วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2012, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2012, 11:34
โพสต์: 74


 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่งสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกค่ะ ติดตามอ่านเวบบอร์ดมาพอสมควร อยากได้คำแนะนำจากท่านผู้รู้ ช่วยแนะแนวทางให้หน่อยค่ะ ที่จริงฝึกสมาธิมานานมากแล้ว หลายปี ตั้งแต่สมัยเรียน แต่ไม่ได้ทำจริงจังถึงขนาดทุกวัน คือทำบ้าง ไม่ทำบ้าง ได้ผลในเบื้องต้น คือ สมัยเรียนช่วยเรื่อง การจำ สอบได้คะแนนดีมาก(ได้เกียรตินิยมอันดับ2)ตอนนี้จบมาหลายปี เปลี่ยนงานมาหลายงาน จนตอนนี้มีครอบครัว ก็ยังพยายามฝึกทำสมาธิอยู่ ไม่ได้ก้าวหน้าไปไหนเลย ออกจะแย่กว่าเดิมด้วยซ้ำ ศึกษามาพอควร เปลี่ยนวิธีมาก็หลายวิธี ทั้ง หายใจเข้า-ออก บริกรรมพุท-โธ, สัมมาอะระหัง, ยุบหนอ-พองหนอ, นับหายใจเข้า-ออก 1-5 แล้วย้อน 5-1, นับ 1-9 แล้วย้อน 9-1 หรือ เพ่งรู้ตามเสียง,ตามรู้ลมหายใจ เข้าให้รู้เข้า ออกให้รู้ออก สั้นให้รู้สั้น ยาวให้รู้ยาว, ในระหว่างวันตามรู้ลมหายใจขณะทำงาน, ที่เปลี่ยนหลายวิธีก้อเพื่ออยากหาหนทางที่เหมาะกับจริตตัวเอง และคิดว่ายังไม่เจอ แต่ที่ทำก็ใช้ บริกรรมพุทโธ เป็นส่วนใหญ่ ทั้งหมดทั้งมวลที่ทำมาก็ไม่มีความก้าวหน้าในสมาธิ ที่บอกว่าไม่ก้าวหน้าคือ ไม่สามารถทำให้นานขึ้นได้ ไม่เคยเกิดนิมิต หรืออะไรต่างๆที่สามารถบอกเราได้ว่าเราไปสู่ขั้นต่อๆไป ก่อนทำก็ไม่คาดหวังอะไรนะคะ ไม่ตั้งเวลา ไม่เคยระบุด้วยว่าต้องทำ 1 ชม.ไม่คาดหวังว่าต้องมีนิมิต มันติดตรงที่ว่า ตอนนั่งสมาธิหลับตาแล้ว "ชอบคิด" เคยอ่านเจอคิดว่าน่าจะเป็นของท่านพุทธทาสภิกขุ(สะกดถูกรึป่าว ขออภัยด้วยค่ะ)ท่านบอกว่า ต้องทำให้จิตว่าง ทุกวันนี้ เค้าสอนให้เราคิด แต่ไม่เคยสอนให้เราหยุดคิด จริงมากที่สุดค่ะสำหรับตัวดิฉันเอง ทำอย่างไรให้ว่าง ทำอย่างไรให้ไม่คิด (ให้นานนานหนะค่ะ) ดิฉันทำได้แค่ชั่วระยะเวลาสั้นๆ หรือเราเป็นพวกสามธิสั้น (อ้อ..แล้วเรื่องที่คิดก็เป็นแบบจินตนาการค่ะ) ไม่ได้มีปัญหาอะไรเลยในการดำเนินชีวิต ที่จะมาเป็นอุปสรรค การงาน การเงิน ครอบครัว สุขภาพ ทุกอย่างเอื้อให้เราได้ปฏิบัติอย่างแท้จริง แต่กลับเป็นตัวเราเองที่ทำไม่ได้
พร่ำบ่นมาซะยาว เป็นความอัดอั้นมานานหลายปีค่ะ ขอต่ออีกหน่อย บางที่ท่านบอกว่าต้องมีครูช่วยแนะนำ บางที่บอกไม่ต้องอ่านมาก รู้มากแล้วทำตามตำราไม่ได้ผล ก้อเลยฝึกด้วยตัวเองเรื่อยมา ไม่ฝืน ทำเฉพาะเวลาที่เราทำได้ ผลก้อเลยออกมาเป็นแบบนี้เหรอป่าว?
ช่วยให้ดิฉันเป็นบัวที่พ้นน้ำซักทีเถิดค่ะ
smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2012, 02:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


จริตคนเราแบ่งเป็น2แบบคือ เจโตวิมุติ คือ ทำจิตให้ว่างให้เกิดสมาธิ แล้วปัญญาเกิดจากการที่มีสมาธิแล้วจิตสงบจนกำหนดรู้ธรรมตามความเป็นจริง สามารถนั่งสมาธิจนเกิดญาณต่างๆ สามารถนั่งสมาธิได้นานๆ

อีกแบบคือ ปัญญาวิมุติ คือต้องคิดพิจารณาตลอด นั่งสมาธิต้องประกอบด้วยความคิด เช่น ธรรมที่ปรากฎขึ้นมาอาศัยเหตุอะไร เสียง ทำไมเราได้ยินเสียง เพราะเรามีอายตนะภายในคือธาตุรู้ที่ทำงานอยู่คือระบบการได้ยิน คือมีการคิดหาเหตุผลตลอดเวลา นั่งสมาธิแล้วอาจจะสงบลงยากกว่า

ส่วนตัวก็เป็นคนชอบคิดหาเหตุผลเหมือนกัน แต่ก็นั่ง ไม่เคยเห็นนิมิต แต่ปรากฏเป็นรูปแบบอื่น เช่น คันยุบยิบไปทั่วตัว ถ้ากำหนดที่กายจะตัวโยก เกิดสมาธิจริงแม้จะพิจารณาสักพักก็เกิดสมาธิ เกิดความสงบจริงแต่ต้องสงบลงจากการกำหนดรู้ แม้เดินไปเดินมาถ้ากำหนดรู้ทันอายตนะภายใน(ธาตุรู้)จะสงบลงทันที

ทีนี้เราก็มาดูว่าตัวเรานั้นเหมาะกับการพิจารณาธรรมแบบใดครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2012, 02:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นส่วนตัวครับ ถ้าเรายังเริ่มต้นอยู่ ไม่รู้จะจับธรรมใดขึ้นพิจารณา ให้มีสติอยู่กับเนื้อกับตัวก่อน จิตกำหนดไปที่แขนถ้ามีสติก็ถือว่ากำหนดรู้ครับ ไม่ต้องอยู่ที่ใดที่หนึ่ง หรือมือทับมือเราก็ไปรู้ว่ามือไหนทับมือไหน นิ้วโป้งอยู่ไหน เล็บอยู่ไหน บอกตำแหน่งของนิ้วได้ชัดอย่างนี้เรียกกำหนดรู้ จะไล่ไปตามแขนขา ใบหน้าก็ลองไล่ดู ทีนี้ก็ถามตัวเองว่าที่เราไล่ตามร่างกายเราไล่หาอะไร หากมีสตืเราจะรู้ว่าไล่หารูป คือจิตกำหนดรู้ลงที่รูป รูปคืออะไร รูปก็คืออวัยวะต่างๆของร่างกายที่ประกอบกันอยู่อย่างนี้เรียกรูป แล้วใจเราอยู่ไหน พระพุทธเจ้าจำแนกใจเป็น 4ขันธ์ คือ เวทนา( ความรู้สึกทั่วไป) สัญญา (ความจำได้หมายรู้) สังขาร(ความคิดอารมณ์) และวิญญาณ(จิตรู้)

เวทนาคือ อาการปวดแขนขาหรือตามอวัยวะ และเวทนาทางจิตคือ อาการบีบคั้นทางใจหรืออาการผ่อนคลายต่างๆ

ดังนั้นอาการปวดขาเวลานั่งสมาธิ ไม่ใช่รูปครับ ปวดขาก็จริงแต่ความปวดนั้นคือ เวทนาขันธ์ เรากำหนดรู้อาการปวดเรียกว่า กำลังกำหนดรู้ธรรม เป็นปัญญาครับผม(แม้ไม่มีสมาธิตอนนี้ก็เรียกว่ากำหนดรู้)

ดังนั้นเราต้องหมั่นสร้างความสงสัยว่านี่อะไร นั่นอะไร ทำไว้ในใจครับผม

ส่วนการที่ต้องมีครูเป็นตัวตนนั้น อาจจะยังไม่ต้องมีก็ได้ครับ จนกว่าเราจะเข้าสู่สภาวะ จำแนกขันธ์5ได้แล้วเจอคำถามที่ตัวเองอาจจะต้องอาศัยครูผู้รู้ครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2012, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2012, 11:34
โพสต์: 74


 ข้อมูลส่วนตัว


คำแนะนำมีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณค่ะ ตัวเองเป็นแบบประเภทที่ 2 แน่ๆ แบบปัญญวิมุติิ

เมื่อก่อนตอนนั่งไปนานเข้าๆ มีความรู้สึกว่า ตัวงุ้มลง งุ้มลง เราก็พยายามนั่งให้ตรง ซึ่งก้อไม่รู้เหมือนกันว่าตรง หรืองุ้มก้มลงกันแน่ บางครั้งก้อเหมือนใบหน้าเอียง ไม่ตั้งตรง ต้องขยับกันอยู่เรื่อย ตอนนี้มีวิธีคิดวิธีใหม่ จะลองปฏิบัติตามนะคะ ตอนที่อ่านคำแนะนำรู้สึกตื่นเต้น และมีความหวังค่ะ จะเริ่มคืนนี้เลย และปฏิบัติต่อไป ได้ผลอย่างไรแล้ว จะมาเล่าให้ฟังค่ะ ถือว่าเป็นอาจารย์ของดิฉันคนหนึ่ง

:b41: :b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2012, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2012, 23:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขอโมทนาสาธุ..ทั้งผู้ถาม...และ..ผู้ตอบ....ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2012, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2012, 11:34
โพสต์: 74


 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะทำสมาธิได้ใช้วิธีพิจารณาขันธ์ 4 ตามคำแนะนำ
เนื่องจากว่า ยังด้อยปัญญาเรื่องขันธ์ เมื่อนั่งสมาธิไปแล้วเหมือนทางตัน ไม่รู้จะคิดอะไรต่อ วันนี้จึงได้ศึกษาหาความรู้เริ่มที่ขันธ์ 5 เลย ก็ได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นมา จริงๆเคยศึกษามาก่อน (สติปัฏฐาน 4)แต่ว่าเป็นเวลานานแล้ว แล้วเราก็ละทิ้ง
ตอนนี้โดยตัวดิฉันเองติดนิสัยเดิม (อีกแล้ว) กำลังพิจารณาตามรู้อารมณ์อยู่ พอมีสิ่งเข้ามากระทบเช่น เสียง ก็เกิดการวอกแวก ใจออกไปคิดเรื่ิองอื่น ต้องตามรู้กลับมาที่เดิม เป็นแบบเดิม แต่คราวนี้ค่อยมีแบบแผนมากขึ้น รู้จักดึงใจกลับมาพิจารณาขันธ์ต่อไป แบบนี้ต้องฝึกกันบ่อยๆใช่มั้ยคะ สู้ สู้ ค่ะ :b4: :b4: :b4: :b4:

สักวันนึงคงได้มาโพสในนี้ว่า มีคำถามต้องการครู นั่นหมายถึงการนั่งสมาธิมาถูกทาง และมีความก้าวหน้า

ขออนุโมทนาสาธุกับทุกความช่วยเหลือ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2012, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ใจมันชินน่ะครับ

ก็เราอยู่ด้วยความคิดมาตั้งกี่ปีแล้ว เราคิดมาตลอดไม่หยุดมานานแค่ไหนแล้ว ความคิดช่วยเราเรื่องการเรียนการแก้ปัญหามาตั้งเท่าไรแล้ว ยิ่งคนเรียนดี ชอบคิด ยิ่งติดคิดมาก จะให้หยุดคิดปุ็บปั้บได้ดังใจ มันจะใจร้ายกับตัวเองมากเกินไป มันฝืนนิสัยความเคยชิน เราสะสมมานาน

แต่เราใช้ความชอบคิดให้เป็นประโยชน์ได้ ขณะคิดจดจ่อกับอะไรนานๆ ใจก็รวมเป็นสมาธิได้เหมือนกัน ส่วนตัวผมก็ชอบคิด ตรงจุดนี้ การบริกรรมในใจ เช่นพุทโธ จะช่วยแก้ได้ดี เพราะเป็นการเอาความคิด(คือคำบริกรรม)มาเป็นตัวล่อใจ ใจเราชอบความคิดอยู่แล้ว พอมีคำบริกรรมซึ่งเป็นพวกความคิดให้คิดให้นึก เขาจะชอบ เขาจะอยู่กับคำบริกรรมง่ายกว่าดูท้องพองยุบ หรือดูลมหายใจ จะเปิดเทปธรรมะฟัง หรือสวดมนต์ เอาสมาธิจดจ่อไปกับเสียงเทศหรือบทสวดก็ได้ อย่างน้อยวิธีนี้ก็ทำให้ใจสงบได้บ้างชั่วคราว เมื่อใจสงบแล้ว ทีนี้ละเราจะมาพิจารณาความคิดได้

เพราะจริงๆในความคิดนี่เองก็มีทางออกของมัน

เมื่อรู้ตัวว่าคิดไปแล้ว ลองมองจ้องเข้าไปที่ความคิด มองเขาไปเรื่อยๆเขาจะไปทางไหน จะคิดมากขึ้นหรือน้อยลงให้รู้ตลอดอย่าให้คลาดสายตาเราไปได้ มองไปเรื่อยๆ เมื่อมองจนเบื่อจนเลิกคิดไปเองแล้วลองถามตัวเองว่า

ความรู้สึกขณะที่ตั้งใจมองความคิดอยู่เป็นยังไง ตอนนั้นเรากำลังคิดอยู่หรือเปล่า

เพราะการเริ่มเดินทางในทางศาสนาพุทธเราเริ่มจากความมีสติ คือรู้สึกตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ กำลังมีอะไรเกิดขึ้นกับเรา เพราะคนที่มีสติรู้ตัวเท่านั้น ที่จะสามารถสวนกระแส เลือกทางเดินของตัวเองได้

อารมณ์อื่นที่มากระทบก็พิจารณาแบบนี้ได้ สิ่งสำคัญคือต้องสงบใจลงบ้างก่อน คือมีใจเฉยๆ สบายๆ ถ้าใจไม่สงบ ยังร้อน ยังกังวลเรื่องโน้นเรื่องนี้การงานที่จะต้องทำอยู่ แบบนี้ยังไม่ควรออกพิจารณา เพราะพิจารณาอะไรไปจะเป็นแค่ความคิดทั้งหมด ไม่ใช่ความรู้ ไม่เกิดผลดีเลย

ผิดถูกอย่างไรโปรดพิจารณา เอาใจช่วยครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2012, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
...ขออนุโมทนาในจิตใจที่เป็นกุศลและไม่ละความเพียรค่ะ...
...การเจตนารักษาศีลให้บริสุทธิ์มีผลมากที่สุดต่อการปฏิบัติจิตตภาวนา...
...ศีล สมาธิ ปัญญา...ต้องกระทำควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่องค่ะ...
...ควรสมาทานศีลทุกวันสวดมนต์ไหว้พระแล้วสมาทานกรรมฐานก่อนนั่งสมาธิ...
:b53:
...การทำสมาธิไม่ใช่การทำให้หยุดคิดค่ะ...แต่เป็นการกำหนดการคิดให้มีวงจำกัดแคบลง...
...เช่นการบริกรรมพุทโธก็เป็นการหางานให้จิตทำให้มีสติอยู่กับคำบริกรรมและลมหายใจเข้า-ออก...
...เพราะในการดำรงชีวิตในแต่ละวันมีการส่งจิตออกไปรับรู้ภายนอกมีเรื่องให้คิดฟุ้งซ่านรำคาญมากมาย...
...การนั่งสมาธิหลับตาเป็นการปิดการเห็นภาพทางตา...แม้หลับตาก็ยังสร้างภาพมารบกวนและหลอกจิตได้...
:b48:
...เพราะอยู่ในโลกของการคิดและการจดจำมาตั้งแต่เริ่มจำความได้...แม้นอนหลับก็ยังฝัน(คิดเป็นภาพได้)...
...อยู่ๆจะให้เลิกคิดตอบว่ายากมากค่ะ...เอาว่าเริ่มใหม่ให้จับเวลาเริ่มจากน้อยๆก่อน 5-15 นาที...
...แล้วเพิ่มเวลาให้ยาวนานขึ้น...ให้นั่งนิ่งๆไม่ขยับกายแม้จะรู้สึกเจ็บปวดเพื่อตรวจทุกขเวทนาก่อนค่ะ...
...นั่งให้ผ่านจุดที่เวทนาหายไปหมดก่อนแล้วถึงค่อยมาดูเรื่องความสงบ...ลองดูนะคะ...เป็นกำลังใจค่ะ...
:b44: :b44:
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2012, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2012, 11:34
โพสต์: 74


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะจริงๆในความคิดนี่เองก็มีทางออกของมัน

เมื่อรู้ตัวว่าคิดไปแล้ว ลองมองจ้องเข้าไปที่ความคิด มองเขาไปเรื่อยๆเขาจะไปทางไหน จะคิดมากขึ้นหรือน้อยลงให้รู้ตลอดอย่าให้คลาดสายตาเราไปได้ มองไปเรื่อยๆ เมื่อมองจนเบื่อจนเลิกคิดไปเองแล้วลองถามตัวเองว่า

ความรู้สึกขณะที่ตั้งใจมองความคิดอยู่เป็นยังไง ตอนนั้นเรากำลังคิดอยู่หรือเปล่า

..................................................

ตรงนี้น่าสนใจมาก (ออกจะงงเล็กน้อย) จะลองปฏิบัติดูค่ะ

จะเอาความเคยชินของใจที่ชอบคิดมาพิจารณา แล้วคิดแบบมีแบบแผน(ขันธ์) บวกกันแล้วน่าจะได้เจอหนทางสว่าง

ขออนุโมทนาสาธุกับทุกความช่วยเหลือค่ะ

:b8: :b8: :b8:

:b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2012, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2012, 11:34
โพสต์: 74


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องการรักษาศีล ตอนนี้ในชีวิตประจำวันคิดว่าไม่ได้ละเมิดข้อไหน แต่จะมีอยู่บ้างเรื่องการฆ่าสัตว์ คือ ฆ่ายุงเป็นบางครั้ง เคยอ่านเจอว่า หากเป็นการฆ่าที่ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้เจตนา ก็ไม่ถือว่าไม่บาป อันนี้ไม่ทราบถูกต้องหรือเปล่า ?

ตอนนี้เหมือนตัวเองเริ่มฝึกใหม่อย่างที่แนะนำค่ะ คือ ทำสมาธิครั้งละ 10-15 นาทีเท่านั้นค่ะ แต่ไม่ได้กะเกณฑ์อะไร เพราะที่ทำได้เท่านี้เพราะใจคิดไปต่างๆนาๆ อย่างที่บอกไปหละค่ะ เริ่มเบื่อตัวเองก้อหยุด เริ่มต้นใหม่พรุ่งนี้ เป็นลักษณะนั้นไป แต่หากทำได้มากกว่านี้ก้อจะดีใช่ไหมคะ

การบริกรรมหรือการตามรู้ตามคิดของแต่ละวิธี เป็นกุสโลบายที่ทำให้ใจไม่วอกแวก แต่ปัญหาของดิฉัน คือ ไม่วอกแวกได้ไม่นาน สุดท้ายคือ ออกนอกลู่จนได้ จะไม่ละความพยายามค่ะ

ขออนุโมทนาสาธุกับทุกคำแนะนำค่ะ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2012, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าคุณรู้จักขันธ์ 5 คุณก็ต้องรู้ว่าความคิด คือเรื่องของสัญญา สังขารขันธ์

ขันธ์ 5 รวมกันเป็นชีวิตเรา ดังนั้นตราบใดที่ยังมีชีวิต จะให้ทิ้งไปขันธ์ใดขันธ์หนึ่งไม่ได้ สรุปว่าให้เลิกคิด ไม่มีคิดอีกเลย เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้นั่นเอง ทำได้แค่หยุดคิดชั่วคราว ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ

ดังนั้นในชีวิตประจำวัน ประเด็นไม่ใช่การ "หยุดคิด" แต่เป็นการ "เลือกคิด"

เช่นเดียวกับการแสดงออกทางกาย เราเลือกให้มีการแสดงออกที่ดีงามเท่านั้น เรื่องผิดศีลธรรมที่จะเอาทุกข์เอาภัยมาให้เรา เราระวังกายเราไว้ไม่ให้ทำ

ความคิดก็เช่นกัน เราควรคิดเรื่องที่ดีงาม ที่มีประโยชน์เท่านั้น เรื่องคิดที่จะนำความทุกข์มาให้เรา อย่าให้เกิดกับเรา

เช่น อยากได้นั่นได้นี่ อิจฉาคนนั้นคนนี้ ทำให้ใจหม่นหมอง เราระวังอย่าให้มี
หรือ หงุดหงิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ โกรธคนนั้นคนนี้ คนนี้เคยทำไม่ดี พูดไม่ดีใส่เรา อาฆาตแค้นเขา ใจเร่าร้อนไม่มีความสุข เราระวังอย่าให้มี

แต่จะเลือกคิดได้ ต้องมี

1. สติรู้ตัว คือรู้ว่าความคิดเกิด ไม่ปล่อยใจตัวเองให้ไหลไปตามความคิด
2. ปัญญา รู้ว่าความคิดแบบไหนเป็นประโยชน์ ความคิดแบบไหนเป็นภัย

ผมจับประเด็นที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนมาได้แบบนี้ ผมเองก็ทำได้บ้าง ไม่ได้ซะเป็นส่วนมาก ยังไงก็ฝากไว้พิจารณาก็แล้วกันครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2012, 01:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ก้ให้ใจ คิดอย่กับลมหายใจ มากกว่าคิดสิ่งอื่นซะสิ จิตหนึ่งนึกถึงคำบริกรรมพุทโธ อีกจิตหนึ่งก้รู้ตามลมหายใจเข้าและออก และถ้าจิตทีี่ว่านี้คิดถึงเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ ลมกับพุทโธ คิดว่าจะเกิดสมาธิและความสงบได้อย่างไร.... การปล่อยวางอารมณ์และความคิดทั้งหลาย ก้เปนสาเหตุหนึ่งให้จิตเข้าสู่ความสงบได้....
ต้องขยันทำ บ่อยๆ.... เอาแบบแปปๆ ไม่นานก้ได้ ขอแต่มีสติควบคุมจิต ให้รู้ลมเข้า ลมออกให้ทัน
ตามลมหายใจให้ทัน ก้ถือว่าเริม่ใช้ได้แล้ว :b40: :b40:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2012, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


onion
...นอกจากการนึกคำบริกรรมพุทโธพร้อมกับกำหนดลมหายใจเข้าออกแล้ว...
...การฟังพระธรรมเทศนาก็จำเป็นในการนั่งปฏิบัติจิตตภาวนาคนเดียวค่ะ...
...เพราะหูเป็นอวัยวะที่เป็นใหญ่ในการรับเสียงไม่ว่าจะเสียงดีหรือไม่ดีก็ต้องได้ยิน...
...เปิดพระธรรมเทศนาไปด้วยค่ะ...โดยไม่จำเป็นต้องจำเนื้อความเพียงให้จิตอยู่กับตัว...
...ให้สติติดแนบไปกับจิตและคำบริกรรม พุทหายใจเข้า โธหายใจออก เสียงก็ได้ยินไปเรื่อยๆ...
...เรื่องที่ได้ยินได้ฟังอาจจะเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาก็ไม่เป็นไร...แค่อย่าให้จิตส่งไปคิดถึงเรื่องอื่นๆ...
...พระธรรมเทศนาที่ฟังอาจจะเป็นเรื่องเดิมฟังซ้ำไปซ้ำมา...จิตมีสภาพรู้จะทำให้เกิดสุตมยปัญญาตามมาค่ะ...
:b4: :b4:
:b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2012, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2012, 11:34
โพสต์: 74


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกคำแนะนำมีประโยชน์ทั้งสิ้น

:b50: :b50: :b49:

จะลองฝึกปฏิบัติดูได้ผลอย่างไรจะมาแจ้งให้ทราบค่ะ

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร