วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 11:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2012, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




1128843783.jpg
1128843783.jpg [ 17.78 KiB | เปิดดู 9961 ครั้ง ]
ติเหตุกกุศลนั้นคือ เมื่อขณะที่ทำการกุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น
ด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจก็ตาม กุศลจิตของผู้กระทำนั้นประกอบด้วย กัมมัสสกตาญาณ
หรือวิปัสสนาญาณอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว กุศลชนิดนี้ก็ได้ชื่อว่า ติเหตุกกุศล คือกุศล
ที่เกิดพร้อมด้วย อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ องค์ธรรมได้แก่
มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔


ความเป็นไปของมหากุศลกรรมที่ประกอบด้วยกัมมัสสกตาญาณนั้น คือ บุคคลผู้มีปัญญารู้ใน
เรื่องกรรมและผลของกรรมว่า การทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว และบรรดาสัตว์
ทั้งหลายในโลกนี้มีกรรมเป็นใหญ่ มีกรรมเป็นผู้จัดแจง และเมื่อได้กระทำลงไปแล้วย่อมต้องได้
รับผลของการกระทำนั้นๆ อย่างแน่นอนช้าหรือเร็วเท่านั้น เสมือนหนึ่งเราเอาก้อนหินทุ่มลง
ไปในสระน้ำ จะปรากฏว่าน้ำนั้นแตกกระเพื่อมเป็นละลอกคลื่นแผ่ออกไปเป็นวงกว้าง เมื่อไป
สุดขอบสระแล้วละลอกนั้นจะย้อนกลับเข้ามาตรงที่เราเอาก้อนหินทุ่มลงไป ถ้าก้อนหินนั้น
เป็นก้อนเล็ำกๆ ละลอกคลื่นก็จะแผ่ไปและย้อนกลับมาโดยช้าๆ และถ้าก้อนหินนั้นเป็นก้อนใหญ่
กำลังนั้นมีมากละลอกคลื่นก็จะแผ่ไปและย้อนกลับมาโดยเร็ว ข้อนี้เปรียบเทียบให้เห็นว่า
การกระทำดีหรือชั่วของสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อทำลงไปแล้วย่อมไม่สูญหายไปไหน ต้องได้รับ
ผลแน่นอนเหมือนกับละลอกคลื่นที่แผ่กระจายออกไปแล้วย้อนกลับมาที่เก่าฉันนั้น สำหรับ
การได้รับผลช้าหรือเร็วนั้นก็แล้วแต่เจตนาความพยายามของผู้กระทำ และคุณสมบัติหรือ
ฐานะของผู้รับการกระทำ หรือข้อสิกขาบทข้อปฏิบัติอันเป็นที่ตั้งแห่งการกระทำ ผู้ที่มีความรู้
ในเรื่องดังกล่าวมานี้แหละ ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีกัมมัสสกตาญาณ ฉะนั้น การกระทำกุศลต่างๆ
ของบุคคลพวกนี้จึงจัดเป็น ติเหตุกกุศล

................................................

การปฏิบัติ ทำตามนี้ค่ะ แต่หากท่านได้มีความเข้าใจจะพูดตามที่ตนเข้าใจก็ตามสะดวกค่ะ
แต่จะแนะนำไว้พอเป็นที่เข้าใจ และใช้ได้จริงขณะทำกุศลค่ะ ขณะที่ทำกุศล จะต้องครอบคลุมใน 4 อย่างคือ 1.ใคร /2.ทำอะไรถวายอะไร /3.แก่ใคร /4.เพื่ออะไร คือทุกครั้งที่ำทำบุญทำทานเราต้องรู้ว่าเราทำบุญอะไรกับวัดใด เช่นผ้าป่าสร้างโบสถ์วัดอะไร แล้วตามด้วยเพื่ออะไร

:b51: เวลาเพื่อนๆ ทำกุศล เช่นยกซองกฐิน ผ้าป่า ที่ใส่เงินทำบุญแล้ว ยกซองขึ้นจบ
ก็พูดตามนี้ว่าข้าพเจ้าขอทำผ้าป่าสร้างโบสถ์วัดอะไรก็ว่าไป (แล้วต่อด้วยเพื่ออะไร) ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความเข้าใจในเรื่องเหตุ และผลแห่งการกระทำกรรมว่า ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตนมีกรรมเป็นใหญ่เป็นผู้จัดแจง และต้องอาศัยอานิสงค์แห่งการกระทำกรรมดี.... ต่อด้วยข้อ 1 หรือ 2
1.....เป็นพลวปัจจัยให้ได้รับผลที่เป็นความสุขความเจริญ ได้อาศัยในภพนี้และภพหน้า
(แต่หากว่าผู้ใดต้องการออกจากสังสารวัฏฏ์ ก็ว่า 2....เป็นพลวปัจจัยเป็นนิสัยตามส่งให้เกิด
ปัญญาญาณทั้งชาตินี้และชาติหน้าตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ คือ
พระนิพพานเทอญ :b44: )

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แก้ไขล่าสุดโดย SOAMUSA เมื่อ 18 มิ.ย. 2012, 15:04, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2012, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเป็นไปของมหากุศลกรรมที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณนั้น คือ บุคคล
ผู้มีปัญญารู้ว่า

๑. บรรดาสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ที่มีชีวิตก็ตาม ไม่มีชีวิตก็ตาม คงมีแต่รูปกับนาม ๒ อย่าง
เท่านั้น และรูปนามนี้ก็เป็นของไม่เที่ยง เกิดแล้วย่อมดับไปอยู่เสมอ
ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้น

๒. ฉะนั้นในการบำเพ็ญกุศลต่างๆ นั้น บุคคลผู้ถวายก็ดี ปฏิคาหกผู้รับก็ดี
ย่อมมีแต่รูปกับนาม และมีสภาพเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

๓. วัตถุสิ่งของที่เป็นของถวายนั้นก็มีแต่รูป และสภาพเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

๔. กุศลจิตที่เกิดขึ้นแก่เรานั้นก็เป็นนามธรรม และมีสภาพเกิดดับเป็นอนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา เช่นเดียวกัน
แต่มีข้อที่แตกต่างกันก็คือ แม้ว่ากุศลจิตที่เกิดขึ้นนั้นจะมีการดับอยู่ทุกๆ ขณะก็ตาม
แต่อำนาจของกุศลต่างๆ เหล่านั้นก็หาได้หมดสิ้นไปด้วยไม่ ย่อมติดอยู่ในขันธสันดาน
ของผู้กระทำ แต่เมื่อมีโอกาสเวลาใดก็ส่งผลให้ปรากฏขึ้นในภพนี้และภพหน้า
และในขณะที่กุศลจิตเกิดอยู่นั้นก็ทำให้ผู้นั้นมีจิตผ่องใส สบายใจไม่เกิดความเดือดร้อน
เหมือนกับผู้ที่ยอมเสียเงินเพื่อซื้อน้ำมาอาบ ในขณะที่อาบน้ำนั้นทุกๆ ขันที่อาบตัวแล้ว
ก็ไหลลงพื้นดินซึมหายไปไม่มีเหลืออยู่ แต่ผู้อาบก็ยอมซื้อน้ำมาอาบทุกวัน
ทั้งนี้ก็เพราะรู้ว่าแม้น้ำที่อาบนั้นจะไม่ติดอยู่ที่ตัวก็จริง แต่น้ำนั้นก็สามารถทำให้ร่างกาย
ได้รับความเย็นชุ่มชื่น และทั้งชำระล้างสิ่งโสโครกที่ติดอยู่ในร่างกายให้หมดไป
ข้อนี้ฉันใด อำนาจของกุศลจิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไปอยู่ทุกๆ ขณะก็ฉันนั้นผู้ที่มีความรู้
ในเรื่องดังกล่าวมานี้ ได้ชื่อว่า เป็นผู้มีวิปัสสนาญาณและการกระทำกุศลต่างๆ
ของบุคคลพวกนี้จัดเป็น ติเหตุกกุศล

การสร้างกุศลต่างๆ ที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณนั้น จัดเป็นกุศลที่สูงสุด ดังนั้น
พุทธศาสนิกชนที่เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย จึงควรพยายามที่จะให้
การบำเพ็ญกุศลของตนนั้นให้เป็นกุศลที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ หรือ
กัมมัสสกตาญาณอยู่เสมอเพื่อจะได้รับผลเป็นมหัปผลมหานิสังสะ
ทั้งในภพนี้และภพต่อๆ ไป
:b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46:

จาก หนังสือ ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา
ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๒
กัมมจตุกกะ และมรณุปปัตติจตุกกะ
รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ

.........................................................................

สำหรับ การทำบุญทำกุศลที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณนั้น ในขณะที่ทำกุศลนั้น เช่น
ใส่ซองทำบุญ แล้วก็ยกขึ้นพนมมือจบ แล้วพูดว่าข้าพเจ้า ถวายอะไร แก่ใครแล้วต่อด้วยเพื่ออะไร

ข้าพเจ้าผู้ทำทานกุศล และ ผู้รับทานกุศล เป็นเพียงรูปนามขันธ์5
วัตถุทานเป็นเพียงรูป กุศลจิตที่ทำกุศลนี้ก็เป็นเพียงนาม
มีเพียงขันธ์5ของผู้ทำทานอุปการะขันธ์5 ผู้รับทานกุศล
ทั้งหมดทั้งปวงมีเพียง รูปนาม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แต่นามกุศลนี้จะติดอยู่ในขันธสันดานของข้าพเจ้าให้ข้าพเจ้าได้นึกถึงแต่การทำกุศล
ทุกภพทุกชาติ เพื่อเป็นพลวปัจจัยเป็นนิสัยตามส่งให้เกิดปัญญาญาณทั้งชาตินี้และชาติหน้า
ตลอดชาติอย่างยิ่งจนถึงความพ้นทุกข์คือ พระนิพพานเทอญ :b44:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2013, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุค่ะ คุณกุหลาบสีชา

คอยอ่านกันเพื่อความเข้าใจต่อไปนะคะ
ยังมีเรื่องกุศลชั้นต่ำ กุศลชั้นสูง
แล้วจะมาพิมพ์ให้อ่านกันต่อไปนะคะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2013, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ทวิเหตุกกุศลนั้นคือ เมื่อขณะที่กระทำกุศลต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ด้วยกาย ด้วยวาจา
หรือด้วยใจก็ตาม กุศลจิตของผู้กระทำนั้นไม่ได้ประกอบด้วยกัมมัสสกตาญาณหรือวิปัสสนาญาณแต่อย่าง-
ใด กุศลชนิดนี้ ได้ชื่อว่า ทวิเหตุกกุศล คือกุศลที่เกิดพร้อมด้วย อโลภเหตุ อโทสเหตุเท่านั้น
ขาด อโมหเหตุ(ขาดปัญญา)
-องค์ธรรมของทวิเหตุกกุศล ได้แก่ มหากุศลญาณวิปปยุตตจิต ๔
(ส่วนองค์ธรรมของติเหตุกกุศล ได้แก่ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ซึ่งเป็นกุศลที่เกิดพร้อมด้วย 3 เหตุ
มี อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ)

ความเป็นไปของ มหากุศลญาณวิปปยุตตจิต ๔ นี้คือ การงานที่เป็นกุศลนั้นมิได้มีเฉพาะแต่ใน
พุทธศาสนิกชนเท่านั้น แม้ชนในศาสนาอื่นๆ หรืออนารยชนบางพวก หรือ สัตว์ดิรัจฉานบางพวกก็มีกุศล
เกิดขึ้นได้ เพราะการงานที่เป็นกุศลนั้นก็ได้แก่ การทำดี พูดดี คิดดีนั้นเอง แต่ในการกระทำกุศลของบุคคล
ดังกล่าวนี้ไม่ได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับกัมมัสสกตาญาณหรือวิปัสสนาญาณแต่อย่างใด เพียงแต่ทำเพื่อ
ประโยชน์เฉพาะหน้าหรือทำตามหน้าที่ ตามประเพณีหรือมีผู้บังคับให้ทำเท่านั้น คล้ายกับเด็กที่ยังไม่รู้เรื่อง
เหตุผลของการทำบุญ เมื่อผู้ใหญ่ใช้ให้ใส่บาตรก็ดี ให้ไหว้พระสวดมนต์ก็ดี ให้ถวายวัตถุปัจจัยแก่พระสงฆ์
ก็ดี ก็ทำไปตามที่ผู้ใหญ่สั่งให้ทำเท่านั้น

อนึ่งการกระทำที่เป็นกุศลของผู้ถือพระพุทธศาสนา และผู้ที่กระทำนั้นก็ไม่ใช่เด็ก แต่กุศลจิตที่เกิดขึ้นกับผู้นั้นเป็นทวิเหตุกกุศล คือ กุศลอย่างสามัญ ก็มีจำนวนไม่น้อย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะบุคคลจำพวกนี้ขาดความรู้
ในด้านพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอภิธรรมและทั้งตัวเองก็ไม่สนใจจะพยายามให้รู้ในเรื่องราว
ของพระอภิธรรมนี้ แม้ในขณะบริจาคทานก็ดี ขณะบวชพระ บวชชีก็ดี ขณะเจริญสมถกรรมฐาน หรือ
วิปัสสนากรรมฐานก็ดี อาการเป็นไปของบุคคลพวกนี้ย่อมเกี่ยวกับ ตัณหา มานะ ทิฏฐิแทบทั้งสิ้น
แม้จะมีกิริยาที่เป็นระเบียบเรียบร้อยก็ตาม ก็เป็นไปแต่เพียงอาการภายนอกเท่านั้น เมื่อว่าตามแนวพระสูตร
แล้วก็กล่าวได้ว่าเรียบร้อย แต่ถ้าว่าตามแนวทางพระอภิธรรมแล้วก็ไม่นับว่าเรียบร้อย เพราะผู้นั้นมีจิตมัวหมอง
ไปด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ ดังนั้นการกระทำกุศลของบุคคลจำพวกนี้จึงจัดเป็นทวิเหตุกกุศล


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2013, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาสาธุ.

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2013, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุค่ะท่านพุทธฏีกา

:b48: กระทู้ยังไม่จบ ติดตามอ่านกันต่อไปนะคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


จำแนกติเหตุกกุศล และทวิเหตุกกุศลโดยอุกกัฏฐะและโอมกะ

ติเหตุกกุศล และทวิเหตุกกุศลดังกล่าวแล้วนั้น ได้จำแนกออกเป็นอย่างละ ๒ คือ

-ติเหตุกกุศล ชนิดอุกกัฏฐะ คือ ติเหตุกกุศลชั้นสูงอย่างหนึ่ง
-ติเหตุกกุศล ชนิดโอมกะ คือ ติเหตุกกุศลชั้นต่ำอย่างหนึ่ง

-ทวิเหตุกกุศล ชนิดอุกกัฏฐะ คือ ทวิเหตุกกุศลชั้นสูงอย่างหนึ่ง
-ทวิเหตุกกุศล ชนิดโอมกะ คือ ทวิเหตุกกุศลชั้นต่ำอย่างหนึ่ง

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

อุกกัฏฐะ คือ กุศลชั้นสูง (บริสุทธิ์)

โอมกะ คือ กุศลชั้นต่ำ (ไม่บริสุทธิ์)

:b53: ที่เราให้ความสำคัญของคำว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำ นั้นไม่ใช่เป็นเรื่องไม่มีความสำคัญ แต่เป็นความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดในภพต่อไปของท่าน

จะขออ้างถึงว่า ท่านเห็นคนพิการ คนปัญญาอ่อน นอกจากท่านสงสารเขาเหล่านั้นแล้ว ท่านเคยคิดบ้างหรือไม่ว่า เค้าเคยทำกรรม(กรรมหมายถึงการกระทำทั้งทางที่ดี และไม่ดี..ฯ)เช่นไรหนอจึงเกิดมาพิการ

แม้กระทั่งท่านที่เคยอ่านพระสูตร ถ้้าเคยอ่านเจอตรงที่มีผู้เห็นเทวดาหากินอาหารคล้ายเปรต ท่านสงสัยมั้ยทำไมเทวดาจึงหากินอาหารไม่ต่างไปจากเปรต เพราะเทวดาจำพวกนี้เป็นเทวดาชั้นต่ำและจัดอยู่ในประเภทอสุรกายชนิดหนึ่งด้วย พระพุทธองค์ทรงตรัสกับผู้ที่เห็นเทวดาจำพวกนี้ในพระสูตรว่า นั้นไม่ใช่เปรตแต่เป็นเทวดาชั้นต่ำ นี่แหล่ะค่ะเทวดาประเภทวินิปาติกอสุรา ที่เที่ยวอาศัยอยู่ในมนุษยโลกทั่วไป เช่น ตามป่าตามเขา ต้นไม้ และศาลที่เขาปลูกไว้ ซึ่งที่อยู่ของภุมมัฏฐเทวดาทั้งหลาย ฉะนั้น วินิปาติกอสุระนี้ก็คงเป็นบริวารของภุมมัฏฐเทวดานั่นเอง วินิปาติกอสุระนี้เป็นเทวดาชั้นต่ำในชั้นจาตุมหาราชิกา

ที่ได้เล่ามานี้เป็นเพราะอะไรจึงได้เกิดเป็นมนุษย์พิการ และเทวดาชั้นต่ำ

นั่นเพราะว่าการทำกุศลของเขาเหล่านั้นเจือด้วยอกุศลในขณะตั้งใจกระทำกุศล ทั้ง 3 กาล คือ ก่อนทำ ขณะทำและหลังทำกุศล พูดแบบปริยัติก็คือเจตนาทั้ง 3 กาล ปุพพเจตนาที่ไม่บริสุทธ์ ในขณะที่ทำกุศลคือมุญจเจตนาที่เป็นทวิเหตุกกุศล และสำคัญที่สุดคือ อปรเจตนา ชนิดโอมกะ คือไม่บริสุทธิ์

ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ การใส่บาตรพระในตอนเช้า
ท่านเคยเห็นคนบางคนมีอาหารอยู่และคัดเลือกอาหารนั้นเอาแต่ของดีๆ สวยๆ ปราณีตไว้ใส่บาตรตอนเช้า ตรงกันข้ามกับอีกคนหนึ่งคิดว่าอาหารของเรามีเยอะเหลือกินมากมาย เอาที่เหลือไปใส่บาตรดีกว่า นี้แหล่ะค่ะ ปุพพเจตนาที่บริสุทธิ์กับไม่บริสุทธิ์ อ่านแล้วแยกออกมั้ยคะว่าคนไหนปุพพเจตนาบริสุทธิ์ ก็คือคนแรกที่เลือกเอาของดีๆ สวยๆ ปราณีตไว้ใส่บาตรก่อนแล้วเอาที่เหลือไว้กินเอง

และในขณะใส่บาตร มีสุนัขเห่า คนส่งเสียงวุ่นวาย การใส่บาตรก็ใส่แบบเคยชิน ซ้ำๆ อยู่อย่างนั้นทุกวันไม่ได้มีสติระลึกในขณะใส่บาตรให้เกิดปัญญา ในขณะใส่บาตรก็ขอให้รวย ขอให้อย่างโน้นอย่างนี้ เกิดชาติหน้าได้อย่างโน้นอย่างนี้ เป็นไปด้วยโลภะทั้งสิ้น บางครั้งใส่บาตรอยู่หมาที่บ้านเห่าพระ หวงของที่เจ้านายเอาใส่ลงในบาตรพระบ้าง บริวารในการทำกุศลในขณะใส่บาตรนั้น ประกอบไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ เป็นกุศลที่เป็นทวิเหตุกกุศล
(ส่วนติเหตุกกุศลนั้นมีการพิจารณาเป็นสติปัฏฐานสี่ มีสติระลึกรู้กายขณะหยิบของใส่ในบาตรพระ เห็นอาการเคลื่อนไปแห่งวาโยธาตุบ้าง เป็นปฐวีธาตุบ้าง เป็นต้น มีสติระลึกเป็นวิปัสสนากำหนดรูปนามขันธ์5 หรือมี กัมมัสสกตาญาณ เหล่านี้มีปัญญาเกิดร่วมด้วยในขณะทำกุศลนั้น)

หลังจากใส่บาตรมาแล้วก็เฉยๆ ไม่ได้เคยระลึกถึงกุศลหลังจากที่ได้ทำไปแล้วบ้างเลย หลังใส่บาตรใหม่ๆ ก็ไม่ได้นึกกุศลที่ทำเสร็จไปใหม่ๆ เลย มั่วแต่วุ่นวายกับการเก็บข้าวของบ้าง ไปทำการงานอย่างอื่นบ้าง ไม่ได้หวนกลับมาปลื้มใจกับกุศลที่ทำเลย ถ้าจะนึกบางครั้งก็นึกเสียดายของที่ทำไปว่า ลืมไปน่าจะเก็บของนี้ไปฝากญาติ หรือพวกที่ทำบุญสร้างโบสถ์สร้างศาลาไปแล้ว กลับมาเสียดายเงินที่ทำบุญไป อย่างนี้ เป็นอปรเจตนาที่เสียหาย ไม่บริสุทธิ์

การนึกถึงกุศลที่ทำไปแล้วเป็นอปรเจตนาที่บริสุทธิ์ เช่น เราได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เราได้ใส่บาตรพระสงฆ์ให้ท่านได้ฉันภัตตาหารบำรุงขันธ์เพื่อประกอบกิจเพื่อพระพุทธศาสนา หรือพระสงฆ์ท่านไม่สามารถทำอาหารฉันเองได้ เราได้ใส่บาตรแก่ท่าน อย่างนี้แหล่ะคือ อปรเจตนา ซึ่งเป็นเจตนาหลังจากทำกุศลแล้ว หากใครนึกขึ้นมาแล้วปลื้มใจที่ตนได้ทำกุศลนั้นสำเร็จได้ด้วยดีศรัทธาในกุศลของตน เกิดปีติโสมนัส ศรัทธา ยินดีในการทำกุศลนั้น การนึกถึงกุศลที่ทำไปแล้วนั้นแล้วยินดีเช่นนี้เป็นอปรเจตนาที่บริสุทธิ์ ไม่นึกกลับมาเสียดายสิ่งของหรือเงินที่ทำบุญนั้น

ดังนั้น สรุปว่าคนที่เกิดมาเป็นคนพิการ เป็นเทวดาชั้นต่ำ เพราะ
-ก่อนทำกุศล ปุพพเจตนาไม่บริสุทธิ์ (โอมกะ)
-ขณะทำกุศล เป็นมุญจเจตนาที่เป็น ทวิเหตุกกุศล
-หลังทำกุศล เป็น อปรเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ (โอมกะ)

เหตุทั้ง 3 ประการนี้ครบ เรียกว่า ทวิเหตุกกุศล ชนิดโอมกะ(ชั้นต่ำ)
ถึงแม้ว่าผู้ที่มีปุพพเจตนาบริสุทธิ์ มุญจเจตนาเป็นทวิเหตุกกุศลไม่มีปัญญา แต่ภายหลังอปรเจตนาเสียหายไม่บริสุทธิ์ ก็จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันเป็น ทวิเหตุกกุศลโอมกะ คือทำให้จิตที่ส่งผลนำเกิดเป็นจิตดวงเดียวกัน
จิตที่ส่งผลนำเกิดนั้นมีเพียง 1 ดวง คือ อเหตุกสัณตีรณกุศลวิปากจิต เกิดเป็นคนพิการ และเทวดาชั้นต่ำ

แต่สามารถมีการเปลี่ยนไปในทางดีขึ้นได้อย่างนี้ค่ะ แม้ว่า ปุพพเจตนาจะไม่บริสุทธิ์ ขณะทำเป็นทวิเหตุกกุศล ต่อมาภายหลังคิดเป็นกุศลคือ อปรเจตนาคิดเป็นกุศล บริสุทธิ์ไม่เสียหายเป็น อุกกัฏฐะ

ดังนั้น อปรเจตนาสำคัญมากค่ะสามารถทำให้กุศลที่ทำไว้แล้ว ที่เป็นปุพพเจตนาไม่บริสุทธิ์+ทวิเหตุกุศลไม่มีปัญญา+อปรเจตนาที่บริสุทธิ์ คือมีการคิดหลังจากทำกุศลเป็นอปรเจตนาที่บริสุทธิ์ ทำให้สามารถส่งผลให้ไม่เกิดเป็นคนพิการหรือเทวดาชั้นต่ำได้ค่ะ อปรเจตนาบริสุทธิ์ส่งผลให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ที่ปกติธรรมดาแต่เป็นทวิเหตุกบุคคล ไม่ใช่ติเหตุกบุคคล และในเทวภูมิ 6 ชั้น เป็นเทวดาชั้นกลาง

ส่วนผู้ที่ขณะตั้งใจกระทำกุศล คือมุญจเจตนาที่เป็นทวิเหตุกกุศล ในขณะใส่บาตรมีโทสะเกิดขึ้นเป็นบริวาร ก่อนทำกุศลมีปุพพเจตนาบริสุทธิ์ หลังทำกุศลมีอปรเจตนาบริสุทธิ์ หากกุศลในการทำครั้งนี้ส่งผลได้เกิดเป็นมนุษย์ก็จะเป็นมนุษย์ที่มีโทสะแรง ผลจากการใส่บาตรเกิดมาสวยแต่โทสะแรง

ไม่ว่า่่ท่านได้ทำกุศลไว้อย่างไร มีปุพพเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ มีมุญจเจตนาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาเป็น ทวิเหตุกกุศล ท่านนำมาคิดใหม่ได้หมดแม้กุศลนั้นจะผ่านไปแล้ว 1 วัน เป็นเดือนเป็นปี หลายปีแล้วก็ตาม นำมาคิดยินดีในการทำกุศลทั้งหมดที่ผ่านมา มีปีติโสมนัส ศรัทธาในกุศลที่ทำมาแล้วทั้งหมด เป็น อปราปรเจตนา

อปราปรเจตนา หมายถึงกุศลเจตนา หรือ อกุศลเจตนา ที่เกิดขึ้นหลังจากอปรเจตนาที่เกิดล่วงไปแล้ว ระหว่าง 1 วัน หรือ 1 เดือน เป็นต้นไป เหล่านี้จัดเป็นอปราปรเจตนาทั้งสิ้น และอปราปรเจตนานี้ถ้าเป็นกุศล คือเมื่อนึกถึงการบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนาของตนที่ได้ทำไปแม้จะล่วงมาเป็นเวลาหลายวันหรือหลายเดือนแล้วก็ตาม ยังมีความปีติ โสมนัส มีศรัทธาความเชื่อมั่นในกุศลของตน และมีปัญญาความเห็นประโยชน์ในกุศลของตนเกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่นนี้แหละอปราปรเจตนาเป็นกุศลและจัดเป็นชนิดอุกกัฏฐะ ถ้าอปราปรเจตนาเป็นอกุศล คือเมื่อนึกถึงการบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนาของตนที่ได้ทำไปในเวลาต่อๆ มาแล้ว เกิดความไม่พอใจ เสียดายกลุ้มใจ หรือเกิดความยินดีเพลิดเพลินอันเกี่ยวด้วยตัณหา หรือเกิดความหยิ่งในใจว่าเราทำได้ดีกว่าผู้อื่นอันเป็นตัวมานะ เช่นนี้แหละอปราปรเจตนาเป็นอกุศล และจัดเป็นชนิดโอมกะ

:b48: ในปุพพเจตนา และ อปรเจตนา เจตนาไหนมีความสำคัญกว่ากัน

อปรเจตนามีความสำคัญมากกว่าปุพพเจตนา เพราะอปรเจตนาเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากทำกุศลนั้นๆ สำเร็จแล้วนั้นเอง ด้วยเหตุนี้แม้ปุพพเจตนาจะไม่บริสุทธิ์ แต่อปรเจตนาบริสุทธิ์ก็จัดว่าเป็น อุกกัฏฐกุศล หรือแม้ปุพพเจตนาบริสุทธิ์ก็ตาม ถ้าอปรเจตนาไม่บริสุทธิ์กุศลนั้นก็จัดเป็นโอมกกุศล


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2013, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


มีแค่ปุพพเจตนา แต่ไม่เคยได้ทำกุศลให้สำเร็จลุล่วงเลย จะมีผลอย่างไร

ปุพพเจตนาของท่านที่จะทำกุศล แต่ทำกุศลนั้นไม่สำเร็จ คือมีแต่เจตนาที่คิดจะทำกุศล แล้วก็หยุดไว้แค่นั้นไม่ได้ทำอะไรให้สำเร็จลุล่วงไป เช่น นายดำตั้งใจอยากจะไปปฏิบัติกรรมฐานที่สำนักหนึ่งไว้ ว่าจะไปจะไปแล้วก็ไม่ได้ไป นายดำตายไปเสียก่อนก็ไม่ได้ไป แต่ในขั้นที่คิดจะไปปฏิบัติที่สำนักนั้นเป็นกุศลแล้ว หากกุศลนี้เป็นแค่ปุพพเจตนา ที่เป็นทวิเหตุกกุศล ชนิดโอมกะ หากกุศลนี้ส่งผลเป็นนิมิตเมื่อตอนใกล้จะตาย เป็นวิปากส่งผลนำเกิดเป็นคนพิการ และยากจนเข็ญใจไม่มีจะกินด้วยค่ะ เพราะเป็นกุศลแค่ปุพพเจตนาที่เป็นทวิเหตุกกุศล ชนิดโอมกะ ไม่ได้เคยลงมือกระทำให้ผลงานสำเร็จเลย เพราะฉะนั้นคิดทำกุศลอะไรต้องทำให้สำเร็จลุล่วงให้รวดเร็วค่ะ

:b47: :b47: :b47:

ความเข้าใจผิดของคนส่วนมากคือ ขณะที่ตายแล้ว วิญญาณล่องลอยออกจากร่างไปหาที่เกิด
ขณะที่ตายไม่มีอะไรล่องลอยออกจากร่าง

คนที่ตายนั้น ทั้งรูปและนาม ดับลงพร้อมกันทันที สิ้นสุดนามรูปในภพนั้น ไม่มีวิญญาณล่องลอยออกจากร่าง เพื่อรอไปเกิดใหม่ เมื่อจุติจิตเกิด มีปฏิสนธิเกิดต่อทันทีไม่มีอะไรมาคั่นเด็ดขาดค่ะ ไม่มีวิญญาณไปรอเกิดใหม่ 7 วัน งานศพบางงาน จะมีคนที่ไปร่วมงานสวดศพ เห็นผู้ตายมานั่งฟังสวดในงานศพตนเอง นั่นแสดงว่า คนตายไปเกิดแล้ว อาจจะเป็นเปรต หรือ เทวดา ก็ได้ เราไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นอะไร

ดังนั้น จะมีการเกิดในภูมิต่อไปทันที จะเกิดในภูมิเดิม หรือในภูมิอื่นทันที แล้วแต่กรรมที่เคยทำไว้
มีแต่เหตุปัจจัยที่ทำไว้ในอดีตส่งผลให้ไปเกิดใหม่ คือ สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณในภพใหม่ค่ะ


:b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ในการทำกุศลต่างๆ ไว้แล้วนั้น ควรจะหาสมุดบันทึกสักเล่มไว้จด หรือเก็บใบอนุโมทนาบัตรไว้
หรือถ้าเป็นกฐิน ผ้าป่าก็ควรเก็บใบที่บอกหมายกำหนดงานและรายชื่อผู้ทำบุญไว้ เพราะเมื่อเราทำกุศลไว้แล้ว ก็อุปมาเหมือนเราปลูกต้นมะม่วงไว้ ต่อมาเราก็จะคอยเก็บเกี่ยวผลไปเรื่อยๆ ค่ะ

ซึ่งกุศลทุกอย่าง ที่เราสามารถระลึกขึ้นมาแล้วปลาบปลื้มใจ มีปีติเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า นึกถึงกุศลอย่างโน้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับเราเก็บผลมะม่วงจากต้นที่เราปลูกไว้เป็นเสบียงคืออริยทรัพย์ในภายภาคหน้า

เราไม่ควรปล่อยบุญกุศลต่างๆ ที่ได้เคยทำไว้ให้สูญหายไปจากความทรงจำ แต่การจำได้นั้นย่อมนึกได้น้อยมากและไม่ค่อยจะนึกด้วย จะนึกได้เฉพาะที่มีความประทับใจมาก หรือที่เป็นอาจิณกรรมทำทุกวันเท่านั้น แต่ที่หลงลืมไปก็มาก เหมือนปลูกมะม่วงทิ้งไว้ไม่เก็บผล จึงควรจดบันทึกไว้ว่าเราเคยทำบุญทำทานอะไรไว้หรือเก็บใบต่างๆ ไว้ระลึกถึงค่ะ

ลองจดบันทึกไว้นะคะ แล้วมาเปิดดู จะรู้ว่าเราลืมกุศลที่เคยทำไว้แล้ว เราลืมไปเยอะแยะมาก
แนะนำหาสมุดเล่มเล็กกะทัดรัดไว้จด หรือเล่มเท่าใดก็ได้ ใส่วันเดือนปีย่อๆ กำกับไว้ด้วยค่ะ
อย่างของดิฉันใส่ปีพ.ศ.ไว้ แล้วก็ขึ้นชื่อเดือนไว้ ทำวันที่เท่าไรก็ใส่แค่ตัวเลขวันที่ก็จดง่ายดีค่ะ

อปราปรเจตนา ก็ควรทำเป็นอันดับสุดท้ายท้ายสุดที่ต่อจาก ปุพพเจตนา มุญจเจตนา อปรเจตนา
อปราปรเจตนา จะกลายเป็นกุศลที่เปรียบเหมือนผลมะม่วงที่เราเก็บเกี่ยวไปได้ตลอดชีวิตจนกว่าเราจะตาย
แต่เป็นที่น่าเสียดาย ถ้าเราไม่เหลือหลักฐานไว้ให้นึกถึงได้ ก็เหมือนปลูกต้นมะม่วงทิ้งไว้ ไม่ไปเก็บเกี่ยวผลมาไว้เป็นเสบียงค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:43 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2024, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร