วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป หมายเฉพาะว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูปแต่อย่าง เดียว ไม่เกี่ยวแก่นามด้วย

วิญญาณในที่นี้หมายถึง กัมมวิญญาณ อันได้แก่ รูปาวจรปัญจมฌานกุสลจิต ที่สหรคตด้วยเจตนาในสัญญาวิราคภาวนาในอดีตภพ เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูปในเอก โวการภูมิ คือ อสัญญสัตตภูมิ ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป หมายความว่า วิญญาณนั้นอุปการะช่วยเหลือ ให้เกิดทั้งนาม คือ เจตสิก ทั้งรูปคือกัมมชรูปและจิตตชรูปด้วย

๑. กัมมวิญญาณ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๑ มหากุสลจิต ๘ และ รูปาวจรกุสล จิต ๕ รวมเป็น ๒๔ ดวง ที่สหรคตด้วยเจตนาในอดีตภพ เป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิ นาม และปฏิสนธิรูปในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปฏิสนธิกาล

ปฏิสนธินาม คือ เจตสิก ๓๕ ดวง ที่ประกอบกับปฏิสนธิจิต ๑๕ ดวง

ปฏิสนธิรูป คือ กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ๑๕ ดวงนั้น

๒. วิปากวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ ๑๕ ดวง ในปัจจุบันภพ เป็น ปัจจัยแก่ปฏิสนธินาม คือเจตสิก ๓๕ และกัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิตนั้น ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปฏิสนธิกาล

๓. วิปากวิญญาณ ได้แก่ ภวังคจิต ๑๕ ดวง เป็นปัจจัยแก่ปวัตตินาม คือ เจตสิก ๓๕ และปวัตติรูป คือ จิตตชรูป ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปวัตติกาล

๔. วิปากวิญญาณ ได้แก่ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ และโสมนัสสันตีรณจิต ๑ เป็นปัจจัยแก่ ปวัตตินาม คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ และปวัตติรูป คือจิตตชรูป ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปวัตติกาล

๕. วิปากวิญญาณ ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เป็นปัจจัยแก่ ปวัตตินาม คือสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปวัตติกาล

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่วิญญาณ

ในบทวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูปนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็เป็นไป ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ

ก. วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม คือ เจตสิกแต่อย่างเดียว (ในจตุโวการภูมิ) นั้น ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๙ ปัจจัย คือ ๑)สหชาตปัจจัย ๒)อัญญมัญญปัจจัย ๓)นิสสยปัจจัย ๔)วิปากปัจจัย ๕)อาหารปัจจัย ๖)อินทรียปัจจัย ๗)สัมปยุตตปัจจัย ๘)อัตถิปัจจัย ๙)อวิคตปัจจัย

ข. วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป คือ กัมมชรูปแต่อย่างเดียว(ในเอกโวการภูมิ) นั้น ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเพียงปัจจัยเดียว คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย ซึ่งในพระบาลีพระไตรปิฎกเล่ม ๔๐ แสดงไว้ในบทกุสล เป็นปัจจัยแก่อัพพยากตะว่า กุสลํ กมฺมํ วิปากสฺส อุปนิสฺสย ปจฺจเย น ปจฺจโย

ค. วิญญาณเป็นปัจจัยทั้งนามทั้งรูป (ในปัญจโวการภูมิ) ก็ด้วยอำนาจแห่ง ปัจจัย ๙ ปัจจัย ซึ่งเหมือนกับข้อ ก. เว้นแต่หมายเลข ๗ สัมปยุตตปัจจัย เปลี่ยน เป็นวิปปยุตตปัจจัย ปัจจัยเดียวเท่านั้น ส่วนอีก ๘ ปัจจัยนั้นเหมือนกันทุกปัจจัย

ความหมายแห่งปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยใดที่ซ้ำในบทก่อนที่ได้แสดงความหมายมา แล้วก็จะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก จะกล่าวถึงความหมายเฉพาะปัจจัยที่ไม่ซ้ำกับบทก่อน คือ

๑. วิปากปัจจัย กล่าวถึงวิบากนามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัน และกัน ทั้งช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดพร้อมกับตนนั้นด้วย ในที่นี้ก็ได้แก่ วิญญาณ (คือจิต) เป็นวิปากปัจจัย นาม(คือเจตสิก) และรูปที่เกิดพร้อมกับวิญญาณนั้น เป็นวิปากปัจจยุบบันน

๒. อาหารปัจจัย กล่าวถึง อาหารทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูป ที่เกิดพร้อมกันนั้น ในที่นี้ได้แก่วิญญาณ(คือจิต) เป็นอาหารปัจจัย นาม(คือเจตสิก) และรูปที่เกิดพร้อมกับจิตนั้นเป็นอาหารปัจจยุบบันน

๓. อินทรียปัจจัย กล่าวถึง ปสาทรูป ๕ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจ วิญญาณอย่างหนึ่ง รูปชีวิตินทรียเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อุปาทินนกรูปอย่างหนึ่ง และนามอินทรียเป็นปัจจัย ช่วยอุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกับตนนั้นอีกอย่าง หนึ่ง ดังนั้นในที่นี้ วิญญาณ(คือจิต) จึงเป็นอินทรียปัจจัย นามรูปเป็นอินทรีย ปัจจยุบบันน

๔. วิปปยุตตปัจจัย หมายถึงธรรมที่ไม่ได้ประกอบกันด้วยลักษณะ ๔ อย่าง คือ เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอกาลัมพนะ และเอกวัตถุกะ ดังนั้นในที่นี้ วิญญาณ (คือจิต) เป็นวิปปยุตตปัจจัย รูปที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น (หรือแม้แต่เกิดก่อน) ก็เป็น วิปปยุตตปัจจยุบบันน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 มิ.ย. 2011, 12:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๔ นามรูป

นามรูป เป็นปัจจัยแก่ สฬายตนะ คือ อายตนะภายใน ๖ จะปรากฏขึ้นได้ก็ เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย

นามในบทนี้ คือ เจตสิก มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

นมน ลกฺขณํ -> มีการน้อมไปสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ
สมฺปโยค รสํ -> มีการประกอบกับวิญญาณ และประกอบกันเอง โดยอาการที่เกิดพร้อมกันเป็นต้น เป็นกิจ
อวินิพฺโภค ปจฺจุปฏฺฐานํ -> มีการไม่แยกกันกับจิต เป็นผล
วิญฺญาณ ปทฏฺฐานํ -> มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้


รูปในที่นี้ คือ กัมมชรูป(โดยตรง) จิตตชรูป(โดยอ้อม) ลักขณาทิจตุกะ ของ รูปมีดังนี้

รุปฺปน ลกฺขณํ -> มีการสลาย แตกดับ เป็นลักษณะ แตกดับไปด้วย อำนาจปัจจัย
วิกิรณ รสํ -> มีการแยกออกจากกัน(กับจิต)ได้ เป็นกิจ
อพฺยากตา ปจฺจุปฏฺฐานํ -> มีความเป็นอพยากตธรรม (ในที่นี้หมายถึงความ ไม่รู้อารมณ์) เป็นผล
วิญฺญาณ ปทฏฺฐานํ -> มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้


นาม คือ เจตสิก ที่เป็นปัจจัยแก่อายตนะนั้น ได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบ กับโลกียวิปากจิต ๓๒ เท่านั้น

รูป ที่เป็นปัจจัยแก่อายตนะนั้น ก็ได้แก่ กัมมชรูป เท่านั้น

อายตนะที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของนามรูปนั้นได้แก่ สฬายตนะ คือ อายตนะภายใน ๖ ที่มีชื่อว่า อัชฌัตติกายตนะ มีจักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และ มนายตนะ

อายตนะ มีความหมายว่า เป็นเครื่องต่อ เป็นบ่อเกิดแห่งจิตและเจตสิก เป็นเครื่องต่อเป็นบ่อเกิดแห่งวิถีจิต

นามรูปเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ ดังนี้

๑. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ จักขุปสาท จึงปรากฏ จักขวายตนะ
๒. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ โสตปสาท จึงปรากฏ โสตายตนะ
๓. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ ฆานปสาท จึงปรากฏ ฆานายตนะ
๔. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ ชิวหาปสาท จึงปรากฏ ชิวหายตนะ
๕. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ กายปสาท จึงปรากฏ กายายตนะ
๖. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป เจตสิก ๓๕ (ที่ประกอบกับโลกียวิปากวิญญาณ ๓๒) จึงปรากฏ มนายตนะ

โดยเฉพาะ มนายตนะนี้ มีวาทะ เป็น ๒ นัย คือ

ก. อรรถกถาจารย์ และฎีกาจารย์บางท่าน กล่าวว่า มนายตนะนี้ได้แก่ โลกีย วิปากจิต ๓๒

ข. ภาสาฎีกาจารย์บางท่านกล่าวว่า มนายตนะนี้ได้แก่ ภวังคจิต ๑๙ เท่านั้น โดยอ้างว่า ภวังคจิต เป็นตัวมโนทวาร ช่วยอุปการะให้ ผัสสะ และเวทนาเกิดขึ้น ซึ่งตรงกับพุทธภาษิตที่ว่า มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา ฯลฯ ซึ่งแปลความว่า มโนวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้เพราะอาศัย มโนทวาร กับ ธัมมารมณ์ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นี้ ประชุมร่วมกันแล้วเรียกว่า ผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยแก่เวทนา ฯลฯ

อนึ่ง มีข้อสังเกตอยู่ว่า ในบทก่อนกล่าวว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป คือ โลกียวิปากวิญญาณทำให้เกิดเจตสิก และกัมมชรูป

ในบทนี้กล่าวว่า นามรูปเป็นปัจจัยแก่ สฬายตนะ คือ นามอันได้แก่เจตสิก ทำให้เกิดมนายตนะ อันได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ และ กัมมชรูปทำให้เกิด ปัญจายตนะ (อายตนะ ๕) นี่ก็คือ ปสาทรูป ๕ นั่นเอง

รวมกล่าวอย่างสั้น ๆ ก็ได้ความว่า บทก่อนกล่าวว่า จิตทำให้เกิดเจตสิก แต่ บทนี้กลับกล่าวว่า เจตสิกทำให้เกิดจิต จึงทำให้เป็นที่น่าสงสัยอยู่

ข้อนี้มีอธิบายว่า การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเช่นนี้ ก็ด้วยอำนาจแห่ง สหชาตปัจจัย คือ ความเกิดพร้อมกัน เกิดร่วมกันของธรรมเหล่านั้นประการหนึ่ง และด้วยอาศัยอำนาจแห่ง อัญญมัญญปัจจัย คือ ความอาศัยซึ่งกันและกันของ ธรรมเหล่านั้นอีกประการหนึ่ง

กล่าวคือ นาม คือเจตสิกกับมนายตนะ คือโลกียวิปากวิญญาณนั้นเกิดพร้อม กันเกิดร่วมกัน ดังนั้นจะว่าเจตสิกเกิดพร้อมกับจิตเกิดร่วมกับจิต หรือจะว่าจิตเกิด พร้อมกับเจตสิกเกิดร่วมกับเจตสิก ก็ได้ทั้ง ๒ อย่าง นี่กล่าวโดยอำนาจแห่ง สหชาต ปัจจัย

กล่าวโดยอำนาจแห่งอัญญมัญญปัจจัย จิตกับเจตสิกที่เกิดพร้อมกันเกิดร่วมกัน นั้นต่างก็อาศัยซึ่งกันและกัน อุปการะหรืออุดหนุนซึ่งกันและกัน ดังนั้นจะว่าเจตสิก อุดหนุนอุปการะจิต หรือว่าจิตอุปการะอุดหนุนเจตสิกก็ได้ทั้ง ๒ อย่างอีกเหมือนกัน

ส่วนรูปนั้น ปสาทรูป ๕ และปัญจายตนะ คือ อายตนะทั้ง ๕ ก็เป็นรูปอัน เดียวกันนั่นเอง แต่เมื่อกล่าวโดยสมุฏฐาน ก็เรียกว่า กัมมชรูป และเมื่อกล่าวโดย ความเป็นเครื่องต่ออันเป็นบ่อเกิดแห่งวิถีจิต ก็เรียกว่า อายตนะ เมื่อมีปสาทรูปจึง จะเป็นเครื่องต่อก่อให้เกิดจิต เจตสิก และวิถีจิตได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 มิ.ย. 2011, 12:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่นามรูป

ในบท นามรูป เป็นปัจจัยแก่ สฬายตนะนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็มี รายละเอียดที่จะกล่าวได้เป็นหลายรายการด้วยกัน จึงขอกล่าวรวบยอดเป็นส่วนรวม ทั้งหมดว่า นามรูปที่อุปการะช่วยเหลือแก่ สฬายตนะนั้นด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๑๖ ปัจจัย คือ

๑.เหตุปัจจัย
๒.สหชาตปัจจัย
๓.อัญญมัญญปัจจัย
๔.นิสสยปัจจัย
๕.ปุเรชาตปัจจัย
๖.ปัจฉาชาตปัจจัย
๗.กัมมปัจจัย
๘.วิปากปัจจัย
๙.อาหารปัจจัย
๑๐.อินทรียปัจจัย
๑๑.ฌานปัจจัย
๑๒.มัคคปัจจัย
๑๓.สัมปยุตตปัจจัย
๑๔.วิปปยุตตปัจจัย
๑๕.อัตถิปัจจัย
๑๖.อวิคตปัจจัย

ในจำนวน ๑๖ ปัจจัยนี้ ปัจจัยใดที่ได้เคยแสดงความหมายแล้วในบทก่อน ก็จะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก จะกล่าวถึงความหมายเฉพาะปัจจัยที่ไม่ซ้ำกับบทก่อน คือ

๑. ปุเรชาตปัจจัย กล่าวถึงรูปธรรมที่เกิดก่อน อุปการะช่วยเหลือให้เกิดนาม ธรรมอันมีความหมายว่า วัตถุ ๖ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิญญาณธาตุ ๗ ใน ปวัตติกาล(วัตถุปุเรชาตปัจจัย) นั้นอย่างหนึ่ง

อารมณ์ ๕ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ ปัญจวิญญาณวิถี (อารัมมณปุเรชาต ปัจจัย) อีกหนึ่ง

ทั้ง ๒ อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่ง ปุเรชาตปัจจัย

๒. ปัจฉาชาตปัจจัย กล่าวถึง นามธรรม คือ จิตเจตสิกที่เกิดภายหลังเป็น ปัจจัยช่วยอุปการะแก่รูปธรรมที่เกิดก่อน

ตัวอย่างในบทนี้เช่น จักขุวิญญาณ และเจตสิก ๗ ดวง อันเป็นนามที่เกิด ภายหลังนี่แหละ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ จักขุปสาทรูป(จักขวายตนะ) ที่เกิดก่อน ให้ตั้งอยู่ได้ด้วยดีตลอดไป

๓. กัมมปัจจัย กล่าวถึง ก. เจตนาที่เกิดร่วมพร้อมกัน เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกับเจตนานั้น ซึ่งเรียกว่า สหชาตกัมมปัจจัยอย่างหนึ่ง กล่าว โดยหน้าที่การงานเรียกสังวิธานกิจ

ข. เจตนาที่เกิดต่างขณะกัน (คือดับไปแล้วนั้น) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ นามรูป ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกรรม(คือเจตนาที่ดับไปแล้ว)นั้น ซึ่งเรียกว่า นานักขณิก กัมมปัจจัย อีกอย่างหนึ่ง กล่าวโดยหน้าที่การงานเรียกพีชนิธานกิจ

ทั้ง ๒ อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่งกัมมปัจจัย

๔. ฌานปัจจัย กล่าวถึงองค์ฌาน ๕ (คือ เจตสิก ๕ ดวง อันได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามและรูปที่เกิดพร้อมกับตน

ตัวอย่างในบทนี้ก็หมายถึง องค์ฌาน ๕ ที่ในปฏิสนธิจิตเป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่ ปฏิสนธิจิต เจตสิก และกัมมชรูป นี่กล่าวถึงในปฏิสนธิกาล ส่วนใน ปวัตติกาลก็หมายถึง องค์ฌาน ๕ ที่ในวิบากจิตเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิบากจิต เจตสิก และจิตตชรูป

๕. มัคคปัจจัย กล่าวถึง องค์มัคค ๙ (คือเจตสิก ๙ ดวง อันได้แก่ ปัญญา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ วิริยะ สติ เอกัคคตา และทิฐิ) เป็น ปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามและรูปที่เกิดพร้อมกับตน

ตัวอย่างในบทนี้ ก็หมายถึง องค์มัคคที่ในสเหตุกปฏิสนธิจิต ๑๗ ที่ใน ปฏิสนธิกาล เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่สเหตุกปฏิสนธิจิต ๑๗ เจตสิกที่ประกอบ และกัมมชรูป

ส่วนในปวัตติกาล องค์มัคคที่ในสเหตุกวิบากจิต ๑๗ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่สเหตุกวิบากจิต ๑๗ เจตสิกที่ประกอบ และจิตตชรูป

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๕ สฬายตนะ

สฬายตนะ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ คือ ผัสสะ จะปรากฏขึ้นได้ก็เพราะมี สฬายตนะเป็นปัจจัย ลักขณาทิจตุกะของสฬายตนะ มีดังนี้

อายตน ลกฺขณํ -> มีการกระทบ หรือมีการทำให้วัฏฏสงสาร ยืนยาวไม่มีที่สิ้นสุด เป็นลักษณะ
ทสฺสน รสํ -> มีการยึดอารมณ์ของตน ๆ เป็นกิจ
(วา) ทสฺสนาทิ รสํ -> (หรือ) มีการเห็นเป็นต้น เป็นกิจ
วตฺถุตฺตรภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ -> มีความเป็นวัตถุเป็นทวารของวิญญาณธาตุ ๗ ตามควรแก่อารมณ์ เป็นผล
นามรูป ปทฏฺฐานํ -> มีเจตสิกและกัมมชรูป เป็นเหตุใกล้


ในบทก่อน อัชฌัตติกายตนะ ๖ คือ อายตนะภายใน ๖ ที่เป็นปัจจยุบบันน ธรรมของนามรูปนั้น ได้แก่ จักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ

ในบทนี้ สฬายตนะที่เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ก็ได้แก่ อัชฌัตติกายตนะ ๖ ที่กล่าวแล้วนี่เอง

ผัสสะ ที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของสฬายตนะ ก็คือ ผัสสะ ๖ อันได้แก่

๑. จักขุสัมผัสสะ จะปรากฏเกิดขึ้นได้ เพราะมี จักขวายตนะ เป็นปัจจัย
๒. โสตสัมผัสสะ จะปรากฏเกิดขึ้นได้ เพราะมี โสตายตนะ เป็นปัจจัย
๓. ฆานสัมผัสสะ จะปรากฏเกิดขึ้นได้ เพราะมี ฆานายตนะ เป็นปัจจัย
๔. ชิวหาสัมผัสสะ จะปรากฏเกิดขึ้นได้ เพราะมี ชิวหายตนะ เป็นปัจจัย
๕. กายสัมผัสสะ จะปรากฏเกิดขึ้นได้ เพราะมี กายายตนะ เป็นปัจจัย
๖. มโนสัมผัสสะ จะปรากฏเกิดขึ้นได้ เพราะมี มนายตนะ เป็นปัจจัย

ผัสสะทั้ง ๖ ในที่นี้ ได้แก่ ผัสสเจตสิกที่ในโลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ เท่านั้น แต่หมายเลข ๑ ถึง ๕ เป็นผัสสะในทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ตามลำดับ ส่วนหมายเลข ๖ มโนสัมผัสสะ ได้แก่ ผัสสะในโลกียวิปากวิญญาณ ๒๒ ที่เหลือ

ธรรมชาติที่กระทบอารมณ์นั่นแหละ คือ ผัสสะ แต่ไม่ได้หมายความเพียงว่า ของสองสิ่งกระทบกันเท่านั้น หากหมายถึงว่า ต้องมีธรรม ๓ ประการมาประชุม ร่วมพร้อมกันจึงจะเรียกว่าผัสสะ ธรรม ๓ ประการคืออารมณ์ ๑ วัตถุ ๑ ธรรม ๒ ประการนี้กระทบกันและทำให้เกิด วิญญาณ อีก ๑ ด้วย ไม่ใช่ว่ากระทบกันเฉย ๆ ดังมีบาลีในนิทานวัคค สังยุตตพระบาลีว่า

จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จอุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส
โสตญฺจ ปฏิจฺจ สทฺเท จอุปฺปชฺชติ โสตวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส
ฆานญฺจ ปฏิจฺจ คนฺเธ จอุปฺปชฺชติ ฆานวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส
ชิวฺหญฺจ ปฏิจฺจ รเส จอุปฺปชฺชติ ชิวฺหาวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส
กายญฺจ ปฏิจฺจ โผฏฺฐพฺเพ จอุปฺปชฺชติ กายวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส
มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จอุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส


ซึ่งแปลความว่า

จักขุวิญญาณย่อมปรากฏขึ้นได้เพราะอาศัย จักขุปสาท กระทบกับรูปารมณ์ การประชุมร่วมพร้อมกันระหว่าง จักขุปสาท รูปารมณ์ และจักขุวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้แหละชื่อว่า ผัสสะ

ฯลฯ ............................................. ฯลฯ

มโนวิญญาณย่อมปรากฏขึ้นได้เพราะอาศัยภวังคจิตกระทบกับธัมมารมณ์ การ ประชุมร่วมพร้อมกันระหว่าง ภวังคจิต ธัมมารมณ์ และมโนวิญญาณ ทั้ง ๓ นี้ แหละชื่อว่า ผัสสะ

สฬายตนะ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะนี้ เมื่อกล่าวโดยภูมิคือ กามภูมิ รูปภูมิ และ อรูปภูมิแล้วได้ดังนี้

ในกามภูมิ ๑๑ มีอัชฌัตติกายตนะได้ครบทั้ง ๖ ผัสสะก็ย่อมเกิดได้ครบทั้ง ๖ เหมือนกัน

ในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ ๑) มีอัชฌัตติกายตนะเพียง ๓ คือ จักขวายตนะ โสตายตนะ และมนายตนะ เท่านี้ จึงได้ผัสสะเพียง ๓ เท่ากันคือ จักขุสัมผัสสะ โสตสัมผัสสะ และมโนสัมผัสสะ

ในรูปภูมิอีก ๑ คือ อสัญญสัตตภูมิ ไม่มีอัชฌัตติกายตนะแม้แต่สักอย่างเดียว ดังนั้น ผัสสะทั้ง ๖ จึงไม่เกิดมีในรูปภูมินี้เลย

ในอรูปภูมิ ๔ มี อัชฌัตติกายตนะ เพียง ๑ คือ มนายตนะ จึงมีผัสสะเพียง ๑ คือ มโนสัมผัสสะ เท่ากัน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 มิ.ย. 2011, 12:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่สฬายตนะ

ในบทสฬายตนะเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนี้ มีปัจจัย ๒๔ เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

ก. จักขวายตนะ เป็นปัจจัยแก่ จักขุสัมผัสสะ ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๖ ปัจจัย คือ

๑. นิสสยปัจจัย
๒. ปุเรชาตปัจจัย
๓. อินทรียปัจจัย
๔. วิปปยุตตปัจจัย
๕. อัตถิปัจจัย
๖. อวิคตปัจจัย

ข. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่ โสตสัมผัสสะ

ค. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ ฆานสัมผัสสะ

ง. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ ชิวหาสัมผัสสะ

จ. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่ กายสัมผัสสะ ทั้ง ๔ นี้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๖ ปัจจัย เท่ากันและเหมือนกันกับข้อ ก. ทุกประการ

ฉ. มนายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนสัมผัสสะ ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๙ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. อาหารปัจจัย
๖. อินทรียปัจจัย
๗. สัมปยุตตปัจจัย
๘. อัตถิปัจจัย
๙. อวิคตปัจจัย

ในบรรดาปัจจัยเหล่านี้ ล้วนแต่ได้อธิบายความหมายแล้วในบทก่อน ๆ ทั้งนั้น จึงไม่ต้องกล่าวซ้ำในบทนี้อีก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๖ ผัสสะ

ผัสสะ เป็นปัจจัยแก่ เวทนา คือ เวทนาจะปรากฏขึ้นได้ก็เพราะมีผัสสะเป็น ปัจจัย ผัสสะมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ผุสน ลกฺขโณ -> มีการกระทบอารมณ์ เป็นลักษณะ
สงฺฆฏฺฏน รโส -> มีการประสานจิตกับอารมณ์ เป็นกิจ
สงฺคติ ปจฺจุปฏฺฐาโน -> มีการประชุมร่วมพร้อมกันระหว่างวัตถุ อารมณ์และ วิญญาณ เป็นผล
สฬายตน ปทฏฺฐาโน -> มีอัชฌัตติกายตนะ ๖ เป็นเหตุใกล้


ในบทก่อน ผัสสะ ที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของสฬายตนะนั้น ได้แก่ ผัสสะ ๖ มีจักขุสัมผัสสะ เป็นต้น มีมโนสัมผัสสะ เป็นที่สุด

ในบทนี้ ผัสสะ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ก็ได้แก่ ผัสสะ ๖ นั่นเอง เวทนาที่ เป็นปัจจยุบันนธรรมของผัสสะ ก็ได้แก่ เวทนา ๖ คือ

๑. เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัสสะ เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า จักขุสัมผัสสชาเวทนา
๒. เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ โสตสัมผัสสะ เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า โสตสัมผัสสชาเวทนา
๓. เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ ฆานสัมผัสสะ เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า ฆานสัมผัสสชาเวทนา
๔. เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสสะ เป็นปัจจัยได้ชื่อว่าชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
๕. เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ กายสัมผัสสะ เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า กายสัมผัสสชาเวทนา
๖. เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสสะ เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า มโนสัมผัสสชาเวทนา

ธรรมชาติใดที่เสวยอารมณ์ ธรรมชาตินั่นแหละชื่อว่า เวทนา คือความรู้สึกใน อารมณ์นั้น

ความรู้สึกในอารมณ์ หรือการเสวยอารมณ์ที่ชื่อว่า เวทนานี้ กล่าวโดยลักษณะ แห่งการเสวยอารมณ์ ก็มี ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา

กล่าวโดยประเภทแห่งอินทรีย คือโดยความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ ก็มี ๕ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา

กล่าวโดยอาศัยทวาร คือ อาศัยทางที่ให้เกิดเวทนาตามนัยแห่งปฏิจจสมุปปาท ที่กำลังกล่าวถึงอยู่ในขณะนี้ ก็มี ๖ คือ เวทนาที่เกิดทางจักขุ ทางโสตะ ทางฆานะ ทางชิวหา ทางกาย และทางใจ

เวทนาที่เกิดทางจักขุที่เรียกว่า จักขุสัมผัสสชาเวทนา เกิดทางโสตที่เรียกว่า โสตสัมผัสสชาเวทนา เกิดทางฆานะที่เรียกว่า ฆานสัมผัสสชาเวทนา และเกิดทาง ชิวหาที่เรียกว่า ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา รวม ๔ ทางนี้เป็นอุเบกขาเวทนาแต่ อย่างเดียว

เวทนาที่เกิดทางกายที่เรียกว่า กายสัมผัสสชาเวทนานั้น เป็นสุขเวทนา หรือ ทุกขเวทนา อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนี้เท่านั้น คือถ้ากายได้สัมผัสถูกต้องกับ อิฏฐโผฏฐัพพารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดี ก็เป็นสุขเวทนา แต่เมื่อกายได้สัมผัสถูกต้องกับ อนิฏฐโผฏฐัพพารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่ดี ก็เป็นทุกขเวทนา

ส่วนเวทนาที่เกิดทางใจที่เรียกว่า มโนสัมผัสสชาเวทนานั้น เมื่อได้เสวย อารมณ์ที่ดีที่เรียกว่า อิฏฐารมณ์ ก็มีความชื่นชมยินดีทางใจ เป็นโสมนัสเวทนา แต่ถ้าได้เสวยอารมณ์ที่ไม่ดีที่เรียกว่า อนิฏฐารมณ์ ทางธรรมถือว่ามีความอาพาธ ทางใจ จึงได้ชื่อว่า เป็นโทมนัสเวทนา หากว่าได้เสวยอารมณ์ที่เป็นปานกลาง ที่ เรียกว่า มัชฌัตตารมณ์ ก็มีความเฉย ๆ ไม่ถึงกับเกิดความชื่นชมยินดี จึงได้ชื่อว่า เป็นอุเบกขาเวทนา

เวทนาทั้ง ๖ ที่กล่าวในบทนี้ หมายเฉพาะเวทนาที่ประกอบกับโลกียวิปาก วิญญาณ ๓๒ เท่านั้น โดยถือสืบเนื่องมาจากวิปากวิญญาณ คือจิตที่เป็นปัจจยุบ บันนของสังขาร โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ นี้ ก็มีเวทนาที่เกิดร่วมได้ด้วยเพียง ๔ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา และ อุเบกขาเวทนาเท่านี้ ไม่มีโทมนัส เวทนา ด้วย

ผัสสะกับเวทนาต่างก็เป็นเจตสิกเหมือนกัน และประกอบกับจิตร่วมกันพร้อม กัน ถึงกระนั้นต่างก็เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันได้ด้วยอำนาจแห่งสหชาตปัจจัย และ อัญญมัญญปัจจัย ทำนองเดียวกับจิตและเจตสิก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบท นามรูป เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้น

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 มิ.ย. 2011, 12:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่ผัสสะ

ในบทผัสสะ เป็นปัจจัยแก่เวทนานี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็เป็นไปได้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๘ คือ

๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. อาหารปัจจัย
๖. สัมปยุตตปัจจัย
๗. อัตถิปัจจัย
๘. อวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๗ เวทนา

เวทนา เป็นปัจจัยแก่ ตัณหา คือ ตัณหาจะปรากฏเกิดขึ้นได้ ก็เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัย เวทนา มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

อนุภวน ลกฺขณา -> มีการเสวยอารมณ์ เป็นลักษณะ
วิสยรสสมฺโภค รสา -> มีการเสวยรสของอารมณ์ เป็นกิจ
สุขทุกฺข ปจฺจุปฏฺฐานา -> มีความสุขและทุกข์ เป็นผล
ผสฺส ปทฏฺฐานา -> มีผัสสะ เป็นเหตุใกล้


ในบทก่อน เวทนาที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของผัสสะนั้น ได้แก่ เวทนา ๖ มี จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น มีมโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่สุด

ในบทนี้ เวทนาที่เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดตัณหานี้ ก็ได้แก่ เวทนา ๖ นั้นเอง

ตัณหาที่เกิดขึ้น เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย คือ ตัณหาที่เป็นปัจจยุบบันนธรรม ของเวทนานั้น ได้แก่ โลภเจตสิก ดวงเดียวเท่านั้น และเป็นปัจจัยให้เกิดปัจจยุบ บันนธรรมดังนี้

เมื่อมีสุขเวทนาอยู่ ก็มีความติดใจในสุขนั้น และมีความปรารถนามีความ ประสงค์จะให้คงเป็นสุขอยู่อย่างนั้นตลอดไป หรือให้สุขยิ่งกว่านั้นขึ้นไปอีก ดังนี้จึง ได้ชื่อว่า สุขเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ข้อนี้เห็นได้ง่าย เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อม เกลียดทุกข์ ประสงค์สุขด้วยกันทั้งนั้น

เมื่อมีทุกขเวทนาอยู่ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาได้ คือมีความปรารถนา มีความ ประสงค์จะให้ทุกข์นั้นหายไปหมดไปสิ้นไป แล้วมีความปรารถนาให้เกิดมีความสุข ต่อไป ดังนี้ จึงได้ชื่อว่า ทุกขเวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา

เมื่อมีอุเบกขาเวทนาอยู่ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาได้ ด้วยคิดว่า แม้จะไม่ถึงกับ มีความสุขก็ตาม แต่เมื่อไม่ได้รับความทุกข์ดังที่เป็นอยู่เช่นนี้ก็ดีอยู่แล้ว จึงปรารถนา จะไม่ให้มีความทุกข์มาเบียดเบียน ประสงค์ให้คงเป็นอุเบกขาอยู่เช่นนี้เรื่อยๆ ตลอด ไป ยิ่งถึงกับมีความสุขด้วยก็ยิ่งดีมาก ดังนี้จึงได้ชื่อว่า อุเบกขาเวทนา เป็นปัจจัยให้ เกิดตัณหา

ตัณหานี้ มีแสดงไว้เป็นหลายนัย เช่น

๑. กล่าวโดยอารมณ์ ตัณหาก็คือความยินดีติดใจอยากได้ ซึ่งอารมณ์ทั้ง ๖ อันได้แก่

รูปตัณหา ยินดีติดใจอยากได้ รูปารมณ์
สัททตัณหา ยินดีติดใจอยากได้ สัททารมณ์
คันธตัณหา ยินดีติดใจอยากได้ คันธารมณ์
รสตัณหา ยินดีติดใจอยากได้ รสารมณ์
โผฏฐัพพตัณหา ยินดีติดใจอยากได้ โผฏฐัพพารมณ์
ธัมมตัณหา ยินดีติดใจอยากได้ ธัมมารมณ์


๒. กล่าวโดยอาการที่เป็นไป คือเมื่อมีความยินดีติดใจอยากได้ในอารมณ์ ๖ นั้นแล้วก็มีอาการที่เป็นไป ๓ อย่างที่เรียกว่า กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา มีอาการเป็นไปดังนี้

ก. กามตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่เกี่ยวกับกามคุณอารมณ์ ทั้ง ๕ แต่ไม่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ

ข. ภวตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่ประกอบด้วยความเห็น ดังต่อไปนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วย คือ

(๑) ติดใจในกามภพ การได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา

(๒) ติดใจในรูปภพ การได้เกิดเป็นรูปพรหม

(๓) ติดใจในอรูปภพ การได้เกิดเป็นอรูปพรหม

(๔) ติดใจในฌานสมาบัติ การได้รูปฌาน อรูปฌาน

(๕) ติดใจในตัวตน คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีตัวตน และตัวตนนี้ไม่สูญหายไป ไหน ถึงจะตายก็ตายแต่ร่างกาย ตัวตนที่เป็นมนุษย์ก็จะไปเกิดเป็นมนุษย์อีก ตัวตนที่ เป็นสัตว์อย่างใด ก็จะไปเกิดเป็นสัตว์อย่างนั้นอีก ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเห็นว่า เที่ยงอันเป็นความเห็นผิดที่เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ (ข้อ ข. นี้มีมาใน สุตตันตมหาวัคค อรรถกถา)

ค. วิภวตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ คือ ติดใจในความเห็นที่ว่า สิ่งทั้งหลายในโลกนี้มีตัวมีตนอยู่ แต่ว่าตัวตนนั้นไม่ สามารถที่จะตั้งอยู่ได้ตลอดไป ย่อมต้องสูญต้องสิ้นไปทั้งหมด ตลอดจนการกระทำ ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ก็สูญหายไปสิ้นเช่นเดียวกัน แม้ผู้ ที่มีความเห็นว่า พระนิพพานมีตัวมีตน แล้วปรารถนาพระนิพพานเช่นนั้น ความ ปรารถนาเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่า วิภวตัณหา

รวมความในข้อ ๒ นี้ได้ว่า อาการที่เป็นไปในตัณหา ๓ ก็ได้แก่ พวกหนึ่ง มีอุจเฉททิฏฐิเห็นว่าสูญ พวกหนึ่งมีสัสสตทิฏฐิเห็นว่าเที่ยง ส่วนอีกพวกหนึ่งติดใจ อยากได้โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าเป็นสิ่งที่สูญหรือเที่ยงแต่อย่างใด ๆ เลย

๓. กล่าวโดยพิสดาร เป็นการกล่าวอย่างกว้างขวางนั้น ตัณหานี้มีถึง ๑๐๘ คือ อารมณ์ของตัณหามี ๖ และอาการที่เป็นไปของตัณหามี ๓ จึงเป็นตัณหา (๖x๓) ๑๘ ตัณหา ๑๘ นี้มีทั้งที่เป็นภายในและภายนอก ภายใน ๑๘ ภายนอก ๑๘ ก็เป็น ๓๖ ตัณหา ๓๖ นี้มีได้ทั้ง ๓ กาล คือในอดีตกาล ๓๖ มีในปัจจุบันกาล ๓๖ และจะมีในอนาคตกาลอีก ๓๖ จึงเป็นตัณหา ๑๐๘ ด้วยกัน

เวทนา เป็นปัจจัยแก่ ตัณหานี้ เป็นได้เฉพาะแก่ผู้ที่มีกิเลสอยู่เท่านั้น ส่วนผู้ที่ สิ้นอาสวะกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้วนั้น เวทนาก็หาเป็นปัจจัยแก่ตัณหาไม่

อนึ่ง ในมัชฌิมปัณณาสก์อรรถกถาแสดง ความยินดีติดใจในการเจริญสมถะ และวิปัสสนา ก็เรียกว่า ธัมมตัณหาได้เหมือนกัน ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ว่า ธมฺม ราเคน ธมฺมนนฺทิยาติ ปททฺวเยหิ สมถวิปสฺสนาสุ ฉนฺทราโค วุตฺโต ซึ่งแปล ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวถึงความยินดีติดใจในการเจริญสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยบท ๒ บทว่า ธัมมราคะ ธัมมนันทิ ซึ่ง หมายความว่า ฉันทะ ราคะ ที่เกิดขึ้นในสมถภาวนาวิปัสสนาภาวนา ชื่อว่า ธัมมตัณหา

ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่ เวทนา

ในบท เวทนา เป็นปัจจัยแก่ตัณหานี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็เป็นไป ได้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยปัจจัยเดียวเท่านั้น ปัจจัยนั้น คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 มิ.ย. 2011, 12:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๘ ตัณหา

ตัณหา เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน คือ อุปาทานจะปรากฏเกิดขึ้นได้ก็เพราะมี ตัณหาเป็นปัจจัย ตัณหามีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

เหตุ ลกฺขณา -> เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง เป็นลักษณะ
อภินนฺทน รสา -> มีความยินดี ติดใจในอารมณ์ ภูมิ ภพ เป็นกิจ
อติตฺตภาว ปจฺจุปฏฺฐานา -> มีความไม่อิ่มในอารมณ์ต่าง ๆ เป็นผล
เวทนา ปทฏฺฐานา -> มีเวทนา เป็นเหตุใกล้


ในบทก่อน ตัณหาที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของเวทนานั้น ได้แก่ ตัณหา ๓ หรือ ๖ หรือ ๑๐๘

ในบทนี้ ตัณหาที่เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดอุปาทานนั้น ก็ได้แก่ ตัณหา ๓ หรือ ๖ หรือ ๑๐๘ นั่นเอง

อุปาทาน ที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของตัณหานี้ ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน มีอธิบายโดยย่อ ดังต่อไปนี้

๑. กามุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก

๒. ทิฏฐุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในการเห็นผิด มีนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓, มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ และ อันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่นอกจาก สีลัพพตทิฏฐิ และสักกายทิฏฐิ

๓. สีลัพพตุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโค และเยี่ยงสุนัข เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ สีลัพพตทิฏฐิ

๔. อัตตวาทุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในขันธ์ ๕ ของตน และทั้งของผู้อื่น ว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นบุคคลเป็นเราเป็นเขา องค์ธรรมได้แก่ สักกายทิฏฐิ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 มิ.ย. 2011, 12:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ในข้อ ๑ กามุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ นั้น เลยเรียกกันว่า กามุปาทาน ๖ ได้แก่ รูปกามุปาทาน, สัททกามุปาทาน, คันธกามุปาทาน, รสกามุ ปาทาน, โผฏฐัพพกามุปาทาน และธัมมกามุปาทาน

ในข้อ ๒ ทิฏฐุปาทาน ความติดใจยึดมั่นในความเห็นผิดนั้น

ก. นิยตมิจฉาทิฏฐิ หรือบางทีก็เรียกว่า มิจฉัตตนิยตะ นั้นมี ๓ ได้แก่

(๑) อเหตุกทิฏฐิ มีความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายที่กำลังเป็นไปอยู่นั้น ไม่ได้อาศัย เนื่องมาจากเหตุแต่อย่างใด (ไม่เชื่อเหตุ, อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒)

(๒) นัตถิกทิฏฐิ มีความเห็นว่า การที่สัตว์ทั้งหลายกระทำอะไร ๆ ก็ตาม ผลที่จะได้รับนั้นย่อมไม่มี (ไม่เชื่อผล, อุจเฉททิฏฐิ ๗)

(๓) อกริยทิฏฐิ มีความเห็นว่า การที่สัตว์ทั้งหลายกระทำกิจการต่าง ๆ นั้น ไม่สำเร็จเป็นบุญหรือเป็นบาปแต่อย่างใดทั้งสิ้น(ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล,สัสสตทิฏฐิ ๔)

ข. มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ซึ่งจำแนกเป็นสาขาใหญ่ได้ ๒ สาขา คือ ปุพพันต กัปปิกทิฏฐิ ๑๘ และ อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔

ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ไม่เชื่อเหตุในอดีต มี ๑๘ คือ

(๑) สัสสตทิฏฐิ ๔ เห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง (อกริยทิฏฐิ)

(๒) เอกัจจสัสสตเอกัจจอสัสสตทิฏฐิ ๔ เห็นว่าอัตตาและโลกบางอย่าง เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง

(๓) อันตานันติกทิฏฐิ ๔ เห็นว่าโลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด

(๔) อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔ ความเห็นซัดส่ายไม่ตายตัว จะว่าใช่ก็ไม่เชิง จะว่าไม่ใช่ก็ไม่เชิง

(๕) อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒ เห็นว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ไม่มีเหตุ (อเหตุกทิฏฐิ)

อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ไม่เชื่อผลในอนาคต มี ๔๔ คือ

(๑) สัญญีวาททิฏฐิ ๑๖ เห็นว่าอัตตาไม่เสื่อมสลาย ตายแล้วมีสัญญา

(๒) อสัญญีวาททิฏฐิ ๘ เห็นว่าอัตตาไม่เสื่อมสลาย ตายแล้วไม่มีสัญญา

(๓) เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฏฐิ ๘ เห็นว่าอัตตาไม่เสื่อมสลาย ตายแล้วมี สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่เชิง

(๔) อุทเฉททิฏฐิ ๗ เห็นว่าตายแล้วสูญ (นัตถิกทิฏฐิ)

(๕) ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ ๕ เห็นว่าพระนิพพานมีในปัจจุบัน (คือ ๑.ว่ากามคุณ ๕ เป็นพระนิพพาน, ๒.ว่าปฐมฌาน, ๓.ว่าทุติยฌาน, ๔.ว่าตติยฌาน, ๕.ว่าจตุตถฌาน เป็นพระนิพพาน)

ค. นัตถิกทิฏฐิ มีความเห็นที่ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมซึ่งตรงกันข้ามกับ กัมมัสสกตาปัญญา ที่รู้เห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน อันตัคคาหิกทิฏฐิมี ๑๐ ได้แก่

(๑) นตฺถิ ทินฺนํ เห็นว่าการทำบุญไม่ได้รับผลแต่อย่างใด

(๒) นตฺถิ ยิฏฺฐํ เห็นว่าการบูชาต่าง ๆ ไม่ได้รับผลแต่อย่างใด

(๓) นตฺถิ หุตํ เห็นว่าการเชื้อเชิญต้อนรับต่าง ๆ ไม่ได้ผล

(๔) นตฺถิ สุกตทุกฺกตานํ กมฺมานํ ผลํ วิปาโก เห็นว่าการทำดีและทำชั่ว ไม่ได้รับผลทั้งทางตรงและทางอ้อมแต่อย่างใด

(๕) นตฺถิ อยํ โลโก เห็นว่าโลกนี้ไม่มี (ผู้ที่จะมาเกิด ไม่มี)

(๖) นตฺถิ ปโรโลโก เห็นว่าโลกหน้าไม่มี (ผู้ที่จะไปเกิด ไม่มี)

(๗) นตฺถิ มาตา เห็นว่าการทำดีทำชั่วต่อมารดา ไม่ได้รับผลในภายหน้า

(๘) นตฺถิ ปิตา เห็นว่าการทำดีทำชั่วต่อบิดา ไม่ได้รับผลในภายหน้า

(๙) นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา เห็นว่าสัตว์นรก เปรต เทวดา พรหมนั้น ไม่มี

(๑๐) นตฺถิ โลเก สมฺณพฺรหฺมณา สมฺมาปฏิปนฺนา เห็นว่า สมณพราหมณ์ ที่ปฏิบัติชอบในโลกนี้ ไม่มี

ในข้อ ๓ สีลัพพตุปาทาน ที่ประพฤติปฏิบัติเยี่ยงโคเยี่ยงสุนัขเป็นต้นนั้น ก็ เพราะมีความเห็นผิดโดยสำคัญไปว่า การที่เราเป็นลูกหนี้ ไม่มีเงินและไม่สามารถ ที่จะหาเงินไปใช้หนี้ได้ แต่ถ้ายอมมอบตัวเราให้เจ้าหนี้ใช้การงานแทน ก็ย่อมปลด เปลื้องหนี้สินได้ ข้อนี้ฉันใด การที่เราได้กระทำบาปกรรมไว้มากมาย ถ้ายอมตัว กระทำการให้ได้รับความลำบากเช่นเดียวกับสัตว์ดิรัจฉาน ก็คงจะเปลื้องปลดบาป กรรมได้ฉันนั้น มีความเห็นผิดเช่นนี้ จึงทำตนให้ได้รับความลำบากเยี่ยงโค เยี่ยง สุนัข ใช้หนี้เสียแต่ในชาตินี้ ชาติหน้าจะได้ไม่ต้องไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน


ในข้อ ๔ อัตตวาทุปาทาน ติดใจยึดมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน ก็คือยึดมั่นใน สักกายทิฏฐินั่นเอง ซึ่งจำแนกรายละเอียดไปตามขันธ์ ๕ จึงเป็นสักกายทิฏฐิ ๒๐ ดังต่อไปนี้

(๑) รูปขันธ์ เห็นว่า รูปเป็นตน ตนเป็นรูป รูปอยู่ในตน ตนอยู่ในรูป

(๒) เวทนาขันธ์ เห็นว่า เวทนาเป็นตน ตนเป็นเวทนา เวทนามีอยู่ในตน ตนมีอยู่ในเวทนา

(๓) สัญญาขันธ์ เห็นว่า สัญญาเป็นตน ตนเป็นสัญญา สัญญามีอยู่ในตน ตนมีอยู่ในสัญญา

(๔) สังขารขันธ์ เห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นตน ตนเป็นสังขาร สังขารทั้ง หลายมีอยู่ในตน ตนมีอยู่ในสังขาร

(๕) วิญญาณขันธ์ เห็นว่าวิญญาณเป็นตน ตนเป็นวิญญาณ วิญญาณมีอยู่ใน ตน ตนมีอยู่ในวิญญาณ

บุคคลทั่วไป ยกเว้นพระอริยเจ้าแล้ว ย่อมมีสักกายทิฏฐิด้วยกันทั้งนั้น จึงว่า สักกายทิฏฐินี้เป็นทิฏฐิสามัญ มีแก่บุคคลทั่วไปทั่วหน้ากัน และก็สักกายทิฏฐินี่ แหละที่เป็นพืชพันธ์ของมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ความแตกต่างกันระหว่างตัณหากับอุปาทาน

ใน อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา ว่า เอตฺถ จ ทุพฺพลตณฺหา นาม พลวติ อุปาทา นานํ แปลความว่า ในที่นี้ตัณหาที่มีกำลังน้อยเรียกว่า ตัณหา ตัณหาที่มีกำลังมาก เรียกว่า อุปาทาน

อีกนัยหนึ่งว่า ปริเยสนทุกฺขมูลํ ตณฺหา อารกฺขมูลํ อุปาทานํ อยเมเตสํ วิเสโส แปลความว่า ตัณหามีทุกข์ในการแสวงหาเป็นมูล อุปาทานมีทุกข์ในการ ระวังรักษาเป็นมูล

ตัณหา คือ ความพอใจในอารมณ์ที่ตนได้พบครั้งแรก อุปาทาน คือความติดใจ ในอารมณ์ที่ตนได้พบนั้นไม่หาย ครุ่นคิดอยู่เสมอ

ตัณหา คือ ความอยากได้ในอารมณ์ที่ตนยังไม่ได้ อุปาทาน คือ ความยึดมั่น ในอารมณ์ที่ตนได้มาแล้ว โดยไม่ยอมปล่อยวาง

จึงได้มีข้ออุปมาไว้ว่า ตัณหา เหมือนต้นไม้ที่ยังเล็ก ๆ อยู่ ถอนทิ้งได้ง่าย อุปา ทาน เหมือนต้นไม้ที่ใหญ่โตแล้ว ย่อมยากแก่การถอน เพราะรากแก้วยึดมั่นเสียแล้ว

อัปปิจฉตาคุณ คือ มีความปรารถนาน้อย ที่เรียกกันว่า ไม่มีความอยากใหญ่ เป็นปฏิปักษ์แก่ตัณหา ทำให้ตัณหามีกำลังลดน้อยถอยลง

สันตุฏฐิคุณ คือ ความมีสันโดษ ก็เป็นปฏิปักษ์แก่อุปาทาน สันโดษ หรือ สันตุฏฐี ได้แก่ มีความพอใจเท่าที่ตนมีอยู่ พอใจแสวงหาตามควรแก่กำลัง และ พอใจแสวงหาโดยสุจริต เพียงแต่มีสันโดษเท่านี้ ก็เป็นคุณแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น เป็นอย่างมาก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่ตัณหา

ในบท ตัณหา เป็นปัจจัยแก่อุปาทานนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็เป็น ไปได้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยดังต่อไปนี้

ก. ตัณหาเป็นปัจจัยแก่ กามุปาทาน ด้วยอำนาจแห่งอุปนิสสยปัจจัย ปัจจัย เดียวเท่านั้น

ข. ตัณหาเป็นปัจจัยแก่ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน นั้น ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๗ ปัจจัย คือ

๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. นิสสยปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. อัตถิปัจจัย
๗. อวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๙ อุปาทาน

อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ คือภพจะปรากฏเกิดมีขึ้นได้ก็เพราะ อุปาทาน เป็นปัจจัย อุปาทาน มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

คหณ ลกฺขณํ -> มีการยึดไว้ เป็นลักษณะ
อมุญฺจน รสํ -> มีการไม่ปล่อย เป็นกิจ
ตณฺหาทพฺหตฺตทิฏฺฐิ ปจฺจุปฏฺฐานํ -> มีตัณหาที่มีกำลังอย่างมั่นคง และมีความเห็นผิด เป็นผล
ตณฺหา ปทฏฺฐานํ -> มีตัณหา เป็นเหตุใกล้


ในบทก่อนอุปาทานที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของตัณหานั้น ได้แก่ อุปาทาน ๔

ในบทนี้ อุปาทานที่เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดภพ ก็ได้แก่ อุปาทาน ๔ นั้นเหมือนกัน

ภพ อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของอุปาทานนี้ ได้แก่ ภพ ๒ คือ กัมมภพ และอุปปัตติภพ

กัมมภพ การปรุงแต่งที่ทำให้เกิดปัจจยุบบันนธรรมขึ้นนั้น ได้แก่ กรรม ๒๙ หรือ เจตนา ๒๙ คือ อกุสลเจตนา ๑๒ และโลกียกุสลเจตนา ๑๗ กล่าวอย่าง ธรรมดาสามัญ กัมมภพ ก็คือการทำบาปและการบำเพ็ญบุญนั่นเอง

อุปปัตติภพ หมายถึง ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดปรากฏขึ้นในภพนั้น ๆ โดย อาศัยกัมมภพเป็นปัจจัย ดังนั้น อุปปัตติภพ ได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ๑๘ หรือ ๒๐ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญ ก็คือ เมื่อได้ทำกรรม (กัมมภพ) แล้วก็มาได้รับผล (อุปปัตติภพ) โดยเกิดเป็นสัตว์ใน ๓๑ ภูมิ ตามควร แก่กรรม พร้อมทั้งมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัสถูกต้อง และการนึกคิด ตามควรแก่อัตภาพของตน

ในภพทั้ง ๒ คือ กัมมภพ และอุปปัตติภพนี้ ก็ยังเป็นเหตุผลแก่กันและกันได้ อีกด้วย คือ

กล่าวโดย กัมมภพเป็นเหตุ อุปปัตติภพเป็นผล ก็มีความหมายว่า เพราะได้ กระทำกรรมดีและกรรมชั่ว คือ มีกัมมภพมาก่อน จึงปรากฏผลได้เกิดมามีขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๔ หรือขันธ์ ๑ ตามควรแก่กรรมนั้น ๆ การได้เกิดมามีขันธ์นี่แหละ คือ อุปปัตติภพ

กล่าวโดย อุปปัตติภพเป็นเหตุ กัมมภพเป็นผล ก็มีความหมายว่า เมื่อได้ เกิดมามีขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๔ คือมีอุปปัตติภพเป็นเหตุ จึงปรากฏผลให้มีกัมมภพ คือ การกระทำกรรมดีกรรมชั่วทั้งหลายทั้งทางกาย วาจา ใจ ถ้าไม่มีอุปปัตติภพแล้ว กัมมภพก็ไม่ปรากฏ

อนึ่ง สังขารที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของอวิชชา กับกัมมภพที่เป็นปัจจยุบ บันนธรรมของอุปาทานนี้ กล่าวโดยองค์ธรรมแล้ว ก็ได้แก่ เจตนา ๒๙ เหมือนกัน ถึงกระนั้นก็มีความแตกต่างกันอยู่ คือ

เมื่อกล่าวโดย ตโยอัทธา คือ กาล ๓ แล้ว เจตนา ๒๙ ที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ซึ่งเป็นปัจจัยให้อุปาทานขันธ์ปรากฏเกิดขึ้นในปัจจุบันภพนี้นั้น ชื่อว่า สังขาร

เจตนา ๒๙ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันภพนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยให้อุปาทานขันธ์ปรากฏ เกิดขึ้นในอนาคตภพนั้น ชื่อว่า กัมมภพ

บุพพเจตนา ที่เกิดขึ้นก่อนการกระทำ กุสล อกุสล นั้น ชื่อว่า สังขาร

มุญจเจตนา ที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังกระทำกุสล อกุสลอยู่นั้น ชื่อว่า กัมมภพ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 มิ.ย. 2011, 13:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร