยู่วรรคหนึ่งกล่าวว่า ภควา หมายถึงพระพุทธเจ้าเป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ได้ไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า

แต่ตอนนี้พระศาสดาไม่อยู่แล้วนะครับ มีแต่ธรรมวินัยที่พระพุทธองค์เหลือไหว ก็ต้องจำแนกธรรมมาสั่งสอนตน ด้วยตนเองแล้วหล่ะครับ

เป็นเพียงความคิดเห็นครับ ฝากไว้ให้พิจารณา

ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่าน :b47:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร