วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2011, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโสมนัสในโลกอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล ฯ

ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดิน
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข
พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น

เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้
เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้

ภิกษุพิจารณาเห็นกายโดยอาการ ๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ
ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร อันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น ๑
ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกองอาโปธาตุ กองเตโชธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง กองเนื้อ กองเอ็น กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตาย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับไม่ให้เกิดย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น


เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดี(นันทิ)ได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัด(ราคะ)ได้ เมื่อดับย่อมละสมุทัยได้เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือ(อาทานะ)ได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ ๗ นี้กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่เสพ ฯลฯภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 19 มิ.ย. 2011, 21:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นสุขเวทนา
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข
พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น

เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้
เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้

ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาโดยอาการ ๗ นี้ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ
ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร อันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น ๑
ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตาย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับไม่ให้เกิดย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น

เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดี(นันทิ)ได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัด(ราคะ)ได้ เมื่อดับย่อมละสมุทัยได้เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือ(อาทานะ)ได้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่เสพ ฯลฯภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างนี้ ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 19 มิ.ย. 2011, 21:57, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร ฯ

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข
พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น

เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้
เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความเป็นธรรมที่เสพฯลฯ

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นจิตอันปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตตั้ง มั่นจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ

โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตาย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับไม่ให้เกิดย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น

เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดี(นันทิ)ได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัด(ราคะ)ได้ เมื่อดับย่อมละสมุทัยได้เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือ(อาทานะ)ได้

ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เว้นกาย เวทนา จิตเสียแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตาไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตาย่อมเบื่อหน่าย
ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิดย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น

เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้
เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายด้วยอาการ ๗ นี้ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น ๑ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามคุณ FLAME หน่อยว่า สูตรนี้ พระพุทธองค์อธิบาย เหตุของการได้ปัญญา หรือ อธิบายผลของการได้ปัญญา?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ supareak เห็นว่าเป็นอย่างไรหล่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าอุปมาเหมือนคนกับการฝึกขี่จักรยาน

บทนี้ ท่านอธิบายถึงคนที่ยังไม่ได้ฝึก คนที่กำลังฝึก หรือคนที่ฝึกจนขี่จักรยานได้แล้วเป็นปกติ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าผมจะให้คุณลองอธิยายลักษณะของคนที่ร้องเพลงไม่เป็น คนที่กำลังหัดร้องเพลง กับคนที่ร้องเพลงเป็นนักร้องอาชีพแล้ว คุณจะเขียนอธิบายได้อย่างไรบ้างละครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2011, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรนี้พระพุทธองค์ ตรัสกับ ภิกษุทั้งหลาย
อธิบายเรื่องสติปัฏฐาน ๔

ทรงตรัสอธิบาย
การพิจารณาเห็นกายในกาย
การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
การพิจารณาเห็นจิตในจิต
การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ว่าเป็นสติปัฏฐานภาวนา

โดยยกตัวอย่างการปฏิบัติของภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2011, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ครบถ้วนสมบูรณ์ดีแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2011, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโสมนัสในโลกอยู่ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล ฯ

รบกวนพิจารณาว่า คำว่า ... ผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ... เป็นคุณสมบัติของผู้ที่ยังไม่ได้ฝึก หรือผู้ที่ฝึกมาดีแล้วครับ?

อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลเกิดเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายตามความเป็นจริง?

อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลเกิดเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาตามความเป็นจริง?

อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลเกิดเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตตามความเป็นจริง?

อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลเกิดเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมตามความเป็นจริง?

อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลเกิดความเพียร?

อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลเกิดความสติสัมปชัญญะ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 22 มิ.ย. 2011, 20:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2011, 19:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร ฯ

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ
..............


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำฌาณให้ก่อน เหอะ Onion_L


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 00:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สาวัตถีนิทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉนคือ สัทธินทรีย์ ๑
วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในโสดาปัตติยังคะ (ธรรม
อันเป็นองค์แห่งการบรรลุกระแสนิพพาน) ๔ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในสัมมัปปธาน ๔ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในสติปัฏฐาน ๔ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในฌาน ๔ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในอริยสัจ ๔ ฯ

ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน ๔จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ฯ

ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๒๐
ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๒๐
ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๒๐
ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๒๐ ฯ

ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ การคบสัตบุรุษ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อ ในโสดาปัตติยังคะ คือ การฟังธรรมของท่าน การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 00:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ ในสัมมัปปธาน ๔ คือ การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์
พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือ ความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์
ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐เป็นไฉน ฯ
พึงเห็นสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย
พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์
พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์
ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐เป็นไฉน ฯ
พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในปฐมฌาน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯลฯ ในตติยฌาน ฯลฯ ในจตุตถฌาน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์
ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจ คือ ทุกข์
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็นในอริยสัจ คือ ทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์
ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร