วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2012, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัยที่เป็นสหชาตชาติมี ๑๕ ปัจจัย
๑. เหตุปัจจัย........................ล
๒. สหชาตาธิปติปัจจัย...........ล
๓. สหชาตปัจจัย..................ญ
๔. อัญญมัญญปัจจัย..............ก
๕. สหชาตนิสสยปัจจัย..........ญ
๖. สหชาตกัมมปัจจัย.............ล
๗. วิปากปัจจัย......................ก
๘. นามอาหารปัจจัย..............ล
๙. สหชาตินทริยปัจจัย..... .....ล
๑๐. ฌานปัจจัย.....................ล
๑๑. มัคคปัจจัย.....................ล
๑๒. สัมปยุตตปัจจัย .............ก
๑๓. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย....ก
๑๔.สหชาตัตถิปัจจัย.............ญ
๑๕.สหชาตอวิคตปัจจัย.........ญ

ล. เล็ก... ก....กลาง...ญ...ใหญ่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2012, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัยที่เป็นอารัมมณชาติมี ๘ ปัจจัย คือ
๑. อารัมมณปัจจัย
๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๔. อารัมณูปิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นอนันตรชาติมี ๗ ปัจจัย คือ
๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. ปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย (หมายเอาเฉพาะมรรคเจตนาที่เป็นผู้อุปการะแก่ผลจิต)
๖. นัตถิปัจจัย
๗. วิคตปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัยมี ๖ ปัจจัย
๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๓. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๔. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นปัจฉาชาตชาติมี ๔ ปัจจัย
๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นอาหารชาติมี ๓ ปัจจัย
๑. รูปอาหารปัจจัย
๒. อาหารัตถิปัจจัย
๓. อาหารอวิคตปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นปกตูปนิสสยชาติ มี ๒ ปัจจัย
๑. สุทธปกตูปนิสสยปัจจัย
๒. มิสสกปกตุปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นนานักขณิกกัมมชาติ มี ๑ ปัจจัย
๑. นานักขณิกกัมมปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงหมาน เมื่อ 06 มิ.ย. 2012, 08:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2012, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1446596782861.jpg
1446596782861.jpg [ 69.32 KiB | เปิดดู 14255 ครั้ง ]
ในปัจจัย ๒๔ เมื่อแบ่งโดยพิสดารแล้วมี ๔๗ ปัจจัย

๑. เหตุปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ

๒. อารัมมณปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์

๓. อธิบติปัจจัยมี ๒....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี
๓.๑ สหชาตาธิปติปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิปดีที่เกิดพร้อมกัน
๓.๒ อารัมมณาธิปติปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิปดีที่เป็นอารมณ์

๔. อนันตรปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น

๕. สมนันตรปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่นที่เดียว

๖. สหชาตปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน

๗. อัญญมัญญปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความแก่กัและกัน

๘. นิสสยปัจจัยมี ๓ .....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัย
๘.๑ สหชาตนิสสยปัจจัย...ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่เกิดพร้อมกัน
๘.๒ วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่เกิดก่อนโดยความเป็นวัตถุ
๘.๓ วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย...ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่เกิดก่อนโดยความเป็นอารมณ์

๙. อุปนิสสยปัจจัยมี ๓ .....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมาก
๙.๑ อารัมมณูปนิสสยปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากโดยความเป็อารมณ์
๙.๒ อนันตรูปนิสสยปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น
๙.๓ ปกตูปนิสสยปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากโดยความสำเร็จมาแล้วด้วยดี

๑๐. ปุเรชาตปัจจัยมี ๒ ......ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อน
๑๐.๑ วัตถุปุเรชาตปัจจัย......ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อนเป็นวัตถุ
๑๐.๒ อารัมมณปุเรชาตปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อนเป็นอารมณ์

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดทีหลัง

๑๒. อาเสวนปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความความเสพบ่อยๆ

๑๓. กัมมปัจจัยมี ๒ .....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปรุงแต่งเพื่อให้กิจต่างๆสำเร็จลง
๑๓.๑ สหชาตกัมมปัจจัย...ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปรุงแต่งเพื่อให้กิจต่างๆสำเร็จลงโดยความเกิดพร้อมกัน
๑๓.๒ นานักขณิกกัมมปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปรุงแต่งเพื่อให้กิจต่างๆสำเร็จลงโดยความเกิดขึ้นต่างขณะกัน

๑๔. วิปากปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก คือเข้าถึงและหมดกำลังลง

๑๕. อาหารปัจจัยมี ๒....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นำ
๑๕.๑ รูปอาหารปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นำโดยความเป็นรูปอาหาร
๑๕.๒ นามอาหารปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นำโดยความเป็นนามอาหาร

๑๖. อินทริยปัจจัยมี ๓ .....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปกครอง
๑๖.๑ สหชาตินทริยปัจจัย...ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปกครองที่เกิดพร้อมกัน
๑๖.๒ ปุเรชาตินทริยปัจจัย...ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปกครองที่เกิดก่อน
๑๖.๓ รูปชีวิตินทริยปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความผู้ปกครองโดยความเป็นชีวิตรูป

๑๗. ฌานปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้เพ่ง

๑๘. มัคคปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นหนทาง

๑๙. สัมปยุตตปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ประกอบ

๒๐. วิปปยุตตปัจจัยมี ๔ ...ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่ประกอบ
๒๐.๑ สหชาตวิปปยุตตปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่ประกอบที่เกิดพร้อมกัน
๒๐.๒ วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย...ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่ประกอบที่เกิดก่อนโดยความเป็นวัตถุ
๒๐.๓ วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย...ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่ประกอบที่เกิดก่อนโดยความเป็นวัตถุที่เป็นอารมณ์
๒๐.๔ ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย...ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่ประกอบที่เกิดทีหลัง

๒๑. อัตถิปัจจัยมี ๖ .....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่
๒๑.๑ สหชาตัตถิปัจจัย...ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่ที่เกิดพร้อมกัน
๒๑.๒ วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย...ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่ที่เกิดก่อนโดยความเป็นวัตถุ
๒๑.๓ อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่ที่เกิดก่อนโดยความเป็นอารมณ์
๒๑.๔ ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย......ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่ที่เกิดทีหลัง
๒๑.๕ อาหารัตถิปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่โดยความเป็นอาหาร
๒๑.๖ อินทริยัตถิปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่โดยความเป็นผู้ปกครอง

๒๒. นัตถิปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่มี

๒๓. วิคตปัจจัย.....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปราศจากไป

๒๔. อวิคตปัจจัยมี ๖ .....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไป
๒๔.๑ สหชาตอวิคตปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไปที่เกิดพร้อมกัน
๒๔.๒ วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไปที่เกิดก่อนโดยความเป็นวัตถุ
๒๔.๓ อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไปที่เกิดก่อนโดยความเป็นอารมณ์
๒๔.๔ ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไปที่เกิดทีหลัง
๒๔.๕ อาหารอวิคตปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไปโดยความเป็นอาหาร
๒๔.๖ อินทริยอวิคตปัจจัย....ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไปโดยความเป็นผู้ปกครอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2012, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กราบอนุโมทนาสาธุค่ะลุงหมาน
ขอบพระคุณอย่างสูง ที่นำมาทำกระทู้ไว้เป็นธรรมทานค่ะ
สะดวกในการอ่านพร้อมคำแปล ได้ประโยชน์แก่การศึกษาเป็นอย่างมากค่ะ
:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:


:b42: เชิญฟังสาธยายคัมภีร์ปัฏฐาน

http://www.analaya.com/index.php?option ... Itemid=105

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2012, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ปัจจัยที่เป็นอารัมมณชาติมี ๘ ปัจจัย คือ
๑. อารัมมณปัจจัย
๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๔. อารัมณูปิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นอนันตรชาติมี ๗ ปัจจัย คือ
๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. ปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย (หมายเอาเฉพาะมรรคเจตนาที่เป็นผู้อุปการะแก่ผลจิต)
๖. นัตถิปัจจัย
๗. วิคตปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัยมี ๖ ปัจจัย
๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๓. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๔. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นปัจฉาชาตชาติมี ๔ ปัจจัย
๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นอาหารชาติมี ๓ ปัจจัย
๑. รูปอาหารปัจจัย
๒. อาหารัตถิปัจจัย
๓. อาหารอวิคตปัจจัย


ปัจจัยที่เป็นรูปชีวิตินทริชาติ มี ๓ ปัจจัย
๑. รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๒. อินทริยัตถิปัจจัย
๓. อินทริยอวิคตปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นปกตูปนิสสยชาติ มี ๒ ปัจจัย
๑. สุทธปกตูปนิสสยปัจจัย
๒. มิสสกปกตุปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นนานักขณิกกัมมชาติ มี ๑ ปัจจัย
๑. นานักขณิกกัมมปัจจัย

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2012, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อืม...งั้นชีทคงหายไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2012, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในปัจจัย ๒๔ หรือ ๔๗ นั้น มีชาติ ๙ อย่างคือ
๑. สหชาตชาติ = ปัจจัยธรรม กับ ปัจจยุปบันธรรม เกิดพร้อมกัน
๒. อารัมมณชาติ = ปัจจัยเป็นอารมณ์ ปัจจยุบันธรรมเป็นผู้รู้อารมณ์
๓. อนันตรชาติ = ปัจจัยธรรม กับ ปัจจยุปบันธรรม เกิดติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น
๔. วัตถุปุเรชาตชาติ = ปัจจัยธรรมเป็นวัตถุรูป ๖ เกิดก่อนและกำลังตั้งอยู่ ปัจจยุปบันธรรมเป็นนามธรรม คือวิญญาณธาตุ ๗ พร้อมด้วยเจตสิกที่ประกอบ เป็นผู้อาศัยวัตถุรูปเกิด
๕. ปัจฉาชาตชาติ = ปัจจัยเป็นนามธรรม คือ จิต ๘๕ เจตสิก ๕๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔)ที่เกิดทีหลัง ปัจจยุปบันธรรมเป็นรูป คือ เอกสมุฏฐานิกรูป ทวิสมุฏฐานิกรูป ติสมุฏฐานิกรูป จตุสมุฏฐานิกรูป หรือ กาย คือ เอกชกาย ทวิชกาย ติชกาย จตุชกาย ที่เกิดก่อน และกำลังตั้งอยู่
๖. อาหารชาติ = ปัจจัยธรรมเป็นรูป คือ พหิทธโอชา และอัชฌัตตโอชา ปัจจยุปบันธรรมเป็นรูป คือ อาหารชรูป หรือ จตุสมุฏฐานิกรูป
๗. รูปชีวิตินทริยชาติ = ปัจจัยธรรมเป็นรูป คือรูปชีวิตินทรีย์ ที่อยู่ในกลาปทั้ง ๙ หรือ ๘ ปัจจยุปบันธรรมเป็นรูป คือ กัมมชรูปที่เหลือ ซึ่งอยู่ในกลาปเดียวกันกับปัจจัยธรรม
๘. ปกตูปนิสสยชาติ = ปัจจัยธรรมเป็น จิต เจตสิก รูป ที่มีกำลังมาก ที่เกิดก่อนๆ และ บัญญัติ ปัจจยุบันธรรม คือ จิต เจตสิก ที่เกิดทีหลัง
๙. นานักขณิกกัมมชาติ = ปัจจัยธรรม คือ เจตนาที่เกิดต่างขณะกัน ซึ่งดับไปแล้ว ปัจจยุปบันธรรม คือ นาม(วิบาก ๓๖ เจตสิก ๓๘) รูป (กัมมชรูป ๒๐) ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกรรมที่ดับไปแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2012, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กราบอนุโมทนาสาธุค่ะลุง
ได้ประโยชน์มากๆ อ่านแล้วได้เข้าใจในแต่ละชาติ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2012, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


งั้นมาดูต่อไปบางที่อาจเป็ประโยชน์กับนักศึกษาชั้นมหาเอก

สรุปปัจจัยธรรม - ปัจจยุปบันธรรมของสหชาตชาติ ๑๕ ปัจจัย
๑. เหตุปัจจัย
= ปัจจัยธรรม คือ เหตุ ๖ มีโลภเหตุ เป็นต้น
= ปัจจยุบันธรรม คือ สเหตุกจิต ๗๑+๕๒ (เว้นโมหเจตสิกที่ในโมห ๒)สเหตุกจิตตชรูป
สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
๒. สหชาตาธิปติปัจจัย
= ปัจจัยธรรมคืออธิบดี ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง
= สาธิปติชวน ๕๒ (เว้นโมหมูล หสิตุปาทจิต) เจตสิก ๕๐ (เว้นอธิบดีอย่างใดอย่างหนึ่ง วิจิกิจฉา)
๓. สหชาตปัจจัย
= นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน
= มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน
= นามขันธ์ ๔ และหทยวัตถุในขณะปฏิสนธิกาลในปัญจโวการภูมิ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน
= จิต ๗๕ + ๕๒ (เว้นทวิ ๑๐ อรูปวิบาก ๔ และจุติของพระอรหันต์)เป็นปัจจัยธรรม
จิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจยุบันธรรม
๔. อัญญมัญญปัจจัย
= นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน
= มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน
=ปัญจโวการนามขันธ์ ๔ และหทยวัตถุในปฏิสนธิกาล เป็นปัจจัยแก่กันและกัน
๕. สหชาตนิสสยปัจจัย
= ปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันธรรม เหมือนสหชาตชาตปัจจัย (ข้อ ๓ )
๖. สหชาตกัมมปัจจัย
= ปัจจัยธรรม คือ เจตนาเจตสิก ๘๙
= ปัจจยุปบันธรรม คือจิต ๘๙+ เจ.๕๑ ที่ประกอบกับตน และจิตตชรูป ๑๗ ปฏิสนธิกัมมชรูป
๗. วิปากปัจจัย
= นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบาก เป็นปัจจัยคือ ช่วยอุปการะซึ่งกันและกัน
๘. นามอาหารปัจจัย
= ปัจจัยธรรม คือ นามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ ๘๙ เจตนา ๘๙ วิญญาณ ๘๙
= ปัจจยุปบันธรรม คือ จิต ๘๙ + ๕๒ ที่ประกอบ และจิตตชรูป ปฏิสธิกัมมชรูป
ที่มีนามอาหารและสัมปยุตตธรรมเป็นสมุฏฐาน
๙. สหชาตินทริยปัจจัย
= ปัจจัยธรรม คือ นามอินทรีย์ ๘ คือ ชีวิตินทรีย์ ๘๙ จิต ๘๙ เวทนา ๘๙ สัทธา ๕๙/๙๑
วิริยะ ๑๐๕ สติ ๕๙/๙๑ เอกัคคตา ๘๙ ปัญญา ๔๗/๗๙
= ปัจจยุปบันธรรม คือ จิต ๘๙+๕๒ ที่ประกอบนามอินทรีย์ และจิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูปซึ่งมีนามอินทรีย์และสัมปยุตตธรรมที่เป็นสมุฏฐาน
๑๐. ฌานปัจจัย
= ปัจจัยธรรม คือ องฌาน ๕ คือ (วิตก-วิจาร-ปีติ-เวทนา-เอกัคคตา)
= ปัจจยุปบันธรรม คือ จิต ๗๙+ ๕๒ (เว้นทวิ ๑๐)ที่ประกอบกับองค์ฌาน
และจิตตชรูปปฏิสนธิกัมมชรูปที่องค์ฌานและสัมปยุตตธรรมเป็นสมุฏฐาน
๑๑. มัคคปัจจัย
= ปัจจัยธรรม คือ องค์มรรค ๙ ที่ในสเหตุกจิต ๗๑
(องค์มรรค ๙ คือ ปัญญา.วิตก.วีระตี ๓ วิริยะ.สติ.เอกัคคตา.ทิฎฐิ)
= สเหตุกจิต ๗๑+๕๒ ที่ประกอบกับองค์มรรค ๙ และสเหตุกจิตตชรูป สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป
ที่มีองค์มรรค ๙ และสัมปยุตตธรรมเป็นสมุฏฐาน
๑๒. สัมปยุตตปัจจัย
= นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน
๑๓. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
= ปัจจัยธรรม คือ หทยวัตถุรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ปัจจยุบันธรรม คือ ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ ๔
= ปัจจัยธรรม คือ ปัญจโวการปวัตติ-ปฏิสนธินามขันธ์ ๔(เว้นทวิ ๑๐ อรูปวิบาก ๔ และจุติของพระอรหันต์) ปัจจยุปบันธรรม คือ จิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูปที่เกิดพร้อมกัน
๑๔.สหชาตัตถิปัจจัย
= นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน
= มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน
= นามขันธ์ ๔ และหทยวัตถุในขณะปฏิสนธิกาลในปัญจโวการภูมิ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน
= จิต ๗๕+๕๒ (เว้นทวิ๑๐อรูปวิบาก๔จุติจิตของพระอรหันต์)เป็นปัจจัยจิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูปที่มีจิตเป็สมุฏฐาน เป็นปัจจยุปบันธรรม
= มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยธรรม อุปาทายรูป เป็นปัจจยุปบันธรรม
๑๕. สหชาตอวิคตปัจจัย
= ปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันธรรมเหมือนสหชาตัตถิปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงหมาน เมื่อ 11 มิ.ย. 2012, 05:51, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2012, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในปัจจัยที่เป็นสหชาตชาติ ๑๕ ปัจจัย แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑. สหชาตชาติใหญ่ มี ๔ ปัจจัย คือ
- สหชาตปัจจัย
- สหชาตนิสสยปัจจัย
- สหชาตัตถิปัจจัย
- สหชาตอวิคตปัจจัย
เข้ากันได้กับปัจจัยที่เป็นสหชาตชาติทุกปัจจัย
๒. สหชาตชาติกลาง มี ๔ ปัจจัย คือ
- อัญญมัญญปัจจัย
- วิปากปัจจัย
- สัมปยุตตปัจจัย
- สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
เข้ากันได้กับปัจจัยที่เป็นสหชาตชาติใหญ่+กลาง+เล็ก
๓. สหชาตชาติเล็กมี ๗ ปัจจัย คือ
- เหตุปัจจัย
- สหชาตาธิปติปัจจัย
- สหชาตกัมมปัจจัย
- นามอาหารปัจจัย
- สหชาตินทริยปัจจัย
- ฌานปัจจัย
- มัคคปัจจัย
เข้ากันได้กับปัจจัยที่เป็นสหชาตชาติเล็กเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2012, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัยที่เป็นสหชาตชาติมี ๑๕ ปัจจัย
๑. เหตุปัจจัย........................ล
๒. สหชาตาธิปติปัจจัย...........ล
๓. สหชาตปัจจัย..................ญ
๔. อัญญมัญญปัจจัย..............ก
๕. สหชาตนิสสยปัจจัย..........ญ
๖. สหชาตกัมมปัจจัย.............ล
๗. วิปากปัจจัย......................ก
๘. นามอาหารปัจจัย..............ล
๙. สหชาตินทริยปัจจัย..... .....ล
๑๐. ฌานปัจจัย.....................ล
๑๑. มัคคปัจจัย.....................ล
๑๒. สัมปยุตตปัจจัย .............ก
๑๓. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย....ก
๑๔.สหชาตัตถิปัจจัย.............ญ
๑๕.สหชาตอวิคตปัจจัย.........ญ

ล. เล็ก... ก....กลาง...ญ...ใหญ่
:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

องค์ธรรมของสหชาตชาติ มี 5 ข้อคือ
1.) 89,52 ช่วยอุปการะซึ่งกันและกัน 89,52

2.) มหาภูตรูป4 ช่วยอุปการะซึ่งกันและกัน มหาภูตรูป4

3.) ปฏิสนธิ 15 เจ.35 หทย ช่วยอุปการะซึ่งกันและกันกับ ปฏิสนธิ15 เจ.35 หทย
องค์ธรรมข้อ 3 นั้นมาจาก 3 ข้อนี้
3.1) ปฏิ15, 35 ช่วยอุปการะแก่ 2, 6, 3
3.2) ปฏิ15 ,35 ช่วยอุปการะแก่ หทย
3.3) หทย ช่วยอุปการะแก่ ปฏิ15,35

4.) 75,52 ช่วยอุปการะแก่ จิตตชรูป,ปฏิกํ 2,6,3

5.) มหาภูตรูป4 ช่วยอุปการะแก่ อุปาทายรูป 24

ข้อ 1-3 นั้น มีอัญญมัญญปัจจัย ซ้อนกันอยู่
ดังนั้นถ้าได้ อัญญมัญญปัจจัย คราวใด คราวนั้นได้ สหชาตชาติด้วยค่ะ

ถ้าได้ สหชาตชาติ มีหลักว่า ต้องมีคำว่า
1.ปฏิสนธิกาล
2. เกิดพร้อมกันกับตน
3.ประกอบกันกับตน
ถ้ามีคำใดคำหนึ่งได้ สหชาตชาติ และต้องได้ใหญ่ 4 ปัจจัยเสมอค่ะ

ส่วนกลางนั้น มีหลักดังนี้ค่ะ
อัญญมัญญปัจจัย... ต้องเป็น น-น/น-ร, ร-น รูปนั้นต้องเป็น หทยเท่านั้น
วิปากปัจจัย...น-น/น-ร นามนั้นต้องเป็นวิปากเท่านั้น
สัมปยุตตปัจจัย...น-น ถ้าสัม..มา วิปก็..ไม่มาค่ะ
วิปปยุตตปัจจัย...น-ร/ร-น (ให้เป็นนาม กับ รูป อะไรก็ได้หมดค่ะ)

เล็ก นำตัวปัจจัยมาหาอำนาจปัจจัยเพียงตัวเดียว ปัจจยุบันไม่ต้องนำมาเกี่ยวค่ะ
ก็จะนำตัวปัจจัยไปเทียบดูองค์ธรรมในแต่ละปัจจัยในเล็กค่ะว่า ตัวเดียวกันหรือไม่ ถ้าตัวเดียวกัน
ก็ได้ปัจจัยในเล็กข้อนั้นค่ะ ไล่ดูตามองค์ธรรมในปัจจัย 7 ปัจจัยเหล่านี้ว่าได้องค์ธรรมตรงกับปัจจัยใดบ้างใน 7 ปัจจัยนี้ ได้ตรงกันกับตัวที่นำไปหาก็ได้ปัจจัยนั้นค่ะ
เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย
-เช่น เหตุปัจจัย องค์ธรรมคือ เหตุ6 หากตัวที่นำไปหาอำนาจปัจจัยคือ โลภเจตสิก ก็จะได้เหตุปัจจัย
คือโลภเหตุ ก็ได้อำนาจปัจจัยในข้อนี้คือ เหตุปัจจัย
-อีกตัวอย่างหนึ่งคือ มัคคปัจจัย องค์ธรรมคือ ทิฏฐิ+มรรค8 หากตัวที่นำไปหาอำนาจปัจจัยคือ
เอกัคคตาเจตสิก ก็ตรงกันกับสัมมาสมาธิ ซึ่งมีองค์ธรรมคือ เอกัคคตาเจตสิก ก็ได้อำนาจปัจจัยใน
ข้อนี้คือ มัคคปัจจัย

ใหญ่จะได้ ใหญ่ 4 ข้อเสมอ ถ้ารู้ว่า เป็นสหชาตชาติ ด้วยมีคำว่า ปฏิสนธิ เกิดพร้อมกัน
ประกอบกันกับตน ...หากว่ามีคำใดคำหนึ่งใน 3 คำนี้ก็เป็นสหชาตชาติทันที ก็จะได้ใหญ่ 4 ปัจจัยเสมอ

กลางจะได้กลาง ต้องดูว่า ได้ตามหลักของกลางหรือไม่ ก็จะดูแต่ละข้อว่า ได้ปัจจัยไหนบ้าง
ใน 4 ปัจจัยนี้ ...อัญญะมัญญะ วิปาก สัมปยุต วิปปยุต

เล็ก จะยกจิต หรือ เจตสิกในแต่ละปัจจัยไปหาอำนาจปัจจัยในเล็ก 7 ปัจจัย (ขอย่อนะคะ เห ธิ กํ หา อิน ฌา มัค) จะดูตัวปัจจัยที่ช่วยอุปการะเป็นหลักว่า มีองค์ธรรมเป็นตัวเดียวกันกับองค์เดียวกันในปัจจัยทั้ง 7 ปัจจัย นั้นหรือไม่ ถ้ามีจะต้องมีให้ครบถ้าหากว่าตัวปัจจัยมี 2 องค์ธรรมในปัจจัยที่นำไปหาอำนาจปัจจัย ก็ต้องได้ครบทั้ง2องค์ธรรมนั้นทั้งหมด จึงจะได้อำนาจปัจจัยในปัจจัยนั้น

ตัวอย่าง อวิชชา เป็นธรรมที่ช่วยอุปการะแก่ อปุญญาภิสังขารที่ประกอบกันกับตน
อวิชชา เป็นนามมี โมหเจตสิกที่ใน อกุศลจิต 12 เป็นองค์ธรรม
อปุญญาภิสังขาร เป็นนามมี อกุศลเจตนาที่ใน อกุศลจิต 12 เป็นองค์ธรรม
เพราะฉะนั้นข้อนี้จึงเป็น นาม ช่วยอุปการะแก่ นาม

ตอบ ก็จะได้อำนาจปัจจัย 7 ปัจจัย คือ
-ใหญ่ได้ทันที 4 ข้อ
-กลาง ได้ อัญญมัญญ กับ สัมปยุต
-เล็ก ได้ เหตุปัจจัย เพราะ โมหเจตสิกเป็น โมหเหตุ

:b8: :b8: :b8:

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2012, 02:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2008, 03:28
โพสต์: 13


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2013, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำภีร์ที่ ๗
๑. ปจฺจยุทฺเทส

เหตุปจฺจโย
อารมฺมณปจฺจโย
อธิปติปจฺจโย
อนนฺตรปจฺจโย
สมนนฺตรปจฺจโย
สหชาตปจฺจโย
อญฺญมญฺญปจฺจโย
นิสฺสยปจฺจโย
อุปนิสฺสยปจฺจโย
ปุเรชาตปจฺจโย
ปจฺฉาชาตปจฺจโย
อาเสวนปจฺจโย
กมฺมปจฺจโย
วิปากปจฺจโย
อาหารปจฺจโย
อินฺทฺริยปจฺจโย
ฌานปจฺจโย
มคฺคปจฺจโย
สมฺปยุตฺตปจฺจโย
วิปฺปยุตฺตปจฺจโย
อตฺถิปจฺจโย
นตฺถิปจฺจโย
วิคตปจฺจโย
อวิคตปจฺจโย
ติ.

ปจฺจยุทฺเทโส... นิฏฐิโยติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2013, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


[ ๑ ]เหตุปัจจยนิทเทส : อารัมภบท
ปจฺจยุทฺเทเส โย ยาทิโส ปจฺจโย เหตุปจฺจโยติ ภควตา อุทฺทิฏฺโฐ,
โส ตาทิโส ปจฺจโย ปจฺจยนิทเทเส,
เหตู เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมุฏฐานานญฺจ รูปานํ เหตุ ปจฺจเยน ปจฺจโยติ ภควตา นิทฺทิฏฺโฐ.
ปัจจัยเช่นใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อ ในปัจจยุทเทส ว่า เหตุปจฺจโย
ปัจจัยเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยพิสดาร ในปัจจัย นิทเทสว่า
เหตู เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมุฏฐานานญฺจ รูปานํ เหตุ ปจฺจเยน ปจฺจโย
พระบาลีและคำแปล
เหตู เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมุฏฐานานญฺจ รูปานํ เหตุ ปจฺจเยน ปจฺจโย.
เหตุ ๖ เป็นปัจจัย คือช่วยอุปการะ แก่สเหตุกจิต ๗๑ เจตสิก ๕๒ ที่ประกอบกับเหตุ ๖ เท่านั้น
( เว้นโมหเจตสิกที่ในโมหมูลจิต ๒) และสเหตุกจิตตชรูป สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป ที่มีเหตุ ๖ และสเหตุกจิตตุปบาท เป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2013, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


[ ๒ ] อารัมมปัจจยนิเทส
๑. รูปายตนํ จกฺขุวิญฺญาณธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ อารมฺมณ ปจฺจเยน ปจฺจโย
รูปารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นปัจจัย คือช่วยอุปการะ แก่จักขุวิญญาณธาตุ และสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย
๒. สทฺทายตนํ โสตวิญฺญาณธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ อารมฺมณ ปจฺจเยน ปจฺจโย
สัททารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นปัจจัย คือช่วยอุปการะ แก่โสตวิญญาณธาตุ และสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย
๓. คนฺธายตนํ ฆานวิญฺญาณธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ อารมฺมณ ปจฺจเยน ปจฺจโย
คันธารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นปัจจัย คือช่วยอุปการะ แก่ฆานวิญญาณธาตุ และสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย
๔. รสายตนํ ชิวฺหาวิญฺญาณธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ อารมฺมณ ปจฺจเยน ปจฺจโย
รสารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นปัจจัย คือช่วยอุปการะ แก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย
๕. โผฏฺฐพฺพายตนํ กายวิญฺญาณธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ อารมฺมณ ปจฺจเยน ปจฺจโย
โผฏฐัพพารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นปัจจัย คือช่วยอุปการะ แก่กายวิญญาณธาตุ และสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย
๖. รูปายตนํ สทฺทายตนํ คนฺธายตนํ รสายตนํ โผฏฺฐพฺพายตนํ มโนธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ อารมฺมณ ปจฺจเยน ปจฺจโย
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ คือ ปัญจารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นปัจจัย คืออุปการะ แก่มโนธาตุ และอัญญสมานเจตสิก ๑๐ ที่ประกอบกับมโนธาตุ (เว้นวิริยะ ปิติ ฉันทะ) ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย
๗. สพฺเพ ธมฺมา มโนวิญฺญาณธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ อารมฺมณ ปจฺจเยน ปจฺจโย
อารมณ์ ๖ ที่เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต และกาลวิมุต เป็นปัจจัย คือช่วยอุปการะ แก่มโนวิญญาณธาตุ และเจตสิก ๕๒ ที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย
๘. ยํ ยํ ธมฺมํ อารพฺภ เย เย ธมฺมา อุปฺปชฺชนฺติ จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา เต เต ธมฺมา เตสํ เตสํ ธมฺมานํ อารมฺมณปจฺเยน ปจฺจโย.
ธรรมทั้งหลายใดๆ คือจิตและเจตสิก ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอารมณ์อันใดอันหนึ่งในบรรดาอารมณ์ ๖ บรรดาอารมณ์ ๖ อันใดอันหนึ่งเหล่านั้นเป็นปัจจัย คือช่วยอุปการะ แก่จิตเจตสิกทั้งหลายนั้นๆ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร