วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2011, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


จะกล่าวถึงเรื่อง อภิธรรม ได้กล่าวถึงเรื่องพระพุทธเจ้าแสดงอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา และได้เล่าเรื่องถึงเรื่องพระไตรปิฎกว่า อภิธรรมนั้นมีแสดงไว้ในอภิธรรมปิฎก แต่ว่าไม่ได้มีเล่าประวัติไว้แต่อย่างไร แสดงแต่ธรรมะขึ้นมาเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจะค้นดูประวัติของอภิธรรมในตำราขั้นเดิมคือในพระไตรปิฎก จึงหาไม่พบ

ใน วินัยปิฎก เองที่เล่าถึงเรื่องสังคายนาครั้งที่หนึ่ง ที่ทำเมื่อหลังพุทธปรินิพพานไม่นานนัก และสังคายนาครั้งที่สองที่ทำเมื่อหลังจากพุทธปรินิพพานประมาณ ๑๐๐ ปี ก็เล่าแต่เพียงว่าได้ทำสังคายนาพระวินัยและพระธรรม ไม่ได้กล่าวถึงอภิธรรมปิฎก เมื่อพระพุทธเจ้าจะนิพพานก็ทรงแสดงเพียงว่าธรรมะที่ทรงแสดงแล้ว วินัยที่ทรงบัญญัติแล้ว เป็นศาสดาแทนพระองค์ ก็กล่าวถึงแต่ธรรมะและวินัยเท่านั้น ไม่ได้พูดถึงอภิธรรม ฉะนั้น นักศึกษาพระพุทธศาสนาที่วิจารณ์ทั้งประวัติและทั้งเนื้อความของปิฎกทั้งสาม จึงมีมากท่านที่ลงความเห็นว่า อภิธรรมปิฎกนั้นมีในภายหลัง

แต่ว่าเมื่อพระพุทธศาสนาล่วงมาหลายร้อยปีเข้า จนถึงสมัยแต่งอรรถกถา ประมาณว่าพระพุทธศาสนาล่วงมาขนาดพันปี จึงได้ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถาที่แต่งในสมัยนั้นถึงเรื่องประวัติของอภิธรรมว่า พระพุทธเจ้าไปเทศน์อภิธรรมแด่พระพุทธมารดาที่ดาวดึงสพิภพ และถ้อยคำในอรรถกถาแสดงว่ามีการนับถือคัมภีร์อภิธรรมนี้เป็นอันมาก ใครจะคัดค้านว่าอภิธรรมมิใช่พุทธวจนะเป็นไม่ได้ ในอรรถกถาเองได้ประณามคนที่คัดค้านอย่างเป็นคนนอกศาสนาเลยทีเดียว แต่เพราะได้กล่าวไว้เช่นนั้น ก็บ่งว่าคงจะได้มีผู้คัดค้านมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว จึงได้เขียนไว้อย่างนั้น

ท่าน (อรรถกถา) ได้แสดงหลักฐานว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อภิธรรม ได้ทรงพิจารณาอภิธรรม จนถึงได้แสดงอภิธรรมแทรกเข้าไว้อย่างมากมาย คือในหลักฐานชั้นบาลีที่มีเล่าไว้ในวินัยปิฎกว่า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ได้ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข (ความสุขที่เกิดจากวิมุตติความหลุดพ้น) ที่ควงไม้ต่าง ๆ ๕ สัปดาห์

สัปดาห์ที่ ๑ ประทับนั่ง ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ คือไม้ที่ได้ตรัสรู้
สัปดาห์ที่ ๒ ได้ประทับนั่งที่ควงไม้นิโครธ คือควงไม้ไทร
สัปดาห์ที่ ๓ ได้ประทับนั่งที่ควงไม้มุจจลินทะ คือควงไม้จิก
สัปดาห์ที่่ ๔ ประทับนั่งที่ควงไม้ราชายตนะ คือควงไม้เกตุ
สัปดาห์ที่ ๕ ได้ประทับนั่งที่ควงไม้ไทรอีก

พระอรรถกถาจารย์ผู้เขียนตำนานอภิธรรม ได้แสดงแทรไว้ในคัมภีร์อรรถกถาอีก ๓ สัปดาห์ จากสัปดาห์ที่ ๓ ในบาลี คือ

สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จจากไม้มหาโพธิไปทางทิศอีสานทรงยืนถวายเนตร คือว่าจ้องดูพระมหาโพธิในที่นั้น จึงเรียกว่า อนิมิตตเจดีย์ แปลว่า เจดีย์ที่ทรงจ้องดูโดยมิได้กระพริบพระเนตร ที่เป็นมูลให้สร้างพระถวายเนตรสำหรับวันอาทิตย์

สัปดาห์ที่ ๓ เสด็จจากที่นั้น มาหยุดอยู่ระหว่างมหาโพธิกับอนิมิตตเจดีย์นั้น ทรงนิมิตที่จงกรมขึ้นแล้ว เสด็จจงกรม ณ ที่นั้น ที่นั้นจึงเรียกว่า รัตนจงกรมเจดีย์ แปลว่า ที่จงกรมแก้ว คำว่าที่จงกรมแก้วนี้ อาจารย์หนึ่งก็ว่าเป็นเรือนแก้วที่เป็นเทพนิรมิตร อีกอาจารย์หนึ่งก็ว่ามิใช่เป็นเรือนแก้ว แต่ว่าหมายถึงที่เป็นที่ทรงพิจารณาอภิธรรม

สัปดาห์ที่ ๔ ประทับนั่งขัดบัลลังก์ที่ในทิศปัคจิมหรือทิศพายัพแห่งมหาโพธิ ทรงพิจารณา อภิธรรม จึงเรียกว่า รัตนฆรเจดีย์ แปลว่า เรือนแก้ว คำว่าเรือนแก้วนี้ อาจารย์หนึ่งก็ว่าเป็นเรือนแก้วที่เป็นเทพนิมิต อีกอาจารย์หนึ่งก็ว่ามิใช่เป็นเรือนกันเช่นนั้น แต่หมายถึงที่เป็นที่ทรงพิจารณาอภิธรรมรัตนฆระคือเรือนแก้วนี้ ก็เป็นมูลให้สร้างพระพุทธรูปมีเรือนแก้วเหมือนอย่างพระพุทธินราชที่จังหวัดพิษณุโลกมีเรือนแก้ว

เมื่อท่านแทรกเข้ามาอีก ๓ สัปดาห์ดั่งนี้ สัปดาห์ที่ ๒ ตามที่แสดงในบาลีก็ต้องเลื่อนไปเป็นที่ ๕ และก็เลื่อนไปโดยลำดับ ท่านก็ได้อธิบายไว้ด้วยว่า การที่แทรกนอกจากพระบาลีออกไปดั่งนั้น ไม่ผิดไปจากความจริง เพราะในบาลีแสดงแต่โดยย่อ เหมืออย่างพูดว่ากินข้าวแล้วนอน ความจริงกินข้าวแล้ว ก่อนจะนอนก็ได้มีกิจอื่นอีกหลายอย่าง แต่ว่าไว้ไม่กล่าว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวถึงกิจที่เว้นไว้นั้นให้บริบูรณ์

ตำนานอภิธรรมดั่งกล่าวมานี้ ได้มีกล่าวไว้ในหนังสืออรรถกถา ที่เขียนขึ้นเมื่อพระพุทธศาสนาล่วงมาแล้วนาน ดั่งที่ได้กล่าวมาแล้ว และท่านก็ยังได้เล่าไว้อีกว่า คัมภีร์อภิธรรมนั้นมีเจ็ดคัมภีร์ เรียกว่า สัตตปกรณ์ ปกรณ์ ก็แปลว่า คัมภีร์สัตต แปลว่า ๗ สัตตปกรณ์ ก็แปลว่า๗ คัมภีร์ คำนี้ได้นำมาใช้ในเมื่อบังสุกุลพระศพเจ้านาย ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป ใช้คำว่า สดับปกรณ์ ก็มาจากคำว่าสัตตปกรณ์คือเจ็ดคัมภีร์นี้เอง แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้แสดงทั้ง ๗ คัมภีร์ เว้นคัมภีร์กถาวัตถุ ทรงแสดงแค่ ๖ คัมภีร์ ส่วนคัมภีร์กถาวัตถุนั้น พระโมคคัลลีบุตรเป็นผู้แสดง ในสมัยสังคายนาครั้งที่สาม แต่ว่าพระเถระก็ได้แสดงตามนัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ฉะนั้น จึงได้ครบเจ็ดปกรณ์ในสมัยสังคายนาครั้งที่สามนั้น และก็ถือว่าเป็นพระพุทธภาษาทั้งหมด เพราะพระพุทธเจ้าได้ประทานนัยไว้

(ต่อ)

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2011, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ในตำนานนี้ได้กล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เทศน์อภิธรรมตลอดเวลาไตรมาสคือสามเดือน โดยไม่มีเวลาหยุดยั้ง ฉะนั้น จึงได้เกิดปัญหาขึ้น ๒ ข้อ
ข้อ ๑ ว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงบำรุงพระสรีระ เช่น เสวยและปฏิบัติสรีรกิจอย่างอื่นตลอดไตรมาสหรือ?
ข้อ ๒ พระอภิธรรมมาทราบกันในเมืองมนุษย์ได้อย่างไร

ปัญหาเหล่านี้ ท่านผู้เล่าตำนานอภิธรรมก็ได้เล่าแก้ไว้ด้วยว่า เมื่อเวลาภิกษาจารคือเวลาทรงบิณฑบาต ก็ได้ทรงนิรมิตพระพุทธนิมิตไว้ ทรงอธิษฐานให้ทรงแสดงอภิธรรมตามเวลาที่ทรงกำหนดไว้แทนพระองค์ แล้วเสด็จลงมาปฏิบัติพระสรีรกิที่สระอโนดาด แล้วเสด็จไปเที่ยวบิณฑบาตที่อุตรกุรุทวีป เสด็จมาเสวยที่สระนั้น เสวยแล้วเสด็จไปประทับพักกลางวันที่นันทวัน ต่อจากนั้นก็จึงเสด็จขึ้นไปแสดงอภิธรรมต่อจากพระพุทธนิมิต และที่นันทวันนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรได้ไปเฝ้าทำวัตรปฏิบัติ พระองค์จึงได้ประทานนัยอภิธรรมที่ทรงแสดงแล้วแก่ท่่านพระสารีบุตร ท่านพระสารีบุตรก็ได้มาแสดงอภิธรรมแก่หมู่ภิกษุที่เป็นสัทธิวิหาริกของท่านต่อไป

ท่านแก้ไว้อย่างนี้ ก็เป็นอันแก้ปัญหาทั้งหลายข้อนั้น ตามคำแก้ของท่านนี้เอง ก็ส่องว่าอภิธรรมมาปรากฏขึ้นในหมู่มนุษย์ก็โดยพระสารีบุตรเป็นผู้แสดง เพราะฉะนั้น เมื่อพูดกันอย่างในเมืองมนุษย์ ท่านพระสารีบุตรจึงเป็นผู้แสดงพระอภิธรรมนั้นเอง แต่ท่านว่าพระสารีบุตรไม่ใช่เป็นนักอภิธรรมองค์แรก พระพุทธเจ้าเป็นนักอภิธรรมองค์แรก เพราะได้ตรัสรู้พระอภิธรรมตั้งแต่ราตรีที่ได้ตรัสรู้ ได้ทรงพิจารณาอภิธรรมที่รัตนฆรเจดีย์ดั่งที่กล่าวมาแล้ว และได้ทรงแสดงนัยแห่งอภิธรรมแก่ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสารีบุตรจึงได้มาแสดงต่อไป

ในบัดนี้ ได้มีท่านผู้หนึ่งในปัจจุบันเขียนหนังสือค้านว่าอภิธรรมปิฎกนั้นพิมพ์เป็นหนังสือได้เพียงสิบสองเล่ม ตามประวัติ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอยู่ตลอดสามเดือนไม่มีเวลาหยุด และยังได้กล่าวอีกว่ามีรับสั่งเร็ว คือว่าพระพุทธเจ้าพูดเร็วกว่ามนุษย์สามัญหลายเท่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าจะมารวมพิมพ์ขึ้นก็จะต้องว่าสิบสองเล่มเป็นไหน ๆ แต่เมื่อหนังสือนี้ออกไปแล้ว ได้มีผู้ที่นับถืออภิธรรมไม่พอใจกันมาก เพราะเหตุดั่งที่ได้กล่าวแล้ว ในหลักฐานตั้งแต่ชั้นอรถกถานั้น ได้มีผู้นับถืออภิธรรมมาก จนถึงในบัดนี้ก็ยังมีผู้นับถืออภิธรรมกันอยู่มาก ในพม่านั้นนับถือมากเป็นพิเศษ จนถึงได้มีนิทานเล่าเป็นประวัติไว้ว่า เรือเชิญพระไตรปิฎกจากลังกามา ๓ ลำ และมาเกิดพายุพัดเอาเรือที่ทรงพระอภิธรรมปิฎกไปประเทศพม่า เอาเรือที่ทรงวินัยปิฎกไปประเทศรามัญ เอาเรือที่ทรงสูตตันตปิฎกมาประเทศไทย นี้เป็นเรื่องที่ผูกขึ้นมานานแล้ว มาพิจารณาดูก็มีเค้าอยู่บ้าง เพราะว่าพม่านั้นนับถืออภิธรรมมาก รามัญก็เคร่งครัดในวินัย ส่วนฝ่ายไทยน้้นอยู่ในสถานกลาง ไม่ใคร่เคร่งครัดวินัยนัก และก็ไม่ย่อหย่อนอย่างพม่า พอใจจะถือเอาเหตุ ซึ่งก็สงเคราะห์ว่าเป็นฝ่ายสุตตันตปิฎก

แต่ว่าสารัตถะในอภิธรรมนั้นมีมาก ถึงท่านจะไม่แสดงประวัติให้พิสดารไว้อย่างไร สารัตถะในอภิธรรมนั้นเองก็เป็นสิ่งที่ควรจะศึกษา เมื่อศึกษาแล้ว ก็จะทำให้ได้ความรู้ในพระพุทธศาสนาพิสดารขึ้นอีกเป็นอย่างมาก

คัดลอกจาก หนังสือความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม สมเด็จพระสังฆราช

ธรรมรักษา ท่านผู้เจริญในธรรมทุกท่าน อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2011, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาสาธุ

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2011, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาค่ะ ท่านพุทธฎีกา

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2012, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2013, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธรรม ซึ่งจะสามารถปรากฎขึ้นได้ในโลกนี้ ก็ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ
ตามธรรมดาสภาวธรรมทั้งหลาย คือรูปกับนามทั้ง ๒ อย่างนี้มีอยู่แล้วในโลกนี้
หากแต่ว่าไม่มีใครสามารถจะแสดงขึ้นมาให้ปรากฎได้เท่านั้น นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว แม้แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ไม่สามารถทำให้ปรากฎขึ้นได้
อุปมาเหมือนแสงไฟฟ้า เครื่องส่งเครื่องรับวิทยุ เครื่องส่งเครื่องรับโทรทัศน์ โทรศัพท์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบิน คอมพิวเตอร์ เป็นต้นเหล่านี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีผู้คิดขึ้น ทำขึ้น ก็ย่อมมีอยู่แล้วในโลก ต่อมาเมื่อมีผู้สามารถค้นคว้าประดิษฐ์ขึ้นมาให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลายได้แล้วนั้น สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานี้ก็ปรากฎขึ้นในโลกตลอดจนถึงปัจจุบันนี้
ข้อนี้ฉันใด พระอภิธรรมก็เช่นเดียวกัน สภาวะมีอยู่แล้วแต่ผู้ที่สามารถทำให้ปรากฎขึ้นไม่มี สภาวะนั้นก็ย่อมไม่ปรากฏต่อเมื่อมีผู้ค้นพบและนำมาแสดงให้ปรากฎได้ ซึ่งได้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สภาวะเหล่านั้นก็ปรากฏขึ้นทันที
ฉะนั้น พระอภิธรรม อันเป็นธรรมที่เกี่ยวกับสภาวะที่สามารถปรากฏขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยญาณอันสูงสุด ซึ่งได้แก่พระสัพพัญญุตญานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่พระองค์ทรงค้นพบ และนำออกมาแสดงให้ปรากฎในโลก กับทรงสอนให้บุคคลชั้หลังๆไข้ใจได้ด้วย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าถ้าไม่อุบัติขึ้นในโลกนี้ พระอภิธรรม หรือสภาวธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ก็จะไม่สามารถรู้ได้เลย
อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้ว่าจะเป็นผู้ตรัสรู้สภาวธรรมเองก็ตาม แต่ความรู้ของพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ จะเทียบเท่ากับความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหาได้ไม่ ฉะนั้นการรู้สภาวธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นจึงรู้เพียง ๑ ในร้อยส่วนของพระอภิธรรมเท่านั้น และส่วนหนึ่งที่รู้นั้น ก็รู้เพียงอรรถรส ไม่ใช่ธรรมรส คือไม่สามารถแสดงได้ให้สัตว์ทังหลายรู้ตามได้ ซึ่งจะเปรียบเทียบกับความรู้แห่งสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังดีกว่า เพราะรู้ในธรรมรส ฉะนั้นพระอภิธรรม ไม่ใช่วิสัยของผู้อื่นที่จะนำมาแสดงให้ปรากฎขึ้นได้ ก็เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น และการแสดงพระอภิธรรมที่ปรากฎขึ้นได้ ก็โดยอำนาจแห่งพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร