วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2011, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


จะแสดงพรรษาที่ ๗ เรื่องพระพุทธเจ้าทรงแสดงอภิธรรมต่อไป คำว่า อภิธรรม นั้น ประกอบด้วยศัพท์ว่า อภิ แปลว่า ยิ่ง กับ ธรรม รวมกันแปลว่า ธรรมะยิ่ง หมายความว่าธรรมะที่ยิ่งกว่าจำนวนโดยปรกติ เพราะว่าได้จำแนกไว้โดยพิสดาร อีกอย่างหนึ่งหมายความว่า ธรรมะที่ยิ่ง คือ พิเศษ หมายความว่าแปลกจากธรรมะในปิฎกอื่น ความหมายนี้ต่างจากคำว่า อภิธรรม อภิวินัย ที่ใช้ในพระสูตร เพราะในที่นั้น คำว่า อภิ หมายความว่า จำเพาะธรรมะ จำเพาะวินัย คือมีเขตแดนไม่ปะปนกัน อีกอย่างหนึ่ง อภิ ในที่นั้นก็หมายความว่า ยิ่ง นั่นแหละ แต่ไม่ได้หมายไปถึงอีกปิฎกหนึ่ง คือ อภิธรรม หมายถึง โพธิปักขิยธรรม, อภิวินัย ก็หมายถึง อาทิพรหมจริยกาสิกขา คือสิกขาบทมาในพระปาติโมกข์

แต่ว่าในที่บางแห่ง คำว่า อภิธรรม หมายความว่า ธรรมะที่เป็นอธิบาย ทำนองอรรถกถา คือกถาที่อธิบายเนื้อความ ถ้าตามความหมายหลังนี้ อภิธรรม ก็คือเป็นตำราที่อธิบายธรรมะ

ส่วนที่แสดงความของศัพท์อภิธรรมว่า ธรรมะที่ยิ่ง ดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นการแสดงตามคัมภีร์อรรถกถาอภิธรรม แต่ถ้าไม่อ้างคัมภีร์นั้น ว่าเอาตามที่พิจารณา จะแปลว่า เฉพาะธรรม ก็ได้ เพราะว่าในคัมภีร์อภิธรรมได้แสดงเฉพาะธรรม ไม่เกี่ยวกับบุคคล

อภิธรรมมี ๗ คัมภีร์ เรียกว่า สัตตปกรณ์ ดั่งกล่าวมาแล้ว คือ
๑. ธัมมสังคณี แปลง่าย ๆ ว่า ประมวลหมวดธรรมะ สังคณี ก็แปลว่า ประมวลเข้าเป็นหมู่หมวด ธัมมสังคณี ก็แปลว่า ประมวลธรรมะเข้าเป็นหมวดหมู่ จำแนกออกเป็น ๔ กัณฑ์คือ ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งจิต ๘๙ ดวงกัณฑ์หนึ่ง ว่าด้วยรูปโดยพิสดารกัณฑ์หนึ่ง ว่าด้วยนิกเขปแปลว่ายกธรรมะขึ้นแสดงโดยมูลราก โดยขันธ์คือกอง โดยทวารเป็นต้น กัณฑ์หนึ่ง ว่าด้วยอัตถุตธารหรืออรรถกถา คือว่ากล่าวอธิบายเนื้อความของแม่บทนั้น ที่ได้แสดงไว้ตั้งแต่กัณฑ์หนึ่ง

๒. วิภังค์ แปลว่า จำแนกธรรม ลำพังศัพท์ว่า วิภังค์ แปลว่า จำแนก มี ๑๘ วิภังค์ คือ ขันธวิภังค์ จำแนกขันธ์ อายตนวิภังค์ จำแนกอายตนะ ธาตุวิภังค์ จำแนกธาตุ เป็นต้น

๓. ธาตุกถา ว่าด้วย ธาตุ แต่โดยที่แท้นั้น ว่าด้วยขันธ์อัยตนธาตุ ที่สงเคราะห์กันเข้าได้อย่างไร และสงเคราะห์ไม่ได้อย่างไร ควรจะเรียกชื่อเต็มที่ว่า ขันธ์อายตนธาตุกถา แต่ว่าเรียกสั้น ๆ ว่า ธาตุกถา แบ่งออกเป็น ๑๔ หมวด มีการสงเคราะห์กันได้ การสงเคราะห์กันไม่ได้ แห่งส่วนทั้งสามนั้น เป็นต้น

๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติว่าบุคคล เป็นเบื้องต้น ฃของคัมภีร์นี้ได้แสดงถึงบัญญัติ ๖ ประการคือ ขันธบัญญัติ บัญญัติว่าขันธ์ อายตนบัญญัติ บัญญัติว่าอายตนะ ธาตุบัญญัติ บัญญัติว่าธาตุ สัจจบัญญัติ บัญญัติว่าสัจจะอินทรีย์บัญญัติ บัญญัติว่าอินทรีย์ ปุคคลบัญญัติ บัญญัติว่าบุคคล แต่ว่าบัญญัติ ๕ ประการข้างต้นนั้น ได้มีกล่าวไว้ในคัมภีร์แรก ๆ แล้ว ในคัมภีร์นี้จึงได้กล่าวพิสดารแต่เฉพาะปุคคลบัญญัติคือบัญญัติว่าบุคคล และเรียกชื่อคัมภีร์ตามนี้ ในคัมภีร์นี้แยกบุคคลตั้งแต่พวกหนึ่งสองจำพวกขึ้นไป คล้ายกับในสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย คือตอนที่แสดงธรรมะเป็นหมวด ๆ แต่ว่าก็มีเงื่อนเค้าอยู่ในคัมภีร์อภิธรรมนี้ เพราะมีคำว่าบัญญัติอยู่ด้วย อันหมายความว่าที่จะเป็นบุคคลเพราะมีบัญญัติชื่อว่าบุคคล เพราะฉะนั้น คำว่าบุคคลนั้น ก็จะเป็นเพียงบัญญัติอย่างหนึ่งเท่านั้น ก็เป็นลักษณะของอภิธรรม

๕. กถาวัตถุ คำว่า วัตถุ แปลว่า ที่ตั้ง แปลว่า เรื่อง กถาวัตถุ ก็แปลว่า ที่ตั้งของถ้อยคำ เรื่องของถ้อยคำ ในคัมภีร์นี้ได้แสดงที่ตั้งของถ้อยคำซึ่งกล่าวโต้กันอยู่สองฝ่าย คือ ฝ่ายสกวาทะ ๕๐๐ สูตร ฝ่ายปรวาทะ ๕๐๐ สูตร รวมเป็นพันสูตร คือว่าพันเรื่อง แต่ไม่ใช่เป็นคัมภีร์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นคัมภีร์ที่ว่าพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระแสดงในสมัยสังคายนาครั้งที่สาม เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปแล้ว ๒๐๐ ปีเศษ แต่ท่านก็ว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงนัยหรือว่าตั้งมาติกาคือแม่บทไว้ให้แล้ว พระเถระได้แสดงไปตามแม่บทนั้น ที่ท่านนับว่าเป็นพุทธภาษิตด้วย ก่อนแต่นั้นจึงมีเพียง ๖ คัมภีร์

โดยเฉพาะคัมภีร์นี้เองก็ถูกค้านเหมือนกันว่าไม่ควรใส่เข้ามา ถ้าต้องการจะให้ครบ ๗ ก็ให้ใส่ คัมภีร์ธัมมหทัย หรือว่า คัมภีร์มหาธาตุกถา แต่ว่าฝ่ายที่ยืนยันให้ใส่คัมภีร์นี้เข้ามาก็อ้างว่า สองคัมภีร์นั้นไม่เหมาะสม คัมภีร์นี้เหมาะสมกว่า ก็คงจะเป็นว่า ความเห็นส่วนมากในที่ประชุม ต้องการให้ใส่คัมภีร์นี้เข้ามาให้ครบ ๗ ทำไมจึงต้องมีเกณฑ์ ๗ อันนี้ไม่ทราบ อาจจะเป็นเพราะเห็นว่าเหมาะก็ได้ จึงได้ใส่เข้ามา เมื่อใส่เข้ามาก็รวมเป็น ๗

ในกถาวัตถุนี้มีเรื่องที่โต้กันอยู่มาก เกี่ยวแก่ลัทธิต่าง ๆ ที่แตกแยกกันออกไป เกี่ยวกับความเห็นต่าง ๆ เป็นต้นว่า มติหนึ่งว่าพระอรหันต์เมื่อบรรลุพระอรหันต์นั้นไม่รู้เองต้องมีผู้อื่นมาบอกให้ แต่อีกมติหนึ่งว่ารู้ได้เอง ไม่ต้องมีผู้อื่นมาบอก มติหนึ่งว่าจิตเป็นธรรมชาติที่ดำรงอยู่ ทำนองจิตอมตะนั่นแหละ แต่อีกมติหนึ่งคัดค้าน ดั่งนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น คัมภีร์กถาวัตถุจึงเท่ากับว่าเป็นที่รวมของปัญหาโต้แย้งต่าง ๆ ที่เกิดมีมาโดยลำดับ จนถึงในสมัยที่รวบรวมเรียบเรียงคัมภีร์นี้ขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ารู้น่าเห็นอยู่มาก และเมื่อได้อ่านคัมภีร์นี้ก็จะทราบว่า ได้มีความเห็นแตกแยกกันในพระพุทธศาสนาอย่างไรบ้าง เมื่อท่านแสดงถึงข้อที่แตกแยกโต้เถียงกันแล้ว ในที่สุดท่านก็ตัดสินเป็นข้อ ๆ ไปว่าอย่างไหนถูก ก็เข้าเรื่องที่เล่าว่าพระเจ้าอโศกใช้ราชานุภาพไปสอบสวนภิกษุในคราวนั้น ปรากฏว่ามีพวกเดียรถีย์เข้ามาปลอมบวชเป็นอันมาก ได้ตั้งปัญหาขึ้นถามโดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นผู้คอยฟัง วินิจฉัย เมือคำตอบนั้นส่องว่าเป็นลัทธิภายนอกไม่ใช่เป็นพระพุทธศาสนา ก็ให้สึกไป เหลือไว้แต่ผู้ที่ตอบถูกต้องตามแนวของพระพุทธศาสนา เสร็จแล้วก็ทำสังคายนาครั้งที่สาม

๖. ยมก แปลว่า คู่ คัมภีร์นี้ว่าด้วยธรรมะที่เป็นคู่ ๆ กัน แบ่งออกเป็น ๑๐ หมวด มีมูลยมก ขันธยมก เป็นต้น

๗. ปัฏฐาน คัมภีร์นี้เรียกว่าเป็น มหาปกรณ์ แปลว่า ปกรณ์ใหญ่ หรือว่า คัมภีร์ใหญ่ คู่กันกับปกรณ์ที่หนึ่งคือ ธัมมสังคณี ว่าด้วยปัจจัย ๒๔ มีเหตุปัจจโย (เหตุปัจจัย) เป็นต้น ท่านนับถือว่าคัมภีร์ที่ ๗ นี้มีอรรถะลึกซึ้ง และแสดงว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้ที่รัตนฆรเจดีย์ เจดีย์เรือนแก้วที่แสดงแล้วนั้น เมื่อพิจารณษปกรณ์แรก ๆ มา ฉัพพัณณรังษีก็ยังไม่ปรากฏ ต่อเมื่อมาพิจารณาปกรณ์ที่ ๗ นี้ จึงปรากฏฉัพพัณณรังษีขึ้น

ก็รวมเป็น ๗ คัมภีร์ ในคัมภีร์ที่หนึ่ง ธัมมสังคณีที่ประมวลธรรมะ ได้ตั้งแต่บทที่เป็นหมวด ๓ ขึ้นต้นว่า กุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเป็นอกุศล อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเป็นอัพยากฤต คือว่าไม่พยากรณ์ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ถือว่าแม่บทนี้เป็นแม่บทใหญ่ เป็นที่รวมของธรรมะทั้งหมดที่แสดงออกไปทั้ง ๗ คัมภีร์ เพราะว่าประมวลลงในแม่บทอันนี้ทั้งนั้น

คัดลอกจาก หนังสือเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม สมเด็จพระสังฆราช

ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2011, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 08:25
โพสต์: 326


 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
567.jpg
567.jpg [ 33.53 KiB | เปิดดู 4654 ครั้ง ]
567.jpg
567.jpg [ 33.53 KiB | เปิดดู 4654 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b45: :b45: :b42: :b42: :b42: :b42:

.....................................................
สุดปลายฟ้า... เชื่อมั่นและสัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ยึดถือพระองค์เป็นสรณะ อย่างไม่มีสิ่งใดเหนือกว่า
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2011, 21:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร