วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 104 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2011, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เกิดความสงสัยว่า
หลังจากจิตที่ทรงฌานได้แล้ว จะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดปัญญา

อยากรู้วิธีปฏิบัติ ไม่อยากรู้แบบคัมภีร์ เช่น

ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส เมื่อพวกเราประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่ ผล ๔ ประการอานิสงส์ ๔ ประการ อันพวกเราพึงหวังได้

อยากรู้ว่า ทำอย่างไรผล ๔ ประการอานิสงส์ ๔ ประการ จึงเกิดขึ้นได้

คงไม่แค่ทำฌานแล้วมรรคผลจะตามมาเอง
คงไม่แค่ทำฌานแล้วปัญญาจะเกิดขึ้มาเอง

เพราะก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ มีคนมากมายที่สามารถทำฌานได้ แต่ก็ไม่สามารถหลุดพ้น

ก็น่าจะสรุปได้ว่า หลังจากฌานแล้วย่อมมีวิธีการปฏิบัติต่อยอดไปอีกแน่นอน

อยากรู้ตรงนั้นละครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2011, 14:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณกามโภคี :b5: เรื่องปัญญาหลังจากฌานนี้ จะกล่าวว่าเป็นเรื่องหลังจากฌานก็คงเป็นเรื่องที่ไกลเกินไป เพราะว่าช้าที่จะใช้ปัญญา ปัญญาควรจะใช้ทุกที่ทุกเวลา ทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากภายในสู่ภายนอกจากภายนอกสู่ภายใน แม้ภายในฌานก็มีปัญญาอย่างหนึ่ง ปัญญาที่รู้ว่าภาวะอย่างนี้ที่ดำรงอยู่นั้น จะเป็นสุขก็ดี เอกคตาก็ดี มีมากน้อยพอดีอย่างไร นี้ก็เป็นปัญญาที่สอดแทรกอยู่ภายในฌาน :b32: ถามว่า ทำไมจึงถือว่าเป็นปัญญาได้ ก็ในเมื่อฌานนั้นมีแต่อารมณ์เสวยอยูกับความสุขอันเกิดจากปีติบ้าง วางเฉยบ้าง ตอบว่า ปัญญาแปลว่า รู้แจ้งทั่วถึง ทั้งข้างหน้า ทั้งก่อน ทั้งออก จิตที่วางเฉยในอุเบกขาในจตุถฌาน ท่านกล่าวว่า นั่นแหละคือ จิต ความรู้ของจิตว่า ขณะนี้มีความพอดีอย่างไร นี่ก็เป็นการรู้มิใช่หรือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2011, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ผมถามไปนั้น อยากรู้วิธีกระทำ เช่น ทำจิตอย่างไร ทำกายอย่างไร จึงจะเกิดปัญญาหลุดพ้นได้
เพราะลำพังแค่การทรงอยู่ในฌาน คงไม่สามารถที่จะหลุดพ้นได้ ถ้าไม่มีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปอีก ข้อนี้สังเกตได้จากเรื่องราวต่างๆของคนที่มีฌาน เช่น เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงได้ฌานตั้งแต่พระชนมายุน้อยๆ พระองค์ก็คงทำฌานทรงฌานบ่อยๆ ก็ยังไม่หลุดพ้นได้ หรือพระเทวทัตต์ ก็ทำฌานจนชำนาญ สามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี หรืออาฬารดาบส อุทกดาบส ท่านก็ได้ฌานทั้งรูปฌานและอรูปฌาน ก็ยังไม่สามารถที่จะหลุดพ้นได้

จากหลักฐานที่ประมวญมาคร่าวๆ แสดงให้เห็นว่า ลำพังแต่ฌาน คงไม่สามารถที่จะทำให้เกิดการหลุดพ้นได้ คงจะต้องมีอะไรเข้าไปเป็นส่วนประกอบ ที่ผมถาม ก็คือ การกระทำแบบไหน อย่างไร ส่วนประกอบนั้นจะเกิดขึ้นได้ ถามถึงวิธีปฏิบัตินะครับ

เช่น เมื่อเสพอยู่ในเอกัคคตารมณ์แล้ว หรืออยู่ในฌาน ๔ แล้ว ทำจิตแบบไหน ทำกายแบบไหน จะจะทำให้ส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดการหลุดพ้นเกิดขึ้นมาได้

world2/2554 เขียน:
แม้ภายในฌานก็มีปัญญาอย่างหนึ่ง ปัญญาที่รู้ว่าภาวะอย่างนี้ที่ดำรงอยู่นั้น จะเป็นสุขก็ดี เอกคตาก็ดี มีมากน้อยพอดีอย่างไร นี้ก็เป็นปัญญาที่สอดแทรกอยู่ภายในฌาน :b32: ถามว่า ทำไมจึงถือว่าเป็นปัญญาได้ ก็ในเมื่อฌานนั้นมีแต่อารมณ์เสวยอยูกับความสุขอันเกิดจากปีติบ้าง วางเฉยบ้าง ตอบว่า ปัญญาแปลว่า รู้แจ้งทั่วถึง ทั้งข้างหน้า ทั้งก่อน ทั้งออก จิตที่วางเฉยในอุเบกขาในจตุถฌาน ท่านกล่าวว่า นั่นแหละคือ จิต ความรู้ของจิตว่า ขณะนี้มีความพอดีอย่างไร นี่ก็เป็นการรู้มิใช่หรือ


พระเทวทัตต์ชำนาญเรื่องฌานมาก ก็ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ฌานแต่พระชนมายุน้อย ก็ยังต้องออกแสวงหาเพิ่มถึงได้ตรัสรู้ อาฬารดาบท อุทกดาบท ไม่สามารถหาวิธีกระทำเพิ่มได้ จึงตันอยู่แค่อรูปฌาน สุดท้ายจบลงที่อสัญญสัตว์

ปัญญาตามที่ท่านยกตัวอย่างมานั้น ก็คงหลุดพ้นยังไม่ได้แน่ครับ

ไม่น่าจะใช่การเข้าฌานบ่อยๆแล้วจะหลุดพ้นได้ น่าจะต้องมีวิธีกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้มีผลอื่นตามมา อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้หลุดพ้นครับ

วิธีนั้น ทำเช่นไรหนอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2011, 12:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่ทรงฌานอยู่กับภาวะความสุขอันเกิดจากปีติ หรืออุเบกขาในจตุตถฌาน ก็ย่อมไม่มีอะไรมาแผ้วพาน ปราศจากอารมณ์อย่างอื่นมารบกวน แต่การอยู่เช่นนั้นโดยอัตภาพของมนุษย์แล้วไม่ได้เป็นประโยชน์เกื้อกูลเป็นส่วนมากนัก เพราะลำพังแต่เสวยเวทนาความรู้อยูอย่างนั้นก็ย่อมเป็นอย่างนั้น ด้วยว่ามนุษย์ทุกรูปทุกนามจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวทางด้านส่วนของร่างกายและจิตใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตที่รู้ว่ามีความพอแล้วเป็นกำลังที่จะรับมือกับความเคลื่อนไหวสภาวะต่างๆ จึงถอยออกมาจากภาวะเช่นนั้นตามลำดับที่เคยดำเนินมาจนมาถึงจุดที่ใจนั้นสามารถรับรู้อารมณ์ได้จากอายตนะทางทวารทั้งหลาย มีตาเป็นต้น การรับมือด้วยการพิจารณาสภาวารมณ์อันเข้ามาสู่ภายในใจจึงมีความพร้อมรอบด้านมากกว่าใจที่ไม่เคยได้รับความสงบอะไรเลย หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ อามรณ์กับใจแยกต่างหากจากกัน ทีนี้ก้อยู่ที่ความสามรถของแต่ละท่านแล้วว่า จะใช้ปัญญาพิจารณาได้มากน้อย กล้าแกร่งเป็นอิสระอย่างทันท่วงทีได้เพียงใด ฉะนั้น ทุกการเคลื่อนไหวของภาวะความรู้อย่างนี้ จึงเต็มไปด้วยมหาสติ มหาปัญญา เพื่อใช้ฟาดฟันอามรมณ์อันเป็นข้าศึกให้ขาดหลุดพ้นไปจากใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2011, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


world2/2554 เขียน:
ทีนี้ก้อยู่ที่ความสามรถของแต่ละท่านแล้วว่า จะใช้ปัญญาพิจารณาได้มากน้อย กล้าแกร่งเป็นอิสระอย่างทันท่วงทีได้เพียงใด ฉะนั้น ทุกการเคลื่อนไหวของภาวะความรู้อย่างนี้ จึงเต็มไปด้วยมหาสติ มหาปัญญา เพื่อใช้ฟาดฟันอามรมณ์อันเป็นข้าศึกให้ขาดหลุดพ้นไปจากใจ



คุณเข้าใจปัญหาแล้วครับ ตรงนี้ไง

ใช้ปัญญาพิจารณาได้มากน้อย กล้าแกร่งเป็นอิสระอย่างทันท่วงทีได้เพียงใด

ที่อยากรู้คือวิธี เหมือนคุณสนทนามาว่า พิจารณาคือวิธี

ที่ผมสงสัยต่อไปอีกคือ พิจารณา แบบไหน เช่นคิด นึก หรือว่าเฉยๆ

สมมติว่าคุณกับผมไปวัด พระท่านบอกว่า เดินจงกรมเลยโยม แต่ไม่บอกวิธีเรา เราก็คงต้องสงสัยมากๆ

ขอบคุณครับที่ร่วมสนทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 14:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


สติและความรู้พร้อม ท่านให้เข้าไปตั้งไว้ที่กาย เวทนา จิต ธรรม ทางแต่ละที่ตั้งนั้นมีอารมณ์ความปรุงแต่งอย่างใดเกิดขึ้น ก็ให้รู้ไว้ เฝ้าเพ่งพิจารณาตามความจริง ความเป็นจริงนั้นก้ย่อมพ้นจากความพอใจ ความน้อมใจเชื่อ คือต้องเห็นจริงตามนั้นเพราะเป็นความจริง :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 15:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ohhoooว์..... :b13:

อิอิ

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


world2/2554 เขียน:
สติและความรู้พร้อม ท่านให้เข้าไปตั้งไว้ที่กาย เวทนา จิต ธรรม ทางแต่ละที่ตั้งนั้นมีอารมณ์ความปรุงแต่งอย่างใดเกิดขึ้น ก็ให้รู้ไว้ เฝ้าเพ่งพิจารณาตามความจริง ความเป็นจริงนั้นก้ย่อมพ้นจากความพอใจ ความน้อมใจเชื่อ คือต้องเห็นจริงตามนั้นเพราะเป็นความจริง :b8:


เราสนทนากันเกี่ยวเนื่องกับวิธีปฏิบัติ
คุณตอบมาตามที่ผมอ้างอิงมานั้น ผมชอบใจนัก เพราะตอบได้ตรงกับวิธีปฏิบัติ

ขอสรุปประเด็นนี้ก่อนว่า

เมื่อจิตอยู่ในสภาวะฌานแล้ว ปราศจากนิวรณธรรม ก็ใช้สติไปตั้งไว้ที่ กาย เวทนา จิต ธรรม โดยพิจารณาตามความเป็นจริง

หวังว่าคงถูกต้องตามที่เราสนทนากันนะครับ

ประเด็นต่อไป ถ้าพูดถึงเรื่องวิธีการปฏิบัติ ไม่ใช่เรื่องของการอธิบายแบบตามหนังสือหรือคัมภีร์
จะเห็นได้ว่า มีปัญหาคือ เฝ้าเพ่งพิจารณาตามความจริง

อยากรู้ว่าพิจารณานั้น ทำแบบไหน อย่างไร

สมมติว่า พระสอนเราว่า โยมมม พิจารณาตามความจริงนะ เราอาจจะต้องงงว่า เราจะพิจารณาอะไร
พิจารณาแบบไหน เพราะคำว่าพิจารณานั้น ถ้าไม่บอกวิธีทำวิธีคิดละก็ ไม่เป็นอันเข้าใจง่ายๆ
เห็นมีแต่เวลาเขียนลงกระทู้ มักบอกว่า โยนิโสมนสิการบ้าง พิจารณาตามความเป็นจริงบ้าง กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายบ้าง

แต่ทั้งหมด เอาเข้าจริงๆ พอพูดว่าต้องทำแบบไหน ก็บอกวิธีพิจารณา วิธีโยนิโส วิธีกระทำไว้ในใจ กันไม่เห็นเป็นรูปธรรมเลย

คุณสังเกตไหม ไม่มีในพระไตรปิฏกเลยว่าการเดินจงกรมนั้น เดินแบบไหน ต้องรู้ที่ไหน อย่างไร
ตรงนี้เอง แต่ละที่จึงมีวิธีปฏิบัติที่ต่างๆกันออกไป และก็ต่างว่าทางนั้นถูกบ้างผิดบ้าง

เพราะฉะนั้น เราคุยกัยด้วยวิธีปฏิบัติ ก็เลยอยากทราบว่า เฝ้าเพ่งพิจารณาตามความจริง เขาทำกันแบบไหน

ต้องขออภัยครับ อย่าเข้าใจว่าผมไล่เบื้ย ไม่ได้ไล่อะไรเลยครับ และก็ออกจะชอบใจคำตอบของคุณด้วย
ซ้ำไป เพราะเท่าที่คุณตอบมา ผมว่าคุณเข้าใจแล้วละว่า เมื่อทำฌานได้แล้ว จะต้องทำแบบไหน จึงจะ
หลุดพ้น (วิธีนี้เรียกว่า สมถยานิก การปฏิบัติที่มีสมถะนำหน้าวิปัสสนา)

ผมพูดว่าฌานแล้ว คุณตอบมาว่า ท่านให้เข้าไปตั้งไว้ที่กาย เวทนา จิต ธรรม ฯลฯ นั่นหมายถึงคุณ
ตอบว่า ยกจิตขึ้นสู่วิปัสนา ข้อนี้ถูกต้องเลยครับ ทีนี้ ผมก็เลยสนทนาต่ออีกว่า เราจะต้องหรือมีวิธี
พิจารณาแบบไหน อย่างไร เช่นเวลาเราบอกว่า กำหนดลมหายใจนะ เราก็สามารถอธิบายได้ว่า เวลาลมเข้า เราเอาสติรู้นะว่าขณะลมเข้า เป็นต้น

วิธีพิจารณาที่คุณตอบมา เราจะอธิบายอย่างไรดี

ปล.ผมคิดว่า คุณยังสามารถตอบและอธิบายได้ดีกว่าพวกจำพระไตรปิฎกมาตอบอีกนะครับ เยอะเลยยุคนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 16:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


achouch....

อิอิ

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 19:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีพิจารณาก็พิจารณาธรรมชาตินี้แหละครับ ธรรมชาติอันเกิดปรากฏให้รู้ให้เห็นนั้น วิปัสสนาขั้นนี้ไม่มีเจตนาที่จะกำหนดบังคับใจอีกหรอก เป็นแต่ปล่อยให้ดูและเห็นรู้ตามนั้น ดูเพื่อค้นหาว่ายังมีอะไรเกิด เพราะอะไรที่เกิดนั้นก็เห็นอย่างนั้นแล้ว เป็นแต่ว่ามี ไม่มี อะไรที่มีนั้นก็เป็นลักษณะของไตรลักษณ์ตามธรรมดาเขา แต่การพิจารณาก็เพื่อป้องกันความเกิดมี มาครอบงำได้อีก ของนอกนั้นทั้งหมดถึงจะมีก็คงจะไม่มีอีกต่อไป ถึงความไม่มีนั้นจะเกิดมีอีกก็ปล่อยไปตามธรรมดาเขา นี้ก็ความเห็นส่วนหนึ่งในขั้นหนึ่งตามความห็นของผมน่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ สติปัฎฐาน ไงท่าน

สมัยก่อนพุทธศาสนา ฌาณที่ฝึกกัน ล้วนเป็นฌาณฝ่ายสมถะ ฝ่ายฤาษี เป็น อารัมมณูปนิชฌาน แน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว ฌาณแบบนี้ ไม่รู้กาย แต่ก็ฝึกเพื่อละสังโยชน์อย่างหยาบได้ มุ่งหมายสู่พรหม

ถ้าจะเข้าฝ่ายวิปัสสนาเพื่อการบรรลุธรรม ก็ต้องเริ่มฝึกในอีกทาง คือใช้สติปัฎฐาน เพื่อให้ได้ ลักขณูปนิชฌาน ฌาณแบบนี้ รู้กาย แต่เป็นการรู้กายเฉพาะส่วนแบบฌาณ ไม่ได้รู้ทั่วตัวแบบปกติ

ฝึกคู่กันไปได้ แต่ฝึกร่วมกันในครั้งเดียวไม่ได้ เพราะมันคนละทาง เช่นฝึกแบบอานาปานสติ ก็ฝึกดูลมทีหนึ่ง (สมถะ) แล้วก็มาฝึกดูกายอีกทีหนึ่ง (วิปัสสนา)
ฝึกแบบสมถะ จะเข้าถึงสูงสุดที่อรูปฌาณ 4 (สมาบัติ 8) ส่วนฝึกแบบวิปัสสนาจะได้ถึงฌาณ 4
ถ้าฝึกจนคล่องทั้ง 2 ฝ่าย ก็จะถึง นิโรธสมาบัติ

ปัญญาในทางพุทธ ไม่ได้หมายถึงไอคิวหรือความฉลาดรอบรู้ แต่หมายถึง เห็นตามจริง
ก็เห็นตามจริงไปเรื่อยๆ ภูมิธรรมจะสูงขึ้นเองเป็นลำดับ อย่าคาดคั้น
ก็เหมือนออกกำลังกาย ออกกำลังไปเรื่อยๆ มันก็แข็งแรงขึ้นเอง... ถ้ามีคนถามว่า วิ่งอย่างไร ร่างกายจึงแข็งแรง ก็เห็นจะตอบว่า จะวิ่งไปสิ วิ่งไปเรื่อยๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 23:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
เกิดความสงสัยว่า
หลังจากจิตที่ทรงฌานได้แล้ว จะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดปัญญา

อยากรู้วิธีปฏิบัติ ไม่อยากรู้แบบคัมภีร์ ....

ก็ตั้งปัญญาที่เป็นสัญญาธรรมดา ๆ ก่อนเข้าฌาน...

อ้างคำพูด:
ก็น่าจะสรุปได้ว่า หลังจากฌานแล้วย่อมมีวิธีการปฏิบัติต่อยอดไปอีกแน่นอน

อยากรู้ตรงนั้นละครับ


ตอนอยู่ในฌาน...ก็ระลึกถึงปัญญาที่เดิมว่าเป็นสัญญาธรรมดา ๆ ...แต่ตอนนี้..สัญญาธรรมดา ๆ นี้แหละจะเป็นบทเรียนสอนเรา

จริง..ไม่จริง...ก็ดูเอาเอง.. :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2011, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ก็ตั้งปัญญาที่เป็นสัญญาธรรมดา ๆ ก่อนเข้าฌาน...
อ้างคำพูด:

ตั้งปัญญาที่เป็นสัญญา

ตั้งอย่างไรครับ
ปัญญาแบบไหนที่เรียกว่าเป็นสัญญา
มีวิธีกระทำแบบไหนครับ

ผมไม่เข้าใจเลยจริงๆ

กบนอกกะลา เขียน:
ตอนอยู่ในฌาน...ก็ระลึกถึงปัญญาที่เดิมว่าเป็นสัญญาธรรมดา ๆ ...แต่ตอนนี้..สัญญาธรรมดา ๆ นี้แหละจะเป็นบทเรียนสอนเรา

จริง..ไม่จริง...ก็ดูเอาเอง.. :b12:


จะยกตัวอย่างนะครับ

หายใจเข้า ให้รู้สึกถึงลมที่กระทบในจมูก

อันนี้เข้าใจง่ายเลยครับ ตามดูการกระทบของลม

แต่ ระลึกถึงปัญญาที่เดิมว่าเป็นสัญญาธรรมดา ๆ อ่านแล้วยังมองไม่เห็นชัดๆว่าต้องกำหนดจิตถึงอะไรหรือ
ไม่ แบบไหน เอาอะไรมาเป็นอารมณ์ อย่างไรถ้าจะให้ดี ยกตัวอย่างซักนิดครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2011, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


world2/2554 เขียน:
วิธีพิจารณาก็พิจารณาธรรมชาตินี้แหละครับ ธรรมชาติอันเกิดปรากฏให้รู้ให้เห็นนั้น วิปัสสนาขั้นนี้ไม่มีเจตนาที่จะกำหนดบังคับใจอีกหรอก เป็นแต่ปล่อยให้ดูและเห็นรู้ตามนั้น ดูเพื่อค้นหาว่ายังมีอะไรเกิด เพราะอะไรที่เกิดนั้นก็เห็นอย่างนั้นแล้ว เป็นแต่ว่ามี ไม่มี อะไรที่มีนั้นก็เป็นลักษณะของไตรลักษณ์ตามธรรมดาเขา แต่การพิจารณาก็เพื่อป้องกันความเกิดมี มาครอบงำได้อีก ของนอกนั้นทั้งหมดถึงจะมีก็คงจะไม่มีอีกต่อไป ถึงความไม่มีนั้นจะเกิดมีอีกก็ปล่อยไปตามธรรมดาเขา นี้ก็ความเห็นส่วนหนึ่งในขั้นหนึ่งตามความห็นของผมน่ะครับ


คุณ world2/2554

ที่จริงปัญหานี้ผมตั้งขึ้นมาเพื่อดูว่า ท่านใดที่มาตอบจะเป็นผู้

๑.อ่านอรรถกถา หรือได้พบครูอาจารย์ที่สามารถสอนเรื่อง สมถะ วิปัสสนาได้อย่ายิ่งยวด
๒.ผู้ที่ปฏิบัติจริงๆ เพราะคำว่าพิจารณานั้น ถ้าคนไม่เคยปฏิบัติจริงๆ ไม่ว่าสมถะหรือวิปัสสนา ไม่ว่าจะตามแนวทางใด ก็ไม่สามารถอธิบายให้แจ่มแจ้งแก่ผู้รับฟังหรือผู้อ่านได้เลย

คำตอบข้างบนของคุณที่ผมอ้างอิงมานั้น จัดว่าผู้ตอบคือคุณ อยุ่ในลักษณะทั้ง ๒ อย่าง อย่างใดอย่าง
หนึ่งอย่างแน่นอน

ตรงที่ผมทำแดงๆไว้ นั่ล่ะ วิธีพิจารณาของกาปฏิบัติหลังฌาน สำหรับผู้ที่ต่อยอดสู่วิปัสสนา

พิจารณาในความหมายของวิปัสสนา หมายถึงการรู้ตามสภาวะที่เกิดขึ้น ตามปกติ ตามธรรมดา ของรูป
และนาม

ในการสนทนาหัวข้อนี้ สรุปอีกอย่างที่เราได้รู้คือ

อาการที่ทรงฌานอยู่ หากไม่สามารถนำขึ้นสู่วิปัสสนา หรือว่า พอใจในสุขของสภาวะฌานนั้น
ก็มิสามารถหลุดพ้นได้

คำว่าฌานที่พระพุทธเจ้าท่านให้ซ่องเสพบ่อยๆ ก็ต้องหมายถึงฌานทั้ง ๒ คือ

อารัมณูปนิสฯ และ ลักขณูปนิสฯ เป็นแน่แท้

หากผู้ใดเสพเฉพาะอารัมณูปนิสฯ หรือ พอใจ หรือติดสูขสภาวะของฌานประเภทนี้ ก็หาได้หลุดพ้นไม่

คำกล่าวที่ว่าสภาวะฌานเป็นของน่ากลัว ไม่สามารถหลุดพ้นได้ ก็คงกล่าวไว้หมายอารัมณูปนิสฯแน่
แท้

เมื่อคุณค่อนข้างที่จะรู้วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมแล้ว ขออนุโมทนา เร่งดำเนินตามมรรคานั้นเถิดครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2011, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
เกิดความสงสัยว่า
หลังจากจิตที่ทรงฌานได้แล้ว จะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดปัญญา

อยากรู้วิธีปฏิบัติ ไม่อยากรู้แบบคัมภีร์ เช่น

ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส เมื่อพวกเราประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่ ผล ๔ ประการอานิสงส์ ๔ ประการ อันพวกเราพึงหวังได้

อยากรู้ว่า ทำอย่างไรผล ๔ ประการอานิสงส์ ๔ ประการ จึงเกิดขึ้นได้

คงไม่แค่ทำฌานแล้วมรรคผลจะตามมาเอง
คงไม่แค่ทำฌานแล้วปัญญาจะเกิดขึ้มาเอง

เพราะก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ มีคนมากมายที่สามารถทำฌานได้ แต่ก็ไม่สามารถหลุดพ้น

ก็น่าจะสรุปได้ว่า หลังจากฌานแล้วย่อมมีวิธีการปฏิบัติต่อยอดไปอีกแน่นอน

อยากรู้ตรงนั้นละครับ


สวัสดี กามโภคี
สบายดีไหม...

คำถามท่านก็แปลกดี
ลองเล่ามาสิว่า จิตท่านกามโภคี ทรงฌานแบบไหน
ท่านกามโภคี ได้ปัญญา แบบไหนถึงทรงฌานที่ท่าน ได้ทรงฌานนั้นได้
และ ท่านกามโภคี ต้องการปัญญาแบบไหน ที่จะต่อจากการทรงฌานที่จิตท่านกามโภคี ได้มา

ค่อยๆ เล่า นะครับ ยาวหน่อยไม่เป็นไร เพื่อเป็นธรรมทาน วิทยาทาน แก่ผู้อ่านครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 104 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร