วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




284344_144246425656734_100002141326677_269917_5687635_n.jpg
284344_144246425656734_100002141326677_269917_5687635_n.jpg [ 7.08 KiB | เปิดดู 6460 ครั้ง ]
กลละรูปเคลื่อนลอยตัว พร้อมทั้งแตกตัวจาก ๑ เป็น ๒ เป็น ๔... แล้วมาฝังตัวที่ผนังมดลูก แปรสภาพเป็นอัพพุทะรูป ภาษาชีววิทยา เรียกว่า เอ็มบริโอ (Embryo) หรือ ตัวอ่อน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




185470_145107345570642_100002141326677_273640_3583785_n.jpg
185470_145107345570642_100002141326677_273640_3583785_n.jpg [ 69.21 KiB | เปิดดู 6456 ครั้ง ]
เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๙๕ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ภาพที่ ๑-๕ ดังต่อไปนี้ แสดงการแตกตัวของกลละรูปหลังปฏิสนธิ และเคลื่อนตัวไปที่มดลูกเพื่อฝังตัวที่ผนังมดลูกในวันที่ ๖

๑) แสดงอสุจิเข้าผสมกับไข่ และค่อยๆ แตกตัว เป็นไซโกต ๒ เซลล์
๒) แสดงเอมไบโอแตกตัวเป็น ๔ เซลล์
๓) แสดงการแตกตัวของเซลล์ Morula
๔) แสดงลำดับการแตกตัวหลังอสุจิเข้าผสมกับไข่แล้ว กลายเป็นตัวอ่อนอายุ ๖ วัน แบ่งเป็น ๖ ระยะดังต่อไปนี้
๑ CLEAVGE เริ่มจากไซโกตแบ่งตัวจาก ๑ - ๒ - ๔ - ๘ ... จนกระทั้งเซลล์มาเกาะกันเป็นก้อนกลมๆเรียกก้อนกลมๆนี้ว่า โมรูลา (Morula)
๒ BLASTULA เป็นตัวอ่อนในระยะที่มีการเคลื่อนที่ของเซลล์เพื่อให้ได้ช่องว่างในตัวอ่อนเรียกช่องว่างนี้ว่า BLASTOCOEL และเรียกเซลล์ที่ล้อมช่องว่างว่า BLASTODERM ลักษณะของตัวอ่อนตอนนี้คล้ายผลน้อยหน่า
๓ GASTRULA เป็นตัวอ่อนที่ต่อจากระยะ BLASTULA คือ เซลล์แบ่งตัวแล้วเคลื่อนที่เข้าข้างในเห็นตัวอ่อนเป็นรูปถ้วย ซึ่งดูคล้ายมีผนัง ๒ ชั้น คือ ชั้นนอกและชั้นในและในตอนนี้จะเห็นมีช่องว่าง ๒ ช่อง คือ BLASTOCOEL และ ARCHENTERON ซึ่งช่อง ARCHENTERON ต่อไปจะเจริญไปเป็นทางเดินอาหาร ต่อมาจะเกิดเนื้อเยื่อแทรกระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นใน เนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นใหม่นี้คือเนื้อเยื่อชั้นกลางในตอนท้ายระยะ GASTRULA จะมีการสร้างระบบประสาทขึ้น
๔ DIFFERNTIATION คือขบวนการที่เนื้อเยื่อ ๓ ชั้น คือ ชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นใน เปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้างต่างๆของร่างกาย เนื้อเยื่อ ๓ ชั้นดังนี้
Ectoderm ชั้นนอก
- ผิวหนัง ขน เขา เล็บ เกล็ด กีบเท้าสัตว์
- ระบบประสาท(สมอง,ไขสันหลัง)
- ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และส่วนกลาง
- สารเคลือบฟัน ต่อมน้ำลาย
- ต่อมหมวกไตชั้นใน ต่อมใต้สมองส่วนท้าย
Mesoderm ชั้นกลาง
- ระบบโครงกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ
- ระบบหมุนเวียนโลหิต (หัวใจ เส้นเลือด เลือด ม้าม)
- ระบบขับถ่าย (ไต)
- ระบบสืบพันธุ์ (อัณฑะ รังไข่)
Endoderm ชั้นใน
- ระบบทางเดินอาหาร(หลอดอาหาร,กระเพาะอาหาร,ลำไส้,ตับ,ตับอ่อน)
- ระบบหายใจ (หลอดลม , ปอด)
- ต่อมทอนซิล หูส่วนกลาง ต่อมไทรอยด์
- ต่อมพาราไทรอยด์ อัลแลนตอยด์ ถุงไข่แดง
- กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ
๕) ภาพนี้เป็นภาพตัวอ่อนอายุ ๖ วัน กำลังเริ่มฝังตัวในมดลูกของเพศหญิง

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


แก้ไขล่าสุดโดย ผู้ชายสบายๆ เมื่อ 04 ส.ค. 2011, 08:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ไม่มีการตกแต่งภาพใดๆทั้งสิ้นจร้า...^^
Photo-0024.jpg
Photo-0024.jpg [ 111.46 KiB | เปิดดู 6455 ครั้ง ]
คั่นเวลาด้วยภาพแปลกๆที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันพระที่ผ่านมาสักเล็กน้อย...^^

โดยปกติข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิสวดมนต์ทุกวัน แต่ในวันพระจะปฎิบัติมากกว่าวันปกติเป็นประจำ เมื่อวันพระล่าสุดที่ผ่านมาได้นั่งสวดมนต์ในห้องพระตามปกติเวลาราวๆ 2-3 ทุ่มแล้วก็ออกจากสมาธิเป็นปกติ แต่คราวนี้มองไปที่ผนังในห้องพระปรากฎสิ่งไม่ปกติ (ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยมี แต่วันนั้นตอนที่จะเข้ามาก็ไม่ทันสังเกตเสียด้วย เพียงแต่มั่นใจว่าแต่ก่อนไม่มีแน่นอนเพราะเป็นผนังโล่งๆ) ปรากฎรอยคล้ายๆภาพพระพุทธรูปปางลีลาเกิดขึ้น จึงได้หยิบกล้องมือถือขึ้นมาถ่ายเก็บเอาไว้ เป็นที่ปลาบปลื้มใจจร้า...^^
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2011, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




185555_145604508854259_100002141326677_274911_8009144_n.jpg
185555_145604508854259_100002141326677_274911_8009144_n.jpg [ 55.33 KiB | เปิดดู 6450 ครั้ง ]
เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๙๖ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร

หลังจากกลละรูป เริ่มฝังตัวในผนังมดลูกเมื่ออายุได้ประมาณ ๗ วัน และแปรสภาพเป็นอัพพุทะรูปฝังตัวติดมิดในผนังมดลูกเมื่ออายุได้ ๙ วัน
ภาพ ๑-๒ ต่อไปนี้ แสดงอัพพุทะรูปกำลังฝังตัวอยู่กับผนังของมดลูก ในสัปดาห์ที่ ๒
เมื่ออัพพุทะรูปเจริญเติบโตเข้าสัปดาห์ที่ ๒ จะมีการสร้างรกซึ่งเกิดจากกลุ่มเซลล์ที่อยู่ชั้นนอกของอัพพุทะรูป(เอมบลิโอ) ก็จะมีพัฒนาการร่วมกับ เนื้อเยื่อชั้นในของผนังมดลูก พร้อมกับสร้างถุงน้ำคร่ำขึ้นด้วย (amnion) เพื่อที่จะทำหน้าที่รองรับตัวเด็ก... และมีการสร้างถุงไข่แดง (Yolk sac) ซึ่งจะทำหน้าที่สร้างเลือดให้กับตัวอ่อน (ฉะนั้นเลือดแม่ และเลือดลูกจึงไม่ติดต่อผ่านถึงกัน แม่และลูกเลือดจึงอาจเป็นคนละกลุ่มได้ เช่น แม่เลือดกลุ่ม โอ แต่ลูกเลือดกลุ่ม เอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ gene ที่ลูกได้รับจากพ่อและแม่) ขณะนี้ อัพพุทะรูป(เอมบลิโอ)มีอายุได้ ๒ สัปดาห์ วัดความยาวได้ประมาณ ๑.๕ มิลลิเมตร และมีการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเริ่มแรกขึ้น ๓ ชั้น

ภาพทั้งสองนี้ เป็นก้อนอัพพุทะด้านใน มีการแตกตัวสร้างเนื้อเยื่อชั้นนอก และชั้นในของตัวอ่อน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
ภาพที่ ๑ 1. เยื่อบุของผนังชั้นในมดลูก 2. ผนังมดลูก
3. ผนังมดลูกตอบสนองการฝังตัว 4. อัพพุทะรูป embryo
5. อัพพุทะรูปเป็นแอ่งกลวง 6. แอ่งผนังมดลูก
7. ผนังชั้นนอกสุดที่คอยอนุบาลแอ่งอัพพุทะรูป
...8. อัพพุทะรูปที่สมบูรณ์
ภาพที่ ๒ 1. ส่วนชั้นนอกสุดของอัพพุทะรูปที่จะคอยอนุบาลอัพพุทะรูป
2. ก้อนอัพพุทะรูปชั้นใน
3. เยื่อบุมดลูกแสดงการตอบสนอง(ตำแหน่งของการเริ่มสร้างรก)
4. เยื่อบุภายในของผนังมดลูก 5. ชั้นกล้ามเนื้อผนังมดลูก
6. แอ่งโพลงมดลูก

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2011, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




284595_146509068763803_100002141326677_277197_5079114_n.jpg
284595_146509068763803_100002141326677_277197_5079114_n.jpg [ 88.89 KiB | เปิดดู 6449 ครั้ง ]
เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๙๗ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ภาพ ๑-๔ แสดงอัพพุทะรูปในสัปดาห์ที่ ๒ ฝังตัวในมดลูก

‎1) ภาพที่ ๑ แสดงอัพพุททะรูป ๘-๙ วัน ซึ่งผ่าออกตามขวาง
ก้อนอัพพุทะรูปส่วนภายใน แตกตัวกลายเป็นเยื่อชั้นนอก และชั้นใน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. เยื่อชั้นนอก จะกลายเป็นถุงน้ำคร่ำ 2. เยื่อชั้นนอก
3. แอ่งถุงน้ำคร่ำ 4. เยื่อชั้นใน
2) ภาพที่ ๒ แสดงอัพพุทะรูป ๑๑ วัน
ก้อนอัพพุทะรูปส่วนภายในเจริญเติบโตเป็นเยื่อชั้นนอกและชั้นใน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
... 1. แอ่งที่สร้างถุงน้ำคร่ำ 2. เยื่อชั้นนอกสุดของส่วนอัพพุทะรูปที่พิเศษ
3. เยื่อชั้นนอกส่วนที่เป็นถุงน้ำคร่ำ 4. เยื่อชั้นใน
5. เยื่อชั้นนอกสุด 6. ระยะแรกของถุงไข่แดง(ถุงเล็กๆ สายรกเบื้องต้น)
3) ภาพที่ ๓ แสดงการเริ่มสร้างรก
สายรกคือต้นแบบผลลัพท์ของการเกื้อกูลกันจากแม่และอัพพุทะรูปมีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ตัวปัจจัยสำคัญเกี่ยวเนื่องในการสร้างสายรก 2. ผนังมดลุก
3. เยื่อบุเมือกมดลูกมีการตอบสนอง 4. ก้อนอัพพุทะภายใน
5. แอ่งโพรงมดลูก 6. เยื่อบุภายในผนังมดลูก
7. เยื่อชั้นนอกสุดที่คอยอนุบาลอัพพุทะรูป
4) ภาพที่ ๔ แสดงอัพพุทะรูปฝังตัวเสร็จสมบูรณ์
1. เยื่อชั้นนอกสุดส่วนอนุบาลตัวอ่อน 2. อัพพุทะรูปที่สมบูรณ์ 3. แอ่งมดลูก 4. เยื่อบุเมือกมดลูกมีการตอบสนอง(ตำแหน่งเริ่มสร้างรก)
5. เยื่อบุภายในมดลูก 6. ผนังมดลูก

ในระยะนี้เมื่อมารดากินอาหารเข้าไปภายใน โอชาก็แผ่ซึมซาบเข้าสู่ร่างกายของทารกที่ยังเป็นอัพพุทะรูป หรือเปสิรูปนั้น และโอชานี้ จะแผ่ซึมซาบเข้าไปในร่างกายของทารกนั้น แล้วจึงเข้าไปทำปฏิกิริยาร่วมกับอัชชัตตโอชามี “กัมมชโอชา” และ “อุตุชโอชา” ให้กลายสภาพเป็นอาหารชรูปเกิดขึ้นแก่ทารกเป็นครั้งแรก
พระพุทธดำรัสว่า อพฺพุทา ชายเต เปสิ
ต่อจากอัพพุทะรูปกลายสภาพเป็นเปสิรูป คือชิ้นเนื้ออ่อนๆ เหลวๆ สีแดง
อรรถกถาขยายความ ว่า อพฺพุทา ชายเต เปสีติ ตสฺมาปิ อพฺพุทา สตฺตาหจฺจเยน วิลีน-
ติปุสทิสา เปสิ นาม สญฺชายติฯ สา มริจผาณิเตน ทีเปตพฺพาฯ คามทาริกา หิ สุปกฺกานิ มริจานิ คเหตฺวา สาฏกนฺเต ภณฺฑิกํ กตฺวา ปีเฬตฺวา มณฺฑํ อาทาย กปาเล ปกฺขิปิตฺวา อาตเป
ฐเปนฺติ, ตํ สุกฺขมานํ สพฺพภาเคหิ มุจฺจติฯ เอวรูปา เปสิ โหติ, อพฺพุทนฺติ นามํ อนฺตรธายติฯ วุตฺตมฺปิ เจตํ—
“สตฺตาหํ อพฺพุทํ โหติ ปริปกฺกํ สมูหตํ
วิวฏฺฏมานํ ตพฺภาวํ เปสิ นาม ปชายตี”ติฯ
บาทพระคาถาว่า “อพฺพุทา ชายเต เปสิ” หมายความว่า สัปดาห์ที่ ๓ สัตว์ที่เกิดในครรภ์ จากสภาพอัพพุทะรูปนั้น กลายสภาพเป็น “เปสิรูป” มีสีไม่แดง จะขาวหม่นเหนียวข้นๆ มีสีและสัณฐานคล้ายดีบุก เมื่อจะอุปมา เปสิรูปนั้น คล้ายเม็ดพริกไทยและกากน้ำอ้อย ก็พวกเด็กชาวบ้านเก็บเม็ดพริกไทยที่สุกดี ห่อที่ชายผ้า ขยำเอาแก่นพริกไทยจนแห้ง ใส่ชามกระเบื้องวางตากแดด เม็ดพริกไทยนั้นจะแห้ง ไม่เกาะเปลือก กลายเป็นก้อนล่อนออกหมด อยู่ในชามกระเบื้อง เปสิรูปมีรูปลักษณะอย่างนั้น สภาพอัพพุทะหายไป สรุปเป็นคาถาว่า
มีสภาพเป็น อัพพุทะรูป อยู่จนครบ ๗ วัน ถึงความแก่ตัว รวมตัวแปรสภาพ
จากอัพพุทะรูปนั้น กลายเป็นเปสิรูป
ในสัปดาห์ที่ ๓ นี้ อัพพุทะรูปเจริญเติบโตกลายรูปเป็นเปสิรูป ซึ่งมีการเจริญของเนื้อเยื่อคัพภะ (ตัวอ่อน) ๓ ชั้น จากเนื้อเยื่อที่อยู่ที่ผิวของถุงน้ำคร่ำด้านที่ติดอยู่กับถุงไข่แดง (embryonic disc) ไปเป็นเนื้อเยื่อชั้น ectoderm mesoderm entoderm ดังแสดงในตอนต้นแล้ว ซึ่งต่อมาเนื้อเยื่อทั้ง ๓ ชนิดนี้จะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น เนื้อเยื่อประสาท (ทำให้เกิดสมอง ไขสันหลัง ในเวลาต่อมา กระดูก กล้ามเนื้อ เลือด เป็นต้น ตัวอ่อนในระยะนี้ จะมีลักษณะเป็นปล้องๆ (somite)

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2011, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




282470_147012498713460_100002141326677_278106_3568581_n.jpg
282470_147012498713460_100002141326677_278106_3568581_n.jpg [ 69.15 KiB | เปิดดู 6443 ครั้ง ]
เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๙๘ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ภาพ ๑-๔ แสดงเปสิรูป หลังจากปฏิสนธิแล้วประมาณ ๒ สัปดาห์ครื่ง มีสมองปรากฏ พอครบ ๓ สัปดาห์สามารถแยกแยะอวัยวะของสมองหลักๆ ได้

ภาพที่ ๑ แสดงเปสิรูปในสัปดาห์ที่ ๓ มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. สมองส่วนกลาง(midbrain) 2. สมองส่วนหน้า (forebrain)
3. สมองส่วนหลัง (hindbrain) 4. ปล้องสันหลัง(somites)
ภาพที่ ๒ แสดงภาพด้านซ้ายของเปสิรูปในสัปดาห์ที่ ๓ มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ถุงน้ำคร่ำ(amnion) 2. ส่วนที่เป็นศีรษะของเปสิรูป
... 3. ถุงไข่แดง(yolk sac) 4. เปสิรูปที่สมบูรณ์
5. แอ่งที่เป็นส่วนถุงน้ำคร่ำ 6. ส่วนหาง
7. สายสะดือ (umbilical cord)
ภาพที่ ๓ แสดงเปสิรูปในสัปดาห์ที่ ๓ มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ถุงน้ำคร่ำ(amnion) 2. ถุงไข่แดง(yolk sac)
3. ตัวเปสิรูป (embryo) 4. แอ่งที่เป็นส่วนถุงน้ำคร่ำ
ภาพที่ ๔ แสดงเปสิรูปในสัปดาห์ที่ ๓ มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ถุงน้ำคร่ำ(amnion) 2. แอ่งที่เป็นส่วนถุงน้ำคร่ำ
3. สายสะดือ (umbilical cord) 4. เยื่อหุ้มทารก (allantois)
5. ถุงไข่แดง(yolk sac)

ประมาณ 3 สัปดาห์ สมองจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง สมองส่วนหลัง ยังมีการพัฒนาของระบบหายใจ และระบบย่อยอาหาร ก็เช่นกัน

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2011, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ภาพที่ ๑ แสดงฆนะรูป ๔ สัปดาห์ มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. สมอง 2. โพรงร่างกาย
3. ปล้องสันหลัง 4. หาง
ภาพที่ ๒ แสดงการงุ้มตัวของฆนะรูป มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. รากฐานของสายสะดือ 2. สมองส่วนหลัง
3. สมองส่วนกลาง 4. สมองส่วนหน้า
5. ตำแหน่งที่จะกลายเป็นปากในอนาคต
6. หัวใจ 7. ถุงไข่แดง
ภาพที่ ๓ แสดงหัวใจรูปทรงกระบอก มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ส่วนที่มีการไหลออก 2. ห้องหัวใจด้านล่างขวา
3. ห้องหัวใจด้านล่างซ้าย 4. ส่วนที่มีการไหลเข้า
ภาพที่ ๔ แสดงหัวใจพับตัว มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ห้องล่างหัวใจขวา 2. ตำแหน่งระบบหมุนเวียน
3. ห้องล่างหัวใจซ้าย 4. แอ่ง Atrio ของห้องหัวใจ(จะได้รับเลือดเข้ามา
จาก Atrio)

224467_147480668666643_100002141326677_279451_6370618_n.jpg
224467_147480668666643_100002141326677_279451_6370618_n.jpg [ 87.17 KiB | เปิดดู 6426 ครั้ง ]
เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๙๙ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
พระพุทธดำรัสว่า เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโน
ต่อจากเปสิรูปก็เป็นฆนะรูป คือก้อนแข็งสัณฐานคล้ายไข่ไก่ อรรถกถาขยายความ ว่า เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโนติ ตโต เปสิโต สตฺตาหจฺจเยน กุกฺกุฏณฺฑ-
สณฺฐาโน ฆโน นาม มํสปิณฺโฑ นิพฺพตฺตติ, เปสีติ นามํ
อนฺตรธายติ ฯ วุตฺตมฺปิ เจตํ—
“สตฺตาหํ เปสิ ภวติ ปริปกฺกํ สมูหตํ
วิวฏฺฏมานํ ตพฺภาวํ ฆโนติ นาม ชายติฯ
...ยถา กุกฺกุฏิยา อณฺฑํ สมนฺตา ปริมณฺฑลํ
เอวํ ฆนสฺส สณฺฐานํ นิพฺพตฺตํ กมฺมปจฺจยา”ติฯ
บาทพระคาถาว่า “เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโน” หมายความว่า สัปดาห์ที่ ๔ สัตว์ที่เกิดในครรภ์ จากสภาพเปสิรูปนั้น กลายสภาพเป็นก้อนเนื้อ ชื่อว่า “ฆนะรูป” มีสัณฐานเหมือนฟองไข่ไก่ สภาพเปสิรูปหายไป สรุปเป็นคาถาว่า :-
มีสภาพเป็น เปสิรูป อยู่จนครบ ๗ วัน ถึงความแก่ตัว รวมตัวแปร
สภาพจากเปสิรูปนั้น กลายสภาพเป็นก้อนเนื้อ ชื่อว่า ฆนะรูป รูปทรง
สัณฐานฟองไข่ของแม่ไก่ คลุมรอบมิดชิดเป็นแบบไหน รูปทรงสัณฐานของฆนะรูป ก็เป็นอย่างเดียวกัน รูปทรงสัณฐานของฆนะรูปนั้น เกิดเพราะกรรมเป็นเหตุ คือชนิดคัพภเสยยกกำเนิดของรูปธรรม
ในสัปดาห์ที่ ๔ นี้ จากสภาพเปสิรูป เจริญเติบโตกลายเป็น ฆนะรูป ก้อนเนื้อ จะปรากฏหลอดเลือดจากตัวอ่อน (ซึ่งจะเป็นเส้นเลือดในสายสะดือเด็ก) ไปยังเนื้อเยื่อที่ฝังอยู่ในมดลูก ซึ่งจะแตกกิ่งก้านสาขามากมาย (ในรก) เพื่อทำหน้าที่นำสารอาหาร และออกซิเจนจากเลือดของแม่ (ที่มดลูก) แพร่ผ่านเข้าสู่เลือดของลูกในรก สายสะดือ และตัวเด็ก รูปภาพ ๑-๔ ต่อไปนี้แสดงรูปร่างฆนะรูป และการสร้างห้องหัวใจ จากอินเตอร์เน็ต

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


แก้ไขล่าสุดโดย ผู้ชายสบายๆ เมื่อ 09 ส.ค. 2011, 11:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2011, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ภาพที่ ๑ แสดงอวัยวะในระบบย่อยอาหาร ของฆนะรูปสัปดาห์ที่ ๔ มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. สมองส่วนหลัง 2. เส้นประสาทไขสันหลัง
3. ทางเดินอาหารส่วนบน 4. หัวใจ
5. ทางเดินอาหารส่วนลำไส้เล็ก 6. สมองส่วนกลาง
7. สมองส่วนหน้า 8. ตำแหน่งของปากในอนาคต
...9. ผนังทรวงอก 10. ถุงไข่แดง
11.ส่วนท้ายของทางเดินอาหาร(ลำไส้ใหญ่)
ภาพที่ ๒ แสดงระบบย่อยภายใน ของฆนะรูปสัปดาห์ที่ ๔ มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. สมองส่วนหลัง 2. หัวใจ
3. เส้นประสาทไขสันหลัง 4. ทางเดินอาหารส่วนบน
5. กระเพาะ 6. สมองส่วนกลาง
7. สมองส่วนหน้า 8. ผนังทรวงอก
9. ถุงไข่แดง 10. ลำไส้ใหญ่
ภาพที่ ๓ แสดงร่างกาย การจัดวางอวัยวะ และปุ่มของฆนะรูปเริ่มงอกสัปดาห์ที่ ๔ มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. สมองส่วนกลาง 2. สมองส่วนหน้า
3. สายสะดือ 4. สมองส่วนหลัง
5. คอ 6. หัวใจ
7. ตา แขน ขา ด้านซ้ายบนดูเพิ่มเติม

185574_148368501911193_100002141326677_282640_7942422_n.jpg
185574_148368501911193_100002141326677_282640_7942422_n.jpg [ 35.5 KiB | เปิดดู 6426 ครั้ง ]
เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๐๐ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
เมื่อเซลล์เม็ดเลือด เซลล์แรก ผลิตขึ้นในถุงไข่แดง หลอดเลือดจะส่งผ่านเซลล์เม็ดเลือดไปยังตัวอ่อน หลอดเลือดสำหรับหล่อเลี้ยงหัวใจจะปรากฏขึ้น ขณะเดียวกันห้องหัวใจเริ่มพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถทำให้เรารู้สึกได้ เพราะฆนะรูปเติบโตอย่างรวดเร็ว เร่งเร้าให้ระบบไหลเวียนโลหิตเร็วขึ้นอวัยวะขยายตัวและพับตัวขึ้น แบ่งเป็นห้องต่างๆ เพื่อความอยู่รอดและเจริญเติบโต วันที่ ๒๒ หลังจากปฏิสนธิ หัวใจเริ่มเต้น
conotruncus แสดงถึงระบบไหลเวียนโลหิตของหัวใจ ซึ่งมีโลหิตไหล...เวียนออก นี้จัดเป็นขบวนการพัฒนาทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่ เมื่อการไหลเวียนเข้าของหัวใจสิ้นสุดลง conotruncus จะกลายเป็นตำแหน่งที่ใกล้ชิดกับศีรษะ ทำให้เห็นฆนะรูปเป็นทารกในครรภ์ ปรากฏให้เห็นรูปร่างทรงกระบอก ซึ่งจะเริ่มงองุ้มตัวคล้ายถ้วย ในปลายสัปดาห์ที่ ๔ และเริ่มมีปุ่มๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีศีรษะเกิดขึ้นก่อน

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2011, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๐๑ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ในสัปดาห์ที่ ๔ นี้ ฆนะรูปแช่จมอยู่ในของเหลว ซึ่งเรียกว่า น้ำคร่ำ จะลอยตัวอยู่ในถุงที่เรียกว่า ถุงน้ำคร่ำ ส่วนน้ำคร่ำนี้จะปราศจากเชื้อโรค และทำหน้าที่ปกป้องทารก จากการกระทบกระเทือนในระยะนี้หัวใจเต้นอย่างสม่ำเสมอ ๑๑๓ ครั้งต่อนาทีโดยประมาณ จะสังเกตเห็น หัวใจเปลี่ยนสี เมื่อโลหิตไหลเวียนเข้าและออกจากห้องหัวใจ จะมีการไหลเวียนของโลหิตในแต่ละรอบ ซึ่งหัวใจต้องเต้นเพื่อสูบฉีดโลหิตเฉลี่ยได้ ๕๔ ล้านครั้ง ขณะอยู่ในครรภ์มารดาก่อน...คลอดออกมา และเมื่อเทียบกับการเต้นของหัวใจ จะมีค่าเฉลี่ยมากกว่าคนชราอายุ ๘๐ ปี ได้ถึง ๓.๒ พันล้านครั้ง

พระพุทธดำรัส ว่า ฆนา ปสาขา ชายนฺติ
ต่อจากฆนะรูปกลายรูปเป็นปสาขารูปนี้แตกออกเป็น
๕ ปุ่ม
อรรถกถาขยายความ ว่า ฆนา ปสาขา ชายนฺตีติ ปญฺจเม สตฺตาเห ทฺวินฺนํ
หตฺถปาทานํ สีสสฺส จตฺถาย ปญฺจ ปืฬกา ชายนฺติ, ยํ สนฺธาเยตํ วุตฺตํ “ปญฺจเม, ภิกฺขเว, สตฺตาเห ปญฺจ ปีฬกา สณฺฐหนฺติ กมฺมโต”ฯ
บทว่า ฆนา ปสาขา ชายนฺติ ความว่า ในสัปดาห์ที่ ๕ เกิดปุ่มขึ้น ๕ แห่ง เพื่อเป็นมือและเท้าอย่างละ ๒ และเป็นศีรษะ ๑ มีคำที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสัปดาห์ที่ ๕ ปุ่มตั้งขึ้น ๕ แห่ง ตามกรรม

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


แก้ไขล่าสุดโดย ผู้ชายสบายๆ เมื่อ 12 ส.ค. 2011, 19:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2011, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




198635_150290798385630_100002141326677_288472_3173347_n.jpg
198635_150290798385630_100002141326677_288472_3173347_n.jpg [ 74.89 KiB | เปิดดู 6417 ครั้ง ]
เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๐๒ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร

ภาพที่ ๑ แสดงปุ่มแขน ขา ท่อนบน ของปสาขารูป ในระยะสัปดาห์ที่ ๕ คือ อายุ ๔ สัปดาห์ ๔ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ผนังมดลูก 2. ตับ
3. เรื้อรก 4. ถุงน้ำคร่ำ
5. ลำตัว 6. ตา แขน ขา ด้านขวาบน
ภาพที่ ๒ แสดง ส่วนหัว และหัวใจ ของปสาขารูป อายุ ๔ สัปดาห์ ๔ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
...1. สมองส่วนกลาง 2. สมองส่วนหน้า
3. ผนังทรวงอก 4. ตำแหน่งปากจะแยกออกในอนาคต
5. หัวใจ 6. คอหอยส่วนที่ ๑ (ช่วงขากรรไกล่าง)

ภาพที่ ๓ แสดงระบบประสาทส่วนกลางของปสาขารูป อายุ ๔ สัปดาห์ ๔ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ระบบเส้นประสาทภายในสมอง 2. ปุ่มแขนขาด้านขวาบน
3. เส้นประสาทหลอมตัวพับเข้าในไขสันหลัง
ภาพที่ ๔ แสดง สมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง ของปสาขารูป อายุ ๔ สัปดาห์ ๔ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ห้องหัวใจล่างห้องที่ ๔ 2. โค้ง pontine
3. สมองส่วนล่าง 4. ถุงสมอง ๒ ใบที่อยู่ส่วนหน้า
5. สมองส่วนกลาง 6. โค้ง สมองส่วนกลาง
7. ด้านหลังสมองส่วนหน้า 8. สมองซีกซ้าย
9. เส้นใยปลายสุด 10. ส่วนท้ายของสมองส่วนหลัง
11. แอ่งโค้ง(ทางแยกสมองกระดูกสันหลัง)
12. pons 13. เส้นประสาทไขสันหลัง
14. หัวใจ 15. สายสะดือ
16. ข้อมือด้านขวา 17. มือขวา
18. สมองซีกขวา 19. ตับ
ภาพที่ ๕ แสดงการพัฒนาเป็นสมองและใบหน้าระยะแรก มีอายุ ๔ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. สมองส่วนกลาง 2. สมองส่วนหลัง
3. ช่องหูขวา 4. สมองส่วนหน้า
5. ตาขวา 6. ผนังทรวงอก
7. หัวใจ 8. โค้งแรกคอหอย
9. หลอดเลือดดำหลักด้านหน้าขวา 10. ส่วนที่เกี่ยวกับระบบประสาท
ภาพที่ ๖ แสดงปุ่มแขนขาส่วนบนและส่วนล่าง มีอายุ ๔ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. แขนบนขวา 2. กระดูกสันหลัง
3. ปุ่มแขนขาด้านขวาล่าง กับหลอดเลือดดำด้านข้าง
4. ปลายของกระดูกสันหลังช่วงล่าง 5. เส้นเลือดดำภายในสายรก
หลังจากปฏิสนธิได้เจริญเติบโตถึง ๔ สัปดาห์แล้ว จึงเกิดปุ่มแขนขาครั้งแรก ค่อยๆ งอกจนก่อให้เกิดนิ้วมือและเท้า ศอ เข่า แขน ขา ได้อย่างสมบูรณ์ จนครบต่อไปอีก ๓ ถึง ๔ สัปดาห์

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๐๓ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
ในสัปดาห์ที่ ๕ นี้ ปสาขารูปจะลอยตัวอยู่ในถุงน้ำคร่ำ อีกทั้งมีการสร้างเม็ดเลือดๆ นี้ เริ่มสร้างจากตับ นอกจากถุงไข่แดงแล้วรูปร่างของปสาขารูป ในระยะนี้เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ ๔ เพียงเล็กน้อย ปุ่มที่จะเจริญเป็นศีรษะ แขน และขา เริ่มชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะปุ่มศีรษะนั้นจะเจริญมากกว่าส่วนอื่น

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


แก้ไขล่าสุดโดย ผู้ชายสบายๆ เมื่อ 19 ส.ค. 2011, 15:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




295438_151624304918946_100002141326677_292652_6385932_n.jpg
295438_151624304918946_100002141326677_292652_6385932_n.jpg [ 93.74 KiB | เปิดดู 6404 ครั้ง ]
ภาพที่ ๑ แสดงอวัยวะส่วนศีรษะและหัวใจ มีอายุ ๕ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. สายสะดือ 2. สมองใหญ่ด้านซ้ายส่วนหนึ่งภายในสมอง
3. ตาข้างซ้าย 4. หัวใจ
5. ตับ
อีกไม่นานนัก ตาทั้งคู่จะไม่อยู่เพียงด้านข้างใบหน้า ตามที่เห็นอยู่อย่างนี้
... ภาพที่ ๒ แสดงอวัยวะส่วนตับ สายสดือ และฝ่าเท้าซ้าย มีอายุ ๕ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หาง(ก้นกบ) 2. สมอง
3. หัวใจ 4. แผ่นมือข้างซ้าย
5. ตับ 6. สายสะดือ
7. ฝ่าเท้าซ้าย
โครงสร้างเท้าซ้ายจะไม่คงสัดส่วนนี้ไว้นานนัก เท้านี้ก็จะค่อยๆ งอกนิ้วเท้าออกมาตามตำแหน่งของมันจนครบสมบูรณ์ราวสองสัปดาห์
ภาพที่ ๓ แสดงอวัยวะสำคัญต่างๆ มีอายุ ๕ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. สายสะดือ 2. สมอง
3. หัวใจ 4. ตับ
5. แผ่นมือข้างซ้าย 6. เส้นหลอดโลหิดดำ
ภาพที่ ๔ แสดถุงไข่แดง มีอายุ ๕ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ถุงไข่แดง 2. ท่อไข่แดง
ถุงไข่แดงไม่มีไข่แดงแล้วก็ตาม ถุงนี้ยังทำหน้าที่ดูดซึมของเหลวรอบตัวถุงซึ่งเป็นโอชารูป(สารอาหาร)จากแม่ในช่วงแรกตั้งครรภ์นี้ต่อไป เพื่อส่งผ่านโอชารูป(สารอาหาร)ไปยังปสาขารูป... ขอบคุณครับแม่!

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๐๔ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร

พระพุทธดำรัส ว่า เกสา โลมา นขาปิ จ
และต่อจากนั้นในระหว่างสัปดาห์ที่ ๖-๗ ถึงสัปดาห์ที่ ๔๒ อวัยวะ คือ ผมบ้าง ขนบ้าง เล็บบ้าง งอกปรากฏอรรถกถาขยายความ ว่า ตสฺมึ ปสาขกาเลปิ ฯ อิโต ปรํ ฉฏฺฐสตฺตมาทีนิ สตฺตาหานิ อติกฺกมฺม เทสนํ สงฺขิปิตฺวา ทฺวาจตฺตาลีเส สตฺตาเห ปริณตกาเล เกสโลมนขาทีนํ อุปฺปตฺติกาลญฺจฯ ตตฺถ เกสา โลมา นขาปิ จาติ ทฺวาจตฺตาลีเส สตฺตาเห เอตานิ ชายนฺติฯ
แม้ในกาลปสา...ขารูป เป็นปุ่ม ๕ ปุ่มนั้น มีลำดับต่อมา พระพุทธองค์ทรงย่อเทศนา ข้ามสัปดาห์ที่ ๖ ที่ ๗ เป็นต้นไปเสีย ในช่วงเวลามารดาท้องแก่ได้ ๔๒ สัปดาห์ เป็นช่วงระยะที่ผม, ขนและเล็บเป็นต้นเกิด ในบาทพระคาถาว่า เกสา โลมา นขาปิ จ นั้น หมายถึง ในช่วงระยะตลอด ๔๒ สัปดาห์ อวัยวะเหล่านี้คือ ผมบ้าง ขนบ้าง เล็บบ้าง ค่อยๆ เกิดขึ้น
สัปดาห์ที่ ๖ ทารกหน้าคว่ำ มากขึ้น แขน ขา เริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ใบหน้าเห็นชัดเจนขึ้น เห็นศีรษะ แขน และขา ชัดเจนขึ้น
หัวใจมองเห็นเป็นก้อนใหญ่อยู่ที่ส่วนหน้าของหน้าอก โดยจะเริ่มเต้นเป็นจังหวะให้เห็น เส้นเลือดเริ่มทำงานแล้ว


พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




292051_152140761533967_100002141326677_293869_3766196_n.jpg
292051_152140761533967_100002141326677_293869_3766196_n.jpg [ 77.84 KiB | เปิดดู 6404 ครั้ง ]
ภาพที่ ๑ แสดงแบบจำลองสมอง มีอายุ ๖ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. สมองส่วนกลาง 2. ส่วนหลังของสมองส่วนหน้า
3. สมองส่วนปลาย 4. ส่วนหน้าของถุงสมองสองถุง
5. เส้นประสาทไขสันหลัง
สมองซีกแรก เริ่มปรากฏประมาณ ๔ สัปดาห์ครึ่ง หลังจากปฏิสนธิแล้ว
... ภาพที่ ๒ แสดงสายสะดือ มีอายุ ๖ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หลอดเลือดดำสายสะดือ 2. ฐานของสายสะดือ
3. ผนังหน้าท้อง 4. ขนดลำไส้
5. ตับ
ขนดลำไส้ย้ายตำแหน่งชั่วคราวจากช่องท้องเข้าไปแออัดในสายสะดือ ขบวนการนี้ ปกติจะเรียกว่า ไส้เลื่อนทางสรีระวิทยา, นี้เป็นการเพิ่มพื้นที่เป็นห้องชั่วคราว เพื่อให้ตับและอวัยวะส่วนอื่นๆ ได้อยู่พักในการเจริญเติบโต
ภาพที่ ๓ แสดงสายสะดือกับถุงน้ำคร่ำ มีอายุ ๖ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ถุงน้ำคร่ำ 2. หลอดเลือดแดงสายสะดือ
3. เรื้อรก 4. หลอดเลือดดำสายสะดือ
สายสะดือ ทะลุผ่านถุ่งน้ำคร่ำ เชื่อต่อกับรกภายในสายสะดือ ซึ่งสายสะดือมีหลอดเลือดดำใหญ่กว่าหลอดเลือดแดง ทำให้เห็นความสว่างของสี เพราะเลือดมีการส่งผ่านออกซิเจนได้มากขึ้น
ภาพที่ ๔ แสดงมือซ้าย กับ อวัยวะส่วนสำคัญๆ มีอายุ ๖ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หน้าผาก 2. สันจมูก
3. หัวใจ 4. ตับ
5. ช่องว่างเส้นเลือดดำ 6. ส่วนแยก
7. ตาซ้าย 8. ข้อมือซ้าย
9. มือซ้าย 10. นิ้วมือ
ขบวนแตกแยกแฉกนิ้วยาวออกไป เฉพาะๆ นิ้วนั้นๆ ซึ่งเริ่มเป็นปุ่มนิ้วงอกออกมา ซึ่งสามารถทำเป็นแบบแผนเซลล์ที่ตายแล้วบางส่วน นี้เป็นขบวนการของเซลล์ เรียกว่า เซลล์ตาย
ภาพที่ ๕ แสดงศีรษะกับมือซ้าย มีอายุ ๖ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ขบวนการแยกแตกแขนงนิ้ว 2. เส้นเลือดแดงสายสะดือ
3. สมอง 4. เส้นเลือดดำสายสะดือ
5. ตาซ้าย 6. ใบหู
7. แขนงนิ้ว 8. ข้อมือข้างซ้าย
ตำแหน่งที่เห็นเป็นแฉกนิ้วที่มีโครงสร้างเรียวยาว ๕ นิ้ว ในมือข้างซ้าย แต่ละนิ้วมือมีข้อกระดูกงอกขึ้นมากลายเป็นนิ้ว
ภาพที่ ๖ แสดงเท้า กับปลายนิ้วเท้า มีอายุ ๖ สัปดาห์ ๖ วัน มีอธิบายส่วนต่างๆ ดังนี้
1. เท้าซ้าย 2. แฉกนิ้ว
3. ขบวนการแยกแตกแขนง 4. ตุ่มอวัยวะเพศ
5. เท้าขวา
เท้าและนิ้วเท้ามีพัฒนาการ หลังจากมือและนิ้วมือพัฒนาไปแล้ว ๒-๓ วัน, ขบวนการ แยกแตกแขนง(Notching)ของปลายนิ้วเท้ากำลังเป็นไปอยู่

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2011, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง พวกเรามารู้จักพระพุทธเจ้ากันเถอะ! (ต่อครั้งที่แล้ว) ตอนที่ ๑๐๕ คุณสมบัติ อรหํ (อ่านว่า “อะระหัง”)
เจริญพร
พระพุทธดำรัสว่า “ยญฺจสฺส ภุญฺชตี มาตา อนฺนํ ปานญฺจ โภชนํ
เตน โส ตตฺถ ยาเปติ มาตุกุจฺฉิคโต นโร” มารดาของเด็กนั้น บริโภคโภชนะสิ่งใดๆ ทั้งข้าว ทั้งน้ำเครื่องดื่มก็ตาม เด็กที่เกิดผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น มีสายรก ที่สะดือติดเนื่องกับพื้นแผ่นท้อง ของมารดา ส่งผ่านอาหารนี้ หล่อเลี้ยงอัตตภาพ ให้เป็นไปอยู่ในครรภ์มารดาได้
อรรถกถาขยายความ ว่า เตน ...โส ตตฺถ ยาเปตีติ ตสฺส หิ นาภิโต อุฏฺฐิโต นาโฬ มาตุ อุทรปฏเลน เอกาพทฺโธ โหติ, โส อุปฺปลทณฺฑโก วิย ฉิทฺโท, เตน อาหารรโส สํสริตฺวา อาหารสมุฏฺฐานรูปํ สมุฏฺฐาเปติ ฯ เอวํ โส ทส มาเส ยาเปติ ฯ มาตุกุจฺฉิคโต นโรติ มาตุยา ติโรกุจฺฉิคโต, กุจฺฉิยา อพฺภนฺตรคโตติ อตฺโถฯ
บทว่า เตน โส ตตฺถ ยาเปติ ความว่า จริงอยู่ สายรกที่เกิดตรงนาภีสะดือของทารกนั้น จะติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับพื้นแผ่นอุทรของมารดา สายรกนั้น เป็นรูคล้ายก้านบัว โอชาสารอาหารจะซึมผ่านไปตามสายรก ทำให้อาหารชรูปเกิดขึ้น ทารกนั้น จึงมีสายรกนั้น เป็นตัวส่งผ่านอาหารไปหล่อเลี้ยงตลอด ๑๐ เดือน เมื่อมารดาบริโภคอาหารใดเข้าไป ทารกนั้นก็จะได้รับสารอาหารนั้นด้วยอาการอย่างนี้
สัปดาห์ที่ ๖ ตัวอ่อนหน้าคว่ำ มากขึ้น แขน ขา เริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ใบหน้าเห็นชัดเจนขึ้น เห็นศีรษะ แขน และขา ชัดเจนขึ้น

หัวใจมองเห็นเป็นก้อนใหญ่อยู่ที่ส่วนหน้าของหน้าอก โดยจะเริ่มเต้นเป็นจังหวะให้เห็น เส้นเลือดเริ่มทำงานแล้วดูเพิ่มเติม

พระมหาธีระยุทธ ปราชญ์นิวัฒน์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร