วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2011, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างเช่น ศึกษาปฏิปทาของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
ท่านปฏิบัติกันอย่างยิ่งยวดเพื่อให้ได้ธรรม

ความเพียรที่น้อยไป คือ กามสุขขลิกานุโยค
และความเพียรที่หนักไป คือ อัตกิลมถานุโยค ใช่หรือเปล่าคะ

อย่างกรณีเป็นฆราวาส ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตื่นเช้าผิดปกติจากสังคมทั่วไป เช่น ตีสองครึ่ง ตีสาม ตีสี่ (โดยไม่ได้มีความจำเป็นเรื่องอาชีพ เป็นความสมัครใจของเจ้าตัวที่จะตื่นเองเพื่อไม่ให้ติดนิสัยนอนเยอะ)
ก็จะมีคนท้วงว่า สุดโต่ง ทรมานตน
แต่เจ้าตัวกลับคิดว่า มันยังน้อยไปด้วยซ้ำ เพราะมันก็ไม่ได้ทำให้ทรมานอะไร ไม่ได้ง่วงเหงาจนทำงานไมไ่ด้ซะหน่อย และทำไมต้องไปเชื่อฟังสังคมที่เขานิยมด้วย (เช่น สังคมชอบการนอนดึกๆและตื่นสายๆ)

แล้วความเพียรที่พอดีมันขนาดไหนได้หรือคะ สำหรับคนที่แสวงหาธรรม ไม่ใช่ปฏิบัติธรรมเืพื่อพักผ่อนหย่อนใจยามว่างเฉยๆอ่ะค่ะ อยากได้ธรรมมันก็ควรเอาชี่วิตเข้าแลกเลยไม่ใช่หรอคะ

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:


ความเพียรที่น้อยไป คือ กามสุขขลิกานุโยค

และความเพียรที่หนักไป คือ อัตกิลมถานุโยค ใช่หรือเปล่าคะ

แล้วความเพียรที่พอดีมันขนาดไหนได้หรือคะ



ความหมายของศัพท์เหล่านี้ คือ

กามสุขขลิกานุโยค

อัตกิลมถานุโยค

ความเพียรที่พอดี (มัชฌิมาปฎิปทา)

คุณ hanako ควรรู้ควรดูที่มาเดิมของเค้าครับ คิดเองเออเองอย่างนั้นไม่ได้ อย่างนั้นก็ต่างคนต่างคิดอย่างที่เห็นทั่วๆไปครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณตะเกียงแก้วคะ :b16: :b9:

แล้วแบบไหนคุณกรัชกายแนะนำเพิ่มเติมหน่อยสิคะ แหะๆ :b9:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตแสดงความเห็นซักนิดครับ
Hanako เขียน:
ความเพียรที่น้อยไป คือ กามสุขขลิกานุโยค

ในความเห็นผม เพียรน้อยไปไม่น่าใช่กามสุขัลลิกานุโยค
กามสุขัลลิกานุโยค หมายถึง การประกอบในกิจที่สนับสนุนให้ตนเองมีความสบายด้วยวัตถุหรืออารมณ์อันน่าใคร่น่าปรารถนา หมายถึงทำการทุกสิ่งอย่างให้มีความสุขสบาย เพื่อที่จะได้เบื่อหน่ายต่อสิ่งเหล่านั้น ในสมัยเมื่อ ๒๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว เป็นที่นิยมมากเหมือนกัน ถึงกับทรงมีตำหนิไว้ในพระเทศนาธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร

อ้างคำพูด:
และความเพียรที่หนักไป คือ อัตกิลมถานุโยค ใช่หรือเปล่าคะ

ข้อนี้ก็คล้ายกับข้อแรก แต่ในมุมกลับกัน คือสิ่งไหนมีอยู่ให้ตนเองสบายมีความสุขก็ละเสีย เช่น มีกินพอดีก็ทำให้ไม่พอดี ให้ขาดไป นั่งสบาย ก็ยืนซะ เป็นต้น ข้อนี้เป็นที่นิยมมากเช่นเดียวกันเมื่อ ๒๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว
ทั้งสองข้อนี้มีมาก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้อีก

ความเพียรที่คุณถาม ผมเข้าใจว่าไม่ใช่สองข้อแรกที่ยกมาแล้ว คุณน่าจะถามถึงคำว่า วิริยะ มากกว่า หมายถึงความเพียรพยายาม ใน ๒ ข้อที่คุณเอ่ยถึงแต่แรก เป็นกิริยาการกระทำ หรือวิธีการกระทำเพื่อผลคือความหลุดพ้นมากกว่า ไม่ใช่ความเพียร

ความเพียร หมายถึง ความตั้งใจกระทำการใดการหนึ่ง อย่างไม่ลดละ และเพิ่มความถี่ความระวังการกระทำนั้นมากยิ่งๆขึ้นไป ไม่ใช่วิธีกระทำ ใน ๒ ข้อแรกนั้นเป็นวิธี


อ้างคำพูด:
แล้วความเพียรที่พอดีมันขนาดไหนได้หรือคะ สำหรับคนที่แสวงหาธรรม ไม่ใช่ปฏิบัติธรรมเืพื่อพักผ่อนหย่อนใจยามว่างเฉยๆอ่ะค่ะ อยากได้ธรรมมันก็ควรเอาชี่วิตเข้าแลกเลยไม่ใช่หรอคะ


ความเพียรที่พอดี ขนาดวัดไม่ได้ด้วยการกำหนดปริมาตร หรือด้วยเวลา แต่ต้องกำหนดด้วยสภาวะ พูดง่ายๆคือ เพียรให้สมควรแก่สภาวะธรรมนั้นๆ สมดังคำที่ว่า ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม
ตัวอย่างเช่น ในการปรับสตินทรีย์ เมื่อใจที่จดจ่อกับสภาวะปัจจุบันน้อยไป ก็ต้องเพิ่มความเพียรในการจดจ่อให้มากขึ้น ซึ่งอาจจะเพิ่มสติให้แนบไปกับอิริยาบทมากขึ้นไปอีก หรือเมื่อเพิ่มสติที่จดจ่อนไปแล้วไม่ดีพอ ก็อาจจะเพิ่มเวลาในการปฏิบัติมาขึ้นไปอีกนิด ทั้งนี้ให้ปรับไปตามสภาวะที่เป็นอยู่

ส่วนว่าเวลาปฏิบัติจะมากจะน้อย อันนี้ก็อย่าให้เกินกำลัง เมื่อมากไปหรือน้อยไป ไม่ใช่เรื่องการทำตนให้ลำบากแล้ว แต่จะเป็นการทำกายหรือจิตให้ไม่ควรแก่การงาน คือไม่ควรแก่กรรมฐานที่ปฏิบัติอยู่ เราลืมไม่ได้ครับว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงบรรลุงพระโพธิญาณหลังจากทรงฉันพระกระยาหาร พระวรกายสมบูรณ์พร้อม เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมจริงๆ

ฉะนั้น ควรทำความเพียรให้พอเหมาะพอดีแก่ธรรมที่ปฏิบัติอยู่ การปฏิบัติที่ไม่ก้าวหน้า จะเป็นตัวบอกว่าความเพียรเราพอหรือยัง ซึ่งจะบอกได้ก็ต้องตอบโจทย์ให้ถูกก่อนว่า เราปฏิบัติถูกต้องตามหลักวิธีการแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:
แบบไหนคุณกรัชกายแนะนำเพิ่มเติมหน่อยสิคะ แหะๆ



มัชฌิมาปฏิปทา-การปฏิบ้ติ หรือ วิธีการ ที่สอดคล้องกับกระบวนการการดับทุกข์ เรียกว่า "มัชฌิมาปฏิปทา"

ไม่รู้จะทำยังไงให้มองเห็นภาพจึงนำเอาเป้านี้ให้ดู=>

รูปภาพ

สมมุติว่า จุดศูนย์กลางเป็นทุกข์หรือปัญหาของมนุษย์นะครับ แล้วมนุษย์นั้นก็ปฏิบัติไปให้ถึงจุดนั้น คือ ดับทุกข์ได้ ทางเส้นนั้นแหละ คือ มัชฌิมาปฏิปทา

แต่ถ้าปฏิบัติยังไม่ตรงเป้าคือการดับทุกข์ คือ ยังอยู่แถวๆขอบๆข้างๆเป้า ก็ยังไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พินาความหมายคำว่า ทุกข์ แนวพระพุทธศาสนาดังนี้

ทุกขตา 3 หรือทุกข์ 3 เป็นชุดสำคัญที่มีพุทธพจน์แสดงไว้เป็นหลัก ครอบคลุมความหมายทั้งหมดของทุกข์ในไตรลักษณ์ คือ

1. ทุกขทุกขตา หรือ ทุกขทุกข์ ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์
ได้แก่ ความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจ อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อและตามสภาพ เช่น ความเจ็บปวด ไม่สบาย เมื่อยขบ เป็นต้น หมายถึง ทุกขเวทนานั่นเอง

2. วิปริณามทุกขตา หรือ วิปริณามทุกข์ ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่แฝงอยู่ในความแปรปรวน
ได้แก่ ความรู้สึกสุขหรือสุขเวทนา ซึ่งเมื่อว่าโดยสภาวะที่แท้จริง ก็เป็นเพียงทุกข์ในระดับหนึ่ง หรือในอัตราส่วนหนึ่ง สุขเทนานั้น จึงเท่ากับเป็นทุกข์แฝง หรือมีทุกข์ตามแฝงอยู่ด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะกลายเป็นความรู้สึกทุกข์ หรือก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ในทันที ที่เมื่อใดก็ตามสุขเวทนานั้นแปรปรวนไป
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สุขเวทนานั้น ก่อให้เกิดทุกข์เพราะความไม่จริงจังไม่คงเส้นคงวาของมันเอง

3. สังขารทุกขตา หรือ สังขารทุกข์ ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือสภาวะของสังขารทุกสิ่งทุกอย่าง หรือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นทุกข์ คือ เป็นสภาพที่ถูกบีบคั้นกดดันด้วยการเกิดขึ้น และการเสื่อมสลายของปัจจัยต่างที่ขัดแย้ง ทำให้คงอยู่ในสภาพเดิมมิได้ ไม่คงตัว
ทุกข์ข้อที่สามนี้ คลุมความของทุกข์ในไตรลักษณ์

(ที.ปา.11/228/229 สํ.สฬ.18/510/318 สํ.ม.19/319/85 วิสุทฺธิ.3/83 วิภงฺค.อ.121 วินย.ฎีกา.4/63 วิสุทฺธิ.ฎีกา 3/181)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีปฏิบัติกลางมีอยู่แล้วดูครับ

“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี่คือ สติปัฏฐาน 4”

แต่ใครจะไปข้างๆคูๆก็ว่ากันไป คงเหมือนคนยิงเป้าไม่ตรงจุดศูนย์กลางฉันใดก็ฉันนั้น :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีปฏิบัติย่อย มีมากมายหลายวิธี เอาที่ในประเทศไทย อาทิ เช่น พอง-ยุบ พุทโธ สัมมาอรหัง นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ ดูจิตดูใจ ฯลฯ ว่ากันไป ถ้าการปฏิบัติเช่นนี้ๆ ลงกันกับสติปัฏฐาน จึงเป็นธรรมานุธรรมปฏิบัติ ก็เข้าเป้า แต่ถ้าลงกับหลักใหญ่ไม่ได้ ก็ไม่เป็นธรรมานุธรรมปฏิบัติ จึงไม่เข้าเป้า คือยิงไปตกสะขอบๆข้างๆเป้านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเพียรต้องเป็นความเพียรที่ชอบ คือ ตรงกับมรรค และต้องเพียรให้มาก คือ มีความรอบคอบใช่ไหมคะ

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2011, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยกตัวอย่างไม่พักไม่เพียร
ถ้าเราไม่พักชื่อว่าเพียรอยู่
ถ้าเราไม่เพียร ชื่อไม่ทำให้เกิดตัณหา
โอฆตรณสูตร
ปุ. เราไม่พักอยู่.........
วิ. หมายถึง พระพุทธองค์ไม่พักอยู่ในกามสุคติภูมิ๗ (จาก๓๑ภูมิ)
ปุ. ไม่เพียรอยู่.........
วิ. ไม่เพียรทำกุศล(อโลภะ อโทสะ อโมหะ) และอกุศล(โลภะ โทสะ โมหะ)
ปุ. ข้ามโอฆะได้แล้ว.....
วิ. โอฆะ ๔ ข้ามได้แล้ว(โอฆะคือห้วงน้ำ)+(ห้วงน้ำคือ ๓๑ ภูมิ)

เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้
เมื่อใดเราติดข้องอยู่ เรายังจมอยู่ในมนุษย์ภูมิ ๑
เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้
เมื่อใดเรายังขยันทำกุศล เราอยู่ในเทวดาภูมิ ๖
ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล.
เราไม่พักอยู่ในกามสุคติภูมิ ๗ เราไม่เพียรทำกุศล(อโลภะ อโทสะ อโมหะ) และอกุศล(โลภะ โทสะ โมหะ) ข้ามโอฆะ๔ได้แล้ว

ข้อความข้างบนเป็นการสนทนาธรรมระหว่างพระพุทธเจ้า (พระอรหันตรสัมมาสัมพุทธเจ้า) กับเทวดา (บรรลุโสดาบันหลังฟังจบ)
ดังนั้น การกรองธรรมจึงเป็นการกรองธรรมตามลำดับญาณของพระพุทธองค์ที่ตรัสรู้

ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้
จุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ)คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้
อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ 4 เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2011, 01:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับประสบการณ์ของผมเอง การทำความเพียรที่พิจารณาอยู่ เราย่อมเห็นประโยชน์ของการทำความเพียรเมื่อรู้ว่าความเพียรมีผลอยู่ ผลของความเพียรย่อมปรากฏออกมาทางรูปธรรมและนามธรรม เป็นผู้ที่ระมัดระวังภัยจากความประมาททั้งกายใจ ความเพียรนั้นเมื่อเจริญให้มากธรรมที่ยังไม่รู้ก็จะปรากฏกำหนดรู้ ตั้งแต่ความละเอียดของจิต ความชัดเจนของปัจจุบัน แต่จริตคนเราต่างกันส่วนตัวนั้นต้องอาศัยการนั่งสมาธิประกอบที่ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะเป็นสมาธิ โดยส่วนตัวนั้นมีคำถามว่าสมาธิของคนเราที่แท้จริงควรอยู่ระดับของความละเอียดของจิตที่ระดับไหน มโนวิญญาณเกิดจากความสนใจคิดแต่ภาพหลอนที่จิตสร้างขึ้นนั้นเป็นมโนสัญญาหรือว่าอะไรทำไมจึงเหมือนแม่เหล็กดึงดูดให้เราเคลิ้มและเพลิดเพลินไปเมื่อสลัดออกจึงรู้ว่าโดนจิตหลอกอีกแล้ว ความคิดส่วนตัวนั้นผมก็เคยตื่นตี3ตี4แล้วลุกขึ้นมานั่งทำสมาธิแต่ก็ไม่ได้เป็นทุกวันนานๆครั้ง จึงคิดว่าหากเราตื่นขึ้นมาแล้วแต่ข่มตานอนไม่หลับการนั่งสมาธิก็เป็นสิ่งที่ดีมากที่เราทำ บางครั้งมันก็ต้องสร้างอุบายเพื่อให้ตัวเราเองลุกขึ้นทำความเพียรพอพูดถึงความตายมันเหมือนพูดได้ไม่เต็มปากคือรู้ตัวเองดีว่าเรายังไม่อยากตายทั้งๆที่ความตายมันก็ขยับใกล้เข้ามาหาทุกวันเวลาคิดว่าตัวเองคงจะพอใจและภูมิใจในตัวเองเมื่อถึงจุดที่เราพร้อมที่จะตายได้โดยจิตรู้ธรรมที่เกิดความสละคืนแก่ธรรมชาติโดยไม่คิดหวงชีวิตโดยอำนาจของสัญชาติญาณ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2011, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
กำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ สติ ๑ กำลัง คือสมาธิ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พึงเห็นกำลัง คือ ศรัทธาในที่ไหน พึงเห็นในโสตาปัตติยังคะ [องค์
เป็นเครื่องให้บรรลุความเป็นพระโสดา] ๔ พึงเห็นกำลัง คือ ศรัทธาในที่นี้
พึงเห็นกำลัง คือ วิริยะในที่ไหนพึงเห็นในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นกำลัง คือ วิริยะในที่นี้
พึงเห็นกำลัง คือ สติในที่ไหน พึงเห็นในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นกำลัง คือ สติในที่นี้
พึงเห็นกำลังคือสมาธิในที่ไหน พึงเห็นในฌาน ๔ พึงเห็นกำลัง คือ สมาธิในที่นี้
พึงเห็นกำลัง คือ ปัญญาในที่ไหน พึงเห็นในอริยสัจ ๔ พึงเห็นกำลัง คือ ปัญญาในที่นี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล ฯ

......

อ้างคำพูด:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด ย่อมพยายาม ปรารภความเพียรประคองจิต ตั้งจิตมั่น เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตมั่น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ๑

ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตมั่น เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑

ย่อมยังฉันทะ ให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตมั่น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่หลงลืมเพื่อให้มียิ่งขึ้น เพื่อความไพบูลย์ เพื่อเจริญเพื่อให้บริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้แล ฯ

.....

ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬเงิน ทอง ทับทิม มรกต ฉันใดดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ดูกรปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๗ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ

ลองพิจารณาดูครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2011, 01:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: เปรียบดังไม้สีไฟ ถ้าต้องการการให้ไฟติด ก็ต้องสีไฟให้ต่อเนื่อง สีๆหยุดๆ ไฟไม่ติดแน่
สีไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอยากให้ไฟติด ไฟติดขึ้นเมื่อไรก็รู้ ก็อย่าปฏิบัติด้วยความอยาก แม้อยากพ้นทุกข์ ก็ยังจัดเป็นกิเลส แต่เป็นกิเลสที่เป็นฝ่ายกุศล ฉะนั้นอย่าปฏิบัติด้วยความอยาก แต่จงปฏิบัติด้วยความเพียร และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็ทำ
ตึงหย่อนแค่ไหน ก็ให้พิจารณา ตามจริต ตามอินทรีย์ของตน ซึ่งถ้าเลือกถูกจะแบ่งได้เป็น 4กลุ่มคือ
1.พวกปฏิบัติลำบาก บรรลุช้า
2.พวกปฏิบัติลำบาก บรรลุเร็ว
3.พวกปฏิบัติสบาย บรรุลุช้า
4.พวกปฏิบัติสบาย บรรุเร็ว
.......อันนี้ ไปหาคำอธิบายกันเอง และก็พิจาณรา จริต นิสัยของเราว่าเหมาะกับแบบไหน อย่างเช่น
เราเป็นคนราคะจริตนี้ ถ้ากินดีอยู่ดี ร่างกายก็มีกำลังมาก ราคะมันก็คอยจะเกิดอยู่ร่ำไป ก็ต้องกินให้น้อย
ทรมานตัวเองมากหน่อย การควบคุมไม่ให้จิตเกิดราคะมันก็ง่ายขึ้น อันนี้ก็เรียกปฎิบัติลำบาก และถ้าถูกวิธึ ก็อาจบรรลุเร็ว ก็ขอกล่าวแค่นี้ แต่ก็ขอย้ำเรื่องความสม่ำเสมอ มากน้อยก็ปฏิบัติไปนั่นแหละ จะดีเอง
.....เจโตวิมุติ/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2011, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พระโสณะเถระ

ตั้งความเพียรสม่ำเสมอเทียบเสียงพิณ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระโสณะผู้นั่งเฝ้าอยู่ว่า ดูกรโสณะ เธอไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ได้มีความปรีวิตกแห่งจิตเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า บรรดาพระสาวกของพระผู้มีพระภาคที่ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นรูปหนึ่ง แต่ไฉน จิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นเล่า สมบัติในตระกูลของเราก็ยังมีอยู่ เราอาจบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศลถ้ากระไร เราพึงสึกเป็นคฤหัสถ์ แล้วบริโภคสมบัติและบำเพ็ญกุศล ดังนี้ มิใช่หรือ?

ท่านพระโสณะทูลรับว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อครั้งเธอยังเป็นคฤหัสถ์ เธอฉลาดในเสียงสายพิณ มิใช่หรือ?

โส. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณของเธอตึงเกินไปคราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?

โส. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณของเธอหย่อนเกินไป คราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?

โส. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณของเธอไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก ตั้งอยู่ในคุณภาพสม่ำเสมอ คราวนั้น พิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้างไหม?

โส. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูกรโสณะ เหมือนกันนั่นแล ความเพียรที่ปรารภเกินไปนัก ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่ย่อหย่อนนัก ก็เป็นไปเพื่อเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้นแล เธอจงตั้งความเพียรแต่พอเหมาะ จงทราบข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายเสมอกัน และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น

ท่านพระโสณะทูลรับสนองพระพุทธพจน์ว่า จะปฏิบัติตามพระพุทธโอวาทอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนท่านพระโสณะด้วยพระโอวาทข้อนี้แล้ว ทรงอันตรธานที่ป่าสีตวันต่อหน้าท่านพระโสณะ แล้วมาปรากฏพระองค์ ณ คิชฌกูฏบรรพต เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

พระโสณะสำเร็จพระอรหัตผล

ครั้นกาลต่อมา ท่านพระโสณะได้ตั้งความเพียรแต่พอเหมาะ ทราบข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายเสมอกัน และได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอ ครั้นแล้วได้หลีกออกอยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาทมีเพียร มีตนส่งไป ไม่นานเท่าไรนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งคุณพิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องประสงค์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่แล้ว ได้รู้ชัดแล้วว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านพระโสณะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งแล้ว

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=1&Z=223


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2011, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: ขอบคุณมากค่ะ :b16: :b27:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร