วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2011, 11:18 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2011, 11:57
โพสต์: 22

แนวปฏิบัติ: ยุบหนอ-พองหนอ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: รัชกาลที่ ๙
ชื่อเล่น: ตอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระอภิธรรมปิฎกได้จัดหลักธรรมเดียวกันรวมเป็นหัวข้อใหญ่ แบ่งออกเป็น
แม่บทฝ่ายอภิธรรม เช่น กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี) - อกุศลธรรม (ธรรมฝ่ายชั่ว)- อัพยากฤตธรรม (ธรรมอย่างกลาง ไม่ใช่ฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว) โลกียธรรม-โลกุตตรธรรม
แม่บทฝ่ายพระสูตร เช่น พาลธรรม - บัณทิตธรรม นาม - รูป สติ - สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว) อวิชชา - ภวตัณหา (ความทะยานอยาก อยากมี อยากเป็น)
จิต คือธรรมชาติในการรู้อารมณ์ ทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รู้สึก รู้รส ทางกาย ทางใจ จิต เกิดขึ้นคราวละดวงเดียวตามความดี ชั่ว อารมณ์ และดับลงได้อย่างรวดเร็วยิ่งกว่าการกระพริบตา เราจึงไม่ทันรู้ตัว แต่การเกิดและดับนี้ ทำให้เรายึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งนี้สิ่งนั้นคือตัวเรา ของเรา จิต แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. จิตกุศล จำแนกตามเป็นภูมิชั้น ๔ แบบ คือ จิตกุศลฝ่ายกามาวจร ท่องเที่ยวไปในกาม ประกอยด้วยความยินดี ญาณ อารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส สำผัส และธรรมะ ๕๖ อย่าง เช่น สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) หิริ (ความละอายต่อบาป) โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อบาป) ฯลฯ เป็นต้น ตอนนี้ เรากำลังพูดเรื่องใน ธรรมสังคณีอยู่ ยังไม่จบ พรุ่งนี้ ยังมีเรื่องต่อไปอีก สาธุ
อ้างอิง
หนังสือ เล่าเรื่อง พระไตรปิฎก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 14:30 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2011, 11:57
โพสต์: 22

แนวปฏิบัติ: ยุบหนอ-พองหนอ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: รัชกาลที่ ๙
ชื่อเล่น: ตอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ) จิตกุศลฝ่ายรูปาวจร ท่องเที่ยวไปในรูปด้วยฌานที่ ๑ ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) ในฌานขั้นต่อๆ มาตัดส่วนประกอบออกไป คือฌานที่ ๒ ไม่มีวิตก ฌานที่ ๓ ไม่มีวิจาร ฌานที่ ๔ ไม่มีปีติ ฌานที่ ๕ ไม่มีสุข และเพิ่มอุเบกขา

จิตกุศลฝ่ายอรูปาวจร ท่องเที่ยวไปในอรูป ประกอบด้วย จิตในอรูปฌานที่ ๑ อากาสานัญจายตนสัญญา จิตในอรูปฌานที่ ๒ วิญญาณัญจายตนสัญญา จิตในอรูปฌานที่ ๓ อากิญจัญญายตนสัญญา จิตในอรูปฌานที่ื ๔ เนวสัญญานาศัญญายตนสัญญา

จิตกุศลฝ่ายโลกุตตระ จิตพ้นจากโลกเนื่องด้วยโสดาปัตติมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค
๒. จิตอกุศล มีประเภทเดียว คือ กามาวจร หรือจิตที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในกามเพราะโลภ มีความยินดีในทิฏฐิ (ความเห็นผิด) มีความคิดประทุษร้าย มีโทสะ มีโทมนัส (ความไม่สบายใจ) ปฏิฆะ (ความขัดใจ) มีโมหะอุเบกขา (ความสงสัย) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๓. จิตที่เป็นกลางๆ ในข้อนี้พระพุทธเจ้าไม่ตรัสพยากรณ์ชี้ลงไปว่าเป็นกุศลหรืออกุศล จึงหมายถึง จิตที่เป็นกลางๆ แบ่งออกเป็นวิบากจิตและกิริยาจิต มีลักษณะคล้ายกัน คือ มีตาทำหน้าที่เห็นรูป หูทำหน้าที่ได้ยินเสียง จมูกทำหน้าที่รับกลิ่น ลิ้นทำหนาที่รับรส กายทำหน้าที่รับความรู้สึก มีใจทำหน้าที่นึกคิด รวมถึงผลกรรมที่ทำไว้ในรูปฌานและในอรูปฌานก็นับเป็นจิตอย่างกลาง หากนับเป็นจำนวนอย่างธรรมดาจิตมี ๘๙ ชนิด อย่างกึ่งละเอียดมี ๑๒๑ ชนิด อย่างละเอียดที่สุดมีนับจำนวนพัน
(มีต่ออีกนะคะ ติดตามด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ :b8: :b8: )


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 18:21 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2011, 11:57
โพสต์: 22

แนวปฏิบัติ: ยุบหนอ-พองหนอ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: รัชกาลที่ ๙
ชื่อเล่น: ตอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออภัยอย่างสูง ที่มิได้เผยแพร่ธรรมเสียนาน เนื่องจากตองมีเวลามากมิพอ งั้นขอต่อกันเลยนะคะ
ธรรมที่เป็นกลางๆ (อัพยากฤตธรรม) ได้แก่ ธรรม ๔ อย่าง คือ วิบาก กิริยา รูป และอสังธาตุ (นิพพาน) ซึ่งวิบากและกิริยานั้นคือ จิตหรือวิญญาณขันธ์ที่เป็นผลและเป็นกิริยาโดยอ้อม รวมถึงเจตสิก เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์อีกด้วย
รูป ได้แก่ มหาภูตรูป (รูปใหญ่) ได้แก่ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และอุปาทายรูป (รูปอาศัย) คือ รูปที่จะปรากฏได้โดยอาศัยธาตุทั้งสี่ ลักษณะของรูปแยกออกได้เป็น ๑๑ หมวด ดังนี้
๑.เอกกะ คือ รูปทุกชนิด มิใช่เหตุและไม่มีเหตุ ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ไม่มีโลภะ อโลภะ โทสะ อโทสะ โมหะ อโมหะ เป็นมูลเหมือนอกุศลหรือกุศล
๒.ทุกะ คือ มีรูปอาศัยกับไม่มีรูปอาศัย (ภูตรูป)
๓.ติกะ คือ รูปที่เป็นไปภายใน รูปที่เป็นไปภายนอก และมิใช่รูปอาศัย
๔.จตุกกะ คือ รูปอาศัยและไม่เป็นรูปอาศัย ทั้งที่ถูกยึดถือและไม่ถูกยึดถือ
๕.ปัญจกะ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และรูปอาศัย
๖. ฉักกะ คือ รูปที่พึงรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
๗.สัตตกะ คือ รูปที่พึงรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ด้วยธาตุคือใจและธาตุรู้ทางใจ
๘.อัฏฐก คือรูปที่พึงรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย มีสัมผัสสุข ทุกข์ ด้วยธาตุคือคือใจ และธาตุรู้ทางใจ
๙.นวกะ คือ อินทรีย์ (ธรรมชาติอันเป็นใหญ่) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย หญิง ชาย ชีวิต และธรรมชาติที่มิใช่อินทรีย์
๑๐.ทสกะ คือ อินทรีย์อันถูกต้องได้และถูกต้องไม่ได้
๑๑.เอากาทสกะ คือ อายตนะ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส รูปที่เห็นไม่ได้ ถูกต้องไม่ได้ เป็นของที่ต้องรู้ได้ด้วยใจ
ความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง ทั้งการกระทำทางกาย วาจา ใจ ธรรมเหล่านี้เรียก ว่ากุศล ส่วนความโลภ ความโกรธ ความหลง ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอกุศล
และวิบาก (ผล) ของธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระที่เป็นภูมิทั้งสี่ กิริยาในภูมิทั้งสาม รูป นิพพาน ธรรม เหล่านี้ชื่อว่าอัพยากฤต
จบแล้วค่ะ สาธุ :b8: :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron