วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

เหรียญมีสามด้าน

คนส่วนใหญ่มักจะเชื่อกันว่าเหรียญมีสองด้าน คือด้านหัวกับด้านก้อย จึงคุ้นอยู่กับการมองเหรียญเพียงสองด้านจนเป็นนิสัย ไม่เห็นด้านห้วก็เห็นด้านก้อย เหมือนการมองสิ่งต่างๆ ที่ตนสัมผัสสัมพันธ์อยู่ในชีวิตประจำวัน จะเกิดความรู้สึกต่อสิ่งที่มากระทบไปในทางที่ ชอบ/ไม่ชอบ หรือ ยินดี/ยินร้าย เหมือนเห็นเหรียญเพียงสองด้านนั้นเอง ความรู้สึกชอบนำมาซึ่งความอยาก เป็นพลังดึงดูดให้เราอยากเสพใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ตามที่ตนชอบ ซึ่งทางธรรมเรียกว่า “กามตัณหา”

เช่น ชอบดูสิ่งที่สวยงาม (รูป) ชอบฟังเสียงที่ไพเราะ (เสียง) ชอบของที่มีกลิ่นหอม (กลิ่น) ชอบรับประทานอาหารที่อร่อย (รส) ชอบสัมผัสสิ่งที่นุ่มนวลไม่ระคายผิวกาย (สัมผัส)

ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังอยากได้ อยากมี อยากเป็นในสถานะต่างๆ ที่ตนปรารถนา ทางธรรมเรียกว่า “ภวตัณหา” เป็นต้นว่า อยากมีสุขภาพดีมีอายุยืน อยากได้งานที่มั่นคงมีรายได้ดี มีเพื่อนร่วมงานที่อบอุ่น อยากให้คนในครอบครัวมีความรักความเข้าใจกัน อยากเป็นผู้บริหารระดับสูง อยากมีชื่อเสียง มีเครดิตในสังคม หรืออยากเป็นเศรษฐี เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่ต่างอยากเสพ และอยากได้ในสิ่งที่ตนพอใจทั้งสิ้น ครั้นเผชิญกับสิ่งที่ตนไม่พอใจก็เกิดความรู้สึกไม่ชอบต่อสิ่งนั้นในทันที ความไม่ชอบเป็นพลังผลักไส อยากหลีกจากสิ่งดังกล่าว ในทางธรรมเรียกว่า “วิภวตัณหา” เช่น ไม่ชอบภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ไม่ชอบคนบางคน ไม่ชอบรถติด ไม่ชอบอากาศร้อน ไม่ชอบสถานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ความอยากเสพในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส (กามตัณหา) ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อยากให้สิ่งนั้นดำรงอยู่ (ภวตัณหา) และความไม่ชอบ ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น อยากให้สิ่งนั้นดับไป (วิภวตัณหา) เหล่านี้ล้วนเป็น “ตัณหา” อันเป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา”

เหตุใดเมื่ออยากในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้มีความทุกข์ด้วย

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อชอบสิ่งไหนก็อยากได้ในสิ่งนั้น ครั้นเมื่ออยากได้ อยากมี อยากเป็น ต้องเสาะหาสิ่งนั้นมาเสพ มาครอบครอง การเสาะหานับเป็นความทุกข์ในเบื้องต้น เพราะในช่วงที่ยังไม่ได้ ใจก็ผูกพันต่อสิ่งนั้นคอยรบเร้าจิตใจไม่ให้มีความสุข ดังเช่นอยากได้ตำแหน่งสูงขึ้น ในช่วงที่ยังไม่ได้ตำแหน่ง เมื่อเห็นเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันเขามีตำแหน่งสูงกว่า ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจก็คอยรบกวนอยู่เนืองๆ หรืออยากมีครอบครัวที่อบอุ่น มีความรักความเข้าใจอันดีต่อกัน แต่ภาวะที่เป็นอยู่มีแต่ความขัดแย้งไม่ได้ดังใจ ก็ทำให้ทุกข์ใจอยู่เนืองๆ

อนึ่ง แม้ความปรารถนาในสิ่งที่ตนอยากได้จะสมหวัง ก็ต้องทุกข์กับสิ่งดังกล่าวอีก เช่น เมื่อได้ตำแหน่งสูงขึ้น ภาระหน้าที่ การงานและบริวารก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้มีปัญหาในการบริหารงานมากขึ้น มีความเครียดหรือมีทุกข์มากขึ้นนั่นเอง ในทำนองเดียวกัน เมื่อมีครอบครัวที่มีความรักความอบอุ่น ก็เพิ่มความหวงห่วงใย หรือมีความยึดมั่นผูกพันต่อบุคคลในครอบครัวยิ่งขึ้น อันทำให้ใจวิตกกังวลกลัวว่าบุคคลอันเป็นที่รักจะได้รับความลำบาก หรืออาจมีอันตรายหากกลับบ้านผิดเวลา อันเป็นความทุกข์นั่นเอง

โดยกฎของธรรมชาติ สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา (อนิจจัง) ถูกบีบคั้นกดดัน ไม่สามารถคงทนอยู่ในสภาพเดิมได้ (ทุกขัง) ไม่สามารถบังคับได้ดังปรารถนา เพราะไม่ใช่ของใครจริง (อนัตตา) ครั้นเมื่อสิ่งที่ตนได้ มี เป็น ต้องวิบัติไป หรือไม่เป็นไปตามที่ตนปรารถนา เพราะในที่สุดแล้วสรรพสิ่งทั้งหลายต้องเก่าแก่ เสื่อมสภาพ และแตกสลายไป แม้ชีวิตก็มีความพลัดพรากและความตายเป็นที่สุด เมื่อถึงเวลานั้น ผู้ที่ยังยึดอยู่ในสิ่งที่ตนได้ มี เป็น ก็ต้องทุกข์โทมนัสทับทวี

ส่วน “ วิภวตัณหา” คือ ความไม่ชอบหรือไม่ยินดีในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็อยากให้สิ่งนั้นผ่านไปโดยเร็ว ครั้นตนไม่สามารถบังคับสิ่งนั้นให้ผ่านพ้นไปได้ ก็ทุกข์ใจอยู่กับสิ่งนั้น

ความทุกข์ทั้งหลายในชีวิตมาจากใจที่เห็นผิดนั่นเอง คือใจที่มองไม่เห็นความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งของเหรียญ ไม่รู้ว่าเหรียญมีสามด้าน นอกจากด้านหัวด้านก้อยที่ตนคุ้นเคยเห็นอยู่ในวิถีชีวิตแล้ว แท้จริงระหว่างด้านหัวกับด้านก้อยก็ยังมีด้านสันของเหรียญที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงให้เหรียญทั้งสองด้านติดกันอยู่

หากเรามองด้านที่เป็นกลางคือด้านสันของเหรียญให้คุ้นเคยแล้ว เราก็จะวางใจที่เป็นกลางหรือเที่ยงธรรมได้ แทนที่จะไปติดอยู่กับด้านหัวด้านก้อย หรือชอบกับชัง เหมือนอดีตที่ผ่านมา ชอบก็เป็นทุกข์ ชังก็เป็นทุกข์ ไม่ชอบไม่ชังคือใจที่เป็นกลาง คือเป็นอุเบกขา ย่อมพ้นจากความทุกข์ใจได้ ในเสียก็มีดี ในดีก็มีเสีย ฝึกมองให้เห็นตามความเป็นจริง และวางใจให้เที่ยงธรรม ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของทุกๆ สิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เราชอบเพราะเห็นว่าดี ก็ใช่ว่าจะดีตลอดไป ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่เราไม่ชอบเพราะเห็นว่าไม่ดี ก็ใช่ว่าจะไม่ดีอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคคลทั้งหลายที่ย่อมทำทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีเป็นวิถีชีวิต ส่วนวัตถุสิ่งของนั้นเดินทางไปสู่ความเก่า เสื่อมสภาพ และผุพังในที่สุด

การที่ใจของเรายังชอบยังชังอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นเพราะยังยึด หรือมีอุปาทานต่อสิ่งนั้นนั่นเอง ฝึกใจมองให้เห็นความเป็นจริงโดยเฉพาะพยายามที่จะอยู่กับด้านที่สามของเหรียญ คือด้านที่เป็นกลาง หรือวางใจเป็นอุเบกขา เพื่อถอดถอนความชอบ (กามตัณหา ภวตัณหา) และความไม่ชอบ (วิภวตัณหา) ออกเสียให้ได้ ความยึดติด (อุปาทาน) ต่อสิ่งนั้นก็จะคลายลงหรือหมดไป ใจก็จะเป็นอิสระ ไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งต่างๆ เพราะเข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายว่า มีธรรมชาติที่ไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นทุกข์เพราะถูกบีบคั้นกดดัน ไม่สามารถคงทนอยู่ในสภาพเดิมได้ (ทุกขัง) และบังคับไม่ได้ดังปรารถนา เพราะไม่ใช่ของเราจริง (อนัตตา)

จงอยู่อย่างมีสติปัญญา มิใช่อยู่อย่างมีกิเลสตัณหา เมื่อนั้นใจของเราก็จะร่มเย็นเป็นสุขได้


(จากบางส่วนหนังสือ “พาใจไปพบสุข” โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ)

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2012, 09:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 09:11
โพสต์: 597


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2012, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




Lotus813.jpg
Lotus813.jpg [ 5.01 KiB | เปิดดู 3998 ครั้ง ]
rolleyes ถ้าเราเรียนรู้ธรรมะด้วยเหตุผลเพียงอย่างเดียว เราจะสัมผัส "การรู้" ได้ยากยิ่ง rolleyes

:b44: กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านนะเจ้าค่ะ ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครองนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 11:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley onion onion smiley


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron