วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2012, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




392535_157282464401393_100003589221105_189588_1590220020_n.jpg
392535_157282464401393_100003589221105_189588_1590220020_n.jpg [ 10.1 KiB | เปิดดู 8879 ครั้ง ]

ปุจฉา ทานนั้น มีอยู่มากมาย เมื่อสรุปแล้วมีกี่อย่าง? อะไรบ้าง?

วิสัชชนา ทานนั้นมีอยู่มากมาย เมื่อสรุปแล้วมี ๔ อย่าง คือ
๑. เจตนาทาน ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่ประกอบกับมหากุศล ซึ่งเป็นเหตุแ่ห่งการให้ทาน
๒. วัตถุทาน ได้แก่ ปัจจัย ๔ ที่เป็นเทยยธรรม
๓. อโลภทาน ได้แก่ อโลภเจตสิกที่ประกอบกับเจตนาเจตสิก ซึ่งเป็นเหตุแห่งการให้ทาน
๔. วิรติทาน ได้แก่ วิรติเจตสิก ๓ ที่มีการงดเว้นจากอกุศลทุจริต อันเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายไม่ต้องหวั่นใจในการที่จะมีภัยบังเกิดขึ้น เป็นอภัยทานทั้งที่เป็นภายในและภายนอก

:b36: :b36: :b36:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2012, 04:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




phoca_thumb_l_4-2.jpg
phoca_thumb_l_4-2.jpg [ 43.33 KiB | เปิดดู 8866 ครั้ง ]
ยอดภูมิทั้ง ๓ นี้ พระอริยบุคคลได้ไปบังเกิดแล้ว
จะไม่ไปบังเกิดในภูมิอื่นๆ อีกต่อไป จะต้องปรินิพพานในยอดภูมินั้นๆ แน่นอน

ปุจฉา...พรหมชั้นสุทธาวาสภูมิเมื่อผู้ที่ตายไป จะเกิดซ้ำภูมิไม่ได้ดังนั้น
ในอกนิฏฐาภูมิเป็นภูมิของพระอาคามีก็เกิดอยู่ เมื่อพระอนาคามีตายจะไปเกิดในภูมิไหน?
ในเมื่อเกิดซ้ำภูมิอีกก็ไม่ได้ จะปรินิพพานเลยก็ไม่ได้ เพราะท่านยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์

วิสัชนาหน่อย.................. :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2012, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ยอดภูมิทั้ง ๓ นี้ พระอริยบุคคลได้ไปบังเกิดแล้ว
จะไม่ไปบังเกิดในภูมิอื่นๆ อีกต่อไป จะต้องปรินิพพานในยอดภูมินั้นๆ แน่นอน

ปุจฉา...พรหมชั้นสุทธาวาสภูมิเมื่อผู้ที่ตายไป จะเกิดซ้ำภูมิไม่ได้ดังนั้น
ในอกนิฏฐาภูมิเป็นภูมิของพระอาคามีก็เกิดอยู่ เมื่อพระอนาคามีตายจะไปเกิดในภูมิไหน?
ในเมื่อเกิดซ้ำภูมิอีกก็ไม่ได้ จะปรินิพพานเลยก็ไม่ได้ เพราะท่านยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์

วิสัชนาหน่อย.................. :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


วิสัชชนา :b4:
พระอนาคามีตายในอกนิฏฐาภูมิไม่ได้
อกนิฏฐาภูมิเป็นภูมิที่พระอนาคามีเกิดได้ แต่พระอนาคามีตายไม่ได้ในภูมินี้ค่ะ

ยอดภูมิทั้ง ๓ นี้ พระอริยบุคคลได้ไปบังเกิดแล้ว
จะไม่ไปบังเกิดในภูมิอื่นๆ อีกต่อไป จะต้องปรินิพพานในยอดภูมินั้นๆ แน่นอน

ไม่ไปเกิดที่ภูมิไหนแล้วค่ะ :b12:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2012, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
ยอดภูมิทั้ง ๓ นี้ พระอริยบุคคลได้ไปบังเกิดแล้ว
จะไม่ไปบังเกิดในภูมิอื่นๆ อีกต่อไป จะต้องปรินิพพานในยอดภูมินั้นๆ แน่นอน

ปุจฉา...พรหมชั้นสุทธาวาสภูมิเมื่อผู้ที่ตายไป จะเกิดซ้ำภูมิไม่ได้ดังนั้น
ในอกนิฏฐาภูมิเป็นภูมิของพระอาคามีก็เกิดอยู่ เมื่อพระอนาคามีตายจะไปเกิดในภูมิไหน?
ในเมื่อเกิดซ้ำภูมิอีกก็ไม่ได้ จะปรินิพพานเลยก็ไม่ได้ เพราะท่านยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์

วิสัชนาหน่อย.................. :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


วิสัชชนา :b4:
พระอนาคามีตายในอกนิฏฐาภูมิไม่ได้
อกนิฏฐาภูมิเป็นภูมิที่พระอนาคามีเกิดได้ แต่พระอนาคามีตายไม่ได้ในภูมินี้ค่ะ

ยอดภูมิทั้ง ๓ นี้ พระอริยบุคคลได้ไปบังเกิดแล้ว
จะไม่ไปบังเกิดในภูมิอื่นๆ อีกต่อไป จะต้องปรินิพพานในยอดภูมินั้นๆ แน่นอน

ไม่ไปเกิดที่ภูมิไหนแล้วค่ะ :b12:

บุคคลที่มีอยู่ในสุทธาวาสภูมิ ๕ มี ๓ บุคคล คือ
๑. อนาคามิผลบุคคล
๒. อรหัตตมรรคบุคคล
๓. อรหัตตผลบุคคล
ในสุทธาวาสภูมิมีข้อจำกัดอยู่ว่า จะเกิดซ้ำภูมิไม่ได้
เช่นพระอนาคามีตายแต่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ก็ต้องเกิดอีกได้
แต่ต้องเปลี่ยนภูมิที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ถึงอกนิฏฐาภูมิเป็นภูมิที่สูงสุด
พระอนาคามีหมดอายุในชั้นอกนิฏฐาภูมิ เมื่อจะตายก็ไม่สามารถที่จะมีภูมิที่จะเกิดได้อีก
จึงจำเป็นที่จะต้องเจริญธรรมให้เป็นพระอรหันต์ให้ได้จึงจะตายได้ (คือปรินิพพานได้)
ในชั้นอกนิฏฐาภูมิเมื่อหมดอายุจะต้องปรินิพพานอย่างเดียว
และในชั้นอกนิฏฐาภูมินี้มีเกิดอยู่ได้ ๓ คน แต่ตายได้คนเดียวคือพระอรหันต์เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กราบอนุโมทนาสาธุค่ะลุง ได้เข้าใจชัดเจนขึ้นค่ะ
:b8:

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

ประมวลปกิณณกธรรม ปุจฉา-วิสัชชนา
ปฐมภาค
สำนักงานกลาง อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย.


ปุจฉา ภิกษุถึงแก่มรณภาพไปแล้ว อุบาสถอุบสิกาทั้งหลายพร้อมใจกันจัดงานศพนั้นอย่างใหญ่โต
มีการสร้างเมรุอย่างหรูหรา มีมหรสพครึกครื้น เพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงคุณของภิกษุองค์นั้น การกระทำ
เช่้นนี้ ผู้ทำจะได้รับผลานิสงค์หรือไม่

วิสัชชนา อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายที่ได้พร้อมใจกันจัดงานศพถวายแต่พระภิกษุที่มรณภาพไปแล้ว
อย่างมโหฬาร ดังที่ได้กล่าวแล้วนั้น อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายเหล่านั้นได้รับอานิสงส์ก็มี ไม่ได้รับ
อานิสงส์ก็มี
การที่จะได้รับอนิสงส์นั้นจะพึงได้รับในขณะที่ตนระลึกถึงคุณของท่าน แล้วก็จัดการบูชาด้วยของอุปโภคบริโภคมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นต้น การกระทำดังนี้จึงจะได้รับอานิสงส์ที่เกิดจากการบูชาคุณ ส่วนการกระทำอื่นๆ นอกจากนี้ที่เป็นงานการกระทำเกี่ยวกับความสนุกครึกครื้นไปตามธรรมดาโลกนิยมกันแล้ว
ก็จะไม่ได้รับอานิสงส์ใดๆ จากการบูชาคุณนี้เลย

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แก้ไขล่าสุดโดย SOAMUSA เมื่อ 04 พ.ค. 2012, 09:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา พระที่ถูกนิมนต์ไปในงานศพ เพื่อเป็นเกียรติแก่ศพ หรือในขณะที่ยกศพแล้วนิมนต์พระมานำหน้าศพเพื่อเป็นเกียรติแก่ศพนั้น อยากทราบว่าพระที่ไปในงานศพตามที่เขานิมนต์ดังนี้ จะเป็นอาบัติหรือไม่?

วิสัชชนา พระที่ถูกนิมนต์ไปในงานศพก็ดี หรือถูกนิมนต์มานำหน้าศพก็ดี เป็นอาบัติได้
แต่ถ้าผู้นิมนต์เป็นผู้เมีความเข้าใจในเรื่องนี้ดี ก็จะจัดการนิมนต์มิให้เป็นอาบัติแก่พระได้

โดยกล่าวคำนิมนต์ว่า "ข้าพเจ้าขอนิมนต์พระคุณเจ้าไปพิจารณาซากศพ"
การนิมนต์โดยวิธีนี้ ไม่เป็นอาบัติแก่พระ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา นิสสัย อุปนิสสัย อนุสัย วาสนา สันดาน สัญชาติญาณ
ทั้ง ๖ อย่างนี้ มีความหมายต่างกันอย่างไร?

วิสัชชนา มีความหมายต่างกันดังนี้ :-

นิสสัย = หมายถึง กุศล และ อกุศล คือความดีและความชั่วที่มีประจำอยู่ในตัวของบุคคลทุกๆ คน

อุปนิสสัย = หมายถึงความดีที่เป็นกุศลฝ่ายเดียว

อนุสัย = หมายถึงความไม่ดีที่เป็น อกุศลฝ่ายเดียว

วาสนา = หมายได้ทั้งสองอย่างคือ ทั้งฝ่ายดีและไม่ดี หรือ
หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าจะกล่าวตามวิภาวินีฎีกาแล้ว ท่านหมายถึงกุศลฝ่ายเดียวเท่านั้น

สันดาน = หมายถึงความสืบเนื่องติดต่อกันแห่งจิตโดยไม่ขาดสาย ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว

สัญชาติญาณ = หมายถึงความรู้การติดต่อแห่งภพได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดมาสั่งสอน
เช่น สัตว์ฺดิรัจฉาน มี ปลวก เป็นต้น ก็มีความรู้ในกิจการของตนๆ คือ รู้จักทำที่อยู่ที่อาศัย ดังที่เรียกกันว่า
จอมปลวก หรือ นกกระจาบก็รู้จักทำรัง ผึ้งก็รู้่จักทำรังและเที่ยวแสวงหาเกสรดอกไม้ตามที่ตนต้องการได้ตามความประสงค์ของตนๆ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา ให้อธิบายถึงวิปากผลและนิสสันทผล ว่าหมายความว่าอย่างไร?
และให้ยกตัวอย่างวิปากผล และ นิสสันทผลของกุศลกรรมและ อกุศลกรรม

วิสัชชนา วิปากผล หมายถึงผลที่ได้รัีบจากกรรมที่เกิืดจากการกระทำของตนเอง โดยส่วนเดียว
ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยผู้อื่น
เช่น ผู้ใดสร้างกุศลกรรรมต่างๆ มี ทาน ศีล ภาวนา แล้วเมื่อตายไปย่อมไป
เกิดในที่ดี เป็นคนดีมีรูปร่างสวยงาม มีทรัพย์สมบัติ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเหล่านี้เป็นต้น หรือถ้า
ผู้ใดสร้างอกุศลกรรมไว้มาก อกุศลกรรมนั้นจะให้ผลแก่ผู้นั้นไปเกิดในทุคคติ หรือหากว่าจะได้เกิดเป็น
มนุษย์ก็เป็นคนยากจนขี้โรค โง่ หรือจะทำอะไรก็ไม่ค่อยจะได้รับความเจริญอย่างนี้เป็นต้น

ส่วนนิสสันทผลนั้น หมายถึงผลของกุศลกรรมหรือ อกุศลกรรมก็ตาม ตนเองได้รับแล้วยังทำให้
ผู้อื่นมีส่วนเกี่ยวเนื่องด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ทางฝ่ายกุศล ในบ้านใด สถานที่ใด ผู้มีบุญมาเกิด
ตนเองก็มีความสุข ทั้งยังทำให้บ้านนั้น สถานที่นั้นเจริญรุ่งเรือง ไม่มีอุปสรรคอย่างหนึ่งอย่างใดมากีดขวางทั้งทางโลกและทางธรรมอีกด้วย แล้วแต่บุญของผู้ที่มาเกิดนั้น หรือผู้มีบุญจะไปอยู่ที่ใด ไปกับใคร
ก็ย่อมจะนำความสุขความเจริญไปสู่ที่นั้นๆ และบุคคลนั้น พรรคพวกบริวารที่อยู่ร่วมกันก็ดี ไปด้วยกันก็ดี
ก็พลอยได้รับความสุขความสบายทั่วถึงกันทั้งหมด

ทางฝ่ายอกุศลนั้น เช่น ในบ้านใด สถานที่ใดมีบุคคลลามกเกิดขึ้น ตนเองก็ได้รับความทุกข์ คนอื่นนับ
ตั้งแต่บิดามารดาเป็นต้นจนถึงสถานที่ หมู่บ้าน บังเกิดแต่ความขัดสนค้นแค้น อุปสรรคนานาประการ
ความเป็นไปดังนี้แต่ในอดีตก็มีมาแล้ว และในปัจจุบันนี้ก็คงมีอยู่ แต่เราทั้งหลายมิใคร่จะได้สังเกตกันเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะขาดหลักวิชาความรู้ในพระพุทธศาสนานั้นเอง ผลของกุศลและอกุศลดังกล่าวนี้เป็น
นิสสันทผล

:b53: :b53: :b53:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา คำว่า ขันธ์ หมายความว่ากระไร นิพพานเป็นขันธวิมุต เพราะเหตุใด
เวทนาเจตสิกและสัญญาเจตสิกนี้ มีอย่างละ ๑ ดวงเท่านั้น แต่ทำไมจึงเป็นเวทนาขันธ์และ
สัญญาขันธ์ได้? ให้อธิบาย

วิสัชชนา คำว่า ขันธ์ หมายความว่าเป็นกอง
นิพพาน เป็นขันธวิมุต เพราะเหตุว่าพ้นจากกองแล้ว สิ่งใดที่เรียกว่ากอง
สิ่งนั้นจะต้องมีหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง เช่น :-
-ปัจจุบัน อดีต อนาคต รวม ๓ อย่างนี้ เรียกว่า กองหนึ่ง
-อัชฌัตต พหิทธ รวม ๒ อย่างนี้ เรียกว่า กองหนึ่ง
-โอฬาริก สุขุม รวม ๒ อย่างนี้เรียกว่า กองหนึ่ง
-หีน ปณีต รวม ๒ อย่างนี้เรียกว่า กองหนึ่ง
-ทูร อาสันน รวม ๒ อย่างนี้เรียกว่า กองหนึ่ง
ธรรมใดที่มีสภาพเป็นกองๆ ในบรรดา ๕ กองนี้ กองใดกองหนึ่ง ธรรมนั้นได้ชื่อว่า ขันธ์
ถึงแม้ว่าจะไม่ครบทั้ง ๕ กอง ก็เรียกว่าขันธ์ได้

สำหรับนิพพานนั้นไม่มีกองเลย มีส่วนเดียวเท่านั้น คือ
-เป็น กาลวิมุต อย่างเดียว
-เป็น พหิทธ อย่างเดียว.......เช่นนี้จึงไม่เรียกว่า ขันธ์
-เป็น สุขุม อย่างเดียว.........เช่นนี้จึงไม่เรียกว่า ขันธ์
-เป็น ปณีต อย่างเดียว........เช่นนี้จึงไม่เรียกว่า ขันธ์
-เป็น ทูร อย่างเดียว...........เช่นนี้จึงไม่เรียกว่า ขันธ์

นิพพาน ที่เป็น กาลวิมุต พหิทธ สุขุม ปณีต ทูร เหล่านี้ก็เป็นอันเดียวกันทั้งสิ้น
นิพพาน ที่เป็น พหิทธ นั้นแหละเป็นกาลวิมุต
นิพพาน ที่เป็น พหิทธ กาลวิมุต และ สุขุม นั้นแหละเป็นปณีต
นิพพาน ที่เป็น พหิทธ กาลวิมุต สุขุม และ ปณีต นั้นแหละเป็นทูเร

ส่วนเวทนาเจตสิกและสัญญาเจตสิก ถึงแม้ว่าจะมีเพียงอย่างละหนึ่งดวงก็ตาม
แต่ว่า เวทนาที่เกิดขึ้นในคนหนึ่งๆ นั้น เวทนาที่อดีต คือดับไปแล้วก็มี เวทนาที่เป็นปัจจุบัน
คือกำลังเกิดอยู่ก็มี เวทนาที่เป็นอนาคต คือจะเกิดต่อไปก็มี รวม ๓ อย่างนี้ เรียกว่า ขันธ์ได้

เวทนาที่เกิดอยู่ในตัวของเราก็มี เกิดในตัวของคนอื่นก็มี รวม ๒ อย่างนี้ ก็เรียกว่า ขันธ์ได้

เวทนาที่เป็นชนิดหยาบก็มี เช่น โทมนัสเวทนา ทุกขเวทนา เวทนาที่เป็นชนิดละเอียดก็มี
เช่น โสมนัสเวทนา สุขเวทนา และอุเบกขาเวทนา รวม ๒ อย่างนี้ก็เรียกว่า ขันธ์ได้

เวทนาที่เป็นชนิดต่ำ ชนิดสูงก็มี เช่น เวทนาที่เกิดกับอกุศลจิต เรียกว่า หีน เวทนาที่เกิดกับ
โสภณจิตทั้งหมดเรียกว่า ปณีต เวทนาที่เกิดกับอกุศลวิบาก เรียกว่า หีน เวทนาที่เกิดกับ
กุศลวิบาก เรียกว่า ปณีต รวม ๒ อย่างนี้ เรียกว่า ขันธ์ได้

เวทนาที่พิจารณาเห็นได้ยก เห็นได้ง่ายก็มี เช่น อุเบกขาเวทนาเห็นได้ยากเรียกว่า ทูร
โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา ๔ อย่างนี้เห็นได้ง่าย เรียกว่า สันติก
รวม ๒ อย่างนี้ เรียกว่า ขันธ์ได้

สัญญาเจตสิกก็เช่นเดียวกันกับเวทนา ฉะนั้น จึงเรียกว่า ขันธ์ได้
ส่วนสังขารขันธ์ อันได้แก่เจตสิกที่เหลืออีก ๕๐ ดวงนั้น มิได้หมายความว่าเจตสิก ๕๐ ดวงนี้
รวมกันอยู่ จึงเรียกว่า ขันธ์ เจตสิกดวงใดดวงหนึ่งในบรรดา ๕๐ ดวงนั้น ก็เรียกว่าสังขารขันธ์ได้
เช่น โลภะดวงเดียวก็เป็นสังขารขันธ์ได้อย่างนี้เป็นต้น เช่นเดียวกันกับเวทนา สัญญา แต่ในบรรดา
เจตสิก ๕๐ ดวงนั้น เจตนาเจตสิกเป็นประธาน เจตสิกที่เหลือ ๔๙ นั้นเป็นบริวารของเจตนาอีกที่หนึ่ง
เพราะคำว่าสังขารในสังขารขันธ์นั้นชื่อของเจตนานั้นเอง


ในบรรดาเจตสิกทั้งหมดนั้น เมื่อว่าโดยการงานที่ลงมือกระทำแล้ว เจตนาเจตสิกย่อมเป็นหัวหน้า
เป็นผู้จัดการปรุงแต่งให้เจตสิกที่เหลือนั้นกระทำลงไปทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว แต่ทำไมจึงแสดงว่า
สังขารขันธ์นั้นได้แก่เจตสิก ๕๐ ดวงเท่านั้น เวทนา สัญญา ไม่เข้าอยู่ในพวกสังขารขันธ์ด้วย
ตั้งให้เป็นเวทนาขันธ์ และ สัญญาขันธ์โดยเฉพาะ ที่เป็นดังนี้ก็เพราะว่า

เวทนาเจตสิกนี้เป็นเหตุให้โลภะเกิด โลภะที่เกิดขึ้นกับสัตว์ทั้งหลายอยู่เสมอนั้นก็เพราะอาศัยเวทนา
คือการเสวยในอารมณ์ต่างๆ นั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น
พระพุทธองค์จึงทรงแสดงไว้ในปฏิจจสมุปบาทธรรมว่า เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ถ้าสัตว์ทั้งหลา่ยไม่มีการเสวยในอารมณ์แล้ว ตัณหาคือโลภะก็ไม่เกิดแก่สัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อตัณหาไม่มีแล้ว สัตว์ทั้ง
หลายก็ไม่มีในโลกเป็นอันว่าสัตว์โลกสูญไป มีแต่โอกาสโลกและสังขารโลกที่ไม่มีชีวิตเท่านั้น เวทนานี้
เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สัตว์โลกทั้งหลายปั่นป่วนกันอยู่จนทุกวันนี้

ฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงตั้งให้เวทนานี้เป็นขันธ์หนึ่งโดยเฉพาะเพื่อให้โยคีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนากำหนดพิจารณาให้เห็นโทษของเวทนาโดยเฉพาะ

ส่วนสัญญาเจตสิกก็เป็นตัวสำคัญเหมือนกัน เพราะเป็นผู้สนับสนุนเวทนาให้ทำไปตามอำนาจของตน
เช่น สัญญาจำไว้ในอารมณ์นั้นๆ ว่าดี เวทนาก็พอใจเสวยในอารมณ์นั้นไปตาม

ถ้าสัญญาจำว่าไม่ดี เวทนาก็ไม่มีความพอใจเสวยในอารมณ์นั้น คล้ายๆ กับว่าเวทนานี้เหมือน
คนตาบอด สัญญาเหมือนคนตาดี คนตาดีจะจูงไปทางไหน คนตาบอดก็ต้องตามไปทางนั้น จะเป็น
ทางผิดหรือทางถูกก็ตาม คนตาบอดก็ต้องตามคนตาดีไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับเวทนาและสัญญา
สัญญาจำไว้ผิดเวทนาก็เสวยผิด สัญญาจำไว้ถูก เวทนาก็เสวยถูก

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:
ขออนุโมทนาในบุญกุศลทุกๆ ท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2012, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา คำว่า " กรรม " ในกัมมจตุกกะนี้ หมายความว่าอย่างไร แสดงวจนัตถะว่าอย่างไร และ
องค์ธรรมได้แก่อะไร?

วิสัชชนา คำว่่า " กรรม " หมายความว่า
การกระทำที่เกี่ยวด้วย กาย วาจา ใจ ทั้งทางดี และ ทางไม่ดี ชื่อว่า กรรม
หรือ ธรรมชาติที่ให้สำเร็จการกระทำนั้นๆ ชื่อว่า กรรม

ดังมีวจนัตถะว่า
กรณํ = กมฺมํ
หรือ กโรนฺติ เอเตนาติ = กมฺมํ
การกระทำชื่อว่า กรรม
หรือ สัตว์ทั้งหลายย่อมกระทำโดยอาศัยธรรมชาตินั้น
ฉะนั้น ธรรมชาติที่ เป็นเหตุให้สำเร็จการกระทำเหล่านั้น ชื่อว่า กรรม

องค์ธรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในอกุศลจิต ๑๒ และ โลกียกุศลจิต ๑๗

กัมมจตุกกะ แบ่งออกเป็น ๔ จตุกกะ คือ
กิจจจตุกกะ ปากทานปริยายจตุกกะ ปากกาลจตุกกะ ปากัฏฐานจตุกกะ

๑. กิจจจตุกกะ ว่าโดยกิจมี ๔ อย่าง คือ
๑. ชนกกรรม กรรมที่ทำให้วิบากเกิดขึ้น
๒. อปัตถัมภกกรรม กรรมที่ช่วยอุดหนุนกรรมอื่นๆ
๓. อุปปีฬกกรรม กรรมที่เข้าไปเบียดเบียนกรรมอื่นๆ
๔. อุปฆาตกกรรม กรรมที่เข้าไปตัดรอนกรรมอื่นๆ หรือตัดรอนผลของกรรมอื่นๆ

๒. ปากทานปริยายจตุกกะ ว่าโดยลำดับแห่งการให้ผลมี ๔ อย่าง คือ
๑. ครุกกรรม กรรมอย่างหนักที่กรรมอื่นๆ ไม่สามารถจะห้ามได้
๒. อาสันนกรรม กรรมที่ทำไว้เมื่อใกล้จะตาย
๓. อาจิณณกรรม กรรมที่เคยทำไว้เสมอๆ
๔. กฏัตตากรรม กรรมที่ทำไว้พอประมาณไม่เท่าถึงกรรมทั้ง ๓ นั้น หรือ กรรมที่เคยทำไว้ในอดีตชาติ

๓. ปากกาลจุตกกะ ว่าโดยเวลาที่ให้ผลมี ๔ อย่าง คือ
๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันชาตินี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติที่ ๒
๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไป จนกว่าจะถึงพระนิพพาน
๔. อโหสิกรรม กรรมที่ไม่ให้ผล

๔. ปากัฏฐานจตุกกะ ว่าโดยฐานะที่ให้ผลมี ๔ อย่าง คือ
๑. อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล
๒. กามาวจรกุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศลกรรมฝ่ายกามาวจร
๓. รูปวจรกุศลกรรม กรรมที่เป็นรูปาวจรกุศล
๔. อรูปาวจรกุศลกรรม กรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศล

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

ในจตุกกะทั้ง ๔ เหล่านี้ ปากัฏฐานจตุกกะอย่างเดียวที่แสดงตาม อภิธรรมนัย
คือ เป็นนัยที่กล่าวได้แน่นอน

ส่วนจตุกกะทั้ง ๓ คือ กิจจจตุกกะ ปากทานปริยายจตุกกะ ปากกาลจตุกกะ นั้นแสดงตามสุตตันตนัย
เป็นนัยที่กล่าวไม่ได้แน่นอน เพียงแต่เป็นไปโดยส่วนมากเท่านั้น


:b42: ข้อความบางตอนจากหนังสือ กัมมจตุกกะ และมรณุปปัตติจตุกกะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๒

:b42: ขอกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำสำเร็จแล้วนี้ จงเป็นพลวปัจจัยเป็นนิสัยตามส่งให้เกิดปัญญาญาณ
ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพานด้วยเทอญ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2012, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




dhammastudy2.jpg
dhammastudy2.jpg [ 14.25 KiB | เปิดดู 8818 ครั้ง ]
วิธีเรียนธรรมะแล้วนำไปใช้ได้จริง
เชิญคลิ๊กค่ะ
http://www.puthakun.org/puthakun/index. ... &Itemid=88

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

ประมวลปกิณณกธรรม ปุจฉา-วิสัชชนา
ปฐมภาค
สำนักงานกลาง อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย

.
ปุจฉา การรู้อารมณ์ของมโนธาตุ ปัญจวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ทั้ง ๓ นี้
ต่างกันอย่างไร? ให้อธิบายยกเหตุผลขึ้นแสดงด้วย

วิสัชชนา การรู้อารมณ์ของมโนธาตุ ปัญจวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ทั้ง ๓ นี้ต่างกันดังนี้
-มโนธาตุ รู้อารมณ์อย่างสามาัญ
-ปัญจวิญญาณธาตุ รู้อารมณ์พิเศษได้มากกว่า
-มโนวิญญาณธาตุ รุ้อารมณ์เป็นพิเศษยิ่งกว่าจิตทั้ง ๒ พวกนี้

:b49: มโนธาตุ ปัญจทวาราวัชชนะรู้อารมณ์อย่างสามัญ ไม่สามารถที่จะรู้ให้พิเศษได้นั้น เพราะเนื่องด้วยเหตุ
๓ ประการ คือ เกิดขึ้นรับอารมณ์เป็นครั้งแรกประการหนึ่ง เกิดขึ้นขณะเดียวแล้วก็ดับไปประการหนึ่ง
ทำหน้าที่ช่วยอุปการะให้ปัญจวิญญาณจิตเกิดขึ้น ซึ่งมีที่อาศัยไม่เหมือนกันกับตนประการหนึ่ง ฉะนั้นจึง
มิอาจที่จะรู้อารมณ์ให้พิเศษได้ ส่วนสัมปฏิจฉนจิต ๒ รู้อารมณ์อย่างสามัญนั้นเนื่องด้วยเหตุ ๒ ประการ
คือ ปัญจวิญญาณที่เป็นผู้ทำการอุปการะให้ตนเกิดมีที่อาศัยไม่เหมือนกับตนประการหนึ่ง เกิดขึ้นขณะเดียว
แล้วก็ดับไปประการหนึ่ง ฉะนั้นมโนธาตุทั้ง ๓ ดวงนี้ จึงรู้อารมณ์ให้พิเศษไม่ได้

:b50: ปัญจวิญญาณธาตุ รู้อารมณ์พิเศษได้มากกว่ามโนธาตุนั้น เพราะรับอารมณ์ที่มากระทบกับวัตถุ
ที่เป็นที่อาศัยจของตนโดยตรง ฉะนั้นจึงรู้อารมณ์ได้พิเศษยิ่งกว่ามโนธาตุ แต่ยังรู้ได้น้อยกว่ามโนวิญญาณ

ธาตุ เพราะผู้อุปการะตนคือ ปัญจทวาราวัชชนะนั้นมีที่อาศัยไม่เหมือนกันกับตนประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งตนเองก็เป็นผู้อุปการะแก่สัมปฏิจฉนจิตซึ่งมีที่อาศัยไม่เหมือนกันกับตนประการหนึ่ง ฉะนั้นจึงทำให้กำลังใน
การรับรู้อารมณ์อ่อนกว่ามโนวิญญาณธาตุ

:b47: มโนวิญญาณธาตุ รู้อารมณ์เป็นพิเศษยิ่งกว่าจิตทั้ง ๒ พวกที่กล่าวแล้ว เพราะเนื่องด้วยเหตุ
๓ ประการ คือจิตที่ทำการอุปการะให้ตนเกิดขึ้นมีที่อาศัยอันเดียวกันกับตนประการหนึ่ง จิตที่ตนทำ
การอุปการะให้ตนเกิดขึ้นมีที่อาศัยอันเดียวกันกับตนประการหนึ่ง และการรับอารมณ์ฺที่ไม่ใช่ีรับเป็น
ครั้งแรก (ยกเว้นมโนทวาราวัชชนะที่ทำหน้าที่อาวัชชนกิจ) อารมณ์ต่างๆ ก่อนที่จะมาถึงตนนั้น
ได้ผ่านจิตพวกอื่นๆ มาแล้ว ทำให้ตนได้รับอารมณ์สะดวก และมีกำลังมากขึ้นประการหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พวกมโนวิญญาณธาตุรู้อารมณ์ได้เป็นพิเศษยิ่งกว่าจิตพวกอื่นๆ ทั้งหมด
ส่วนมโนทททวาราวัชชนะนั้นแม้ว่าจะรับอารมณ์เป็นครั้งแรกก็จริง แต่เหตุผล ๒ ประการนั้น
คงมีอยู่อย่างบริบูรณ์

:b50: :b50: :b50:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แก้ไขล่าสุดโดย SOAMUSA เมื่อ 09 พ.ค. 2012, 20:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




art_603943.jpg
art_603943.jpg [ 16.9 KiB | เปิดดู 8818 ครั้ง ]
ปุจฉา เหตุที่จะให้รู้ว่าเด็กนี้มาจากภูมิไหน จะมีวิธีสังเกตรู้ได้อย่างไร
และเหตุที่จะให้รู้ได้ว่า ผุ้ที่ตายไปแล้วนั้นไปเกิดภูมิไหน จะรู้ได้อย่างไร ? ให้อธิบาย

วิสัชชนา

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มารอ...วิสัชชนา...ครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2012, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ต้องขอโทษด้วยค่ะ ที่ให้คอยคำตอบนานไปนิดนึงนะคะ :b12:

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

ปุจฉา เหตุที่จะให้รู้ว่าเด็กนี้มาจากภูมิไหน จะมีวิธีสังเกตรู้ได้อย่างไร และเหตุที่จะให้รู้ได้ว่าผู้ที่ตายไปแล้วนั้นเกิดภูมิไหน จะรู้ได้อย่างไร ? ให้อธิบาย

วิสัชชนา เหตุที่จะให้รู้ว่าเด็กคนนีมาจากภูมิไหนนั้น มีวิธีที่จะพึงสังเกตุได้ คือ เมื่อเด็กคนใดเกิดมาแล้ว
ครบกำหนด ๗ วัน ถ้าเด็กคนนั้นมีการร้องไห้มากจนผิดธรรมดาก็พึงรู้ได้ว่าเด็กคนนั้นมาจากอบายภูมิ
ถ้าเด็กคนใดมีหน้าตายิ้มแย้มผ่องใสเบิกบานอยู่เสมอแล้วก็พึงรู้ได้ว่าเด็กคนนั้นมาจากสุคติภูมิ คือ
มนุสสภูมิ เทวภูมิ พรหมภูมิ

ส่วนเหตุที่จะพึงรู้ได้ว่าผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วจะไปสู่ภูมิไหนบ้างนั้น ก็มีวิธีที่จะพึงสังเกตได้ดังนี้
บุคคลใดใกล้จะตาย บุคคลนั้นมีอาการกระสับกระส่ายมาก ทั้งสีหน้าและตาก็ปรากฏออกมา
ให้เห็นเป็นที่น่ากลัวจนทำให้ผู้ที่ได้ไปประสบพบเห็นอาการเช่นนั้นเข้าเกิดความสมเพชสงสารยิ่งนัก
กับมีอาการพูดเพ้อโดยประการต่างๆ เมื่อผู้ใกล้จะตายได้แสดงอาการเช่นนี้แล้ว ผู้นั้นละโลกนี้ไปแล้ว
ก็ต้องไปสู่อบายภูมิ บุคคลใดเมื่อใกล้จะตายมิได้มีอาการดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ แต่กลับมีอาการตรงกันข้ามคือมีความสงบและมีสติดี ก็พึงรู้ได้ว่าบุคคลนั้นไปสู่สุคติภูมิ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ปุจฉา ทำไมศีล๕ จึงต้องเรียงกันจากข้อที่ ๑ ถึงข้อที่ ๕ เป็นอย่างนั้นเสมอ จะเรียงเอาข้อใดข้อใดข้อหนึ่ง
ไว้ก่อนเป็นข้อแรกได้หรือไม่ ทำไมต้องยกเอาการฆ่าสัตว์ขึ้นเป็นข้อแรก และเรียงข้ออื่นตามมา และต้อง
เป็นลำดับไปตามนั้นทุกครั้ง ?

วิสัชชนา พระพุทธองค์ทรงแสดงศีล ๕ เรียงไปตามลำดับอย่างนั้น ก็เพราะว่า ศีล ๕ นั้น
ลำดับเหตุผลไปตามเหตุการณ์จริง ในความเป็นไปของการเป็นมนุษย์ เพราะข้อที่ ๑ นั้นเมื่อเกิดมา
สัตว์ย่อมรักชีวิตตนมากที่สุด การทำชีวิตใดให้ล่วงตายลงไป เป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง
เพราะเหตุว่าใครๆ ก็รักชีวิตตนมากที่สุด เราไม่สมควรไปทำลายชีวิตอื่นๆ ให้ตายลงไปก่อนอายุขัย
ของสัตว์นั้นๆ เช่น ยุงมีอายุ ๗ วันเท่านั้น ถึงแม้จะน้อยนิดแค่ ๗ วัน แต่ยุงก็อยากอยู่ให้ครบอายุขัย
ของมัน มันก็บินหนีได้ก็จะบินหนีไปเป็นธรรมดาในเวลาที่ใครจะตบมัน ฉะนั้น เรารักชีวิตเราอย่างไร
สัตว์อื่นๆ ก็รักชีวิตตนเช่นเดียวกับเรา คนเราเมื่อมีชีวิตดำรงอยู่ ก็ย่อมมีสิ่งของๆ ตน เป็นวัตถุหรือ
สัตว์เลี้ยงในครอบครอง ถือเป็นทรัพย์สินของตน ดังนั้นย่อมมีการยึคมั่นถือมั่นในทรัพย์ของตน
ถ้าใครขโมยของๆ ตนไป ย่อมเกิดความทุกข์ การที่ใครมาขโมยหรือใช้อุบายหลอกเพื่อขโมยทรัพย์
สมบัติของตนไป ย่อมไปสร้างความทุกข์ให้เกิดแก่เจ้าของ เราหวงแหนทรัพย์ของเราฉันใด ผู้อื่นก็
หวงแหนทรัพย์ของเขาฉันนั้น การดำรงชีวิตเมื่อมนุษย์เติบโตขึ้นย่อมมีครอบครัว สามี ภรรยา ของตน
ย่อมหวงแหน ถ้าใครมาพรากไป ย่อมเกิดความทุกข์แน่นอน และลูกของตนก็เหมือนกัน ย่อมหวงแหน
ไม่ยอมให้ใครมาพรากไปเหมือนกัน ความพลัดพรากจากคนที่รักย่อมเป็นทุกข์ คนที่เป็นพ่อมแม่ย่อม
ทุกข์มากหากใครมาพรากลูกไป ดังนั้นผู้ที่ไปล่วงเกิน ไปพรากคนรักและลูกผู้อื่น ย่อมทำให้ผู้อื่น
เป็นทุกข์ จึงไม่สมควรกระทำถ้าใครเขามาทำกับครอบครัวเรา เราก็ย่อมทุกข์เหมือนกับเขานั่นเอง
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ดังนั้นการอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่ว่าจะภายในบ้านเรือนของตนหรือสังคมนอก
บ้าน สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนเกิดความเดือดร้อนทั้งกายและใจได้ คือ การพูดโกหก การพูดโกหกสามารถ
ทำความเสียหายต่อทรัพย์สิน ต่อชีิวิต ต่อจิตใจ ของผู้อื่นได้ ถ้ามีใครมาพูดโกหกกับเรา เราย่อมไม่
ชอบ ถึงแม้จะไม่เสียหายแก่ทรัพย์ หรือแก่ชีวิต แต่เกิดความเสียใจเพราะความเข้าใจผิดที่เกิดจากคำ
พูดโกหก เราย่อมไม่ชอบฉันใด ผู้อื่นก็ไม่ชอบด้วยเช่นกัน การดื่มสุราทำให้ขาดสติกลายเป็นคนกล้า
สิ่งใดที่ควรอายก็ไม่อาย สิ่งใดไม่สมควรทำก็กล้าทำ สามารถล่วงศีลข้อที่ ๑ - ๔ ให้สำเร็จได้ง่าย
พระพุทธองค์ตรัสว่าการดื่มสุรานั้น เป็นการเสพที่ไม่อิ่ม คือ ผู้ที่ชอบสุรานี้จะหยุดไม่ได้ เมื่อมีการ
เริ่มเสพแล้วจะเสพติดต่อไปเรื่อยๆ หยุดยากมาก เป็นศีลข้อที่พระองค์บัญญัติขึ้นมาจาก
เหตุการณ์ที่มีพระภิกษุรับบิณฑบาตสุรา และฉันแล้วเกิดความเสื่อมฌานอภิญญา และขาดสติ
แสดงอคารวะต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้นอีกข้อหนึ่ง


:b43: ปุจฉา-วิสัชชนาข้อนี้เป็นความรู้ที่นำมาให้อ่านเพื่อความเข้าใจเรื่องการเรียงลำดับ
ไม่ได้อยู่ในประมวลฯ ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2012, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ดีๆ อนุโมทนาสาธุครับ...ได้ความรู้เพิ่มแหละ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร