วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 13:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


[349] อินทรีย์ 22 (สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน คือ ทำให้ธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตน ในกิจนั้นๆ ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น — faculties)

หมวดที่ 1
1. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์ คือ จักขุปสาท — eye-faculty)
2. โสตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสตปสาท — ear-faculty)
3. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ฆานปสาท — nose-faculty)
4. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชิวหาปสาท — tongue-faculty)
5. กายินทรีย์ (อินทรีย์ คือ กายปสาท — body-faculty)
6. มนินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ใจ ได้แก่ จิต ที่จำแนกเป็น 89 หรือ 121 ก็ตาม mind-faculty)


หมวดที่ 2
7. อิตถินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อิตถีภาวะ — femininity faculty)
8. ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปุริสภาวะ — masculinity faculty; virility)
9. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชีวิต — life faculty; vitality)


หมวดที่ 3
10. สุขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สุขเวทนา — bodily-pleasure faculty)
11. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ทุกขเวทนา — bodily-pain faculty)
12. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสมนัสสเวทนา — joy faculty)
13. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โทมนัสสเวทนา — grief faculty)
14. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อุเบกขาเวทนา — indifference faculty)


หมวดที่ 4
15. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ศรัทธา — faith faculty)
16. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์ คือ วิริยะ — energy faculty)
17. สตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สติ — mindfulness faculty)
18. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตา — concentration faculty)
19. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญา — wisdom faculty)


หมวดที่ 5
20. อนัญญตัญญัตญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจจธรรม ที่ยังมิได้รู้ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ — ‘I shall come to know the unknown’ faculty, i.e. knowledge of the stream-entry path.)

21. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อัญญา หรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ 6 ในท่ามกลาง คือ โสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ — perfect-knowledge faculty, i.e. knowledge of the six intermediate Paths and Fruitions)

22. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ — perfect-knower faculty, i.e. knowledge of the Fruition of Arahantship)


อินทรีย์ 22 นี้ ที่มาในพระสูตร มีกระจายอยู่เป็นหมวดๆ ในที่หลายแห่งไม่ครบทั้ง 22 ในที่เดียวกัน เฉพาะที่มาสำคัญได้แก่ อินทรียสังยุต (สํ.ม. 19/843-1089/256-318; S.V.193-243) ส่วนที่มาในพระอภิธรรม และปกรณ์พิเศษภายหลังมีวิสุทธิมรรค และอภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น มีคำอธิบายโดยพิสดาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 17:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้เป็นการตั้งข้อสังเกตจากการปฏิบัติน่ะ

เพราะ ปกติเดิมทีเมื่ออ่านตำราธรรม ก็จะเข้าใจตามอักษร
และคิดว่า เมื่อเข้าใจตามอักษรแล้ว จะถือว่าเป็นการเข้าใจธรรม
และถือว่าเป็นธรรมที่เรารู้แล้ว เข้าใจแล้ว บรรลุแล้ว นั้น
....มันคนละเรื่องกันเลย....
ในทางโลก เราเคยชินกับการใช้ความจำ จำตำราได้ ก็ถือว่ารู้แล้ว เข้าใจแล้ว ทำข้อสอบข้อเขียนผ่านแล้ว
ซึ่งถือว่า ผ่านแล้ว แจ่มแจ้งแล้ว บรรลุแล้ว นั่นไม่ใช่กับทางธรรม

อักขระ ก็ืคืออักขระ อักขระที่เป็นการกล่าวถึงสภาวะ ซึ่งบัญญัติน่าจะใช้คำว่า "อรรถ"
เพราะจะสังเกตเห็นการใช้คำว่า "อรรถว่า"
(ตรงนี้ใครมีความชัดเจนในเรื่องภาษาบัญญัติ/ปริยัติ-ปฏิบัติ ช่วยขยายความด้วยจะขอบคุณ
เพราะเราไม่ค่อยถนัดกับภาษาศัพท์ทางธรรมเลย)

การทำความเข้าใจในธรรมจริง ๆ ก็คือ ต้องทำความเข้าใจที่เป็นการเข้าใจใน "อรรถ"

ที่ยกอินทรีย์ขึ้นมากล่าว มันเป็นข้อสังเกตที่ชัดเจนจุดหนึ่ง
เพราะตอนที่เริ่มทำสมาธิ อาจารย์ได้สอนเทคนิคการ
"บริกรรม พุธ-โธ เมื่อบริกรรมหายก็ให้พิจารณาความรู้สึกที่ปรากฎ , ตามลม-พิจารณาลม ประมาณนั้น"
โดยให้มีความตั้งใจเพียรที่จะทำ
16. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์ คือ วิริยะ — energy faculty)
เมื่อพิจารณาจนจิตตั้งมั่น นิ่ง สงบ คงที่แล้ว ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ไปไหน

เมื่อนั่นอาจารย์ก็ให้ หยิบ สิ่งนี้เข้ามาพิจารณาไล่ไปที่ละตัว
หมวดที่ 1
1. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์ คือ จักขุปสาท — eye-faculty)
2. โสตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสตปสาท — ear-faculty)
3. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ฆานปสาท — nose-faculty)
4. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชิวหาปสาท — -faculty)
5. กายินทรีย์ (อินทรีย์ คือ กายปสาท — body-faculty)
6. มนินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ใจ ได้แก่ จิต ที่จำแนกเป็น 89 หรือ 121 ก็ตาม mind-faculty)


ก็จะพิจารณาไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ความเป็น ธาตุ วิญญาณที่เกิดเนื่องด้วยธาตุ แล้วอาการแห่งการปรากฎต่าง ๆ
อันเนื่องด้วย ขันธ์ธาตุ-วิญญาณ ที่พิจารณา
ซึ่งก็จะค่อย ๆ ไล่ไปจนครบนั่นล่ะ สมาธิก็จะไปสงบอยู่ ตั้งมั่นอยู่ นิ่งอยู่ ในความสงบอีกระดับหนึ่ง
แล้วมันก็คงสภาวะอยู่เช่นนั้นไม่ไปไหน

อาจารย์เมื่อทราบ ก็ให้วางจากการนั่งสมาธิ คือไม่ให้เราทำสมาธิเลย
ให้มาศึกษาธรรมเพิ่มเติมใน
หมวดที่ 4
15. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ศรัทธา — faith faculty)
โดยการให้อ่านธรรมอันแสดงถึงคุณแห่งพระพุทธ คุณแห่งพระธรรม คุณแห่งพระสงฆ์
เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง อาจารย์ก็ให้กลับมานั่งสมาธิ
ปรากฎว่า เมื่อถึงสภาวะที่เคยติดอยู่ คราวนี้ จิตกับพาไปต่อได้อย่างไม่ติดขัด
ซึ่งเมื่อไปต่อได้สักพัก ก็จะเจออาการเดิมอีก คือเหมือนทางตัน จิตหาทางไปต่อไม่ได้

เมื่ออาจารย์ทราบ ก็ให้วางจากการนั่งสมาธิ แล้วให้มาเจริญสติ
17. สตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สติ — mindfulness faculty)
คือการทำความรู้ตัว ในชีวิตประจำวันไปเรื่อย ๆ
คือการทำเ่ช่นนี้ อาจารย์บอกว่า ให้ทำสมาธิก็เมื่อเวลาที่เรารู้สึกเหนื่อย
และรู้สึกว่าจิตไม่มีกำลัง จิตอ่อนล้า ต้องการการพักผ่อนที่จะเติมกำลังให้กับจิต จริง ๆ
เราก็ทำ แรก ๆ ทำสมาธิสองวันครั้ง ก็เป็นสามวันครั้ง อาทิตย์ละครั้ง
จนเดือนละครั้ง อาจารย์บอกว่าจิตมันจะปรับการทำงานของตัวเองให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของเรา
คือยากที่จะเข้าใจอยู่บ้าง เพราะกับการที่เราเคยเข้าใจว่าจิตนั้น อยู่ภายใต้การควบคุมของเรา
หรือ เรานั่นคือจิต
แต่เจออาจารย์สอนเช่นนี้ นั่นราวกับว่า จิตมีอะไรบางอย่า่งที่ ไม่ใช่เรา แต่ เป็นสิ่งมีปัจจัยทำให้เป็นไป
คือมันจะสังเกตเห็นปัจจัยอันทำให้ปรากฎสภาวะ
และเมื่อเราพิจารณาเราก็เหมือนการค่อย ๆ นั่งคลายปมเชือกไปทีละปม

เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะพบว่าสมาธิที่เคยตัน ก็ทะลุผ่านไปได้
เมื่อพิจารณาธรรมที่ปรากฎ และสังเกตได้ว่า จังหวะที่ผ่านภาวะตีบตันได้
จะเป็นช่วงจังหวะเดียวกันกับ สภาวะธรรมที่เรานำมาพิจารณานั้น
เข้าสู่ ช่วงการ คลายตัวจากอารมณ์วิจารณ์ (เทียบเคียงให้เห็นภาพ)
ซึ่งการ เข้าสู่แต่ละช่วงแห่งการพิจารณา ไม่ใช่กินเวลานับได้เป็นชั่วโมง
หรือ นับได้เป็นวัน หรือนับได้เป็นสัปดาห์
คือเราไม่รู้ว่าการพิจารณาจะไปคลายตัวตอนไหน บางเรื่องก็ใช้เวลาไม่มาก
กับบางเรื่อง เป็นปี ๆ เลย ชนิดที่ว่า ทำจนลืม

ซึ่ง ในการสังเกต เราจะเห็นเคล้าโครง การพิจารณาธรรม กับการทำสมาธิ
มันจะมีอาการโคจร ที่เหมือนเป็นรอยเดียวกัน จังหวะเข้าไปหยิบ จังหวะการพิจารณา จังหวะการปล่อย
ซึ่งการปล่อยจากธรรมหนึ่ง ไปสู่ีอีกธรรมหนึ่ง ก็จะเป็นจังหวะที่ว่าง
สิ่งนี้ ปรากฎในการเห็นทุกอย่าง ทุกผัสสะ สภาวะนี้แทรกซึมไปในทุกการปรากฎ

ปรากฎเป็นภาพความสัมพันธ์ ธรรมจักร
คือ แบบว่า เราเห็นภาพร่างเช่นนี้น่ะ แต่ไม่รู้จะเรียบเรียงยังไงเพราะเราไม่ค่อยได้อ่านตำรา :b9:
ใครที่มีความชำนาญ ช่วยเรียบเรียงอธิบายเพิ่มเติมที

เพราะเราคิดว่า น่าจะมีผู้ปฏิบัติหลายท่าน เมื่อเห็นสมาธิไม่ก้าวหน้า
แต่ไม่รู้ ปัจจัยที่ทำให้เป็น และปัจจัยในการแก้ไข

ซึ่งตรงนี้ ในเรื่อง "การปรับอินทรีย์" ซึ่งหลายกรณีมีการกล่าวถึงแค่ การเปลี่ยนอริยาบทในการปฏิบัติ
เช่น นั่ง - ยืน - เดิน - นอน หง่ะ
ประมาณว่า ปรับอริยาบทให้เสมอกัน :b5: :b5:
ซึ่งเราอ่านไปเจอ ที่ไร เราก็ :b5: :b6: :b6: ไม่รู้จิ่ เพราะเราไม่ได้เข้าใจมาอย่างนั้น
ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า ในยามที่อาการในสมาธิ เหมือนเจอทางตัน
หรือ แสดงอาการอย่างไรออกมาก็ตาม
ไม่ว่าจะเปลี่ยนอิริยาบทอย่างไร จะนั่งให้มากกว่าเดิน
มันก็แก้ไม่หลุดน่ะ

แต่ อินทรีย์ที่เราสังเกตเห็นว่า ส่งผลต่อการปฏิบัติจริง ๆ คือ อินทรีย์ที่เป็นไปในลักษณะนี้น่ะ
คือการปรับอินทรีย์ที่จะมาเป็นองค์ประกอบในระดับจิต

อิอิ ตั้งกระทู้ซะอย่างดี อย่าคิดว่าจะมาแสดงความรู้
คือ ปฏิบัติ แล้วเกิดแง่ที่ สังเกต และสงสัย
เพราะเห็น ประโยคนี้ด้วย
อินทรีย์ 22 สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน คือ ทำให้ธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตน ในกิจนั้นๆ ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น

รบกวนผู้ที่ชำนาญในกิจเข้ามาชี้แจง ขยายความ เพื่อให้ความกระจ่างเพิ่มเติม หง่ะ

:b9: :b9: :b9:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 19 มิ.ย. 2011, 23:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 19:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ยุคนัทธวรรค ธรรมจักรกถา
[๖๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้
พระนครพาราณสี ฯลฯ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านพระโกณฑัญญะ จึงมีชื่อว่า
อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ ฯ
จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่
เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถ
ว่าสว่างไสว ฯ

จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ
ญาณเป็นธรรมความรู้เป็นอรรถ
ปัญญาเป็นธรรม ความรู้ทั่วเป็นอรรถ
วิชชาเป็นอรรถ ความแทงตลอดเป็นธรรม
แสงสว่างเป็นธรรม ความสว่างไสวเป็นอรรถ
ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้
เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็น
โคจร สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ เข้ามาประชุมในสัจจะ
ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ ฯ
....


อืมมม
พระสารีบุตรนำมากล่าวแยกกันอีกแล้ว ด้วย :b10: :b10:
และยิ่งตอนท้าย
ที่ วิชชาเป็นอรรถ
ความแทงตลอดเป็นธรรม

ใครจะช่วยอธิบายได้บ้าง smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 22:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:

อิอิ ไปเจอมาแย๊วววววว smiley smiley

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7074

ขอบคุณคร๊าบบบบบ

onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 22:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/006718.htm

smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 22:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ในการเรียนกรรมฐาน สิ่งสำคัญที่สุดมีอยู่ 2 ประการ คือ
1. การสอบอารมณ์
2. การตบแต่งอินทรีย์

การสอบอารมณ์
-การสอบอารมณ์ คือการที่ลูกศิษย์ผู้เรียนกรรมฐาน
จะต้องไปส่งอารมณ์ คือเล่าสภาพจิตตามความเป็นจริงให้อาจารย์ได้ทราบ
-เมื่ออาจารย์ทราบปัญหาในการฝึกจิต
จากนั้นท่านจะได้ทำการแก้ไขปรับปรุงสภาพจิตให้ลูกศิษย์
เรียกว่า การตบแต่งอินทรีย์ คือปรับคุณธรรมให้ลูกศิษย์

การตบแต่งอินทรีย์
การตบแต่งอินทรีย์ คือ การที่อาจารย์จะทำการปรับคุณธรรมซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 5 ประการในตัวศิษย์ คือ
1. สัทธา ความเชื่อ
2. วิริยะ ความเพียร
3. สติ ความระลึกได้
4. สมาธิ ความตั้งใจมั่น
5. ปัญญา ความรอบรู้

การปรับอินทรีย์คือ การทำให้คุณธรรมเกิดความสม่ำเสมอ ไม่ล้ำหน้ากัน โดยมีวิธีการตกแต่ง ดังนี้
1. ปรับสัทธาให้พอดีกับปัญญา
2. ปรับวิริยะให้พอดีกับสมาธิ
-เหตุผลคือ ถ้ามีสัทธามากเกินไปก็จะทำให้เชื่อง่าย ถ้ามีปัญญามากเกินไปก็จะทำให้ไม่เชื่ออะไรเลย หรือมีเรื่องให้คิดมาก ดังนั้น จึงต้องปรับให้พอดีกัน
-ส่วนวิริยะ ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้ฟุ้งซ่าน สมาธิถ้ามีมากเกินไปก็จะทำให้ซึมเซา ยึดติดในความสุขขั้นสูง ดังนั้น จึงต้องปรับให้พอดีกัน
-สำหรับสตินั้น ไม่ต้องปรับกับองค์ธรรมอะไรเลย พระพุทธเจ้าตรัสว่า
สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิตา แปลว่า สติเป็นสิ่งที่ต้องการปรารถนา ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ

อุปมาในเรื่องอินทรีย์ 5 ก็เหมือนกับการเทียมรถด้วยม้า 5 ตัว ม้า 2 คู่แรก ต้องสามัคคีไปทางเดียวกัน โดยมีม้าหัวหน้าได้แก่สติ เป็นตัวนำนั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 23:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


มุทุตวรรคที่ ๒
ปฏิลาภสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
[๘๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์
ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
[๘๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.
[๘๗๒] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน ๔ ย่อมได้ความเพียร
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.
[๘๗๓] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้สติ นี้เรียกว่า
สตินทรีย์.
[๘๗๔] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วงนิพพานให้เป็น
อารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.
[๘๗๕] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบ
ด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 23:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


วิภังคสูตรที่ ๒
ว่าด้วยหน้าที่ของอินทรีย์ ๕
[๘๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์
ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
[๘๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.
[๘๖๖] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภ
ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้มั่น เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่บังเกิดขึ้น
เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่บังเกิดขึ้น
เพื่อความถึงพร้อม เพื่อความไม่หลงลืม เพื่อเจริญยิ่งขึ้น เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ
เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.
[๘๖๗] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำพูด
แม้นานได้ อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิต
ในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสีย นี้เรียกว่า สตินทรีย์.
[๘๖๘] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ
นิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ
สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่
เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส
ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.
[๘๖๙] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกข-
*นิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ
นี้แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 23:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


สมณพราหมณสูตรที่ ๒
ผู้รู้ชัดถึงความเกิดของอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์
[๘๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งสัทธิน-
*ทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง
สัทธินทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งปัญญิน-
*ทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็น
พราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นยังไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็น
สมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
[๘๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่ง
สัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึงความดับ
แห่งสัทธินทรีย์ รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... รู้ชัดซึ่งปัญญินทรีย์ ความ
เกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะ
หรือพราหมณ์พวกนั้น เรานับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์
เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและของความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 23:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อรหันตสูตรที่ ๒
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์
[๘๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธิน-
*ทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล ภิกษุรู้ชัดซึ่ง
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตาม
ความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราเรียกภิกษุนั้นว่า พระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว สิ้น
สังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 23:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


โสตาสูตรที่ ๒
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน
[๘๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? ฯลฯ เมื่อใด
แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก ... เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 23:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


โสตาสูตรที่ ๑
รู้คุณโทษของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน
[๘๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑
วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
(ความเกิด ความดับ) คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตาม
เป็นจริง เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็น
ผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 23:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


สมณพราหมณสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการรู้อินทรีย์ ๖
[๙๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่ง
จักขุนทรีย์ ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่ง
จักขุนทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งโสตินทรีย์ ... ฆานินทรีย์ ... ชิวหินทรีย์ ... กายินทรีย์ ... มนินทรีย์ ความเกิดแห่ง
มนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์
เพราะท่านเหล่านั้น ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
[๙๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่ง
จักขุนทรีย์ ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่ง
จักขุนทรีย์ รู้ชัดซึ่งโสตินทรีย์ ... ฆานินทรีย์ ... ชิวหินทรีย์ ... กายินทรีย์ ... มนินทรีย์ ความเกิดแห่ง
มนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะ
ท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและของความเป็นพราหมณ์ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 23:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อรหันตสูตร
อินทรีย์ ๕ อาศัยผัสสะเกิดเวทนา
[๙๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์
... อุเปกขินทรีย์.
[๙๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น
ภิกษุนั้นสบายกาย ก็รู้ชัดว่าสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น
แหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ สุขินทรีย์ ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
เกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.
[๙๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
เกิดขึ้น ภิกษุนั้นไม่สบายกาย ก็รู้ชัดว่าเราไม่สบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ทุกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็น
ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.
[๙๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โสมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายใจ ก็รู้ชัดว่าเราสบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็น
ที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โสมนัสสินทรีย์ที่อาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.
[๙๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โทมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุไม่สบายใจ ก็รู้ชัดว่า เราไม่สบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โทมนัสสินทรีย์
ที่อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.
[๙๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเปกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สึกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉยๆ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเปกขินทรีย์ที่
อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.
[๙๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้ ๒ อันเสียดสีกันจึงเกิดความร้อน เกิด
ไฟขึ้น เพราะแยกไม้ ๒ อันนั่นเองให้ออกจากกันเสีย ความร้อนที่เกิดเพราะความเสียดสี ย่อม
ดับสงบไป ฉันใด สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบาย
กาย ก็รู้ชัดว่า เราสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป
เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะ คือ สุขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อม
ดับไปสงบไป ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ โสมนัส-
*สินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ อุเปกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สึกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉยๆ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเปกขินทรีย์ที่
อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป ฉันนั้น เหมือนกัน.


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 20 มิ.ย. 2011, 13:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 23:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อุปปฏิกสูตร
อินทรีย์ ๕ มีนิมิตเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง
[๙๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
ทุกขินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ สุขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ อุเปกขินทรีย์ ๑.
[๙๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ
เด็ดเดี่ยว ทุกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และ
ทุกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า ทุกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมี
นิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอ
ย่อมรู้ชัดทุกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งทุกขินทรีย์ ความดับแห่งทุกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดย
ไม่เหลือแห่งทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก
วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุ
นี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งทุกขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
[๙๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ
เด็ดเดี่ยว โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
และโทมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า โทมนัส-
*สินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่
ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่งโทมนัสสินทรีย์ ความดับแห่งโทมนัส-
*สินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งโทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โทมนัสสินทรีย์
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้า
ทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ
วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มี
เหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งโทมนัสสินทรีย์และน้อมจิตเข้าไปเพื่อ
ความเป็นอย่างนั้น.
[๙๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีความ
เด็ดเดี่ยว สุขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และสุขินทรีย์
นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า สุขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต
ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัด
สุขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่ง
สุขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว ก็สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้า
ตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข สุขินทรีย์
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งสุขินทรีย์
และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
[๙๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ
เด็ดเดี่ยว โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า โสมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และ
โสมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า โสมนัสสินทรีย์
นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่
จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่งโสมนัสสินทรีย์ ความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์
และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้น
แล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานไม่
มีทุกข์ ไม่มีสุข และละทุกข์ละสุขและดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ
บริสุทธิ์อยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้
แล้วซึ่งความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
[๙๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ
เด็ดเดี่ยว อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อุเปกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และ
อุเปกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเปกขินทรีย์นั้น
ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้
เธอย่อมรู้ชัดอุเปกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติ
เป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่
มีเหลือในที่ไหน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่เหลือ
ในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความ
เป็นอย่างนั้น.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร