วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2011, 17:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2010, 11:19
โพสต์: 15


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างถ้าเรานั่งบริกรรมพุทโธหรือตามรู้ลมหายใจเข้าออกไปเรื่อย ๆ ตอนแรกๆ อาการปวดยังไม่มากเท่าไร ก็ยังรู้อยู่กับลมหายใจได้อยู่

แต่พอนั่งนานเข้า ๆ ความเจ็บปวดมันแรงขึ้นเรื่อยๆๆๆ ทีนี้สติมันไม่ค่อยอยู่กับลมแล้วซิ มันมาพะวงกับความปวดที่เกิดขึ้นแทนจะทำอย่างไรดี

ผละจากการบริกรรมหรือจากการตามรู้ลมหายใจไปเลย แล้วมาเฝ้าดูอาการเวทนาที่เกิดขึ้นแทนเพียงอย่างเดียวเลย โดยไม่ต้องไปสนใจกับลมหายใจแล้วอย่างนั้นหรือเปล่า ทนเฝ้าดูเวทนามันไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องไปอยากให้มันหาย ถึงจุดหนึ่งมันก็แสดงความไม่เที่ยงให้เห็นคือหายไปเองอย่างนั้นใช่ไหม

หรือว่าอีกทางหนึ่ง คือแม้จะเกิดเวทนาเจ็บปวดแรงกล้าสาหัสมากแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่ต้องไปสนใจกับมัน พยายามฝืนให้กลับมารู้อยู่ที่ลมหายใจคำบริกรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถึงจุดหนึ่งจิตรวมลงเวทนามันก็จะหายไปเองอย่างนั้นหรือเปล่า

ที่ถูกต้องคือวิธีไหนครับ หลวงปู่ครูอาจารย์ต่างๆ ท่านสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรบ้าง
ท่านที่มีประสบการณ์เอาชนะเวทนาในการนั่งสมาธิมีวิธีการอย่างไรบ้างครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2011, 01:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3210go เขียน:
อย่างถ้าเรานั่งบริกรรมพุทโธหรือตามรู้ลมหายใจเข้าออกไปเรื่อย ๆ ตอนแรกๆ อาการปวดยังไม่มากเท่าไร ก็ยังรู้อยู่กับลมหายใจได้อยู่

แต่พอนั่งนานเข้า ๆ ความเจ็บปวดมันแรงขึ้นเรื่อยๆๆๆ ทีนี้สติมันไม่ค่อยอยู่กับลมแล้วซิ มันมาพะวงกับความปวดที่เกิดขึ้นแทนจะทำอย่างไรดี

ผละจากการบริกรรมหรือจากการตามรู้ลมหายใจไปเลย แล้วมาเฝ้าดูอาการเวทนาที่เกิดขึ้นแทนเพียงอย่างเดียวเลย โดยไม่ต้องไปสนใจกับลมหายใจแล้วอย่างนั้นหรือเปล่า ทนเฝ้าดูเวทนามันไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องไปอยากให้มันหาย ถึงจุดหนึ่งมันก็แสดงความไม่เที่ยงให้เห็นคือหายไปเองอย่างนั้นใช่ไหม

หรือว่าอีกทางหนึ่ง คือแม้จะเกิดเวทนาเจ็บปวดแรงกล้าสาหัสมากแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่ต้องไปสนใจกับมัน พยายามฝืนให้กลับมารู้อยู่ที่ลมหายใจคำบริกรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถึงจุดหนึ่งจิตรวมลงเวทนามันก็จะหายไปเองอย่างนั้นหรือเปล่า

ที่ถูกต้องคือวิธีไหนครับ หลวงปู่ครูอาจารย์ต่างๆ ท่านสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรบ้าง
ท่านที่มีประสบการณ์เอาชนะเวทนาในการนั่งสมาธิมีวิธีการอย่างไรบ้างครับ


พระพุทธองค์ ให้เปลี่ยนอิริยาบถครับ เดินบ้าง นั่งบ้าง ยืนบ้าง นอนบ้าง
ไม่ใช่ให้นั่งทน ทนนั่งครับ เพียงแต่ ท่านั่งเป็นท่าที่ดีมากครับ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2011, 01:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 21:01
โพสต์: 54

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
งานอดิเรก: ร้อยลูกปัด
ชื่อเล่น: พลอย
อายุ: 22
ที่อยู่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue มีหลายวิธีค่ะ ตามความสามารถและความยากง่าย
เท่าที่ีพลอยเคยศึกษาและฝึกฝนนะคะ เพื่อจะเป็นแนวทางได้บ้าง

ข้อแรก ย้ายการกำหนดไปที่ร่างกายบริเวณที่ปวด เมื่อย เฝ้าดูด้วยสติ ไม่กดดันหรือ บังคับ ดูตามสบายๆ ให้เห็นถึง ทุกขัง ความทนอยู่ได้ยาก อย่างที่เค้าเรียกกันว่า อิริยาบถปิดบังทุกข์ (คือ จริงๆร่างกายมนุษย์นี่ ไม่เที่ยง ทนอยู่ในอิริยาบถเดิมๆไม่ได้นานๆ)

ข้อสอง ลองเปลี่ยนการกำหนดเป็นอย่างอื่นชั่วขณะ พอจิตมีพลังพอจึงกลับมาพิจารณาอาการปวดที่เกิดขึ้น ทำเช่นนี้เรื่อยๆ จนกว่าอาการปวดครั้งนั้นจะหายไป

ข้อสาม เปลี่ยนอิริยาบถ เช่น สลับขา เปลี่ยนเป็นนั่งในท่าอื่นๆ

ในช่วงเริ่มต้นการปฏิบัติ พลอยก็ทนการปวดไม่ค่อยได้ มีพลิกเปลี่ยนท่าบ้าง เปลี่ยนการกำหนดบ้าง แต่พอปฏิบัติไปเรื่อยๆ ค่อยๆฝึกฝน ก็นั่งท่าเดิมได้นานขึ้น อาการปวด เหน็บชาก็เกิดช้าลง คือร่างกายปรับตัวกับการปฏิบัติได้มากขึ้นค่ะ

ถ้าหากคิดว่าวิธีที่พลอยเสนอ เป็นวิธีที่น่าลองทำดู ก็ลองนะคะ^^

คือถ้าเราพิจารณาอาการปวดมากขึ้น บ่อยครั้งขึ้น จิตเราจะเรียนรู้ตัว "ทุกขัง" ค่ะ ทำให้เราทนต่อความเจ็บปวดทางกายหรือทางใจในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เราเข้าใจธรรมดาของโลก คือ ทนตั้งอยู่ได้ยาก ค่ะ

เรื่องแบบนี้หากให้ใครมาสอน คงจะรู้แต่ไม่เข้าใจมากนัก
แต่ถ้านำความรู้ไปปฏิบัติจะเข้าใจมากขึ้นค่ะ เรียนรู้ด้วยตัวเองจากประสบการณ์จริงช่วยให้เข้าใจธรรมดาของโลกได้มากขึ้นเยอะเลยค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องเวทนา ดูหลักกว้างๆ

"เมื่อใด รู้เข้าใจตามเป็นจริงว่า เวทนาทั้ง 3 คือ สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อทุกขมสุขก็ดี ล้วนไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยต่างๆปรุงแต่งขึ้น เป็นของอาศัยกันๆเกิดขึ้น มีอันจะต้องสิ้น ต้องสลาย ต้องจางหาย ต้องดับไปเป็นธรรมดา แล้วหมดใคร่หายติดในเวทนาทั้ง 3 นั้น จนจิตหลุดพ้นเป็นอิสระได้แล้ว เมื่อนั้น จึงจะประสบสุขเหนือเวทนา หรือสุขที่ไม่เป็นเวทนา ไม่อาศัยการเสวยอารมณ์ ที่เป็นขั้นสูงสุด"

ส่วนวิธีปฏิบัติเพื่อให้รู้เห็นว่า เวทนา เป็นอย่างนั้นเรืองมันยาวและยากพอสมควร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2010, 13:04
โพสต์: 33

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาการปวดขาเคยเกิดขึ้นกับผมเหมือนกันครับ
แรกๆพอปวด มันเริ่มชา แล้วผมคิดว่า ถ้าเลิกก็คือเลิก ไม่ชอบแบบเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา(ไม่เคยลอง)
เลยทำให้นั่งได้แค่ 10 นาที

เลยมาคิดว่าทำไมพระหลายๆท่านทนอยู่ได้ เป็นชั่วโมง ไม่เปลี่ยนอิริยาบถด้วย
ไปอ่านเจอไม่แน่ใจว่าที่นี่หรือเปล่า ให้กำหนดสมาธิไปที่จุดที่เราปวดแทน

เชื่อไหมครับว่า ทำให้ผมเข้าใจคำว่า ความไม่แน่นอน
ไม่มีสิ่งใดที่อยู่ได้นานหรอก ความเจ็บปวดก็เช่นกัน

หรือแม้แต่น้ำหกลงพื้นไม้ คุณเห็นว่ามันเปียก ปล่อยเวลาผ่านไปไม่ถึงชั่วโมงหรอก
น้ำนั้นก็แห้ง ฉันใดก็ฉันนั้น

จ้องด้วยสมาธิและจิตไปสักพัก อาการปวดหาย เอาแล้วไง ไม่มีไรให้จ้อง
จิตคิดไปเรื่องอื่นแทน เราก็ภาวนาว่าคิดเรื่องนี้อยู่ๆ พูดได้ไม่กี่ประโยค ที่คิดเรื่องนั้นก็หายไป
แล้วทำให้ผมนั่งสมาธิได้นานขึ้นเป็น 1 ชม
เริ่มจากหายใจ จิตวอกแวก ก็ไปที่จิต ปวดขาก็ไปที่ขา คันก็ไปที่คัน เพ่งไปนานๆมันจะหายไปจนเกิดความคิดใหม่เรื่อยๆ

ลองดูครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 00:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ละนันทิ คือละความเพลินในทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธวจนะที่ตรัสถึงบุคคลสองประเภท ก็ประสบเวทนาเหมือนกัน แต่มีความแปลกกันอยู่ เช่นว่า


“ภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง ในกรณีนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ กับบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้”

“ภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมเศร้าโศกคร่ำครวญ ร่ำไห้ รำพัน ตีอกร้องไห้ หลงใหลฟั่นเฟือนไป เขาย่อมเสวยเวทนาทั้ง 2 อย่าง คือ เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ”

“เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศรดอกหนึ่ง แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ 2 อีก เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้น ย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรทั้ง 2 ดอก ทั้งทางกาย ทั้งทางใจ ฉันใด บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น...ย่อมเสวยเวทนาทั้ง 2 อย่างคือทั้งทางกาย และทางใจ”

“อนึ่ง เพราะถูกทุกขเวทนานั้นกระทบ เขาย่อมเกิดความขัดใจ เมื่อเขามีความขัดใจ เพราะทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาก็ย่อมนอนเนื่อง เขาถูกทุกขเวทนานั้นกระทบเข้าแล้ว ก็หันเข้าระเริงกับกามสุข *
เพราะอะไร ?
เพราะบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมไม่รู้ทางออกจากทุกขเวทนา นอกไปจากกามสุข และเมื่อเขาระเริงอยู่กับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมไม่รู้เท่าทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดีข้อเสีย และทางออกของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น เมื่อเขาไม่รู้ตามที่มันเป็น อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ย่อมนอนเนื่อง ถ้าได้เสวยสุขเวทนา เขาก็เสวยอย่างผูกมัดตัว
ถ้าเสวยทุกขเวทนา เขาก็เสวยอย่างผูกมัดตัว ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เรียกว่าบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่าผู้ประกอบด้วยทุกข์”
......

* กามสุข = สุขในการสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5; ตัวอย่าง ในทางจริยธรรมขั้นต้น เช่น หันเข้าหาการพนัน การดื่มสุรา และสิ่งเริงรมย์ต่างๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนานั้นกระทบกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่คร่ำครวญ ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ตีอกร้องไห้ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ”

“เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ 2 ผิดไป เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้น ย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว ฉันใด อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น...ย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ”

“อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดใจเพราะทุกขเวทนานั้น เมื่อไม่มีความขัดใจเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ก็ไม่นอนเนื่อง เธอถูกทุกขเวทนานั้นกระทบ ก็ไม่หันเข้าระเริงกับกามสุข
เพราะอะไร ?
เพราะอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมรู้ทางออกจากทุกขเวทนา นอกจากกามสุขไปอีก เมื่อเธอไม่ระเริงกับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นก็ไม่นอนเนื่อง เธอย่อมรู้เท่าทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดีข้อเสีย และทางออกของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น เมื่อรู้ตามที่มันเป็น อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ก็ไม่นอนเนื่อง
ถ้าเสวยสุขเวทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว
ถ้าเสวยทุกขเวทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอริยสาวก ผู้ได้เรียนรู้ ผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่าผู้ปราศจากทุกข์”

“ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ กับบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 พ.ค. 2011, 07:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 04:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณกรัชกายมากครับ ที่นำสาระดีๆมาแบ่งปันกัน :b8:

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2011, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ ครับ คุณสังเกตไหมว่า พุทธวจนะนั้น แจ่มแจ้ง เปิดเผย ไม่คลุมเครือ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด ฯลฯ และสังเกตด้วยไหมว่า ทำไมพวกเราชาวพุทธจึงถกเถียงกันคอเป็นเอ็น บอร์ดแทบแตก...ก็เพราะพวกเราไปนำคำพูดของหลวงพ่อ หลวงปู่ หลวงพี่ ฯลฯ ซึ่งเทศน์ (พูด) บนธรรมาสน์บ้าง คนนั้นพูดทีคนนี้พูดคำ จำๆได้แล้วก็มาคาดเดาตีความกันไปว่าน่าจะออกทางนี้หนีไปทางนั้น :b1: :b32:
หากไปหยิบจากพุทธพจน์แท้ๆมาแล้วแทบไม่ต้องพูดไม่ต้องอธิบายอะไรมาก เพราะแจ่มชัดอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผละจากการบริกรรมหรือจากการตามรู้ลมหายใจไปเลย แล้วมาเฝ้าดูอาการเวทนาที่เกิดขึ้นแทนเพียงอย่างเดียวเลย โดยไม่ต้องไปสนใจกับลมหายใจแล้วอย่างนั้นหรือเปล่า ทนเฝ้าดูเวทนามันไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องไปอยากให้มันหาย ถึงจุดหนึ่งมันก็แสดงความไม่เที่ยงให้เห็นคือหายไปเองอย่างนั้นใช่ไหม

ผมทำอย่างนี้แหละคับ เพียงแต่ไม่สนใจว่าถึงจุดไหนมันจะแสดงความไม่เที่ยงออกมา มันจะหายหรือไม่หาย ก็แค่บริกรรมกำกับจิตที่มันเกาะไว้กับเวทนาอย่างเหนียวแน่น ถ้ามันหายก็กลับไปฐานภาวนาหลัก ถ้ามันไม่หายก็นั่งกำหนดจนครบกำหนดเวลาที่ตั้งใจ หรือถ้ามีเวลาก็น่าจะลองนั่งจนมันหายสนิทก็ดีเหมือนกันครับ



อ้างคำพูด:
หรือ ว่าอีกทางหนึ่ง คือแม้จะเกิดเวทนาเจ็บปวดแรงกล้าสาหัสมากแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่ต้องไปสนใจกับมัน พยายามฝืนให้กลับมารู้อยู่ที่ลมหายใจคำบริกรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถึงจุดหนึ่งจิตรวมลงเวทนามันก็จะหายไปเองอย่างนั้นหรือเปล่า


วิธีนี้ถ้าสมาธิท่านแรง ฝึกมามาก หรือมีบางช่วงบางคราวอ่อนซ้อม สมาธิเสื่อม จะใช้วิธีนี้ก็ไม่แปลกอะไร แต่ถ้าผู้ฝึกใหม่ยังมิเคยต่อสู้กับเวทนามาก่อนผมว่าย๊ากมั๊กๆ เพราะว่าจิตมันจะซัดส่ายเดี๋ยวไปเวทนาเดี๋ยวมาบริกรรมที่ลมหายใจ สมาธิเกิดยาก สุดท้ายก็จะใส่เกียร์ถอย แล้วก็จะต้องอ้างว่าต้องเปลี่ยนอริยาบทบางมันบ่ใช่ทางสายกลาง มันเป็นการทรมานตนให้ลำบาก ฯลฯ เมื่อสมาธิไม่เกิดหรือเกิดน้อย ไอ้เรื่องจิตจะรวมก็คงจะหวังได้ยาก
สำหรับแนวทางเวทนาเกิดแล้วเปลี่ยนอริยาบท ผมเห็นด้วยฉพาะผู้ฝึกใหม่แกะกล่องจริงๆ เท่านั้น แต่สำหรับท่านที่ปฏิบัติไปซักพัก ซักเดือน ซักปี หรือซัก 10 ปี ถ้ายังมัวเปลี่ยนอริยาบทอยู่ ก็คงต้องเปลี่ยนไปอีกเรื่อยๆ สุดท้ายก็จะต้อแต้ บ้างก็น้อยอกน้อยใจ อ้างว่าบุญน้อยบ้าง วาสนาน้อย แทนที่จะอดทนอดกลั้นต่อเวทนาเพื่อให้สามารถอยู่กับเวทนาหรือผ่านเวทนาไปให้ได้ (ถึงผ่านไปได้แล้วบางทีมันก็กลับมาอีก แรงกว่าเดิม หนักกว่าเดิม แน่นกว่าเดิม :b2: :b2: :b2: :b2: :b12: :b12: )

“ขนฺติ ปรมํ ตโป ติติขา ติ” ขันติความอดทน อดกลั้น ทนทาน เป็นตบะอย่างยอด

เห็นท่านกรัชกายยกก็เลยยกมาบ้างครับ :b12:

อ้างคำพูด:
หนังสือเกี่ยวกับขันติครับ
ขันติ - ความอดทน
http://www.panyapatipo.com/books.html
พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
:b8: :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 21:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พระพุทธองค์ ให้เปลี่ยนอิริยาบถครับ เดินบ้าง นั่งบ้าง ยืนบ้าง นอนบ้าง
ไม่ใช่ให้นั่งทน ทนนั่งครับ เพียงแต่ ท่านั่งเป็นท่าที่ดีมากครับ

เจริญธรรม

:b8: :b8: :b8: สาธุ...

แต่ก่อนจะเปลี่ยนท่า...พิจารณาความข้างล่างนี้ก่อน..ก็จะดี

กรัชกาย เขียน:

“ภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมเศร้าโศกคร่ำครวญ ร่ำไห้ รำพัน ตีอกร้องไห้ หลงใหลฟั่นเฟือนไป เขาย่อมเสวยเวทนาทั้ง 2 อย่าง คือ เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ”

“เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศรดอกหนึ่ง แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ 2 อีก เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้น ย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรทั้ง 2 ดอก ทั้งทางกาย ทั้งทางใจ ฉันใด บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น...ย่อมเสวยเวทนาทั้ง 2 อย่างคือทั้งทางกาย และทางใจ”

“อนึ่ง เพราะถูกทุกขเวทนานั้นกระทบ เขาย่อมเกิดความขัดใจ เมื่อเขามีความขัดใจ เพราะทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาก็ย่อมนอนเนื่อง เขาถูกทุกขเวทนานั้นกระทบเข้าแล้ว ก็หันเข้าระเริงกับกามสุข *
เพราะอะไร ?

เพราะบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมไม่รู้ทางออกจากทุกขเวทนา นอกไปจากกามสุข และเมื่อเขาระเริงอยู่กับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมไม่รู้เท่าทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดีข้อเสีย และทางออกของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น เมื่อเขาไม่รู้ตามที่มันเป็น อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ย่อมนอนเนื่อง ถ้าได้เสวยสุขเวทนา เขาก็เสวยอย่างผูกมัดตัว

ถ้าเสวยทุกขเวทนา เขาก็เสวยอย่างผูกมัดตัว ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เรียกว่าบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่าผู้ประกอบด้วยทุกข์”
......


:b8: :b8: :b8: สาธุ....

ชัดเจน...ชัดเจน..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร