วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2011, 08:24 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2011, 12:03
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ
สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ สัมมาวายามะ เพียรชอบ
สัมมาสติ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นชอบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2011, 20:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ...คือ..เห็นในอริยะสัจ..

ก็สงสัยว่า..แล้ว..

สัมมาสติ ระลึกชอบ ...คือ..ระลึกในอะไร??

:b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2011, 09:16
โพสต์: 158

แนวปฏิบัติ: พุธโท
งานอดิเรก: นั่งสมาธิ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรัชญา
ชื่อเล่น: T^^T
อายุ: 23
ที่อยู่: ลำปาง

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ...คือ..เห็นในอริยะสัจ..

ก็สงสัยว่า..แล้ว..

สัมมาสติ ระลึกชอบ ...คือ..ระลึกในอะไร??

:b10:

ระลึกในสติปัฏฐาน4 พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม
สัมมาอาชีวะ ถ้าเป็นพระสงฆ์การประกอบอาชีพในข้อนี้คืออะไร onion

.....................................................
ดูก่อu!!!ภิกษุทั้งหลาย!!!คนพาลเขากลัวยากจนจึงไม่รู้จักขวนขวายในการให้ทาน!!!ส่วนบัณฑิตชนเขากลัวยากจนจึงรู้ขวนขวายในการให้ทาน!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยมรรค ๘ ความเห็นชอบ คือ เห็นว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงว่ามันไม่เที่ยง เห็นว่าความไม่เที่ยงทำให้เกิดทุกข์ เห็นว่าทุกข์ทำให้เราต้องเวียนว่ายตายเกิด เห็นความจริง หรือ เห็นอริยสัจสี่

ความคิดชอบ เป็นผลต่อเนื่องมาจากความเห็นขอบ คือ เมื่อเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง ก็ไม่คิดว่า มันเป็นเรา เป็นของเรา เพราะมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ความคิดเช่นนี้ทำให้เกิดการเบื่อหน่ายคลายกำหนัด

การพูดชอบ เป็นผลมาจากความคิดชอบ เมื่อคิดว่า มันไม่ใช่ของเรา มีอันต้องแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ก็ไม่พูดว่า นี่เรา นี่ของเรา ฯ เสียงด่าเข้าหู ก็ไม่คิดโกรธ ไม่ด่าตอบ เพราะเสียงด่าก็ไม่ที่ยง ไม่น่าเอามาเป็นสาระ เกิดความคลายกำหนัดในเสียง ฯ

การกระทำชอบ เป็นผลมาจากความคิดเห็นชอบและการพูดชอบ เมื่อคิดว่า มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ฯ จะลักจะขโมย จะทำอะไรไม่ดี ก็ไม่มี

การดำรงชีพชอบ เป็นผลมาจากการกระทำชอบ เมื่อปกติไม่ทำอะไรผิด การดิ้นรนเอาตัวรอด ที่ไม่ดี เกิดจากการยึดมั่นถือมั่น เกิดจากความโลภ ความหลง ก็ไม่มี สำหรับพระภิกษุ มีสัมมาอาชีวะอย่างเดียวก็คือเลี้ยงชีพด้วยการขอ หรือ บิณทบาตร

ความพยายามชอบ เป็นผลมาจากการดำรงชีพชอบ คือ ไม่พยายามที่จะทำสิ่งที่ผิด เพราะการอยู่โดยไม่โลภ โกรธ หลง จะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่ดิ้นรนในสิ่งที่ไม่ดี

การระลึกชอบ เป็นผลมาจากความพยายามชอบ คือระลึกถึงความจริงเสมอว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ฯ

ความตั้งมั่นชอบ เป็นผลมาจากการระลึกชอบ เมื่อระลึกถึงความจริงเสมอๆ จิตก็ตั้งมั่นอยู่ในความจริง

จะเห็นว่า องค์ธรรมทั้งหมดในมรรค ๘ มีความจริง หรือ สัมมาทิฐิเป็นฐาน หรือ เป็นประธาน ถ้าไม่มีสัมมาทิฐิเสียแล้ว องค์ธรรมที่เหลือจะเรียกว่า สัมมาไม่ได้เลย

สัมมาสมาธิ อันมีองค์ธรรมที่เหลือเป็นบริขาร หมายถึง การตั้งมั่นในความจริงจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มีความจริง ไม่มีสัมมาทิฐิจนถึงสัมมาสติประกอบเข้าด้วยกัน

ผลของการเดินตามทางอันประเสริฐนี้ คือ จะเป็นการฝึกฝนตนเองให้อยู่กับความจริงตลอดเวลา เมื่อความจริงตั่งมั่น จะทำให้เห็นโลกและชีวิตเป็นธรรมดา หรือเห็น กาย เวทนา จิต (ชีวิต) ธรรม (โลก) ตามความเป็นจริงจนเป็นปกติวิสัย หรือ เกิดสติปัฏฐาน ขึ้นมาในบุคคล

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2011, 09:16
โพสต์: 158

แนวปฏิบัติ: พุธโท
งานอดิเรก: นั่งสมาธิ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรัชญา
ชื่อเล่น: T^^T
อายุ: 23
ที่อยู่: ลำปาง

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อริยมรรค ๘ ความเห็นชอบ คือ เห็นว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงว่ามันไม่เที่ยง เห็นว่าความไม่เที่ยงทำให้เกิดทุกข์ เห็นว่าทุกข์ทำให้เราต้องเวียนว่ายตายเกิด เห็นความจริง หรือ เห็นอริยสัจสี่

ความคิดชอบ เป็นผลต่อเนื่องมาจากความเห็นขอบ คือ เมื่อเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง ก็ไม่คิดว่า มันเป็นเรา เป็นของเรา เพราะมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ความคิดเช่นนี้ทำให้เกิดการเบื่อหน่ายคลายกำหนัด

การพูดชอบ เป็นผลมาจากความคิดชอบ เมื่อคิดว่า มันไม่ใช่ของเรา มีอันต้องแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ก็ไม่พูดว่า นี่เรา นี่ของเรา ฯ เสียงด่าเข้าหู ก็ไม่คิดโกรธ ไม่ด่าตอบ เพราะเสียงด่าก็ไม่ที่ยง ไม่น่าเอามาเป็นสาระ เกิดความคลายกำหนัดในเสียง ฯ

การกระทำชอบ เป็นผลมาจากความคิดเห็นชอบและการพูดชอบ เมื่อคิดว่า มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ฯ จะลักจะขโมย จะทำอะไรไม่ดี ก็ไม่มี

การดำรงชีพชอบ เป็นผลมาจากการกระทำชอบ เมื่อปกติไม่ทำอะไรผิด การดิ้นรนเอาตัวรอด ที่ไม่ดี เกิดจากการยึดมั่นถือมั่น เกิดจากความโลภ ความหลง ก็ไม่มี สำหรับพระภิกษุ มีสัมมาอาชีวะอย่างเดียวก็คือเลี้ยงชีพด้วยการขอ หรือ บิณทบาตร
ความพยายามชอบ เป็นผลมาจากการดำรงชีพชอบ คือ ไม่พยายามที่จะทำสิ่งที่ผิด เพราะการอยู่โดยไม่โลภ โกรธ หลง จะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่ดิ้นรนในสิ่งที่ไม่ดี

การระลึกชอบ เป็นผลมาจากความพยายามชอบ คือระลึกถึงความจริงเสมอว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ฯ

ความตั้งมั่นชอบ เป็นผลมาจากการระลึกชอบ เมื่อระลึกถึงความจริงเสมอๆ จิตก็ตั้งมั่นอยู่ในความจริง

จะเห็นว่า องค์ธรรมทั้งหมดในมรรค ๘ มีความจริง หรือ สัมมาทิฐิเป็นฐาน หรือ เป็นประธาน ถ้าไม่มีสัมมาทิฐิเสียแล้ว องค์ธรรมที่เหลือจะเรียกว่า สัมมาไม่ได้เลย

สัมมาสมาธิ อันมีองค์ธรรมที่เหลือเป็นบริขาร หมายถึง การตั้งมั่นในความจริงจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มีความจริง ไม่มีสัมมาทิฐิจนถึงสัมมาสติประกอบเข้าด้วยกัน

ผลของการเดินตามทางอันประเสริฐนี้ คือ จะเป็นการฝึกฝนตนเองให้อยู่กับความจริงตลอดเวลา เมื่อความจริงตั่งมั่น จะทำให้เห็นโลกและชีวิตเป็นธรรมดา หรือเห็น กาย เวทนา จิต (ชีวิต) ธรรม (โลก) ตามความเป็นจริงจนเป็นปกติวิสัย หรือ เกิดสติปัฏฐาน ขึ้นมาในบุคคล



ใครๆก็รู้ว่าพระบิณฑบาตรเลี้ยงชีพ แต่อยากฟังการอธิบายสัมมาอาชีพในแง่ของพระอริยะมากกว่าว่าการเลี้ยงชีพชอบหมายรวมถึงอะไรบ้าง และมีแนวทางในการดำเนินอย่างไร เพราะมรรค์8สรุปลงในไตรสิกา หรือเรียกว่าศีลของพระอริยะ

.....................................................
ดูก่อu!!!ภิกษุทั้งหลาย!!!คนพาลเขากลัวยากจนจึงไม่รู้จักขวนขวายในการให้ทาน!!!ส่วนบัณฑิตชนเขากลัวยากจนจึงรู้ขวนขวายในการให้ทาน!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สมัยก่อนที่มนุษย์ยังบริสุทธิ์อยู่ เข้าป่าหาข้าวสาลีกินวันต่อวัน ต่อมาเมื่อมนุษย์เกิดความโลภ เริ่มเกิดการกักตุน ข้าวสาสีก็เริ่มขาดแคลน สุดทั้ายเป็นที่มาของการประหัดประหาร เพราะแย่งอาหารกัน เกิดการลงโทษการตัดสินคดีความ จนเกิดรั้วรอบขอบชิดขึ้นมา ฯ

การเก็บอาหารไว้ข้ามคืน เป็นการส่งเสริมความโลภ เป็นไปเพื่อความมักมาก การปรุงอาหารก็เป็นกิจของคฤหัส เป็นอุปสรรค์ขัดขวางมรรคผลนิพพาน การบิณทบาตรนอกจากจะฝึกเรื่องมากมักน้อยแล้ว ยังเป็นเนื้อนาบุญให้ชาวบ้านชาวนิคมได้บำบุญ เติมบุญให้ชาวพุทธทุกๆ เช้าด้วย

๘. ปิณโฑลยสูตร ว่าด้วยเหตุที่ต้องดำรงชีพด้วยบิณฑบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 042&Z=2110

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2011, 09:16
โพสต์: 158

แนวปฏิบัติ: พุธโท
งานอดิเรก: นั่งสมาธิ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรัชญา
ชื่อเล่น: T^^T
อายุ: 23
ที่อยู่: ลำปาง

 ข้อมูลส่วนตัว


มันคนละเรื่องกับที่ผมอยากรู้ Onion_R Onion_R

.....................................................
ดูก่อu!!!ภิกษุทั้งหลาย!!!คนพาลเขากลัวยากจนจึงไม่รู้จักขวนขวายในการให้ทาน!!!ส่วนบัณฑิตชนเขากลัวยากจนจึงรู้ขวนขวายในการให้ทาน!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเป็นปุถุชน ก็มีอาชีพต้องห้ามจริงๆ ๕ อย่าง คือ การค้ามนุษย์ ค้าอาวุธ ค้าเหล้า ค้าเนื้อสัตว์ ค้ายาพิษ

สัมมาอาชีวะ ความหมายก็คือ ดำรงค์ชีพด้วยปัญญา มีชีวิตอยู่ด้วยความรู้เท่าทันว่า สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ ฯ เราประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตน เพื่อเกื้อกูลแก่บริวาร ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 22:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ค้ามนุษย์..นี้พอเข้าใจ

ค้าอาวุธ..ค้ายาพิษ...ค้าเหล้า..ค้าเนื้อสัตว์..มันเป็นอย่างไรหรอถึงทำให้ไปขัดมรรคผลได้..

ลองคิดเล่น ๆ ดูซิ...อย่าได้ถือว่าผิดว่าถูก.. :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด และการโกงด้วยการรับสินบน การหลอกลวงและตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่าการจองจำ การตีชิง การปล้นและกรรโชก ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูนไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๒ เหล่านี้ คือ มีพระทนต์เสมอกัน ๑ และมีพระทาฐะสีขาวงาม ๑ พระมหาบุรุษนั้นสมบูรณ์ด้วยลักษณะทั้ง ๒ นั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับผลข้อนี้ คือ มีบริวารสะอาด บริวารของพระองค์ที่สะอาดนั้นเป็นพราหมณ์และคฤหบดี เป็นชาวนิคม และชาวชนบท เป็นโหราจารย์และมหาอำมาตย์เป็นกองทหาร เป็นนายประตู เป็นอำมาตย์ เป็นบริษัท เป็นเจ้า เป็นเศรษฐีเป็นราชกุมาร ก็ถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้ คือ มีบริวารสะอาดบริวารของพระองค์ที่สะอาดนั้น เป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นอสูร เป็นนาค เป็นคนธรรพ์

ในระดับโลกียะ ก็มีผลต่อชาติต่อไป ทำให้ได้มหาปุริสลักษณะ ๒ คือ มีพระทนต์เสมอกัน ๑ และมีพระทาฐะสีขาวงาม ๑

อ้างคำพูด:
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ การโกงการล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภนี้มิจฉาอาชีวะ ฯ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑ ฯ

[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้นเจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น ฯ

ในระดับโลกุตระ เป็นผลมาจากสัมมาทิฐิ ฯ ทำให้เกิดความพยายามที่จะออกจากมิจฉาอาชีวะ

Quote Tipitaka:
[๑๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ การค้าขายศาตรา ๑ การค้าขายสัตว์ ๑ การค้าขายเนื้อสัตว์ ๑ การค้าขายน้ำเมา ๑ การค้าขายยาพิษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายการค้าขาย ๕ ประการนี้แล อันอุบาสกไม่พึงกระทำ ฯ

กบนอกกะลา เขียน:
ค้ามนุษย์..นี้พอเข้าใจ

ค้าอาวุธ..ค้ายาพิษ...ค้าเหล้า..ค้าเนื้อสัตว์..มันเป็นอย่างไรหรอถึงทำให้ไปขัดมรรคผลได้..

ลองคิดเล่น ๆ ดูซิ...อย่าได้ถือว่าผิดว่าถูก.. :b12: :b12:
รวมๆ ก็เรียกว่า การทำบาป ส่งเสริมให้คนทำบาป ... :b38: มั้งนะ อกุศลกรรมมันบัง ขวาง ชลอ มรรคผลได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร